|
www.dooasia.com >
เมืองไทยของเรา >
สารานุกรมไทยฉบับย่อ
เล่ม
๑๘ ประถมจินดา - ปิง
ลำดับที่
๓๓๑๗ - ๓๕๒๕ หน้า ๑๑๑๑๖ - ๑๑๘๓๔
๓๓๑๗. ประถมจินดา
เป็นชื่อพระคัมภีร์หรือตำราแพทย์แผนโบราณตอนหนึ่ง เป็นตอนต้นของตำราการแพทย์แผนโบราณฉบับสมบูรณ์
ซึ่งมีทั้งสิ้น ๒๐ คัมภีร์ คัมภีร์นี้มีหลายบทประกอบด้วยเนื้อเรื่องที่สำคัญ
ซึ่งกล่าวตั้งแต่กำเนิดของโลก ต้นเหตุที่มีมนุษย์เกิดมาในโลก กำเนิดของเด็กในครรภ์มารดาไปจนถึงเด็กโต
หน้า ๑๑๑๖๙
๓๓๑๘. ประถมศึกษา
เป็นการศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถขั้นพื้นฐาน และให้สามารถคงสภาพอ่านออกเขียนได้
คิดคำนวณได้ มีความสามารถประกอบอาชีพตามควรแก่วัยและความสามารถได้ และสามารถดำรงตนเป็นพลเมืองดี
การจัดสถานศึกษาระดับประถมศึกษาจัดเป็นตอนเดียวตลอด ใช้เวลาเรียนประมาณหกปี
เป็นการศึกษาภาคบังคับ หน้า
๑๑๑๖๙
๓๓๑๙. ประทวนสินค้า
เป็นเอกสารสิทธิ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งนายคลังสินค้าออกให้เป็นหลักฐานแก่ผู้ฝากสินค้า
คู่กับใบรับของสินค้า เอกสารสองฉบับนี่คล้ายกับเป็นคู่ฉบับกัน เพราะมีรายการอย่างเดียวกัน
ประทวนสินค้านี้เข้าใจว่า มีมาแต่โบราณพร้อมกับการฝากสินค้า และการจำนำ ไม่ปรากฎแน่ชัดว่ามีมาแต่สมัยใด
เป็นหลักกฎหมายต่างประเทศ ที่ไทยนำมาบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์
บรรพ ๓ ตั้งแต่มาตรา ๗๗๕ - ๗๙๖ ตามกฎหมายเก่าที่เสด็จในกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ทรงจัดพิมพ์ขึ้น
หน้า ๑๑๑๗๗
๓๓๒๐. ประทักษิณ
ตามรูปคำแปลว่าเบื้องขวา การเวียนขวา ตามความหมายหมายถึง กิริยาให้เบื้องขวาแก่บุคคล
หรือวัตถุที่เคารพเช่น เดินเวียนเทียน เป็นประทักษิณสามรอบ เป็นการแสดงความเคารพต่อวัตถุ
หรือบุคคลนั้น ๆ
หน้า ๑๑๑๘๔
๓๓๒๑. ประทัด ๑
มีบทนิยามว่า "เครื่องดอกไม้ไฟของจีน ทำด้วยกระดาษห่อด้วยดินปืน มีชนวนสำหรับจุด"
หน้า ๑๑๑๘๘
๓๓๒๒. ประทัด ๒
เป็นชื่อเรียกพันธุ์ไม้สองชนิดคือ ชนิดหนึ่งเรียกว่า "ประทัดใหญ่" เป็นไม้ต้นขนาดเล็กหรือไม้พุ่ม
ใบเป็นใบประกอบและก้านใบแผ่ออกเป็นปีก ดอกออกเป็นช่อสีแดง กลีบดอกแยกจากกัน
เป็นพันธุ์ไม้จากต่างประเทศ เป็นพืชสมุนไพร เนื้อไม้เป็นยาแก้ไข้ ใบใช้เป็นยาฆ่าแมลงได้
มีชื่อเรียกได้อีกว่า ประทัดจีน
และประทัดทอง
อีกชนิดหนึ่งคือ ประทัดฝรั่ง
หรือประทัดเล็ก เป็นไม้พุ่ม ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม แตกกิ่งก้านสาขามาก ใบลดรูปลงมีชนาดเล็ก
ๆ อยู่ตามกิ่ง ดอกออกเป็นช่อสีแดงอมแสด หรือส้ม กลีบดอกติดกัน เป็นท่อยาวประมาณ
๒.๕ ซม. ปลายแยกเป็นกลีบเล็ก ๆ ห้ากลีบ เป็นพันธุ์ไม้นำเข้าจากต่างประเทศ
นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
ยังมีประทัดอีกชนิดหนึ่ง ปลูกเป็นไม้ประดับคือ ประทัดไต้หวัน
นอกจากนี้ยังมีพันธุ์ไม้ป่าจำพวกกาฝากบางชนิดเรียกว่า ประทัดดอย
และประทัดเหลือง
หน้า ๑๑๑๙๐
๓๓๒๓. ประทาย
อำเภอขึ้น จ.นครรารชสีมา ภูมิประเทศเป็นที่ราบ
อ.ประทาย แรกตั้งเป็นกิ่งอำเภอ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๔ ขึ้น อ.บัวใหญ่ ยกฐานะเป็นอำเภอ
เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๖
หน้า ๑๑๑๙๔
๓๓๒๔. ประทีป
มีบทนิยามว่า "ตะเกียง, โคมไฟที่มีเปลวสว่าง (หมายเอาตะเกียง, ไฟเทียน เป็นต้น)"
เครื่องตามไฟที่เรียกว่า เครื่องประทีปมีมาแต่โบราณ ในสมัยพุทธกาลในบุพกรณ์ของอุโบสถ
ถ้าค่ำให้ตามไฟ เมื่อไม่ทำปรับอาบัติทุกกฎแก่พระผู้มีหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
เครื่องประทีปประเภทเทียน เป็นที่นิยมใช้จุดเป็นเครื่องบูชาในลัทธิศาสนาต่าง
ๆ แทบทั้งนั้น สืบเป็นประเพณีมาจนบัดนี้ ต่อมาเมื่อรู้จักใช้โคม ใช้ตะเกียงแล้วก็ยังใช้จุดเทียนอยู่
หน้า ๑๑๑๙๕
๓๓๒๕. ประเทศ
หมายถึง บ้านเมืองแว่นแคว้นเช่น ในสมัยโบราณมีมคธประเทศ (แคว้นใหญ่ในอินเดีย
ครั้งพุทธกาล บัดนี้คือรัฐพิหาร) อุตตรประเทศ (รัฐทางเหนือของอินเดียปัจจุบัน)
ในความหมายทางรัฐศาสตร์ คำว่าประเทศ มีความหมายใกล้เคียงกับคำว่ารัฐ และคำว่าชาติ
แต่มีความหมายแตกต่างกันในเรื่องการเน้นหนักของความหมาย
รัฐเป็นคำที่เน้นสภาวะทางการเมืองคือความเป็นอธิปไตย ซึ่งหมายถึงการมีอำนาจสูงสุดในอาณาบริเวณแห่งหนึ่ง
หรือในจำนวนประชากรจำนวนหนึ่ง
ชาติ เป็นคำที่เน้นสภาพทางวัฒนธรรมของประชากร หรือบ่งให้เห็นถึงเชื้อชาติคือ
รูปร่างหน้าตาของผู้คนใบบริเวณนั้น ส่วนคำว่าประเทศนั้น มักจะใช้เน้นถึงสภาวะทางภูมิศาสตร์
สภาพดินฟ้าอากาศ ความอุดมสมบูรณ์ของดิน การมีแม่น้ำลำคลอง หนองบึง ภูเขา ป่าไม้
ฯลฯ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าได้แก่ ผืนแผ่นดินที่ประเทศนั้นตั้งอยู่
หน้า ๑๑๒๐๐
๓๓๒๖. ประเทศราช
หมายถึง บ้านเมืองที่สังกัดประเทศอื่น ในการจัดระเบียบการปกครองของไทยสมัยโบราณ
มีการจัดระเบียบการปกครอง โดยแบ่งออกเป็นหัวเมืองในวงราชธานี หัวเมืองพระยามหานครและหัวเมืองประเทศราช
สำหรับหัวเมืองประเทศราชนั้นเป็นหัวเมืองซึ่งอยู่ภายนอกเมือง พระยามหานคร
มีผู้ปกครองหัวเมืองประเทศราชนั้น ๆ เป็นผู้ปกครองตามขนบธรรมเนียมประเพณี
และศาสนาของหัวเมืองนั้น ๆ แต่มีฐานะเป็นเมืองขึ้นของพระมหากษัตริย์ไทย
โดยทั่วไปหน้าที่หลักของหัวเมืองประเทศราชก็คือ การเสนอชื่อผู้ที่จะเป็นเจ้าเมือง
ให้พระมหากษัตริย์ไทยทรงแต่งตั้ง กับการถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทอง และเครื่องราชบรรณาการทุกสามปี
และหัวเมืองเหล่านี้จะต้องเกณฑ์กำลังคนเข้าร่วมกองทัพหลวงด้วย
หัวเมืองประเทศราชสมัยอยุธยา มีหลายหัวเมืองเช่น เชียงใหม่ เชียงแสน เชียงรุ้ง
เชียงราย แพร่ น่าน ยะโอร์ มะละกา และรัฐมลายูอื่น ๆ รวมทั้งกัมพูชาเป็นต้น
ส่วนหัวเมืองประเทศราชสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีหลายแห่งที่สำคัญก็มีเชียงใหม่
(รวมทั้งลานนาทั้งปวง และดินแดนแถบเหนือลานา เช่นเชียงตุง เชียงรุ้ง เมืองสาด
เมืองยอง เป็นต้น) ลานช้าง (ประกอบด้วย เมืองหลวงพระบาง เวียงจันทน์
จัมปาศักดิ์ อุบลราชธานี ศรีวไล ประเทศ สุวัณณภูมิ ราชบุรีย์) เขมรส่วนนอกและเขมรส่วนใน
(ประกอบด้วยเมืองต่าง ๆ เช่น เมืองเสียมราฐ พระตะบอง ศรีโสภณ และมงคลบุรี
เป็นต้น) และหัวเมืองในแหลมมลายู ได้แก่ ปัตตานี ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู
และเประ เป็นต้น
หน้า ๑๑๒๐๒
๓๓๒๗. ประธาน
ตามรูปคำแปลว่า ตั้งไว้ หรือประคองไว้ ตามความหมายเป็นชื่อของความเพียรอย่างหนึ่ง
คือ ความเพียรความพยายาม ที่เป็นเหตุตั้งไว้ในใจ ประคองใจไว้ให้ยิ่งขึ้น คือ
พยุงใจไว้ในการประกอบกิจไม่ให้ย่อท้อ เมื่อตั้งไว้เพื่อพยุงใจในกิจการใด ๆ
ย่อมทำกิจการนั้น ๆ ให้แรงขึ้นทั้งข้างดีข้างเสีย จึงกล่าวได้ว่า ประธานเป็นคำกลาง
ๆ ถ้านำไปใช้ในทางที่ดีเรียกว่า สัมมัปประธาน
แปลว่า ความเพียรที่ตั้งไว้ชอบ ถ้านำไปใช้ในทางที่ผิดเรียกว่า มิจฉาประธาน
แปลว่า ความเพียรที่ตั้งไว้ผิด
ในทางพระพุทธศาสนา หมายความถึง ความเพียรที่ตั้งไว้ชอบมีสี่ประการ เรียกว่า
สัมมัปประธานสี่ คือ
๑. สังวรประธาน
ความเพียรที่ตั้งไว้เพื่อสำรวมระวัง หรือปิดกั้นยับยั้งความชั่ว (บาป อกุศล)
ที่ยังไม่เกิดขึ้น ไม่ให้เกิดขึ้นในสันดาน
๒. ปหานประธาน
ความเพียรที่ตั้งไว้เพื่อละ หรือกำจัดความชั่วที่เกิดขึ้น ไม่ให้คงอยู่ในจิตต่อไป
๓. ภาวนาประธาน
ความเพียรที่ตั้งไว้เพื่อภาวนา หรือเจริญ คือ ทำให้เกิดให้มี ให้เป็น หมายถึง
ทำบุญกุศลหรือส่วนดี ชอบที่ยังไม่เกิด ไม่มี ไม่เป็น ให้เกิด ให้มี ให้เป็นขึ้นในสันดาน
๔. อนุรักขนาประธาน
ความเพียรที่ตั้งไว้เพื่อความรักษา หมายถึง รักษาความดี หรือบุญกุศล ที่ที่ทำให้เกิดขึ้น
แล้วนั้น ให้ไพบูลย์ไม่ให้เสื่อมลงไป
ในหมวดธรรม ประธานสี่นี้ จัดอยู่ในลำดับที่สองแห่ง โพธิปักขิยธรรม
ศีลธรรมที่เป็นไปในฝ่ายแห่งความตรัสรู้ ๓๗ ประการ
หน้า ๑๑๒๐๔
๓๓๒๘. ประธานาธิบดี
มีบทนิยามว่า "หัวหน้าผู้ปกครองบ้านเมืองแบบสาธารณรัฐ, ประมุขแห่งสาธารณรัฐ"
การปกครองระบบมีประธานาธิบดี เป็นลักษณะของการปกครองระบบอเมริกันโดยทั่วไป
ถึงแม้ว่าขณะนี้จะมีระบบปกครองหลายประเทศ ซึ่งมีหัวหน้าฝ่ายบริหารที่เรียกว่า
ประธานาธิบดี ก็ตาม แต่เป็นการนำรูปแบบของระบบประธานาธิบดีอเมริกัน ไปใช้โดยมิได้นำแนวความคิด
หรือปรัชญาพื้นฐานที่ควบคู่ไปใช้ด้วย
หน้า ๑๑๒๐๕
๓๓๒๙. ประนอมหนี้
เป็นวิธีการออมชอมระหว่างเจ้าหนี้ กับลูกหนี้ในคดีล้มละลาย คล้ายกับประนีประนอมยอมความในทางแพ่งทั่ว
ๆ ไป
การประนอมหนี้ ในคดีล้มละลายนี้เป็นวิธีการตามกฎหมายของนานาอารยประเทศ
ซึ่งไทยเพิ่งนำมาบัญญัติไว้ในกฎหมายล้มละลาย เริ่มแต่ฉบับ รศ.๑๓๐ เป็นต้นมา
การประนอมหนี้ ทำได้ทั้งก่อนและหลังที่ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย ถ้าทำก่อนลูกหนี้นั้นก็จะไม่ถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลาย
ลูกหนี้นั้น ก็จะไม่ถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลาย และถ้าได้กระทำเมื่อศาลพิพากษาให้ลูกหนี้
ล้มละลายแล้ว ทำให้ลูกหนี้พ้นจากการเป็นผู้ล้มละลายไป
หน้า ๑๑๒๐๘
๓๓๓๐. ประนีประนอมยอมความ
ตามรูปคำเป็นเรื่องที่ต่างฝ่ายต่างสงสารเห็นอกเห็นใจกัน ยอมโอนอ่อนผ่อนปรนให้แก่กัน
ตามกฎหมายเป็นสัญญาระงับข้อพิพาท ระหว่างคู่กรณีสองฝ่ายให้เสร็จสิ้นไป
หน้า ๑๑๒๑๒
๓๓๓๑. ประปา
มีบทนิยามว่า "การจำหน่ายน้ำให้คนทั่วไป"
ประวัติของกิจการประปาในประเทศไทย บันทึกมาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์
อย่างไรก็ตามการกำเนิดของคำว่า "ประปา" มีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
ฯ หน้า
๑๑๒๑๔
๓๓๓๒. ประเพณี
คือ สิ่งที่ถือสืบ ๆ กันมาจนเป็นนิสัย เรียกว่า นิสัยสังคม คือ ความประพฤติของสังคมที่กระทำซ้ำ
ๆ อยู่บ่อย ๆ จนเกิดความเคยชิน
ประเพณี ถ้าแบ่งตามหลักที่มีอยู่โดยปริยายในวิชามนุษยวิทยา แบ่งออกได้เป็นสามประเภทคือ
จารีตประเพณี ขนบธรรมเนียม และธรรมเนียมประเพณี
จารีตประเพณี
เป็นเรื่องเกี่ยวกับศีลธรรม ซึ่งคนในสังคมถือว่า เป็นสิ่งมีค่าแก่ส่วนรวม
ถ้าใครฝ่าฝืนหรืองดเว้น ก็ถือว่าเป็นผิดเป็นชั่ว
ขนบธรรมเนียม
คือ ประเพณีที่วางเป็นระเบียบแบบแผนไว้โดยตรง หรือโดยปริยาย ขนบ แปลว่า ระเบียบแบบแผน
บางทีก็เรียกว่า ระเบียบประเพณี ซึ่งเป็นคำเกิดใหม่
ธรรมเนียมประเพณี คือ ประเพณีเกี่ยวกับเรื่องธรรมดาสามัญ
ไม่มีผิดมีถูก เหมือนจารีตประเพณี ไม่มีระเบียบแบบแผน เหมือนขนบประเพณี
หน้า ๑๑๒๑๘
๓๓๓๓. ประภาคาร
คือ หอคอยหรือสิ่งก่อสร้างที่สูงเด่น มองเห็นได้ไกล มีไฟสัญญาณ ที่มีความสว่างมากติดตั้งอยู่บนยอด
เพื่อเป็นที่หมายนำทางให้กับชาวเรือ ไปสู่จุดหมายที่ถูกต้อง โดยทั่วไปจะก่อสร้างขึ้นที่ปากทางเข้าท่าเรือ
อ่าว หรือแม่น้ำ ที่มีความสำคัญ และจำเป็นต่อการเดินเรือ หรือก่อสร้างตามตำบล
ที่จะเป็นอันตรายต่อการเดินเรือ เช่น ที่ตื้น หินใต้น้ำ ร่องน้ำ ปรกติจะมีคนเฝ้า
ส่วนตำบลที่มีความสำคัญน้อยก็สร้างกระโจมไฟ ซึ่งไม่ต้องมีคนเฝ้า แต่ใช้เครื่องอัตโนมัติควบคุมการส่งไฟสัญญาณ
ให้เปิดในเวลากลางคืน และดับในเวลากลางวัน ส่วนในตำบลที่ไม่สะดวกในการสร้างประภาคาร
ก็ใช้ทุ่นไฟไปวางไว้ ณ จุดนั้นแทน
ประภาคาร หรือกระโจมไฟ ได้เกิดมีขึ้นครั้งแรกในโลก เมื่อประมาณ ๕๐ ปี ก่อน
พ.ศ. - พ.ศ.๕๐ ในทะเลเมดิเตอเรเนียน ชาติที่มีการเดินเรือติดต่อค้าขายกันในสมัยนั้นก็มี
กรีก ฟินิเซีย อิยิปต์ และเปอร์เซีย เป็นต้น ตามประวัติประภาคารแห่งแรกของโลก
ตั้งอยู่บนเกาะฟารอส หน้าเมืองอะเล็กซานเดรีย ในอิยิปต์ สร้างเมื่อประมาณปี
พ.ศ.๒๖๐ ตัวประภาคารสูง ๘๕ เมตร ใช้แสงสว่างจากไฟเผาไม้ มีแผ่นโลหะขอบสะท้อนแสง
ทำให้เห็นได้ไกล ๕๖ กม.
ประภาคาร ได้วิวัฒนาการมาเรื่อยๆ ตามความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
ได้กำหนดสัญญาณไฟเป็นวับวาบ สลับกันตามความประสงค์ นอกจากนี้ยังได้ใช้สีของไฟสัญญาณ
เพื่อกำหนดความแตกต่างของประภาคารแต่ละแห่งอีกด้วย
ในสมัยปัจจุบัน ประภาคารนอกจากจะเป็นที่ส่งสัญญาณไฟ เพื่อเป็นที่หมายให้ชาวเรือแล้ว
ยังมีสัญญาณอย่างอื่นเช่น สัญญาณหมอก ซึ่งจะส่งเป็นเสียงหวูด ไซเรน หรือระฆัง
ในเวลาที่มีหมอกโดยอัตโนมัติ และมีสัญญาณวิทยุ เพื่อให้ชาวเรือหาทิศทางที่ตั้งของประภาคารจากสัญญาณ
ที่ส่งออกไปนั้นเพื่อนำไปกำหนดตำบลที่อยู่ของเรือ ในทะเลได้
ประภาคารในประเทศไทย สร้างขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
ฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๗ ที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา คนทั่วไปเรียกว่า กระโจมไฟสันดอน
กระโจมไฟนี้ใช้มาจนถึงปี พ.ศ.๒๔๗๒ จึงเลิกใช้ ต่อมาได้มีการสร้างประภาคารและกระโจมไฟขึ้นอีกทั่วอ่าวไทย
และทางฝั่งทะเลด้านมหาสมุทรอินเดีย
หน้า ๑๑๒๒๗
๓๓๓๔. ประภามณฑล
มีบทนิยามว่า "รัศมีพวยพุ่งขึ้นจากศีรษะของผู้ศักดิ์สิทธิ์ และพระพุทธรูป"
ประภามณฑลนั้น ทำเป็นรูปอย่างวงพระจันทร์ เป็นสินเทาคือ กรอบรูปอย่างเรือนแก้วในรูปเจว็ดก็มี
ทำเป็นรูปต่อม หรือรูปคล้ายบัวตูมไว้เหนือพระเกตุมาลาก็มี ทำเป็นวงเกลี้ยงกลมคล้ายลูกสะบ้า
และใบปรือ ไว้หน้าพระเกตุมาลาก็มี
หน้า ๑๑๐๓๑
๓๓๓๕. ประมง
มีบทนิยามว่า "คนจับปลา ,คนเลี้ยงชีพในทางหาปลา, การจับปลา, ประมง ก็ใช้ ดำน้ำหาปลา"
ปัจจุบันความหมายของคำว่าประมงนั้นกว้างขวางไปกว่าเดิมมาก โดยหมายคลุมไปถึงการจับ
การเลี้ยง ตลอดจนกิจการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยปลา และสัตว์น้ำอื่น ๆ อีกมาก
และทั้งยังรวมถึงพืชน้ำ พวกสาหร่ายที่ยังประโยชน์ให้แก่มนุษย์ ในด้านเป็นอาหาร
หรือมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ และในด้านอื่น ๆ เช่น การทำนากุ้ง อุตสาหกรรมการเลี้ยงหอยมุก
การเลี้ยงหอยนางรม การเลี้ยงและอุตสาหกรรมการทำผลิตภัณฑ์จากสาหร่ายทะเล เรื่องประมงก็จึงได้ครอบคลุมไปในทุกสาขา
ของผลิตผลจากแหล่งน้ำ
หน้า ๑๑๒๓๔
๓๓๓๖. ประยงค์
เป็นไม้พุ่มชนิดหนึ่ง ต้นสูงประมาณ ๒ เมตร ใบเป็นใบประกอบ แบบขนนก ดอกออกเป็นช่อสั้น
ๆ ตามซอกใบสีเหลือง กลิ่นหอม ดอกย่อยเป็นตุ่มกลมเล็ก ๆ คล้ายไข่ปลาดหุก แต่ขนาดโตกว่าเล็กน้อย
ประยงค์ เป็นไม้ที่มีกลิ่นหอม ส่งกลิ่นไปไกล จึงมีผู้เรียกว่า หอมไกล
หน้า ๑๑๒๓๕
๓๓๓๗. ประยูรวงศาวาส - วัด
เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร
ตั้งอยู่แขวงบ้านสมเด็จ กึ่งเขตบุปผาราม
- ฝั่งขวาแม่น้ำเจ้าพระยา สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ เป็นผู้สร้าง เมื่อปี
พ.ศ.๒๓๗๑ สร้างเสร็จ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๙ แล้วถวายเป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า
ฯ พระราชทานนามว่า วัดประยูรวงศาวาส แต่ชาวบ้านบางส่วนเรียกว่า วัดรั้วเหล็ก
หน้า ๑๑๒๓๕
๓๓๓๘. ประลองยุทธ - การ
คือ การฝึกทางยุทธวิธีแบบหนึ่งของหน่วยทหารขนาดใหญ่ ตั้งแต่กองพลทหารบก กองพลเรือ
และกองพลบิน ขึ้นไปซึ่งอาจกระทำโดยเหล่าทัพใด เหล่าทัพหนึ่งหรือรวมกันระหว่างเหล่าทัพก็ได้
ประวัติศาสตร์ทหารกล่าวว่า พระเจ้าเฟรเดอริกมหาราชแห่งประเทศปรุสเซีย ทรงเป็นผู้ริเริ่มนำการประลองยุทธ
มาใช้ในการทดสอบสมรรถภาพในการรบ ของหน่วยทหารขนาดใหญ่ เมื่อปี พ.ศ.๒๒๙๖ ต่อมาหลังสงครามนโปเลียนแล้ว
ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปจึงได้นำเอาวิธีการทดสอบความสามารถของกองทัพไปดัดแปลงใช้
ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๑๓ เป็นต้นมา ส่วนประเทศไทยเข้าใจว่า เริ่มมีการประลองยุทธ
ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ในปี พ.ศ.๒๔๕๒ แต่เป็นการประลองยุทธขนาดเล็ก
ๆ สำหรับการประลองยุทธขนาดใหญ่ มีกำลังทหารเป็นกองพล เริ่มมีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้า
ฯ เป็นต้นมา
หน้า ๑๑๒๓๙
๓๓๓๙. ประลัย
คือ ความมืดมน อนธกาล และความแตกสลายของโลก ทุกโลก เรียกเต็มว่า มหาประลัย
ว่าเกิดจากเวลาคืนหนึ่งของพระพรหม ซึ่งเป็นเวลาที่พระพรหมเข้าบรรทม ครั้นรุ่งเช้าพระพรหมตื่นบรรทม
ชีวิตและแสงสว่าง ก็กลับคืนสภาพตามเดิม คืนหนึ่งของพระพรหมว่า มีระยะเวลาเท่ากับ
กัปหนึ่ง และกัปหนึ่ง นั้น ก็คือ วัน (กลางวัน) หนึ่งของพระพรหมนั่นเอง คิดเป็นปีมนุษย์เท่ากับ
๔,๓๒๐,๐๐๐ ปี โลกทุกโลกจะแตกสลาย บรรดาเทวดา ยักษ์ มนุษย์ จะตายหมด ประมหาประลัยนั้น
ว่ามีระยะได้ ๑๐๐ ปีสวรรค์
คติในลัทธิพราหมณ์ กัปหนึ่ง แบ่งออกเป็น ๑,๐๐๐ มหายุค มีระยะเท่า ๆ กัน พระพรหมมีอายุได้
๑๐๐ ปีสวรรค์ จึงถึงอายุขัย แล้วเกิดพระพรหมขึ้นใหม่อีกองค์หนึ่ง
คติทางพระพุทธศาสนาว่า กัป มีสามลักษณะคือ มหากัป อสงไขยกัป และอันตรกัป
หน้า ๑๑๒๔๔
๓๓๔๐. ประเลง
เป็นชื่อระบำชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้ในการเบิกโรงละครไทย ระบำชุดนี้ นิยมเล่นกันมากในสมัยก่อน
แต่ปัจจุบันเกือบจะหาดูไม่ได้แล้ว
ระบำชุด ประเลง ใช้ในการเบิกโรงละคร โดยสมมติให้ผู้รำเป็นเทวดา ลงมาปัดรังควาน
ปรกติระบำชุดนี้ใช้ตัวแสงสองคน เรียกว่า ระบำคู่ การแสดงระบำเบิกโรงชุดนี้
ไม่มีการขับร้องประกอบ ควมีแต่เพลงดนตรีที่เรียกว่า เพลงหน้าพาทย์ บรรเลงประกอบท่ารำไป
หน้าพาทย์ที่บรรเลงก็ล้วนแต่เป็นเพลงที่ประกอบอากัปกิริยาไปมาของเทวดา เช่น
เพลง "กลม" และโคมเวียน
สมัยนี้ การแสดงเบิกโรง ชักหมดไป แต่หันไปใช้วิธีไหว้ครู และบวงสรวงแทน
หน้า ๑๑๒๔๖
๓๓๔๑. ประวัติศาสตร์
อาจเรียกได้ว่า เป็นวิชาครอบจักรวาล เพราะไม่ว่าจะเรียนวิชาอะไรก็ต้องเรียนประวัติ
(ของวิชานั้น) ก่อน
ประวัติศาสตร์แบ่งออกเป็นหลายสาขา เช่น มหาวิทยาลัยเคมเบริดจ์ ในประเทศอังกฤษ
แบ่งออกเป็นประวัติศาสตร์ยุคโบราณ ประวัติศาสตร์ยุคกลาง และประวัติศาสตร์ยุคปัจจุบัน
นอกจากนี้ยังมีประวัติศาสตร์ศาสนา ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ ประวัติศาสตร์ความสำคัญระหว่างประเทศ
ประวัติศาสตร์จักรภพอังกฤษ ส่วนมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ยังมีประวัติศาสตร์สาขาอื่น
ๆ อีก เช่น ประวัติศาสตร์ศิลปะ ประวัติศาสตร์ปรัชญา ประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์
และประวัติศาสตร์สงคราม เป็นต้น ในสหรัฐอเมริกานิยมเปิดสอนประวัติศาสตร์ของแต่ละประเทศ
หรือภูมิภาคสำคัญอีกด้วย
สำหรับประเทศไทย ประวัติศาสตร์แต่เดิมเรียกกันว่า พงศาวดาร
มีคำนิยามว่าเป็น "เรื่องราวของเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับประเทศชาติ หรือพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของประเทศชาตินั้น"
เช่น พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ พงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา พงศาวดารรัชกาลที่
๑, ๒, ๓ และ ๔ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์
ประวัติศาสตร์เป็นวิชาที่ประกอบด้วยหลักฐาน ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่า แบ่งออกได้เป็นสองประเภทคือ
๑. หลักฐานปฐมภูมิ
ได้แก่ วัสดุโบราณที่เหลือตกค้างมาจนถึงสมัยปัจจุบัน เช่น ฟอสซิล
โบราณสถาน โบราณวัตถุ ซึ่งต้องศึกษาย้อนหลังขึ้นไปนับเป็นเวลาพัน
ๆ ปี ขึ้นไป จารึกต่าง ๆ พระราชพงศาวดาร พงศาวดารไทย พงศาวดารชาติต่าง ๆ คำให้การ
จดหมายเหตุโหร ตลอดจนจดหมายของชาวไทย และชาวต่างประเทศ ตำนาน และนิยายพื้นเมือง
สนธิสัญญาและเอกสารทางการทูต ฯลฯ
๒. หลักฐานทุติยภูมิ
ได้แก่ หนังสือซึ่งเรียบเรียงโดยผู้แต่งเป็นคนไทย หรือชาวต่างประเทศ
ประวัติศาสตร์ของแต่ละประเทศ หรือแต่ละชาติ ย่อมมีแตกต่างไปตามกาลสมัย
ประวัติศาสตร์ไทย สมควรมีความมุ่งหมายเน้นความสำคัญของคำขวัญว่า "ชาติ ศาสนา
และพระมหากษัตริย์"
ชาติไทยเป็นชาติเก่าแก่แต่โบราณกาล นับตั้งแต่ตั้งถิ่นฐานในลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง
เมื่อ ๔,๕๐๐ ปีมาแล้ว แล้วเคลื่อนลงมาทางทิศใต้ตั้งอาณาจักรน่านเจ้า ต่อมาก็ตั้งอาณาจักรเชียงแสน
ลานนา สุโขทัย อยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์
พุทธศาสนา เป็นหลักชัยของชาวไทย สืบต่อมาตั้งแต่พระเจ้าอโศก ได้แต่งตั้ง พระโสณะ
และพระอุตตระ มาประดิษฐานในแคว้นสุวรรณภูมิ อันเป็นประเทศไทยปัจจุบัน เป็นที่นับถือและฝังรากลึกในจิตใจของคนไทยส่วนใหญ่
จนถึงทุกวันนี้
พระมหากษัตริย์ไทยทุกยุคทุกสมัยได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจหลายสิ่งหลายอย่าง
ไว้ได้อย่างมั่นคง
เกี่ยวกับวิธีการทางประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์น่าจะเป็นทั้งอักษรศาสตร์
และวิทยาศาสตร์ เป็นวิชาที่รุดหน้าอยู่เสมอ
ประวัติศาสตร์ เป็นวิชาที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง มีการบรรจุวิชานี้ลงในหลักสูตร
และทำการสอน ในโรงเรียนประถมและมัธยม ตลอดจนถึงวิทยาลัย และมหาวิทยาลัย ตั้งแต่ชั้นปริญญาตรี
โท และเอก
หน้า ๑๑๒๔๘
๓๓๔๒. ประสะ - ยา
เป็นยาแผนโบราณจำพวกหนึ่ง ยำตำรับใดที่เรียกว่า ยาประสะ หมายความว่า ยาตำรับนั้น
เป็นยาที่เข้าตัวยาอื่น ๆ รวมกัน เช่น ยาประสะไพล หมายความว่า ยาตำรับนี้มีไพล
เป็นตัยยาที่มีขนาดมกา ตามความใน พ.ร.บ.ยา พ.ศ.๒๕๑๐ ระบุว่า มียาแผนโบราณจำพวกนี้อยู่ห้าขนานคือ
ยาประสะกะเพรา ยาประสะมะแว้ง ยาประสะจันทน์แดง ยาประสะไพล และยาประสะกานพลู
เป็นยาสามัญประจำบ้าน
หน้า ๑๑๒๖๑
๓๓๔๓. ประสาท ๑ - เส้น
เป็นแขนงของเซลล์ประสาท ซึ่งมีชื่อเฉพาะว่า นิวโรน เส้นประสาทส่งข่าวโดยกลไกลทางไฟฟ้า
โดยที่เส้นประสาทสามารถสร้างไฟฟ้าขึ้นได้ โดยอาศัยสารเคมี
ประสาททำงานโดยทำให้เกิดพลังประสาท ซึ่งเป็นไฟฟ้าขึ้นแล้วแผ่ออกไปพลังประสาท
จึงเป็นรหัสข่าวสาร ซึ่งเปรียบได้กับการส่งรหัสโทรเลขนั่นเอง หากแต่มีวิธีการและรายละเอียดแตกต่างออกไป
พลังประสาทส่งออกไปในรูปศักย์ไฟฟ้า
หน้า ๑๑๒๖๓
๓๓๔๔. ประสาท ๒ - ระบบ
ระบบประสาทในร่างกายเป็นระบบใหญ่ ประกอบด้วยเซลล์ประสาทมากมาย นับเป็นหมื่นล้านตัว
การทำงานมีความสลับซับซ้อนมาก จึงได้มีการแบ่งชนิดของระบบประสาท ออกเป็นหลายอย่างคือ
๑. แบ่งออกเป็นสองระบบ ซึ่งมีการทำงานไม่ขึ้นแก่กันคือ
ก. ระบบประสาทกาย
เป็นระบบประสาที่ทำงานเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของร่างกาย กับสิ่งแวดล้อมภายนอก
เช่น การรับความรู้สึก และการควบคุม การเคลื่อนไหวของร่างกาย การทำงานของระบบประสาทนี้
มีส่วนที่อยู่ภายใต้การควบคุมของอำนาจจิตใจ มีจุดประสานอยู่ภายในระบบประสาทกลาง
ข. ระบบประสาทอัตบาล
แบ่งออกเป็นสองระบบย่อยคือ
๑) ระบบประสาทซิมพาเทติก รับหน้าที่เป็นผู้ใช้พลังงาน เป็นประสาทของการทำงาน
เช่น การทำงานเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ในการต่อสู้ศัตรู เป็นต้น
๒) ระบบประสาทฟาราซินพาเทติก ทำหน้าที่ควบคุมและสะสมพลังงาน เป็นประสาทของการพักผ่อน
รวมทั้งการซ่อมแซม และสร้างพลังงาน
๒. ทางด้านกายวิภาคศาสตร์ ระบบประสาทอาจแบ่งออกได้เป็นสองส่วนคือ
ก. ระบบประสาทรอบนอก
ประกอบด้วยเส้นประสาท ซึ่งเป็นแขนงของเซลล์ประสาท
ข. ระบบประสาทกลาง
คือ ส่วนที่เป็นสมอง และไขสันหลัง ประกอบด้วยเซลล์ประสาทเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนั้นยังประกอบด้วยเส้นประสาท
ที่เชื่อมโยงเซลล์ประสาทด้วย
๓. ระบบประสาท ยังแบ่งออกเป็นสามพวก ตามลักษณะการทำงานคือ
ก. ระบบรับสัมผัส
งานส่วนใหญ่ได้มาจากประสบการณ์ของการสัมผัส จากการที่เครื่องรับถูกกระตุ้น
ซึ่งอาจจะเป็นเครื่องรับที่อาศัยการเห็น การได้ยิน การสัมผัส หรือเครื่องรับอื่น
ๆ อาจทำให้มีปฎิกิริยาโต้ตอบออกมาโดยทันที หรือจะเก็บเป็นความจำไว้ เพื่อจะนำมาใช้ช่วยเหลือปฎิกิริยาตอบโต้ของร่างกายในอนาคต
ข. ระบบทางด้านยนต์
มีขอบเขตทำงานที่กว้างขวางคือ ต้องควบคุมการทำงานของอวัยวะหลายพวก
๑) การทำงานของกล้ามเนื้อสายทั่วร่างกาย
๒) การทำงานของกล้ามเนื้อเรียบของอวัยวะภายใน
๓) การคัดหลั่งของต่อมต่าง ๆ ในร่างกาย
อวัยวะต่าง ๆ ดังกล่าวเป็นอวัยวะแสดงผล
ค. ระบบทางด้านจิตใจ
ส่วนใหญ่อาศัยการทำงานของสมองใหญ่ มีหน้าที่สลับซับซ้อนหลายอย่าง เช่น หน้าที่ทางด้านอารมณ์
ความคิด การควบคุมการนอนหลับ การตื่นของร่างกาย การเรียนรู้ของร่างกาย รวมทั้งการสร้างและการเก็บความจำ
เป็นต้น
หน้า
๑๑๒๖๕
๓๓๔๕. ประสาท ๓
เป็นโรคประเภทหนึ่ง ที่วงการแพทย์เรียกว่า โรคประสาท มีอาการ ปรากฎทั้งกาย
และทางใจ โรคนี้มีสาเหตุจากจิตใจ ซึ่งมีความวิตก กังวลตึงเครียดที่ซ่อนอยู่ในส่วนลึกของจิต
เก็บสะสมไว้ตั้งแต่วัยเด็ก เมื่อกระทบกับเหตุการณ์ชีวิตที่ยุ่งยาก ทำให้ความเครียดที่ซ่อนตัวอยู่นั้น
รุนแรงขึ้นจนเป็นอาการของโรค
หน้า ๑๑๒๖๙
๓๓๔๖. ประเสหรัน
เป็นชื่อนางพี่เลี้ยงคนหนึ่ง ของพระธิดากษัตริย์วงศ์อสัญแดหวา ในวรรณคดีเรื่อง
ดาหลัง (อิเหนาใหญ่) และเรื่องอิเหนา (อิเหนาเล็ก)
หน้า ๑๑๒๗๑
๓๓๔๗. ประไหมสุหรี
เป็นชื่อเรียกอัครมเหสีของกษัตริย์ชวาและมลายู เป็นชื่อที่เรียกตามตำแหน่ง
วรรณคดีเรื่อง ดาหลัง และเรื่องอิเหนา ซึ่งมีเค้ามูลมาจากนิทานปันหยี ของชวาและมลายู
ตามราชประเพณีของวงศ์อสัญแดหวา มเหสีของกษัตริย์มีถึงห้าตำแหน่ง ตำแหน่งประไหมสุหรี
เป็นตำแหน่งสูงสุด รองลงไปได้แก่ มะเดหวี มะโต ลิกู และเมาหลาหงี ตามลำดับ
แต่ละตำแหน่งดังกล่าว ยังอาจแยกย่อยออกไปได้อีก ดังเช่น อิเหนา มีมเหสีถึงสิบองค์
ต้องแยกตำแหน่งทั้งห้าออกเป็นฝ่ายขวา และฝ่ายซ้าย ประไหมสุหรี ฝ่ายขวาคือ
จินตะหรา และฝ่ายซ้ายคือ บุษบา
หน้า ๑๑๒๗๑
๓๓๔๘. ปรัชญา
คือ วิชาว่าด้วยหลักแห่งความรู้ และความจริง
๑. - ความเป็นมาของปรัชญา
ปรัชญาตะวันตกถือกำเนิดขึ้นเมื่อราวศตวรรษที่หนึ่ง ก่อน พ.ศ. โดยมีนักคิดชาวกรีกกลุ่มหนึ่ง
เริ่มมีความสงสัยและอยากรู้ อยากเห็นความเป็นไปของธรรมชาติ แนวคิดของนักปรัชญากลุ่มแรกนี้
มีลักษณะสำคัญคือ
ประการที่หนึ่ง สิ่งเร้าความสนใตให้คิดค้นหาคำตอบคือ โลกของธรรมชาติ หรือโลกของวัตถุ
ประการที่สอง การมองโลกของวัตถุในฐานที่เป็นระบบคือ คิดว่าสรรพสิ่งทั้งปวงต้องมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
มาจากสิ่งเดียวกัน
แนวคิดที่จะเชื่อมโยงสรรพสิ่งเข้าเป็นระบบอันหนึ่งอันเดียวกันนี้ เป็นพื้นฐานที่ก่อให้เกิดความเชื่อเกี่ยวกับระเบียบ
กฎเกณฑ์และความเป็นเหตุเป็นผลของสิ่งทั้งปวงในจักรวาลนี่คือ การแตกหน่อแนวคิดทางวิทยาศาสตร์
ซึ่งได้อุบัติขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๔ และ ๒๒ อนึ่งในการแสวงหาสิ่งที่เป็นตัวร่วม
หรือแกนกลางของสรรพสิ่งนั้น ทำให้นักคิดรุ่นแรกนี้ ต้องใช้ความคิดล่วงพ้นโลกของประสาทสัมผัส
ไปสู่โลกของนามธรรม
เมื่อมาถึงสมัยของโสกราตีส
ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑ - ๒ เห็นว่ามนุษย์ควรรู้จักตัวเอง กิจการของมนุษย์คือ
การที่ได้รู้จักและหาทางแก้ไขปัญหาของชีวิต
ตกมาถึงสมัยเพลโต
(พ.ศ.๑๑๕ - ๑๙๖) ความคิดเกี่ยวกับโลกของวัตถุและธรรมชาติของมนุษย์ ์ได้เชื่อมโยงเข้าสู่ระบบเดียวกัน
ทุกสิ่งบรรดาที่มีอยู่เป็นอยู่ ล้วนอยู่ในระบบความจริงเดียวกัน ต่อมาอริสโตเติล
ผู้เป็นศิษย์ก็ได้ปรับปรุงแนวคิดของเพลโต เท่าที่เห็นว่าเพลโต บกพร่อง
หลังจาก อริสโตเติล จนถึงยุคคริสต์กาล ก็ได้มีสำนักปรัชญาปลีกย่อยหลายสำนัก
และในยุคกลาง ซึ่งเริ่มประมาณพุทธศตวรรษที่ ๘ - ๒๑ หรือ ๒๒ ปรัชญาตะวันตกไม่มีอะไรใหม่
แต่เป็นยุคที่ได้นำเอาปรัชญาของเพลโต และอริสโตเติล ไปประยุกต์ใช้กับศาสนาคริสต์
ปรัชญาได้กลายเป็นแม่บท สำหรับอธิบายศัพท์ในศาสนา นักบุญออกัสติน ได้รับอิทธิพลจากเพลโต
ส่วนอะไควนัส นับถืออริสโตเติล เป็นปรมาจารย์
เมื่อสิ้นสมัยกลาง และเริ่มสมัยใหม่ปรัชญาก็เริ่มแตกลูกออกเป็นวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
และแยกออกจากปรัชญา กลายเป็นความรู้เชิงประจักษ์
เมื่อล่วงมาถึงราวพุทธศวรรษที่ ๒๓ และ ๒๔ นักวิชาการเริ่มมองเห็นว่า วิธีการทางวิทยาศาสตร์
อาจนำมาศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมได้ด้วย วิทยาศาสตร์สังคม
จึงเกิดขึ้นและแยกตัวอิสระออกจากปรัชญา
ดังนั้น ในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๕ จึงมีสำนักปรัชญาที่เห็นว่า ปรัชญามิใช่มีหน้าที่ที่จะแสวงหาความจริงอีกต่อไป
สำนักนี้เรียกกันว่า สำนัก "ภาษาวิเคราะห์" กล่าวคือ ปรัชญามีหน้าที่วิเคราะห์ภาษา
นักปรัชญากลุ่มนี้มีความเห็นว่า ปัญหาที่ฝึกปรัชญาในอดีตโต้แย้งกันนั้น จะไม่เกิดขึ้นถ้าคำที่นักปรัชญา
แต่ละคนใช้นั้นมีความหมายตรงกัน
ปรัชญาของโลกตะวันออก ซึ่งมีจีนและอินเดีย เป็นแหล่งสำคัญ ปรัชญาจีน
ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นหลักจริยธรรม หลักการปกครอง เป็นปรัชญาที่สอนให้คนปฎิบัติตนในการดำรงชีวิต
ทั้งชีวิตส่วนตัวและชีวิตสังคม ไม่มีลักษณะเป็นการแสวงหาความจริงเพื่อความจริงอย่างตะวันตก
ปรัญชาจีนเป็นแหล่งกำเนิดของประเพณี จริยธรรม ศาสนา และวัฒนธรรม จึงไม่มีบทบาทในการกระตุ้นให้เกิดวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
และวิทยาศาสตร์สังคม
ในอินเดียก็คล้ายกับจีน แต่มีลักษณะเป็นนามธรรมมากกว่าจีน ปรัญชาอินเดียเริ่มด้วยศาสนา
อันมีคัมภีร์พระเวทซึ่งเชื่อว่ามีมาแล้วราว ๔,๐๐๐ ปี เป็นแม่บท หลังจากยุคพระเวทก็มาถึงยุคพุทธกาล
อันมีลัทธิปรัญชาสำคัญคือ ลัทธิสางขยะ ศาสนาพุทธและศานาเชน เป็นหลัก หลังจากนั้นก็มาถึงยุค
"ระบบปรัญชา" อันมีลัทธิทั้งหกเป็นปรัญชาที่สำคัญ
๒. - สาขาต่าง ๆ ในปรัญชา
ที่นิยมแบ่งกัน มีดังนี้
ก. อภิปรัญชา
ปรัญชาสาขานี้เถียงกันเกี่ยวกับเรื่องสภาวะแห่งความเป็นจริง อันติมะ อะไรเป็นสิ่งที่แท้จริง
อะไรเป็นผลพลอยได้จากสิ่งจริงแท้ จิตหรือวัตถุเป็นความจริงมูลฐาน มีภาวะจริงอยู่มากนอกเหนือจากวัตถุ
และปรากฎการณ์ของวัตถุหรือไม่
ข. ตรรกศาสตร์
ปรัญชาสาขานี้ศึกษากฎเกณฑ์ของการใช้เหตุผล
ค. ญาณวิทยา หรือทฤษฎีแห่งความรู้
ปรัญชาสาขานี้วิเคราะห์ปัญหาเรื่องความจริง เรารู้ความจริงได้อย่างไร มีหลักอะไรที่จะช่วยในการตัดสินว่านี้จริงนี้เท็จ
ง. จริยศาสตร์
ปรัญชาสาขานี้เป็นปรัญชาชีวิต คือพูดถึงความหมายของชีวิต
จ. สุนรียศาสตร์
ปรัญชาสาขานี้เป็นวิชาว่าด้วยความสวยความงาม และความไพเราะของสิ่งต่าง ๆ เป็นปรัญชาที่เกี่ยวกับการสร้างสรรค์ค่าหรือคุณค่า
๓. - กิจของปรัญชา
มีกิจอยู่บางประเภทที่มีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์ แต่มิได้อยู่ในขอบเขตของวิทยาศาสตร์คือ
ก. การวาดภาพรวม หรือการสร้างโลกทัศน์
ข. การแสวงหา
คือค่าในที่นี้หมายถึง สิ่งที่น่าพึงปรารถนาหรืออุดมภาวะ ค่าเป็นตัวกำหนดทิศทางของชีวิตมนุษย์
การกระทำของมนุษย์ทุกอย่าง ต้องมีจุดหมายปลายทางและจุดหมายปลายทางนี้ถูกกำหนดโดยค่าที่ตนยึดถือ
ค. การวิพากย์และวิเคราะห์
หน้า ๑๑๒๗๔
๓๓๔๙. ปรัมมานัม
เป็นชื่อของเทวาลัยในศาสนาพราหมณ์ทางภาคกลางของเกาะชวาในหมู่เกาะอินโดนีเซีย
คำว่าปรัมมานัม มาจากชื่อหมู่บ้านที่อยู่ใกล้เทวาลัยแห่งนี้ ล้อมรอบด้วยกำแพงรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสสามชั้น
มีประตูเข้าทั้งสี่ทิศ ลานชั้นในสุดมีขนาด ๑๑๐ ตารางเมตร ลานชั้นกลาง ๒๒๒
ตารางเมตร กำแพงชั้นนอกสุดยาวด้านละ ๓๙๐ เมตร
ลานชั้นในสุด ประกอบด้วยเทวาลัยศิลาขนาดใหญ่สามหลัง หันหน้าไปทางทิศวตะวันออก
หลังกลางเป็นหลังที่ใหญ่ที่สุด สร้างถวายพระอิศวร หลังด้านใน (ด้านขวา)สร้างถวายพระพรหม
และหลังด้านเหนือ (ด้านซ้าย) สร้างถวายพระนารายณ์ ตรงข้ามกับเทวาลัยพระอิศวร
มีเทวาลัยขนาดเล็กประดิษฐานรูปโคนนทิ พาหนะของพระอิศวร หันหน้าไปทางทิศตะวันตก
นอกจากนี้ยังมีเทวาลัยขนาดเล็กอีกสองหลัง อยู่ตรงข้ามกับเทวาลัยพระพรหม และพระนารายณ์
หันหน้าไปทางทิศตะวันตกเช่นเดียวกัน และยังมีเทวาลัยอีกสองหลังตั้งอยู่ทางทิศเหนือและทิศใต้
หันหน้าไปทางทิศใต้และทิศเหนือตามลำดับ สูงประมาณ ๑๖ เมตร เทวาลัยหลังกลางสูง
๔๗ เมตร ในลานชั้นที่สองเดิมมีเทวาลัยขนาดเล็กอยู่ถึง ๒๒๔ หลัง สูงประมาณ
๑๔ เมตร สร้างเรียงเป็นแถวสี่
เชื่อกันว่า เทวาลัยแห่งนี้สร้างขึ้นในราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๕
หน้า ๑๑๒๘๕
๓๓๕๐. ปรากรมพาหุ, ปรักมพาหุ
เป็นพระนามพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์มตะ แห่งลังกาทวีปสิบองค์ องค์ที่ปรากฎพระนามยิ่งใหญ่ในพงศาวดารลังกาคือปรากรมพาหุมหาราชที่หนึ่ง
ผู้ทรงมีคุณปการยิ่งใหญ่แก่พระพุทธศาสนาเสมอเหมือนพระเจ้าอโศกมหาราช เอกอัครศาสนูปถัมภกในชมพูทวีป
ปรากรมพาหุที่หนึ่ง
(พ.ศ.๑๖๙๖ - ๑๗๒๙) เมื่อขึ้นครองราชย์แล้วได้สี่ปี ได้ทรงส่งกำลังทางบกไปปราบแคว้นโรหณะ
ส่งกำลังทางเรือไปปราบพวกโจละ ทางฝั่งอินเดียตอนใต้ พระองค์ได้ทรงปราบปรามนานานิคมชนบทถึง
๓๖๔ แห่ง ระดมพลทางบก ๒,๔๒๕,๐๐๐ คน ทาางเรือ ๙๙๕,๐๐๐ คน ทรงส่งนักรบสิงหฬไปรบยังแว่นแคว้นต่างแดนที่แข็งข้อ
และรุกราน (มาจากอินเดียภาคใต้) ภายในเกาะลังกาทรงตีอาณาจักรได้ทั้งหมด
ด้านพระพุทธศาสนา ทรงปรารถถึงสังฆมณฑลที่แตกแยก เสื่อมโทรมมาแต่ก่อน อีนเนื่องมาจากพระภิกษุสงฆ์ทุศีล
ไม่รักษาพระธรรมวินัย แตกแยกออกเป็นนิกายน้อยใหญ่ ทรงปรารถถึงความผุดผ่องของพระพุทธศาสนา
ปรากฎพระดำรัสในพงศาวดารว่า "หากพระราชาผู้ปกครองประเทศ ไม่เอาใจใส่ในพระศาสนา
คำสั่งสอนพระธรรมวินัยที่ถูกต้องจักเสื่อมสูญ มนุษย์จำนวนมากก็จะก้าวไปสู่ความพินาศ
ฯลฯ " ถึงคราวที่ข้า ฯ ควรจะรับใช้พระพุทธศาสนาให้ดำรงคงอยู่สิ้น ๕,๐๐๐ ปี"
พระองค์ได้พระกัสสปเถระผู้ทรงธรรม รับสั่งให้เรียกประชุมสงฆ์ฝ่ายธรรมวาที
และเรียกภิกษุฝ่ายอลัชชีมาไว้ ทรงบังคับให้ลาเพศแล้วขับไล่ออกไป ทรงอุปการะชำระพระพุทธศาสนาใหม่
ให้นิกายสงฆ์ที่เคยแตกแยกกันออกไปหลายนิกาย มาประพฤติธรรมให้สอดคล้องต้องกัน
เป็นครั้งแรกในเกาะลังกา
หน้า ๑๑๒๙๐
๓๓๕๑. ปรากฤต
เป็นชื่อเรียกภาษาท้องถิ่นในชมพูทวีปแต่โบราณ เป็นภาษาตระกูล อินโดยุโรปอยู่ในกลุ่มภาษาอารยันตะวันออก
นัยว่ามีภาษาสันสกฤตเป็นภาษาแม่ คู่กับภาษาอารยัน ตระกูลอินโด - ยุโรป ฝ่ายตะวันตก
มีภาษากรีก และภาษาละติน เป็นต้น
คำ "ปรากฤต" เป็นภาษาสันสกฤตแปลว่า ธรรมดา สามัญ หมายความว่า ภาษาสามัญไม่มีหลักเกณฑ์
เป็นภาษาของชาวบ้าน หมายอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นภาาาท้องถิ่นแต่ละถิ่น ภาษาปรากฤตจึงมีหลายแบบ
แยกประเภทออกไปตามท้องถิ่นนั้น ๆ ตรงข้ามกับคำ" สันสกฤต์ ซึ่งแปลว่า
ภาษาที่ตกแต่งดีแล้ว งดงาม มีหลักเกณฑ์
หน้า ๑๑๘๐๑
๓๓๕๒. ปรางค์
เป็นสถูปที่มียอดสูงขึ้นไป รูปร่างคล้ายต้นกระบองเพชร และมีฝักเพกาแยกเป็นกิ่ง
ๆ อยู่ข้างบนปราสาท ที่มียอดสูงเช่นนั้น
คำว่า "ปรางค์" หรือ "พระปรางค์" นี้ ไทยได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย - จีน
- ขอม ซึ่งเป็นปูชนียสถานทางศาสนาพราหมณ์ แผ่เข้ามาแต่เดิม การสร้างปรางค์ของไทยสมัยสุโขทัยและอยุธยาตอนต้น
ลักษณะของปรางค์ทรงป้อม ๆ คล้ายปรางค์ขอม ประกอบด้วยซุ้มคูหา สี่ซุ้ม เรียกว่า
ซุ้มจตุรทิศ ภายในซุ้มประดิษฐานเทวรูป ส่วนภายในของปรางค์ประดิษฐานพระเจ้าของพราหมณ์คือ
พระอิศวร (ศิวะ) พระนารายณ์ (วิษณุ) และพระพรหม เป็นต้น ปรางค์นี้ เป็นเทวาลัยโดยแท้
ต่อมาไทยได้รับอิทธิพลจากจีน มีการก่อสร้างแบบขาโต๊ะ ขาสิงห์ขึ้น ทั้งเจดีย์และปรางค์
โดยการสร้างขึ้นเป็นพุทธบูชาทางศาสนาพุทธ ได้ดัดแปลงจากลักษณะเดิมของไทยยุคต้น
ไขความสูงขึ้นเทียบเท่าเจดีย์ แล้วประดิษฐานชั้นเชิงส่วนยอดเป็นกาบ โดยมีเชิงเป็นระยะเรียกว่า
กาบขนุน ซุ้มคูหาหรือซุ้มจตุรทิศ ก็เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป ส่วนมากจะใช้พระยืน
ปรางค์นี้ หากสร้างเป็นยอดอาคารหลังคาซ้อนแบบไทย ที่เป็นจตุรมุข เรียกว่า
ปรางค์ปราสาท
การสร้างพระปรางค์นี้ นอกจากของขอมโบราณสร้างด้วยศิลาแลง หินและหินทรายแล้ว
ของไทยยังก่อสร้างด้วยอิฐถือปูน มีตั้งแต่ย่อไม้สิบสอง ไปจนถึงย่อไม้สามสิบหก
บางแห่งมีย่อเก็จออกจากด้านทั้งสี่ด้วย
หน้า ๑๑๓๐๗
๓๓๕๓. ปรางค์กู่
อำเภอ ขึ้น จ.ศรีษะเกษ ภูมิประเทศเป็นที่ราบ ทำนาได้
อ.ปรางค์กู่ แรกตั้งเป็นกิ่งอำเภอ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๔ ขึ้น อ.ขุขันธ์ ยกฐานะเป็นอำเภอ
เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๖
หน้า ๑๑๓๑๖
๓๓๕๔. ปราจีนบุรี
จังหวัดภาคตะวันออก มีอาณาเขตทิศเหนือจด จ.นครราชสีมา ทิศตะวันออกจดประเทศกัมพูชา
(จด จ.สระแก้ว - เพิ่มเติม)
ทิศใต้ จด จ.ฉะเชิงเทรา และ จ.จันทบุรี ทิศตะวันตก จด จ.นครนายก ภูมิประเทศเป็นที่ราบมีที่ดอนบ้าง
แต่ตอนเหนือมีทิวเขาสันกำแพง และทิวเขาพนมดงรัก กั้นเป็นพืดไป
จังหวัดนี้ มีเขาลูกใหญ่ ๆ เช่น เขาสมอปูน เขาเขียว เขาปลายลำกะดุก เขาร่มน้อย
เขาแหลม เขาโป่งฉนวน เขากำแพง
จ.ปราจีนบุรี มีปรากฎชื่อในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ คือเมื่อครั้งผลัดแผ่นดินใหม่
ๆ พระยาละแวก ได้ยกทัพเข้ามาถึงเมืองปราจีนบุรีตีเมืองนี้ได้ แล้วกวาดต้อนครอบครัวชาวเมืองไปเมืองละแวก
หน้า ๑๑๓๑๖
๓๓๕๕. ปราณบุรี
อำเภอ ขึ้น จ.ประจวบคีรีขันธ์ อาณาเขตทางทิศตะวันออก ตกอ่าวไทย ทิศตะวันตกจดประเทศพม่า
ภูมิประเทศตอนเหนือเป็นที่ดอนมีป่าไม้ และภูเขาประปราย ตอนใต้เป็นที่ลุ่ม
อ.ปราณบุรี เดิมเป็นเมือง ตั้งอยู่ที่ ต.เมืองเก่า (ต.ปราณบุรี) แล้วย้ายไปที่ปากแม่น้ำปราณ
เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๖ แล้วยุบเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๗ เรียก อ.เมืองปราณบุรี
ขึ้น จ.เพชรบุรี ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๔๙ กลับตั้งเป็นเมืองปราณบุรีอีก แต่ไปตั้งศาลากลางที่
ต.เกาะหลีก โอน อ.เมืองปราณบุรี ไปขึ้น จ.ปราณบุรี ภายหลังเปลี่ยนชื่อ จ.ปราณบุรี
เป็น จ.ประจวบคีรีขันธ์ ถึงปี พงศ.๒๔๕๙ ย้ายที่ว่าการอำเภอ จากปากแม่น้ำปราณไปตั้งที่
อ.เมืองเก่า (ต.ปราณบุรี)
หน้า ๑๑๓๑๘
๓๓๕๖. ปราบดาภิเษก
มีบทนิยามว่า "เป็นพระราชพิธีอภิเษกของพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งได้ราชสมบัติมาด้วยการรบชนะข้าศึก"
หน้า ๑๑๓๑๙
๓๓๕๗. ปราสาท ๑
เป็นเรือนชั้น เรือนมียอดโดยเฉพาะเป็นที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดิน
การสร้างปราสาท แต่โบราณวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างนั้น เท่าที่ปรากฎถ้าเป็นปราสาทของอินเดียหรือขอม
มักจะสร้างด้วยศิลาแลง หิน หินทราย หรือปูน อย่างที่เรียกกันว่า ปราสาทหิน
ส่วนใหญ่เป็นเทวาลัยในลักษณะต่าง ๆ กัน บางแห่งทำส่วนยอดเป็นพรหมพักตร์ หรือพรหมสี่หน้า
ที่ว่านี้เป็นของขอมโบราณ ลักษณะของยอดปราสาท จึงทำเป็นยอดปรางค์ทั้งสิ้น
ปราสาทของจีน ญี่ปุ่น และพม่า ก็เป็นลักษณะเรือนชั้นต่อกันไป โดยแต่ละชั้นทำเป็นหลังคาให้เห็นว่า
เป็นการแบ่งแต่ละชั้นของอาคารอยู่ในตัว ของจีนมักจะสร้างด้วยศิลาเขียว หรือปูน
บางทีก็ผสมไม้ ญี่ปุ่นใช้ปูนผสมไม้ ส่วนพม่า เนปาล ส่วนใหญ่เป็นเครื่องไม้
การสร้างปราสาทของต่างประเทศ เช่น ประเทศในยุโรป นิยมสร้างด้วยการก่ออิฐถือปูน
ตัวอาคารเป็นแบบตะวันตก ส่วนทางภาคตะวันออกได้รับอิทธิพลจากอินเดีย และจีน
ปราสาทของไทย ถ้าหลังคาเรือนยอดเป็นทรงจอมแห โดยลักษณะเดียวกับทรงมณฑป ตั้งแต่มุขหลังคาจนถึงยอดสุด
ปรุงด้วยไม้ตลอด สลักลวดลายลงรัก ประดับกระจกสีต่าง ๆ บางทีก็ปิดทอง
ในประเทศไทย สร้างลักษณะยอดปราสาทเป็นสองชนิดคือ ยอดปราสาท แบบยอดมณฑป และยอดปราสาทแบบยอดปรางค์
ติดกระเบื้องเคลือบสี
หน้า ๑๑๓๒๑
๓๓๕๘. ปราสาท ๒
อำเภอ ขึ้น จ.สุรินทร์ มีอาณาเขตทางทิศใต้ จดประเทศกัมพูชา ภูมิประเทศส่วนมากเป็นเนินเขา
และป่าดง มีที่ราบน้อย
อ.ปราสาท ตั้งเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๐ ที่ได้ชื่อว่าปราสาท เพราะในท้องที่ของอำเภอนี้
มีปราสาทโบราณหลายแห่ง เช่น ปราสาทบ้านปวงศึก ปราสาทบ้านปราสาม ปราสาทบ้านพลวง
ปราสาทตาวาย และปราสาทตาเหมือน
หน้า ๑๑๓๓๐
๓๓๕๙. ปริก
เป็นพันธุ์ไม้ประดับชนิดหนึ่ง ลำต้นเป็นกอเล็ก ๆ มีรากเป็นหัว เก็บสะสมอาหารอยู่ในดิน
ปลายยอดโน้มอ่อนลงเล็กน้อย ส่วนที่เห็นเป็นแผ่นแบนปลายแหลม ซึ่งมักเรียกว่าใบนั้น
ที่จริงเป็นกิ่งแขนงสั้น ๆ ส่วนใบที่แท้จริงลดรูปเหลือเพียงเส้นเล็ก ๆ สั้น
ๆ สีขาว หรือสีเหลืองอ่อน ๆ ติดอยู่ตามข้อของลำต้น ดอกออกตามข้อเป็นช่อเล็ก
ๆ สีขาว กลิ่นหอมหวานค่อนข้างฉุน ผลกลมสีเขียวเมื่อสุกสีแดง
หน้า ๑๑๓๓๐
๓๓๖๐. ปริซึม
คือ แท่งวัตถุโปร่งใสที่มีพื้นที่ภาคตัดขวางเป็นรูปเหลี่ยม ที่ใช้กันอยู่ทั่วไป
จะมีพื้นที่ตัดขวางเป็นรูปสามเหลี่ยม ประกอบด้วยพื้นผิวด้านข้างทุกด้าน เป็นพื้นที่ระนาบรูปสี่เหลี่ยม
เมื่อมีลำแสงฉายเข้าทางพื้นผิวระนาบเป็นมุม ตกกระทบที่เล็กกว่าหนึ่งมุมฉากแล้ว
ย่อมจะก่อให้เกิดการหักเหของลำแสง ตอนผ่านเข้าสู่ปริซึม และลำแสงจะไปทะลุออกที่ด้านใดของปริซึม
ย่อมสุดแต่ขนาดของมุมตกกระทบ ที่ลำแสงกระทำกับพื้นระนาบด้านนั้น ภายในแท่งปริซึม
หน้า ๑๑๓๐๑
๓๓๖๑. ปริญญา ๑
มีบทนิยามว่า "ความรู้ กำหนดรู้, ความหยั่งรู้,ความรู้รอบคอบ,กำหนดชั้นความรู้ที่ผ่านมหาวิทยาลัย"
ความหมายข้อสุดท้ายนี้นิยมกันว่า เป็นคดีโลก (ดู ปริญญา ๒) จะอธิบายในความหมายทางคดีธรรมที่ว่า
ความกำหนดรู้ ข้อนี้คัมภีร์ขุทกนิกาย มหานิทเทส ขยายความไว้ว่า ความกำหนดรู้เบญจขันธ์
เป็นต้น โดยวิภาค ได้แก่ รู้จักแยกออกจากสังขาร คือ สิ่งที่คุมกันอยู่ เรียกว่า
"ญาตปริญญา"
ความกำหนดพิจารณาเห็น โดยพระไตรลักษณ์เรียกว่า "ตีรณปริญญา"
การกำหนดละฉันทราคะ ในเบญจขันธ์เป็นต้น เรียกว่า "ปหานปริญญา"
หน้า ๑๑๓๓๕
๓๓๖๒. ปริญญา ๒
ในทางคดีโลก มีบทนิยามว่า "กำหนดชั้นความรู้ที่ผ่านมหาวิทยาลัย"
ระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ เกี่ยวกับการประสาทปริญญาต่างๆ ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามการพัฒนามหาวิทยาลัย
ตามปรกติ ในอังกฤษมหาวิทยาลัยประสาทปริญญาต่าง ๆ แบ่งออกเป็นปริญญาตรี ปริญญาโท
ปริญญาเอก
ในสหรัฐอเมริกา แบ่งปริญญาออกเป็นปริญญาตรี กำหนดเวลาเรียนตามปรกติสี่ปี ปริญญาโท
กำหนดเวลาเรียนอย่างน้อยหนึ่งปี และแบ่งหลักสูตรออกเป็นสองแบบคือ แบบเขียนวิทยานิพนธ์
กับแบบไม่เขียนวิทยานิพนธ์ ปริญญาเอก กำหนดเวลาเรียนไว้ ๓ - ๔ ปี และตามปรกติมีการสอบสามชั้นคือ
การสอบอย่างกว้างขวาง กับการสอบวุฒิ ก่อนอนุญาตให้เขียนดุษฎีนิพนธ์ เพื่อเสนอคณะกรรมการของมหาวิทยาลัย
ทำการสอบครั้งที่สาม
ประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ พระราชทานปริญญาเวชศาสตร์บัณฑิต (ต่อมาเปลี่ยนเป็นแพทยศาสตร์บัณฑิต)
เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.๒๔๗๒
พ.ร.บ.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.๒๔๗๗ กล่าวถึงเรื่องปริญญาไว้ในมาตรา ๒๙
ปริญญาบัณฑิตมีสามชั้นคือ ชั้นเอก เรียกว่า ดุษฎีบัณฑิต (ใช้อักษรย่อ ด.ข้างหลัง)
ชั้นโท เรียกว่า มหาบัณฑิต (ใช้อักษรย่อ ม.ข้างหลัง) ชั้นตรี เรียกว่า บัณฑิต
(ใช้อักษรย่อ บ.ข้างหลัง)
มหาวิทยาลัยอื่น ๆ ในประเทศไทยมีอำนาจให้ปริญญาต่าง ๆ ตามปรกติ หลักสูตรปริญญาตรี
มีกำหนดสี่ปี เป็นอย่างน้อย ปริญญาโทสองปี เป็นอย่างน้อย และปริญญาเอก ๓ -
๕ ปี ตามระเบียบของมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง
หน้า ๑๑๓๓๖
๓๓๖๓. ปริตร
พระพุทธมนต์บทเดียว หรือหลายบท เรียกว่า พระปริต ทั้งนั้น ที่ยึดที่เกาะที่พึ่งของจิตใจคือ
พระปริตร เครื่องป้องกัน หรือเครื่องขจัดปัดเป่าอันตรายให้หมดไปคือ พระปริตร
ในหนังสือสวดมนต์ฉบับหลวง แบ่งพระปริตออกเป็นสองส่วนเป็น จุลราชปริต เรียกกันเป็นสามัญว่า
เจ็ดตำนาน
เป็นมหาราชปริต
เรียกกันเป็นสามัญว่า สิบสองตำนาน
จุลราชปริต หรือเจ็ดตำนาน กำหนดพระสูตรดังนี้คือ มงคลสูตร รตนปริตร กรณียเมตตาปริตร
ขันธปริต (ครบด้วยฉัททันตปริตร) โมรปริตร ธชัคคปริตร และอาฎานาฎิยปริต บางทีเอาองคุลิมาลปริตร
แทนปริตรอื่น
หน้า ๑๑๓๔๓
มหาราชปริตร หรือสิบสองตำนาน กำหนดพระสูตรดังนี้คือ มงคลสูตร รตนปริตร กรณียเมตตาปริตร
ขันธปริตร โมรปริต วัฎฎกปริตร ธชัคคปริตร อาฎานาฎิยปริตร อังคุลมาลปริตร โพชฌงคปริต
อภยปริตร และชยปริตร
หน้า ๑๑๓๔๓
๓๓๖๔. ปรินายก - วัด
เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร เชิงสะพานผ่านฟ้า
ฯ กรุงเทพ ฯ เดิมเป็นวัดราษฎรชื่อ วัดพรหมสุรินทร์ ยกขึ้นเป็นวัดหลวงเมื่อเจ้าพระยาบดินทรเดชา
(สิงห์) ปฎิสังขรณ์แล้ว ถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ และได้รับพระราชทานนามวัดว่า
วัดปรินายก ได้มีพระบรมราชโองการประกาศ พระบรมราชูทิศวิสุงคามสีมา เมื่อปี
พ.ศ.๒๔๔๓
หน้า
๑๑๓๕๓
๓๓๖๕. ปรินิพพาน
เป็นชื่อเรียกการล่วงลับไปของพระพุทธเจ้า และพระอรหันต์ ว่าเฉพาะพระพุทธเจ้าในมหาปรินิพพานสูตร
กล่าวถึงเหตุการณ์ก่อนจะเสด็จดับขันธปรินิพพานของพระพุทธเจ้า สรุปความว่า
เมื่อพระพุทธองค์เสด็จไปถึงเมืองกุสินาราแล้ว เสด็จไปยังสาลวันอุทยานของมัลลกษัตริย์
โปรดให้พระอานนท์เถระ ปูลาดเตียงที่บรรทม ณ ระหว่างไม้รังทั้งคู่ แล้วเสด็จขึ้นบรรทมสีหไสยา
มีสติสัมปชัญญะ แต่มิได้มีอุฎฐานสัญญาคือ คิดว่าจะลุกขึ้นอีก ได้ประทานพระพุทโธวาทครั้งสุดท้ายว่า
"บัดนี้เราเตือนท่านทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
ท่านทั้งหลายจงบำเพ็ญความดีให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาท" ทรงทำปรินิพพานปริกรรม
ด้วยอนุบุพวิหารสมาบัติเก้าประการ โดยอนุโลม (โดยลำดับ) ดังนี้
ทรงเข้าปฐมฌาน ออกจากปฐมแล้ว ทรงเข้าทุติยฌาน ออกจากทุติยฌานแล้ว ทรงเข้าตติยฌาน
ออกจากตติยฌานแล้ว ทรงเข้าจตุตถฌาน ออกจากจตุตถฌานแล้ว ทรงเข้าอากานัญจายตนฌาน
ออกจากอากานัญจายตนฌานแล้ว ทรงเข้าวิญญานัญจายตนฌาน ออกจากวิญญานัญจายตนฌานแล้ว
ทรงเข้าอากิญจัญญายตนฌาน ออกจากอากิญจัญญายตนฌานแล้ว ทรงเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
ออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนฌานแล้ว ทรงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติที่เก้า
ครั้นพระพุทธองค์ทรงเสด็จอยู่ในสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ตามเวลาที่ทรงกำหนดแล้ว
ก็ถอยออกจากสมาบัตินั้นโดยปฎิโลม (ทวนลำดับ) จนถึงปฐมฌาน ต่อจากนั้นก็ออกจากปฐมฌานแล้ว
ทรงเข้าทุติยฌาน และต่อไปจนเข้าจตุตถฌาน เมื่อออกจากจตุตถฌานแล้ว ก็เสด็จปรินิพพาน
ณ ปัจฉิมยาม แห่งราตรี วิศาขบุรณมี เพ็ญเดือนหก
หน้า ๑๑๓๕๗
๓๓๖๖. ปริพาชก
เป็นนักบวชนอกพระพุทธศาสนาในอินเดียครั้งพุทธกาล นักบวชพวกนี้ครองเพศตามลัทธิคือ
โกนผม และหนวด นุ่งและคาดผ้าขาวไม่ใส่เสื้อ นักบวชพวกนี้มีมาก่อนพระพุทธศาสนา
มีสัญชัยเวลัฐบุตร เป็นเจ้าสำนัก ตั้งอยู่ที่แขวงเมืองราชคฤห ไม่ไกลจากพระเวฬุวันมหาวิหาร
กล่าวโดยทั่วไป นักบวชพวกปริพาชก จะท่องเที่ยวสั่งสอนลัทธิของตนตลอดเวลา ๘
- ๙ เดือน ไปถึงคามนิคมไหน ก็สนทนาถกเถียงกันในเรื่องเกี่ยวกับจริยศาสตร์
ปรัชญา และทรรศนลัทธิ พวกปริพาชกนิยมโต้วาที เรื่องปัญหาทางธรรม ของลัทธิกับนักบวชพวกอื่นเสมอ
และในพวกเดียวกัน
หน้า ๑๑๓๕๙
๓๓๖๗. ปริยัติ
แปลว่า การเล่าเรียน หมายเอาการเล่าเรียนฝ่ายพระศาสนา มีบทนิยามว่า "การเล่าเรียนพระไตรปิฎก
" ในที่บางแห่งหมายเอาวิชาภาษาบาลี และวิชานักธรรม เอาไปรวมกับคำอื่นตั้งเป็นคำใหม่ขึ้นว่า
ปริยัติธรรม ปริยัติธรรม หมายเอาพระพุทธพจน์ การศึกษาอบรมทางพระพุทธศาสนานั้น
ท่านกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการศึกษาอบรมไว้สามขั้น ขั้นต้นเรียกว่า ปริยัติ
คือ ต้องเรียนรู้ในข้อนั้น ๆ ก่อน ขั้นที่สองเรียกว่า ปฎิบัติ ขั้นที่สามเรียกว่า
ปฎิเวช คือ ผลที่ได้จากการปฎิบัติ
หน้า ๑๑๓๖๕
๓๓๖๘. ปริวรรต
หมายถึง การแลกเปลี่ยนซื้อขาย คำปริวรรต ที่ใช้กันมากในปัจจุบันมักตามด้วย
"เงินตราต่างประเทศ" หมายถึง การซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลหนึ่ง กับเงินตราอีกสกุลหนึ่ง
" อัตราที่ใช้ในการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างสกุลกันเรียกว่า "อัตราแลกเปลี่ยน"
โดยทั่วไปมักจะกำหนดในรูปของหนึ่งหน่วยเงินตราสกุลต่างประเทศ ต่อเงินตราสกุลของประเทศตนจำนวนหนึ่ง
การควบคุมปริวรรต
หมายถึง การควบคุมกิจการทั้งปวงที่เกี่ยวกับการซื้อขายแลกเปลี่ยน ให้กู้ยืมเงินตราต่างประเทศ
รวมถึงการนำเข้าหรือส่งออกทองคำ เงินตราต่างประเทศ เงินบาท และหลักทรัพย์อื่น
ๆ ด้วย การควบคุมปริวรรตกระทำกันอยู่ในหลายประเทศ สำหรับประเทศไทยได้มีการควบคุมการปริวรรต
ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๘๕
สถาบันที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมปริวรรต ได้แก่ กระทรวงการคลัง เป็นผู้รักษาการตาม
พ.ร.บ.ฯ ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นผู้ดำเนินการตามกฎหมาย ในฐานะเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน
ธนาคารที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจเกี่ยวกับเงินตราต่างประเทศ สำนักงานแลกเปลี่ยนเงิน
และบุคคลรับอนุญาต
หน้า ๑๑๓๖๗
๓๓๖๙. ปรีเดอโรม
เป็นรางวัลทางศิลปะเก่าแก่และมีชื่อเสียงของฝรั่งเศส วิทยาลัยวิจิตรศิลป์
ของสถาบันฝรั่งเศส ได้ตั้งรางวัลนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๓๔๖ มอบให้ประจำแก่นักเรียนศิลปะ
สาขาดนตรี จิตรกรรม ประติมากรรม แกะสลัก และสถาปัตยกรรม ผู้ได้รับจะต้องมีอายุไม่เกิน
๓๐ ปี
หน้า ๑๑๓๗๔
๓๓๗๐. ปรียทรรศิกา
นาฎิกา หรือละครสันสกฤต ของพระเจ้าศรีหรรษวรรธนะ ราชาแห่งอุดรภาค แห่งอินเดีย
ในพุทธศตวรรษที่ ๑๒ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ทรงถอดเป็นภาษาไทยเมื่อปี
พ.ศ.๒๔๖๙
ละครเรื่องนี้ต้นฉบับเดิมแต่งเป็นภาษาสันสกฤต แล้วมีผู้แปลเป็นภาษาอังกฤษ
หน้า ๑๑๓๗๔
๓๓๗๑. ปรือ - ต้น
เป็นพืชพวกกกชนิดหนึ่ง เป็นพันธุ์ไม้ที่มีเหง้าใต้ดิน ซึ่งแตกแขนงออกไปให้ต้นใหม่
ตามข้อของเหง้า ลำต้นที่พ้นดินอวบ และเป็นสามเหลี่ยม ใบยาวราว ๑ - ๑.๕ เมตร
กว้าง ๒ - ๒.๕ ซม. สีเขียวเข้ม โคนใบสีม่วงเป็นกาบหุ้มลำต้น ดอกออกที่ยอดเป็นช่อใหญ่
ยาวประมาณ ๑๒ - ๑๖ ซม. ปลายแยกเป็นสามเมล็ดแข็ง รูปกลมสีขาว
หน้า ๑๑๓๗๘
๓๓๗๒. ปรู
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูง ๕ - ๑.๕ เมตร ลำต้นมักคดงอ โคนต้นเป็นพู ต้นและเรือนยอดค่อนข้างโปร่ง
ใบเป็นรูปไข่กลับ ดอกมีสีขาวนวล ๆ มีกลิ่นหอม และออกเป็นกระจุกตามกิ่ง ผลกลมยาวขนาด
๑ - ๑.๕ ซม.
เปลือกของรากปรู ใช้เป็นยาขับพยาธิ ยาระบาย และแก้โรคผิวหนัง นอกจากนั้นยังเป็นยาทำให้อาเจียน
เมื่อคนไข้กินของเป็นพิษ ใช้เข้ายาแก้ไข้ ไม้เป็นไม้เนื้อแข็ง ใช้สร้างบ้านเรือนและทำด้ามปืน
หน้า ๑๑๓๗๙
๓๓๗๓. ปลดหนี้
เป็นนิติกรรมที่เจ้าหนี้แสดงเจตนาสละสิทธิเรียกร้อง ในหนี้อันมีต่อลูกหนี้
โดยไม่คิดเอามูลค่าตอบแทน เป็นผลให้หนี้นี้ระงับไปเท่าที่ปลดให้
ปลดหนี้ เป็นนิติกรรมฝ่ายเดียวคือ เจ้าหนี้เป็นฝ่ายแสดงเจตนาเพียงฝ่ายเดียว
ก็เป็นอันเพียงพอ ไม่จำเป็นต้องมีคำสนองรับของลูกหนี้
การแสดงเจตนาปลดหนี้นั้น เมื่อได้กระทำออกไปแล้ว จะมีผลบังคับทันที่ไม่อาจจะถอนคืนในภายหลังได้
หน้า ๑๑๓๗๙
๓๓๗๔. ปลวก
เป็นแมลงประเภทหนึ่ง ซึ่งอาศัยอยู่ตามพื้นดิน ทำรังรวมกันอยู่เป็นกลุ่มในรังหนึ่ง
ๆ อาจจะมีจำนวนหลายพันตัว ไปจนถึงเป็นหลายล้านตัว มีชีวิตความเป็นอยู่ร่วมกันแบบมีสังคม
แต่ละชนิดมีรูปร่างลักษณะ ๓ - ๔ แบบ โดยแบ่งเป็นวรรณะต่าง ๆ อยู่ในรังเดียวกัน
ปลวกมีลักษณะหลายอย่างแตกต่างไปจากมด ปลวกที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบแล้ว มีประมาณไม่ต่ำกว่า
๑,๘๐๐ ชนิด ประมาณ ๒๐๐ สกุล ใน ๗ วงศ์ ด้วยกัน ส่วนใหญ่มีอยู่ชุกชุมในเขตร้อนที่มีความชุ่มชื้นสูง
ปลวก มีวรรณะซึ่งเห็นได้จากรูปร่างลักษณะ และหน้าที่ที่แตกต่างกัน โดยทั่ว
ๆ ไปอาจจะแบ่งออกได้เป็นสี่วรรณะด้วยกันคือ วรรณะผสมพันธุ์ เป็นวรรณะที่มีปีกทั้งตัวผู้
และตัวเมีย เรียกว่า แมลงเม่า
ซึ่งแต่ละชนิดมีขนาดต่าง ๆ กันคือ มีลำตัวยาวตั้งแต่ ๕ - ๒๒ มม. ปลวกในวรรณะนี้จะทำหน้าที่เป็นพ่อแม่ของรัง
นอกจากนี้ก็มีวรรณะรองผสมพันธุ์ สามารถทำหน้าที่แทนพ่อแม่ของรังได้ หากพ่อแม่ตายไป
วรรณะกรรมกรคือ ปลวกงาน ประกอบด้วยตัวอ่อน และตัวเต็มวัย ที่เป็นหมันไม่มีปีก
มีขนาดตั้งแต่ ๒ - ๑๒ มม. แล้วแต่ชนิดของปลวก ทำหน้าที่ในการหาอาหารเลี้ยงรัง
สร้างรัง และทำความสะอาดรัง ตลอดจนงานอื่น ๆ เพื่อการยังชีพในรัง วรรณะสุดท้าย
วรรณะทหาร หรือนักรบ ซึ่งประกอบด้วยตัวเต็มวัย ที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว
มีหัวและกรามใหญ่ ซึ่งบางครั้งใหญ่มากจนไม่สามารถกินอาหารด้วยตัวเองได้ ต้องอาศัยปลวกงานป้อนอาหารให้
ปลวกวรรณะนี้อาจมีขนาดลำตัวยาวตั้งแต่ ๓ - ๒๐ ซม. ทำหน้าที่เฝ้าระวังรักษารังปลวกงาน
ส่วนใหญ่มีลำตัวอ่อนสีขาว หรือสีครีม ส่วนปลวกทหารมีสีเข้มกว่าเล็กน้อย สำหรับปลวกพ่อรัง
หรือแม่รัง จะมีสีน้ำตาลอ่อน น้ำตาลแก่ หรือเกือบดำ ก็มี
ปลวก จะสร้างรังใหม่ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นในหน้าฝน โดยวรรณะผสมพันธุ์ซึ่งเป็นแมลงเม่า
บินออกจากรังแยกกระจัดกระจายกันไป โดยมีการจับเป็นคู่ ๆ ระหว่างตัวผู้กับตัวเมีย
เมื่อได้คู่แล้วจะลงสู่พื้นดิน สลัดปีกทิ้งไปแล้วขุดรูทำโพรงเล็ก ๆ ใต้ดิน
ผสมพันธุ์กันในโพรงนั้น ต่อมาก็ออกไข่ฟักเป็นตัว โดยมีตัวพ่อแม่คอยเลี้ยงดู
ลูกของปลวกที่ออกมาจะสามารถทำงานเลี้ยงรังได้ ในขณะที่ยังไม่โตเต็มที่
ปลวก ที่อยู่ในวงศ์สูง ๆ จะมีชีวิตความเป็นอยู่และการสร้างรัง สลับซับซ้อนมากขึ้น
มีลักษณะที่เห็นเป็นจอมปลวก มีขนาดตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่
หน้า ๑๑๓๘๑
๓๓๗๕. ปล้อง - หญ้า
เป็นพืชนิดหนึ่ง ชอบขึ้นในน้ำริมป่า และที่ชื้นแฉะ มีลำต้นเลื้อยและมักจะมีรากงอกออกตามข้อ
ลำต้นเป็นข้อมักจะอ้วน ภายในมีไส้ลักษณะเหมือนฟองน้ำสีขาว ค่อนข้างนุ่ม ใบยาว
ราว ๔๐ ซม. กว้าง ๑ - ๓ ซม. โคนใบมักจะหุ้มอยู่รอบข้อ ช่อดอกสีเขียว ออกที่ปลายยอดเป็นแท่ง
หรือเป็นช่อดอกย่อย แต่รวมกันแน่นช่อ ไม่แผ่กว้างไส้ในหญ้าปล้อง ใช้แทนไส้ตะเกียงได้
หน้า ๑๑๓๘๕
๓๓๗๖. ปล้องฉนวน - งู เป็นงูขนาดเล็ก
ที่ไม่มีพิษชนิดหนึ่ง ขนาดลำตัวโตกว่าดินสอเล็กน้อย ยาวประมาณ ๓๐ - ๕๐ ซม.
ไม่ดุร้าย ถ้าไม่ถูกทำร้ายจะไม่กัด ออกหากินเวลากลางคืน ส่วนใหญ่มักจะมีสีเป็นปล้องดำ
หรือน้ำตาลสลับกับปล้องขาว
หน้า ๑๑๓๘๕
๓๓๗๗. ปล้องอ้อย - ปลา
เป็นปลาขนาดเล็ก ยาวเพียง ๔.๕ - ๘ ซม. เป็นปลาสวยงามชนิดหนึ่ง ตัวยาวมีลายดำสลับแดง
พาดขวางตัว
หน้า ๑๑๓๘๖
๓๓๗๘. ปลัง
เป็นไม้เลื้อย ยาว ๒ - ๑๐ เมตร มีอยู่สองพันธุ์คือ พันธุ์ลำต้นและก้านใบแดง
กับพันธุ์ลำต้นและก้านใบเขียวอ่อน ใบออกสลับกัน ใบเป็นแบบรูปไข่กว้างๆ จนถึงใบยาวอวบน้ำ
ก้านใบยาว ๑ - ๓ ซม. ช่อดอกรวมทั้งต้นยาว ๓ - ๒๕ ซม. ไม่แตกสาขา ช่อดอกมีลักษณะอ้วนสีแดง
หรือสีเขียว ดอกออกติดกัน และเรียงอยู่บนก้านช่อ ผลกว้าง ๕ - ๑๐ มม. เมื่อสุกสีดำเป็นมัน
นุ่ม เมื่อบีบจะมีน้ำสีม่วงแดงอยู่ภายในผล
ประโยชน์ของปลังคือ ใช้กินเป็นฝักสุก กินได้ทั้งส่วนยอดอ่อน ดอกอ่อน และใบ
ต้นและใบใช้ตำพอกแก้ปวดบวม
หน้า ๑๑๓๘๗
๓๓๗๙. ปลัด ๑
เป็นตำแหน่งรองหัวหน้าหน่วยราชการ ระดับต่าง ๆ มาแต่โบราณ ดังปรากฎในกฎหมายตราสามดวง
ว่าด้วยพระไอยการ ตำแหน่งนาพลเรือน พ.ศ.๑๙๑๙ ว่ามี ตำแหน่งปลัดทูลฉลอง ช่วยราชการอัครมหาเสนาบดี
ปลัดบาญชี ปลัดวัง ปลัดเวรมหาดเล็ก ปลัดเวรขอเฝ้า ปลัดกอง ปลัดนายกอง ปลัดนั่งศาลหลวง
ปลัดนั่งศาลราษฎร ปลัดจางวาง ปลัดปืน ปลัดเขน ปลัดแตร ปลัดร้อย (ช่วยนายร้อย)
ปลัดทิพจักร ปลัดสิทธิสาร ปลัดพระครูพิเชด ปลัดพระครูพิราม และปลัดเมือง เป็นต้น
บางหน่วยราชการอาจมีปลัดซ้าย และปลัดขวา ปลัดทูลฉลอง ปลัดตรวจคุก และปลัดเรือ
เป็นต้น หน้า
๑๑๓๘๗
๓๓๘๐. ปลัด ๒
เป็นตำแหน่งฐานานุกรมในคณะสงฆ์ มีบทนิยามว่า "ผู้ผลัด ผู้รอง ผู้แทน ผู้เคียง"
ในที่นี้จะอธิบายในคำที่หมายเอาตำแหน่งฐานานุกรมในคณะสงฆ์
ฐานานุกรมปรากฎครั้งกรุงศรีอยุธยาคือ สมเด็จพระอริยวงศาสังฆราชาธิบดี อยู่วัดมหาธาตุ
เป็นเจ้าคณะคามวาสี ฝ่ายซ้าย มีฐานานุกรม สิบรูป
พระพุทธาจารย์ อยู่วัดโบสถ์ราชเดชะ เป็นเจ้าคณะกลางอรัญวาสี บังคับบัญชาพระสงฆ์
ฝ่ายสมถวิปัสสนา มีพระราชาคณะเป็นคณะขึ้น แต่ยังไม่มีฐานานุกรม เป็นผู้ช่วย
พระวันรัต อยู่วัดป่าแก้ว เป็นเจ้าคณะคามวาสี ฝ่ายขวา มีฐานานุกรม สิบเอ็ดรูป
การปกครองคณะสงฆ์ ตั้งมั่นลงตั้งแต่สมัยสุโขทัย มีสองคณะคือ คณะคามวาสี และคณะอรัญวาสี
สมัยอยุธยาการปกครองคณะสงฆ์ครั้งแรก ดำเนินการตามแบบแผนสมัยสุโขทัย เมื่อมีพระภิกษุสงฆ์มากขึ้น
ก็แก้ไขเปลี่ยนแปลงกันมาโดยลำดับ ตกมาถึงสมัยธนบุรี คณะสงฆ์คงเหมือนสมัยอยุธยา
มาถึงสมัยรัตนโกสินทรตอนต้น ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมาก ถึงรัชกาลที่ห้า ได้มีการวางหลักการคณะสงฆ์ทั้งการปกครอง
การศึกษาเล่าเรียน แบ่งการปกครองคณะสงฆ์ออกเป็นสี่คณะคือ คณะเหนือ คณะใต้
คณะกลาง คณะธรรมยุติ และคณะสงฆ์อนัมนิกาย จีนนิกายที่เป็นฝ่ายเหนือ มีจำนวนมากขึ้น
ตั้งพระสงฆ์ฝ่ายญวน เป็นอนัมนิกายเดิมขึ้น อยู่กับกรมท่าซ้าย ให้โอนมาขึ้นอยู่ในองค์สมเด็จพระสังฆราช
ทรงตั้งพระภิกษุสงฆ์ฝ่ายนั้น เป็นเจ้าคณะใหญ่ปกครองกัน พระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์
ให้อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ตามความเชื่อถือของตน พระราชทานสมณศักดิ์แก่เจ้าคณะใหญ่
มีราชทินนามเป็น พระครู ผู้ช่วยเป็น ปลัด ว่า อง เช่น องสุตบท เป็นต้น
พวกจีน ตั้งคณะเป็นจีนนิกาย ตั้งพระภิกษุสงฆ์จีนด้วยกันเป็นเจ้าคณะใหญ่ ปกครองควบคุมกันเอง
พระราชทานสมณศักดิ์แก่เจ้าคณะใหญ่ มีราชทินนามเป็น หลวงจีน ว่า พระอาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร
ผู้ช่วยการคณะเป็น ปลัด มีราชทินนาม มีคำว่า หลวงจีน นำ เช่น หลวงจีนคณาณัติจีนพรต
เป็นต้น เดิมขึ้นกรมท่าซ้าย บัดนี้ขึ้นอยู่ใน สมเด็จพระสังฆราช
ปลัด นับอยู่ในฐานานุกรมคือ ผู้ช่วยการคณะ ครั้งสมัยอยุธยาเจ้าคณะองค์หนึ่ง
เฉพาะเจ้าคณะใหญ่องค์เดียวเท่านั้น ตั้งปลัดได้สามองค์คือ ปลัดสดำ ปลัดขาว
๑ ปลัดเฉวียง ปลัดซ้าย ๑ ปลัดกลาง ๑ สมัยรัตนโกสินทร เหลือสององค์ เป็นพระราชาคณะเฉพาะองค์ที่เป็นประมุข
ปลัดขวาว่า มหาคณิสร ปลัดซ้ายว่า จุลคณิสร
หน้า ๑๑๓๙๓
๓๓๘๑. ปลา
เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังอาศัยอยู่ในน้ำ ปากมีขากรรไกรบน และขากรรไกรล่าง
แต่มีบางพวกไม่มีขากรรไกรเลย มีการเคลื่อนไหวไปด้วยครีบ หรือกล้ามเนื้อลำตัว
ร่างกายปกคลุมด้วยเกล็ด หรือแผ่นกระดูก หรืออาจไม่มีทั้งสองอย่าง แต่ส่วนมากมีเมือกหุ้ม
ปลาที่มีเกล็ดมักจะมีเมือกคลุมผิวหนังน้อยกว่าพวกไม่มีเกล็ด
การหายใจ
ปลาหายใจด้วยเหงือก ยกเว้นปลาที่มีปอดซึ่งมีถุงลมเปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่คล้ายปอด
ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ปลาบางชนิดมีอวัยวะช่วยหายใจ ซึ่งช่วยให้ปลาเหล่านั้นอดทน
ตายยากกว่าชนิดที่ไม่มีเครื่องช่วยหายใจเช่น ปลาดุก ปลาช่อน ปลาหมอ ซึ่งจะมีชีวิตอยู่ในที่มีความชื้นเพียงเล็กน้อยได้
หัวใจของปลามีสองห้อง ยกเว้นปลาที่มีปอด ซึ่งจะมีผนังกั้นห้อง แบ่งเป็นซีกซ้ายและซีกขวา
แต่ยังไม่สมบูรณ์ ปลาเป็นสัตว์เลือดเย็นเช่นเดียวกับสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ
ซึ่งมีคุณสมบัติของเลือดในร่างกาย มีอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงไปได้ตามอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมภายนอก
และปลาที่ว่ายน้ำเร็ว อุณหภูมิของเลือดในร่างกายก็มักจะสูงกว่าอุณหภูมิภายนอกเล็กน้อย
การสืบพันธุ์
ปลาส่วนใหญ่ใช้วิธีการวางไข่ในน้ำ และมีการผสมพันธุ์ภายนอกตัว หรือมีการผสมภายในเก็บไข่ไว้ฟักจนเจริญเป็นตัวภายในตัวแม่
แล้วจึงออกลูกเป็นตัวเลยก็มีเช่น ปลาฉลาม และปลากระเบน เป็นต้น ปลาบางจำพวกไม่ต้องมีการผสมพันธุ์
แต่มักจะมีลูกเป็นตัวได้ เช่นปลาหางนกยูง และปลากินยุง แต่ปลาเหล่านั้นจะเป็นปลาที่ไม่สมบูรณ์ทางพันธุกรรม
และไม่สามารถสืบพันธุ์ต่อไปได้
การแบ่งกลุ่มเป็นหมวดหมู่ของปลา
อาศัยลักษณะเด่น และส่วนของร่างกายที่แตกต่างกันเห็นได้ชัด การจัดแบ่งกลุ่มมีวิวัฒนาการเรื่อยมา
และนำมาใช้ในสถาบันต่าง ๆ ซึ่งแตกต่างกันไป
หน้า ๑๑๔๐๐
๓๓๘๒. ปกลาจ่อม
เป็นเครื่องดองของเค็มที่ทำด้วยปลาสร้อย หรือปลาเบญจพรรณ ใช้ปรุงเป็นอาหารประเภทเครื่องจิ้ม
บริโภคกับผักสด ปรุงเครื่องด้วยขิง ตะไคร้ ต้นหอม และพริกซอย
หน้า ๑๑๔๑๘
๓๓๘๓. ปลาเจ่า
เป็นอาหารหมักเค็มที่ทำโดยการหมักข้าวหมากกับปลา คำว่าเจ่าแปลว่าข้าวหมัก
ถ้าผสมด้วยปลาเรียกว่าปลาเจ่า ถ้าผสมด้วยกุ้งเรียกว่ากุ้งเจ่า ใช้ปรุงเป็นอาหารประเภทเครื่องจิ้ม
โดยหลนกับกระทิ แต่งรสให้ครบสามรสคือ เปรี้ยว เค็ม และหวาน บริโภคกับผักสด
หน้า ๑๑๔๑๘
๓๓๘๔. ปลาตะเพียน
เป็นเครื่องจักสานรูปปลาอย่างหนึ่ง ใช้เป็นเครื่องปลอบใจเด็ก ผู้ประดิษฐ์มักทำเป็นรูปปลาตัวโตเพียงตัวเดียว
หรือมีลูกปลาห้อยเป็นบริวารตรงที่ปากใต้ท้องและที่หาง ถ้าเป็นขนาดย่อมก็มีลูกปลาห้อยน้อยหน่อย
เมื่อทำเสร็จและผูกเชือกแล้วมักเอาสีแดง และสีเหลืองมาทา ตัวปลาทั้งหลายเหล่านั้นให้สวยงามขึ้น
ปลาเหล่านี้มีรูปร่างลักษณะคล้ายปลากระแหทอง หรือคล้ายปลาตะเพียนทอง
เครื่องจักสานชนิดนี้มีไว้เพื่อเป็นเครื่องล่อใจเด็กให้หลับไป
หน้า ๑๑๔๑๙
๓๓๘๕. ปลาแนม
เป็นชื่อของกินอย่างหนึ่งประกอบด้วยข้าวคั่ว เนื้อปลา หนังหมู มะนาว มะพร้าว
กระเทียมดอง หอมแดง ผิวส้มซ่า เกลือ ข่า พริกไทย ผักชี ต้นหอม ใบชะพลู ใบทองหลาง
ทราบว่าเกิดในสมัยรัชกาลที่สอง
หน้า ๑๑๔๒๐
๓๓๘๖. ปลาปาก
อำเภอขึ้น จ.นครพนม ภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง ป่าโปร่ง
อ.ปลาปาก แรกตั้งเป็นกิ่งอำเภอเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๗ ขึ้น อ.เมือง ฯ จ.นครพนม ยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อปี
พ.ศ.๒๕๑๔ หน้า ๑๑๔๒๑
๓๓๘๗. ปลาม้ำ
เป็นปลาหมักเค็มที่ชาวไทยคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิกทำบริโภค ใช้ปลาช่อนและปลาชะโดเท่านั้น
แต่ปลาม้ำแบบญวนกล่าวกันว่าใช้ปลาช่อน หรือปลาสวาย หรือเทโพก็ได้ ในประเทศกัมพูชามีผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกับปลาม้ำ
ใช้ปลาช่อนทำ หน้า ๑๑๔๒๒
๓๓๘๘. ปลายพระยา อำเภอขึ้น
จ.กระบี่ ภูมิประเทศโดยทั่วไป เป็นที่ราบประกอบไปด้วยภูเขาและเนินหลายลูก
อ.ปลายพระยา แรกตั้งเป็นกิ่งอำเภอเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๖ ยกฐานะเป็นอำเภอ เมื่อปี
พ.ศ.๒๕๒๐
หน้า
๑๑๔๒๒
๓๓๘๙. ปลาร้า
เป็นอาหารชนิดหนึ่ง ทำด้วยปลาหมักกับเกลือ ปลาที่ใช้มากคือปลากระดี่ และปลาสร้อย
อาจใช้ปลาช่อนและปลาสลาดก็ได้ เมื่อจะนำมาบริโภคก็นำมาหลนเป็นเครื่องจิ้ม
บริโภคกับผักสด หรือผักต้มก็ได้
หน้า ๑๑๔๒๓
๓๓๙๐. ปลาโลมา
เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม อาศัยอยู่ในน้ำตลอดเวลาเช่นเดียวกับปลาวาฬ ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกัน
มีบทนิยามว่า "ปลาทะเลขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง คติชาวบ้านเชื่อกันว่าช่วยคนเมื่อเรือแตก
แต่ทางวิทยาศาสตร์ว่าเป็นสัตว์ดูดนมชนิดหนึ่ง อาศัยอยู่ในทะเล"
ลักษณะโดยทั่วไป ปลาโลมามีรูปร่างคล้ายปลา ลำตัวค่อนข้างยาว โดยรอบลำตัวกลมคล้ายลูกตอร์ปิโด
จัดว่าเหมาะสมเพื่อการดำรงชีวิตในน้ำ มีผิวหนังเรียบลื่น มีความว่องไว ว่ายน้ำได้เร็ว
ส่วนหัวมีลักษณะแตกต่างกันเป็นสองแบบ พวกหนึ่งมีจงอยปากยาวเรียวแหลม มีฟันกลมปลายแหลม
นิยมเรียกว่า โลมาหัวขวด หรือโลมาปากขวด
อีกพวกหนึ่งมีจงอยปากสั้น หัวมักทู่กลม ฟันแบนนิยมเรียกว่า โลมาหัวบาตร
ปลาโลมามีขาคู่หน้า ลักษณะเป็นพายแผ่เป็นแผ่นแบน ใช้ช่วยในการว่ายน้ำและพยุงตัว
หางลักษณะเป็นสองแฉก แต่ออกตามแนวราบขนานกับผิวน้ำ
ปลาโลมานับเป็นสัตว์เลือดอุ่น ที่ให้ลูกครั้งละตัวเช่นเดียวกับปลาวาฬ ลูกอ่อนจะติดแม่อยู่นานถึงสามเดือน
ปลาโลมามีนิสัยชอบอยู่เป็นฝูงในทะเลเปิด ชอบกินปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ อาศัยอยู่ในทะเล
และมหาสมุทรทั่วโลก แม้กระทั่งในแม่น้ำบางแห่งก็มีอยู่บางชนิด
หน้า ๑๑๔๒๔
๓๓๙๑. ปลาวาฬ
จัดอยู่ในประเภทเลี้ยงลูกด้วยนม อาศัยอยู่ในน้ำโดยตลอด มีบทนิยามว่า "สัตว์ใหญ่ชนิดหนึ่งอยู่ในทะเล"
ปลาวาฬ มีรูปร่างใหญ่โต และมีส่วนสัดผิดแยกแตกต่างกันไปแต่ละชนิด ลำตัวลื่น
ไม่มีเกล็ด หางเล็กแผ่ราบในแนวนอน บางชนิดมีฟันแต่บางชนิดก็ไม่มี แต่แผ่นกระดูกอ่อน
ปลาวาฬ เลือดอุ่น เช่น สัตว์เลือดอุ่นเช่นเดียวกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหลาย
ให้ลูกครั้งละตัว ปลาวาฬมีปอดที่มีความยึดหยุ่นน้อยกว่าพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
และมีโครงสร้างกระดูกอ่อน ช่วยค้ำพยุงอยู่ด้วยปอดนี้ มีทางติดต่อโดยตรงจากท่อพ้นอากาศออกจากปอดให้หมดเสียก่อน
สัตว์ในกลุ่มปลาวาฬและปลาโลมา ที่พบอยู่ในทะเลทั่วโลก ที่พบแล้วมีอยู่ประมาณ
๙๐ ชนิด แต่เฉพาะในน่านน้ำไทย และทะเลใกล้เคียงมีอยู่เพียง ๑๒ ชนิด
หน้า ๑๑๔๒๗
๓๓๙๒. ปลาสเตอร์ - ปูน
มีลักษณะเป็นผงละเอียดสีขาว เมื่อผสมน้ำแล้วจะมีลักษณะเหมือนแป้งเปียก ซึ่งจะแข็งตัวเมื่อทิ้งให้แห้ง
ประโยชน์ของปูนชนิดนี้คือ ใช้ฉาบผนัง ทำแบบหล่อ ทำรูปหล่อ ใช้ในงานประติมากรรม
และใช้ทำเฝือกในกรณีกระดูกหัก
ปูนปลาสเตอร์ทำจากแร่ยิปซัม เมื่อนำปูนปลาสเตอร์ไปใช้ประโยชน์จะต้องผสมน้ำลงไป
หน้า ๑๑๔๓๐
๓๓๙๓. ปลาส้ม
เป็นอาหารหมักเค็มคล้ายปลาจ่อม แต่ไม่ใส่ข้าวคั่ว เวลาปรุงก็นึ่งหรือทอด แล้วซอยหัวหอม
และพริกไรยข้างหน้า หรือบริโภคกับแจ่ว
หน้า ๑๑๔๓๑
๓๓๙๔. ปลาหมึก
เป็นสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลัง ที่มีขนาดใหญ่ ในทางชีววิทยาจัดไว้ในกลุ่มเดียวกับพวกหอย
ปลาหมึกมีรูปร่างกลมยาว หรือเป็นถุง แบ่งเป็นส่วนหัวและลำตัว ไม่มีเปลือกหุ้มภายนอก
ส่วนหัวมีตาขนาดใหญ่ มีระยางค์รอบปาก ๔ - ๕ คู่ เรียกกันว่า หนวด บนหนวดมีปุ่มดูดเรียงเป็นแถว
หนวดมีหน้าที่จับเหยื่อป้อนเข้าปาก และช่วยในการผสมพันธุ์ ภายในปากมีเขี้ยวสองอันคือ
เขี้ยวบนกับเขี้ยวล่าง มีลักษณะคล้ายปากนกแก้ว นอกจากนี้มีฟันบด เป็นฟันเล็ก
ๆ อยู่ติดกันเป็นแผง ที่ลำตัวมักจะมีครีบติดอยู่ด้านข้าง ตามตัวมีจุดสีซึ่งขยายให้ใหญ่
หรือเล็กได้ โดยการควบคุมของระบบประสาท ตามสภาพสิ่งแวดล้อม ภายในตัวมีโครงสร้างที่เป็นของแข็ง
เรียกว่า กระดองหมึก มีลักษณะเป็นแผ่นสีขาวใส ส่วนในหมึกกระดอง มีลักษณะเป็นแผ่นแข็งสีขาวขุ่น
เรียกว่า ลิ้นทะเล
ระหว่างหัวกับลำตัว มีช่องให้น้ำเข้าสู่ภายในลำตัว มีท่อน้ำออกเรียกว่า ไซฟอน
อยู่ทางด้านล่างของตัว ท่อนี้หันไปได้ตามทิศทางที่ต้องการ การขับน้ำออกจากช่องตัวอย่างแรง
เป็นวิธีการที่ทำให้ตัวเคลื่อนที่ไปได้อย่างรวดเร็ว ปลาหมึกหายใจโดยใช้เหงือก
ที่อยู่ภายในลำตัวทำหน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊ส ที่ละลายอยู่ในน้ำ ภายในตัวมีท่อทางเดินอาหารระบบขับถ่าย
และระบบสืบพันธุ์ ที่ส่วนปลายสุดของท่อทางเดินอาหาร มีถุงน้ำมีสีดำติดอยู่เรียกว่า
ถุงหมึก ซึ่งพร้อมที่จะพ่นออกทางท่อน้ำออก เมื่อถูกรบกวนหรือมีศัตรู
ปลาหมึก เคลื่อนที่ได้รวดเร็ว และว่องไว จึงสามารถจับสัตว์น้ำขนาดเล็กกินเป็นอาหาร
ในการสืบพันธุ์ปลาหมึกมีอวัยวะสืบพันธุ์ที่เจริญ มีเพศแยกเป็นเพศผู้และเพศเมีย
เพศผู้จะใช้หนวดนำถุงเชื้อไปสอดในช่องตัวของเพศเมีย เมื่อไข่ได้รับการผสมแล้ว
ตัวเมียก็จะนำสายไข่ไปติดตามพื้นทะเล หรือตามสาหร่าย ตัวอ่อนจะเจริญอยู่ภายในรังไข่
จนมีลักษณะเกือบสมบูรณ์ ก็จะเจาะเปลือกไข่ออกมา ช่วงแรกจะดำรงสภาพเป็นแพลงตอน
ล่องลอยอยู่ระยะต่อมาจะเริ่มจมตัวลงสู่ระดับลึก
ปลาหมึกมีหลายชนิด ในบริเวณน่านน้ำไทย พบว่ามี ๖ วงศ์ ๑๑ สกุล ๒๓ ชนิด
หน้า ๑๑๔๓๑
๓๓๙๕. ปล้ำ - มวย
เป็นกีฬาอย่างหนึ่ง ที่นิยมเล่นกันมาเป็นเวลาช้านาน นิยมเล่นกันอย่างกว้างขวางทั่วโลก
จากหลักฐานที่มีอยู่เชื่อว่า กีฬามวยปล้ำได้นิยมเล่นกันในหมู่ชาวอิยิปต์ อย่างน้อยเป็นเวลา
๒๔๕๐ ปี ก่อนพุทธกาลมาแล้ว และในสมัยกรีกโบราณก็ได้มีการเล่น และแข่งขันมวยปล้ำนี้เช่นเดียวกัน
เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๗ มวยปล้ำนี้ก็มีการเล่นในหมู่ชาวโรมัน ตามหลักฐานเชื่อว่า
มีการเล่นมวยปล้ำในญี่ปุ่น มาตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.๕๒๐ อินเดียก็นิยมเล่นมวยปล้ำเช่นกัน
ในยุโรปก็นิยมเล่นกีฬานี้อย่างกว้างขวาง
มวยปล้ำเป็นกีฬาที่ต่อสู้ และแข่งขันด้วยท่ามือเปล่าบนเบาะที่กำหนดให้ เป็นเวทีของการเล่นหรือแข่งขัน
ในระหว่างผู้เล่นสองคน วิธีการเล่น และกติกาที่ใช้แต่ละแห่ง อาจจะแตกต่างกันไปบ้าง
หน้า ๑๑๔๓๗
๓๓๙๖. ปลิง
เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่ดูดเลือดเป็นอาหาร ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในน้ำจืด
ในทะเลมีอยู่บ้าง ตัวกลมยาวเรียวลงไปทางด้านหัว หรือเป็นรูปไข่แบน ลำตัวแบ่งเป็นปล้องชัดเจนประมาณ
๓๔ - ๓๕ ปล้อง แต่ละปล้องมีรอยแบ่งเป็นปล้องย่อย เนื่องจากมีการยึดหดตัวได้ดี
มีสีคล้ำ ตัวยาวประมาณ ๑ - ๕ ซม. แล้วแต่ชนิดที่ปลายสุดทั้งสองด้านมีปุ่มดูด
ด้านละอัน อันหน้าอยู่รอบปากทำหน้าที่ดูดเลือด อันที่อยู่ด้านท้ายของตัว มีขนาดใหญ่กว่าอันหน้า
ใช้ในการยึดเกาะและการเคลื่อนที่
ปลิง มีการดำรงชีวิตเป็นแบบกึ่งปรสิต หากได้อาหารเต็มที่จะสามารถอยู่โดยลำพังได้
เป็นเวลาหลายเดือน เพราะมีกระเพาะสำหรับเก็บกักอาหาร ในน้ำลายของปลิง มีสารไฮรูดีนที่ทำให้เลือดไม่แข็งตัวขณะที่ปลิงกำลังดูดเลือดอยู่
ในสมัยโบราณแพทย์ใช้ปลิงน้ำจืดบางชนิด ช่วยในการรักษาคนไข้โดยให้ปลิงดูดเลือด
ตรงบริเวณที่เจ็บปวดออก เพราะเชื่อกันว่าเป็นการเอาเลือดเสียออกไปจากตัว
ปลิง มีหลายชนิด เช่น ปลิงควาย ปลิงเข้ม อยู่ตามลำคลอง หนอง บึง ห้วย ส่วนใหญ่ดูดเลือดจากสัตว์น้ำ
เช่น เต่า ปลา และวัว ควาย หรือคนที่ลงไปในแหล่งที่ปลิงอาศัยอยู่ ปลิงที่อาศัยในทะเลมีเพียง
๑ - ๓ ชนิด โดยดูดเลือดจากปลาจำพวกฉลาม และกระเบน
หน้า ๑๑๔๔๒
๓๓๙๗. ปลุกตัว
คือ การนั่งสมาธิ แล้วบริกรรมคาถาเพื่อให้อยู่ยงคงกระพันชาตรี เวลาออกรบทัพจับศึก
หรือต่อสู้กับศัตรู การนั่งเข้าสมาธิแล้วบริกรรมคาถานั้นคือ การนั่ง ภาวนาสำรวมใจท่องบ่นอักขระ
หรือข้อความที่ผูกขึ้นถือว่า มีอำนาจลึกลับอยู่ในนั้น เมื่อนำมาใช้ตามลัทธิที่มีกำหนดไว้
ก็เกิดความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์สามารถใช้เป็นประโยชน์ในการป้องกัน ปัดเป่าให้แคล้วคลาด
หรือทนทานต่อศัสตราวุธ หรือมีฤทธิ์ด้วยประการต่าง ๆ
๓๓๙๘. ปลุกผี
กล่าวกันว่า เป็นการปลุกคนตายให้ลุกหรือปรากฎกายขึ้นมา เพื่อลนที่ใต้คางเอาน้ำมันไปทำเสน่ห์
ยาแฝดต่าง ๆ และคนตายที่เรียกว่า ผี นั้นต้องเป็นผู้หญิงที่ตายทั้งกลมคือ
ตายพร้อมกับลูกในท้อง และเป็นการตายผิดธรรมดา ที่เรียกว่า ตายโหง ความประสงค์ก็เพื่อจะเอาลูกในท้องที่ตายพร้อมกับแม่
ไปลนที่ใต้คางเอาน้ำมันมาทำเสน่ห์ยาแฝดต่าง ๆ
หน้า ๑๑๔๕๑
๓๓๙๙. ปลุกเสก
คือ การเสกวัตถุ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ขลัง หรือให้กล้าแข็ง เป็นลัทธิปฎิบัติด้วยวิธีนำเอาอักขระ
หรือข้อความที่ผูกขึ้นซึ่งเรียกว่า คาถาอาคมมาทำการปลุกเสก เสก นั้น ภาษาโบราณว่า
ถ่ม หรือพ่น คือ ทำให้คาถาอาคมแทรกซึมลงไปในสิ่งที่ประสงค์ ให้เกิดความขลัง
หน้า ๑๑๔๕๘
๓๔๐๐. ป่วง
คือ ความเจ็บไข้อย่างหนึ่งที่ปรากฎในคัมภีร์แพทย์โบราณ อาการโดยทั่วไปได้แก่
ท้องเดิน อาเจียน กระวนกระวาย ริมฝีปากซีดเขียว ขอบตาซีด
เสียงแหบ หาวเรอ หายใจเบาเร็ว มือเท้าซีดเหี่ยว ฯลฯ ทั้งนี้เพราะผิดสำแดงจากอาหารเป็นพิษ
ในตำราโบราณ จำแนกป่วงตามอาการของผู้ป่วยเป็นแปดประการ คือ
๑. ป่วงงู
ผู้ป่วยมีอาการอาเจียนบ่อยไม่หยุด ตาปรอย บิดตัวอยู่เสมอ เพราะปวดท้อง ผู้ป่วยมักตาย
หรือไม่ก็มีอาการเป็น หรือตายเท่ากัน
๒. ป่วงลิง
ผู้ป่วยมีอาการหนาว คางสั่น แน่หน้าอก ริมฝีปากซีดเขียว ขอบตาซีด มีอาเจียนเป็นสำคัญ
เอามือกอดอกมีท่าทางเหมือนลิง อาการจะอยู่จะไปเท่ากัน
๓. ป่วงลม
มีอาการเสียดที่สีข้าง ท้องเดินไม่มาก แน่นจุกอก อาเจียนเป็นน้ำลาย รู้สึกร้อนและกระวนกระวาย
๔. ป่วงศิลา
เริ่มด้วยอาการอาเจียน แล้วทวีความรุนแรงขึ้น มักอาเจียนเป็นลมเปล่า ๆ ปวดเมื่อยที่ข้อ
รู้สึกเสียดแทงที่หน้าอก มือเท้าบวม ไม่รู้รสอาหาร พูดเสียงเบาและพูดไม่ชัด
อาการเป็นพัก ๆ ดูคล้ายกับผีเข้าคือ เป็น ๆ หาย ๆ
๕. ป่วงลูกนก
มีอาการหนาวสั่น ขนลุกชันคล้ายลูกนกเปียกฝน ปวดท้อง ท้องลั่นโครกคราก หาวเรอ
หายใจไม่สะดวกจนถึงหอบ อาการเป็นตายเท่ากัน
๖. ป่วงเลือด
มีอาการหนาว หอบ เหนื่อย เพ้อ เซื่องซึม ตาซึม ตัวเหลือง ถ้ารักษาไม่หายจะตายในเจ็ดวัน
๗. ป่วงน้ำ
มีอาการท้องเดิน และอาเจียนอย่างรุนแรง ผิวหนังซีดเซียว รู้สึกหนาว แต่ตัวอุ่น
ตัวเหลืองและตาเหลือง (ดีซ่าน) ทำให้ตายได้อย่างรวดเร็ว
๘. ป่วงโกฐ
มีอาการอาเจียน ร้อนทั้งลำคอ มือและเท้าเหี่ยวซีด เหงื่อเหนียว รู้สึกหนาวแบบเป็นเหน็บ
เจ็บมือและเล็บเท้ามีสีเขียวคล้ำ
ไข้ป่วง ในทางการแพทย์แผนปัจจุบัน หมายถึง โรคทางเดินอาหารที่เกิดจากสาเหตุหลายประการ
เช่น มีการอักเสบ หรือมีการติดเชื้อของกระเพาะอาหารและลำไส้ อาหารเป็นพิษ
ลำไส้อักเสบ อหิวาตกโรค ฯลฯ
หน้า ๑๑๔๕๙
๓๔๐๑. ปวเรศวริยาลงกรณ์
เป็นพระราชทินนามของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้าพระองค์หนึ่งคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมสมเด็จพระปวเรศวริยาลงกรณ์ หรือสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
สถิต ณ วัดบวรนิเวศวิหาร พระองค์ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า พระองค์ที่แปด
แห่งกรุงรัตนโกสินทร และทรงเป็นพระมหาสมณเจ้าพระองค์ที่สอง พระองค์ทรงเป็นนักปราชญ์ใหญ่องค์หนึ่งของไทย
พระองค์ประสูติเมื่อปี พ.ศ.๒๓๕๒ ทรงผนวชเป็นสามเณรมาตั้งแต่ในรัชกาลที่สอง
อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ในรัชกาลที่สาม และได้เป็นพระราชาคณะในรัชกาลที่สี่ ได้ทรงรับสถาปนาเป็น
กรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์ ฯ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๑๖ ทรงได้รับสถาปนาเลื่อนพระยศเป็น
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ ปี พ.ศ.๒๔๒๔ ได้ทรงรับมหาสมณุตมาภิเษก
เป็น กรมสมเด็จพระปวเรศวริยาลงกรณ์ ฯ
ในการทรงสถาปนาขึ้นเป็น "กรมสมเด็จพระ" ครั้งนี้มีเจ้ากรมเป็น พระยาปวเรศวิรยาลงกรณ์
เพราะฉะนั้น ตามพระราชนิยมในรัชกาลที่ห้า ต่อมา จึงให้ออกพระนามว่า สมเด็จ
ฯ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงเป็นสมเด็จพระมหาสังฆปรินายก ทั่งทั้งพระราชอาณาเขต
พระองค์สิ้นพระชนม์ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๕ พระชนมายุได้ ๘๔ พรรษา ต่อมาในรัชกาลที่หก
ได้ทรงสถาปนาพระนามเป็น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เมื่อปี
พ.ศ.๒๔๖๔
พระองค์ทรงเป็นผู้สร้างพระกริ่งขึ้นในประเทศเป็นพระองค์แรก เรียกกันต่อมาว่า
"พระกริ่งปวเรศ"
นอกจากนั้น พระองค์ได้ทรงนิพนธ์วรรณกรรมไว้หลายเรื่องด้วยกัน ทั้งที่เป็นประวัติศาสตร์
พระธรรมเทศนา และตำรายา พระองค์ทรงเชี่ยวชาญในภาษาบาลี โหราศาสตร์ ภาษาขอมโบราณ
ถึงกับได้ทรงแปลศิลาจารึกเมืองสุโขทัย ไว้เป็นประจักษ์พยาน
หน้า ๑๑๔๖๒
๓๔๐๒. ปวารณา
มีบทนิยามว่า "ยอมให้ใช้, ยอมให้ขอ, ยอมให้ว่ากล่าว, ยอมให้ตักเตือน"
ในพระวินัย พระพุทธบัญญัติ กำหนดวิธีปฎิบัติไว้ว่า ในวันเพ็ญเดือนสิบเอ็ด
ที่เต็มสามเดือน แต่วันเข้าพรรษา มีพระพุทธานุญาตให้ภิกษุอยู่จำพรรษาถ้วยไตรมาส
ทำปวารณาแทนอุโบสถ
วันปวารณา นั้น โดยปรกติเป็นวันขึ้น สิบห้าค่ำ เรียกว่า วัน "ปัณรสี"
ถ้าสงฆ์ไม่ปวารณาในวันนั้น เลื่อนวันปวารณาออกไปอีกปักษ์หนึ่ง ก็จะเป็นวันแรม
สิบสี่ค่ำ เรียกว่าวัน "จาตุทสี"
หรือปรองดองเข้ากันได้ ในวันนั้นก็จะพึงเป็นวันสามัคคี จึงได้วันเป็นสามเหมือนอุโบสถ
ในญัตติกล่าวเพียงว่า "ในวันนี้ เป็นวันปวารณา" เพ่งเอาวันปรกติ
จำนวนภิกษุผู้ประชุมห้ารูปเป็นอย่างน้อย จึงทำปวารณาเป็นการสงฆ์ได้มีจำนวนมากกว่าอุโบสถหนึ่งรูป
ถ้าสามรูป สองรูป พึงทำปวารณาเป็นคณะ รูปเดียวพึงอธิษฐานเป็นการบุคคล
หน้า ๑๑๔๖๕
๓๔๐๓. ปศุสัตว์
มีบทนิยามคำ "ปศุ" ว่า "สัตว์เลี้ยงสำหรับใช้แรงงานเช่นช้าง ม้า วัว ควาย
บางทีก็รวมถึงสัตว์เลี้ยงที่ใช้เป็นอาหารด้วย เช่น แพะ แกะ หมู มักใช้ประกอบคำสัตว์ว่า
ปศุสัตว์"
กล่าวอีกนัยหนึ่งปศุสัตว์หมายถึงสัตว์ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศคือโค
กระบือ สุกร เป็ด ไก่ ส่วนสัตว์อื่น ๆ เช่น แพะ แกะ ห่าน ไก่งวง และกระต่าย
ก็จัดเป็นปศุสัตว์เช่นเดียวกัน หรือกล่าวอย่างกว้าง ๆ ปศุสัตว์หมายถึงสัตว์เศรษฐกิจที่มนุษย์นำมาเลี้ยงเพื่อผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลาย
ๆ อย่าง มีใช้งานและเป็นอาหารเป็นต้น
หน้า ๑๑๔๖๙
๓๔๐๔. ปเสนชิต
(ดูปเสนทิ - ลำดับที่ ๓๔๐๕)
หน้า ๑๑๔๗๕
๓๔๐๕. ปเสนทิ
ราชาธิราชแห่งแคว้นโกศลและแคว้นกาสีเรียกกันว่า พระเจ้าปเสนทิโกศล
เป็นพุทธมามกะ และเป็นศาสนูปถัมภกในหมู่ผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนา ฝ่ายอุตรนิกายหรือมหายาน
นิยมเรียกว่า ปเสนชิต
พระองค์เมื่อยังเป็นพระกุมารได้เสด็จไปทรงศึกษาศิลปวิทยาการในสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์
ณ กรุงตักศิลา เมื่อจบการศึกษาแล้วเสด็จกลับกรุงสาวัตถีนครของตน แล้วได้แสดงศิลปวิทยาที่ได้ศึกษามาให้พระชนกชนนี
และหมู่ญาติได้ทอดพระเนตร พระชนกโปรดปรานได้อภิเษกในราชสมบัติเป็นพระเจ้าปเสนทิโกศล
เป็นราชาธิราชแห่งแคว้นทั้งสองคือ แคว้นโกศลกับแคว้นกาสี
ครั้งหนึ่งพระองค์ทอดพระเนตรเห็นพระภิกษุจำนวนมากโคจรไปยังบ้านนางวิสาขาบ้าง
บ้านอนาถบิณฑิกเศรษฐีบ้าง เพื่อรับบิณฑบาตรบ้าง เพื่อฉันภัตตาหารบ้าง เป็นต้น
พระองค์จึงจัดภัตตาหารเพื่อภิกษุเป็นจำนวนมาก แต่ไม่มีพระภิกษุมา มาแต่พระอานนท์รูปเดียว
จึงไปเฝ้าพระพุทธเจ้ากราบทูลให้ทรงทราบ พระพุทธเจ้าถวายพระพรว่า สาวกของพระพุทธองค์ไม่มีความคุ้นเคยกับพระเจ้าปเสนทิโกศล
จึงไม่พากันไป แล้วทรงประกาศเหตุที่ควรเข้าไป และเหตุที่ไม่ควรเข้าไป โปรดภิกษุทั้งหลาย
โดยนัยแห่งพระสูตร มีใจความถึงตระกูล ประกอบด้วยองค์เก้า ที่ภิกษุยังไม่เข้าไป
ก็ไม่ควรจะเข้าไป เข้าไปแล้วก็ไม่ควรนั่งใกล้ และตระกูลประกอบด้วยองค์เก้า
ภิกษุยังไม่เข้าไปก็ควรจะเข้าไป เข้าไปแล้วก็คววรจะนั่งใกล้
พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้ทรงทราบแล้วจึงทรงหารือกับเสนามาตย์วราชปุโรหิตจารย์
เห็นพร้อมกันว่าถ้าได้เจ้าหญิงสกุลศากยะมาอยู่ในราชสำนักโกศลสักองค์หนึ่ง
ก็จะสำเร็จประโยชน์ จึงส่งทูตไปยังราชสำนักศากยะ พระเจ้ามหานามราช ราชาแห่งกบิลพัสดุ์ตกลงถวายเจ้าหญิงวาสภขัตติยา
พระราชธิดาในพระเจ้ามหานามเอง พระเจ้าปเสนทิโกศล โปปรดให้อภิเษกไว้ในตำแหน่งอัครมเหสี
พระเณรก็มีความรู้สึกว่าราชวงศ์ทั้งสองเป็นพระญาติกัน จึงให้ความคุ้นเคยสนิทสนมเป็นอย่างดี
ต่อมาพระเจ้าปเสนทิโกศล ได้ทูลขอเศรษฐีจากพระเจ้าพิมพิสารให้มาอยู่ที่กรุงสาวัตถี
พระเจ้าพิมพิสารก็พระราชทานธนญชัยเศรษฐีผู้อาสาไปให้
ระหว่างเดินทางไปยังกรุงสาวัตถีมาถึงที่แห่งหนึ่งเป็นที่พักสบายดี ธนญชัยเศรษฐีจึงขอตั้งถิ่นฐาน
ณ ที่นั้น จึงให้สร้างเมืองขึ้น พระราชทานชื่อเมืองว่า เมืองสาเกต
กาลต่อมาพระเจ้าปเสนทิโกศล กับชาวเมืองผลัดกันมาถวายภัตตาหารพระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์
ถึงฝ่ายละหกครั้ง ชาวเมืองพยามหาของดี และประนีตถวายทาน พระเจ้าปเสนทิโกศลสู้ไม่ได้
พระนางมัลลิกาเทวีจึงอาสาจัดทานกิริยาอย่างมโหฬารเรียกว่า อสทิสทาน
แปลว่าทานที่หาผู้เสมอมิได้ และกล่าวกันว่าในสมัยพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งก็จะมีอสทิสทาน
เพียงครั้งเดียววเท่านั้น
กาลต่อมา พระเจ้าปเสนทิโกศลถูกทีฆการายนะอำมาตย์ผู้ใหญ่ ลอบนำเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์พร้อมด้วยเสนามาตย์
ราชบริพารกับกองทัพใหญ่ไปอภิเษกวิฑูฑภราชกุมารในราชสมบัติ พระเจ้าปเสนทิโกศลกับพระสนมคนหนึ่งได้เดินทางไปกรุงราชคฤห์
เพื่อขอกองทัพพระเจ้ากรุงมคธ และทรงชวนพระราชนัดดาให้มาช่วยรบกับเจ้าวิฑูฑภกุมาร
แต่ทรงสิ้นพระชนม์ขณะรออยู่นอกเมืองราชคฤห์
หน้า ๑๑๔๗๕
๓๔๐๖. ปอ ๑
เปลือกไม้หรือเส้นใยในส่วนของเปลือกไม้ที่ลอกออกจากต้นไม้บางชนิดใช้ทำเชือก
สิ่งผูกมัดแทนเชือก และสิ่งทอต่าง ๆ เส้นใยในส่วนเปลือกไม้เหล่านี้มีความเหนียว
อ่อนนุ่มและยึดหยุ่นได้ดี เส้นใยชนิดที่ค่อนข้างหยาบ หรือมีเลื่อมมันน้อย
มักจะนำไปใช้ทำเชือกกระสอบ และพรมชนิดที่เส้นใยค่อนข้างละเอียด ใช้ทำแห อวน
ฉนวนหุ้มสายเคเบิล กระดาษ ผ้า ทอเนื้อหบาย ๆ
ปอมีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ได้แก่ ปอกระเจา และปอแก้ว
หน้า ๑๑๔๘๔
๓๔๐๗. ปอ ๒
แมลงประเภทหนึ่ง ซึ่งมีขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ มีปากแบบกัดกินใหญ่ หนวดสั้นเล็กมองคล้ายขน
ตาโตใหญ่สองข้าง มองดูเต็มหัว ที่อกมีปีกสองคู่ มีลักษณะยาวบางใส อาจมีสีต่าง
ๆ ดูสวยงามมาก มีชุกชุมในเขตร้อน
แมลงปอกินแมลงต่าง ๆ ทุกชนิดที่สามารถจับได้เป็นอาหาร รวมทั้งยุงและเหลือบ
การผสมพันธุ์เกิดขึ้นในขณะบิน ตัวเมียจะวางไข่ในน้ำ และตัวอ่อนที่ออกมาจะอาศัยอยู่ในน้ำ
คนไทยนิยมเรียกตัวอ่อนของแมลงปอว่าอ้ายโม่ง ชื่อเดียวกับดักแด้ของลูกน้ำยุง
หน้า ๑๑๔๘๕
๓๔๐๘. ปอด
เป็นอวัยวะอยู่ภายในทรวงอก ผนังอกมีลักษณะคล้ายกรง ทำหน้าที่เสมือนเกราะป้องกันอวัยวะภายในที่สำคัญคือหัวใจและปอด
นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ต้านทานแรงหดตัวจากความยึดหยุ่นของปอดกันไม่ให้ปอดแฟบได้
อวัยวะในทรวงอกจะแยกจากอวัยวะในช่องท้องได้ โดยอาศัยแผ่นกล้ามเนื้อบาง ๆ ที่เรียกว่า กระบังลม
ปอดซ้ายและขวา แยกจากกันโดยมีแผ่นกั้น แผ่นนี้ยื่นจากกระดูกสันอกทางด้านหน้าถึงกระดูกสันหลัง
ปอดมีลักษณะคล้ายฟองน้ำ เบานุ่ม และยืดหยุ่นได้ ประกอบด้วยถุงลมจำนวนมาก
บริเวณขั้วปอดเปรียบเหมือนประตูทางเข้าออกของปอด ประกอบด้วยหลอดลมหลอดเลือด
เส้นประสาท หลอดน้ำเหลือง และต่อมน้ำเหลือง อวัยวะเหล่านี้ถูกหุ้มอยู่ในเยื่อหุ้มปอด
หลอดลมคอจะแยกเป็นหลอดลมใหญ่ ขวาซ้าย ไปสู่ปอดแต่ละข้าง หลอดลมใหญ่ขวาจะแยกแขนงสามแขนง
ไปสู่กลีบบน กลีบกลาง และกลีบล่างของปอดขวา ทางซ้ายจะแยกเพียงสองแขนงไปสู่กลีบบน
และกลีบล่าง จากนั้น แตกออกเป็นหลอดลมของเสี้ยว ข้างขวามี ๑๐ แขนง ข้างซ้ายมี
๘ แขนง
หลอดเลือดของปอด
หลอดเลือดแดงพุลโมนารี นำเลือดดำจากหัวใจห้องล่างขวา ไปสู่ปอดทั้งสองข้างที่บริเวณขั้วปอด
หลอดเลือดนี้จะให้แขนงทอดร่วมไปกับแขนงของหลอดลม สุดท้ายจะแตกเป็นหลอดเลือดฝอยที่ผนังของถุงลม
หลอดเลือดดำพุลโมนารี นำเลือดดีที่มีปริมาณออกซิเจนสูง จากกลุ่มเส้นเลือดฝอย
และรวมเป็นหลอดเลือดใหญ่ ทอดรวมกับหลอดลมเสี้ยวเช่นเดียวกัน หลอดเลือดดำทั้งสี่เส้น
จะเปิดทางเข้าสู่ผนังด้านหลังของหัวใจห้องบนซ้าย
หลอดน้ำเหลือง
มีอยู่สองพวก พวกหนึ่งอยู่ตื้นอีกพวกหนึ่งอยู่ลึก พวกอยู่ตื้นจะอยู่ใต้เยื่อหุ้มปอด
รับน้ำเหลืองจากเยื่อหุ้มปอด แล้วรวบรวมเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองบรองโค พุลโมนารี
ที่บริเวณขั้วปอด พวกที่อยู่ลึกจะตั้งต้นเป็นกลุ่มที่ผนังของท่อถุงลม ทอดร่วมไปกับหลอดลม และหลอดเลือดพลุโมนารี
เทเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองที่ขั้วปอดเช่นกัน โดยผ่านต่อมน้ำเหลืองพุลโมนารี ก่อนมีการติดต่อกันระหว่างต่อมน้ำเหลืองสองพวกนี้
เยื่อหุ้มปอด
ที่ผิวของปอดจะมีเยื่อบางใสหุ้มอยู่เรียกว่า เยื่อหุ้มปอด เยื่อนี้มีสองชั้น
ชั้นที่แนบชิดคลุมผิวปอดเรียกว่า เยื่อหุ้มปอดด้านอวัยวะ ส่วนที่บุด้านในของผนังอกเรียกว่า
เยื่อหุ้มปอดด้านผนัง เยื่อสองตัวนี้จะติดต่อกันที่บริเวณขั้วปอด
ในการหายใจเข้าธรรมดา เนื้อปอดจะไปบรรจุอยู่เต็มชิดกับเยื่อหุ้มปอดด้านผนัง
หน้าที่ของปอด
หน้าที่สำคัญคือ เป็นอวัยวะสำหรับใช้แลกเปลี่ยนแก๊ส เลือดที่มีปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์สูง
จากส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จะถูกนำมาที่ผนังถุงลมแล้ว ถูกเปลี่ยนเป็นเลือดที่มีปริมาณออกซิเจนสูง
กลับไปสู่หัวใจโดยถ่ายแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกไปกับอากาศที่หายใจออก วิธีการเปลี่ยนนี้อาศัยการซึมผ่าน
หน้าที่อื่น ๆ คือ เป็นเครื่องกรองล้างสิ่งสกปรกต่าง ๆ ที่ปนไปกับอากาศที่หายใจเข้าไป
และยังทำหน้าที่เป็นเครื่องปรับอากาศอย่างดี สำหรับปรับอุณหภูมิของอากาศที่หายใจเข้าไป
ให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย หน้าที่สุดท้ายคือ ทำหน้าที่ขับถ่ายน้ำออกมาทางอากาศที่หายใจออก
หน้า ๑๑๔๘๘
๓๔๐๙. ปอดบวม
เป็นโรคของปอด (ถุงลม หลอดลมเล็ก และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันของปอด) เกิดขึ้นเนื่องจากมีการอักเสบอย่างปัจจุบัน
หรือมีการอักเสบอย่างเรื้อรัง เชื้อโรคที่เป็นต้นเหตุของการอักเสบมีหลายชนิด
ปอดบวมอาจเกิดเป็นหย่อม ๆ หรือเป็นทั้งกลีบ
ในปัจจุบัน ยาปฎิชีวนะมีประสิทธิภาพสูง ทำให้มีจำนวนผู้ป่วยโรคปอดบวมลดลง
กลายเป็นโรคไม่รุนแรง
ภูมิคุ้มกันของโรคนี้ ถ้าเกิดจากเชื้อบัคเตรี จะมีภูมิคุ้มกันอยู่เพียง ๒
- ๓ สัปดาห์ ส่วนที่เป็นจากเชื้อไวรัส จะเกิดภูมิคุ้มกันอยู่ได้นานเป็นปี
หน้า ๑๑๕๑๐
๓๔๑๐. ปอนด์
เป็นมาตราชั่งน้ำหนักซึ่งมีกำเนิดในประเทศอังกฤษ ใช้สืบกันมาตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าวิลเลียมที่หนึ่ง
(วิชิตราช) (พ.ศ.๑๖๐๙ - ๑๖๓๐) เมื่อชาวอังกฤษอพยพไปตั้งอาณานิคมโพ้นทะเล
เช่น อเมริกา และแคนาดา ก็ได้นิยมใช้น้ำหนักเป็นปอนด์ สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน
เมื่อเทียบกับมาตราเมตริก น้ำหนัก ๑ กก. เท่ากับประมาณ ๒.๒ ปอนด์
ปอนด์เป็นเงินตราอังกฤษ ในชั้นแรกทำเป็นเหรียญทองคำเรียกว่า ซอฟเวอริน ๑ เหรียญซอฟเวอริน
เท่ากับ ๑ ปอนด์สเตอลิง
ก่อนปี ค.ศ.๒๕๑๔ มาตราเงินอังกฤษ แบ่งออกเป็น ดังนี้
๔ ฟาร์ทิง เท่ากับ
๑ เพนนี
๑๒ เพนนี เท่ากับ ๑ ชิลลิง
๒๐ ชิลลิง เท่ากับ
๑ ปอนด์
และ ๑ กินนี เท่ากับ
๒๑ ชิลลิง
ในปี พ.ศ.๒๕๑๔ อังกฤษได้ปรับปรุงแบ่งเป็นปอนด์เป็นเหรียญปลีกเสียใหม่
โดยกำหนด ๑ ปอนด์ เท่ากับ ๑๐๐ เพนซ์ ส่วนธนบัตรอังกฤษนั้น มีใช้ราคา ๑ ปอนด์
๕ ปอนด์ ๑๐ ปอนด์ และ ๒๐ ปอนด์
คำว่า ปอนด์ เป็นเงินตรา ที่นิยมใช้บางประเทศ เช่น อิยิปต์ อิสราเอล และซูดาน
เป็นต้น
หน้า ๑๑๕๑๒
๓๔๑๑. ปอบ - ผี
เป็นผีอย่างหนึ่ง เชื่อกันว่าสิงอยู่ในตัวคน แล้วกินตับไตไส้พุง คนและสัตว์จนหมดแล้วออกไป
คนและสัตว์นั้นก็ตาย เป็นผีจำพวกสิงอยู่กับคนที่ยังมีชีวิต เรียกคนที่ผีปอบสิงอยู่นั้นว่า
คนผู้เป็นเจ้าของเรียกตัวปอบ ที่สิงอยู่ว่าผีที่คนเลี้ยง
อาการที่ผีปอบเข้าสิง จะแสดงอาการผิดปรกติออกมา เช่น ร้องไห้ หัวเราะ หรือเอะอะ
โวยวาย
เชื่อกันว่าผีปอบ เป็นผีสืบต่อตกทอดมาจากบิดามารดา โดยที่บิดามารดาเป็นมาก่อนแล้วตายไป
เมื่อเจ้าของตายไปผีปอบ ก็จะอาศัยสิงอยู่กับบุตรหลานของผู้ตายต่อไป ของคนที่ถูกผีเข้าเรียกว่า
พิธีแหก ซึ่งผีกลัวมาก หรือการไล่ผีปอบคือ หมอผีใช้เสกไพล หรือมีดขีดไปตามร่างกาย
หน้า ๑๑๕๑๓
๓๔๑๒. ป้อม - ปลา
เป็นปลากลุ่มเดียวกับปลาแมว เป็นปลาขนาดกลาง เมื่อโตเต็มที่ยาวราว ๒๐ ซม.
หากินใกล้ฝั่ง อยู่เป็นฝูงใหญ่ในทะเลเขตร้อน ย่านอินโดแปซิฟิก นิยมนำมาบรรจุกระป๋อง
หรือใช้หมักทำน้ำปลา
หน้า ๑๑๕๑๘
๓๔๑๓. ป้อม
เป็นสิ่งปลูกสร้างในลักษณะหอสูง มีทั้งที่ทำหลังคาคลุม และไม่มีหลังคาคลุม
มักปลูกขึ้นตามมุมค่ายหรือกำแพง หรือระหว่างย่านแต่ละด้านของค่ายหรือกำแพง
โดยทิ้งระยะห่างกันพอสมควร
ในประเทศไทย มีการสร้างป้อมขึ้นมาใช้เป็นที่มั่น หรือหอรบสำหรับต่อสู้กับข้าศึกศัตรู
ตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยได้แบบอย่างการสร้างป้อม มาจากป้อมปราการต่อสู้ปืนไฟของโปร์ตุเกส
ส่วนใหญ่ป้อมในสมัยอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์ มักมีรูปแบบโครงสร้าง องค์ประกอบและการตกแต่งไม่แตกต่างกันมากนัก
ตัวป้อมมีโครงสร้างเป็นเขื่อนก่ออิฐขึ้นเป็นคันขอบล้อมเป็นรูปสี่เหลี่ยม ห้าเหลี่ยมหรือหกเหลี่ยม
ปลายเขื่อนถือปูนเป็นลวดบัวแบบก้านตองสองเส้น พื้นหน้ากระดานระหว่างลวดบัวทั้งคู่
เจาะเป็นช่องรูปกากบาท เว้นระยะห่างเท่า ๆ กัน บนหลังเขื่อนก่อเป็นใบบัวตัวคน
ด้านหลังเขื่อนกันเป็นรูปป้อม นิยมถมดินสูงขึ้นเสมอระดับลวดบัวชั้นต้น แล้วปรับพื้นเรียบปูกระเบื้องดินเผา
หรือปูอิฐตาแดง พื้นบนหลังป้อมชั้นนี้เรียกว่า ชาน ป้อมมีขนาดกว้างโดยรอบ
พอตั้งเป็นปืนใหญ่โบราณได้ ตรงกลางป้อมบางแห่งก่อเป็นป้อมซ้อนขึ้นอีกชั้นหนึ่ง
แต่ขนาดย่อมกว่าพื้นป้อมชั้นนี้มักปูด้วยกระดาน ทำบันไดพาดขึ้นภายในตัวป้อม
มีประตูเข้าไปในป้อม อยู่ทางด้านหลัง
ป้อมชนิดที่ทำเป็นป้อมซ้อนกันสองชั้น มักทำหลังคาคลุมตัวป้อมชั้นบน เป็นทรงกระโจมรูปหกเหลี่ยม
มุงด้วยกระเบื้องดินเผา ด้านหลังป้อมจะทำบันได เป็นเครื่องก่อติดกับตัวป้อมเป็นทางขึ้นป้อม
หน้า ๑๑๕๑๙
๓๔๑๔. ป้อมปราบศัตรูพ่าย
เขตขึ้นกรุงเทพ ฯ เดิมเป็นอำเภอ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๒ ย้ายมาตั้งที่ว่าการ อ.นางเลิ้งเดิม
ซึ่งยุบรวมกับอำเภอนี้ เปลี่ยนเป็นเขต เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๖
หน้า ๑๑๕๓๑
๓๔๑๕. ปะกน - ฝา
เป็นชื่อฝาเรือนไทยเดิมของภาคกลางชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ ทางสถาปัตยกรรมทั้งรูปทรง
โครงสร้าง และองค์ประกอบ เป็นฝาที่ปรุงด้วยไม้จริง ประกอบเป็นฝาที่สมบูรณ์แล้ว
จึงนำเข้าติดตั้ง การประกอบจะประกอบเป็นแผงหรือด้านแป จะแบ่งเป็นสองแผง หรือกระแบะหนึ่งแผงจะมีความกว้างเท่ากับหนึ่งช่วงเสาของความยาวตัวเรือน
หรือด้านแปจะแบ่งเป็นสองแผงในด้านกว้าง และด้านขื่อ และเป็นแผงเดียวเท่ากับความกว้างสำหรับฝาประจันห้อง
ฝาเรือนแแต่ละตำแหน่ง จะเรียกชื่อต่างกันคือ ด้านความยาวของตัวเรือนเรียกฝาประจำห้อง
ด้านความกว้างเรียกฝาหุ้มกลอง
หรืออุดหน้ากลอง
ฝากั้นห้องเรียกฝาประจันห้อง
ฝาตรงระเบียงซึ่งต้องทำให้มีความลาดของหลังคาระเบียงเรียกฝาเสี้ยว
ส่วนฝาที่ชานเรือนเรียกฝาชาน
ฝาแต่ละแผงจะประกอบด้วยกรอบฝาสี่ด้าน
ในการประกอบฝา ประกอบติดตั้งกับตัวเรือน ช่างจะยกฝาประจำห้องทั้งสองด้าน ติดตั้งก่อน
แล้วจึงยกฝาหุ้มกลอง ฝาประจันห้องขึ้นประกอบแล้ว จึงตอกยึดด้วยตะปูจีน
ฝาเรือนไทยเดิมภาคกลางที่ชื่อประกนนี้ เรือนไทยชั้นดี นิยมทำกันมาก และเป็นฝาเรือนชนิดเดียวที่นิยมกันทุกท้องถิ่นในภาคกลาง
ฝาประกนแบ่งออกตามลักษณะการทำเป็นสองชนิดคือ ฝาปะกนชนิดลูกฝักธรรมดา และชนิดลูกพ้อ
กระดานดูน คำว่าปะกนก็คือ การกระทำโดยการแบ่งความกว้างของฝาตรงส่วนกลาง ทางแนวตั้งด้วยไม้ลูกตั้งเป็นช่อง
ๆ และแบ่งช่องตามแนวนอนด้วยลูกนอน ลูกนอนของแต่ละช่อง ลูกตั้งจะอยู่ในตำแหน่งสลับยักเยื้องกัน
ทั้งลูกตั้งและลูกนอนจะมีความกว้างประมาณ ๑๐ ซม.
หน้า ๑๑๕๓๑
๓๔๑๖. ปะขาว
มีบทนิยามว่า "ชายผู้จำศีลนุ่งขาวห่มขาว ลักษณะนามว่ารูป (โบ) ตำแหน่งข้าราชการชั้นขุนหมื่นพวกหนึ่งคู่กับประแดง"
ในที่นี้จะกล่าวแต่เฉพาะความหมายแรก ส่วนใหญ่จะเป็นคนผู้ชาย มีอายุกลางคนล่วงไปแล้ว
จำศีล (ส่วนมากศีลแปด) นุ่งขาวห่มขาว ทำกิจช่วยการวัด อยู่วัดก็มี อยู่บ้านก็มี
คนทั้งหลายเรียกว่าปะขาวทั้งนั้น แม้ที่ปรากฎในเรื่องพงศาวดาร และเรื่องเล่ากันมาว่า
พระอินทร์แปลงเป็นปะขาวมาช่วยกิจการวัดและอื่น ๆ
หน้า ๑๑๕๓๘
๓๔๑๗. ปะดุง
(ดูปดุง ลำดับที่ ๓๒๖๕)
หน้า ๑๑๕๔๑
๓๔๑๘. ปะทิว
อำเภอขึ้น จ.ชุมพร มีอาณาเขตทางด้านตะวันออกตกทะเลในอ่าวไทย ภูมิประเทศทางแถบชายทะเลเป็นที่ราบ
ทางเหนือและตะวันตกเป็นที่ดอน มีภูเขา
หน้า ๑๑๕๔๑
๓๔๑๙. ปะทุน
แมลงซึ่งเรียกกันสับสนมาก บางท้องถิ่นเรียกแมลงปอว่าตัวปะทุนหรือแมลงปะทุน
แมลงอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งถูกเรียกว่า แมลงปะทุน ก็คือตัวเต็มวัยของแมลงช้าง เพราะแมลงพวกนี้มีมากมายหลายชนิด
มีรูปร่างลักษณะคล้ายแมลงปอมาก ๆ
หน้า ๑๑๕๔๑
๓๔๒๐. ปะบุก - งู
มีชื่อเต็มว่ากะปะบุก งูกะปะเป็นงูพิษ หัวเป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายจมูกแหลม
ตัวอ้วนสั้นและสามารถทำตัวแบนได้ มีเขี้ยวพิษยาวโง้ง พิษทำลายทางระบบโลหิต
ออกหากินเวลากลางคืน
งูกะปะ เมื่อยังเป็นลูกตัวเล็ก ๆ จะมีหางสีขาว เมื่อตัวโตเต็มที่มีสีน้ำตาลแดงจะเรียกว่า
กะปะไฟ ส่วนตัวที่มีสีน้ำตาลเทาหรือน้ำตาลคล้ำเรียกว่า กะปะบุก
หน้า ๑๑๕๔๓
๓๔๒๑. ปะลิส
เป็นรัฐที่มีขนาดเล็กที่สุดในบรรดาสิบเอ็ดรัฐ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นประเทศมาเลเซีย
ตั้งอยู่ที่มุมด้านตะวันตกเฉียงเหนือของคาบสมุทรมลายู
ตั้งอยู่ใกล้ชายฝั่งทะเลอันดามัน
บนทางรถไฟสายตะวันตกที่เชื่อมประเทศไทยกับสิงคโปร์
รัฐปะลิส เดิมเป็นส่วนหนือของรัฐไทยบุรี และอยู่ในปกครองของประเทศไทย เมื่อปี
พ.ศ.๒๔๔๒ ได้มีการทำสัญญา ระหว่างไทยกับอังกฤษ ไทยต้องยกส่วนการปกครองรัฐปะลิสให้แก่อังกฤษ
อังกฤษได้จัดให้รัฐปะลิสมีฐานะเป็นรัฐหนึ่งของมลายู และอยู่ในความคุ้มครองของอังกฤษ
ในปี พ.ศ.๒๔๙๑ มีฐานะเป็นรัฐหนึ่งของสหพันธรัฐมลายา ในปีพ.ศ.๒๕๐๖ เป็นรัฐหนึ่งของสหพันธ์มาเลเซีย
หน้า ๑๑๕๔๓
๓๔๒๒. ปะเลง
(ดูประเลง - ลำดับที่ ๓๓๔๐)
หน้า ๑๑๕๔๔
๓๔๒๓. ปะเหลียน
อำเภอขึ้น จ.ตรัง มีอาณาเขตด้านใต้ และด้านตะวันตก ตกทะเลในช่องแคบมะละกา
ภูมิประเทศตอนเหนือเป็นที่ดอน มีภูเขาและป่า ตอนใต้เป็นที่ลุมริมทะเล
อ.ปะเหลียนเดิมเป็นเมือง เรียกว่า เมืองปะเหลียน ในรัชสมัยพระเจ้าบรมโกศ
เป็นเมืองจัตวาขึ้น จ.พัทลุง ตัวเมืองตั้งอยู่ที่ ต.ปะเหลียน แล้วเลื่อนมาตั้งที่
ต.ท่าพระ ภายหลังยุบเป็นอำเภอขึ้น จ.ตรัง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๐ แล้วย้ายมาตั้งที่
ต.หยงสตา ย้ายจาก ต.หยงสตาไปตั้งที่ ต.สุโละ ถึงปี พ.ศ.๒๔๖๐ เปลี่ยนชื่อเป็น
อ.หยงสตา ถึงปีพ.ศ. ๒๔๘๑ เปลี่ยนชื่อเป็น อ.ปะเหลียน
หน้า ๑๑๕๔๔
๓๔๒๔. ปักขคณนาหรือปักษคณนา
แปลว่า การนับปักษ์ หมายถึง วิธีคำนวณดิถี ตามปักษ์ ส่วนคำว่า ปักข์ หรือปักษ์
นับมีบทนิยามว่า "ปีก , ฝ่าย,ข้างกึ่งของเดือน จันทรคติ คือ เดือนหนึ่งมีสองปักษ์
ข้างขึ้นเรียก ศุกลปักษ์
(แปลว่า ฝ่ายขาว หมายเอาแสงเดือนสว่าง) ข้างแรม เรียก กาฬปักษ์
(แปลว่า ฝ่ายดำ หมายเอาเดือนมืด)"
เรื่องปักขคณนา ปรากฏว่ามีมาแล้วแต่ครั้งพุทธกาล ในคัมภีร์มหาวรรค พระวินัย
ตอนอุบสถขันธ์ ข้อหนึ่ง มีพระพุทธานุญาตไว้มีความว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้ท่านทั้งหลายประชุมกันกล่าวธรรมในดิถีที่ ๑๔ ที่ ๑๕ และดิถีที่
๘ แห่งปักษ์"
หน้า ๑๑๕๔๕
๓๔๒๕. ปักธงชัย
อำเภอขึ้น จ.นครราชสีมาภูมิประเทศตอนกลางเป็นที่ราบลุ่มตอนตะวันตกและใต้เป็นภูเขาและป่า
อ.ปักธงชัย เดิมเป็นเมืองเรียกว่า เมืองปัก แล้วยุบเป็นอำเภอ
หน้า ๑๑๕๖๐
๓๔๒๖. ปักปันแขตแดน
หมายถึง การกำหนดแนวพรมแดนระหว่างประเทศที่มีแนวเขตแดนติดกัน หรือการทำเครื่องหมายกำหนด
แนวแห่งพรมแดนระหว่างประเทศขึ้น ให้เป็นที่แน่นอนบนแผนที่ หรือการเครื่องหมายไว้ในภูมิประเทศ
เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหากระทบกระทั่งตามแนวพรมแดน หลักการสำคัญของการกำหนด
แนวพรมแดนอยู่ที่ความตกลงระหว่างประเทศ ซึ่งจะปรากฏออกมาในรูปของหนังสือสัญญาต้องเป็นสนธิสัญญา
อนุสัญญา ความตกลง บันทึกวาจา ฯลฯ ซึ่งมีสิทธิและประโยชน์ที่บ่งไว้ในหนังสือสัญญาดังกล่าว
โดยนัยระหว่างกฎหมายระหว่างประเทศ และจะเป็นเครื่องยืนยันว่า คู่สัญญาจะเคารพต่อเอกราชอธิปไตย
และบูรณภาพแห่งดินแดนต่อกัน แนวพรมแดนตามความนิยมปัจจุบัน จะต้องมีการกำหนด
หรือการปักปันตามกฎหมาย แห่งกฎหมายระหว่างประเทศ และมีหลัก แดนปักไว้ให้เห็นเด่นชัดเป็นที่แน่นอน
ตามหลักนิยมระหว่างประเทศนั้น การกำหนดแนวพรมแดน หรือการเปลี่ยนแปลงแนวพรมแดนที่กำหนดไว้แล้วจะกระทำกันด้วยความตกลง
หรือสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องเรียกว่า การกำหนดเขตแดน ข้อความในสัญญากำหนดเขตแดนระยะแนวเขตแดนไว้
อย่างกว้าง หลังจากนั้นคณะกรรมการร่วมระหว่างประเทศว่าด้วยการปักหลักเขต ซึ่งจะรวมกันตามทอดข้อความสำคัญ
ลงไปในภูมิประเทศจริง ซึ่งเรียกว่า การปักปันเขตแดน หรือแนวพรมแดน
การกำหนดเขตแดนบนพื้นดินแบ่งออกได้เป็นสองลักษณะ คือ
๑. กำหนดโดยอาศัยลักษณะภูมิประเทศ ได้แก่ ภูเขา (สันปันน้ำ) ทางน้ำ (รองน้ำลึก)
ทะเลสาบ ช่องแคบ อ่าว หนอง บึง ป่าไม้ ฯลฯ
๒. กำหนดขึ้นเองแถบแนวเส้นรุ้ง เส้นแวง หรือกำหนดด้วยแนวตรงที่จุด เป็นง่ามมุมกับแนวเส้นตั้งทั้งสองนั้น
แนวเขตแดนนี้มีชื่อเรียกเฉพาะว่า "แนวพรมแดนเส้นตรง"
หรือแนวพรมแดนเชิงภูมิศาสตร์
การกำหนดแขตแดนในทะเลนั้น ตามความนิยมในสมัยเดิมนับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๔๓ เป็นต้นมาได้กำหนดความกว้างของทะเล
อาณาเขตห่างจากฝั่งทะเลเพียง ๔๘.๒๗๕ กม. (๓
ไมล์ทะเล) เท่านั้น โดยถือกฎลูกปืนใหญ่เป็นสำคัญ เพราะปืนใหญ่รักษาฝั่งในสมัยนั้นมีขีดความสามารถยิงไกลสุดได้เพียง
๔๘.๒๗๕ กม. แต่ในปัจจุบันหลายประเทศได้พยายามที่จะขยายทะเลอาณาเขตของตนออกไปอีก
ดังเช่นประเทศในลาติน อเมริกาได้ขยายทะเลอาณาเขตออกเป็น ๒๐๐ ไมล์ และในปัจจุบันหลายประเทศกำลังขยายทะเลอาณาเขตออกไปเป็น
๒๐๐ ไมล์บ้าง ถ้าหากประเทศต่าง ๆ กระทำเช่นนี้แล้ว ทะเลหลวงก็จะลดพื้นที่เหลือเพียงร้อยละยี่สิบเท่านั้น
เพื่อเป็นการขจัดปัญหาดังกล่าว ทางองค์การสหประชาชาติจึงได้เปิดประชุมในปี
พ.ศ.๒๕๐๑ และ พ.ศ.๒๕๐๓ ผลการประชุมครั้งนั้นทำให้เกิดอนุสัญญารวมสี่ฉบับคือ
๑. อนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง
๒. อนุสัญญาว่าด้วยทะเลหลวง
๓. อนุสัญญาว่าด้วยการประมงและการอนุรักษ์ทรัพยากรที่มีชีวิตในทะเลหลวง
๔. อนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป
ในด้านอธิปไตยของรัฐเหนือพื้นดิน และน่านน้ำอาณาเขตที่เรียกว่า "ระหว่างอากาศ"
ขึ้น ความตกลงในอนุสัญญาว่าด้วยการเดินอากาศเฉพาะเวลาสงบ ซึ่งได้ลงนามเมื่อปี
พ.ศ.๒๔๖๒ ได้รับรองอธิปไตยเหนือพื้นดิน ตลอดจนเหนือน่านน้ำอาณาเขตโดยไม่จำกัด
ในขณะเดียวกันรัฐเจ้าของอธิปไตยก็ยินยอมให้เครื่องบินมีเสรีภาพในการเดินทางผ่านโดยบริสุทธิ์เหนือดินแดนและน่านน้ำอาณาเขตในเวลาสงบได้
สาเหตุของความขัดแย้งเรื่องดินแดนอาจแบ่งออกได้เป็นห้าประการ คือ
๑. จากการเรียกร้องขอดินแดนคืน
๒. ปัญหาเรื่องชนกลุ่มน้อย
๓. การกระทำอันเป็นปฏิปักษ์ต่อกันระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐ
๔. การช่วงชิงอิทธิพลการแผ่ขยายสิทธิความเป็นเจ้า และการแสวงหาผลประโยชน์ของชาติมหาอำนาจ
๕. การละเมิด และการรุกล้ำพรมแดนทางบก ทางทะเลและทางอากาศ
รัฐและแนวพรมแดนจะตองมีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น จะแยกออกจากกันมิได้เป็นอันขาด
เพราะว่าเส้นเขตแดนเป็นส่วยสำคัญยิ่ง ในการแสดงอำนาจอธิปไตยของรัฐ
หน้า ๑๑๕๖๐
๓๔๒๗. ปักเป้า ๑ - ปลา
เป็นปลาที่มีลักษณะพิเศษ คือ สามารถพองตัวให้ใหญ่ขึ้น
และทำให้ลอยน้ำได้เป็นการป้องกันศัตรูที่จะมาทำร้าย
ปลาปักเป้าพบทั่วไปในน่านน้ำเขตอบอุ่นทั้งในน้ำจืด และน้ำเค็มเป็นปลาที่มีความอดทนลักษณะทั่วไปมีลำตัวสันเกือบจะเป็นทรงกลม
ผิวหนังมีหนามเล็ก ๆ ปกคลุมบางส่วนของลำตัวฟันเ ชื่อมติดกันเป็นแบบจงอยปากนก
ปักเป้าอีกวงศ์หนึ่ง เรียกปักเป้าหนามทุเรียน เป็นพวกที่มีหนามยาวแหลมคมอยู่รอบตัว
เมื่อเวลาพองตัวจะดูคล้ายทุเรียน มีฟันเชื่อมติดกันเป็นแผ่น ไม่มีครีบทอง
มีครีบหูขนาดใหญ่คล้ายพัด ครีบหางกลมมน พบในน่านน้ำไทยสองสกุล
หน้า ๑๑๕๖๙
๓๔๒๘. ปักเป้า ๒
เป็นชื่อว่าวชนิดหนึ่งมีหางยาวคู่กับว่าวจุฬา (ดูว่าว - ลำดับที่....)
หน้า ๑๑๕๗๒
๓๔๒๙. ปักษ์ใต้
เป็นคำที่ใช้เรียกดินแดนภาคใต้ของประเทศไทย ประกอบด้วย ๑๔ จังหวัด ด้วยกันนับตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปทางใต้
คำว่า ปักษ์ แปลว่า ฝ่าย ข้าง และภาค ดังนั้นปักษ์ใต้ก็แปลว่า ปักใต้
ฝ่ายใต้ ข้างใต้ และภาคใต้ แต่โบราณดินแดนดังกล่าวนี้เรียก ปากใต้
คู่กับคำว่า ฝ่ายเหนือ เข้าใจว่าเพิ่งมาเรียก
ปักษ์ใต้ในรัชกาลที่ห้า
ครั้งในโบราณกาลดินแดนปักษ์ใต้เหล่านี้ บางเมืองเป็นอาณาจักรศรีวิชัย เช่น
เมืองนครศรีธรรมราช และเมืองไชยา เป็นต้น
ในสมัยที่จัดรูปการปกครองเป็นจตุสดมภ์ ดินแดนปักษ์ใต้แบ่งเป็นเมืองคือจังหวัด
ทุกวันนี้เมืองต่าง ๆ ในปักษ์ใต้ขึ้นแก่สมุหพระกลาโหม ตลอดมาจนถึงรัชกาลที่ห้าก่อนปี
พ.ศ.๒๔๓๕ เปลี่ยนมาจัดรูปการปกครองเป็นรูปกระทรวง ทบวง กรม มีกระทรวงมหาดไทย
ในปี พ.ศ.๒๔๓๕ เมืองหรือจังหวัดต่าง ๆ ทางปักษ์ใต้ก็มารวมขึ้นกระทรวงมหาดไทยเช่นเดียวกับเมืองหรือจังหวัดในภาคอื่น
ๆ
ต่อมาในสมัยที่กระทรวงมหาดไทยจัดระเบียบการปกครองเป็นรูปมณฑลเทศาภิบาล ชื่อเริ่มในปี
พ.ศ.๒๔๓๗ เมืองหรือจังหวัด รวมทั้งประเทศราชทางภาคใต้ของไทย ก็ได้มีการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น
รวมห้ามณฑลด้วยก้น คือ มณฑลภูเก็ต มณฑลนครศรีธรรมราช มณฑลชุมพร หรือมณฑลสุราษฎร์ธานี
มณฑลไทรบุรี และมณฑลปัตตานี
หน้า ๑๑๕๗๒
๓๔๓๐. ปักษีปกรณัม
เป็นหนังสือรวมนิทานโบราณเล่มหนึ่ง มีมาแต่สมัยอยุธยา เป็นหนังสือรุ่นเดียวกับชุมนุมนิทานโบราณเรื่องอื่น
ๆ ที่ได้ชื่อว่า ปกรณัม ก็เพราะว่าเป็นคัมภีร์โบราณที่รวบรวมเรื่องต่าง ๆ
อันเป็นประโยชน์ในทางสั่งสอนธรรม หรือคติธรรม
เฉพาะปักษีปกรณัม หรือคัมภีร์รวมนิทานเกี่ยวกับนก ไม่ปรากฎผู้แต่ง เนื้อเรื่องกล่าวถึงฝูงนกทั้งหลายมาประชุมกันในสมัยดึกดำบรรพ์
เพื่อเลือกหัวหน้าของตน มีการเสนอชื่อและคัดค้านกัน พร้อมทั้งเล่านิทานประกอบในทำนองให้คติธรรมในด้านต่าง
ๆ แต่ก็ไม่สามารถตกลงกันได้ สุดท้ายต้องไปเชิญพญาครุฑ ผู้มิได้เข้าประชุมให้มาเป็นพระราชาของตน
นิทานแทรกในปักษีปกรณัม ซึ่งถือว่าเป็นส่วนประกอบอันสำคัญที่สุดของคัมภีร์นี้มีอยู่
๒๔ เรื่อง
หน้า
๑๑๕๗๓
๓๔๓๑. ปักหลัก
เป็นชื่อนกสองชนิด คือนกกินปลาปักหลัก หรือนกกระเต็นปักหลักกับนกเหยี่ยวปักหลัก
หรือเหยี่ยวขาว
นกกินปลา (กระเตน)
ปักหลักเป็นนกกินปลาขนาดกลาง ขนสีขาว ลายสีดำและมีหงอนสั้น ๆ ที่ท้ายทอย ปากยาวสีดำ
บินหากินบนแม่น้ำลำคลอง หนองบึง เมื่อเห็นปลาเล็ก ในน้ำก็จะบินกระผือปีกถี่อยู่ที่เดียวในอากาศ
ชาวบ้านจึงชอบเรียกว่า นกระเต็นปักหลัก เมื่อเห็นเหยื่อชัดเจนกจะทิ้งตัวตรงดิ่งลงไปโฉบคาบปลานั้นขึ้นมา
นกกระเต็นปักหลักจะทำรังเป็นรูลึกเข้าไปในริมตลิ่งที่ชัน ๆ ทำให้สัตว์ร้ายเข้าไปลักไข่หรือกินลูกของมันไม่ได้
เหยี่ยวปักหลัก หรือเหยี่ยวขาว
เป็นเหยี่ยวขนาดกลาง ขนบนตัวสีเทาใต้ท้องขาว มีแถบดำยาวพาดไหล่ ปลายหางดำ
ชอบกินหนูเล็ก ๆ และตั๊กแตนตามท้องนา เวลาบินไปเห็นเหยื่อนมันจะบินปักหลักอยู่ที่เดียวในอากาศ
พอแน่ใจก็โอบลงไปจับเหยื่อกิน
หน้า ๑๑๕๗๗
๓๔๓๒. ปัง - ขนม
เป็นอาหารต่างข้าวของชาวยุโรป ทำด้วยแป้งสาลีเป็นก้อนแล้วอบ เรียกขนมปัง อาหารหวานของชาวยุโรปทำด้วยแป้ง
และไข่ บางชนิดก็ใส่น้ำตาล เรียกว่า ขนมปังเค็ม ขนมปังหวาน ขนมปังกรอง
ขนมปังได้ชื่อว่าเป็นผลิตผลเพื่อยังชีวิตมานานตั้งแต่สมัยคัมภีร์ไบเบิล
หน้า ๑๑๕๗๗
๓๔๓๓. ปัจจันตประเทศ
คือประเทศปลายเขตแดนหรือหัวเมืองชั้นนอก ดังในหนังสือพุทธประวัติกล่าวไว้ว่า
ชมพูทวีปนั้นแบ่งออกเป็นสองจังหวัด ร่วมในเรียกว่า มัชฌิมประเทศ แปลว่าประเทศกลาง
ภายนอกเรียกว่า ปัจจันตประเทศ แปลว่าประเทศชายแดน
หน้า ๑๑๕๘๐
๓๔๓๔. ปัจจัย
(ดูจตุปัจจัย - ลำดับที่ ๑๒๕๗)
หน้า ๑๑๕๘๔
๓๔๓๕. ปัจจุทธรณ์
แปลว่า ยกเลิกของเดิมที่มีอยู่ การถอนคืน การถอนอธิษฐาน เป็นธรรมเนียมของพระภิกษุ
บริขารของใช้ประจำสำหรับตัว ต้องมีพระพุทธานุญาติพิเศษไว้ จะมีได้จำกัดจำนวน
หรือจะมีได้โดยกำหนดจำนวนอย่างไร ต้อง อธิษฐานไว้ตามจำนวนที่ได้รับพระพุทธานุญาตไว้นั้น
เมื่อสิ่งนั้นชำรุดเสียหายใช้ไม่ได้ จะหาใหม่แทน ก่อนที่จะเอาของใหม่เข้าแทนที่ต้องถอนของเดิมออกก่อน
ที่ถอนของเดิมของนั้นเรียกว่า ปัจจุทธรณ์ มีข้อกำหนดว่าสิ่งที่จะต้องทำปัจจุทธรณ์นั้น
จะต้องไม่ซ้ำกับของเก่าคือ มีอยู่จะทำอีกไม่ได้ หรือยังไม่มีอยู่ก่อนแล้วจะทำปัจจุทธรณ์ก็ไม่ได้
หน้า ๑๑๕๘๔
๓๔๓๖. ปัจเจกพุทธ
เป็นพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้เฉพาะตัว มิได้สั่งสอนผู้ใด และตรัสรู้ในกาลว่างพระศาสนา
ต้องบำเพ็ญพุทธการธรรม นับตั้งแต่ตั้งความปรารถนา แล้วนานถึงสองอสงไขยกับแสนกัป
พุทธการธรรมได้แก่ บารมี ๑๐ สติปัฏฐานสี่ สัมมัปปธานสี่ อิทธิบาทสี่
อินทรีย์ห้า พละหน้า โพชฌงค์เจ็ด มรรคมีองค์แปด
หน้า ๑๑๕๘๕
๓๔๓๗. ปัจเจกสมาทาน
มีบทนิยามว่า "การสมาทานศีลที่ลาสิกขาบท "เรียกว่า ปัจเจก สมาทาน ถ้าสมาทานรวมท้าย
เช่นว่า พุทธ ปญฺญตฺตํ อุโปสถํ สมาทิยามิ หรือ อฏฺฐสีลานิ สมาทิยามิ เรียกว่า
เอกัชฌสมาทาน" คือ การสมาทานรวมยอด
ปัจเจกสมาทาน คือ การสมาทานศีลแยกเฉพาะที่ละสิกขาบทเท่านั้น
หน้า ๑๑๕๘๖
๓๔๓๘. ปัญจศัพย์
(ดูเบญจศัพย์ - ลำดับที่...)
หน้า ๑๑๕๘๘
๓๔๓๙. ปัญจตันตระ
เป็นหนังสือประชุมนิทานโบราณในภาษาสันสกฤตมีห้าเล่ม หรือห้าภาค แสดงถึงวิธีสอนคนสมัยโน้นให้เด็กรู้วิชาความรู้ต่าง
ๆ ตามนิติประเพณี และให้มีความฉลาดเท่าทันกลวิธีเล่ห์เหลียม นิทานเรื่องหนึ่ง
ๆ ย่อมมีเรื่องอื่น ๆ เกี่ยวโยงกันเป็นแบบนิทานซ้อนนิทาน โดยส่วนใหญ่ยกอุทาหรณ์ของสัตว์ต่างชนิดต่างนิสัยขึ้นมาประกอบเป็นเรื่อง
มีการเจรจาโต้ตอบ หรือคิดต่อสัมพันธ์กันจนในที่สุดสรุปเป็นของสิ่งสอนให้จดจำไว้
วิธีนี้มีทำนองคล้ายคลึงกันกับนิทานอีสปของชาติโยนก ซึ่งปรากฏแพร่หลายมาก่อนประมาณ
๑๐๐ ปีเศษ
คัมภีร์ปัญจตันตระนี้คาดกันว่า มีอายุเริ่มแรกระหว่างพุทธศัตวรรษที่ ๘ กับ
๙ หลังจากนั้นอีกราว ๔๐๐ ปี จึงได้รวบรวมเป็นชุด มีผู้นิยมเล่าสู่กันฟังแพร่หลาย
เมื่อปรากฏในภาษาสันสกฤตจนนิยมกันทั่วไปแล้ว ต่อมาระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๓
กับ ๑๔ ได้มีผู้แปลออกเป็นภาษาซีเรีย ภาษาอาหรับ และภาษาอิหร่านโบราณที่เรียกว่า
ปาหลวี โดยพระบัญชาของกษัตริย์เนาษีรวาน และว่ากันว่าปัญจตันตระฉบับที่มีอยู่ปัจจุบันก็ได้ถ่ายทอดอีกชั้นจากฉบับของอิหร่านเก่านี่เอง
ต่อจากนั้นอีกมาเป็นเวลาร้อย ๆ ปี ก็กลายเป็นต้นเค้าของเรื่องนิทานอาหรับราตรี
(ที่เซอร์ริชาร์ด เอฟ.เบอร์ตัน แปลออกเป็นภาษาอังกฤษคู่กันกับคัมภีร์กามสูตรของอินเดีย)
ของนิทานบันเทิงทศวาร บอกกาจจิโอของนิทานเรื่องทศมนตรีและของเรื่องหิโตปเทศ
หน้า ๑๑๕๘๘
๓๔๔๐. ปัญจนที หรือปัญจมหานที
คือ แม่น้ำใหญ่ห้าสายในประเทศอินเดียตอนเหนือที่เรียกว่า มัธยมประเทศในสมัยพทุธกาล
แม่น้ำดังกล่าวได้แก่ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมนา แม่น้ำอจิรวดี แม่น้ำสรภู
และแม่น้ำมหี
หน้า ๑๑๕๙๐
๓๔๔๑. ปัญจวัคคีย์
(ดูเบญจวัคคีย์ - ลำดับที่ ๓๒๐๗)
หน้า ๑๑๕๙๐
๓๔๔๒. ปัญจอันตรธาน
แปลว่าความสุขไป ลับไป เสื่อมสิ้นห้าประการ หมายเอาความสูญไปเสื่อมไปแห่งพระพุทธศาสนา
วิธีอันตรธานมีอยู่ห้าประการคือ
๑. ความเสื่อมสูญแห่งพระปริยัติ
๒. ความเสื่อมสูญแห่งการปฏิบัติ
๓. ความเสื่อมสูญแห่งการตรัสรู้มรรคผล
๔. ความเสื่อมสูญแห่งเพศสมณะ
๕. ความเสื่อมสูญแห่งธาตุ
พระพุทธเจ้าตรัสว่าเมื่อพระปริยัติคือ พระไตรปิฎกยังต้องดำรงอยู่ตราบใด ศาสนาก็ชื่อว่ายังดำรงอยู่ตราบนั้น
เมื่อพระปริยัติเสื่อมถอยน้อยผู้เล่าเรียนแล้วกาลใด พระศาสนาก็ชื่อว่าเสื่อมในกาลนั้น
พระปริยัติคือ พระไตรปิฎก ผู้มีปรีชาชาญได้สดับพระปริยัติแล้วจึงยังปฏิบัติทั้งปวงและปฏิเวธธรรมให้บริบูรณ์ได้
เมื่อพระปริยัติยังดำรงอยู่ตราบ่ใด ศาสนาก็ชื่อว่ายังดำรงอยู่ตราบนั้น ครั้นกาลล่วงไปพระปริยัติหาผู้เล่าเรียนมิได้แล้ว
มีตั้งแต่จะเสื่อมทรุดลงไป พระภิกษุทั้งหลายไม่อาจทรงไว้ซึ่งอัตถรสได้ก็จะทรงไว้ได้แต่บาลีสิ่งเดียว
เมื่อพระไตรปิฎกจะเสื่อมนั้น พระอภิธรรมเสื่อมก่อน โดยเสื่อมลงมาแต่ยอด คือ
คัมภีร์พระมหาปัฏฐาน เมื่อพระสุตตันตปิฎกจะเสื่อมนั้น ก็เสื่อมแต่ยอดลงมา
คัมภีร์อังคุตรนิกายเสื่อมก่อน เมื่อคัมภีร์ทีฆนิกายเสื่อมแล้ว พระสุตตันตปิฎกก็จัดว่าเสื่อม
ในกาลครั้งนั้นพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายก็ทรงไว้ซึ่งชาดกและพระวินัย ต่อมาเมื่อชาดกเสื่อมจะเสื่อมที่มหาเวสสันดรชาดกก่อน
พระภิกษุทั้งหลายก็ทรงไว้ซึ่งพระวินัยอย่างเดียว เมื่อพระวินัยจะเสื่อมนั้นคัมภีร์บริวารจะเสื่อมก่อน
ข้อที่ว่าความเสื่อมสูญระหว่างการปฏิบัติมีอธิบายว่า เมื่อพระภิกษุทั้งหลายไม่สามารถยังฌาน
และวิปัสนา และมรรคผลให้เกิดขึ้นได้ ก็รักษาอยู่แต่พระจตุปาริสุทธิศีลสิ่งเดียว
นานไปก็เบื่อหน่ายด้วยดำริว่า เราทั้งหลายจะประกอบกิจสักเท่าใดก็ไม่อาจสำเร็จมรรคผลได้
ก็คลายจากความเพียร ก็ย่ำยีล่วงเกินของอาบัติเล็กน้อย ต่อมาก็มิได้อาลัย ล่วงอาบัติอันใหญ่
คืออาบัติปาจิตตีย์ อาบัติถุลลัจจัย ต่อนานไปก็สำรวมรักษาไว้แต่ครุอาบัติ
คือ สังฆาทิเสสและปาราชิก กาลใดหาภิกษุซึ่งจะสำรวมรักษาปาราชิกสิกขาบทไม่ได้แล้ว
กาลนั้นจัดได้ชื่อว่า ปฏิบัติธรรมอันตรธาน
ข้อที่ว่าเสื่อมสูญแห่งการตรัสรู้มรรคผล กาลใดหาพระโสดาบันบุคคลมิได้ กาลนั้นก็ชื่อว่าอธิคมสัทธรรมอันดรธานแล้ว
ข้อที่ว่าความเสื่อมสูญแห่งเพศสมณะ กาลใดที่มีผู้ดำริว่า จะประโยชน์อันใดด้วยผ้ากาสาวพัสตร์อันผูกพันในมือและที่คอแล้วนำผ้ากาสวพัสตร์ทิ้งไป
กาลนั้นสมณะเพศก็ได้ชื่อว่าเสื่อมสูญสิ้น
ข้อที่ว่าความเสื่อมสูญแห่งธาตุ หมายเอาพระบรมธาตุเจ้านิพพาน นิพพานในที่นี้มีสามประการคือ
กิเลสปรินิพพาน ขันธปรินิพพาน และธาตุปรินิพพาน พระบรมสารีริกธาตุ อันประดิษฐานอยู่ในที่ต่าง
ๆ นั้น ครั้นเมื่อมิได้เครื่องสรรพปูชนียภัณฑ์แล้วก็เสด็จไปสู่ที่ อันประกอบด้วยเครื่องสักการบูชา
ถ้ามีบุคคลบูชาอยู่ในประเทศใดแล้ว ก็เสด็จไปสู่ประเทศนั้น ด้วยกำลังอธิษฐานแห่งองค์พระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้นกาลล่วงไปที่ทั้งหลายทั้งปวงปราศจากเครื่องสักการบูชาแล้ว พระบรมธาตุก็จะมาสโมสรสันนิบาตเข้ากัน
แล้วจะเสด็จไปสู่พระมหาเจดีย์อันใหญ่ในลังกาทวีป แล้วเสด็จไปสู่ราชายตนเจดีย์นาคทวีป
แล้วเสด็จไปสู่โพธิบัลลังก์ พระบรมธาตุ ครั้นประชุมพร้อมกัน กระทำอาการเป็นพระพุทธรูปปรากฏเหมือนดังองค์พระสุคต
อันเสด็จประดิษฐานเหนือรัตนบัลลังก์ใต้ควงไม้พระมหาโพธิ์ จะกระทำพระปาฎิหาริย์
มีอาการดุจดังยมกปาฎิหาริย์ ฝูงเทพทั้งหลายในหมื่นจักรวาล จะพากันมาสโมสรสันนิบาตพร้อมเพรียงกัน
ในลำดับนั้นเดโชธาตุก็ดั้งขึ้น แต่พระสรีรธาตุเผาผลาญพุงพ้นขึ้นไปถึงพรหมโลก
พระบรมธาตุแสดงซึ่งเตโชพลอานุภาพแล้วก็แสดงนิพพาน
หน้า ๑๑๕๙๐
๓๔๔๓. ปัญจอำมฤต หรือปัญจามฤต
หมายถึง อาหารทิพย์ห้าอย่างได้แก่ นมโคสด นมเปรี้ยว เนย น้ำผึ้ง และน้ำตาล
ในความหมายอื่นหมายถึงธาตุทั้งห้า และยังหมายถึงยาชนิดหนึ่งซึ่งประกอบด้วยสมุนไพรห้าชนิด
หน้า ๑๑๕๙๗
๓๔๔๔. ปัญจาป - แคว้น
ดินแดนทางตะวันตกของอินเดียและทางเหนือของปากีสถาน มีลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำและบางส่วนเป็นเทือกเขาหิมาลัย
ชื่อแคว้นนี้ในภาษาฮินดูแปลว่าแม่น้ำห้าสาย ซึ่งเป็นแคว้นของแม่น้ำสินธุ ไหลมาจากเทือกเขาหิมาลัยผ่านแคว้นปัญจาปไปทางทิศใต้ออกสู่ทะเลอาหรับในภาคใต้ของปากีสถาน
แคว้นปัญจาปมีความสำคัญทางด้านการเมืองและยุทธศาสตร์มาตั้งแต่สมัยโบราณ เนื่องจากมีที่ตั้งควบคุมเส้นทางการติดต่อระหว่างช่องเขาไคเบอร์
กับลุ่มแม่น้ำคงคา ในสมัยก่อนเมื่อมีชนชาติต่าง ๆ บุกรุกเข้ามาทางตอนเหนือของอินเดียจะต้องผ่านดินแดนส่วนนี้ก่อนที่จะเข้าไปถึงลุ่มแม่น้ำคงคาได้
จึงเป็นบริเวณที่มีผู้คนตั้งถิ่นฐานอยู่เป็นเวลาช้านานแล้ว มีอาณาจักรต่าง
ๆ ผลัดเปลี่ยนกันเข้ามามีอำนาจปกครอง เช่น ในพุทธศตวรรษที่ ๓ เคยเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของอาณาจักรแห่งพระเจ้าอโศกมหาราช
และในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๑ - ๒๓ ตกอยู่ใต้การปกครองของอาณาจักรมุสลิม เป็นต้น
เมื่ออังกฤษเข้ามามีอำนาจทางการเมืองในอินเดียได้รวมเอาแคว้นปัญจาปเข้าเป็นส่วนหนึ่งของบริติชอินเดียในปี
พ.ศ.๑๓๙๒ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๙๐ เมื่ออินเดียและปากีสถาน ได้รับเอกราชจากอังกฤษ
แคว้นปัญจาปก็แบ่งออกเป็นสองส่วน โดยภาคตะวันออกรวมเข้ากับอินเดีย ส่วนภาคตะวันตกรวมเข้ากับปากีสถาน
ทั้งนี้เนื่องจากปัญหาความแตกต่างด้านศาสนาของประชากร คือ ในภาคตะวันออกประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮินดูและชาวซิก
ส่วนในภาคตะวันตก ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม แต่ก็ยังมีประชากรต่างศาสนาเหลือตกค้างอยู่เป็นจำนวนไม่น้อย
และได้เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรง ในแคว้นปัญจาปทั้งสองส่วน จนถึงขั้นก่อการจลาจลวุ่นวายในที่สุดได้มีการ
เดินทางอพยพข้ามพรมแดนของประชากรที่นับถือศาสนาฮินดู และศาสนาซิกจากปัญจาปตะวันตกไปยังปัญจาปตะวันออก
ปรากฏว่าจำนวนผู้เดินทางอพยพข้ามพรมแดนดังกล่าวมีถึงกว่า ๙ ล้านคน นับเป็นการเดินทางอพยพครั้งยิ่งใหญ่
ที่มีมูลเหตุมาจากความแตกต่างในด้านศาสนาในสมัยปัจจุบัน
แคว้นปัญจาปตะวันออกซึ่งรวมเข้ากับอินเดียมีพื้นที่ประมาณ ๕๐,๓๐๐ ตาราง กม.
ส่วนแคว้นปัญจาปตะวันตก ซึ่งรวมเข้ากับปากีสถานมีพื้นที่ประมาณ ๗๐๖,๔๐๐ ตาราง
กม. หน้า
๑๑๕๙๘
๓๔๔๕. ปัญจาป - ภาษา
เป็นภาษากับสาขาหนึ่งของอินเดียใช้กันอยู่ในแคว้นปัญจาปเป็นภาษาสำคัญภาษาหนึ่งในจำนวนภาษาใหญ่
๑๔ ภาษาที่ระบุในรัฐธรรมนูญของอินเดีย ภาษานี้ใช้ในหมู่ชนมากกว่า ๓๕ ล้านคนในอินเดีย
ภาคตะวันตกเฉียงเหนือรวมทั้งปากีสถาน มีลักษณะใกล้เคียงกับภาษาอินเดียตะวันตก
และภาษาอูรดู เป็นที่น่าสังเกตว่า ภาษานี้มักจะใช้โดยเฉพาะในหมู่พวกซิก และใช้เป็นภาษาในคัมภีร์ของชาวซิกด้วย
หน้า ๑๑๕๙๙
๓๔๔๖. ปัญญา ๑
ปัจจุบันในวงการแพทย์มีความหมายต่างกันสองแบบคือ
๑. ปัญญา หมายถึงความสามารถในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วย ความฉลาด
หรือเชาวน์ปัญญา ประสบการณ์ การเรียนรู้และสภาพของจิตใจ
๒. ปัญญา หมายถึง เชาวน์ปัญญาหรือความฉลาดซึ่งส่งโดยหลักกว้าง ๆ หมายถึง
ก. ความสามารถทางด้านความคิดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของบุคคลิกภาพ
ข. เป็นความสามารถหลาย ๆ ด้านรวมกันไปจำเพาะเจาะจงไปในแง่ใดแง่หนึ่ง
ค. เป็นสิ่งที่มีมาแต่กำเนิด และเพิ่มพูนจากพัฒนาการในวัยเด็ก
หน้า ๑๑๖๐๐
๓๔๔๗. ปัญญา ๒
สภาวะธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นคุณธรรมอันละเอียดสุขุมประณีตที่สุดทางพระพุทธศาสนากำหนดเป็นหลักที่จะต้องศึกษาให้รู้ให้เข้าใจเรียก
ปัญญาสิกขา รวมกับคุณธรรมหลักอีกสองข้อ คือ สีลสิกขา จิตสิกขา รวมเข้ากับปัญญาเป็นสาม
คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ทั้งสามนี้เป็นหลักต้องศึกษาให้รู้ให้เข้าใจ มีบทนิยามว่า
"ความรอบรู้ ความรู้ทั่ว ความฉลาดเกิดแต่การเรียนและคิด" คุณธรรม คือ ปัญญานี้เป็นคุณธรรมชั้นสูงสุดทั้งคติโลก
และคติธรรม
เมื่อว่าโดยปรมัตถธรรม ปัญญามีการตรัสรู้สภาวธรรมเป็นลักษณะมีอันขจัดความมืด
คือ โมหะอันปกปิดสภาวธรรมทั้งหลาย เป็นรส คือ เป็นกิจมีความหายหลงเป็นปัจจุปัฏฐาน
คือเป็นเครื่องปรากฎ หรือเป็นผลมีสมาธิเป็นปทัฏฐาน
ปัญญานี้ว่าโดยลักษณะคือ ความตรัสรู้สภาวธรรมรู้จริงตามเป็นจริง เมื่อกล่าวโดยจำแนกก็จำแนกออกได้เป็นหลายอย่าง
เช่น แบ่งออกเป็นสองคือ เป็นโลกิยปัญญา และเป็นโลกุตรปัญญา แบ่งออกเป็นสามเป็นจินตามยปัญญา
สุตมยปัญญา และภาวนามยปัญญา
หน้า ๑๑๖๐๗
๓๔๔๘. ปัญญาสชาดก
คือประชุมนิทานเก่าแก่ที่เล่ากันในเมืองไทยแต่โบราณ ๕๐ เรื่อง พระภิกษุชาวเชียงใหม่รวบรวมแต่งเป็นชาดกไว้ในภาษาบาลี
เมื่อราวปี พ.ศ.๒๐๐๐ - ๒๒๐๐ อันเป็นสมัยที่พระภิกษุสงฆ์ชาวประเทศนี้ พากันไปเล่าเรียนมาแต่ลังกาทวีป
มีความรู้ภาษาบาลีแตกฉาน แต่งเป็นทำนองจดบันทึกแสดงเป็นประวัติ เช่น คัมภีร์ชินกาลมาลี
เป็นต้น ตามอย่างเรื่องมหาวงศ์พงศาวดารลังกาบ้าง แต่งเป็นชาดก เช่น เรื่องปัญญาสชาดกนี้เอาอย่างนิบาตชาดกบ้าง
หนังสือปัญญาสชาดกนั้ต้นฉบับเดิมเป็นคัมภีร์ลาน จำนวนรวม ๕๐ ผูกด้วยกันมีอยู่แต่ในประเทศไทย
เมืองหลวงพระบาง และกรุงกัมพูชาที่อื่นหามีไม่ มีเรื่องราวปรากฏเคยได้ฉบับไปถึงเมืองพม่าครั้งหนึ่ง
พม่าเรียกว่า เชียงใหม่ปัณณาส แต่พระเจ้าแผ่นดินพม่าองค์หนึ่งดำรัสว่า เป็นหนังสือปลอมพระพุทธพจน์ไม่ยอมรับนับถือ
หน้า ๑๑๖๑๔
๓๔๔๙. ปัดรังควาน
คือการทำพิธีขับไล่ผีให้ออกไป เมื่อว่าตามลักษณะของการกระทำก็คือ ทำเป็นเคล็ดตามพิธีที่เชื่อกันว่า
จะแก้ และป้องกันผีได้
เรื่องปัดรังควานนี้แต่เดิมว่า จะใช้เฉพาะเกี่ยวกับเรื่องของช้าง ต่อมาได้ขยายออกไปถึงเรื่องการทำพิธีขับไล่ผีดังกล่าว
ยิ่งกว่านั้นยังได้ขยายออกไป ถึงเรื่องของการทำพิธีขับไล่หรือขจัดอุบาทว์
เสนียดจัญไร
หน้า ๑๑๖๑๗
๓๔๕๐. ปัตตานี
จังหวัดภาคใต้ ตั้งศาลากลางที่ ต.สะมารัง อ.เมือง ฯ ฝั่งซ้ายแม่น้ำปัตตานีห่างปากน้ำราว
๒ กม. ทิศเหนือและทิศตะวันออกตกทะเลในอ่าวไทย ทิศใต้จด จ.ยะลา และ จ.นราธิวาส
ทิศตะวันตกจด จ.สงขลา ภูมิประเทศตอนเหนือและตะวันออกเป็นที่ราบลุ่ม ตอนใต้และตะวันตกเป็นที่ดอน
มีเขาเล็ก ๆ เตี้ย ๆ มาก พลเมืองส่วนมากเป็นไทยอิสลาม
ทำนา ทำสวนยางพารา เลี้ยงสัตว์และทำประมง สินค้ามีข้าว ยางพารา มะพร้าวแห้ง
โค กระบือ ไก่ เป็ด ปลาสด ปลาเค็ม และแร่ดีบุก
จ.ปัตตานีเรียกกันว่า เมืองตานีบ้าง
เป็นเมืองเก่าเมืองหนึ่งในแหลมมลายู มีเรื่องกล่าวกันว่า เป็นเมืองผู้หญิงสร้าง
ในสมัยเมื่อไทยแผ่อาณาเขตลงไป ถึงปลายแหลมมลายูนั้น จ.ปัตตานีก็ขึ้นแก่ไทยเป็นเมืองประเทศราช
ส่งบรรณาการเป็นคราว ๆ เช่นเดียวกับเมืองมะละกา เมืองปัตตานีนี้ ใช้วิธีปกครองโดยสตรีในวงศ์ตระกูลเจ้าเมือง
ซึ่งมีอายุสูงพ้นเขตที่จะมีบุตรได้แล้วเป็นนางพระยาว่า ราชการเมืองเป็นประเพณีสืบมา
ดังเช่นในเกาะสุมาตราบางแห่งและ ใช้ประเพณีนี้ตลอดมาในสมัยสุโขทัยจนถึงสมัยอยุธยาตอนปลาย
แต่คราวใดกรุงศรีอยุธยาอ่อนอำนาจลงเมืองปัตตานีก็งดส่งบรรณาการแสดงอาการกระด้างกระเดื่อง
เช่นในรัชสมัยพระเจ้าปราสาททองในปี พ.ศ.๒๑๗๕ นางพระยาปัตตานีถือโอกาสงดส่งบรรณาการแสดงความกระด้างกระเดื่อง
จึงโปรดให้กองทัพกรุงออกไปปราบถึงสองครั้งก็ยังปราบไม่ได้ เตรียมกองทัพจะไปปราบอีก
แต่พวกฮอลันดาแนะนำนางพระยาให้อ่อนน้อมเสีย เมืองปัตตานีจึงกลับเป็นของไทยดังเก่า
ครั้นเมื่อเสียกรุงแก่พม่า เมื่อปี ค.ศ. ๒๓๑๐ พระยาปัตตานีถือโอกาสปลีกตัวจากไทยอีกจนถึง
พ.ศ.๒๓๒๙ เมื่อเสร็จศึกพระจ้าปะดุงในรัชกาลที่หนึ่งแล้ว กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท
ได้เสด็จยกทัพหลวงไปขับไล่พม่าทางแหลมมลายูไปหมดแล้ว มีพระบัณฑูรออกไป ให้บรรดาหัวเมืองมลายูที่เคยขึ้นแก่ไทย
มาอ่อนน้อมดังเดิม พระยาปัตตานีขัดแข็ง ต้องให้กองทัพไปปราบปรามจึงได้เมืองปัตตานีคืน
และชะรอยจะตั้งผู้เป็นเชื่อพระวงศ์ของพระยาปัตตานีให้เป็นเจ้าเมือง แต่เจ้าเมืองคนใหม่ไม่ซื่อสัตย์
เพราะปรากฏว่าในปี พ.ศ.๒๓๓๒ พระยาปัตตานี้ได้ไปชักชวนองเชียงสือ ซึ่งเป็นพระเจ้าเวียดนามยาลองจะให้มาตีหัวเมืองในพระราชอาณาจักร
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ จึงโปรดให้กองทัพไปตีหัวเมืองปัตตานีอีกครั้งหนึ่ง
แล้วถอดเจ้าเมืองเก่าเสีย ตั้งข้าราชการไทยเป็นเจ้าเมืองแทน ต่อมาในรัชกาลที่สอง
พม่าคิดจะยกทัพมาตีไทยอีกได้ให้ไปชักชวนหัวเมืองมลายูที่ขึ้นแก่ไทยให้ก่อการกบฎขึ้น
แต่เจ้าเมืองปัตตานีเป็นคนไทยจึงปราบปรามไว้ได้ แต่นั้นต่อมาจึงโปรดเกล้า
ฯ ให้แบ่งเมืองปัตตานีออกเป็นเจ็ดหัวเมือง
คือ ปัตตานี ยะลา ยะหริ่ง ระแงะ ราห์มัน สายบุรี และหนองจิก มีพระยาเมืองปกครองขึ้นต่อเมืองสงขลา
มาจนถึงรัชกาลที่ห้าโปรดให้จัดการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาล แต่บางเมืองที่มีเชื้อสายเจ้านายเก่า
ๆ ปกครองอยู่ เช่นหัวเมืองในภาคพายัพบ้าง ภาคอีสานบ้าง ปักษ์ใต้บ้าง ได้จัดการปกครองเป็นบริเวณ
โดยรวมกลุ่มเมืองเล็ก ๆ เข้าเป็นบริเวณดั้งเชื้อสายเจ้านายเก่า ๆ ในบริเวณนั้น
ๆ เป็นผู้ครองเมือง และตั้งข้าหลวงประจำจังหวัด เป็นผู้ทำงานแทนผู้ครองเมือง
แต่เมืองปัตตานีที่แยกออกเป็นเจ็ดหัวเมือง ก็ได้จัดการปกครองเป็นบริเวณ เสียกว่าบริเวณเจ็ดหัวเมือง
ตั้งข้าหลวงใหญ่ประจำบริเวณตำแหน่งหนึ่ง ขึ้นต่อข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช
ต่อมาถึงปี พ.ศ.๒๔๔๙ จึงได้ตั้งบริเวณเจ็ดหัวเมือง เป็นมณฑลปัตตานี
ให้ข้าหลวงใหญ่เป็นสมุหเทศาภิบาล ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ และให้มีจังหวัดเพียงสี่จังหวัด
คือรวมเมืองปัตตานี เมืองหนองจิก และเมืองยะหริ่งเข้าเป็นเมืองปัตตานี รวมเมืองยะลากับเมืองราห์มันเข้าเป็นเมืองยะลา
ส่วนเมืองระแงะกับเมืองสายบุรีคงอยู่ตามเดิม จนถึงปี พ.ศ.๒๔๗๕ จึงยุบเมืองสายบุรีเป็นเมืองตะลุบันขึ้น
จ.ปัตตานี และแบ่งท้องที่ไปขึ้น จ.นราธิวาส (เมืองระแงะเดิม) บ้าง ตัวเมืองปัตตานีเดิมตั้งอยู่ที่บ้านมะนา
ซึ่งปัจจุบันเป็น ต.บานาขึ้น อ.สะบารัง (อ.เมืองปัจจุบัน)
หน้า ๑๑๖๑๙
๓๔๕๑. ปัถวี
เป็นชื่อเขาใน จ.กาญจนบุรี และ จ.อุทัยธานี เขาจ.กาญจนบุรีมีสองลูก ลูกหนึ่งอยู่ใน
ต.พนมทวน อ.พนมทวน สูง ๒๐๖ เมตร อีกลูกหนึ่งอยู่ใน ต.หนองบัว และ ต.จรเข้เผือก
อ.เมืองกาญจนบุรี สูง ๓๖๓ เมตร เขาใน ต.หนองกระทุม อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี สูง
๒๕๓ เมตร มีถ้ำที่น่าชมหลายแห่งมีพระพุทธบาทจำลอง
หน้า ๑๑๖๒๓
๓๔๕๒. ปัทมปุราณะ หรือปาทมปุราณะ
เป็นชื่อคัมภีร์ปุราณะคัมภีร์หนึ่งในจำนวนมหาปุราณะ ๑๘ คัมภีร์ คัมภีร์เล่มนี้เป็นผลงานของพราหมณ์นิกายไวยณพ
ซึ่งนับถือพระวิษณุ หรือพระนารายณ์เป็นเทพเจ้าสูงสุด คัมภีร์ปัทมปุราณะมีความยาวถึง
๕๕,๐๐๐ โศลก และมีที่มาเป็นสองทาง คือ ทางหนึ่งเป็นฉบับเทวนาครี ที่ตีพิมพ์แล้วในปัจจุบัน
กับอีกทางหนึ่งเป็นฉบับที่เก่ากว่า เรียกว่า ฉบับเบงคลี
ซึ่งเป็นเอกสารตัวเขียน ยังไม่มีการตีพิมพ์ ฉบับตีพิมพ์อันเป็นฉบับรุ่นหลังนั้น
แบ่งเนื้อความออกเป็นตอน ๆ เรียกว่า ขัณฑ์ รวมทั้งสิ้นหกขัณฑ์
บทสุดท้ายของปุราณะเล่มนี้ พยายามเน้นให้ผู้อ่านเห็น และคล้อยตามว่า พระวิษณุเป็นเทพเจ้าสูงสุดจริง
ๆ แม้พระศิวะก็ไม่อาจเทียบได้ นอกจากนี้ผู้แต่งยังสร้างเรื่องข่มเทพเจ้าสูงสุดอีกสององค์
คือ พระพรหมกับพระอิศวร
หน้า ๑๑๖๒๓
๓๔๕๓. ปัทมสมภพ (ครุปัทมสมภพ)
เป็นโอรสกษัตริย์ชาวชมพูทวีปในแคว้นเล็ก ๆ แคว้นหนึ่งเป็นนักบวชลื่อนามในนิกายพุทธตันตระ
เป็นผู้ประกาศการนับถือลัทธิมนตรยาน
หรือวัชรยาน เดินทางเข้าสู่ประเทศทิเบต
ตามคำเชิญของกษัตริย์ประเทศนั้น เมื่อปี พ.ศ.๑๒๙๐ ร่วมกับกษัตริย์ทิเบตสร้างวัดซามเยขึ้นในปี
พ.ศ.๑๒๙๒ ประกาศลัทธิมนตรยาน และให้กำเนิดนักบวชลามะขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศนั้น
ปัทมสมภพศึกษาแตกฉานในลัทธิโยคาจารของนาคารชุน
ปรมาจารย์มหายานแห่งมหาวิทยาลัยนาลันทา เชี่ยวชาญชำนาญพระเวทและมนตรา มีฤทธิ์เชิงวิชาการ
ประชาชนชาวทิเบตพากันนับถือ ยกย่องคุรุปัทมสมภพเหมือนเป็นพระพุทธองค์หนึ่งมีรูปบูชาอยู่ภายในวัดทิเบตแทบทุกวัด
รูปบูชานั้นมีชื่อเรืยกตามคติศรัทธาของชาวทิเบตว่า "พระผู้มีรูปกายแปดรูป
ผู้ควรแก่การบูชา"
หน้า ๑๑๖๒๙
๓๔๕๔. ปั้นจั่น
เป็นเครื่องมือใช้ยกของหนักจากที่แห่งหนึ่ง ซึ่งอาจยกได้ทั้งแนวยืน และแนวนอน
ปั้นจั่นแบบเสา นิยมใช้ในการเคลื่อนย้ายของในระบบหมุนรอบตัว
ในกรณีที่ต้องยกของเคลื่อนที่เป็นระยะไกลจะต้องใช้ปั้นจั่นชนิดตัวฉากกับเสาเป็นแบบคานยื่น
หน้า ๑๑๖๓๕
๓๔๕๕. ปันจุเหร็ด
เป็นเครื่องสวมประดับศีรษะตัวละครอย่างหนึ่ง เช่นเดียวกับชฎา แต่ไม่มียอด
สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสืบทราบว่า ปันจุเหร็ดนี้เป็นของที่มีผู้ประดิษฐ์ขึ้นสำหรับใช้แต่งตัวละครหลวงในรัชกาลที่สอง
เดิมทีเดียวสำหรับแต่งปันหยีกับอุณากรรณในละครเรื่องอิเหนาเท่านั้น
หน้า ๑๑๖๓๘
๓๔๕๖. ปันเชนลามะ
เป็นชื่อเรียกตำแหน่งลามะชั้นสูงอีกตำแหน่งหนึ่ง ของระบบการปกครองคณะสงฆ์ฝ่ายพุทธตันตรยาน
(นิกายลามะ) ในประเทศทิเบต
มีสำนักอยู่ ณ มหาวิหารดาษิ ในมณฑลชิกัดเส เป็นประธานสงฆ์ลามะฝ่ายตะวันตก
จำกัดอยู่ในปริมฑลที่กำหนดไม่เกี่ยวกับทางอาณาจักร จึงเป็นที่สองรองจากตำแหน่งดาไลลามะ
ซึ่งเป็นผู้ปกครองทั้งฝ่ายศาสนจักรและอาณาจักร
ความเป็นมาของตำแหน่งปันเชนลามะ คือสมัยเมื่อเจงกิสข่าน ชาวมองโกลแผ่อำนาจครอบครองดินแดนจีนและทิเบตไว้ได้ในปี
พ.ศ.๑๘๔๙ นั้น ทรงเลื่อมใสพุทธศาสนาลัทธิมนตรยานจึงสนับสนุนพระสงฆ์ลามะให้มีฐานะมั่นคงขึ้นมาตลอด
มาจนถึงสมัยจักรพรรดิกุบไลข่าน
จักรพรรดิ์มองโกลใช้ศาสนาให้เป็นประโยชน์ในการปกครองทิเบตจึงยกย่องประมุขสงฆ์ให้อำนาจเป็นผู้ปกครองแผ่นดินด้วยอีกตำแหน่งหนึ่ง
ดาไลลามะจึงดำรงตำแหน่งราชาธิบดีและมหาสังฆราชในคราวเดียวกันแต่นั้นมา
ครั้งจีนมีอำนาจเหนือทิเบต จักรพรรดิ์จีนได้ดำเนินรัฐประศาสโนบายเหมือนที่จักรพรรดิ์มองโกลกระทำมา
มีการยกย่องประมุขสงฆ์ทิเบตขึ้นเป็นองค์ดาไลลามะ อนุญาตให้สร้างมหาวิหารหรือวังใหญ่
คือ โปตละ ณ กรุงลาซา อันเป็นเมืองหลวงขึ้นเป็นที่ประทับ
ส่วนตำแหน่งปันเชนลามะเกิดขึ้น เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๑๘๐ เป็นประมุขสงฆ์ฝ่ายตะวันตก
ครั้นมีอิสระแยกอำนาจการปกครองออกจากฝ่ายเมืองหลวง แล้วเห็นว่าประธานสงฆ์ลามะทางเมืองหลวงอ้างตนเองเป็นพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรอวตารลงมาได้
สงฆ์ลามะฝ่ายตะวันตก จึงออกกำหนดว่าประธานนิกายสงฆ์ฝ่ายตนคือ พระอมิตาพุทธอวตารมาเกิด
นับแต่ปันเชนลามะอ้างดังกล่าวข้างต้น สงฆ์ลามะนิกายอื่นที่แยกตัวไปต่างก็อ้างว่าประธานสงฆ์นิกายตน
คืออวตารของพระโพธิสัตว์แต่ละองค์ และศาสนาจารย์คนสำคัญแต่ละคนอวตารลงมาเกิดทั้งสิ้น
หน้า ๑๑๖๓๙
๓๔๕๗. ปันหยี ๑
เป็นคำชวา แปลว่า ธง เป็นยศแม่ทัพของชวาโบราณ เพราะเป็นหัวหน้าคุมไพร่พลจำนวนมาก
โดยมีธงนำทัพเป็นสำคัญ ในยุคที่ชวาระส่ำระสาย เพราะแพ้พวกศรีวิชัยวงศ์ไศเลนทรจากสุมาตรา
พวกระเด่นหรือผู้มีศักดิ์ตระกูลสูง ที่เชี่ยวชาญในการใช้อาวุธมักปลอมตัวแปลงชื่อเป็นปันหยี
พาไพร่พลไปเที่ยวรุกรบเมืองต่าง ๆ ปันหยีผู้เรื่องอำนาจในยุคนั้นคือ อิเหนา
ยุพราชเมืองกุเรปัน ได้เป็นกษัตริย์ชวาในพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ปรากฎพระนามในศิลาจารึกว่า
กาเมศวร ประวัติของพระองค์
มีผู้เล่าสืบทอดต่อ
ๆ กันมาจนกลายเป็นนิทาน เรียกชื่อรวม ๆ ว่า นิทานปันหยี
และอิเหนา
หน้า ๑๑๖๔๒
๓๔๕๘. ปันหยี ๒ - เกาะ
เป็นเกาะตั้งอยู่ในอ่าวพังงา ตรงปากแม่น้ำพังงาทางด้านมหาสมุทรอินเดีย เกาะปันหยีขึ้นอยู่กับ
อ.เมืองพังงา เป็นภูเขาหินที่โผล่เป็นแท่งสูงขึ้นมาจากทะเล ไม่มีที่ราบเลยชาวบ้านต้องปลูกบ้านลงไปในทะเล
ชาวเกาะปันหยีส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม มีอาชีพเป็นชาวประมง
หน้า ๑๑๖๔๘
๓๔๕๙. ปัพพาชนียกรรม
(ดู บัพพาชนียกรรม - ลำดับที่ ๓๐๒๑)
หน้า ๑๑๖๔๘
๓๔๖๐. ปัลลพ หรือปัลลวะ - ราชวงศ์
ราชวงศ์นี้มีอำนาจขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศอินเดีย มีเมืองกาญจีปุรัม
เป็นราชธานี เรื่องราวราชวงศ์นี้เริ่มด้วยจารึกบนแผ่นทองแดงสามหลัก ใช้ภาษาปรากฤต
และเป็นของพระเจ้าสุกันทวรมัน พระองค์ทรงอยู่ในสกุลภารททวาชะ ในขณะนั้นดินแดนของราชวงศ์นี้
ได้แผ่ขยายขึ้นไปถึงแม่น้ำกฤษณา ทางภาคเหนือและทะเลอาหรับทางทิศตะวันตก ระยะเวลาของพระเจ้าสกันทวรมัน
อาจอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๙ ราชวงศ์นี้ผู้นับถือศาสนาพราหมณ์
เรื่องราวของราชวงศ์นี้ มากระจ่างขึ้นราวปี พ.ศ.๑๑๑๘ พระเจ้าสิงหวิษณุ ได้แผ่อำนาจขึ้นไปจนถึงแม่น้ำกรวิร
โอรสของพระองค์ทรงพระนามว่า พระเจ้ามเหนทรวรมัน ที่หนึ่ง ทั้งสององค์มีภาพสลักอยู่ในถ้ำวราหะที่มามัลลปุรัม
ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศอินเดีย ครองราชย์อยู่ระหว่างปี พ.ศ.๑๑๔๓
- ๑๑๗๓ ทรงนับถือศาสนาไชนะ (เชน) อยู่ชั่วระยะหนึ่ง แต่ต่อมาก็หันมานับถือศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย
แผ่อำนาจไปถึงเหนือแม่น้ำกฤษณา
ต่อมาราชวงศ์นี้ได้ต่อสู้กับราชวงศ์จาลุกยะ ทางภาคใต้ของประเทศอินเดีย และครองดินแดนอยู่ทางทิศเหนือของราชวงศ์ปัลลวะ
ในปลายรัชกาลของพระเจ้าปรเมศวรมันที่สอง ราชวงศ์จะลุกยะได้เข้ายึดราชธานีของราชวงศ์ปัลลวะได้
ต่อมา ราชวงศ์ราชย์ถึง พ.ศ.๑๓๓๘ ทรงสร้างและบูรณะเทวาลัยโบราณ และสร้างเทวาลัยใหม่ขึ้นอีกหลายแห่ง
พระเจ้าพันติวรมัน (ราว พ.ศ.๑๓๓๘ - ๑๓๘๘) ต้องต่อสู้กับราชวงศ์ปาณฑยะ
และราชวงศ์ราษฎรกูฎะ
ต่อมาราชวงศ์ปัลลวะ ต้องต่อสู้กับราชวงศ์โจฬะ ในปี พ.ศ.๑๔๔๐ แพ้พระเจ้าอาทิตย์ที่หนึ่ง
แห่งราชวงศ์โจฬะ อำนาจของราชวงศ์ปัลลวะ ก็เป็นอันสุดสิ้นลง
หน้า ๑๑๖๔๘
๓๔๖๑. ปัว
อำเภอขึ้น จ.น่าน มีอาณาเขตทางด้านทิศตะวันออก จดประเทศลาว ภูมิประเทศทางตะวันออก
ส่วนมากเป็นภูเขาและป่า ทางตะวันตกเป็นที่ราบ
อ.ปัว เดิมเป็นหัวเมืองเอกที่พ่อเมืองปกครองขึ้น จ.น่าน จัดการปกครองเป็นอำเภอ
เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๓ ครั้งแรตั้งที่ว่าการที่บ้านแหลง ใน ต.สถาน ภายหลังจึงไปตั้งที่บ้านปรางค์
ใน ต.ปัว
หน้า
๑๑๖๕๒
๓๔๖๒. ปา - เมือง
อาณาจักรปา ตั้งอยู่ตอนปลายแม่น้ำแยซี ซึ่งอาจจะเป็นดินแดนมณฑลเสฉวนก็ได้
นครปา เป็นอาณาจักรเดิมของไท อาจมีได้ในสมัยราชวงศ์เหี่ย ระหว่าง ๑๗๐๐ - ๒๐๐๐
ปี ก่อนพุทธกาล
ชาวสยาม เป็นสาขาหนึ่งของชาวไทย ซึ่งแต่ก่อนอาศัยอยู่ทางทิศเหนือของแม่น้ำแยซี
ในเนื้อที่ค่อนข้างเล็ก ซึ่งทุกวันนี้เป็นมณฑลเสฉวน ในภาคตะวันตกของจีน
หน้า ๑๑๖๕๓
๓๔๖๓. ป่า
หมายถึง ที่ดินกว้างใหญ่ มีหมู่ไม้นานาพรรณ รวมถึงหญ้าต่าง ๆ ขึ้นอยู่เป็นปึกแผ่น
หรืออีกนัยหนึ่ง ป่าคือ ที่อยู่ร่วมของพืชและสัตว์ รวมกันอยู่อย่างป่าดง
พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.๒๔๘๔ มาตรา ๔ (๑) "ป่า" หมายความว่า ที่ดินที่ยังมิได้มีบุคคลได้มาตามกฎหมายที่ดิน
ในประเทศไทย ป่าซึ่งเจริญเติบโตตามธรรมชาติ มีลักษณะและชนิดไม้เป็นเครื่องชี้ภาวะเอกลักษณ์
ดำรงสภาพดุลยลักษณ์แห่งธรรมชาติ แบ่งออกเป็นสองประเภทคือ ประเภทที่ผลัดใบ
กับประเภทที่ไม่ผลัดใบ
หน้า ๑๑๖๕๖
๓๔๖๔. ปาก
เป็นอวัยวะที่อยู่ส่วนล่างของใบหน้า มีลักษณะเป็นช่อง ด้านหลังมีช่องทางติดต่อกับส่วนต้นของหลอดอาหาร
ด้านบนหรือหลังคาประกอบด้วยเพดานแข็งและเพดานอ่อน ด้านล่างหรือพื้นของช่องปาก
ประกอบด้วยลิ้น บริเวณใต้ลิ้น และขากรรไกรล่าง
ผนังของช่องปาก บุด้วยเยื่อเมือก มีต่อม ๆ เมือกเล็ก ๆ จำนวนมาก ต่อมเหล่านี้หลั่งน้ำเมือก
ทำให้ปากชุ่มชื้น ร่วมกับน้ำลาย ซึ่งหลังจากต่อมน้ำลาย
ในปากมีอวัยวะที่สำคัญหลายอย่าง ตั้งแต่ฟัน ลิ้น ต่อมน้ำลาย ทอมซิล
หน้า ๑๑๖๕๘
๓๔๖๕. ปากกว้าง - นก
หรือพญานกปากกว้าง นกในวงศ์นี้มีแพร่หลายในเอเชีย แอฟริกา ออสเตรเลีย และยุโรป
รูปร่างป้อม ๆ มีสีสดใส มีปากที่กว้างแบนมาก ตรงโคนปากปลายปีกมน บางชนิดหางค่อนข้างสั้น
ชอบอยู่ตามป่าดง ชอบกินแมลง บางชนิดมักไปกันเป็นฝูง ทำรังห้อยยาว ๆ ตรงปลายกิ่งไม้
ทั่วโลกมีอยู่ ๑๔ ชนิด มีในประเทศไทย ๗ ชนิด
หน้า ๑๑๖๖๐
๓๔๖๖. ปากกา
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบกับหมึก เพื่อใช้ขีดเขียน ใช้กันมาแต่โบราณกาล แต่ในสมัยแรก
ๆ มิได้ใช้ใน้ำหมึก ตัวปากกาทำด้วยเหล็ก สำหรับใช้ขีดเขียน บนแผ่นศิลา แต่ถ้าบนแผ่นดินเหนียว
หรือบนแผ่นขี้ผึ้ง ตัวปากกาทำด้วยโลหะ ปลายข้างหนึ่งแหลมสำหรับขีดเขียน อีกปลายหนึ่งมีลักษณะแบน
สำหรับใช้ลบรอย และใช้ทำให้ผิวของแผ่นดินเหนียว หรือแผ่นขี้ผึ้งเรียบราบ ต่อมาใช้ต้นกก
นำมาปาดปลายให้มีลักษณะคล้ายปากนก และจุ่มน้ำหมึกเพื่อขีดเขียน ดังที่ได้พบในอียิปต์
อาร์เมเนีย ในสมัยนั้น เมืองไคโร และเมืองอะเล็กซานเดรีย เป็นแหล่งสำคัญในการผลิตปากกาชนิดนี้ออกจำหน่าย
โดยใช้ต้นกกแถบอ่าวเปอร์เซียมาหมกใต้กองมูลสัตว์เป็นเวลาหลาย ๆ เดือน จนต้นกกมีสีดำ
และผิวแข็ง จึงนำมาปาดปลาย และส่งจำหน่าย ปากกาชนิดนี้ใช้จุ้มหมึก และขีดเขียนบนกระดาษปาปิรัส
ต่อมาเมื่อชาวจีนสามารถทำกระดาษสำหรับใช้เขียนหนังสือและส่งออกจำหน่ายไปได้ถึงทวีปยุโรป
ปรากฎว่าปากกาที่ทำด้วยต้นกกไม่เหมาะสม ที่จะใช้เขียนบนกระดาษดังกล่าว จึงได้เปลี่ยนมาใช้ก้านขนห่านแทน
โดยนำก้านขนห่านมาหมกทรายร้อน ๆ จนก้านขนห่านแห้งสนิท แล้วนำไปจุ่มลงในสารละลายของสารส้ม
หรือสารละลายของกรดไนตริก แล้วนำไปปาดปลายใช้เป็นปากกาได้ น้ำหมึกส่วนใหญ่ทำจากเขม่าผสมน้ำและกาว
ในปี พ.ศ.๒๓๔๖ ได้เริ่มมีปากกาทำด้วยโลหะออกจำหน่ายเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ
ตัวปากกาเสียบติดกับด้ามไม้ ในระยะแรกมีราคาแพงมาก เพราะทำด้วยมือ ต่อมาในปี
พ.ศ.๒๓๗๓ จึงทำด้วยเครื่องจักร
ในปี พ.ศ.๒๔๒๗ ได้มีผู้ประดิษฐ์ปากกาชนิดใหม่ขึ้นเป็นครั้งแรก คือเป็นปากกาชนิดที่มีหลอดสำหรับบรรจุหมึกได้ในตัว
เรียกปากกาหมึกซึม
ในปี พ.ศ.๒๔๓๑ ได้มีผู้จดทะเบียนสิทธิบัตรแนวความคิดในการประดิษฐ์ปากกาชนิดใหม่โดยใช้ลูกกลมเล็ก
ๆ ซึ่งหมุนได้รอบตัวเป็นปลายปากกา เป็นต้นกำเนิดของปากกาลูกลื่น ซึ่งได้มีการประดิษฐ์ขึ้นครั้งแรกในอเมริกาใต้
ในปี พ.ศ.๒๔๘๖
๓๔๖๗. ปากเกร็ด
อำเภอขึ้น จ.นนทบุรี ภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ในอำเภอนี้มีประตูน้ำอยู่ที่ตอนปลายคลองพระอุดม
สร้างเสร็จในปี พ.ศ.๒๔๙๓
หน้า ๑๑๖๖๕
๓๔๖๘. ปากขอ - พยาธิ
พยาธิปากขอมีทั้งชนิดที่อยู่ในคนและในสัตว์ ทำให้คนและสัตว์มีร่างกายทรุดโทรมและเป็นบ่อเกิดของโรคอื่นได้ง่าย
มักพบในเขตร้อนและเขตอบอุ่น เขตหนาวมีน้อย
ลักษณะของตัวพยาธิคือตัวสดมีสีครีมแกมชมพู ยาว ๑๑ มม. กว้าง ๐.๕ มม. ที่ปากมีอวัยวะสำหรับดูดเกาะกับลำไส้เล็กของคน
เมื่อพยาธิปากขอผสมพันธุ์กันในลำไส้เล็กแล้วจะเกิดไข่ ซึ่งตัวเมียออกไข่ประมาณวันละ
๙,๐๐๐ ฟองขึ้นไป ไข่ที่ออกมากับอุจจาระใหม่ ๆ มักมีเซลล์ จากนั้นจะแบ่งตัวเกิดเป็นตัวอ่อน
ระยะแรกจะหากินอยู่ในพื้นดินประมาณสามวัน แล้วลอกคราบเป็นตัวอ่อนระยะที่สอง
ซึ่งมีขนาดยาว ๕๐๐ - ๖๐๐ ไมครอน ต่อมาอีก ๒ - ๕ วัน จะกลายเป็นตัวอ่อนระยะที่สามอยู่ในดิน
ที่ชื้อแฉะได้หลายสัปดาห์ ถ้าน้ำท่วมตัวอ่อนนี้จะตาย
ตามปรกติตัววอ่อนระยะที่สามจะเข้าสู่คนได้โดยการไชผ่านผิวหนัง เข้าสู่กระแสเลือดไปปอด
ผุ้ป่วยกลืนพยาธิแล้วพยาธิจะเกาะอยู่ที่ผนังลำไส้เล็ก ถ้าคนกินตัวอ่อนระยะที่สาม
ตัวอ่อนอาจไชยผ่านเยื่อบุในปากเข้าสู่กระแสเลือด ทำอันตรายต่อผู้นั้นได้ แต่ถ้าตัวอ่อนถูกกลืนลงกระเพาะ
มันจะตายเพราะถูกน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร
หน้า ๑๑๖๖๕
๓๔๖๙. ปากควาย - หญ้า
เป็นหญ้าทางเขตร้อน พบทั่วไปในเมืองไทย ส่วนใหญ่ของลำต้นแผ่ทอดนอนไปบนดินได้ไกล
ๆ เนื่องจากตรงที่ข้อติดดินมีราก และมีแขนงใหม่เกิดขึ้นได้เรื่อย ๆ ส่วนลำต้นที่ชูตั้งตรงสูงประมาณ
๔๐ ซม. แผ่นใบเรียวยาว ๕ - ๓๐ ซม. กว้าง ๐.๔ - ๐.๙ ซม.ปลายแหลม ช่อดอกออกที่ปลายยอด
ก้านช่อยาว ๑๐ - ๑๕ ซม. ช่อยาว ๔ ซม. ช่อดอกย่อยประกอบด้วยดอกขนาดเล็ก ๓ -
๔ ดอก ผลขนาดเล็กจึงมักเรียกกันว่าเมล็ด รูปกลม ขนาดประมาณ ๑ มม.
หน้า ๑๑๖๖๘
๓๔๗๐. ปากจั่น - คลอง
ยอดน้ำเกิดจากเขาปลายคลองทรายอ่อน ในระหว่าง อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร กับ อ.กระบุรี
จ.ระนอง ไหลไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ไปบรรจบแม่น้ำกระบุรีฝั่งซ้าย ที่บ้านปากจั่นใน
ต.ปากจั่น อ.กระบุรี ยาว ๓๕ กม. กว้าง ๑๐ เมตร มีน้ำตลอดปี ตอนยอดน้ำเรียกว่าคลองจั่น
ยาว ๒๗ กม. ต่อไปเรียกคลองปากจั่น ยาว ๘ กม.
หน้า ๑๑๖๖๙
๓๔๗๑. ปากจิ้งจก - งู
หรืองูหัวจิ้งจก หรืองูเขียวหัวจิ้งจก เป็นงูขนาดเล็ก ราวเท่านิ้วมือ
แต่ยาวราว ๑ - ๑.๓๐ เมตร มีชุกชุมทางภาคใต้ ตัวสีเขียว ปลายหางสีแดงคล้ำ ออกหากินเวลากลางวัน
เป็นงูที่มีพิษอ่อน
หน้า ๑๑๖๗๐
๓๔๗๒. ปากชม
อำเภอขึ้น จ.เลย มีอาณาเขตทางเหนือจดประเทศลาว ภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับซับซ้อน
อ.ปากชม แรกตั้งเป็นกิ่งอำเภอ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๐ ขึ้น อ.เชียงคาน ยกฐานะเป็นอำเภอ
เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๔
หน้า ๑๑๖๗๐
๓๔๗๓. ปากช่อง
อำเภอขึ้น จ.นครราชสีมา ภูมิประเทศทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือและทิศใต้ เป็นที่ราบต่ำ
มีภูเขาป่าดงทึบ ทางทิศตะวันออก และตะวันตกมีภูเขาเป็นที่ดอน และมีป่าบ้าง
ที่ ต.ปากช่อง ในอำเภอนี้แต่เดิมเป็นชวากป่า มีช่องทางเดินจากภาคอีสานเข้าดงพญาเย็นลงมา
อ.แก่งคอย จ.สระบุรี โดยเดินเท้าหรือใช้สัตว์พาหนะเท่านั้น เกวียนเดินไม่ได้
ถึงปี พ.ศ.๒๔๔๒ จึงได้มีรถไฟเดินระหว่างกรุงเทพ ฯ กับนครราชสีมา ก็มีผู้คนไปตั้งภูมิลำเนาอยู่ปากทางที่จะเข้าดงพญาเย็น
จึงเรียกว่า บ้านปากช่อง และได้มีสถานีรถไฟขึ้น ต่อมาได้มีราษฎรไปอยู่มากขึ้นเป็นลำดับ
ทางราชการจึงได้ตั้งกิ่งอำเภอขึ้น เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๐ ขึ้น อ.สี่คิ้ว และยกฐานะเป็นอำเภอ
เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๑ หน้า ๑๑๖๗๑
๓๔๗๔ ปากซ่อม - นก
เป็นนกย้ายถิ่นพวกหนึ่งที่มีปากยาวมากและตรง ปลายปากทู่ ๆ และมีหนังซึ่งมีต่อมประสาทมาก
สำหรับใช้ทิ่มสักลงในดินโคลน เพื่อหาไส้เดือนและสัตว์เล็กอื่น ๆ ในดินโคลนกิน
ชอบหากินกลางคืน และตอนเช้า - เย็น
นกปากซ่อม ผสมพันธุ์ทำรังในประเทศแถบหนาวเหนือเช่นไซบีเรีย ประเทศจีนแล้วบินย้ายถิ่นเข้ามาในวประเทศไทย
และประเทศในโซนร้อนในฤดูฝน พอถึงปลายฤดูหนาวหรือต้นฤดูร้อน ก็จะพากันบินย้ายถิ่นไปหากิน
และผสมพันธุ์ในประเทศหนาวแถบเหนือต่อไป นกปากซ่อมในไทยมีหกชนิด
หน้า ๑๑๖๗๑
๓๔๗๕. ปากแตร - ปลา
เป็นปลาทะเล หากินอยู่ตามชายฝั่งของทะเลเขตร้อน ยาวประมาณ ๓๐ - ๔๐ ซม. พบอยู่ในแถบฝั่งทะเลตะวันออกของทวีปแอฟริกา
ในมหาสมุทรอินเดีย ตลอดน่านน้ำย่านอินโดแปซิฟิก
หน้า ๑๑๖๗๔
๓๔๗๖. ปากใต้ - ปลา
เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก มีถิ่นอาศัยอยู่ทุกภาคของประเทศ ชอบอยู่ในลำธารน้ำไหล
รูปร่างลำตัวเพรียวยาว มีปากอยู่ด้านล่างของหัว มีลักษณะเป็นปากดูด
หน้า ๑๑๖๗๕
๓๔๗๗. ปากท่อ
อำเภอ ขึ้น จ.ราชบุรี ภูมิประเทศตอนเหนือและตอนกลาง เป็นที่ดอนทางทิศตะวันตก
และทิศใต้ เป็นป่าโปร่งมีภูเขา ทางทิศตะวันออกเป็นที่ลุ่ม
อ.ปากท่อ เดิมเรียกว่า อ.ท่านัด วัดประดู่ ตั้งขึ้น เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๙ ถึงปี
พ.ศ.๒๔๔๓ ย้ายที่ว่าการไปตั้งที่ ต.วัดเพลง เปลี่ยนชื่อเป็น อ.แม่น้ำอ้อม
ถึงปี พ.ศ.๒๔๕๖ โอนไปขึ้น จ.สมุทรสงคราม แล้วโอนกลับ จ.ราชบุรี ในปีต่อมา
มาตั้งที่ว่าการที่ ต.ปากท่อ ถึงปี พ.ศ.๒๔๕๘ เปลี่ยนชื่อเป็น อ.ปากท่อ ส่วนที่ตั้งอำเภอเดิม
เรียกว่า กิ่ง อ.วัดเพลง
หน้า ๑๑๖๗๘
๓๔๗๘. ปากนกกระจอก
เป็นชื่อโรคที่เกิดจากการขาดวิตามินบี มีลักษณะจำเพาะคือ มีการอักเสบบริเวณมุมปากทั้งสองข้าง
เมื่อหายแล้วจะเหลือแผลเป็นบาง ๆ
หน้า ๑๑๖๗๘
๓๔๗๙. ปากเป็ด ๑ - หอย
เป็นสัตว์ทะเล มีชื่ออื่นคือ หอยราก เป็นหอยสองกาบ สีเขียว รูปร่างยาวรี คล้ายปากเป็ด
ปลายด้านล่างซึ่งใช้เป็นส่วนยึดติดกับพื้น ติดอยู่กับก้านหรือราก มีลักษณะค่อนข้างแหลม
มักอยู่ในบริเวณหาดโคลนที่มีทรายปน พบในย่านมหาสมุทรอินเดีย และแปซิฟิก น่านน้ำในอ่าวไทย
หอยปากเป็ด เป็นที่นิยมบริโภคในหมู่ชาวบ้านแถบชายทะเล
หน้า ๑๑๖๘๐
๓๔๘๐. ปากเป็ด ๒ - ปี่
เป็นคำที่ใช้เรียก ปี่คลาริเนตของฝรั่ง ที่คนสมัยก่อนเรียกกัน
ปี่ปากเป็ด ใช้บรรเลงผสมอยู่ในวงดนตรีฝรั่งได้หลายอย่าง เช่น ในวงดุริยางค์
ทำหน้าที่ต่าง ๆ แล้วแต่ผู้ประพันธ์เพลง หรือเรียบเรียงเสียงประสานจะกำหนด
หรืออาจอยู่ในวงคัพภดนตรีก็ได้ โดยเฉพาะที่บรรเลงแตรวงในเมืองไทยสมัยก่อน
ซึ่งบรรเลงทั้งเพลงไทย และเพลงฝรั่ง มักจะผสมปี่ปากเป็ดกับขลุ่ยฝรั่งเข้าไปด้วย
ซึ่งทำให้แตรวงนั้นกลายเป็นวงโยธวาทิตไป แต่ก็ยังเรียกว่า แตรวง เมื่อบรรเลงเพลงไทย
ผู้ปรับทำนองเพลงมักจะให้ปี่ปากเป็ด ดำเนินทำนองตามแบบของระนาดเอกกลาย ๆ
หน้า ๑๑๖๘๓
๓๔๘๑. ปากพนัง
อำเภอ ขึ้น จ.นครศรีธรรมราช มีอาณาเขตทางทิศเหนือ และทิศตะวันออก ตกทะเลในอ่าวไทย
ภูมิประเทศเป็นที่ราบต่ำ เหมาะแก่การทำนา
อ.ปากพนัง ก่อนปี พ.ศ.๒๔๓๖ จัดการปกครองเป็นหลายแขวง หัวหน้าแขวงเรียก "เภอ"
แต่พลเมืองมักเรียกว่า ที่ ต่อมาได้รวมแขวงต่าง ๆ เป็นอำเภอเรียกว่า อำเภอเบี้ยซัด
ตั้งที่ว่าการที่ปากแพรก ภายหลังได้ย้ายมาตั้งที่แขวงเบี้ยซัดเดิม และเปลี่ยนชื่อเป็น
ปากพนัง
หน้า ๑๑๖๘๔
๓๔๘๒. ปากพลี
อำเภอ ขึ้น จ.นครนายก ภูมิประเทศทางทิศเหนือ และตะวันออก ตลอดลงมาทางตอนกลาง
เป็นที่สูงมีภูเขาและป่า เป็นเนิน และแอ่ง โดยทั่วไปที่สูงค่อย ๆ ลาดลงมาทางใต้และตะวันตก
หน้าแล้งกันดารน้ำ
อ.ปากพลี เมื่อราวปี พ.ศ.๒๔๕๗ ตั้งที่ว่าการที่บ้านไร่ ต.เกาะโพธิ เรียก
อ.บุ่งไร่ ต่อมาย้ายไปตั้งที่บ้านท่าแดง ต.ปากพลี เปลี่ยนชื่อเป็น อ.เขาใหญ่
ถึงปี พ.ศ.๒๔๕๙ เปลี่ยนชื่อเป็น อ.ปากพลี เคยโอนไปขึ้น จ.ปราจีนบุรี ครั้งยุบเมืองนครนายก
เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๖ ต่อมาได้ตั้ง จ.นครนายก ขึ้นใหม่อีก เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๙ จึงได้โอนกลับมาขึ้น
จ.นครนายก ตามเดิม
หน้า ๑๑๖๘๕
๓๔๘๓. ปากพยูน
อำเภอ ขึ้น จ.พัทลุง ภูมิประเทศทางทิศตะวันตกเป็นเทือกเขา มีป่าไม้ใหญ่ ตอนเหนือและตอนใต้
เป็นที่ลุ่มทำนาได้ ทางตะวันออก ตกทะเลสาบ
ในอำเภอนี้ มีเจดีย์โบราณที่วัดบางแก้ว แบบพระบรมธาตุ ใน จ.นครศรีธรรมราช
สูง ๓๒ เมตร ในวัดมีเศียรพระพุทธรูปศิลา เป็นของโบราณ มีเขาสำคัญคือ เขาเขียว
และเป็นย่านกลางที่เรือออกจากพัทลุง และระโนดไปสงขลาต้องผ่าน
หน้า ๑๑๖๘๕
๓๔๘๔. ปากเรือ
มีบทนิยามว่า "ดาดฟ้าเรือ" ในด้านการค้าขายกับต่างประเทศ ค่าปากเรือนั้น อาจเรียกได้ว่า
เป็นภาษีชนิดหนึ่ง ที่เก็บจากเรือที่มาค้าขายในสมัยอยุธยา สืบต่อมาถึงต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า
ฯ
เรือที่มาค้าขาย ณ กรุงศรีอยุธยา ต้องเสียภาษีศุลกากร นายเดอ ลาลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสที่เข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี
ในตอนปลายแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ ฯ ระบุว่าภาษีศุลกากร มีอยู่สองอย่างคือ
๑. จังกอบเรือสินค้า เป็นอัตราคิดตามขนาดความยาวของเรือวาละบาท ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์
ฯ ได้เพิ่มพิกัดขนาดปากเรือขึ้น เรือลำใดปากกว้างหกศอก ถึงเรือนั้นจะยาวไม่ถึงหกวา
ก็เก็บลำละหกบาท จังกอบเรือนี้ตรวจเก็บที่ด่านขนอน ตั้งแต่เมืองชัยนาทลงมา
๒. จังกอบสินค้าเก็บทั้งสินค้าขาเข้า ขาออก หนังสือคำให้การชาวกรุงเก่า กล่าวว่า
วิธีเก็บภาษีขาเข้าเก็บไม่เสมอกัน ถ้าเป็นเมืองที่มีพระราชไมตรี และไปมาค้าขายไม่ขาดกันแล้ว
เก็บภาษีตามราคาสินค้าขาเข้าร้อยชักสาม ค่าปากเรือกว้างตั้งแต่สี่วา ขึ้นไปเก็บวาละสิบสองบาท
ถ้าเป็นเมืองอื่นเก็บภาษีสินค้าในอัตราร้อยละห้า ค่าปากเรือวาละยี่สิบบาท
ค่าปากเรือ หรือภาษีปากเรือ รัฐบาลไทยได้เลิกเก็บภายหลังการลงนามในสนธิสัญยา
ทางไมตรีและพาณิชย์กับ เซอร์ จอห์น เบาว์ริง ราชทูตอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๘
ซึ่งระบุว่า คนในบังคับอังกฤา จะต้องเสียภาษีศุลกากรในอัตราร้อยชักสาม และเสียศุลกากรขาออก
ตามพิกัดอันกำหนดตายตัวในภาคผนวก ต่อท้ายสนธิสัญญา
๓๔๘๕. ปากห่าง - นก
เป็นนกขนาดใหญ่ ยาวจากปลายปากถึงปลายหาง ๖๔ ซม. เป็นนกสีขาว เว้นที่ปลายปีกและหางเป็นสีดำ
มีปากบนกับปากล่างต่างหากจากกัน ที่ตรงกลางปาก ทำให้คาบหอยโข่งได้แน่น นกนี้บินย้ายถิ่นไปทางตะวันออกและตะวันตก
ระหว่างประเทศอินเดีย ปากีสถาน ไทย และกัมพูชา ตามฤดูกาล ตามธรรมดาจะพากันทยอยบินย้ายถิ่นไปประเทศอินเดียในราวเดือนพฤษภาคม
และบินย้ายถิ่นจากอินเดียถึงประเทศไทยในราวต้นเดือนพฤศจิกายน เมื่อบินมาถึงประเทศไทยแล้ว
จะหยุดพักสักหนึ่งสัปดาห์ แล้วจึงลงมือเลือกคู่ แล้วพากันทำรัง ในรังหนึ่ง
ๆ จะวางไข่วันละหนึ่งฟองจนครบเต็มที่สี่ฟอง แล้วจึงฟักไข่ต่อไป ระหว่างที่ทำรัง
วางไข่ และกกไข่ เลี้ยงลูกอ่อนนั้น จะผลัดกันไปหากินและเฝ้ารัง
นกนี้ชอบเที่ยวเดินเอาปากงมหาหอยโข่งในทุ่งนาที่น้ำท่วม ราว ๑๘ - ๒๐ ชม.
หน้า ๑๑๖๙๒
๓๔๘๖. ปาง ๑
ในวรรณคดีสันสกฤต คำว่า "ปาง" คือการปรากฎองค์ของพระผู้เป็นเจ้า หรือเทพเจ้าบางองค์
ในลักษณะรูปร่างที่ผิดไปจากเดิม แบ่งออกเป็นสองชนิดคือ
๑. ปรากฎองค์ชั่วคราว เพื่อกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งตามวาระและโอกาสเช่น พระศิวะ
ปางเป็นอโฆรไภรวะ แสดงถึงการปรากฎองค์ในแบบดุร้ายน่ากลัว
๒. ปรากฎองค์โดยการแบ่งภาคไปเกิดเป็นบุคคลต่าง ๆ และดำรงชีวิตอยู่ตราบเท่าชีวิตของบุคคลนั้น
โดยลักษณะดังกล่าวนี้คำว่าปาง ย่อมใช้ควบคู่กับคำว่า "อวตาร"
(การแบ่งภาคไปเกิด) เช่น พระนารายณ์อวตารเป็นพระกฤษณะ เป็นต้น
หน้า ๑๑๖๙๓
๓๔๘๗. ปาง ๒ - พระ
ในทางพระพุทธศาสนา คำว่าปาง หมายความว่าครั้งคราวหรือสมัยแห่งพระพุทธจริยาทั้งหลาย
ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงให้ปรากฎในสมัยหนึ่ง ๆ เมื่อทรงพระชนม์อยู่
พระพุทธจริยาตอนหนึ่ง ๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงให้ปรากฎในสมัยหนึ่ง ๆ นั้น
ประมวลเข้าเป็นสามส่วนหรือสามประการคือ
๑. ส่วนอัตตัตถจริยา
คือพระพุทธจริยาในเวลาที่ทรงบำเพ็ญเพื่อความตรัสรู้ นับแต่แรกเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์
จนถึงเวลาตรัสรู้ และเวลาเสวยวิมุติสุข อันเป็นเวลาหกปี ซึ่งล้วนแต่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่พระองค์โดยเฉพาะ
๒. ส่วนญาตัตถจริยา
คือพระพุทธจริยาในเวลาที่ทรงบำเพ็ญเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พระประยูรญาติ
โดยเฉพาะ
๓. ส่วนโลกัตถจริยา
คือพระพุทธจริยาในเวลาที่ทรงบำเพ็ญเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่มหาชนทั่วไป ตลอดเทวดา
พรหม ยักษ์ ที่สุดจนสัตว์เดรัจฉาน ประดิษฐานพระพุทธศาสนาเพื่อประโยชน์แก่ชาวโลก
รวมทั้งการแสดงธรรม การบัญญัติพระวินัยแก่พระสงฆ์สาวก เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระพุทธศาสนา
การสร้างพระพุทธรูปต่าง ๆ ตามพระพุทธจริยานั้น ๆ เริ่มสร้างขึ้นครั้งแรกในแคว้นคันธารราฎร์
เมื่อปี พ.ศ.๖๖๘ โดยช่างฝีมือชาวโยนก ซึ่งเป็นเชื้อสายกรีก ครั้นเข้าถึงพระพุทธศาสนาแล้วคิดสร้างพระพุทธรูปขึ้นสักการะบูชา
บางท่านกล่าวว่าเกิดขึ้นในสมัยพระเจ้ากนิษกะ แห่งราชวงศ์กุษาณะ ซึ่งครองราชย์ระหว่างปี
พ.ศ.๖๖๒ - ๗๐๖ และนับเป็นฝีมือช่างกรีกโรมัน อนุโลมตามคัมภีร์มหาปุริสลักษณะหลายข้อ
พระพุทธรูปที่สร้างในแคว้นคันธารราษฎร์ครั้งนั้นมีอยู่เพียง ๒ - ๓ ปางคือปรางตรัสเทศนาธรรมจักกัปวัตนสูตร
ปางมารวิชัย และปางกระทำยมกปาฎิหารย์
ครั้นต่อมางานสร้างพระพุทธรูปางต่าง ๆ ตามพระพุทธจริยาคราวหนึ่ง ๆ ก็เพิ่มขึ้นตามยุคตามคราว
พระพุทธรูปปางต่าง ๆ ในประเทศไทยได้สร้างมาแล้วรวมเจ็ดสมัยด้วยกันคือ สมัยทวารวดี
สมัยศรีวิชัย สมัยลพบุรี สมัยเชียงแสน สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์
(บางตำรามีสมัยอู่ทองด้วย)
สมัยทวารวดี
เท่าที่พบมีปางเทศนา ปางสมาธิ ปางมารวิชัย ปางมหาปฎิหาริย์ ปางปรินิพพาน ปางบรรทม
ปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ ปางประทานอภัย ปางประทานพร และปางโปรดสัตว์
สมัยศรีวิชัย
เท่าที่พบมีปางมารวิชัย ปางสมาธิ ปางนาคปรก ปางปรินิพพาน ปางประทานอภัย และปางเสด็จจากดาวดึงส์
สมัยลพบุรี เท่าที่พบมีปางนาคปรก
ปางมารวิชัย ปางสมาธิ ปางปรินิพพาน ปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ ปางประทานอภัย
สมัยเชียงแสน
เท่าที่พบมีปางมารวิชัย ปางสมาธิ ปางอุ้มบาตร ปางประดิษฐานรอยพระบาท ปางไสยา
ปางนั่ง
ห้อยพระบาท
ปางลีลา ปางเปิดโลก ปางประทับยืน และปางถวายเนตร
สมัยสุโขทัย
เท่าที่พบมีปางไสยา ปางลีลา ปางประทานอภัย ปางมารวิชัย ปางถวายเนตร ปางสมาธิ
ปางประทานพร และปางประทับยืน
สมัยอยุธยา เท่าที่พบมีปางไสยา
ปางมารวิชัย ปางประทานอภัย ปางป่าเลไลยก์ ปางลีลา และปางประทับยืน
สมัยรัตนโกสินทร์
เท่าที่พบมีปางมารวิชัย ปางสมาธิ ปางประทานอภัย ปางไสยา ปางขอฝน
ในปัจจุบันสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นสมัยที่มีพระพุทธรูปปางต่าง ๆ สมบูรณ์ที่สุด
พอประมวลได้มีถึง ๖๖ ปางด้วยกัน
หน้า ๑๑๖๙๖
๓๔๘๘. ป้าง
เป็นชื่อโรคอย่างหนึ่งที่แพทย์แผนโบราณบัญญัติขึ้น สำหรับอาการไข้คลุมเครือ
เรื้อรัง ซึ่งมักจับเป็นเวลาคือตอนหัวน้ำขึ้น คนไข้รู้สักหนาวเล็กน้อย แต่ไม่มีอาการสั่น
นอกจากนี้ก็มีพุงโต เพราะม้ามโตและตับโต
ไข้ป้างนี้ ตรงกับชื่อโรคทางแผนปัจจุบันคือ โรคไข้จับสั่นเรื้อรัง
หน้า ๑๑๗๑๐
๓๔๘๙. ปาจิตตีย์
เป็นชื่ออาบัติกองหนึ่ง ในเจ็ดกองของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา คำนี้แปลว่า การละเมิดอันยังกุศลให้ตก
เป็นได้ทั้งชื่ออาบัติ และชื่อสิกขาบท ท่านแบ่งไว้เป็นสองหมวด เรียกว่า นิสสัคคัยปาจิตตีย์
พวกหนึ่ง สุทธิก ปาจิตตีย์ พวกหนึ่ง
นิสสัคคัยปาจิตตีย์
หมายความว่า ต้องอาบัติชื่อนี้ เพราะมีวัตถุเป็นตัวการคือ ทำให้สละสิ่งของคือ
สิ่งใดเป็นเหตุจึงต้องอาบัติ ทำให้สละสิ่งนั้น เป็นชื่อแห่งสิกขาบท แปลว่า
ปรับโทษ ชื่อ นิสสัคคัยปาจิตตีย์ เวลาจะแสดงอาบัติต้องสละสิ่งนั้นก่อน จึงจะแสดงโทษนั้นได้
เช่น ต้องอาบัติเพราะทรงอดิเรกจีวรเกิน ๑๐ วัน เวลาแสดงอาบัตินี้ ต้องสละอดิเรกจีวรที่ทรงไว้เกิน
๑๐ วันนั้นก่อน จึงแสดงอาบัตินั้นได้
สุทธิกปาจิตตีย์
คือ ปาจิตตีย์ล้วน ไม่มีสิ่งของอันเป็นเหตุให้ต้องอาบัติคือ ทำผิดอย่างใดตรงกับที่ห้าม
ก็ต้องอาบัตินี้ เวลาแสดงอาบัติก็สารภาพตรง ๆ ตามที่ผิด เช่น ต้องอาบัติเพราะพูดเท็จ
ก็สารภาพตามตรงว่าพูดเท็จ
หน้า ๑๑๗๑๒
๓๔๙๐. ป่าซาง
อำเภอ ขึ้น จ.ลำพูน ภูมิประเทศตอนเหนือ และตอนกลางเป็นที่ราบเหมาะแก่การทำนา
ตอนใต้เป็นที่ดอนและป่า มีเนินสูงบ้าง
อ.ป่าซาง เดิมชื่อ อ.ปากบ่อง เพราะแควลำน้ำแม่ทากับแควลำน้ำแม่กวง ไหลมาร่วมกันแล้วทะลุออกที่แม่น้ำปิง
ตรงบ้านปากบ่อง มาเปลี่ยนชื่อเป็น อ.ป่าซาง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๖
หน้า ๑๑๗๑๓
๓๔๙๑. ปาฎลีบุตร
เป็นชื่อมหานครสำคัญเกี่ยวพันกับประวัติพระพุทธศาสนา ปรากฎเรื่องเนื่องในประวัติศาสตร์ชมพูทวีปเป็นอันมาก
โดยเป็นเมืองหน้าด่านเป็นศูนย์การค้าตั้งอยู่ใกล้ฝั่งคงคา ทางตะวันออกค่อนข้างเหนือของชมพูทวีป
เป็นที่ประทับของมหาราชจันทรคุปต์ และพระเจ้าอโศกมหาราช แห่งราชวงศ์โมริยะ
เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่สอง
แต่เดิมมา ปาฎลีบุตรเป็นเพียงหมู่บ้านเล็ก ๆ ชื่อ ปาฏลิคาม เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรู
โอรสพระเจ้าพิมพิสาร ครองนครราชคฤห์ ก่อนพุทธปรินิพพานแปดปี ทรงตั้งเมืองปาฏลีคาม
ไว้เป็นเมืองหน้าด่าน เพื่อป้องกันการรุกรานจากกษัตริย์แคว้นวัชชี และหมายเป็นที่ยกพลข้ามแม่น้ำคงคา
ไปรบกับกษัตริย์แคว้นวัชชีด้วย พระพุทธเจ้าก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพานไม่นาน
เคยเสด็จถึงปาฏลีคามครั้งหนึ่ง และทรงมีพระพุทธทำนายไว้ว่า ต่อไป ณ สถานที่นี้จะเป็นนครใหญ่
รุ่งโรจน์ไพศาลกว่านครใดในชมพูทวีป
จดหมายเหตุหลวงจีนฟาเหียนบันทึกไว้ เมื่อปี พ.ศ.๙๗๒ ว่า เมืองนั้นตั้งอยู่ตรงที่แม่น้ำห้าสายมาร่วมกันใจกลางชมพูทวีปคือ
แม่น้ำคงคา แม่น้ำโคครา แม่น้ำวัปตี แม่น้ำคัณฑก และแม่น้ำโสณะ เรือแพบรรทุกสินค้าที่ไปมาจำต้องผ่าน
ปาฏลีคามจึงเจริญเติบโตเป็นเมืองสำคัญอย่างรวดเร็ว ต้องด้วยพุทธทำนาย
สิ้นสมัยพระเจ้าอชาตศัตรู พระราชนัดดา พระนามว่า อุทายิน ทรงย้ายเมืองหลวงจากนครราชคฤห์
ลงมาตั้งอยู่ที่ปาฏลีคาม แล้วยกขึ้นเป็นราชธานีมีนามว่า ปาฏลีบุตร
ประวัตินครปาฏลีบุตร หายไปกว่าร้อยปี มาปรากฎในวรรณคดีอินเดีย และประวัติการสืบพระพุทธศาสนาของหลวงจีนอีกสองรูปคือ
หลวงจีนฟาเหียน และหลวงจีนถังจัมจั๋ง เมื่อปี พ.ศ.กว่า ๑,๐๐๐ ปี อีกหนึ่งรูป
ประวัติที่ปรากฎในวรรณคดีอินเดียคือ ประวัติเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๒๐ พรรณาไว้บางตอนว่า
ปาฏลีบุตร เป็นนครอันไพศาลประตูโดยรอบกำแพงนครถึง ๖๔ ประตู เปิดไว้เพื่อการสัญจรไปมาตลอดวัน
ตลอดคืน มีป้อมคูและหอรบ ตั้งอยู่โดยรอบสัก ๕๗๐ แห่ง เป็นศูนย์กลางการพาณิชย์
เป็นที่ชุมนุมของพ่อค้าบรรทุกโคต่าง มาจากทุกทิศ สรรพสินค้ามาจากอาระเบีย
อ่าวเปอร์เซีย สิงหฬ กาลิงคะ โกศล วิทาภา วัชรการู แถบภูเขาเจโทตก เมืองสัตยบุตร
บังกาลอร์ เมืองสัตยมังคลัม ทิเบต กัษมีระ พาราณสี สินธุ สุวรรณคีรี ดาลทา
ทัลลา จิปติ กามรูป มหิสมณฑล (อัสสัม) อังคะ (แคว้นเบงกอล) หิมาลัย
วินธัย เกราลา (ใต้สุดของชมพูทวีป) เนปาล บัณฑยะ ผู้ใดปรารถนาสิ่งใด
จะไม่ได้ไปจากกรุงปาฏลีบุตร นั้นเป็นไม่มี
ปาฏลีบุตรรุ่งเรืองอยู่นาน มาสิ้นความรุ่งเรืองเมื่อสิ้นวงศ์โมริยะ ถึงสมัยเมื่อกษัตริย์มุสลิม
เข้ารุกรานชมพูทวีป นครนี้ก็เหลือแต่ซาก เมื่อพวกมุสลิมเข้ามาตีอินเดีย เมื่อปี
พ.ศ.๑๗๔๓ ได้ตัดทอนเลิกพระพุทธศาสนาขาดไม่มีเหลือในประเทศอินเดีย ชื่อและที่ตั้งเมืองปาฏลีบุตร
อยู่แห่งใดไม่มีใครรู้
หลวงจีนฟาเหียน บันทึกพรรณาความไว้ว่า "เมื่อได้ข้ามแม่น้ำ(คงคา) ต่อไปทางทิศใต้
๑ โยชน์ (๔๐๐ เส้น) ก็ไปถึงนครปาฏลีบุตร ในราชอาณาจักรมคธ ตรงกึ่งกลางนครเป็นที่ตั้งพระราชวัง
และท้องพระโรงยังมีทรากให้เห็นอยู่ตามกำแพงและประตูทั้งหลาย ก่อสร้างด้วยแผ่นศิลา
ยังมีลวดลายสลักระบายเป็นศิลปะวิจิตรงดงาม ยากที่มนุษย์ในโลก (ปัจจุบัน) จะทำด้วยฝีมือให้สำเร็จเช่นนี้ได้
ฯลฯ พราหมณ์ราชสวามี ได้ช่วยเผยแผ่ธรรมของพระพุทธเจ้าอย่างไพศาล ป้องกันมิให้เจ้าลัทธิอื่นมาขัดขวาง
การปฎิบัติธรรมของพระภิกษุสงฆ์ได้ ฯลฯ เขตแขวงของแคว้นมคธ กว้างใหญ่ไพศาลกว่าอาณาจักรทั้งหลายในมัชฌิมประเทศ
ฯลฯ ทุกปีในวันแปดค่ำ เดือนยี่ ประชาชนทำการสมโภชแห่แหน พระพุทธปฎิมากันครั้งหนึ่ง"
ในรัชสมัยพระเจ้าอโศก ฯ ได้สร้างพระสถูปใหม่ ๘๔,๐๐๐ องค์ มีขนาดใหญ่เป็นประธานอยู่หนึ่งองค์
ฯลฯ ที่เสาศิลาจารึกสูงหกศอก มีข้อความจารึกว่า ทรงอุทิศถวายชมพูทวีปให้เป็น
(ที่สัปปายะ) ของพระภิกษุสงฆ์ทั่วจาตุรทิศ ฯลฯ "
พระถังซัมจั๋ง เดินทางไปสืบพระศาสนายังชมพูทวีป ถึงนครปาฏลีบุตรได้พรรณามหานครนี้ไว้ว่า
"เดินทางไปทางทิศใต้ ข้ามแม่น้ำคงคาแล้วถึงแคว้นมคธ ซึ่งมีอาณาเขตโดยรอบประมาณ
๕,๐๐๐ ลี้ พลเมืองนิยมการศึกษา และการปฏิบัติธรรม อยู่ในสัมมาปฎิบัติ มีอารามกว่า
๕๐ แห่ง พระภิกษุสงฆ์ประมาณหนึ่งหมื่นรูป โดยมากเป็นฝ่ายมหายาน ทางทิศใต้ของแม่น้ำเป็นเมืองเก่า
มีเขตโดยรอบ ๗๐ ลี้เศษ ถึงแม้จะเป็นเมืองร้าง แต่ก็ยังมีช่องเสมาบนยอดกำแพงปรากฎอยู่"
"พระราชวังเก่าตั้งอยู่ทางด้านเหนือของแม่น้ำคงคา เป็นเมืองน้อยๆ มีราษฎรประมาณ
๑,๐๐๐ ครัวเรือน ด้านเหนือพระราชวังมีเสาศิลาสูง เป็นที่หมายแห่งเรือนยอดที่พระเจ้าอโศกโปรดให้สร้างขึ้น"
ปัจจุบันปาฏลีบุตร คือ เมืองปัตนะ นครหลวงแคว้นพิหาร อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย
เส้นทางคมนาคมประมาณ ๔๘๐ กม. จากกัลกัตตา
หน้า ๑๑๗๑๔
๓๔๙๒. ปาณฑพ
เป็นชื่อเรียกกษัตริย์ห้าองค์ที่เป็นโอรสของท้าวปาณฑุ กษัตริย์จันทรวงศ์ ผู้ครองราชย์
ณ กรุงหัสตินาปุระ ทั้งห้าองค์ดังกล่าวได้แก่ ยุธิษฐิระ ภีมะ อรชุน นกุล และสหเทพ
ทั้งห้าองค์ประสูติแต่พระมเหสีสององค์คือ พระนางกุมตี เป็นพระมารดาของยุธิษฐิระ
ภีมะและอรชุน พระนางมัทรี เป็นพระมารดาของ นกุล และสหเทพ
เรื่องของปาณฑพ มีอยู่ว่าในยุคต้นของชมพูทวีปภาคเหนือ กษัตริย์จันทรวงศ์ ครองราชย์
ณ กรุงหัสตินาปุระ
(เมืองช้าง) เหนือฝั่งแม่น้ำคงคา (ประมาณ ๙๑๐ กม. ทางตะวันออกเฉียงเหนือของนครเดลลี
เริ่มแต่มหาฤาษีอัตร มาจนถึงราชาธิบดีองค์หนึ่งคือ ท้าวภารตะ ซึ่งภายหลังคำ
ภารตะ
นี้กลายเป็นนามของประเทศอินเดีย โอรสของท้าวทุษยันต์ กับพระนางศกุนตลา ถัดลงมาอีกหลายชั่วกษัตริย์ถึงรัชสมัยกษัตริย์ทรงธรรม
ลือพระนามองค์หนึ่งคือ พระเจ้าศานตนุ พระปัยยิกา ของกษัตริย์ปาณฑพ และโกรพ
ต่อมาเจ้าปาณฑพ ได้ตั้งเมืองขึ้นใหม่ชื่อ ปาณฑวปรัสถ์ (ต่อมาเรียกว่า อินทรปรัสถ์
คือ บริเวณโดยรอบกรุงเดลีเก่า ในปัจจุบัน)
ด้วยเหตุนี้ ราชอาณาจักรหัสตินาปุระ จึงแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ ฝ่ายกุรุ มีทุรโยชน์
เป็นหัวหน้า เลือกเอามณฑลต่าง ๆ ทางภาคตะวันออก (หัสตินาปุระ เดิม) ไว้เป็นสิทธิของตน
ฝ่ายปาณฑพมียุธิษฐิระ เป็นหัวหน้าได้มณฑลตะวันตก อันทุรกันดาร เป็นทะเลทราย
สร้างเมืองหลวงอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยมุนา
ต่อมาได้เกิดการสงครามกันระหว่างกษัตริย์ปาณฑพ กับกษัตริย์โกรพ ณ ทุ่งกุรุเกษตร
ฝ่ายปาณฑพเป็นฝ่ายชนะ หลังจากการรบกันได้ ๑๘ วัน ทั้งนี้ด้วยคำเตือนสติอรชุนของกฤษณะ
ผู้เป็นพระญาติ และทำหน้าที่เป็นสารถีให้อรชุน เรื่องราวดังกล่าวปรากฎอยู่ในคัมภีร์ภควัทคีตา
หัวใจปรัชญาของชนชมพูทวีป มาแต่โบราณกาล
ต่อแต่นั้น ปาณฑพทั้งห้า พร้อมพระชายาและพระชนนี ก็พากันเสด็จกลับกรุงอินทรปรัสถ์
ยกพระเชษฐาองค์ใหญ่ขึ้นครองราชย์ ประกาศรวมกรุงหัสตินาปุระ กับกรุงอินทรปรัสถ์
เข้าเป็นแผ่นดินเดียวกัน
หน้า ๑๑๗๒๕
๓๔๙๓. ปาณฑุรงค์ หรือปาณฑุรังค์
เป็นนามหนึ่งของพระกฤษณะ อวตารปางที่แปดของพระนารายณ์ ในอาเซียอาคเนย์ เป็นชื่อเมืองซึ่งปัจจุบันเรียกว่า
ผันรัง ตั้งอยู่บนฝั่งทะเลทางภาคใต้ของประเทศเวียดนาม เคยเป็นราชธานีของอาณาจักรจัมปา
ซึ่งชาวเมืองคือ ชาวจามเป็นเชื้อชาติมลายู หรืออินโดนิเซีย และได้รับอารยธรรมจากอินเดีย
เมืองนี้ได้เป็นราชธานีของอาณาจักรจัมปา ตั้งแต่ราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๓
ในระยะนี้กองทัพเรือของชวาได้เข้ามาปล้นสะดม อาณาจักรจัมปา และทำลายเทวาลัยที่สำคัญลง
ต่อมาในปี พ.ศ.๑๓๔๖ พระราชาจาม ซึ่งครองราชย์อยู่ที่เมืองปาณฑุรังค์ ได้ส่งกองทัพเข้าไปรุกรานดินแดน
ทางตอนใต้ของประเทศจีน และส่งกองทัพไปโจมตีอาณาจักรขอม ในตอนต้นรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่สอง
ในรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่เจ็ด มหาราชองค์สุดท้ายของอาณาจักรขอม ราว
(พ.ศ.๑๗๒๔ - ราว ๑๗๖๐) กองทัพขอมได้เข้าโจมตีอาณาจักรจัมปา และเจ้าชายจัมปาทรงนามว่า
วิทยานันทนะ ซึ่งเข้ามารับราชการอยู่กับพระเจ้าชัยวรมันที่เจ็ด ก็ได้ปกครองดินแดนทางภาคใต้ของอาณาจักรจัมปา
โดยมีเมืองปาณฑุรังค์ เป็นราชธานี ทรงพระนามว่า สุรยวรรมเทพ ต่อมาได้รวบรวมอาณาจักรจัมปาภาคเหนือเข้าไว้
และประกาศเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่อาณาจักรขอมอีก ต่อมาในปี พ.ศ.๑๗๔๖ พระเจ้าชัยวรมันที่เจ็ด
ได้ส่งกองทัพขอมมาปราบปรามได้ ต่อจากนั้น อาณาจักรจัมปาก็ตกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรขอม
ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๗๔๖ - ๑๗๖๓ แต่หลังจากนั้น อาณาจักรจัมปาก็กลับเป็นอิสระใหม่
และยังคงมีราชธานีอยู่ที่เมืองวิชัย (บิญดิญ) ทางทิศเหนือของเมืองปาณฑุรังค์
ต่อมาในปี พ.ศ.๑๗๙๒ เจ้าชายหริเทพ แห่งสกัญวิชัย ได้ยกทัพมาตีเมืองปาณฑุรงค์
ต่อจากนี้ เมืองปาณฑุรังค์ ก็ไม่ปรากฎชื่อในเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ ของอาณาจักรจัมปาจนกองทัพญวน
เข้าโจมตีทำลายอาณาจักรจัมปาลงได้ในปี พ.ศ.๒๐๑๔
หน้า ๑๑๗๓๕
๓๔๙๔. ปาณินี
เป็นนักปราชญ์อักษรศาสตร์ ผู้สร้างศิลปศาสตร์ทางภาษาสันสกฤต ซึ่งพวกพราหมณ์ถือเป็นภาษาเทวดา
อันเป็นมูลฐานของภาษากลุ่มอารยันทั้งหมด ปาณินี เป็นผู้รจนาตำราไวยากรณ์ภาษาสันสกฤต
ชื่อ ปาณินียัม
ตามประวัติ ปาณินี เกิดในตระกูลพราหมณ์ ชาวบ้านศาลาตูร แคว้นคันธาระ ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำสินธุ
เกิดเมื่อ ๕๗ ปี ก่อน พ.ศ. ก็มี เมื่อปี พ.ศ.๑๔๓ ก็มี
นักปราชญ์ภาษาสันสกฤต อ้างว่า ก่อนมีตำราปาณินียัม มีตำราภาษาสันสกฤตอื่นอยู่บ้างแล้ว
หน้า ๑๑๗๓๗
๓๔๙๕. ปาด
เป็นสัตว์สะเทินน้ำ สะเทินบก พวกเดียวกับกบ และเขียด แต่พวกนี้ชอบอยู่ตามต้นไม้
มีขนาดเล็ก ขาหลังยาว หัวกว้างกว่ายาว นิ้วตัน ตรงปลายมีตุ่ม ใช้สำหรับเกาะต้นไม้
ใต้ลำคอ และใต้ท้องมักมีเมือกเหนียว ช่วยยึดตัวกับพื้น หรือใบไม้ที่เกาะ สีตัวเขียว
แต่มักเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ดำหรือเหลืองได้ ระหว่างโคนนิ้วมีหนังยึดติดกันเป็นแผ่น
ทำให้ใช้ว่ายน้ำได้ด้วย
หน้า ๑๑๗๓๙
๓๔๙๖. ปาดังเบซาร์
เป็นชื่อสถานีรถไฟสายใต้ใน อ.สะเดา จ.สงขลา เป็นสถานีชายแดนประเทศมาเลเซีย
ตั้งอยู่นอกเขตแดนไทยระยะ ๖๕๐ เมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพ ฯ ตามทางรถไฟสายใต้
๙๙๐ กม.
หน้า ๑๑๗๓๙
๓๔๙๗. ป่าแดด
อำเภอขึ้น จ. เชียงราย ภูมิประเทศมีภูเขาล้อมอยู่ทั้งสี่ด้าน
อ.ป่าแดด แรกตั้งเป็นกิ่งอำเภอ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๒ ขึ้น อ.พาน ยกฐานะเป็นอำเภอ
เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๘
หน้า ๑๑๗๓๙
๓๔๙๘. ปาติโมกข์
เป็นคัมภีร์ที่รวมพระวินัยของพระภิกษุสงฆ์ ข้อปฎิบัติที่เป็นสำคัญมีพระพุทธานุญาต
ให้พระสงฆ์สวดในที่ประชุมสงฆ์ทุกกึ่งเดือน
สิกขาบทมาในพระปาติโมกข์มี ๑๕๐ ถ้วน เป็นปราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓ นิสสัคคัยปาจิตตีย์
๓๐ สุทธิกปาจิตตีย์ ๙๒ ปาฎิเทสนียะ ๔ อธิกรณสมถะ ๗ แต่ในพระปาติโมกข์ที่สวดกันอยู่
และในคัมภีร์วิภังค์ แห่งสิกขาบท แสดงว่ามี ๒๒๗ สิกขาบทคือ เติม อนิยต ๒ เสนียวัตร
๗๕ เข้าไปด้วย
สิกขาบท ที่มาในพระปาติโมกข์นั้น ปรับอาบัติแก่พระภิกษุผู้ละเมิดไว้ครบทุกชื่อ
โดยตรงสี่คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส ปาจิตตีย์ อันต่างโดย นิสสัคคีย์ และสุทธิกะ
และปาฏิเทสนิยะ โดยอ้อมสามคือ ถุลลัจจัย ทุกกฏ ทุพภาษิต
หน้า ๑๑๗๔๐
๓๔๙๙. ป่าติ้ว
อำเภอ ขึ้น จ.ยโสธร ภูมิประเทศเป็นเนินสูง ๆ ต่ำ ๆ มีป่าโปร่งทั่วไป ด้านใต้เป็นที่ราบลุ่ม
อ.ป่าติ้ว แรกตั้งเป็นกิ่งอำเภอ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๙ ขึ้น อ.คำเขื่อนแก้ว ยกฐานะเป็นอำเภอ
เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๒
หน้า ๑๑๗๔๒
๓๕๐๐. ปาทาน
เป็นชื่อชนชาติที่สำคัญกลุ่มหนึ่ง ในประเทศอัฟกานิสถานเชื่อกันว่า คงจะสืบเชื้อสายมาจากชนชาติอินโดอารยัน
มีนิสัยบึกบึนทรหด และเป็นนักรบที่เก่ากล้า ชอบอาชีพการเลี้ยงสัตว์ นับถือศาสนาอิสลาม
ในตอนปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓ ชาวปาทานได้รวบรวมกำลังต่อต้านอำนาจปกครองของเปอร์เซีย
และได้สถาปนาประเทศอัฟกานิสถานขึ้น ปัจจุบันประชากรประเทศอัฟกานิสถาน ประมาณร้อยละ
๖๐ เป็นชนชาติปาทานนี้
หน้า ๑๑๗๔๒
๓๕๐๑. ปาน
เป็นคำที่ใช้เรียกชื่อการเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง ที่เกิดจากการที่มีการรวมกลุ่มของเซลล์
ซึ่งเจริญและแบ่งตัวผิดปรกติ เกิดขึ้นในระยะที่อยู่ในครรภ์
ส่วนมากจะพบปานตั้งแต่แรกคลอด มีส่วนน้อยที่พบเริ่มเกิดในวัยเด็ก หรือวัยรุ่น
ปานจะขยายขึ้นหลังคลอด ตามการเจริญเติบโตของเด็ก เมื่อถึงระยะหนึ่งจะหยุดขยาย
และอาจจะค่อย ๆ เล็กลง หรือคงสภาพเดิมติดตัวไปตลอดชีวิต
หน้า ๑๑๗๔๒
๓๕๐๒. ป่าน ๑
เป็นเส้นใยที่จากพืชบางชนิด และนำมาใช้ทำด้าย เชือก ผ้า กระดาษ และผลิตภัณฑ์สิ่งทอต่าง
ๆ จำแนกได้สองประเภทคือ
ก. ป่านประเภทเส้นใยละเอียด สม่ำเสมอ อ่อนนุ่ม แต่เหนียว และทนทาน มีเลื่อมมันเงางาม
คล้ายเส้นไหม เมื่อนำไปทอผ้าจะได้ผ้าเนื้อละเอียดงดงาม ป่านประเภทนี้ได้แก่
ลินิน และป่านรามี ซึ่งมีความเหนียวกว่าฝ้ายถึงแปดเท่า
ข. ป่านประเภทใยค่อนข้างหยาบ และยืดหยุ่นได้น้อย ใช้ทำเชือก สิ่งทอหยาบ ๆ
และลูกขัด สำหรับขัดโลหะต่าง ๆ ให้เป็นเงางาม ได้แก่ ป่านมนิลา และป่านศรนารายณ์
หน้า ๑๑๗๔๔
๓๕๐๓. ป่าน ๒
ผ้าเนื้อละเอียดและค่อนข้างบาง ที่ทอจากเส้นใยพืชบางชนิด เช่น ผ้าป่านทอจากเส้นใยของฝ้าย
ผ้าป่านลินิน จากเส้นใยของป่านลินิน และผ่าป่านรามี หรือป่านรานี จากเส้นใยของป่านรามี
หน้า ๑๑๗๔๕
๓๕๐๔. ปานดง
(ดู ประดง - ลำดับที่ ๓๓๐๗)
หน้า ๑๑๗๔๕
๓๕๐๕. ปานะ
น้ำสำหรับดื่ม หมายเอาเฉพาะน้ำดื่มที่จัดเป็นเภสัชของพระภิกษุ และสามเณรเรียกว่า
"น้ำปานะ" หรือ
น้ำอัฐบาน
เพราะเดิมทำด้วยผลไม้แปดชนิด พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตเป็นยามกาลิก สำหรับพระภิกษุและสามเณร
ให้ฉันได้ชั่วคราวคือ วันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ต่อมาถึงแม้จะทำด้วยของอื่น ก็เรียกว่า
น้ำอัฐบาน
น้ำผลไม้แปดอย่าง ได้แก่ น้ำมะม่วง น้ำชมพู่ หรือน้ำลูกหว้า น้ำกล้วยมีเมล็ด
น้ำมะซาง น้ำลูกจันทน์ หรือน้ำองุ่น น้ำเหง้าบัว และน้ำมะปราง หรือน้ำลิ้นจี่
หน้า ๑๑๗๔๕
๓๕๐๖. ปานามา ๑ - ประเทศ
ตั้งอยู่ตรงส่วนใต้สุดของทวีปอเมริกาเหนือ มีคลองปานามาตัดผ่าน แบ่งประเทศออกเป็นสองส่วน
นอกจากบนแผ่นดินใหญ่แล้ว ยังประกอบด้วยเกาะต่าง ๆ ทั้งที่อยู่ทางด้านทะเลแคริบเบียน
และด้านมหาสมุทรแปซิฟิก ประเทศปานามา มีรูปร่างทอดยาวจากตะวันตก ไปทางตะวันออก
ด้านเหนือติดต่อกับทะเลแคริบเบียน ด้านตะวันออกติดต่อกับประเทศโคลัมเบีย ทางใต้ติดต่อกับมหาสมุทรแปซิฟิก
ด้านตะวันตกติดต่อกับประเทศคอสตาริกา มีพื้นที่ ๗๔,๔๗๐ ตาราง กม. ด้านยาวจากตะวันออกถึงตะวันตก
ประมาณ ๗๒๐ กม. ด้านกว้างระหว่าง ๕๐ - ๑๘๐ กม.
ส่วนใหญ่ของปานามาเป็นภูเขา ทางตะวันตกเป็นส่วนของภูเขาทาลามานดา ทางตะวันออกของเมืองโคลอน
เป็นภูเขาซานปลาสส์ ต่อไปเป็นภูเขาแซร์ราเนียเดล ดาเรียน ระหว่างภูเขาทาลามานดา
กับภูเขาซานบาสส์ เป็นคลองปานามา
นักสำรวจชาวสเปน เป็นผู้เดินทางมาถึงชายฝั่งของปานามา ทางด้านทะเลแคริบเบียน
เมื่อปี พ.ศ.๒๐๔๔ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๐๔๕ โคลัมบัสมาถึงปี พ.ศ.๒๐๕๒ สเปนประกาศว่า
ปานามาเป็นอาณานิคมของสเปน ปี พ.ศ.๒๐๕๖ มีผู้เดินทางข้ามคอคอด มาพบมหาสมุทรแปซิฟิก
ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๐๘๕ - ๒๒๘๒ ปานามา มีฐานะเป็นมณฑลหนึ่งของเปรู จากปี พ.ศ.๒๒๘๒
- ๒๓๕๒ เป็นมณฑลหนึ่งของนิวเกรนาดา เมื่อเกรนาดาเป็นเอกราช เมื่อปี พ.ศ.๒๓๖๒
ปานามาเปลี่ยนเป็นมณฑลหนึ่งของโคลัมเบียอยู่ และได้เป็นเอกราช เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๖
หน้า ๑๑๗๔๗
๓๕๐๗. ปานามา ๒ - คลอง
เป็นคลองที่ขุดผ่านคอคอดปานามา
เชื่อมมหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรแปซิฟิก ยาวประมาณ ๘๐ กม. เปิดให้เรือผ่าน
เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๗ ใช้เวลาเดินเรือ ๘ ชม. ปานามายินยอมให้สหรัฐอเมริกามีอำนาจในการปกครองเขตคลองคือ
บริเวณสองฝั่งของคลองกว้าง ๑๖ กม.
ในปี พ.ศ.๒๔๙๘ ปานามากับสหรัฐอเมริกาได้ทำสนธิสัญญาฉบับใหม่ เกี่ยวกับคลองปานามา
สหรัฐจ่ายค่าเช่าคลองให้ปานามาเพิ่มขึ้นเป็นปีละ ๑,๙๓๐,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ ต่อจากนั้นมา
ปานามาเริ่มเรียกร้องให้สหรัฐอเมริกา คืนคลองปานามาให้ในปี พ.ศ.๒๕๐๔ เกิดการจลาจลวุ่นวายในเขตคลอง
ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๑๐ - ๒๕๑๓ สหรัฐอเมริกาเสนอให้มีการทำสนธิสัญญากันใหม่หลายครั้ง
แต่ปานามาไม่ยอมรับ
ในปี พ.ศ.๒๕๒๐ สหรัฐอเมริกากับปานามาได้ทำสนธิสัญญากันสองฉบับ ฉบับที่หนึ่ง
จะมีการโอนคลองปานามาให้แก่ปานามา ระหว่างนี้ปานามาจะได้ค่าเช่าคลองเพิ่มขึ้นเป็นปีละสิบล้านเหรียญสหรัฐ
และสหรัฐอเมริกาจะถอนทหารทั้งหมดออกจากเขตคลอง ในปี พ.ศ.๒๕๔๒ ฉบับที่สอง จะมีการประกันความเป็นกลางของคลองปานามา
หน้า ๑๑๗๔๑
๓๕๐๘. ปาปวน
คือ ชาวพื้นเมืองของเกาะนิวกินี และหมู่เกาะใกล้เคียง พวกปาปวนจัดอยู่ในกลุ่มนิโกร
พวกที่อยู่แถบชายฝั่งมีรูปร่างสูงปานกลาง พวกที่อยู่แถบภูเขาตอนกลางเกาะจะเตี้ยมาก
ผิวสีมีตั้งแต่สีน้ำตาลแก่ จนถึงขาวปนแดง
พวกปาปวน ส่วนใหญ่ทำการเพาะปลูก เพื่อยังชีพ พวกที่อยู่แถบชายฝั่งจะเป็นชาวประมง
และล่าสัตว์
หน้า ๑๑๗๕๓
๓๕๐๙. ปาปิรัส - กระดาษ
ปาปิรัส เป็นชื่อของกระดาษชนิดหนึ่ง ซึ่งเริ่มใช้กันมาแล้ว ตั้งแต่ประมาณ
๒๕๐๐ ปีก่อนพุทธกาล ในสมัยโบราณกระดาษชนิดนี้ทำจากต้นกกชนิดหนึ่ง ซึ่งงอกงามอุดมอยู่ตามลุ่มแม่น้ำไนล์
ประเทศอิยิปต์
ในการผลิตจำหน่ายนั้น มักจะผลิตเป็นม้วน แต่ละม้วนประกอบด้วยกระดาษประมาณ
๒๐ แผ่น กว้างไม่เกิน ๒๕.๔ ซม. ทาแป้งเปียกให้ยาวต่อเนื่องกัน เป็นความยาวประมาณ
๑๔ เมตร ในสมัยนั้น การติดต่อสื่อสารด้วยหนังสือ การบันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง
ๆ การประกาศทางราชการ การบันทึกทางวิชาการ ทางศาสนา ทางศาล ทางสถาปัตยกรรม
แผนผัง คำพยากรณ์ และการติดต่อทางการทูต ก็ใช้กระดาษปาปิรัส ทั้งสิ้น
บรรดาม้วนกระดาษปาปิรัสที่ค้นพบแล้วนั้น ปรากฎว่าอักขระที่บันทึกนั้น เป็นอักขระโบราณสมัยต่าง
ๆ ของอิยิปต์ก็มี เป็นอักขระโบราณในภาษากรีก ละติน อาระบิก ฮิบรู และซีเรีย
ก็มี
ความนิยมใช้กระดาษปาปิรัสได้เริ่มเสื่อมลง ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการผลิตกระดาษจากวัสดุอื่นได้
มีหลักฐานว่า ชาวอิยิปต์ได้เริ่มผลิตกระดาษ ซึ่งทำจากฝ้ายได้ เมื่อประมาณปี
พ.ศ.๑๑๔๔
หน้า
๑๑๗๕๔
๓๕๑๐. ป่าโมก
อำเภอ ขึ้น จ.อ่างทอง ภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การทำนา มีป่าละเมาะบ้าง
ป่าโมก เป็นตำบลที่พม่าเคยเดินทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา และเคยเป็นสนามรบระหว่างกองทัพของสมเด็จพระนเรศวร
ฯ กับทัพหน้าของพม่า เมื่อปี พ.ศ.๒๑๒๘
อำเภอนี้ มีปูชนียวัตถุสำคัญคือ พระพุทธไสยาสน์ อยู่ที่วัดป่าโมก ยาวประมาณ
๒๒ เมตร วัดป่าโมก ก่อนสถาปนาเรียก วัดตลาด
หน้า ๑๑๗๕๗
๓๕๑๑. ปาย ๑
อำเภอ ขึ้น จ.แม่ฮ่องสอน มีอาณาเขตทิศเหนือจดประเทศพม่า ภูมิประเทศเป็นป่า
ภูเขา และลำห้วยคละกัน
อ.ปาย ชาวบ้านเรียก อ.เมืองปาย เพราะแต่เดิมเป็นเมือง ที่เรียกว่า เมืองปาย
เพราะตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปาย
หน้า ๑๑๗๕๘
๓๕๑๒. ปาย ๒ - แม่น้ำ
เกิดจากลำห้วยหลายสาย ซึ่งมียอดน้ำอยู่บริเวณทิวเขาถนนธงชัย ร่วมกับทิวเขาแดนลาวในเขต
อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน ไหลลงทางใต้ผ่าน อ.ปาย แล้ววกไปทางทิศตะวันตก เข้าเขต
อ.เมืองแม่ฮ่องสอน วกลงทางทิศใต้ แล้วไปทางทิศตะวันตก ผ่านแนวพรมแดนประเทศไทยกับประเทศพม่า
ตรงช่องทางที่ชื่อว่า ช่องน้ำเพียงดิน
ในเขต อ.เมืองแม่ฮ่องสอน แล้วไหลเข้าเขตประเทศพม่า ไปลงแม่น้ำคง (สาละวิน)
ยาว ๑๙๐ กม. (อยู่ในเขตประเทศไทย ๑๕๐ กม.)
หน้า ๑๑๗๕๙
๓๕๑๓. ปายาส - ข้าว
มีบทนิยามว่า "ข้าวชนิดหนึ่งที่หุงเจือด้วยน้ำนม และน้ำตาล ,ข้าวเปียกเจือนม"
ข้าวปายาสนี้ บางทีก็เรียกว่า ข้าวมธุปายาส
ประเทศไทยมีประเพณีกวนข้าวปายาส และทำยาคูกันในกลางเดือนสิบ ตั้งแต่สมัยสุโขทัย
ในสมัยรัตนโกสินทร์ไม่เรียกว่า กวนข้าวปายาส เรียกว่า กวนข้าวทิพย์
หน้า ๑๑๗๕๙
๓๕๑๔. ปาราชิก
เป็นชื่ออาบัติ หมวดหนึ่งในพระวินัยของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงตั้งเป็นพระพุทธบัญญัติเป็นสิกขาบทไว้
เพื่อป้องกันความประพฤติเสียหาย และวางโทษแก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด ด้วยปรับอาบัติหนักตามสิกขาบทนั้น
ๆ เมื่อภิกษุละเมิดคือ ต้องเข้าแล้ว ต้องขาดจากความเป็นภิกษุ บวชอีกไม่ได้
มีอยู่สี่ข้อ หรือสี่สิกขาบทคือ เสพเมถุน ลักทรัพย์ ฆ่ามนุษย์ และอวดอุตริมนุสธรรม
อาบัติปาราชิกนี้ ภิกษุผู้ต้องอาบัติคือ ล่วงละเมิดแล้ว นอกจากขาดจากความเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนาแล้ว
ยังห้ามมรรคผล ห้ามสวรรค์ ห้ามนิพพานด้วย นอกจากนี้ เมื่อมารับบรรพชาอุปสมบทอีก
โดยปิดบังอำพราง หรือไม่ละการแต่งกายอย่างบรรพชิต ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน
ในสมัยก่อนถือเป็นโทษถึงประหารชีวิต แล้วให้ริบราช บาตร ขับเฆี่ยน ตีโบยญาติโยมอย่างหนัก
เพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างสืบไป หรือไม่เมื่อกลับมาเป็นฆราวาส ยังสักหมายโทษ
และนัยว่าให้เป็นตะพุ่นคือ คนที่ถูกเกณฑ์ให้เกี่ยวหญ้าเลี้ยงช้าง เรียกว่า
ตะพุ่นหญ้าช้าง
หน้า ๑๑๗๖๖
๓๕๑๕. ปาริชาติ
เป็นพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่ง กล่าวถึงในวรรณคดีหลายเล่มว่า เป็นพันธุ์ไม้ในสวรรค์
ผู้ใดได้กลิ่นหอมของดอกไม้ชนิดนี้แล้ว จะสามารถระลึกชาติได้ ในไตรภูมิพระร่วงตอนหนึ่ง
บรรยายว่า ต้นปาริชาติคือ ต้นทองหลางขนาดใหญ่ ซึ่งนาน ๆ จะออกดอกสักครั้งหนึ่ง
และเมื่อออกดอกจะออกสะพรั่ง พร้อมกันทั้งต้นสีของดอกสดใสเจิดจ้า เห็นได้ในระยะไกลเช่นเดียวกับกลิ่นหอมของดอก
หน้า ๑๑๗๗๑
๓๕๑๖. ปาล์ม
เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว วงศ์ปาล์มเป็นวงศ์ใหญ่ และเป็นพันธุ์ไม้ที่ให้ประโยชน์แก่มนุษย์อย่างมาก
คำว่า ปาล์ม ไม่ใช่ภาษาไทย พันธุ์ไม้อื่น ๆ ที่รู้จักกัน นอกจากมีคำว่า ปาล์ม
แล้วมักจะมีชื่อว่า หมาก
และต่อท้ายด้วยลักษณะอื่น ๆ เช่น หมากเขียว หมากเหลือง หมากสามเหลี่ยม หรืออาจจะเรียกเป็น
ตาล บ้าง เช่น ตาลโตนด ตาลแสด นอกจากนั้น ยังรวมถึงพืชที่เป็นประโยชน์อื่น
ๆ ที่อยู่ในวงศ์นี้ เช่น มะพร้าว หวาย ระกำ ลาน สาคู ชิด เป็นต้น
ลักษณะโดยทั่วไป ปาล์ม เป็นต้นไม้ที่ลำต้นสูง ไม่มีกิ่งก้าน บางชนิดมีลำต้นใต้ดิน
หรือมีลำต้นเลื้อยเป็นเถา บางชนิดอาจแตกกอใบมีทั้งใบเดี่ยว และใบประกอบ ส่วนใหญ่เป็นใบประกอบซึ่งแยกได้เป็นสองลักษณะคือ
รูปพัด เช่น ใบตาน ใบตาล หรือใบรูปขนนก เช่น ใบหมาก ใบมะพร้าว ลักษณะดอกมีทั้งที่สมบูรณ์เพศ
หรือแยกเพศ ดอกประกอบด้วยกลีบนอกสามกลีบ กลีบในสามกลีบผลมีเมล็ดเดี่ยว มีหลายลักษณะ
ตาลทะเลมีผลใหญ่ที่สุด มีน้ำหนักถึง ๑๕ - ๒๐ กก.
การขยายปาล์ม ใช้วิธีเพาะเมล็ด และแยกหน่อจากต้นเดิม
หน้า ๑๑๗๗๒
๓๕๑๗. ปาลิไลยก์
เป็นชื่อป่าชัฎแห่งหนึ่ง ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จหลีกไปประทับอยู่ลำพังพระองค์เดียว
มีพญาช้างปาลิไลยก์ รักษาจึงได้ชื่อว่า ป่า "รักขิตวัน"
มีเรื่องเล่าว่า
ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม ในเมืองโกสัมพี ทรงปรารภถึงภิกษุมากรูปด้วยกัน
เป็นผู้ว่ายากวิวาทกัน ไม่อยู่ในพระพุทธโอวาท ประพฤติตามใจตัวด้วยอำนาจทิฐิมานะ
แต่ภิกษุพวกนั้นก็ไม่เอื้อเฟื้อ ยังวิวาทกัน พระพุทธองค์จึงเสด็จไปอยู่ลำพังพระองค์เดียว
ในราวไพรรักขิตวัน
สมัยนั้น มีพญาช้างเผือกตัวหนึ่งชื่อ ปาลิไลยก์ เกิดเบื่อหน่ายบริวารทั้งหลาย
อยากจะอยู่โดดเดี่ยวตามลำพัง ครั้นเดินเที่ยวมาในชัฏป่าใหญ่ ถึงที่ประทับของพระพุทธเจ้า
มีความเลื่อมใสจึงเดินเข้ามาใกล้ หมอบถวายบังคมพร้อมกับมอบกายถวายชีวิต รับเป็นภาระอยู่อุปัฏฐาก
วันหนึ่ง พญาลิงตัวหนึ่ง เห็นพญาช้างปฎิบัติพระพุทธเจ้าก็พอใจ เกิดมีกุศลจิตคิดจะเข้าไปปฎิบัติพระพุทธเจ้าบ้าง
จึงนำรวงผึ้งไปถวายพระพุทธเจ้า ครั้นเห็นพระพุทธเจ้าเสวยน้ำผึ้งที่ตนถวายก็ดีใจ
แสดงความยินดีจนตกจากต้นไม้ ถึงแก่ความตายได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ด้วยจิตที่เลื่อมใสนั้น
ครั้นออกพรรษาแล้ว บรรดาตระกูลเศรษฐีคฤหบดี ในนครสาวัตถี มี อนาถบิณฑิกเศรษฐี
และมหาอุบาสิกาวิสาขา เป็นต้น ได้ส่งข่าวมาถวายพระอานนท์ พุทธอุปัฏฐาก ขอให้กราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดา
ให้เสด็จไปนครสาวัตถี บรรดาพระภิกษุตามชนบทต่าง ๆ ก็พากันไปหาพระอานนท์ ขอเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อฟังธรรม
เมื่อได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้ามีความว่า
ถ้าบุคคลใดได้สหายที่มีความรู้ รักษาตัวได้ มีปัญญารักจะอยู่ร่วมกับคนดี เป็นเพื่อนร่วมทางเขาก็ควรจะยินดี
มีสติย่ำยีอันตรายรอบ ๆ ข้างทั้งปวงเสียแล้ว เที่ยวไปกับสหายผู้นั้น ถ้าหากไม่ได้สหายเช่นนั้น
ก็ควรทำตนดังพระราชา ที่ทรงละแว่นแคว้นเสด็จเที่ยวไปแต่ลำพังองค์เดียว...
การเที่ยวไปคนเดียวดีกว่า เพราะคนพาลเป็นสหายไม่ได้ และไม่ควรกระทำบาป ควรจะเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย
เมื่อจบพระธรรมเทศนา พระภิกษุเหล่านั้นก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จถึงเขตแดนหมู่บ้าน พระพุทธเจ้าได้ทรงบอกให้ช้างปาลิไลยก์ว่า
ตั้งแต่ตรงนี้ไปไม่ใช่ดินแดนของช้างปาลิไลยก์ เป็นที่อยู่ของมนุษย์มีอันตราย
ช้างปาลิไลยก์เสียใจ พอพระพุทธเจ้าเสด็จลับสายตาไป ช้างปาลิไลยก์ก็หัวใจวายล้มลงตาย
ณ ที่นั้น ด้วยกุศลแห่งความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ก็ได้บังเกิดเป็นเทพบุตร
ในสวรรค์มีนามว่า ปาลิไลยกเทพบุตร
อาศัยพระพุทธจริยาดังกล่าวนี้ จึงนิยมสร้างพระพุทธรูปปางหนึ่งขึ้นเรียกว่า
พระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ หรือปางป่าเลไลยก์ พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในท่าอิริยาบทนั่งบนก้อนศิลา
ห้อยพระบาททั้งสอง พระหัตถ์ซ้ายคว่ำวางบนพระชานุ (เข่า) ซ้าย พระหัตถ์ขวาหงายวางบนพระชานุขวา
หน้า ๑๑๗๗๓
๓๕๑๘. ปาเลมบัง
เป็นเมืองหลวงของมณฑลสุมาตีรา เซลาตัน (สุมาตราใต้) ในภาคใต้ของเกาะสุมาตรา
ประเทศอินโดนิเซีย เป็นเมืองใหญ่ที่สุดของสุมาตรา ในพุทธศตวรรษที่ ๑๑ ปาเลมบังเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรศรีวิชัย
ซึ่งพลเมืองนับถือศาสนาฮินดู หลังจากนั้น ก็เป็นเมืองสำคัญของแคว้นปาเลมบัง
มีสุลต่านเป็นประมุข เมื่อปี พ.ศ.๒๑๖๐ บริษัท อิสต์อินเดีย มาตั้งสถานีการค้าที่นี่
และในปี พ.ศ.๒๒๐๒ ได้สร้างป้อมขึ้นด้วย อังกฤษเคยเข้ายึดครองปาเลมบัง อยู่สองระยะคือ
ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๕๔ - ๒๓๕๗ กับ พ.ศ.๒๓๖๑ - ๒๓๖๔
ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๐๘ ฮอลันดา ได้ล้มเลิกระบบปกครองแบบมีสุลต่านเป็นประมุข ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง
ญี่ปุ่นเข้ายึดครองสุมาตราใต้ ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๙๑ - ๒๔๙๓ ปาเลมบัง เป็นเมืองหลวงของมณฑลสุมาตราใต้
ถึงปี พ.ศ.๒๔๙๓ มณฑลสุมาตราใต้ ถูกรวมเข้ากับประเทศอินโดนิเซีย
หน้า ๑๑๗๘๐
๓๕๑๙. ปาว - ลำน้ำ
รับน้ำจากหนองหาน กุมภวาปี ซึ่งเป็นที่รวมของน้ำจากห้วยไพจาน ห้วยสามพาด ห้วยน้ำฆ้อง
และห้วยกองสี ใน อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี ไหลลงทางทิศใต้ เข้าหนองหมัด แล้วไหลลงทางทิศตะวันออกเฉียงใต้
ยาว ๒๒๒ กม.
หน้า ๑๑๗๘๑
๓๕๒๐. ปาวา
เป็นนครหลวงของแคว้นมัลละ ในอินเดียสมัยพุทธกาล เป็นเมืองศูนย์กลางของพวกนิครนถ์
นิครนถ์ นาฏบุตร ผู้เป็นศาสดาของลัทธินิครนถ์ ได้ดับขันธ์ ณ เมืองปาวา นี้
เมืองปาวา เป็นที่ตั้งของสวนมะม่วงของนายจุนทะ ที่พระพุทธเจ้าประทับ ก่อนเสด็จไปเมืองกุสินารา
หน้า ๑๑๗๘๑
๓๕๒๑. ปาสเตอร์, หลุยส์
เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ซึ่งได้รับความนิยมยกย่องเป็นอย่างสูงไปทั่วโลก
ในผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านจุลชีววิทยา และถือว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรก
ที่เริ่มต้นบุกเบิกทางวิทยาศาสตร์สาขานี้
ปาสเตอร์เกิด เมื่อปี พ.ศ.๒๓๖๕ จบการศึกษาขั้นปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์ เมื่อปี
พ.ศ.๒๓๘๓ แล้วทำหน้าที่เป็นครูในวิทยาลัยเมืองเบอซองซง ที่จบมา และสำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาดุษฎีบัณฑิต
ทางวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยซอร์บอน เมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๐ ได้ดำรงตำแหน่งเป็นศาตราจารย์ทางเคมี
ในมหาวิทยาลัยสตราบูร์ก จนถึงปี พ.ศ.๒๓๙๗ และได้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการในสถาบันต่าง
ๆ อีกหลายตำแหน่ง ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการคนแรก ของสถาบันปาสเตอร์ เมื่อปี
พ.ศ.๒๔๓๑
ผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของปาสเตอร์มีอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะคือ ผลงานด้านจุลวิทยาซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมาก
ต่ออุตสาหกรรม และมวลมนุษย์
ในปี พ.ศ.๒๔๒๐ ปาสเตอร์ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับโรคแอนแทรกซ์ ซึ่งเป็นโรคระบาดร้ายแรงในสัตว์
ผลสำเร็จในการวิจัยในเรื่องนี้ เป็นการเปิดศักราชของวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน
นับแต่นั้นก็ได้มีการนำวิธีการนี้ มาใช้กันอย่างแพร่หลายตราบเท่าทุกวันนี้
เพื่อวัคซีนสำหรับฉีดให้เกิดภูมิคุ้มกันแก่คนและสัตว์ เพื่อป้องกันการติดโรค
การปลูกฝี เพื่อป้องก้นการติดโรคฝีดาษ ก็อาศัยวิธีการเดียวกันนี้
ในปี พ.ศ.๒๔๒๕ ปาสเตอร์ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า หรือโรคกลัวน้ำ
สามารถนำเชื้อโรคชนิดนี้มาทำเป็นวัคซีนใช้ฉีดสุนัข เป็นการป้องกันโรคชนิดนี้ได้
และฉีดให้กับคนที่ถูกสุนัขกัดได้ ผลสำเร็จในการค้นพบเกี่ยวกับการป้องกันการติดโรคพิษสุนัขบ้า
ทำให้ชื่อเสียงของปาสเตอร์แพร่หลายไปทั่วโลก
หน้า ๑๑๗๘๓
๓๕๒๒. ป่าสัก - แม่น้ำ
ยอดน้ำเกิดจากเขา (ภู) ขวาง ใน อ.ด่านซ้าย จ.เลย แล้วไหลลงทางทิศใต้ เข้าเขต
จ.เพชรบูรณ์ จ.ลพบุรี จ.สระบุรี จ.พระนครศรีอยุธยา ไปบรรจบแม่น้ำเจ้าพระยาที่ป้อมเพชร
อ.พระนครศรีอยุธยา ยาว ๕๗๐ กม.
หน้า ๑๑๗๙๐
๓๕๒๓. ปาหัง
เป็นรัฐที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ที่มุมด้านตะวันออกเฉียงใต้ของคาบสมุทรมลายู
หรือมาเลเซียตะวันตก พื้นที่ตอนในเป็นภูเขาสูงประมาณ ๒,๑๕๐ เมตร ทำให้มีความทุรกันดาร
แนวพรมแดนด้านตะวันตกของรัฐปาหังคือ แนวสันเขาของเทือกเขาตะวันตกในคาบสมุทรมลายู
มีแม่น้ำปาหัง ซึ่งยาวประมาณ ๔๕๐ กม. และแม่น้ำสาขา ใช้เดินเรือขนาดเล็กได้
ส่วนใหญ่ของรัฐปาหัง ปกคลุมไปด้วยป่าทึบ ที่บริเวณชายฝั่งมีประชาชนตั้งหลักแหล่งอยู่หนาแน่น
ประชาชนประกอบอาชีพการประมง ทำสวนยางพารา ทำเหมืองดีบุก
สังคมในรัฐปาหัง เป็นพหุสังคม พลเมืองส่วนใหญ่กว่าร้อยละ ๕๕ เป็นชาวมลายู
นับถือศาสนาอิสลาม ทำนาเป็นอาชีพ และทำการประมง ชาวจีนมีอยู่ประมาณร้อยละ
๓๕ จะอยู่ในตัวเมืองเป็นพ่อค้า นายเหมือง เจ้าของสวนยาง และพืชเศรษฐกิจอื่น
ๆ พลเมืองที่เหลือเป็นพวกทมิฬ ซึ่งเป็นคนงานในสวยยาง กับมีพวกพื้นเมืองคือ
พวกซาไก
หน้า ๑๑๗๙๑
๓๕๒๔. ปิกโคโล
เป็นเครื่องดนตรีประเภทขลุ่ย แต่เป็นขลุ่ยผิวขนาดเล็กมาก ยาวประมาณ ๓๒ ซม.
เท่านั้น ผิดกับขลุ่ยผิวธรรมดา ที่เรียกว่า ออร์เคสทรัลฟลุต ซึ่งยาวประมาณ
๖๗ ซม.
ขณะนี้เครื่องดนตรีประเภทขลุ่ยที่ใช้อยู่ในวงดุริยางค์ ก็มีแต่ปิกโคโล ได้ชื่อว่าเป็นเครื่องดนตรีที่มีเสียงแหลมที่สุด
ในวงดุริยางค์ ขลุ่ยประเภทเป่านอน มีเสียงแหลมอยู่แล้ว แต่ปิกโคโล กลับมีระดับเสียงสูงขึ้นไปกว่านั้นอีก
หนึ่งคู่แปด
กล่าวกันว่า ขลุ่ยเป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดของโลกอย่างหนึ่ง ขลุ่ยสมัยดั้งเดิมใช้เป่าทางตั้ง
ไม่ได้ใช้เป่าทางนอน เหมือนขลุ่ยสมัยนี้
โน๊ต สำหรับขลุ่ยปิกโคโลนั้น เขียนอยู่ในระดับเดียวกันกับของออร์เคสตราฟลุตคือ
อยู่ในคู่แปดเดียวกัน แต่เวลาเล่นจริงเสียงของปิกโคโล จะดังสูงขึ้นไปอีกเท่าตัว
ขลุ่ยทั้งสองชนิดนี้ แต่เดิมทำด้วยไม้ แต่ปัจจุบันทำด้วยโลหะแทน
หน้า ๑๑๗๙๒
๓๕๒๕. ปิง - แม่น้ำ
ยอดน้ำเกิดจากเขาไม่มีชื่อ สูง ๑,๘๒๔ เมตร เหนือเขา (ดอย) ถ้วย ประมาณ ๘ กม.
ใน อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ไหลลงทางทิศใต้ ผ่าน อ.เชียงดาว อ.แม่แตง อ.แม่ริม
อ.เมือง ฯ อ.หางดง อ.สารภี อ.สันป่าตอง แล้วไหลผ่าน จ.ลำพูน ผ่าน อ.เมือง
และ อ.ป่าซาง จากนั้น ไหลเข้าเขต จ.เชียงใหม่ ในเขต อ.จอมทอง อ.ฮอด เข้าอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล
แล้วเข้า อ.ดอยเต่า เข้าสู่ จ.ตาก ที่ อ.สามเงา เข้าสู่ จ.ลำพูน ที่ อ.ลี้
เข้าสู่ จ.ตาก ที่ อ.สามเงา เป็นที่ตั้งเขื่อนภูมิพล ผ่าน จ.กำแพงเพชร จ.นครสวรรค์
มาบรรจบกับแม่น้ำน่าน ระหว่าง ต.ปากน้ำโพ กับ ต.แควใหญ่ ยาว ๗๑๕ กม. จากนั้นเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา
หน้า ๑๑๗๙๕
|
|