วัดสวนดอก พระอารามหลวง เชียงใหม่

0

watsuandok (14)watsuandok (33)watsuandok (26)

พระอุปคุตwatsuandok (28)

ในอดีตวัดสวนดอกนี้ พระเจ้ากือนาธรรมิกราชได้พระราชทานนามชื่อไว้ว่าวัดบุปผาราม  ซึ่งหมายถึง วัดแห่งสวนดอกไม้ เป็นอุทยานสวนดอกไม้ ต่อมาคนส่วนใหญ่มักเรียกเพียงสั้นๆ ว่าวัดสวนดอกจึงได้ใช้ชื่อนี้แทนครับ  ต่อมาได้เป็นพระอารามหลวงเนื่องจากเป็นวัดที่มีการพัฒนาทุกด้านอย่างสม่ำเสมอครับ

 

ความน่าสนใจภายในวัดสวนดอก

1. พระเจดีย์ใหญ่ทรงลังกา

พระเจดีย์วัดสวนดอก ได้รับการบูรณะใหม่และหุ้มแผ่นทองจังโกพระเจดีย์ใหญ่ทรงลังกาบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1914 ในรัชกาลของพระเจ้ากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่ง ราชวงศ์เม็งราย โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง “พระอารามหลวง” โดยโปรดเกล้าให้สร้าง “พระเจดีย์ทรงลังกา” ขึ้นเพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ที่พระมหาเถระสุมนได้อัญเชิญมาจากสุโขทัย ในปี พ.ศ. 1912 ซึ่งแต่เดิมมีเจดีย์แบบสุโขทัย (ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์) อยู่ทางทิศตะวันตกขององค์พระเจดีย์ใหญ่ แต่ได้ปรักหักพังลง พระเจดีย์องค์ใหญ่สูง 24 วา ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2478

watsuandok (3) watsuandok (17) watsuandok (18) watsuandok (30)watsuandok (23)watsuandok (29)

 

2. พระเจ้าเก้าตื้อ

พระเจ้าเก้าตื้อ เป็นพระพุทธรูปองค์สำคัญและเป็นที่เคารพสักการะ ของชาวเชียงใหม่ สร้างด้วยโลหะหนัก 9 โกฏิตำลึง พระญาเมืองแก้ว (เรียกในตำนานว่า พระเจ้าดิลกปนัดดาธิราช หรือพระเจ้าศิริธรรมจักรพรรดิราช กษัตริย์แห่งเมือง เชียงใหม่ ซึ่งครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2038 – 2068 ) กษัตริย์องค์ที่ 13 แห่ง ราชวงศ์เม็งราย โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2047

“พระเจ้าเก้าตื้อ” เป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสนฝีมือช่างล้านนาและสุโขทัย หน้าตักกว้าง 8 ศอก หรือ 3 เมตร สูง 4.70 เมตร เพื่อเป็นพระองค์ประธานใน วัดพระสิงห์ แต่เนื่องมีน้ำหนักมากไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ จึงได้ถวายเรือนหลวงของพระองค์เป็นพระวิหาร พระราชทานชื่อว่า “วัดเก้าตื้อ” แทน ซึ่งต่อมาภายหลังได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัย ครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ในปี พ.ศ. 2475 กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2478

ที่ประดิษฐานองค์พระเจ้าเก้าตื้อ
watsuandok (7) watsuandok (10)watsuandok (9)watsuandok (5)watsuandok (11) watsuandok (8)

คำว่าเก้าตื้อนี้มีความหมาย : เก้าตื้อ หมายถึงทองหนัก 9 ตื้อ คำว่า “ตื้อ” เป็นหน่วยน้ำหนักทองที่เรียกในสมัยโบราณ … ตื้อเป็นภาษาพื้นเมืองเหนือ 1 ตื้อ เท่ากับ พันชั่ง หรือ ทองคำ 1,000 กิโลกรัม ดังนั้น 9 ตื้อก็เป็นนำหนักทอง 9,000 กิโลกรัม หรือ 9 ตัน …

ดังนั้น “พระเจ้าเก้าตื้อ” จึงเป็นพระพุทธรูปที่สร้างด้วยทองคำหนักมากมายทีเดียว และเป็นพระพุทธรูปหล่อ ที่ใหญ่โตและงดงามที่สุด พระเจ้าเก้าตื้อชาวล้านนาร่วมกันสร้างขึ้นเพื่อให้เป็นศูนย์รวมจิตใจ ศูนย์รวมศรัทธาที่แสดงถึงความ เป็นปึกแผ่นของบ้านเมืองในสมัยนั้น

 

3. พระพุทธปฏิมาค่าคิง

พระพุทธปฏิมาค่าคิง (เท่าพระวรกาย) เป็นพระประธานในพระวิหารหลวง สร้างในสมัยพระเจ้ากือนา พ.ศ. 1916 หล่อด้วยทองสำริด ขนาดเท่าพระวรกายของพระเจ้ากือนา หน้าตักกว้างสองเมตร สูงสองเมตรครึ่ง เรียกชื่อตามภาษาถิ่นล้านนาว่า “พระเจ้าค่าคิง”

watsuandok (31)

 

4.กู่เจ้านายฝ่ายเหนือ

กู่เจ้านายฝ่ายเหนือ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2450 โดยพระดำริใน พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้านายฝ่ายเหนือใน ราชตระกูล ณ เชียงใหม่ … พระนางทรงเห็นว่าทำเลที่ตั้งของวัดสวนดอกกว้างขวาง จึงโปรดให้อัญเชิญรวบรวมพระอัฐิของ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และ พระประยูรญาติ มาประดิษฐานรวมกัน ณ ที่นี่ จากที่เคยอยู่ใต้ต้นสนร้างริมแม่น้ำปิง รวมทั้งได้ประทานทรัพย์ให้การทำนุบำรุงมาโดยตลอดพระชนม์ชีพ

หลังจาก พระราชชายา เจ้าดารารัศมี สิ้นพระชนม์ ได้มีการแบ่งพระอัฐิของพระองค์มาประดิษฐานไว้ ณ กู่เจ้านายฝ่ายเหนือ แห่งนี้ (อีกส่วนหนึ่งแบ่งประดิษฐานไว้ใน สุสานหลวง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร) ปัจจุบัน กู่เจ้านายฝ่ายเหนือ แห่งนี้ ได้ถูกจดทะเบียนให้เป็นโบราณสถานสำคัญ ภายใต้การกำกับดูแลของกรมศิลปากร ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2478

watsuandok (32)watsuandok (1) watsuandok

วัดสวนดอกก็กลายเป็นที่เก็บ อัฐิของเจ้านายในราชวงศ์เชียงใหม่สืบมา โดยราชสกุลรุ่นต่อๆมาก็ได้อุปถัมภ์ค้ำชูวัดนี้มาโดยตลอด จึงถือว่าวัดสวนดอก เป็นวัดประจำตระกูล ณ เชียงใหม่ เป็นต้นมา

พ.ศ.2475 พระครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาได้ทำการบูรณะวัดนี้ขึ้นและได้บูรณะวิหารหลวงหลังปัจจุบันด้วย และ หลังจากที่พระครูบาศรีวิชัยมรณะภาพในปี พ.ศ. 2481 ก็ได้สร้างอนุสาวรีย์เก็บอัฐิไว้ที่วัดนี้ด้วยเช่นกัน

 

ประวัติวัดสวนดอก

วัดสวนดอก ตั้งอยู่เลขที่ 139 ถนนสุเทพ ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ ห่างจากประตูสวนดอกไปทาง ทิศตะวันตกประมาณ 1 กิโลเมตร เนื้อที่ของวัดมี 35 ไร่ 2 งาน 44 ตารางวา สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย วัดสวนดอกเป็นวัดที่พระเจ้ากือนาธรรมิกราช กษัตริย์ลำดับที่ 6 แห่งราชวงศ์มังราย (อาณาจักรล้านนา) เป็นผู้ทรงสร้างซึ่งถือเป็นวัดมังรายเป็นผู้ทรง

สร้างซึ่งถือเป็นวัดมังราย (อาณาจักรล้านนา) เป็นผู้ทรงสร้าง ซึ่งถือเป็นวัดที่สำคัญยิ่งในสมัยนั้นที่สำคัญยิ่งในสมัยนั้น สาเหตุที่ พระองค์ทรงสร้างเพราะศรัทธาในพระพุทธศาสนา อีกทั้งเพื่อเป็นสถานที่อยู่และปฏิบัติธรรมของพระสงฆ์พร้อมกันนั้นก็เป็นที่พุทธศาสนิกชนได้ใช้เป็นสถานที่ทำบุญและประกอบพิธีกรรมตามประเพณีของชาวพุทธอีกด้วย ซึ่งคาดว่าวัดสวนดอกได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาประมาณ พ.ศ.1962

วัดสวนดอกได้พัฒนาให้มีความเจริญรุ่งเรืองในทุกๆ ด้าน รัฐบาลได้เห็นความสำคัญจึงส่งเสริม สนับ สนุน และยกย่องชมเชย พร้อมกับยกเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างเมื่อ พ.ศ. 2509 เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2533วัดสวนดอกได้รับการสถาปนาเป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ
watsuandok (4) watsuandok (13) watsuandok (20) watsuandok (21)

 

ประเพณีประจำปีของวัดสวนดอก

1.ประเพณีทำบุญสลากภัต ตรงกับวันขึ้น 8 ค่ำ เดือนเกี๋ยงเหนือเดือน 11

2.ประเพณีตั้งธรรมหลวง หรือฟังเทศน์มหาชาติ หลังออกพรรษาแล้วทุกปี

3.ประเพณีทำบุญสรงน้ำพระบรมธาตุ ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 เหนือทุกปี

watsuandok (2)

 

การเดินทาง

จากตัวเมืองเชียงใหม่มาตามคูเมืองจนพบประตูสวนดอกให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนสุเทพ ขับตรงไปเรื่อยๆ เลย 4 แยกไฟแดง (ไฟแดงเล็ก) ไปอีกนิดวัดอยู่ด้านซ้ายมือ  หรือใช้บริการสี่ล้อแดงก็ได้ครับสะดวกไม่แพงด้วย

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.oknation.net/blog/print.php?id=829584

เชิญแสดงความคิดเห็น