ไปชมความยิ่งใหญ่ในอดีตที่คนโบราณสร้างไว้อย่างงดงามที่ปราสาทพนมรุ้ง โบราณสถานที่ตั้งอยู่บนเขาพนมรุ้ง ซึ่งมีความหมายคือ “พนมรุ้ง” ซึ่งเป็นภาษาเขมรแปลว่า “ภูเขาใหญ่” ในเขตอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ศิลปะที่เห็นเป็นรูปแบบของศิลปะเขมรโบราณ ที่มีความงดงามมากที่สุดแห่งหนึ่ง ความงดงามและความยิ่งใหญ่ของปราสาทแห่งนี้ปรากฏให้เห็นได้ในรูปของงานสถาปัตยกรรม การเลือกยอดเขาพนมรุ้งเป็นที่ตั้งมีแผนผังตามแนวแกนที่มีองค์ประกอบของสิ่งก่อสร้าง ต่าง ๆ เรียงตัวกันเป็นแนวเส้นตรงพุ่งเข้าหาจุดศูนย์กลาง คือ ปราสาทประธาน จากงานก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่นี้ ชวนให้เกิดความสงสัยและอัศจรรย์ใจเป็นอย่างยิ่งว่าคนในสมัยโบราณสร้างปราสาทแบบนี้ได้อย่างไร
ปราสาทพนมรุ้ง สร้างขึ้นเพื่อเป็นเทวาลัยที่ประทับของพระศิวะพระองค์ที่ประทับอยู่บนยอดเขาไกรลาส ดังนั้น ปราสาทพนมรุ้งจึงเป็นการสะท้อนถึงการนับถือศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกายได้เป็นอย่างดี
นอกจากความสวยงามและยิ่งใหญ่แล้วช่างโบราณผู้สร้างปราสาทพนมรุ้งยังได้คำนวณให้พระอาทิตย์ส่องแสงลอดผ่านช่องประตูทั้ง 15 บานได้อย่างน่าพิศวง ในฤดูกาลต่างกันของทุกๆ ปีได้อย่างเหลือเชื่อ ในเดือนเมษายนและกันยายน และจะเห็นมหัศจรรย์พระอาทิตย์ตกลอดช่องกรอบประตู ในเดือนมีนาคมและเดือนตุลาคม
กำหนดการณ์ชมพระอาทิตย์ขึ้นและตกทะลุ 15 ช่องประตู ณ ปราสาทหินเขาพนมรุ้งของทุกๆปี
• ครั้งที่ 1 – พระอาทิตย์ ตก 4-6 มีนาคม เวลาราว 17.58 น.
• ครั้งที่ 2 – พระอาทิตย์ ขึ้น 1-5 เมษายน เวลาราว 05.56 น.
• ครั้งที่ 3 – พระอาทิตย์ ขึ้น 8-10 กันยายน ราว 05.58 น.
• ครั้งที่ 4 – พระอาทิตย์ ตก 4-6 มีนาคม เวลาราว 17.58 น.
หมายเหตุ ปรากฎการณ์ดังกล่าว ณ ปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ ดังนั้นวันและเวลาดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลงและขึ้นอยู่กับช่วงฤดูกาลด้วยหมายเหตุ ปรากฎการณ์ดังกล่าว ณ ปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ ดังนั้นวันและเวลาดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลงและขึ้นอยู่กับช่วงฤดูกาลด้วย
ทั้งนี้ มีความเชื่อกันว่า ปรากฏการณ์นี้เป็นปรากฏการณ์อันศักดิ์สิทธิ์ การรับแสงอาทิตย์ที่สอดส่องผ่านศิวลึงค์ ซึ่งตั้งอยู่กลางปราสาทเขาพนมรุ้ง เป็นการเสริมพลังชีวิต และความเป็นสิ่งมงคลกับตนเองและครอบครัวของผู้ที่พบเห็น
เส้นทางการเดินทาง
อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ตั้งอยู่บ้านตาเป็ก ตำบลตาเป็ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ มีปราสาทหินพนมรุ้งเป็นจุดเด่น ตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว สูงประมาณ 200 เมตร
ขับรถไปเอง จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 และ 2 จนถึง อ.สีคิ้ว เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 24 ผ่าน อ.นางรอง แยกขวาทางหลวง หมายเลข 2117 สู่ อ.เฉลิมพระเกียรติ และปราสาทหินพนมรุ้ง
รถโดยสาร จากสถานีขนส่งบุรีรัมย์ ขึ้นรถสายบุรีรัมย์-จันทบุรี ลงรถที่บ้านตะโกแล้วต่อรถสองแถวหรือรถจักรยานยนต์รับจ้างไปพนมรุ้ง ควรตกลงราคาค่าโดยสารก่อนเดินทาง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อที่ ททท.สำนักงานสุรินทร์ โทร. 044 514 447-8