๖.
การดำเนินการของรัฐ
๖.๑ พ.ศ.๒๓๓๒ - ๒๓๓๓ แขกซายัด คนหนึ่ง (โต๊ะซาเหยด) อ้างตัวว่าเป็นเชื้อสาย นบีมูฮำมัด
มาจากอินเดีย อ้างว่าเป็นผู้รู้เวทมนต์วิชาไสยศาสตร์ ปรากฎตัวที่ปัตตานี
ยุยงให้พระยาปัตตานี ตั้งตนเป็นเอกราช พระยาสงขลาตามไปตีได้ปัตตานี จับพระยาปัตตานีได้ ส่งตัวไปขังที่กรุงเทพ ฯ
จนตาย
๖.๒ พ.ศ.๒๔๕๕ พระยาพิพิธภักดี (อับดุล กาเดร์) ขอเบี้ยหวัดย้อนหลัง
แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่โปรดให้เพราะเห็นว่าเป็นกบฎ
ต่อมาได้ขอครอบครองที่ดิน ๖๐๐ แปลง อ้างว่าเป็นมรดก แต่ศาลตัดสินว่า
ที่ดินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน
๖.๓ พ.ศ.๒๔๖๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงวางนโยบายการปกครองจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไว้ ๖ ประการ
๖.๔ ปี พ.ศ.๒๔๘๓ รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้นำลัทธิชาตินิยม หรืออุดมการณ์รัฐนิยมมาใช้
เพื่อก่อให้เกิดการประสมประสานทางวัฒนธรรม แต่ดูเหมือนจะไร้ผล
ในจังหวัดชายแดนภาคใต้
๖.๕ สมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม
ได้ยกเลิกการเรียนภาษามลายูในโรงเรียนชั้นประถม
ห้ามนำหนังสือจากมาเลเซีย มาสอนในโรงเรียน อพยพชาวไทยพุทธ
จากภาคอื่นเข้าไปตั้งถิ่นฐาน พยายามอบรมเยาวชนในโรงเรียนว่าเป็นคนไทย
แต่นับถือศาสนาอิสลาม
๖.๖ หลังสงครามมหาเอเซียบูรพา สงบใหม่ ๆ ระหว่าง พ.ศ.๒๔๘๘ - ๒๔๙๑
ขบวนการโจรก่อการร้ายที่แทรกซึมเข้ามในจังหวัดนราธิวาส คือ กรมที่ ๑๐
ในการนำของอับดุลราชิคไมยิดดิน
ทำการปล้นฆ่าคนไทย และคนจีน ที่ไม่ยอมร่วมมือ ประกาศปิดสวนยาง
รวบรวมชาวบ้านไทยอิสลาม ๑,๐๐๐ คน เข้ายึดบ้านดุงซอยอ ตำบลจะแนะ อำเภอระแงะ
จังหวัดนราธิวาส ไว้ได้เมื่อ ๒๘ เม.ย.๙๑ ทางการเข้ายึดคืนโดยใช้กำลังทหารบก
และทหารเรือ เข้ากวาดล้าง
๖.๗ พ.ศ.๒๔๘๙ รัฐบาลให้เสรีภาพทางศาสนา แต่งตั้งจุฬาราชมนตรี
คณะกรรมการอิสลามกลาง กระทรวงมหาดไทย ตั้งกองประสานงานพิเศษ
ในกรมการปกครอง
๖.๘ กฎหมายครอบครัว
และมรดกฝ่ายอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ออกเมื่อ ๙
พ.ค.๘๙ ไม่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางเท่าที่ควร ดาโต๊ะยุติธรรมที่กำหนดให้เลือกตั้งจังหวัดละ ๒ คน ไม่ได้รับความนิยมจาก
ประชาชนการปรึกษาคดีเกี่ยวกับครอบครัว และมรดกยังคงเป็นไปนอกสถาบันศาล
ไทยอิสลามจะแสวงหาผู้นำทางศาสนาที่มีชื่อเสียง เพื่อขอคำปรึกษา แนะนำตามรูปแบบ
และธรรมเนียมปฏิบัติแต่โบราณถึงปัจจุบัน
๖.๙ รัฐบาลนายปรีดี พนมยงค์ ได้ประกาศมาตรการหลายประการ
เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งที่จะนำไปสู่การแยกดินแดนเช่น พระราชบัญญัติอุปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม
กำหนดให้มีการจัดตั้งสถาบันขึ้นหลายระดับ
ทำหน้าที่เชื่อมประสานระหว่างประชาชฃนกับรัฐบาล เช่นตำแหน่งจุฬาราชมนตรี
สถาบันศึกษาศาสนาอิสลาม คณะกรรมการกลางอิสลาม แห่ง ประเทศไทย และประจำจังหวัดที่มี
ประชาชนนับถือศาสนาอิสลามอยู่มาก
๖.๑๐ พระราชบัญญัติอุปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม ใช้คำว่าประชาชนชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลามแทนที่จะเรียกว่า ผู้นับถือศาสนามุฮัมหมัด และไทยอิสลามอย่างแต่ก่อน
ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นไทยมุสลิม หะยีสุหลง กล่าวว่าไทยอิสลามถูกปกครองโดยสยาม คำว่าไทยอิสลาม
ซึ่งใช้เรียกอยู่เวลานั้นเป็นสิ่งเตือนใจดังกล่าว จึงขอให้รัฐบาล เรียกไทยอิสลามว่า มลายูมุสลิม เพื่อโลกภายนอกจะได้เข้าใจในความแตกต่างของไทยอิสลาม
กับชาวไทยทั่วไป
๖.๑๑ พระราชบัญญัติอุมถัมภ์ฝ่ายอิสลาม กำหนดให้ผู้นำศาสนาของไทย
อิสลามต้องขึ้นอยู่กับส่วนกลางเป็นการขัดกับความรู้สึกของคนบางกลุ่ม บางพวก
สถาบันต่าง ๆ ที่ได้รับการจัดตั้งใหม่
จึงไม่ค่อยมีประสิทธิภาพในการบริหารและประสานความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนอย่างที่หวัง ๖.๑๒
ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๙๐ - ๒๔๙๒ พรรคพวกตวนกู ปัตตารอ และตวนกู ยาลา
รวบรวมผู้คนจำนวนมากปล้มฆ่าประชาชน ณ บ้านปะลุกาสาเมาะ อำเภอบาเจาะ
ตามแผนการแบ่งแยกดินแดน ทางการต้องปราบอยู่นานถึง ปี พ.ศ.๒๔๙๒
พวกนี้จึงมอบตัว
๖.๑๓ ขบวนการโจรก่อการร้าย ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๑
โดยพรรคพวกตวนกู ปัตตาเดเซร์ และตวนกูยาลานาเซร์ จนถึงปี พ.ศ.๒๔๙๒
ทางราชการจึงได้ประกาศ ให้บรรดาสมาชิก ขบวนการโจรก่อการร้าย
เข้ามอบตัวต่อทางราชการมีผู้มอบตัว ๒๐๐ คน
๖.๑๔ หน่วยนาวิกโยธิน เข้าไปปฏิบัติการครั้งแรกที่ นราธิวาส ครั้งปราบกบฎดุซงยอ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๑ ต่อมาในปลาย
ปี พ.ศ.๒๕๑๗ ได้เข้ามาปฏิบัติการ โดยอยู่ในความควบคุมทางยุทธการของ
กองอำนวยการรักษาความสงบภาคใต้ (กอ.รสต.) ในนราธิวาส และที่อำเภอสายุบรี ปัตตานี
ซึ่งเป็นปมสำคัญที่ใช้เป็นแหล่งส้องสุม และหลบหนีไปกลันตันของ
ขจก.
๖.๑๕ พ.ศ.๒๔๙๘ - ๒๕๐๐ หะยีสุหรง
เป็นผู้มีบทบาทมากที่สุดในขบวนการแบ่งแยกดินแดน
มีการกวาดล้างผู้ร่วมงานอีกหลายคน
๖.๑๖ เกิดเหตุการเรียกร้องให้ยกเลิกการขึ้นทะเบียนมัสยิดกรือเซะ
เป็นโบราณสถาน ที่กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนไว้ เมื่อปี
พ.ศ.๒๕๐๐ มีการอภิปรายที่มัสยิดกรือเซะ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๐ - ๒๕๓๓ หลังปี
พ.ศ.๒๕๓๙ จัดถี่ขึ้นล่าสุดโจมตีรัฐบบาลถึงการตายของหะยีสุหรง
ประกาศพร้อมทำสงครามกับรัฐบาลที่กดขี่มุสลิม กล่าวจาบจ้วงหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
มีความรุนแรงในการชุมนุมทำร้ายตำรวจบาดเจ็บสาหัส
ผู้บัญชาการทหารสูงวสุดสั่งจับกุมแกนนำ ๓ คน พรรคพวก ๑๒ คน
๖.๑๗ แผนปราบปรามขบวนการโจรก่อการร้าย ที่สำคัญ นับแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๘ มี ๕ ครั้ง
จนถึงปี พ.ศ.๒๕๑๙ คือในปี พ.ศ.๒๕๐๘ , ปี พ.ศ.๒๕๑๐ -
๒๕๑๑, ปี พ.ศ.๒๕๑๑, ปีพ.ศ.๒๕๑๒ - ๒๕๑๓ , ปี พ.ศ.๒๕๑๓ -
๒๕๑๙
๖.๑๘ กระทรวงมหาดไทย ได้กำหนดหลักการปกครองสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้
สำหรับข้าราชการในพื้นที่มี ๖ ประการ และในปี พ.ศ.๒๕๐๙
ได้กำหนดนโยบายไว้เป็นสองลักษณะคือ นโยาบายเฉพาะเรื่อง กับนโยบายทั่วไป
ออกมาตามลำดับ ในปี พ.ศ.๒๕๐๙, ๒๕๑๒, ๒๕๑๗, ๒๕๑๘, ๒๕๒๐ และ ๒๕๒๑ นโยบายทั่วไป
กำหนดครั้งแรกเมื่อ ๒๔ ม.ค.๒๑ เป็นนโยบายความมั่นคงของชาติเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต่อมา เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๑ มีการทบทวนนโยบาย ปี พ.ศ.๒๕๒๑
คือ
- สถานการณ์ในอดีต มีพื้นฐานจากความแตกต่างทางศาสนา ขนบประเพณี
และวัฒนธรรม มีฐานเศรษฐกิจที่แคบ มีขบวนการโจรก่อการร้าย หลายกลุ่ม
มีการแทรกแซงจากภายนอก โดยเฉพาะประเทศมุสลิมหัวรุนแรง
- สถานการณ์ปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคต มีปัญหา ๒ ประการคือ ความไม่สงบ และความไม่เข้าใจการแก้ปัญหาที่ผ่านมา ไม่แยกมิตรแยกศัตรู มีสถานการณ์เพิ่มเติมคือ การส่งออกปฏิวัติอิสลาม
ของอิหร่าน ขบวนการโจรก่อการร้าย มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น
หลังจากที่สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปในทางดีขึ้นมากว่า ๕ ปี
- นโยบายที่กำหนด มี ๒ ประการคือ
สร้างความเข้าใจและให้เกิดความสงบสันติ นโยบายมี ๘ ประการ ให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)
ประสานนโยบายระหว่างส่วนกลางกับพื้นที่ สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ (สศช.)
รับผิดชอบวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
๖.๑๙ หลังปี พ.ศ.๒๕๑๐ - ๒๕๑๒ เหตุการณ์แรุนแรงมากขึ้น
จนรัฐบาลต้องใชัมาตรการเด็ดขาด บางพื้นที่ต้องประกาศปิดกั้นบางจุด ได้แก่
พื้นที่เทือกเขาบูโด อำเภอบาเจาะ
อำเภอยี่งอ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส อำเภอสายบุรี อำเภอบายอ
จังหวัดปัตตานี อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นฐานปฎิบัติการของ เปาะเยะ
มีพรรคพวกมาก
๖.๒๐ เปาะสูวาแมติชา
อดีตครูใหญ่โรงเรียนจารึงตาคง ตำบลท่าธง อำเภอรามัญ จังหวัดยะลา ถูกจับ เมื่อปี
พ.ศ.๒๕๑๐ ในข้อหาแยกดินแดน
แต่ศาลปล่อยตัวเพราะหลักฐานอ่อน ๑๐ ก.ย.๒๕๑๕ เปาะสู วางแผนเข้าโจมตี
สภ.อ.รามันห์ ร่วมกับกำนัน วานิ สามะ ใช้กำลัง ๔๐ คน
๖.๒๑ พ.ศ.๒๕๑๑ การปราบปรามได้ผลดีทำให้กลุ่มโจรซบเซาลงไปมาก
ครั้นทางราชการระงับการปราบปราม ไปชั่วระยะหนึ่ง
กลุ่มโจรกลับพื้นที่คืนชีพ
๖.๒๒ พ.ศ.๒๕๑๒ ใช้แผนรามคำแหง มีการจัดตั้ง
กองอำนวยการปราบปรามพิเศษเขต ๙ ขึ้น
โดยมีผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้อำนวยการ ใช้กำลังตำรวจภูธร
และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองร่วมกันได้ผลดีมาก จับกุมคนร้ายได้ ๗๒๘ คน มอบตัว ๔๕ คน
ยึดปืนได้ ๑๐๐ กระบอก ขบวนการโจรก่อการร้าย ตาย ๕๘ คน
ทำให้สถานการณ์ดีขึ้นมาก
๖.๒๓ ๑๐ พ.ย.๑๓ มท.มีคำสั่งแต่งตั้ง กองอำนวยการปราบปรามพิเศษเขต ๙ (กอ.ปพร.เขต ๙)
ตามแผนป้องกันและปราบปรามผู้ร้ายพิเศษ โดยมีแนวคิดให้ฝ่ายปกครอง ผนึกกำลังร่วมกับฝ่ายตำรวจ โดยใกล้ชิดในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งอยู่ที่นราธิวาส ผลการปราบปราม ตั้งแต่
พ.ย.๑๓ - ม.ค.๑๕ มีการปะทะ ๘๗ ครั้ง ขบวนการโจรก่อการร้าย ตาย ๘๖ คน มอบตัว ๙๗ คน
จับได้ ๑,๒๖๕ คน ยึดปืนได้ ๒๑๓ กระบอก
๖.๒๔ กระทรวงมหาดไทยทำโครงการส่งนักศึกษาไทยอิสลาม
จังหวัดชายแดนภาคใต้ มาเรียนต่อในมหาวิทยาลัย
และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕ ๑๔ เข้าเรียนในระดับพาณิชยการ
สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ โดยไม่ต้องสอบคัดเลือก
๖.๒๕ ปี พ.ศ.๒๕๑๔ ทางการได้เอกสารการจัดตั้งกองทัพปลดปล่อยชื่อ หน่วยกู้อิสระภาพแห่งชาติธารณรัฐปัตตานี
มีภารกิจบ่อนทำลายเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยการปิดสวนยาง การทำนาไร่ ร้านค้า
โรงงานอุตสาหกรรม
๖.๒๖ ข้าราชการระดับบริหารไม่มีนโยบายการปราบปรามที่แน่นอนต่อเนื่อง เมื่อเริ่มปราบปรามครั้งแรกในสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร
ได้ทำการปราบปรามโจรก่อการร้าย ทำเยี่ยงผู้ร้ายธรรมดา
พอเห็นส่อว่าเป็นโจร การเมืองก็หมดสมัยเสียก่อน
๖.๒๗ โจรก่อการร้าย เดิมเรียก ขบวนการแบ่งแยกดินแดน
(ขบด.) เปลี่ยนเป็น ขบวนการโจรก่อการร้าย (ขจก.)
เมื่อ ๒๗ ม.ค.๑๕ เปลี่ยนเป็น โจรก่อการร้าย (จกร.) ตามอนุมัติ ผู้อำนวยการปราบปรามคอมมิวนิสต์ (ผอ.ปค.) เมื่อ ๒๓ ก.พ.๓๘ เพื่อลดระดับความสำคัญ
ให้เป็นเพียงการก่อการร้ายในท้องถิ่น
๖.๒๘ ปี พ.ศ.๒๕๑๕ ทางการได้เอกสารขบวนการกู้ชาติปัตตานี
ให้ทราบถึงความรับผิดชอบการโจมตี และยึดสถานีตำรวจ อำเภอรามันห์ จังหวัดยะลา เมื่อ
๓๐ ก.ย.๒๕๑๕ เพื่อวัตถุประสงค์ ตักเตือนรัฐบาลไทย
และประชาชนในเรื่อง
(๑) ให้มีมนุษยธรรม
และปลดปล่อยผู้ที่ถูกจับกุมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
(๒)
ให้มีความยุติธรรมไม่กดขี่ประชาชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
(๓) ให้ระลึกอยู่เสมอว่าเราเป็นชาติที่ต่างกันมีความเชื่อถือ
ตลอดจนขนบประเพณีที่ต่างกัน มีภาษาพูดไม่เหมือนกัน ประชาชนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
ต้องการเอกราช
๖.๒๙ ในปี พ.ศ.๒๕๑๖ ได้เอกสารศูนย์กรรมการพรรครักชาติปัตตานี เรียกร้องสิทธิพิเศษสำหรับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
๕ ประการ ต่อรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์
ที่สำคัญประการหนึ่งคือ เปลี่ยนแปลงระบบการปกครองสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นรัฐปัตตานี แต่อยู่ในความคุ้มครองของรัฐบาลไทยที่กรุงเทพ
ฯ
๖.๓๐ การแก้ปัญหาขวบนการโจรก่อการร้าย ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน (ปี
พ.ศ.๒๕๑๕) รัฐบาลแก้ปัญหาที่เนื่องจากโจรผู้ร้ายเท่านั้น
ไม่ได้แก้ปัญหาด้านอื่น อย่างมีประสิทธิภาพ
เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
๖.๓๑ สมัยรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ มีปัญหาเฉพาะหน้ามาก การปราบปรามชะงักไปชั่วระยะหนึ่ง
จนกระทั่งได้แต่งตั้ง พล.ท.สัณห์ จิตรปฏิมา เป็น ผู้อำนวยการรักษาความสงบภาคใด้
การปราบปรามจึงเริ่มใหม่ ใช้กำลังทหารร่วมกับตำรวจ
๖.๓๒ ๒๓ เม.ย.๒๕๑๗ ขบวนการโจรก่อการร้ายกลุ่มเจ๊ะ กูติง จับพยาบาลมิชชั่นนารี
๒ คน เรียกค่าไถ่ ๑๐ ล้านบาท เพื่อต่อเรองทางการเมืองกับอังกฤษ และมาเลเซีย แต่ไม่สำเร็จ
ทั้งสองคนถูกขบวนการโจรก่อการร้าย ยิงทิ้ง เมื่อ ก.ย.๒๕๑๗
๖.๓๓ ๑๖ ธ.ค.๒๕๑๗ กลุ่มพิทักษ์สวัสดิภาพครูสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ๑,๐๐๐ คน ออกแถลงการณ์ให้ครูหยุดสอนจนกว่าจะได้ครูสตรี ๓ คน
ที่ขบวนการโจรก่อการร้ายจับวตัวไปกลับคืนมา
๖.๓๔
การจัดตั้งคณะกรรมการหรือคณะเจ้าหน้าที่ขึ้นเป็นพิเศษ
๑) คณะเจ้าหน้าที่รับผิดชอบความมั่นคงปลอดภัย ตั้งสมัยรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ ฯ
คือ พล.ท.สัณห์ จิตรปฏิมา
เป็นหัวหน้า
๒) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามโจรผู้ร้าย สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย แต่งตั้งผู้ตรวจราชการกระทรวงวมหาดไทย
เป็นประธาน
๓) กองอำนวยการรักษาความสงบภาคใต้ กองทัพภาคที่ ๔ มี พล.ท.สัณห์ จิตรปฏิมา เป็น
ผู้อำนวยการ
๖.๓๕ สมัยรัฐบาล มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช มีนโยบายให้ขบวนการโจรก่อการร้าย เข้ามอบตัว
และให้หยุดการปราบปรามไว้ชั่วระยะหนึ่ง
๖.๓๖ ๘ พ.ย.๒๕๑๘ เปาะสู และลูกน้อง ๑๗ คน มอบตัว และมีการมอบตัวอีก ๒ ครั้ง
รวม ๑๒๒ คน แต่สถาการณ์ไม่ดีขึ้นในโรงเรียนประชาบาลใน อ.ยี่งอ ต้องปิดถึง ๒๔
แห่ง
๖.๓๗ มหาดไทย จัดให้จุฬาราชมนตรี
กับกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย เดินทางไปบรรยาย ศาสนาอิสลามแก่ชาวไทยอิสลาม
ตามภูมิภาคต่าง ๆ ปีละ ๒ ครั้ง จัดอิหม่าม มาศึกษาดูงานใน กรุงเทพ ฯ ตามโครงการประชาสัมพันธ์ เริ่มปี
๒๐
๖.๓๘ ปี พ.ศ.๒๕๒๑ คณะรัฐมนตรี อนุมัติให้กองทัพบก ดำเนินการโครงการทหารพรานในภาคใต้ จัดตั้งครั้งแรก
๑๓ กองร้อย ปี พ.ศ.๒๕๒๔ โอนให้ กองทัพภาคที่ ๔ จัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจอาสาทหารพราน ( ฉก.อส.ทพ.)
รับผิดชอบ ปี พ.ศ.๒๕๒๖ เปลี่ยนเป็น กองกำลังทหารพราน
กองทัพภาคที่ ๔ (กกล.ทพ.ทภ.๔) ได้รับอนุมัติจัดตั้ง ๓๖
กองร้อย
๖.๓๙ ไทยกับมาเลเซียตกลงร่วมกันปราบโจรคอมมิวนิสต์มลายา ตามแนวชายแดนไทย -
มาเลเซีย ปรากฎว่าการปฏิบัติการทุกครั้งอยู่ในไทย มาเลเซีย มีการติดต่อกับขบวนการโจรก่อการร้าย
ในพื้นที่ปฏิบัติการเพื่องานข่าวกรอง จากหลักฐานที่ยึดได้ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๑
ที่อำเภอมายอ ปัตตานี ระบุว่า มีการติดต่อประสานงานกันระหว่างสำนักงาน
ขบวนการโจรก่อการร้ายในกลันตันกับทางการมาเลเซีย
๖.๔๐ คณะกรรมการนโยบาย
ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อ ๒๑ ม.ค.๒๑ มีกรรมการ อยู่ ๒ คณะ
เพื่อแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ
๑) ระดับชาติ มีเลขาธิการสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
เป็นประธาน
๒) ระดับท้องถิ่น มี แม่ทัพภาคที่ ๔ เป็นประธาน การปฏิบัติไม่ได้ผล
ไม่ได้รั้บการตอบสนองจากหน่วยงานระดับสูง ขาดความพร้อมด้าน
งป.
๖.๔๑ กองอำนวยการรักษาความสงบภาคใต้ (กอ.รสต.) เผชิญปัญหาการเมือง และไม่มีอำนาจทางกฎหมายรองรับ ได้ถูกยุบเลิกไป
และตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) แทนโดยมีกฎหมายรองรับคือ กฎหมายป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์
๖.๔๒ ปัตตานี ได้ประกาศเป็น จังหวัดสันติสุขถาวร เมื่อ ๑๕ ตำบลค.๒๗
ในภาพรวม จังหวัดชายแดนภาคใต้ เริ่มสงบเรียบร้อยลงเป็นลำดับ
๖.๔๓ การดำเนินการปรับสภาพแวดล้อมในพื้นที่ ศูนย์อำนวยการบริหารภาคใต้ (ศอ.บต.)
ทำแผนพัฒนาระยะ ๓ ปี (ปี พ.ศ.๒๕ ๒๘ - ๒๕๓๐) มี ๙ แผนงาน ๓๗ โครง งป.๕,๖๘๗ ล้านบาท
ครอบคลุมกิจกรรมทุกด้าน การปฏิบัติเชื่องช้า ต้องยืดเวลาไปจนถึง ปี
พ.ศ.๒๔๓๔
๖.๔๔ โครงการไทยมุสลิมแก้ปัญหาไทยมุสลิม ได้นำเอาโครงสร้างทางสังคมของไทยอิสลามมาศึกษาวิเคราะห์
และพัฒนาใช้โครงสร้างนี้ เป็นโครงสร้างทางสังคม ให้เป็นที่ยอมรับจากประชาชนทั่วไป
ในการแก้ปัญหาของไทยอิสลามด้วยตัวมันเอง ภายใต้การชี้นำอย่างมีระบบจากองค์กร
ที่ตั้งขึ้นเพื่อช่วยองค์กรของรัฐ แก้ปัญหาองค์กรที่จัดตั้ง (คณะทำงาน)
โดยอาศัยโครงสร้างผู้นำมุสลิมทางสังคม เพื่อขจัดความขัดแย้งต่อต้าน ใช้ยุทธวิธีแก้ปัญหาทีละอย่าง ใช้มุสลิมส่วนใหญ่ที่ไม่มีปัญหามาแก้ปัญหามุสลิมที่เป็นปัญหา
โครงการนี้ขยายตัวอย่างกว้างขวางมีประสิทธิภาพ
โดยเฉพาะด้านการเมือง และสังคมจิตวิทยา เป็นผลดี ได้รับความร่วมมือ และสมใจจากชาวไทยอิสลามมาก
แต่มิได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
๖.๔๕ คณะทำงานไทยมุสลิมแก้ปัญหาไทยมุสลิม ปี พ.ศ. ๒๕๒๙ - ๒๕๓๐ ริเริ่มโดย
ผบ.พล.ร.๕ ๒๕ มิ.ย.๓๑ ไทยอิสลามห้า จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ ในวโรกาสวันรัชมังคลาภิเษก
ที่ปัตตานีเกิดความภาคภูมิใจที่ได้ร่วมกิจกรรมซึ่งริเริ่มโดยสังคมมุสลิมเอง
เกิดความรู้สึกใหม่ว่า กิจกรรมวันสำคัญของชาติ
เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกศาสนา
๖.๔๖ โจรก่อการร้ายแสวงประโยชน์จากศาสนาอิสลาม
ขอความช่วยเหลือจากมาเลเซีย ไทยแก้ปัญหาตามนโยบายความมั่นคง ฯ
ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี พ.ศ.๒๕๓๑ - ๒๕๓๕ ทำให้โจรก่อการร้ายออกมามอบตัวจำนวนมาก
ปัจจุบัน (ปี ๒๕๔๑) โจรก่อการร้ายที่เหลืออยู่มีการรวมตัวกันเรียกว่า ขบวนการเบอร์ซาตู ประกอบด้วยพูโล
บีอาร์เอ็น และมุจาฮีดิน แผนปฏิบัติงานของเบอร์ซาตูคือการก่อวินาศกรรม
โดยใช้วัตถุระเบิด
๖.๔๗ พล.ร.๕ และ กกล.ผสมเฉพาะกิจไทย ได้กำหนดโครงการคณะทำงานไทยมุสลิม
แก้ปัญหาไทยมุสลิม ๖ โครงการ
๖.๔๘ โครงการเพื่อความหวังใหม่ (พวม.) เริ่มปี ๓๒
เป็นโครงการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ซึ่งมีสาเหตุพื้นฐานจากปัญหาด้านสังคมจิตวิทยา ประชาชนส่วนใหญ่เป็นมุสลิม
โครงการ พวม.มุ่งพัฒนาด้านสังคมจิตวิทยาไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาด้านอื่น ๆ
ด้วย
๖.๕๙ จากแนวโน้มของสถานการณ์ตั้งแต่ปี ๓๐
กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ได้จัดทำโครงการพัฒนาเพื่อความหวังใหม่
(พวม.) ของ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในปีงปประมาณ ๓๒ ในปี พ.ศ.๒๕๓๓
กองอำนวยการโครงการเพื่อความหวังใหม่ ได้ดำเนินการหลัก ๔ ประการ
เพื่อให้ประชาชนปลอดภัย และพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยส่งหน่วยทักษิณพัฒนา (นทพ.) หน่วยพิทักษ์ประชาชน และ ทรัพยากร
(นพช.) หน่วยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (นพฐ.) ออกปฎิบัตใน ๓
จังหวัดชายแดนภาคใต้
๖.๕๐ โครงการเพื่อความหวังใหม่
เป็นโครงการหนึ่งของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน มีนายกรัฐมนตรี
ในฐานะผู้อำนวยการป้องกัน และปราบปรามคอมมิวนิสต์ (ผอ.ปค.)
เป็นประธานมีวัตถุประสงค์ เพื่อผสมผสานการพัฒนา
และการปราบปรามเข้าด้วยกันอย่างมีเอกภาพ
บนพื้นฐานแห่งความเข้าใจ
โดยให้ทหารเป็นผู้ช่วยเหลืองานของฝ่ายปกครอง
๖.๕๑ โครงการเพื่อความหวังใหม่ กองทัพภาคที่ ๔ ทำ ๔ แผนงานหลัก
มีหน่วยปฏิบัติการ ๑๙ หน่วย มีหน่วยทักษิณพัฒนา (นทพ.) เป็นแผนปฏิบัติการจิตวิทยา
และช่วยประชาชน แผนความมั่นคงด้านการรักษาความปลอดภัย มีหน่วยพิทักษ์ประชาชน (นพป.) ๓๐ ชุด
ไปอยู่ตามหมู่บ้านที่ล่อแหลม แผนพัฒนาการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ใช้แผน ๓ ปี ของ
ศอ.บตำบลไปปรับปรุงตามความจำเป็น และแผนประชาสัมพันธ์ ทำร่วมกันระหว่าง
กองทัพภาคที่ ๔ กับ ศอ.บต.
๖.๕๒ โครงการเพื่อความหวังใหม่ (พวม.) ของประชาชนใน ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้
เปลี่ยนชื่อเป็นโครงการทักษิณพัฒนา
๖.๕๓ ๑ ตำบลค.๒๕๓๓ - ๓๑ ธ.ค.๒๕๓๓ พตท.๔๓ เปิดแผนยุทธการยุทธชัย ๒๕๓๓ - ๒๕๓๔
อย่างต่อเนื่องได้ผลทำให้การก่อการร้ายลดลง
ก่อนหน้านี้ ขจก.มีการเคลื่อนไหวใน ๑๔ อำเภอ ๑ กิ่งอำเภอ ๓๒
ตำบล
๖.๕๔ แนวทางแก้ปัญหาโจรก่อการร้าย เริ่มปี พ.ศ.๒๕๓๕ ดำเนินการมา ๒ ปีเศษ
มีความคืบหน้าไปมาก มีการพบปะเจรจา ๒ ครั้ง แต่ด้วยปัจจัยเวลา
และผู้บริหารระดับสูงของกองทัพบก จึงได้เปลี่ยนนโยบายไป
๖.๕๕ นโยบายความมั่นคง ฯ เกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้
ปี พ.ศ.๒๕๓๗ - ๒๕๔๑ คณะรัฐมนตรี เห็นชอบเมื่อ ๗ มิ.ย.๓๗
โดยได้ทบทวนของเดิมพบว่า มีปัญหาการพัฒนาล่าช้า การก่อการร้าย
และการใช้ความรุนแรงยังมีอยู่ต่อไป สภาพทางสังคมจิตวิทยาไม่เปลี่ยนแปลงกลุ่มโจรก่อการร้ายไม่เปลี่ยนแปลงกลุ่ม จกร.ยังมีอยู่ สาระสำคัญของนโยบายมี ๗
ประการ
๖.๕๖ นโยบายการแก้ปัญหา ได้ออกมาตามลำดับจนถึงนโยบายความมั่นคง ฯ
เกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี พ.ศ.๒๕๓๗ - ๒๕๔๑ มีวัตถุประสงค์ ๗ ข้อ นโยบาย ๑๕
ข้อ มีด้านเศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา การเมือง การปกครอง การรักษาความสงบ
การต่างประเทศ การประชาสัมพันธ์ และการบริหารนโยบาย
๖.๕๗ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ได้เชิญ เอกอัครราชทูต และ
ผู้ช่วยทูตทหาร ของประเทศอิสลาม ไปรับทราบสถานการณ์ที่แท้จริง
ของจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อความเข้าใจ และประชาสัมพันธ์โครงการทักษิณพัฒนา ๒
ครั้ง ใน ส.ค.๓๘ และ เม.ย. - พ.ค.๓๙
๖.๕๘ ๒๓ เม.ย.๓๙ มีคำสั่งสำนักนายก ฯ เรื่อง
การปรับปรุงการบริหารคณะกรรมการอำนวยการแก้ไขปัญหาความมั่นคง
จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีรองนายกรัฐมนตรี
ที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เลขาธิการสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
เป็นกรรมการ และเลขา ฯ ให้แต่งตั้งสำนักงานคณะกรรมการ อก. แก้ไขปัญหาความมั่นคง
จังหวัดชายแดนภาคใต้ (สชตำบล) ขึ้นใน สมช.
๖.๕๙ ให้มีการตั้งองค์กรแก้ปัญหาในระดับพื้นที่
โดยให้กระทรวงมหาดไทย ตั้ง ศอ.บต. ให้รองปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้อำนวยการ ตั้ง
พตท.๔๓ ใน กอ.รมน.ภาค ๔
๖.๖๐ กกล.ทพ.ทภ.๔ ได้รับมอบภารกิจให้จัดกำลังปฏิบัติตามแผนงาน
กอ.รมน.โดยมอบให้กรม ทพ.ที่ ๔๑ และ ๔๓
จัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจปฏิบัติการปราบโจรก่อการร้าย ในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ขึ้นทางยุทธการ พตท.๔๓
๖.๖๑ นโยบายความมั่นคง ฯ ของไทยต่อมาเลเซีย (ปี พ.ศ.๒๕๔๐ - ๒๕๔๒)
สมช.มีมติเมื่อ ๑๒ มิ.ย.๔๐ มีวัตถุประสงค์ ๒ ข้อคือ
๑)
ให้ความสัมพันธ์ทุกด้านเป็นไปอย่างใกล้ชิดบนพื้นฐานผลประโยชน์ร่วมกัน
๒) ในพื้นที่ชายแดนไทย - มาเลเซีย มีความมั่นคงปลอดภัย และเจริญก้าวหน้า
มีนโยบายรองรับ ๑๔ ข้อ
๖.๖๒ ปี พ.ศ.๒๕๔๑ กระทรวงมหาดไทย
ถือว่าปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นปัญหาความไม่สงบเรียบร้อย
ไม่ใช่ปัญหาความมั่นคงตำรวจ
และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองสามารถแก้ปัญหานี้ได้
๖.๖๓ คำสั่ง สำนักนายก ฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๑
เรื่องนโยบายและแนวปฏิบัติต่อผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ในจังหวัดชายแดนภาคใต้
กระทรวงมหาดไทย ริเริ่มเนื่องจากวิเคราะห์สถานการณ์ จังหวัดชายแดนภาคใต้
ว่าปัจจุบันทางราชการสามารถควบคุมได้ โจรก่อการร้าย
ไม่สามารถต่อสู้ด้วยอำนาจรัฐด้วยกำลังอาวุธได้
๖.๖๔ การดำเนินนโยบายต่อชาวไทยอิสลาม ยึดนโยบายรวมพวกมาตลอด
ไม่ถือว่าเป็นชนกลุ่มน้อย
๖.๖๕ มีการส่งโต๊ะครูจำนวนหนึ่งไปกรุงเทพ ฯ
เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชาวมุสลิม
ในส่วนกลางและส่งกลับเมื่อเหตุการณ์ค่อยสงบลง
๖.๖๖ ประสบการณ์จากอดีตได้บทเรียนว่า การวางแนวนโยบายกับการนำไปปฏิบัตินั้น
บางทีไม่เป็นไปเหมือนที่คาดหวัง ความล้มเหลวของนโยบายบางอย่าง ส่งผลร้ายให้เกิดขึ้น
และมีผลเสียยืดเยื้อ จนแก้กันไมทั่วถึง ทำให้กล่าวได้ว่า นโยบายที่ไม่ดีพอนั้น ไม่มีนโยบายเสียเลยดีกว่า
๖.๖๗ แนวทางยุทธศาสตร์ และนโยบายการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
ต้องอาศัยทฤษฎียอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม
ถือว่ามนุษย์อาจผิดแผกแตกต่างกันในทางเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา การแต่งกาย และอื่น ๆ
แต่สามารถครองชีวิตอยู่ในสังคมเดียวกันได้อย่างสันติ
|