ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > ประเทศเพื่อนบ้านของไทย

กัมพูชา จีน ญี่ปุ่น พม่า ฟิลิปปินส์   มาเลเซีย ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ อินเดีย อินโดนีเซีย


 



การเมืองและการปกครอง
            แต่เดิมฟิลิปปินส์มีการปกครองระบอบประธานาธิบดี ต่อมาได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยกำหนดให้ฟิลิปปินส์เป็นสาธารณรัฐ มีระบบการปกครองแบบรัฐสภา ประธานาธิบดีซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากสมาชิกรัฐสภา ทำหน้าที่เป็นประมุขของประเทศ และต้องไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใด ๆ ในขณะดำรงตำแหน่ง ทั้งนี้เป็นไปตามบทบัญญัติ ในรัฐธรรมนูญฉบับแรกของฟิลิปปินส์ที่ร่างขึ้น เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๗ และประกาศใช้ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๘
            ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๑๕ ประธานาธิบดีเฟอร์ดินาล มาร์กอส ได้ประกาศกฎอัยการศึกตามอำนาจในรัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ.๒๔๗๘ แล้วร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมาแทนฉบับเดิม รัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีเพียง ๑๗ มาตรา ประกาศใช้ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๖  กำหนดให้ฟิลิปปินส์ มีการปกครองแบบรัฐสภา โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล
            รัฐธรรมนูญฉบับเดิม และโครงสร้างของการปกครองฟิลิปปินส์มีอุปสรรคขัดขวางความเจริญอย่างหนึ่งคือบรรดาเจ้าของที่ดินที่ร่ำรวย เข้ามามีอิทธิพลในสภาของฟิลิปปินส์ คนกลุ่มนี้จะสนใจเฉพาะผลประโยชน์ และความมีอภิสิทธิ์ของพวกตนเท่านั้น
            เพื่อแก้ไขปัญหาของประเทศ ที่ประกอบด้วยเกาะเป็นจำนวนมาก และอยู่อย่างกระจัดกระจาย การปกครองจึงจำเป็นต้องมาจากส่วนกลางมากกว่า จะเป็นการปกครองแบบสหพันธ์ เช่น สหรัฐอเมริกา
            โครงสร้างของรัฐบาล  ฟิลิปปินส์เป็นดินแดนที่ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย และจีนน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในเอเซียอาคเนย์  ฟิลิปปินส์ไม่มีสิ่งก่อสร้างเก่า ๆ ในยุคเดิม ศาสนาพุทธ และศาสนาอิสลาม ที่แพร่เข้ามาในเอเซียอาคเนย์ในครั้งแรก ไม่ได้ฝังรากมั่นคงในดินแดนแห่งนี้ จะมีมากก็เฉพาะศาสนาอิสลาม ที่แพร่เข้าไปบริเวณเกาะซูลู และเกาะมินดาเนา พอดีสเปนได้เข้ามาถึงดินแดนนี้ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๖๔
            สเปนได้สร้างกรุงมะนิลาขึ้น ดังนั้นจึงเป็นเมืองแบบสเปน มะนิลาได้ชื่อว่า เป็นเมืองเก่าของพวกยุโรปในบริเวณตะวันออกไกล
            สเปนมีอำนาจบังคับบัญชาดินแดน ที่มีประชากรอยู่เป็นจำนวนมากในฟิลิปปินส์ได้ จะเว้นก็แต่พวกมุสลิมที่อยู่ทางใต้ แถบเกาะมินดาเนา และเกาะซูลู   อำนาจการบังคับบัญชา ขึ้นอยู่กับอุปราชของสเปนที่เม็กซิโก ในช่วงระยะเวลาที่สเปนเข้ามาเป็นผู้ปกครอง ศาสนาคริสต์ได้กลายเป็นศาสนาที่มีอิทธิพลเหนือคนพื้นเมือง
            ขณะที่อยู่ภายใต้การปกครองของสเปนในระยะแรก ชาวฟิลิปปินส์ไม่มีปฏิกิริยาต่อต้านอำนาจสเปนมากนัก ต่อมาเมื่อสเปนมีข้อพิพาทกับสหรัฐอเมริกา กองทัพเรือสหรัฐ ฯ มีชัยชนะสเปนที่อ่าวมนิลาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๑  อำนาจการปกครองของสเปนเหนือดินแดนฟิลิปปินส์มาเป็นเวลา ๓๗๗ ปี ก็เปลี่ยนมือไป ได้มีการประกาศตั้งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๒
            ปัญหาคอมมิวนิสต์ในประเทศ  ในปี พ.ศ.๒๔๙๑ ประธานาธิบดีโรซาสได้ออกกฎหมายนิรโทษผู้สมรู้ร่วมคิดกับญี่ปุ่น ปัญหาด้านนี้ก็หมดไป ยังมีแต่การก่อความไม่สงบของพวกชาวนา และเกษตรกร พวกนี้ได้ร่วมกันเข้าไปอยู่ในขบวนการคอมมิวนิสต์ หรือพวกฮุกบาลาฮับ (Hukbalahups) หรือกองทัพปลดปล่อยประชาชน ที่ต่อต้านญี่ปุ่น ถือว่าพวกนี้เป็นพวกนอกกฎหมาย ได้มีการระดมกำลังเข้าปราบปราม เริ่มใช้โครงการปฏิรูปที่ดิน และการปฏิวัติอุตสาหกรรมใหม่ ตั้งธนาคารกลางขึ้นรวมทั้งบริษัท ให้กู้เงินเพื่อฟื้นฟูประชาชน
            มีการออกกฎหมายให้พรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองนอกกฎหมาย เพื่อป้องกันการแทรกซึมของพวกคอมมิวนิสต์
            นโยบายต่างประเทศ  ก่อนปี พ.ศ.๒๕๑๑ สหรัฐอเมริกามีบทบาททั้งการทหาร และเศรษฐกิจในฟิลิปปินส์มากที่สุด
ส่วนญี่ปุ่นมีบทบาทเฉพาะทางเศรษฐกิจเท่านั้น และในระยะเวลาดังกล่าว ฟิลิปปินส์มีนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ จึงไม่ได้มีการสร้างความสัมพันธ์ กับกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์แต่อย่างใด
            หลังปี พ.ศ.๒๕๑๑ ฟิลิปปินส์เริ่มผ่อนคลายความผูกพันที่มีอยู่กับสหรัฐ ฯ ทั้งทางทหาร และทางเศรษฐกิจ ขณะเดียวกัน ได้หาทางผูกมิตร กับกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ในอินโดจีน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๘  ฟิลิปปินส์ได้แสดงท่าทีว่าต้องการพึ่งตนเองมากขึ้น
            หลังจากที่ฟิลิปปินส์ได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศจีนและสหภาพโซเวียตรัสเซียแล้ว ฟิลิปปินส์ได้พยายามดำเนินนโยบายต่างประเทศ อย่างอิสระมากขึ้น ได้เริ่มนโยบายไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด รวมทั้งได้พยายามส่งเสริม และเข้าร่วมในกิจการต่าง ๆ ของกลุ่มประเทศโลกที่สาม
            ได้มีการปรับปรุงนโยบายต่างประเทศ ที่จะส่งเสริมความมั่นคงของอาเซียนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับประเทศโลกที่สาม สนับสนุนอาหรับในการแสวงหาสันติภาพถาวร ในตะวันออกกลาง เป็นต้น
    ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
                ความสัมพันธ์กับสหรัฐ ฯ  ฟิลิปปินส์มีความผูกพันแน่นแฟ้นกับสหรัฐ ฯ มากที่สุด จนกล่าวกันว่า ฟิลิปปินส์เป็นรัฐ ๕๑ ของสหรัฐ ฯ ในขณะนั้น หลังสงครามโลกครั้งที่สอง สหรัฐ ฯ ได้ให้ความช่วยเหลือทางทหาร เศรษฐกิจและวัฒนธรรมแก่ฟิลิปปินส์เป็นอันมาก ได้มีข้อตกลง และสัญญาทางทหารระหว่างกันอยู่สามฉบับ
                หลังจากเวียดนามใต้ และกัมพูชาตกเป็นของคอมมิวนิสต์ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๘ ได้มีการกล่าวถึงปัญหาฐานทัพสหรัฐ ฯ ในฟิลิปปินส์ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๑๙ สหรัฐ ฯ และฟิลิปปินส์ได้นำข้อตกลงฉบับแรกที่ทำไว้ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๐ มาทบทวน เพื่อแก้ไขใหม่ มีการเจรจากันหลายครั้ง ในที่สุดได้บรรลุข้อตกลงในปี พ.ศ.๒๕๒๒ โดยสหรัฐ ฯ ยืนยันในอธิปไตยของฟิลิปปินส์ เหนือฐานทัพสหรัฐ ฯ ในฟิลิปปินส์ทุกแห่ง
                ความสัมพันธ์กับสหภาพโซเวียต  เป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และทำการค้าระหว่างกัน ได้มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๙ เริ่มทำการค้าระหว่างกัน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๕
                ความสัมพันธ์กับประเทศจีน  เป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และทำการค้าระหว่างกัน ได้มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต ระหว่างกัน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๘
                ความสัมพันธ์กับประเทศญี่ปุ่น  ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญของฟิลิปปินส์ เช่นเดียวกับสหรัฐ ฯ และญี่ปุ่น ลงทุนในฟิลิปปินส์เป็นอันดับสองรองจากสหรัฐ ฯ
                ความสัมพันธ์กับประเทศอินโดจีน  ได้แก่ กัมพูชา และเวียดนาม
                    ประเทศกัมพูชา  ฟิลิปปินส์ได้เปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกับกัมพูชา ในระดับเอกอัคราชทูต เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๙
                    เวียดนาม  ได้มีการเปิดความสัมพันธ์ทางการทูต ระหว่างกัน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๙
                ปัญหาหมู่เกาะสแปรตลี  ฟิลิปปินส์ไม่เห็นด้วย กับปฎิบัติการของไต้หวัน และเวียดนามใต้ ที่พยายามจะยึดครองเกาะสแปรตลี ในทะเลจีนใต้ และได้แถลงปฎิเสธ ข้อกล่าวหาของเวียดนามใต้ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๗ ที่ว่า ฟิลิปปินส์ส่งกองทหารเข้ายึดครองเกาะสองแห่ง ในหมู่เกาะสแปรตลี และย้ำว่าฟิลิปปินส์ไม่เคยอ้างสิทธิใด ๆ เหนือหมู่เกาะสแปรตลี นอกจากหมู่เกาะกาลายา ซึ่งอยู่ใกล้ ๆ กับเกาะสแปรตลี เท่านั้น
                ความสัมพันธ์กับประเทศสมาชิกอาเซียน  ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และไทย ได้ร่วมมือกันก่อตั้งสมาคมอาสา (ASA) ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๔ ต่อมาได้เชิญอินโดนิเซีย กับสิงคโปร์เข้าร่วมด้วย และจัดตั้งเป็นสมาคมใหม่ เรียกว่าสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน (Asean) เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๐ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และวิชาการระหว่างประเทศสมาชิก และต่อมาได้ขยายขอบเขตไปสู่ความร่วมมือทางการเมืองด้วย
                ฟิลิปปินส์มีปัญหาขัดแย้งกับมาเลเซียเรื่องรัฐซาบาห์ ซึ่งฟิลิปปินส์เรียกร้องสิทธิเหนือดินแดนซาบาห์ มาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๔ ก่อนที่ซาบาห์จะรวมเข้ากับสหพันธ์มาเลเซีย ต่อมาความขัดแย้งรุนแรงขึ้น โดยฟิลิปปินส์กล่าวหาว่า มาเลเซียให้การสนับสนุนกบฎมุสลิมทางภาคใต้ของฟิลิปปินส์ จนในที่สุดประเทศทั้งสองได้ตัดความสัมพันธ์กัน ในปลายปี พ.ศ.๒๕๑๑ และได้มีการฟื้นฟูความสัมพันธ์กันอีกครั้ง ในกลางปี พ.ศ.๒๕๑๓ ปัญหาข้อขัดแย้งรัฐซาบาห์ ยุติลงได้ชั่วคราวในปี พ.ศ.๒๕๒๐
                สำหรับประเทศอื่น ๆ ในสมาคมอาเซียนอีกสามประเทศคือ ไทย อินโดนิเซีย และสิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ก็มีความสัมพันธ์อันดีมาตลอด
                ในปลายปี พ.ศ.๒๕๑๘ ฟิลิปปินส์ได้เจรจากับอินโดนิเซีย เพื่อให้อินโดนิเซียไกล่เกลี่ยเกี่ยวกับปัญหากบฎมุสลิมทางภาคใต้ของฟิลิปปินส์ ต่อมาในปลายปี พ.ศ.๒๕๒๑ อินโดนิเซียและมาเลเซียได้เสนอให้ฟิลิปปินส์ เปิดการเจรจาสันติภาพกับกบฎมุสลิมต่อไป โดยที่สองประเทศยินดีจะเข้าเป็นผู้พิจารณาไกล่เกลี่ยข้อขัดแย้งด้วย
    แนวนโยบายเกี่ยวกับประเทศไทย
                ด้านการเมือง  ตามสนธิสัญญามนิลา ปี พ.ศ.๒๔๙๗ (SEATO) ฟิลิปปินส์เคยแถลง เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๒ ว่า ในแง่กฎหมายกฎบัตรของสนธิสัญญา ยัมีผลใชับังคับอยู่แต่เห็นว่าไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่จะรื้อฟื้นขึ้นมาอีก เพราะไม่เชื่อว่า ประเทศไทยจะถูกโจมตีจากภายนอก
                ปัญหากบฎมุสลิมในภาคใต้ของฟิลิปปินส์ อาจจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของไทยได้ เนื่องจากกลุ่มแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติโมโรของฟิลิปปินส์ มีขีดความสามารถในการดำเนินการต่อสู้ ที่ก้าวหน้ามากกว่า ขบวนการโจรก่อการร้าย (ขจก) ในภาคใต้ของไทย ซึ่งหากกบฎมุสลิมในภาคใต้ของฟิลิปปินส์ ดำเนินการบรรลุเป้าหมายแล้ว ย่อมเป็นทางให้ขบวนการโจรก่อการร้ายในภาคใต้ของไทย ถือเป็นแบบอย่างได้

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์