พระธรรมเจดีย์ศรีไตรภูมิ
ร่างกายที่ไม่เน่าเปื่อยของหลวงปู่คำคนิง จุลมณี ทำให้วัดถ้ำคูหาสวรรค์แห่งนี้มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักดีของผู้เลื่อมใสทั้งฝั่งไทย และลาว ท่านได้มรณภาพไปเมื่อปี พ.ศ.2528 สิริอายุได้ 91 ปี บรรดาลูกศิษย์ได้เก็บร่างของท่าน ไว้ในโลงแก้วเพื่อบูชา บริเวณวัดมีจุดชมวิว หากอากาศดีๆ จะสามารถมองเห็นแม่น้ำสองสี และทัศนียภาพของลำน้ำโขง และฝั่งลาวได้อย่างชัดเจน
หลวงปู่คำคะนิง จุลละมณี เป็นชาวคำม่วน แขวงคำม่วน ประเทศลาว ท่าน เกิดวันพุธ เดือนสี่ ปีกุน บิดาชื่อ คิน ทะโนราช มารดาชื่อ นุ่น มีพี่น้อง 5 คน หลวงปู่เป็นคนที่ 3 เมื่ออายุได้ 18 ปี ได้แต่งงาน มีบุตร 2 คน แต่พออายุได้ 30 ปีก็เบื่อหน่ายชีวิตครองเรือน จึงอำลาลูกเมียออกบวชเป็นฤๅษีดาบส ท่องเที่ยวธุดงค์ไปในป่าเขาลำเนาไพร เป็นเวลานานถึง 15 ปี ไม่เคยเข้าอยู่หมู่บ้านเลย อยู่แต่ในป่าเป็นวัตร ถือสัจจะเคร่งในศีลฤๅษีโยคี ฝึกตนอย่างเคร่งเครียดละเว้นความชั่วทุกประการ
ร่างของหลวงปู่คำคนิงในโลงแก้ว
15 ปี ที่บวชเป็นพระฤาษี ออกธุดงค์ตามป่าเขาพระฤาษีก็มุ่งเดินธุดงค์แสวงหาความเร้นลับ ศึกษาเวทย์วิทยาคมจากจากพระอาจารย์ที่โด่งดัง จากฆราวาสผู้มีวิชาเกรียงไกร ทั้งจากประเทศลาว ประเทศกัมพูชา และประเทศไทย เป็นสหธรรมิกกับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโคจังหวัดพระนครศรีอยุทธยา หลวงปู่ได้พระคัมภีร์จากหลวงปู่รูปหนึ่งที่ภูเขาอีด่าง ในตำรานั้นประมวลพระคาถา สามารถย่นระยะทางได้ เดินบนผิวน้ำได้ เหาะเหินเดินอากาศได้ บันดาลฝนให้มีลมพายุแรงได้ ทำตัวให้หนักสามารถจมเรือลำใหญ่ๆได้
หลังจากอุปสมบทแล้ว ได้จำพรรษาอยู่หลายวัด หลายสิบพรรษาสงฆ์ จนวาระสุดท้าย ได้เข้ามาจำพรรษาที่ถ้ำควาย บ้านด่านใหม่ ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ท่านเคยเล่าเรื่องเที่ยวเมืองนาคให้ลูกศิษย์ฟัง เป็นที่น่าสนใจใคร่รู้ของคนทั่วไป ด้วยความศรัทธาของชาวโขงเจียม และบุคคลทั่วไป ได้ร่วมกันบริจาคทรัพย์เพื่อก่อสร้างถาวรวัตถุทางพุทธศานา ใช้เป็นที่ปฏิบัติธรรม ประกอบพิธีทางศานาของพระภิกษุสงฆ์และฆราวาส โดยได้ตั้งชื่อว่า “วัดถ้ำคูหาสวรรค์” ซื่งหลวงปู่ได้จำพรรษาที่วัดแห่งนี้จนถึงวันมรณภาพ เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2528 สิริอายุ 91 ปี (พรรษา 46 พรรษา) บรรดาศาสนุศิษย์ได้รวบรวมปัจจัยจัดทำโลงแก้ว ประดับเพชรเทียมเป็นที่เก็บรักษาร่างของท่านไว้จนถึงปัจจุบันนี้
การเดินทางไปวัดถ้ำคูหาสวรรค์
วัดถ้ำคูหาสวรรค์ ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 2222 ก่อนถึงอำเภอโขงเจียม ประมาณ 6 กิโลเมตร ห่างจากตัวเมืองอุบลฯ 94 กิโลเมตร จากตัวเมืองให้ขับมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออก บนถนนสถิตนิมานกาล
แม่น้ำสองสี (แต่ผมดูไม่ออก)