ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://province.prd.go.th/ นับจากอดีตมาแล้วที่ผู้คนสองฟากฝั่งลุ่มน้ำป่าสักได้ใช้ประโยชน์
ในการ
ดำรงชีวิต
จากลำน้ำแห่งนี้มาหลายชั่วอายุคนจากต้นกำเนิดทางหุบเขาแถบจังหวัดเลย
ไหลเรื่อยผ่านป่าใหญ่และทุ่งกว้างลักษณะแคบเรียวยาว
สู่เพชรบูรณ์ ลพบุรี
สระบุรี และ
มาบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่อยุธยานับความยาวได้ประมาณ
513
กิโลเมตรปริมาณน้ำที่เอ่อล้นในบางฤดูของปีหรือบางครั้งลดแห้งจนมองเห็นเนินทราย
นับเฉลี่ยได้ประมาณ 2,400
ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปีบนพื้นที่ลุ่มน้ำกว่า
14,520 ตารางกิโลเมตร
นับว่ามีขนาดใหญ่เป็นอันดับ
13ในจำนวน 25
ลุ่มน้ำของประเทศไทยด้วยสายพระเนตรอันยาวไกลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในการช่วยเหลือราษฎรที่อยู่ในแถบลุ่มน้ำป่าสักที่ต้องเผชิญกับปัญหาความแห้งแล้ง
ขาดน้ำเพื่อการเกษตรในบางปี
และในบางปีต้องประสบกับอุทกภัย
ยังความเดือดร้อนสู่ราษฎรนับ
จากลุ่มน้ำป่าสักไปจนถึงลุ่มน้ำเจ้าพระยา
หรือแม้แต่กรุงเทพมหานคร
และปริมณฑลโครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสัก
เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้ง
และน้ำท่วมได้เริ่มฉายชัดขึ้นที่ละน้อย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
มีพระราชดำริเมื่อวันที่ 19
กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2532
ให้กรมชลประทานดำเนินการศึกษาความเหมาะสมของโครงการเขื่อนกักเก็บน้ำแม่น้ำป่าสักอย่างเร่งด่วนเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ
เพื่อประโยชน์ต่อพื้นที่เพาะปลูกและเพื่อบรรเทาปัญหา
อุทกภัยที่เกิดขึ้นโดย
กรมชลประทานได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาให้ศึกษาความ
เหมาะสม
และผลกระทบถึงสิ่งแวดล้อมรวมทั้งแผนปฏิบัติการการแก้ไขและ
พัฒนาสิ่งแวดล้อม
โดยมีสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการ
อันเนื่องมาจากพะราชดำริ
เป็นแกนกลางในการดำเนินงานและสนับสนุนประมาณต่อมา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
ได้พระราชทานพระราชดำรัส
เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม
พุทธศักราช 2536
เกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำของกรมชลประทาน
ว่า หากเริ่มดำเนินการ ตั้งแต่ปัจจุบันจะช่วยแก้ไขปัญหาภัยแล้งที่ประชาชนประสบได้ในอนาคต
ประชาชนจะไม่ได้รับความเดือดร้อน
จากการขาด แคลนน้ำ
โครงการดังกล่าว คือ
การก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ 2
แห่ง ที่แม่น้ำป่าสัก
และแม่น้ำนครนายก
โดยเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม
2537
คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบ
ให้กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ดำเนินงานโครงการ
ก่อสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำแม่น้ำป่าสัก
ซึ่งทางกรมชลประทานได้เริ่ม
ทำการก่อสร้างเขื่อนตั้งแต่วันที่
2 ธันวาคม 2537 เป็นต้นมา การก่อสร้างเขื่อนป่าสักเริ่มหัวงาน ณ ตำบลหนองบัว อำเภอพัฒนา
นิคม จังหวัดลพบุรีทอดยาวไปถึง ตำบลวังม่วง อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี
ตัวเขื่อนมีลักษณะเป็นเขื่อนดิน แกนดินเหนียว ความยาวประมาณ 4,860 เมตร
ระดับกักเก็บน้ำสูงสุดที่ +43 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ปริมาณ
กักเก็บ 960 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจำนวน 105,300 ไร่ อยู่
ในเขต 2 จังหวัด รวม 4 อำเภอ 15 ตำบล 65 หมู่บ้าน ครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบ
ประมาณ 7,700 ครอบครัว แต่เขื่อนกักเก็บน้ำแม่น้ำป่าสักมีประโยชน์อย่างมากต่อ
ส่วนรวม คือเป็นแหล่งน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคของชุมชนต่าง ๆ ในเขตจังหวัดลพบุรีและจังหวัดสระบุรีเป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรในพื้นที่ชลประทานที่จะเกิดขึ้น
ใหม่ในเขตสองจังหวัดดังกล่าว 135,500 ไร่เป็นแหล่งน้ำเสริมสำหรับพื้นที่โครง
การชลประทานเดิมในทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่างเนื้อที่ประมาณ
2,200,000 ไร่เป็นแหล่งน้ำช่วยเสริมเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภค
บริโภคของประชาชน ในเขตกรุงเทพมหานคร ทั้งยังช่วยป้องกันอุทกภัย
และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีกด้วยถึงแม้ว่าการก่อสร้าง
เขื่อนได้ส่งผลกระทบต่อราษฎรในจังหวัดลพบุรี และสระบุรี แต่หากเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับผลประโยชน์ที่ชาติจะได้รับนั้น นับว่าผลประโยชน์มหาศาล
มากอย่างไรก็ตามราษฎรที่ได้รับผลกระทบ ทางราชการได้อพยพ
ให้ไปอยู่ ณ ที่จัดไว้ให้ ส่วนราษฎรที่ประสงค์จะไปอยู่ใหม่ยังที่ที่ตนต้องการ
ทุกครอบครัวต่างได้รับค่าชดเชยพิเศษจากทางราชการอย่างสูงสุดและครบถ้วน
ภาพแห่งความหวังค่อยๆปรากฎให้เห็นเด่นชัดขึ้นที่ละน้อย จากผืน
ดินอันว่างเปล่ากลายมาเป็นผืนน้ำแห่งความหวังของมวลหมู่ประชากรแถบลุ่มน้ำ
ป่าสักและเจ้าพระยาตอนล่างเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2541 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เป็นองค์ประธานประกอบพิธีปิดประตูเขื่อนเพื่อเริ่มเก็บกักน้ำ
นับจากนั้นเป็นต้นมาปริมาณน้ำในเขื่อนป่าสักได้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนเต็มเขื่อนแลดู
สวยงาม เมื่อยามผืนน้ำต้องแสงอาทิตย์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาฯพระราชทานชื่อเขื่อนว่า
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เนื่องในโอกาส พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวา
คม 2542 การเปิดเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์อย่างเป็นทางการ ได้กำหนดให้เป็นพระ
ราชพิธีหนึ่ง เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ทรง
เจริญพระชนมพรรษา 72 พรรษาโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จ
พระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนารถ
และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ
ไปทรงเปิดเขื่อนป่าสักชลสิทธิในวันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน 2542
นับจากนี้ไป ปัญหาความแห้งแล้ง และอุทกภัยในแถบลุ่มน้ำป่าสัก และลุ่มน้ำเจ้าพระยาบางส่วน
ได้ถูกแก้ไขแล้ว รอยยิ้มเปี่ยมสุขของมวลหมู่ราษฎร ที่ดำเนินวิถีชีวิต แถบจังหวัด
ลพบุรี สระบุรี อยุธยา ปทุมธานี และใกล้เคียง จะเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง
น้ำเพื่อการเกษตรจะมีอย่างพอเพียงอาชีพประมงที่จะเกิดขึ้นใหม่ รวม
ทั้งการจำหน่ายของที่ระลึกให้กับนักท่องเที่ยวที่มาชมความงามของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์แห่งนี้ ก็เกิดขึ้นตามมาด้วย
ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกลและพระราชหฤทัยมุ่งมั่นที่จะทรงแก้ไข
ความทุกข์ยากที่เกิดขึ้นกับพสกนิกรของพระองค์ เพื่อความสุขของแผ่นดิน
ตราบนิรันดร์ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
เพื่อประโยชน์ของคนไทยทั่วประเทศ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สถาบันพัฒนาการชลประทาน http://kromchol.rid.go.th
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
ตั้งอยู่ ณ
บ้านหนองบัว
อำเภอพัฒนานิคม
จังหวัดลพบุรี
เป็นเขื่อนดินที่ยาวที่สุดในประเทศไทย
ซึ่งแม่น้ำป่าสักมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่
13 ในจำนวน 25
ลุ่มน้ำของประเทศไทย
เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ
14,520 ตารางกิโลเมตร
มีลักษณะของลุ่มน้ำแคบเรียวยาว
แหล่งต้นน้ำอยู่จังหวัดเลย
ลำน้ำมีความยาว 513 กิโลเมตร
ไหลผ่านจังหวัดเพชรบูรณ์
ลพบุรี สระบุรี และมาบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
มีปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยประมาณ
2,400 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ได้พระราชทานพระราชดำริเมื่อ
19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532
ให้กรมชลประทานศึกษาความเหมาะสมของโครงการเขื่อนกักเก็บน้ำแม่น้ำป่าสักอย่างเร่งด่วน
เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ
เพื่อประโยชน์ต่อพื้นที่เพาะปลูก
และ
บรรเทาปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นประจำในลุ่มน้ำป่าสัก
เป็นผลสืบเนื่องมายังเขตกรุงเทพมหานคร
และเขตปริมณฑลด้วย
ซึ่งนำความเดือนร้อนมาให้ราษฎร์เกือบทุกปี
ต่อมาเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม
พ.ศ. 2536
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำรัส
เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนพรรษา
เกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำของกรมชลประทานว่า
หากเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปัจจุบัน
ก็สามารถแก้ปัญหาน้ำท่วม
ภัยแล้ง
และขาดแคลนน้ำให้กับประชาชนได้
จะต้องก่อสร้างเขื่อน 2
แห่ง ที่แม่น้ำป่าสัก
และแม่น้ำนครนายก
ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้ดำเนินการ
เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2537
โครงการนี้ใช้เวลาก่อสร้าง
5 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2537 - 2542
และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ได้ทรงพระกรุณาพระราชทานนามเขื่อนนี้ว่า
"เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์"
อันหมายถึง "เขื่อนแม่น้ำป่าสักที่เก็บกักน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ"
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
ได้เริ่มเก็บกักน้ำครั้งแรกเมื่อวันที่
15 มิถุนายน พ.ศ. 2541
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบดีราชกุมารี
ได้ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานในพิธี
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
มีลักษณะเป็นเขื่อนดิน
แกนดินเหนียว
ความยาวประมาณ 4,860 เมตร
ระดับกักเก็บน้ำสูงสุดที่
+43.00 เมตร
เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง
ปริมาณกักเก็บน้ำ 960
ล้านลูกบาศก์เมตร
และมีอาคารระบายน้ำ 3 แห่ง
คือ
- อาคารระบายน้ำล้น
ระบายน้ำได้สูงสุดวินาทีละ
3,900 ลูกบาศก์เมตร
-
อาคารท่อระบายน้ำลงลำน้ำเดิม
ระบายน้ำได้สูงสุดวินาทีละ
80 ลูกบาศก์เมตร
-
อาคารท่อระบายน้ำฉุกเฉิน
ระบายน้ำได้สูงสุดวินาทีละ
65 ลูกบาศก์เมตร
การก่อสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
ใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้น 23,36
ล้านบาท เป็นค่าก่อสร้าง
ด้านชลประทาน 7,831 ล้านบาท
งบประมาณแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม
15,505 ล้านบาท
โครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ได้ก่อสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
และงานอื่น ๆ
ซึ่งเป็นส่วนประกอบเสร็จสมบูรณ์และ
เพื่อเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติในวาระที่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
ในวันพฤหัสบดีที่ 25
พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
ประโยชน์ของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
- เป็นแหล่งน้ำเพื่อ
อุปโภค
ของชุมชนในเขตจังหวัด
ลพบุรี - สระบุรี
-
เป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรในพื้นที่ชลประทานที่เกิดใหม่ในเขตจังหวัดลพบุรี-สระบุรี
-
ช่วยป้องกันอุทกภัยในเขตพื้นที่ริมแม่น้ำป่าสัก
ในเขตจังหวัดลพบุรี-สระบุรี
และ
ช่วยบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ตอนล่างของแม่น้ำเจ้าพระยา
รวมถึงกรุงเทพฯ
และเขตปริมณฑลด้วย
-
เป็นแหล่งเพาะพันธ์ปลา
และเป็นแหล่งประมงน้ำจืดขนาดใหญ่
- เป็นแหล่งน้ำเสริม
เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคในเขตกรุงเทพฯ
-
เป็นแหล่งท่องเที่ยว
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://lopburi.police.go.th ลักษณะของลุ่มน้ำป่าสัก
แม่น้ำป่าสักเป็นแม่น้ำสาขาที่สำคัญสายหนึ่งของแม่น้ำเจ้าพระยา
ต้นน้ำเริ่มที่ อ.ด่านซ้าย
จังหวัดเลย ไหลผ่าน
จังหวัดเพชรบูรณ์ ,ลพบุรี,สระบุรี,และบรรจบกับแม่น้ำ
เจ้าพระยาที่
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
รวมความยาว 513 กิโลเมตร
มีพื้นที่ลุ่มน้ำ 14,520
ตารางกิโลเมตร
ปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยในแต่ละปี
2,400ล้านลูกบาศก์เมตร
ปริมาณน้ำส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงเดือนสิงหาคม
กันยายน และตุลาคม
ข้อมูลเฉพาะ
1. ลักษณะทั่วไป
เขื่อนดินเหนียวกั้นแม่น้ำป่าสัก
พื้นที่เหนือเขื่อนเป็นอ่างเก็บน้ำ
2. เขื่อนป่าสักชลสิทธ์
- ที่ตั้ง
บ้านแก่งเสือเต้น
ตำบลหนองบัว
อำเภอพัฒนานิคม
จังหวัดลพบุรี
และบ้านคำพราน
อำเภอวังม่วง
จังหวัดสระบุรี พิกัด 47 PQS222
443
ระวาง 5238 IV
- ลักษณะ
เขื่อนดินมีแกนดินเหนียว
- ความยาว 4,860
เมตร
- ระดับสันเขื่อน
+46.5
เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง
- เก็บกักน้ำ
สูงสุดที่ + 43.0 เมตร รทก.ความจุ
960 ล้านลูกบาศก์เมตร
- อาคารประกอบ 1.
อาคารระบายน้ำล้นเป็นประตูระบายน้ำคอนกรีตเสริม
เหล็ก 7 ช่อง
ระบายน้ำได้สูงสุด 3,900
ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
3.
ท่อระบายน้ำลงพื้นลำน้ำเดิมเป็นท่อคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง
3.0 เมตร
สามารถระบายน้ำได้สูงสุด 80
ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
4.
ท่อระบายน้ำฉุกเฉิน
เป็นบ่อคอนกรีตเสริ้มเหล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง
3.0 เมตร
สามารถระบายน้ำได้สูงสุด 65
ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
- คันกั้นน้ำ มี 2 แห่ง
คือ (1) คันกั้นน้ำท่าหลวง
ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าหลวงอำเภอท่าหลวง
จังหวัดลพบุรี ยาว 1,716
เมตร
(2) คันกั้นน้ำโคกสลุง
ตั้งอยู่ที่ตำบลโคกสลุง
อำเภอพัฒนานิคม
จังหวัดลพบุรี ยาว 4,120 เมตร 5.
อ่างเก็บน้ำ
- ที่ตั้ง
ตลอดคลุมบริเวณพื้นที่ 2
ฝั่งแม่น้ำป่าสัก
ในเขตอำเภอชัยบาดาล
อำเภอท่าหลวง
อำเภอพัฒนานิคม
จังหวัดลพบุรี
และอำเภอวังม่วงจังหวัดสระบุรี
- พื้นที่ 114,119 ไร่
หรือ 45,650 เอเคอร์
- เก็บกักน้ำ
สูงสุดที่ +43.0 เมตร รกท.
ความจุ 960
ล้านลูกบาศก์เมตร
ต่ำสุดที่ +21.50 เมตร
รกท. ความจุ 2
ล้านลูกบาศก์เมตร งบลงทุน
1)
งานก่อสร้างด้านชลประทาน
งบประมาณ
5,098.5173 ล้านบาท
1.1
เขื่อนหัวงานและอาคารประกอบ
"
2,656.0000 ล้านบาท
1.2 ระบบชลประทาน
"
1,267.5173 ล้านบาท
1.3
ก่อสร้างส่วนประกอบอื่น
"
1,175.0000 ล้านบาท
2)
งานแก้ไขและพัฒนาสิ่งแวดล้อม
"
14,132.2750 ล้านบาท
2.1
แผนกการประชาสัมพันธ์
"
5.5690 ล้านบาท
2.2
แผนกการจ่ายค่าทดแทนทรัพย์สิน
"
8,520.7900 ล้านบาท
2.3
แผนการจัดตั้งถิ่นฐานใหม่
"
3,284.0000 ล้านบาท
และการพัฒนาส่งเสริมอาชีพให้แก่ราษฎร
2.4
แผนการป้องกันแก้ไขและพัฒนา
"
2,224.0280 ล้านบาท
เส้นทางคมนาคม
-
รถไฟ
"
2,169.0280 ล้านบาท
-
ทางหลวง
"
55.0000 ล้านบาท
2.5
แผนการแก้ไขและพัฒนา
งบประมาณ
97,8880 ล้านบาท
สิ่งแวดล้อมด้านอื่น ๆ
2.5.1
แผนงานด้านโบราณคดี
"
8.0000 ล้านบาท
2.5.2
แผนนำไม้ออกและแผ้วถางป่า
"
36.6360 ล้านบาท
2.5.3
แผนการอพยพและอนุรักษ์สัตว์ป่า
"
9.7520 ล้านบาท
2.5.4
แผนงานด้านทรัพยากรแร่
"
0.2000 ล้านบาท
2.5.5
แผนการควบคุมคุณภาพน้ำ
"
14.2000 ล้านบาท
2.5.6
แผนการเตรียมการด้าน
"
19.5000 ล้านบาท
สาธารณสุข
2.5.7
การติดตามและประเมินผล
"
9.6000 ล้านบาท
รวมทั้งสิ้น
19,230.7900 ล้านบาท
ประโยชน์
1.
เป็นแหล่งน้ำสำหรับอุปโภค
- บริโภค ของชุมชนต่าง ๆ
ในเขตจังหวัดลพบุรีและ
จังหวัดสระบุรี (ลำนารายณ์
พัฒนานิคม วังม่วง
แก่งคอย
และชุมชนขนาดย่อมใกล้เคียง)
2.
เป็นแหล่งน้ำสำหรับการเกษตรสำหรับพื้นที่ชลประทานที่จะเกิดขึ้นใหม่
ในเขตจังหวัดลพบุรี
และสระบุรี 135,500 ไร่ (แก่งคอย
บ้านหมอ 80,000 ไร่ ,
พัฒนานิคม 35,500 ไร่
และพัฒนานิคม แก่งคอย 20,000
ไร่)
3.
เป็นแหล่งน้ำเสริมสำหรับพื้นที่โครงการชลประทานเกิดในทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง
เนื้อที่ประมาณ 2,200,000 ไร่
ทำให้ลดการใช ้น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา
นำน้ำจากแม่น้ำป่าสักไปใช้ในแถบจังหวัดลพบุรีและสระบุรีโดยตรง
4.
ช่วยป้องกันอุทกภัยให้พื้นที่ริมแม่น้ำป่าสัก
ในเขตจังหวัดลพบุรีและสระบุรี
และยังมีผลช่วยบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ตอนล่างของแม่น้ำเจ้าพระยา
รวมถึงกรุงเทพมหานคร
และปริมณฑลด้วย
5.
เป็นแหล่งน้ำช่วยเสริมเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภค
บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร
6.
เป็นแหล่งน้ำเพื่อการอุตสาหกรรมในเขตจังหวัดลพบุรี
และสระบุรี
7.
อ่างเก็บน้ำที่เกิดขึ้นจะเป็นแห่ลงเพราะพันธุ์ปลาและเป็นแหล่งประมงน้ำจืดขนาดใหญ่
8.
ช่วยการคมนาคมทางน้ำในแม่น้ำป่าสักตอนล่างและการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย
9.
เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.railway.co.th
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
-------------------------
(ช่วงเดือน
พฤศจิกายน - มกราคม ของทุกปี)
|
|
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
|
ทุ่งดอกทานตะวัน
|
|
|
จุดชมวิวกลางสะพาน
|
รถไฟลอยน้ำ
|
การเดินทาง |
|
เวลา
06.20 น. |
ขบวนรถพิเศษนำเที่ยวที่
929
ออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพ |
เวลา
06.33 น. |
ออกจากสถานีสามเสน |
เวลา
06.40 น. |
ออกจากสถานีบางซื่อ |
เวลา
06.51 น. |
ออกจากสถานีบางเขน |
เวลา
06.58 น. |
ออกจากสถานีหลักสี่ |
เวลา
07.05 น. |
ออกจากสถานีดอนเมือง |
เวลา
07.14 น. |
ออกจากสถานีรังสิต |
เวลา
07.47 น. |
ถึงสถานีอยุธยา |
เวลา
08.32 น. |
ถึงสถานีสระบุรี |
เวลา
08.48 น. |
ถึง
ชท.แก่งคอย |
เวลา
09.21 น. |
ถึงจุดชมดอกทานตะวัน |
เวลา
10.10 น. |
ถึงจุดชมวิวกลางน้ำ |
เวลา
11.35 น. |
ถึงเขื่อนป่าสักฯ |
เวลา
15.00 น. |
ขบวนรถพิเศษนำเที่ยวที่
930 ออกจากเขื่อนป่าสักฯ |
เวลา
15.38 น. |
ถึง
ชท.แก่งคอย |
เวลา
15.51 น. |
ถึงสถานีสระบุรี |
เวลา
16.35 น. |
ถึงสถานีอยุธยา |
เวลา
17.17 น. |
ถึงสถานีรังสิต |
เวลา
17.26 น. |
ถึงสถานีดอนเมือง |
เวลา
17.35 น. |
ถึงสถานีหลักสี่ |
เวลา
17.43 น. |
ถึงสถานีบางเขน |
เวลา
17.55 น. |
ถึงสถานีบางซื่อ |
เวลา
18.03 น. |
ถึงสถานีสามเสน |
เวลา
18.15 น. |
ขบวนรถถึงสถานีกรุงเทพ
สิ้นสุดรายการเดินทาง |
|