ไหว้พระธาตุช่อแฮ พระธาตุประจำปีขาล

0

ทริปนี้ดูเอเซีย.คอมพาเพื่อนๆมาแอ่วเหนือกันถึงเมืองแพร่ พูดถึงเมือแพร่ทั้งที หากมาสายธรรมมะ ทำบุญเข้าวัดแล้วละก็ พลาดไม่ได้เลยค่ะ ที่จะมาสักการะนมัสการ พระธาตุช่อแฮ โดยเฉพาะคนที่เกิดในปีขาล หรือปีเสือนั้น เรียกได้ว่า สายตรงเลยสำหรับวัดพระธาตุช่อแฮที่ดูเอเซีย.คอมพาเพื่อนๆมาชมกันในทริปนี้

patadchoha (1)

คนเยอะครับ เดินขึ้นบันไดไปสักการะพระธาตุช่อแฮpatadchoha (4)

มีความเชื่อโบราณอยู่ว่า หากผู้ใดที่ได้มาไหว้ สักการะ พระธาตุประจำปีเกิดของตนเองสักครั้งหนึ่งในชีวิต ถือว่าเป็นมงคลสูงสุดแล้วในชีวิต ซึ่งพระธาตุช่อแฮที่ดูเอเซีย.คอม พาเที่ยวนั้นก็เป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนที่เกิดปีขาล ฉะนั้นจึงถือเป็นโอกาสที่ดีเยี่ยมหากเพื่อนๆ คนไหนที่เกิดในปีขาล แล้วมานมัสการขอพรจากพระธาตุช่อแฮแห่งนี้ แต่หากคนใดที่ไม่ได้มีปีเกิดตรงกับปีขาลก็พลาดไม่ได้ที่จะมาขอพรจากพระธาตุช่อแฮอยู่ดี เพราะเขาว่ากันว่าหากใครมาเที่ยวจังหวัดแพร่แต่ไม่ได้มานมัสการพระธาตุช่อแฮก็เหมือนไม่ได้มาจังหวัดแพร่ (ขนาดนั้นเลยล่ะค่ะเพื่อนๆ)

จากคำกล่าวขานข้างต้นที่ว่า “หากไปเมืองแพร่แล้วไม่ได้ไปไหว้พระธาตุช่อแฮก็เหมือนไปไม่ถึงเมืองแพร่” สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความสำคัญของวัดพระธาตุช่อแฮต่อจังหวัดแพร่แห่งนี้ เรามาทำความรู้จักประวัติความเป็นมาของวัดนี้กันดูดีกว่า ว่าเหตุใด จึงมีความสำคัญคู่บ้านคู่เมืองจังหวัดแพร่ขนาดนี้

 patadchoha (6) patadchoha (3) patadchoha (14)

วัดพระธาตุช่อแฮ เป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองแพร่ พระธาตุช่อแฮ เป็นวัดที่ประดิษฐานองค์พระธาตุช่อแฮ ซึ่งเป็นพระธาตุศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองแพร่ ที่บรรจุเส้นพระเกศาของพระพุทธเจ้า มีประวัติความเป็นมาว่าสร้างในสมัยสุโขทัย เป็นพระธาตุรูปทรง แปดเหลี่ยม ย่อมุมไม้สิบสอง สูงประมาณ ๓๓ เมตรศิลปะแบบเชียงแสนบุด้วยทองดอกบวบ เป็นพระธาตุประจำปีเกิด ของคนเกิดปีขาล(เสือ)ผู้ที่ได้มาเที่ยวจังหวัดแพร่ สิ่งที่ขาดไม่ได้คือการได้ไปเที่ยววัดพระธาตุช่อแฮ และไปกราบไหว้พระเจ้าทันใจ และหลวงพ่อ ช่อแฮ เพื่อเป็นศิริมงคลต่อตัวเองและครอบครับผู้ที่มาเที่ยวชม

 องค์พระธาตุช่อแฮpatadchoha (14)

เดินวน 3 รอบพร้อมกับตั้งจิตอธิฐานขอพรครับpatadchoha (15)patadchoha (7) patadchoha (13)

องค์พระธาตุเป็นพระธาตุประจำปีเกิด ๑ ใน ๑๒ ราศรี คือเป็น พระธาตุประจำปีเกิดปีขาล(เสือ)หากว่าผู้ที่เกิดปีขาลนำผ้าแพรสามสีมา ถวายจะทำให้ชีวิตมีพลังคุ้มครองป้องกันศัตรูได้ การสวด และไหว้ให้เริ่มต้น นะโม ๓ จบสวดตามด้วยคาถาบูชาพระธาตุ ๕ จบ พลังบารมีจะดลปันดาล ให้มีชีวิตที่ดีขึ้น

ปัจจุบันวัดพระธาตุช่อแฮได้พัฒนาทุกๆ ด้านให้สมกับเป็นวัดคู่บ้าน คู่ เมือง เมือง โดยมี พระครูวิมลกิตติสุนทร เจ้าอาวาสชาวจังหวัดแพร่ได้จัดงานประเพณีนมัสการพระธาตุช่อแฮขึ้นระหว่าง ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๔ ใต้ เดือน ๖ เหนือ ทุกปี โดยใช้ชื่อว่า “งานไหว้พระธาตุช่อแฮ เมืองแพร่แห่ตุงหลวง” บันใดนาค ทางด้านทิศตะวันออก และทิศใต้องค์พระธาตุมีอายุหลายร้อยปี  สันนิฐานว่าสร้างหลังจากองค์พระธาตุสร้างเสร็จ

patadchoha (19) patadchoha (9) patadchoha (24)

หลวงพ่อช่อแฮ  ดูคล้ายๆ กับพระพุทธชินราช เมืองพิษณุโลกpatadchoha (18)

หลวงพ่อช่อแฮ เป็นพระประธานประดิษฐานในพระอุโบสถ
patadchoha (17)patadchoha (22) patadchoha (20)

ประเพณีการไหว้พระธาตุช่อแฮเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านาน เดิมจะจัด 5 วัน 5 คืน ในปี พ.ศ. 2536 ได้เปลี่ยนแปลงเป็น 7 วัน 7 คืน วันแรกของงาน จะเริ่มขึ้นในวันขึ้น 9 ค่ำเดือน 6 เหนือ เดือน 4 ไต้ของทุกปีซึ่งถือว่าการจัดงานไหว้พระธาตุช่อแฮ ยึดถือตามจันทรคติเป็นหลัก ประเพณีไหว้พระธาตุช่อแฮ เมืองแพร่ แห่ตุงหลวง ในการจัดงานมีขบวนแห่อันยิ่งใหญ่ประกอบไปด้วยริ้วขบวนของทุกอำเภอ การฟ้อนรำ ขบวนช้างเจ้าหลวง และเครื่องบรรณาการ ขบวนแห่ กังสดาล ขบวนแห่หมากเป็ง ขบวนต้นผึ้ง ขบวนแห่ผ้าห่มองค์พระธาตุ 12 ราศี ซึ่งประกอบด้วยขบวนตุง 12 ราศรี ขบวนข้าวตอกดอกไม้ ต้นหมาก ต้นผึ้ง ต้นดอก ขบวนแห่ผ้าห่มองค์พระธาตุ 12 ราศรี ขบวนกังสดาล ขบวนตุง ขบวนฟ้อนรำ มีการเทศน์และมีการเทศน์และฟังเทศน์มหาชาติ มหาเวสสันดรชาดก ทั้งกลางวันและกลางคืน สำหรับกลางคืนมีมหรสพสมโภชตลอดงาน

 

ตำนานพระธาตุช่อแฮ

พระธาตุช่อแฮ ซึ่งพบว่าเขียนเป็นอักษรธรรมว่า “ช่อแฮ”และ “ช่อแร” ซึ่งอ่านว่า “ช่อแฮ” ทั้งสองอย่าง และมีความหมายว่า ธงสามเหลี่ยมทำด้วยแพร เป็นชื่อปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมืองของชาวแพร่ (เมืองแพร่ มีหลักฐานการเขียนทั้ง “แพล่”และ “แพร่”ซึ่งคำแรกเป็นศัพท์ที่เก่าแก่กว่า ซึ่งมีความหมายเหมือนกัน คือ “เจริญ งอกงาม” ทั้งคู่) พระธาตุช่อแฮ มีตำนานเล่ามา ดังนี้

 

เมื่อพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้พระสัพพัญญูตัญญาณได้ ๒๕ พรรษาแล้ว ครั้งที่ประทับอยู่ที่เชตวันมหาวิหารนั้น คืนหนึ่งพระองค์ก็รำพึงว่า พระองค์ก็ทรงมีอายุ ๖๐ พรรษาแล้ว เมื่ออายุแปดสิบ พระองค์จะปรินิพพาน จึงคิดว่าควรอธิษฐานธาตุของพระองค์ให้เป็น ๓ ส่วน แจกให้เทวดาและมนุษย์เอาไว้กราบไหว้บูชา เพราะสัตว์โลกยังเห็นพระองค์ไม่ทั่วถึง และพระองค์จะอธิษฐานให้ธาตุของพระองค์ ไปสถิตอยู่ยังสถานที่อันสมควร

 

เมื่อออกพรรษาแล้ว พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระอรหันต์ ๓ องค์ คือ พระโสณะ พระอุตตระ พระรัตนะและพระมหาเถรอีกรูปหนึ่ง ได้เสด็จไปสอนสัตว์โลกตั้งแต่เมืองกุสินานาจนถึงเมืองแพร่ ได้มาประทับที่ใต้ร่มไม้แห่งหนึ่งเรียก “ไม้จ้องแค่” บนดอย”โกสิยธชคบรรพต” ไม้ต้นนั้นมีสาขางดงามและมีผลสะพรั่ง ขุนลัวะผู้หนึ่งชื่อ”อ้ายก๊อม”ทราบข่าวก็ไปกราบไหว้พระพุทธเจ้า และทูลว่าผู้กินผลไม้นั้นจะเป็นบ้า พระพุทธเจ้าก็ได้กิน “หมาก” นั้น พร้อมกับปูนและพลูและแสดงปาฏิหาริย์ให้ขุนลัวะผู้นั้นดู แล้วกล่าวว่าถ้าใครกินหมากนั้นก็จะเป็นบ้าแล่นไป เหตุนั้นเมืองนี้จะได้ชื่อว่า”เมืองแพร่” จากนั้นพระองค์ได้ประทานเกศาเส้นหนึ่ง ให้ลวะอ้ายก๊อมบรรจุไว้ในถ้ำลึก ๒๐๐๐ วาซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของดอยลูกนั้น ประชาชนต่างดีใจก็ได้นำข้าวของมาถวายไว้ในถ้ำ พระอินทร์ก็แต่งยนต์จักรมาถวายพร้อมกับปิดปากถ้ำด้วยหิน ๓ ก้อน พระพุทธเจ้าได้รับสั่งต่อไปว่า ถ้าพระองค์ปรินิพพานแล้ว ให้เอาพระธาตุศอกข้างซ้ายมาบรรจุไว้ที่นี่ เพื่อว่าสถานที่นั้นจะได้ชื่อว่าเมืองแพร่เพราะพระองค์เคยประทับนั่งใต้ต้นหมากนั้นแล้ว จากนั้นก็เสด็จไปยังเมืองต่างๆ เพื่อบรรจุพระธาตุแล้วเสด็จกลับเชตวันมหาวิหาร

 

เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ ๒๑๘ ปี พระเจ้าธรรมาโศกราช(หรือพระเจ้าอโศก) กับท้าวพญาต่างๆ ในชมพูทวีปก่อพระเจดีย์ ๘๔,๐๐๐ องค์ แล้วอัญเชิญพระธาตุมาบรรจุ และอธิษฐานอัญเชิญไปสถิตยังสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงหมายไว้ พระธาตุก็เสด็จลอยไปทางอากาศไปยังที่นั้นๆ พระอรหันต์ทั้งหลายกล่าวว่า เจดีย์องค์หนึ่งจะตั้งอยู่ในพลนคร บนดอยโกสิยธชคบรรพตทิศตะวันออกของแม่น้ำยมุนาคือแม่น้ำยม เมื่อบรรจุพระธาตุศอกซ้ายที่ดอยดังกล่าวแล้ว มีพระอรหันต์ ๗ องค์ พญา ๕ องค์เป็นผู้อุปถัมภ์ แล้วทำการสักการะบูชาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน และพระธาตุก็มักกระทำปาฏิหาริย์อยู่เสมอ

 

ต่อมาเมื่อ “พญาลิไทเป็นกษัตริย์แห่งล้านนา” พระองค์ได้ยกพลมายังพลนครคือเมืองแพร่ เพื่อปฏิสังขรณ์เจดีย์บนดอยโกสิยธชคบรรพต เมื่อกลับไปถึงบ้านกวาง(ในท้องที่อำเภอสูงเม่นปัจจุบัน) ช้างซึ่งบรรทุกของได้ลมเชือกหนึ่ง จึงให้เฉลี่ยของไปบรรทุกช้างเชือกอื่น ในที่นั้นได้ชื่อว่า “บ้านกวานช้างมูบ” แล้วไปพักที่ดอยจวนแจ้ง (ดอยจอมแจ้ง-ศาลนางแก๋วนางแมน) เมื่อจัดที่พักแก่ข้าราชบริพารสตรีและบุรุษแล้ว ก็ปฏิสังขรณ์เจดีย์ดังกล่าวจนแล้วเสร็จจึงเสด็จกลับ ต่อนั้นมาเจ้านายไพร่ฟ้าประชาชนก็ร่วมแรงร่วมใจกันบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุช่อแฮมาตราบเท่าทุกวันนี้

 

พระธาตุช่อแฮ เป็นปูชนียสถาน และโบราณวัตถุที่สำคัญที่สุดของจังหวัดแพร่ ของล้านนาไทย ทางราชการกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ มีประเพณีเทศกาลนมัสการพระธาตุนี้ในกลางเดือน ๖ เหนือ ซึ่งจะมีประชาชนไปนมัสการเสมอแม้ในยามปกติ พระธาตุชื่อแฮนี้เป็น ธาตุปีเกิดหรือพระธาตุเจดีย์ของผู้ที่เกิดในปีขาล

 

ครูบาศรีวิชัย ซึ่งเป็นนักบุญสำคัญแห่งล้านนา เคยได้ปฏิสังขรณ์พระธาตุองค์นี้แล้วครั้งหนึ่ง องค์พระธาตุเดิมบุด้วยทองจังโก ครูบาศรีวิชัยได้รื้อเอาทองออก แล้วพอกปูนให้โตกว่าเดิมเล็กน้อย ขนาดสูงสุดยอด ๑๖ วา ๒ ศอก ฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ ๕ วา ๒ ศอก ๑๒ นิ้ว

(เรียบเรียงจาก อัจฉรา ประมวล )

 patadchoha (31) patadchoha (27) patadchoha (30) patadchoha (23)

หลังจากทราบประวัติความเป็นมาที่เก่าแก่ของพระธาตุช่อแฮกันไปแล้ว ดูเอเซีย.คอมก็ขออนุญาตไหว้พระธาตุช่อแฮ ทำบุญเพื่อเป็นสิริมงคลเสียเลยแล้วกันนะค่ะ

 

ดูเอเซีย.คอมก็ขอเชิญชวนให้เพื่อน หากคนใดที่มาแอ่วเมืองเหนือ ที่จังหวัดแพร่ ก็อย่าลืมมาไหว้พระธาตุ ทำบุญ ทำจิตใจให้บริสุทธิ์กันที่วัดพระธาตุช่อแฮ แห่งเมืองแพร่ แห่งนี้นะค่ะ แล้วจะรู้สึกอิ่มบุญกลับบ้านเหมือนดูเอเซีย.คอมค่ะ

 

การเดินทางมายังวัดพระธาตุช่อแฮ

ตั้งอยู่ตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ ห่างจากตัวเมืองแพร่ไปตามถนนช่อแฮ ประมาณ 9 กิโลเมตร (เส้นทางหลวงหมายเลข 1022)

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

http://th.wikipedia.org

http://www.lannaworld.com/story/legend/shorhae.htm

เชิญแสดงความคิดเห็น