ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > อุทยานประวัติศาสตร์ของไทย

สุโขทัย
ศรีสัชนาลัย
พระนครศรีอยุธยา
พนมรุ้ง
 
กำแพงเพชร
ศรีเทพ
พิมาย
เมืองสิงห์
พระนครคีรี
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ

| หน้าแรก |

เมืองศรีเทพเพิ่งค้นพบไม่นานมานี้ คือเมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๘ เมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จไปตรวจราชการมณฑลเพชรบูรณ์
เมืองโบราณศรีเทพนี้มีลักษณะเป็นเมืองซ้อนเมืองขนาดใหญ่ ที่ตั้งของเมืองอยู่ในชุมทาง ที่สามารถติดต่อกับภาคอื่นๆ ได้สะดวก ดังนั้นจึงได้รับอิทธิพลทางศิลปวัฒนธรรมจากอาณาจักรข้างเคียง มาผสมผสาน เช่นศิลปทวาราวดี และศิลปขอม เป็นต้น
 
เมืองศรีเทพอยู่ห่างจากตัวเมืองเพชรบูรณ์ประมาณ ๑๐๗ กม. ห่างจาก อำเภอวิเชียรบุรี ประมาณ ๒๕ กม. เป็นเมืองเก่าแก่มีอายุประมาณ ๑๐๐๐ ปีมาแล้ว เป็นเมืองสมัยที่ขอมมีอำนาจ เดิมชื่อเมืองอภัยสาลี มีเนื้อที่ประมาณสองพันไร่เศษ มีกำแพงเมืองที่ก่อด้วยดินล้อมรอบ และมีคูเมืองนอกกำแพง มีประตูเมืองทั้งสี่ทิศ ภายในเมืองมีปรางค์สมัยลพบุรีอยู่สององค์ เรียกว่า ปรางค์องค์พี่และปรางค์องค์น้อง ทางทิศเหนือนอกกำแพงเมืองออกไปมีสระน้ำสองแห่ง ชื่อสระแก้วและสระขวัญ ในสมัยก่อนเมืองศรีเทพต้องส่งส่วยน้ำจากสระทั้งสองนี้ เพื่อนำไปใช้ทำน้ำพิพัฒยสัตยา เพราะถือว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์
กรมศิลปากรได้ดำเนินการ สำรวจ ขุดค้น ศึกษา และพัฒนา บรรดาโบราณสถานและโบราณวัตถุในเมืองศรีเทพตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๑ โดยในขั้นแรกได้จัดทำแผนแม่บทก่อน ขั้นต่อมา จึงได้ทำการบูรณะ และบำรุงรักษาสิ่งก่อสร้างดังกล่าวให้มั่นคงถาวร
ประติมากรรมศิลานี้ค้นพบที่เมืองศรีเทพ ได้นำมาเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนครส่วนใหญ่ของประติมากรรมดังกล่าว เป็นเทวรูปในศาสนาพราหมณ์ เช่น เทวรูปพระนารายณ์ พระกฤษณะ และพระอาทิตย์ เป็นต้น สันนิษฐานว่า มีอายุอยู่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓ ศิลาจารึกที่มีลักษณะคล้ายเสาหลักเมือง จารึกเป็นภาษาสันสกฤต ยังไม่ทราบความหมาย ตัวอักษรมีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๐-๑๑ ส่วนศิลาจารึกอีกสองหลักที่อ่านได้  หลักแรกกล่าวถึงพระเจ้าภววรมัน ตัวอักษรที่จารึกอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๒ ส่วนอีกหลักหนึ่งจารึกเป็นอักษรขอมอายุประมาณ พุทธศตวรรคที่ ๑๕-๑๖ ได้กล่าวถึงชื่อบุคคลเกี่ยวกับอิทธิพลของขอม ศิลปะขอมสมัยบายนของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (พ.ศ.๑๗๒๔-ประมาณ พ.ศ.๑๗๖๐) เช่นรูปทวารบาลศิลา
ดังได้กล่าวแล้วว่าเมืองโบราณศรีเทพเป็นเมืองสองชั้น คือมีเมืองในและเมืองนอก  เมืองในเป็นส่วนที่สำคัญของเมืองศรีเทพ เพราะประกอบไปด้วยโบราณสถานขนาดใหญ่ถึง ๗๗ แห่ง มีช่องทางเข้าออกได้ ๘ ช่องทาง และมีสระน้ำกระจายอยู่ทั่วไป รูปร่างของเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ขนาดกว้างยาวด้านละประมาณ ๑๖๐๐ เมตร  ส่วนเมืองนอกอยู่ทางทิศตะวันออก โดยมีคูน้ำกั้นอยู่มีช่องทางเข้า - ออก อยู่ ๗ ช่องทางและมีสระน้ำกระจายอยู่ทั่วไปเช่นกัน มีโบราณสถานที่พบแล้วอยู่ ๕๗ แห่ง เมืองนอกนี้มีขนาดใหญ่กว่าเมืองใน ทั้งสองเมืองนี้มีเชิงเทินที่ก่อด้วยดินและศิลาแลงล้อมรอบ สูงประมาณ ๖ เมตร ฐานกว้าง ๑๘-๒๗ เมตร และส่วนยอดกว้าง ๕-๙ เมตร นอกเชิงเทินมีคูเมืองล้อมรอบ ส่วนที่กว้างสุดประมาณ ๙๐ เมตร มีประตูทั้งหมด ๑๑ ประตู แต่ละประตูกว้างประมาณ ๑๘ เมตร
 
จากการขุดค้นทางโบราณคดี ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๑ ในชั้นดินระดับลึกสุด (ชั้นดินทราย) ได้พบโครงกระดูกมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ ๕ โครง โครงหนึ่งเป็นเพศหญิงนอนหงาย หันศรีษะไปทางทิศเหนือ มีกำไลสำริดคล้องแขนซ้ายบริเวณข้อศอก และมีเครื่องประดับทำด้วยหินสีส้มคล้องคอ รอบโครงกระดูกมีลูกปัดกระจายอยู่โดยรอบ จึงอาจกล่าวได้ว่าเมืองศรีเทพนี้เก่าแก่ ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และในยุคประวัติศาสตร์ก็มีความสำคัญมาแต่โบราณกาล อาจเป็นเมืองที่ชาวอินเดียมาตั้งขึ้นแต่เดิม เพราะอยู่บนเส้นทางผ่านจาก ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาไปยังอาณาจักรฟูนันและอาณาจักรขอม ต่อมาขอมได้เข้าครอบครองจนกระทั่งขอมหมดอำนาจลง และเมืองศรีเทพได้ถูกทอดทิ้งเป็นเมืองร้างประมาณปลายพุทธศตวรรตที่ ๑๘ 
โบราณสถานที่สำคัญ
ปรางค์สองพี่น้อง
 
           เป็นปรางค์ขนาดย่อมก่อด้วยอิฐไม่ "สอ" ปูน ตัวปรางค์หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ปรางค์องค์ใหญ่หรือปรางค์พี่ ตั้งอยู่บนฐาน ๒ ชั้น ภายในตัวปรางค์มีแท่นสำหรับตั้งศิวะลึงค์ตั้งอยู่ ส่วนปรางค์น้องนั้น ปรักหักพังเกือบหมด ปรางค์นี้สันนิษฐานว่า มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกับปรางค์ศรีเทพ คือประมาณพุทธศตวรรตที่ ๑๖-๑๗
ปรางค์ศรีเทพ
 
           อยู่ทางเหนือของเขาคลังใน ฐานก่อด้วยศิลาแลงแบบบัวลูกฟัก ๒ ชั้น ตัวปรางค์ก่อด้วยอิฐไม่สอปูน เป็นรูปสีเหลี่ยมจตุรัส มีมุขยื่นออกไปทั้งสี่ด้าน ด้านหน้าอยู่ทางทิศตะวันตก ทับหลังสลักเป็นรูปลายเกียรติมุก หรือลายหน้าสิ และเทวดา พร้อมทั้งลายท่อนพวงมาลัย สันนิษฐานว่าเป็นศิลปะของขอมแบบปาปวนตอนปลาย  ต่อกับนครวัดตอนต้น ประมาณพุทธศตวรรตที่ ๑๖-๑๗ 
เขาคลังใน 
 
              เป็นโบราณสถานทางพุทธศาสนา มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างประมาณ ๒๘ เมตร ยาวประมาณ ๔๔ เมตร สูงประมาณ ๑๒ เมตร ก่อด้วยศิลาแลง ทางขึ้นอยู่ด้านทิศตะวันออก กว้างประมาณ ๘ เมตร ยาวประมาณ ๑๘ เมตร ที่ฐานมีลายปูนปั้น ส่วนอื่น ๆ พังทะลายลงเกือบหมด การที่ได้ชื่อนี้เพราะชาวบ้านในบริเวณนี้เชื่อว่า ณ ที่แห่งนี้เป็นที่เก็บอาวุธและทรัพย์สมบัติของคนในสมัยโบราณ 
สระแก้วสระขวัญ      อยู่ทางทิศเหนือนอกกำแพงเมือง สระน้ำทั้งสองนี้มีน้ำขังอยู่เต็มเปี่ยมตลอดปี น้ำในสระถือว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์มาแต่โบราณกาล ในสมัยก่อนเมืองศรีเทพต้องส่งส่วยน้ำ จากสระทั้งสองนี้เพื่อไปทำน้ำพิพัฒน์สัตยา ปัจจุบันก็ยังใช้น้ำจากสระดังกล่าว ไปทำน้ำพิพัฒน์สัตยาอยู่
โบราณวัตถุอื่น ๆ      ได้แก่ พระธรรมจักรเมืองศรีเทพ หลักศิลาจารึก ซึ่งมีรูปร่างคล้ายตะปูหัวเห็ด จารึกอักษร คฤนเข้าใจว่าเป็นหลักเมืองศรีเทพ  แท่งศิลาจารึกสลักลวดลายอย่างเดียวกับที่เมืองพิมาย ศิวลึงค์ เทวรูป รูปยักษ์ เทพารักษ์และระฆังหิน


| หน้าแรก | บน |

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์