ดูเอเซีย.คอม ข้อมูลท่องเที่ยว ทั่วไทย ทริปท่องเที่ยว แผนที่ 77 จังหวัด การเดินทาง จองโรงแรม จองตั๋วเครื่องบิน สถานที่ท่องเที่ยว
ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

http://www.dooasia.com/ > สัตวต่างๆ ของโลก > แพนด้ายักษ์ 

แพนด้ายักษ์

แพนด้ายักษ์ 

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

Giant panda 
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Ailuropoda melanoleuca

ลักษณะทั่วไป
    
แพนด้ายักษ์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความน่ารักมากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก คนส่วนใหญ่คิดว่าแพนด้ายักษ์เป็นสัตว์อ้วนเตี้ยอุ้ยอ้ายแสนน่ารัก แต่ที่จริงแล้วแพนด้ายักษ์ก็เป็นอันตรายเช่นเดียวกับหมีชนิดอื่น ๆ มีรูปร่างคล้ายหมี มีขนสีดำที่บริเวณหู, รอบดวงตา, รอบปากและจมูก, บ่า และขาทั้งสี่ข้าง ส่วนอื่น ๆ ของร่างกายปกคลุมด้วยขนสีขาว นักวิทยาศาสตร์ไม่ทราบเหตุผลที่แน่นอนว่าทำไมแพนด้ายักษ์จึงมีขนสีขาวดำแปลกประหลาดเช่นนี้ บางคนคิดว่าลักษณะเช่นนี้เป็นประโยชน์ในการพรางตัวบริเวณร่มเงาในสิ่งแวดล้อมที่เป็นหิมะและภูเขา ขนหนาและปุกปุยของมันช่วยเก็บรักษาความอบอุ่นของร่างกายได้ดีแม้อากาศจะหนาวจัด แพนด้ายักษ์มีฟันกรามขนาดใหญ่และกระดูกขากรรไกรแข็งแรงที่สามารถบดลำไม้ไผ่ให้แตกได้ แพนด้ายักษ์มีขนาดใกล้เคียงกับหมีดำของอเมริกา เมื่อมันยืนสี่ขาจะมีความสูงจากพื้นถึงหัวไหล่ประมาณ 2-3 ฟุต มีความยาวประมาณ 4-6 ฟุต ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย และอาจมีน้ำหนักมากกว่า 115 กก.สำหรับแพนด้ายักษ์ที่อาศัยในป่า ส่วนตัวเมียส่วนมากจะมีน้ำหนักไม่ถึง 100 กก.
      

ถิ่นอาศัย, อาหาร
     แพนด้ายักษ์กระจายพันธุ์ในแนวเทือกเขาทางตอนกลางของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ในมณฑลเสฉวน, ชานซี และกานสู ในอดีตแพนด้ายักษ์เคยกระจายพันธุ์ลงมาถึงบริเวณที่ราบต่ำ แต่เพราะการตัดไม้ทำลายป่า, การขยายพื้นที่เกษตรกรรม และการพัฒนาพื้นที่ ทำให้ปัจจุบันแพนด้ายักษ์ถูกจำกัดการกระจายพันธุ์ให้เหลือเฉพาะในเทือกเขาเท่านั้น แพนด้ายักษ์อาศัยอยู่ในป่าสนและป่าไม้ใบกว้าง (broadleaf) ที่มีต้นไผ่อยู่หนาแน่นที่ระดับความสูง 5,000-10,000 ฟุต บริเวณนี้มีฝนตกหนัก และหมอกหนาปกคลุมตลอดปี สำหรับประเทศไทยได้มีการค้นพบฟอสซิลของแพนด้าที่จังหวัดลำปาง
     อาหารส่วนใหญ่ (ประมาณร้อยละ 99) ของแพนด้ายักษ์ที่อาศัยในป่าธรรมชาติคือไผ่ นอกนั้นก็จะเป็นหญ้าชนิดอื่นๆ อาจพบว่ามันกินสัตว์เล็ก เช่น สัตว์ฟันแทะขนาดเล็กหรือลูกของกวางมัสก์ (Musk Deer) บ้างเป็นครั้งคราว ส่วนอาหารของแพนด้ายักษ์ในสวนสัตว์ได้แก่ ไผ่, อ้อย, ธัญพืช, บิสกิตชนิดพิเศษที่มีเส้นใยสูง, ผลไม้และผัก เช่น แครอท, แอปเปิ้ล และมะเขือเทศ

พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
     โดยปกติแพนด้ายักษ์ที่โตเต็มวัยแล้วจะอยู่เพียงลำพัง แต่ก็มีการติดต่อสื่อสารกับแพนด้ายักษ์ตัวอื่นบ้างเป็นช่วงๆ โดยใช้การสื่อสารด้วยสารเคมีจากต่อมกลิ่น, เสียงร้อง และการพบปะกันบ้างเป็นครั้งคราว แพนด้ายักษ์ในป่าธรรมชาติใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการหาอาหาร, กินอาหาร และการพักผ่อน มันไม่จำศีล (hybernation) เหมือนหมีชนิดอื่นๆในป่าเขตอบอุ่น ในอดีตนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าแพนด้ายักษ์ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ตามลำพัง มีการพบปะของตัวเมียและตัวผู้เฉพาะช่วงฤดูผสมพันธุ์เท่านั้น แต่จากการศึกษาในปัจจุบันค้นพบบางสิ่งที่แตกต่างออกไปคือพบว่า แพนด้ายักษ์จะอาศัยเป็นกลุ่มเล็กๆ ในอาณาเขตกว้างใหญ่ และบางครั้งจะมีการพบปะกันบ้างนอกฤดูผสมพันธุ์ ยังคงมีการศึกษาอยู่ต่อไปเกี่ยวกับความลับในการดำรงชีวิตของสัตว์ที่ยากจะเข้าใจชนิดนี้ การค้นพบใหม่ ๆ จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถอนุรักษ์แพนด้ายักษ์ไว้ไม่ให้สูญพันธุ์ สำหรับเรื่องอายุขัยมีรายงานว่าแพนด้ายักษ์ในกรงเลี้ยงมีอายุประมาณ 35 ปี และพบว่า “ชิงชิง” (Hsing-Hsing) แพนด้ายักษ์ที่อาศัยในสวนสัตว์แห่งชาติตายเมื่อ ค.ศ. 1999 ขณะมีอายุได้ 28 ปี นักวิทยาศาสตร์ไม่ทราบข้อมูลแน่นอนเกี่ยวกับอายุขัยของแพนด้ายักษ์ที่อาศัยในป่าธรรมชาติ ทราบแต่เพียงว่าสั้นกว่าอายุขัยของแพนด้ายักษ์ในกรงเลี้ยง
     แพนด้ายักษ์มีฤดูผสมพันธุ์ในช่วงฤดูใบไม้ผลิเท่านั้น เป็นช่วงเวลาสั้นๆเพียง 2-3 วัน ที่ตัวเมียมีความต้องการจะผสมพันธุ์และสามารถตั้งท้องได้ ในช่วงเวลานั้นจะมีการสื่อสารโดยใช้เสียงร้องและกลิ่นเพื่อดึงดูดให้ตัวเมียและตัวผู้มาพบและผสมพันธุ์กัน แพนด้ายักษ์จะโตเต็มวัยพร้อมจะผสมพันธุ์ได้ตั้งแต่อายุ 4-8 ปี ตัวเมียจะตั้งท้องประมาณ 95-160 วัน อาจจะตกลูกได้ครั้งละ 2 ตัว แต่โดยปกติจะมีเพียงตัวเดียวเท่านั้นที่รอดชีวิต ลูกแพนด้ายักษ์จะอยู่กับแม่ไปจนกระทั่งอายุประมาณ 1.5 - 3 ปี แล้วจึงแยกตัวออกไป ซึ่งหมายความว่าโอกาสที่แพนด้ายักษ์ตัวเมียจะสามารถมีลูกได้ก็คือทุก 2-3 ปี ดังนั้นตลอดชีวิตของมันก็อาจประสบความสำเร็จในการตกลูกได้เพียง 5-8 ตัว

สถานภาพปัจจุบัน
     มีประชากรแพนด้ายักษ์หลงเหลือในป่าธรรมชาติประมาณ 1,000 ตัว และมีประชากรในกรงเลี้ยงตามสวนสัตว์และสถานที่เพาะเลี้ยงอื่น ๆ อีกประมาณ 140 ตัว ซึ่งส่วนมากอยู่ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน แพนด้ายักษ์จัดเป็นสัตว์ที่อยู่ในภาวะวิกฤติเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เป็นอย่างยิ่

สถานที่ชม
      สวนสัตว์เชียงใหม่

 

ภาพจากการค้นหา www.google.com


dooasia :: แหล่งรวมความรู้เรื่องสัตว์ป่า สัตว์สงวน สัตว์หายาก รวมข้อมูลสัตว์ทุกประเภท

http://www.dooasia.com/ >สัตวต่างๆ ที่พบในเมืองไทยและที่อื่นๆ ของโลก

  ขอขอบคุณข้อมูลและภาพเพื่อการศึกษาหาความรู้จากเว็บไซต์ www.chiangmaizoo.com
รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (Mammals) ชื่อวิทยาศาสตร์
:: กระจงควาย   Tragulus napu
:: กระจงเล็ก   Tragulus javanicus
:: กระต่ายบ้าน   Oryctolagus cuniculus
:: กระทิง   Bos gaurus
:: กวางป่า (กวางม้า) Cervus unicolor
:: กวางฟอลโลว์   Dama dama
:: เก้ง (อีเก้ง หรือ ฟาน) Muntiacus muntjak
:: เก้งเผือก   Muntiacus muntjak
:: เก้งหม้อ (เก้งดำ หรือ เก้งดง)  Muntiacus feae
:: ค่างดำ    Presbytis melalophos
:: ค่างเทา (ค่างหงอก)  Presbytis cristatus
:: ค่างแว่นถิ่นใต้   Presbytis obscura
:: ค่างห้าสี    Pygathrix nemaeus
:: ชะนีแก้มขาว    Hylobates concolor
:: ชะนีมือขาว  (ชะนีธรรมดา) Hylobates lar
:: ชะนีมือดำ    Halobates agilis
:: ชะนีมงกุฎ (ชะนีหัวมงกุฎ) Hylobates pileatus
:: ชะมดเช็ด    Viverricula malaccensis
:: ชะมดแปลงลายจุด    Prionodon pardicolor
:: ชะมดแปลงลายแถบ (อีเห็นลายเมฆ) Prionodon linsang
:: ชะมดแผงสันหางดำ   Viverra megaspila
:: ชะมดแผงสันหางปล้อง   Viverra zibetha
:: ช้างเอเซีย   Elephas maximus
:: ช้างแอฟริกา   Loxodonta africana
:: ตัวกินมด   Tamandua tetradactyla
:: นากเล็กเล็บสั้น   Aonyx cinerea
:: นากใหญ่ขนเรียบ   Lutra perspicillata
:: เนื้อทราย (ตามะแน) Cervus porcinus
:: ไนอาลา    Tragelaphus angasi
:: แบลคบัค    Antilope cervicapra
:: พญากระรอกดำ(ใหญ่)   Ratufa bicolor
:: พังพอนธรรมดา   Herpestes javanicus
:: พังพอนกินปู (พังพอนยักษ์) Herpestes urva
:: เพียงพอนเล็กสีน้ำตาล   Mustela nudipes
:: มารา   Dolichotis patagonum
:: ม้าลาย   Equus burchellii
:: เม่นหางพวง   Atherurus macrourus
:: เม่นใหญ่แผงคอยาว   Hystrix brachyura
:: เมียร์แคท   Suricata suricata
:: แมวดาว   Prionailurus bengalensis
:: แมวน้ำเคปเฟอร์ซีล (แมวน้ำแอฟริกาใต้)  Arctocephalus pusillus pusillu
:: แมวป่า (เสือกระต่าย) Felis chaus
:: แมวลายหินอ่อน    Pardo felis marmorata
:: ยีราฟ    Giraffa camelopardalis
:: แรดขาว    Ceratotherium simum
:: แรดอินเดีย   Indian Rhinoceros
:: ละอง,ละมั่งพันธุ์พม่า   Cervus eldi thamin
:: ลา    Equus sp
:: ลาแคระ    Equus africanus
:: ลามา    Lama glama
:: ลิงกระรอก (ลิงกระรอกปากดำ)  Saimiri sciurea
:: ลิงกัง    Macaca nemestrina
:: ลิงชิมแปนซี    Pan troglodytes
:: ลิงบาบูน    Papio ursinus
:: ลิงมัวร์    Macaca maura
:: ลิงมาร์โมเส็ทธรรมดา    Collithrix jacchus
:: ลิงมาร์โมเส็ทจีโอฟรอย    Collithrix geoffroyi
:: ลิงแมนดริล    Mandrillus sphinx
:: ลิงลม (นางอาย) Nycticebus coucang
:: ลิงวอก    Macaca mulatta
:: ลิงไอ้เงี้ยะ (ลิงวอกภูเขา หรือลิงสวาสดิ์) Macaca assamensis
:: ลิงเสน    Macaca arctoides
:: ลิงแสม    Macaca fascicularis
:: ลิงอุรังอุตัง    Pongo pygmaeus
:: เลียงผา (เยือง หรือ กูรำ หรือ โครำ)  Capricornis sumatraensis
:: วัวแดง (วัวเพาะ หรือ วัวดำ) Bos javanicus
:: สมเสร็จ   Tapirus indicus
:: สิงโต   Panthera leo
:: สุนัขจิ้งจอก   Canis aureus
:: เสือโคร่ง   Panthera tigris
:: เสือโคร่งเบงกอล   Pantheras tigris
:: เสือจากัวร์   Panthera onca
:: เสือชีต้า   Acinonyx jubatus
:: เสือดาว,เสือดำ   Panthera pardus
:: เสือปลา   Prionailurus viverrinus
:: เสือไฟ   Profelis temmincki
:: เสือลายเมฆ   Neofelis nebulosa
:: หมาใน   Cuon alpinus
:: หมาไม้   Martes flavigula
:: หมีขอ (บินตุรง) Arctictis binturong
:: หมีควาย   Selenarctos thibetanus
:: หมีหมา   Helarctos malayanus
:: หมูป่า   Sus scrofa
:: หมูหริ่ง   Arctonyx collaris
:: อัลปาคา   Lama pocos
:: อีแลนด์   Traelaphus oryx
:: อีเห็นธรรมดา  (อีเห็นลายจุด หรือ อีเห็นข้างลาย) Paradoxurus hermaphroditus
:: อีเห็นลายพาด (อีเห็นลายเสือโคร่ง) Hemigalus derbyanus
:: อีเห็นลายเสือ   Prionodon pardicolor
:: อีเห็นหูด่าง (อีเห็นหน้าขาว) Arctogalidia trivirgata
:: อูฐโหนกเดียว   Camelus dromedarius
:: โอริกซ์กาเซลล์ (เจมส์บอคซ์)  Oryx gazella
:: ฮิปโปโปเตมัส   Hippopotamus amphibus
:: ฮิปโปโปเตมัสแคระ   Hexaprotodon liberiensis
:: แพนด้ายักษ์   Ailuropoda melanoleuca
:: แพนด้าแดง   Ailurus fulgens

  ขอขอบคุณข้อมูลและภาพเพื่อการศึกษาหาความรู้จากเว็บไซต์ www.chiangmaizoo.com


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์