ไหว้พระธาตุสี่จอม จอมมอญ จอมกิตติ จอมทอง และจอมแจ้ง อำเภอแม่สะเรียง

0

พระธาตุสี่จอม  อำเภอแม่สะเรียงคือชื่อเรียกรวมของวัดคู่บ้านคู่เมืองทั้ง 4 วัดที่มีลักษณะคล้ายกันคือเป็นที่ประดิษฐาน พระธาตุไว้ในองค์เจดีย์ อันได้แก่ วัดพระธาตุจอมแจ้ง วัดพระธาตุจอมทอง วัดพระธาตุจอมกิตติ วัดพระธาตุจอมมอญ ทั้ง 4 วัด ตั้งอยู่บนดอยหรือภูเขา และอยู่ในตำแหน่งทั้ง 4 ทิศของเมืองแม่สะเรียงทั้งสี่วัดสามารถมองเห็นวิวเบื้องล่างได้เหมือนกันหมด เชื่อกันว่าพระธาตุสี่จอมนี้สร้างขึ้นเพื่อขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์คอยดูแลปกปักรักษาเมืองแม่สะเรียงแห่งนี้

pratat-jommon (25) pratatchomjang (6)

ใครสักการะพระธาตุครบทั้งสี่จอม จะเป็นผู้ประเสริฐไปด้วยภูมิปัญญา เริ่มจากเมื่อเรามาถึงตัวอำเภอแม่สะเรียง จะเจอกับ วัดจอมแจ้งก่อนเป็นอันดับแรกซึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามกับพิพิธภัณฑ์แม่สะเรียง จากนั้นก็มายังพระธาตุจอมทองซึ่งตั้งอยู่ในเส้นทางเดียวกับพระธาตุจอมแจ้ง ห่างกันเพียงไม่กี่กิโลครับ เข้าไปในซอยซ้ายมือหรือสังเกตดูพระพุทธรูปองค์ใหญ่ตั้งอยู่บนเขานั้นคือพระธาตุจอมทอง และเมื่อขับผ่านเข้ามาในเมืองแม่สะเรียงผ่านสะพานปูนข้ามแม่น้ำยวมออกนอกเมืองไปเล็กน้อยไม่ไกลจากหมู่บ้านกะเหรี่ยงพะมะลอ  จะทางเข้าพระธาตุจอมมอญ และต่อด้วยพระธาตุจอมกิตติ วัดพระธาตุจอมกิตติและวัดพระธาตุจอมมอญนั้น ไปทางเดียวกัน และจะมีป้ายบอกแยกอีกทีครับ

 

ทั้งสี่วัด พระธาตุสี่จอม ประกอบไปด้วยดังนี้ (คลิกดูรายละเอียด)

1.วัดพระธาตุจอมแจ้งpratatchomjang (10)2.วัดพระธาตุจอมทองprathat-chomtong (8) 3.วัดพระธาตุจอมมอญpratat-jommon (23)4.วัดพระธาตุจอมกิตติchomkitti

ตำนานพระธาตุ 4 จอม

(ผู้เรียบเรียง..นาคฤทธิ์)

จาก…หนังสือพุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก ฉบับชำระสะสาง นาคฤทธิ์ รวบรวมชำระสะสาง กล่าวไว้ว่า

ที่ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าสืบต่อๆ กันมา มีแม่เฒ่าหม่อนเหมย วงศ์น้อย อายุ 80 กว่าปี กล่าวว่าคราวที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาสู่เมืองยวมนี้ พระองค์ได้ทรงหยุดยืนนิ่ง พร้อมเพ่งมองไปทางทิศเหนือยังดอยลูกหนึ่ง ดอยลูกนั้นจึงได้ชื่อว่า “ดอยจอมมอง” ต่อมายามเกิดภัยสงครามผู้คนจึงนำเงินทองบรรทุกเกวียนมาฝังไว้ในถ้ำมากมายถึง 3 เกวียน ถ้ากองรวมกันก็เป็นม่อนดอย บางส่วนได้สร้างเจดีย์ครอบไว้ จึงเรียกว่า “ดอยจอมม่อน” กาลต่อมาสมัยสมเด็จพระนเรศวรกวาดต้อนพม่า มอญ ไทยใหญ่(เงี้ยว) กะเหรี่ยง(ยาง) บัญชาให้ช่างชาวมอญบูรณะพระเจดีย์ขึ้นใหม่จึงเรียกชื่อว่า “พระธาตุจอมมอญ” มาจนกระทั่งปัจจุบันนี้

ย้อนกล่าวถึงเมื่อพระพุทธองค์เพ่งมองที่ดอยจอมมองแล้ว เสด็จต่อไปเอาพระหัตถ์ไปแตะที่ดอยลูกหนึ่งอยู่ทิศตะวันตก กิริยาที่มือแตะหรือจับต้อง ภาษาพื้นเมืองโบราณเรียกว่า “ติ” จึงมีชื่อว่า “ดอยจอมกิตติ” มาจนถึงทุกวันนี้

พระพุทธเจ้าเสด็จท่องเที่ยว (ต้องเตียว) ไปยังดอยลูกหนึ่งอยู่ทางทิศตัวนออกของดอยจอมกิตติ จึงมีชื่อว่า “ดอยจอมทอง” (จอมต้อง) ต่อมาเพี้ยนเป็น “ดอยจอมทอง” มาจนถึงทุกวันนี้

ในยุคของพระฤาษี ประมาณ พ.ศ.1000 กว่า (เข้าใจว่าจะอยู่ในสมัยเดียวกันกับพระฤาษีวาสุเทพแห่งอุจฉุตบรรพต (เขาไร่อ้อยหรือดอยสุเทพ) ส่วนที่เมืองยวมยังมีฤาษี 4 ตนเป็นพี่น้องกัน ฤาษีผู้พี่พำนักอยู่ดอยจอมกิตติ เก่งทางหมอยา สามารถยุบชีวิตผู้ที่พึ่งตายใหม่ๆ แล้วให้ฟื้นคืนชีพได้ โดยสอนให้ศิษย์ทำการผสมสูตรยาชุบชีวิตไว้เป็นอย่างดีแล้วก็กระโจนลงสู่หม้อยาที่กำลังร้อนเดือดอยู่ ร่างฤาษีได้ละลายหายไปในหม้อยานั้น ศิษย์ตกใจเป็นอย่างยิ่งจึงผสมสูตรยาผิดๆ ถูกๆ ด้วยลืมขั้นตอนการใส่ยาชุบชีวิต ทำให้พระฤาษีผู้เป็นอาจารย์ต้องมาจบชีวิตลงในหม้อยานั่น ปัจจุบันยังมีผู้พบยาฤาษีผสมเป็นก้อนหิน เมื่อทุบดูข้างในจะมีผงยาสีขาวบ้าง เหลืองบ้าง สามารถนำมาแช่น้ำเป็นยาวิเศษรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ตามความเชื่อของคนเจ็บป่วยที่รักษาที่อื่นไม่หาย ก็มาหายกับยาฤาษีผสมนี้ก็มี

prathat-chomtong (4)

พระฤาษีองค์รอง พำนักอยู่ดอยจอมทอง เก่งทางเล่นแร่แปรธาตุ สามารถซัดตะกั่วให้กลายเป็นทองคำก็ได้ พระฤาษีผู้น้องอีกตนหนึ่งพำนักอยู่ ดอยจอมแจ้ง เก่งทางวิชาอาคมไสยเวทย์ทุกประการ พระฤาษีผู้น้องคนสุดท้อง พำนักอยู่ดอยจอมมอญ เก่งทางเรียกฝนเรียกลม สำเร็จกสิณน้ำกสิณลม บันดาลให้มีน้ำหรือให้บังเกิดเป็นน้ำบ่อทิพย์ขึ้นบนเขาที่แห้งแล้งก็ได้ (มีผู้พบบ่อน้ำทิพย์บนเขาดอยจอมมอญ 2 รายให้ดื่มกินได้ เมื่อพาผู้อื่นไปเอากลับหายไปหาไม่พบ ปัจจุบันเจาะบ่อบาดาล น้ำใต้ดินได้ไหลพุ่งขึ้นมาเอง ไม่ต้องใช้เครื่องสูบน้ำ พระฤาษีผู้นี้อาจบันดาลให้มีน้ำอุดมสมบูรณ์เป็นบ่อน้ำทิพย์ใช้เป็นประโยชน์ได้ทั้งวัดเลยทีเดียว)

พระฤาษีทั้งสี่พี่น้องนี้ยังได้สร้างเจดีย์สำเร็จด้วยหินอยู่บนเขาทั้งสี่จอมไว้เป็นที่สักการบูชาของสาธุชนอีกด้วย และมีอาจารย์ของฤาษีเป็นอาจารย์ใหญ่ที่ถ่ายทอดวิชาต่างๆ ให้ฤาษีทั้ง 4 ตนนี้ ท่านพำนักอยู่ถ้ำเหง้า (หรืออาจเป็นถ้ำพระเจ้า ซึ่งอยู่ในป่าทางทิศเหนือที่พบรอยพระพุทธบาทนั้นก็ได้) เมื่อหมดยุคของพระฤาษีแล้วก็รกร้างเสื่อมโทรมไปตามกาลเวลาและหนีภัยสงครามกันด้วย

กาลต่อมาถือเอาบุพพนิมิตที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรดชาวเมืองยวมพยากรณ์จอมดอยสี่แห่ง จึงได้สร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้น 4 มุมเมือง โดยที่ชาวอำเภอแม่สะเรียงเป็นอำเภอชายแดนติดเขตพม่า แต่ก่อนเคยเป็นถิ่นฐานอาศัยของชนเผ่าลัวะ (ละว้า) ยาง (กะเหรี่ยง) ต่อมามีชนพื้นเมืองพม่า ไทยใหญ่ (เงี้ยว) มอญ (เม็ง) อพยพมาอาศัยอยู่ด้วย เพื่อความสมานสามัคคีกันในหมู่คณะ ต่างก็ถึงซึ่งพระรัตนตรัยเป็นสรณะที่พึ่ง จึงปรึกษาหารือกันให้ชาวมอญสร้าง “พระธาตุจอมมอญ” ไว้เป็นที่กราบไหว้สักการบูชา

ประมาณปีพ.ศ.2143 (สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช) ชาวพม่าสร้าง “พระธาตุจอมกิตติ” ไว้สักการบูชา ชาวไทยใหญ่ (เงี้ยว) สร้าง “พระธาตุจอมทอง” ไว้สักการบูชา พระธาตุ 4 มุมเมืองทุกแห่งได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากประเทศพม่ามาบรรจุไว้ในพระเจดีย์อีกด้วย และปรากฏเหตุการณ์อัศจรรย์คือ มีแสงพระธาตุเสด็จลอยไปมาหาสู่กันระหว่างพระธาตุ ๔ จอมนี้อยู่เสมอในคืนวันพระและวันสำคัญในทางพระพุทธศาสนา

ผู้เฒ่าผู้แก่ได้เล่าสืบๆ กันมา ผูกเป็นคำกลอนพูดติดปากกันว่า “จอมมอญ มาจอมมะติ มาต้องที่นี่และมาแจ้งที่นี่” ก็คือพระธาตุจอมมอญ จอมกิตติ จอมทอง และจอมแจ้ง นั่นเองผู้เฒ่ากล่าวว่าพุทธองค์ได้พยากรณ์ไว้ว่า “หากพระธาตุ 4 จอมเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาเมื่อใด ชาวเมืองยวมและพุทธศาสนาจะมีความเจริญรุ่งเรืองที่สุด จะได้อยู่เย็นเป็นสุขทุกถ้วนหน้ากัน” ปัจจุบันพระธาตุ 3 แห่งได้บูรณปฏิสังขรณ์มีความเจริญรุ่งเรืองตามลำดับ ยังคงค้างพระธาตุจอมกิตติที่ยังไม่ค่อยเจริญเท่าใดนัก ถึงกระนั้นอำเภอแม่สะเรียงก็มีความเจริญรุ่งเรืองกว่าเก่ามาก นับว่าเจริญเป็นอันดับ 2 รองจากอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอนเลยทีเดียว ดังนั้น “พระธาตุ 4 จอม จึงถือเป็นพระธาตุคู่บ้านคู่เมืองแม่สะเรียง” สมดั่งคำขวัญของอำเภอแม่สะเรียงว่า…

ผ้าทอกะเหรี่ยง    เสนาะเสียงสาละวิน    งามถิ่นธรรมชาติ

พระธาตุสี่จอม    ดอกไม้หอมเอื้องแซะ   แวะบูชารอยพระหัตถ์      พระบาทเมืองยวม

เชิญแสดงความคิดเห็น