หมู่บ้านนาข่า แหล่งช็อปผ้า ราคาผู้ผลิตทริปนี้ดูเอเซีย.คอม อยู่ที่จังหวัดอุดรธานีแดนอีสานเด้อค่ะเด้อ พูดถึงแดนอีสานแล้วก็ต้องนึกถึงอารยธรรมอันรุ่งเรืองที่เก่าแก่ทรงคุณค่า ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้างเชียง ที่สร้างชื่อเสียงให้เมืองไทยเป็นที่รู้จักในระดับโลก แต่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง ไม่ใช่จุดมุ่งหมายที่ดูเอเซีย.คอมจะพาไปเที่ยวชมในทริปนี้นี้ค่ะเพราะทริปนี้ ดูเอเซีย.คอมจะพาไปเที่ยวชมของสวยๆงามๆ ให้สบายตาสบายใจ และสบายกระเป๋าอีกด้วย ณ หมู่บ้านนาข่า จังหวัดอุดรธานี หมู่บ้านที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าไหม ผ้าขิด ที่ทอเองกับมือก่อนอื่นมารู้จักกับผ้าขิดกันก่อนดีกว่า ว่าจะมีลักษณะเป็นอย่างไร ผ้าทอลายขิด เป็นผ้าพื้นเมืองของภาคอีสาน บางส่วนของภาคเหนือและภาคกลางของไทย นับว่าเป็นศิลปะพื้นฐานที่สะท้อนให้เห็นภาพ ลักษณะ ลวดลาย และวิวัฒนาการของท้องถิ่นเดิมของไทยที่มีมาแต่โบราณ ชาวอีสานถือว่าในกระบวบการทอผ้าด้วยกันแล้ว การทอผ้าขิดต้องอาศัยความชำนาญ และมีชั้นเชิงทางฝีมือสูงกว่าการทอผ้าอย่างอื่น ๆ เพราะทอยากมาก มีเทคนิคการทอที่ซับซ้อนากว่าการทอผ้าธรรมดา เพระต้องใช้เวลาความอดทน และความละเอียด ลออ มีกรรมวิธีที่ยุ่งยาก ทอได้ช้า นอกจากผู้ที่มีความสนใจมีพรสวรรค์เท่านั้น
การทอผ้าไหมลายขิด คือการทอผ้าไหมที่ทอแบบ “เก็บขิด” หรือ “เก็บดอก” เหมือนผ้าที่มีการปักดอกการทอผ้าดอกนี้ชาวอีสานเรียกกันว่า ” การทอผ้าเก็บขิด” ลวดลายของขิดแต่ละลายจะมีรูปแบบที่สวยงาม มีความมัน วาว นูน และมีเหลือบ มีชื่อเรียกคล้ายกัน หรืออาจแตกต่างกันไปบ้าง ทั้งนี้เนื่องจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ซึ่งทำให้รูปแบบและลวดลาย ของผ้าไหมลายขิด ได้พัฒนาประยุกต์ไปจากเดิมจนเกิดลวดลายใหม่ ๆ ขึ้น
ผ้าทอลายขิดอีสาน ตามที่ได้ทอกันมาตั้งแต่สมัยดั้งเดิมในอดีต จนถึงปัจจุบันนี้ อาจแบ่งกลุ่มแม่ลายผ้าทอลายขิด ได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
ลักษณะที่ 1 แบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ ขิดลายสัตว์ ขิดลายพันธุ์ไม้ ขิดลายสิ่งของเครื่องใช้ และขิดลายเบ็ดเตล็ด
ลักษณะที่ 2 แบ่งได้เป็น 5 ประเภท คือ ลายที่ได้มาจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เป็นจริง ลายที่ได้มาจากรูปแบบทางเรขาคณิต ลายที่ได้มาจากความรู้สึกแนวความคิดทางจินตนาการ ลายที่สร้างขึ้นมาเพื่อการาตกแต่ง และลายที่ได้จากเทคนิคทำขึ้นใหม่
ลักษณะที่ 3 แบ่งได้เป็น 4 ประเภท ลายเรขาคณิตเกิดจากโครงสร้างหลัก ซึ่งลวดลายเป็นรูปทรงเรขาคณิต ลายจากธรรมชาติและสิ่งของเครื่องใช้ โครงสร้างลายและแนวความคิดได้จากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลายพัฒนาที่ได้จาก การนำลายขิดตั้งแต่ 2 ลายขึ้นไป มาประกอบกัน เพื่อให้ลายดูวิจิตรหวือหวาขึ้น หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ลายประยุกต์ และลายผสม คือ ขิดลายแพรวา ได้แก่ลายที่ปรากฏอยู่บนผ้าแพรวา (ผ้าไหมแพรวา จังหวัดกาฬสินธุ์)
ลายขิดที่ทอง่ายเพราะว่าไม่ใช้ไม้หลายไม้ ตะกอ ไม่ขัดกัน สะดวก คนตีไม้ไม่หนัก เอาขึ้น-ลง หมดเร็ว ทำให้ทอเร็ว ผู้ทอมักจะชอบทอลายขิดเหล่านี้ ลายขิดที่ทอยากมักจะมีหลายไม้ หนัก เอา ขึ้น-ลง กว่าจะหมด ก็ทำให้ไหมขึ้นขนเร็ว ทำให้ไม่สะดวดในการตีตะกอ ตะกอขัดกันมาก ทอได้ช้า ทำยาก ถ้ามีเชิงจะทำได้ช้า จะเก็บยากต้องใช้เวลานาน คนทอมักไม่ค่อยอยากจะทอ ลายยิ่งโค้งมากเท่าไหร่ยิ่งทอยากเท่านั้น ทำความรู้จักกับผ้าขิดของดีแห่งแดนอีสานไปแล้ว ใครที่อยากจับจอง เป็นเจ้าของผ้าไหมไทยลายขิดที่ผู้ผลิตได้บรรจงทอด้วยความประณีตพิถีพิถันแล้ว สามารถแวะมาได้ที่หมู่บ้านนาข่า จังหวัดอุดรธานีแห่งนี้นะค่ะ เพราะว่าที่นี่เขามีสินค้าผ้าไหมไทยลายขิดให้เลือกสรรกันหลากหลายสไตล์
ผ้าขิดที่นี่ ชาวบ้านเขาก็ทอเองกับมือ จากนั้นก็นำมาจัดจำหน่ายกันตามร้านค้าที่เรียงรายอยู่ในหมู่บ้านแห่งนี้ แต่จากที่ดูเอเซีย.คอมได้เดินเที่ยวชมเสื้อผ้าของหมู่บ้านนาข่าแห่งนี้แล้ว ต้องบอกเลยว่าสีสันสดใสสวยงามทุกร้านเลย จากความคิดตอนแรกที่คิดว่าผ้าไหมไทยต้องเหมาะสำหรับผู้สูงอายุรุ่นพ่อ รุ่นแม่เท่านั้น แต่ถ้าใครที่ได้มาเยือนหมู่บ้านนาข่าแห่งนี้ก็จะเปลี่ยนความคิดไปทันที เพราะว่าผ้าขิดที่นี่ เขาออกแบบรูปทรง และตัดเย็บได้เก๋มากๆ เรียกว่าถูกใจวัยรุ่นกันไปเลย
จากภาพบรรยากาศที่ดูเอเซีย.คอมเก็บมาฝาก หวังว่าคงจะถูกใจเพื่อนขาช็อป ให้อยากหา ผ้าไทยลายขิดเก๋ๆมาสวมใส่กันนะค่ะ นอกจากจะสร้างความเฉิดฉายประกายเด้งให้กับผู้สวมใส่ในราคาแสนถูกแล้ว ยังสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านที่หมู่บ้านนาข่าอีกด้วย เงินทองก็จะได้ไม่รั่วไหล อยู่ภายในประเทศไทยนี้แหละค่ะ ผลิตภัณฑ์ไทย ประเทศไทยจงเจริญ เย้ๆๆๆข้อมูลหมู่บ้านนาข่า
หมู่บ้านนาข่าห่างจากตัวจังหวัด 16 กิโลเมตร ตามเส้นทาง อุดรธานี – หนองคาย ( ทางหลวงหมายเลข 2 ) หมู่บ้านอยู่ทางขวามือ ตรงข้ามโรงเรียนชุมชนนาข่า เป็นหมู่บ้านที่มีการทอผ้าขิด และจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากผ้าขิดในราคาย่อมเยา
การเดินทาง
มีรถโดยสารประจำทางสายอุดรธานี – นาข่า ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถขึ้นได้ที่หน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี และตลาดรังษิ
ขอบคุณข้อมูลจาก www.dei.ac.th