ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


 

คำสอนที่แท้จริงของอิสลาม
            อิสลามกับสันติภาพ  ขณะนี้สันติภาพกำลังหลุดลอยไปจากเกือบทุกส่วนของโลก เป็นที่น่าสังเกตว่า พื้นที่ที่เกิดความรุนแรงส่วนใหญ่ เป็นดินแดนที่มุสลิมอาศัย นี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หลายคนมองอิสลามว่า เป็นศาสนาที่ส่งเสริมให้เกิดความรุนแรง โหดร้ายขึ้นอาจ ก่อให้เกิดทัศนคติเชิงลบต่อมุสลิมโดยทั่วไป
            ต้องเข้าใจว่าอิสลามเป็นศาสนาที่ถือเอาสันติภาพเป็นแกนสำคัญในการดำรงอยู่ซึ่งได้ประกาศเจตนารมณ์ตั้งแต่ต้น เมื่อ ๑,๔๐๐ กว่าปีก่อน
                "เรามิได้ส่งเจ้ามาเพื่อการอื่นใดนอกจาก เพื่อเป็นเมตตาธรรมแก่สากลจักรวาล" (๒๑ :๑๐๗)
                ในกุรอานอันเป็นธรรมนูญชีวิตของผู้ศรัทธา และในประมวลจริยวัตรของท่านนบี จึงมีหลักคำสอน ที่มุ่งสร้างบรรยากาศแห่งสันติภาพ อิสลามเชื่อว่า ชีวิตของคน ล้วนเกิดจากบิดามารดาเดียวกัน จากนั้นก็ได้ทำให้วงศ์วานของคน แผ่ขยายออกไป เกิดเป็นความแตกต่างทั้งรูปร่างภาษา สีผิวและวัฒนธรรม ดังที่ได้กล่าวไว้ในคัมภีร์กุรอานว่า
                "มนุษย์ทั้งหลาย แท้จริงแล้วเราสร้างพวกเจ้ามาจากชายหนึ่ง และหญิงหนึ่ง เราทำให้พวกเจ้าแตกกอ เป็นชนชาติหลากหลาย และเผ่าพันธุ์นานา เพื่อพวกเจ้าจะได้สานไมตรีต่อกัน ผู้ทรงความประเสริฐสุด ณ อัลลอฮ์คือ ผู้ที่ยำเกรงอัลลอฮ์สูงสุดอัลลอฮ์นั้นหยั่งรู้ และตระหนักดียิ่ง" (๔๙:๑๓)
                อิสลามกำหนดสิทธิมนุษยชนว่า ทุกชีวิตที่เกิดมาล้วนได้รับเกียรติจากอัลลอฮ์ การทำลายเลือดเนื้อที่ก่อรูปเป็นชีวิต เป็นสิ่งต้องห้าม ยกเว้นผู้ก่อกรรม ที่ควรถูกลงโทษถึงชีวิต ผู้ใดทำลายชีวิตหนึ่ง โดยไร้เหตุอันควร ก็เท่ากับได้ทำลายชีวิตแห่งมนุษยชาติทั้งมวล และผู้ใดช่วยชีวิตหนึ่ง ก็เท่ากับช่วยชีวิตแห่งมนุษยชาติทั้งมวล ได้ไม่ว่าชีวิตนั้นจะเป็นมุสลิมหรือไม่ก็ตาม
                หลักการนี้ได้รับการปฏิบัติ โดยท่านนบีทั้งต่อมวลมิตร และเหล่าศัตรู เช่น การที่ท่านทำสัญญาอยู่ร่วมกัน อย่างสันติกับชาวยิว โดยในข้อ ๑๖ แห่งพันธสัญญานี้ ระบุให้มุสลิมต้องมอบความยุติธรรมแก่ชาวยิว เช่นเดียวกับที่มอบแก่มุสลิม ส่วนข้อ ๒๕ เป็นการยอมรับเสรีภาพในการนับถือศาสนาของชาวยิว และสิทธิในการปฏิบัติ ตามความเชื่อของบุคคลทั้งนี้ โดยต้องไม่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ
                ท่านนบีได้ทำสัญญาดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรกับชาวยิว ในปี ฮ.ศ.๑ (ค.ศ.๕๗๙) ระหว่างมุสลิม ที่อพยพมาจากเมืองมักกะฮ์ (มุฮาญีรีน) กับมุสลิมที่อยู่ในเมืองมะดีมะฮ์มาก่อน (อันศอร) ในปี ฮ.ศ.๒ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญต่อการอยู่ร่วมกันของคนที่นับถือศาสนาต่างกัน จึงได้กำหนดไว้ในธรรมนูญแห่งรัฐขึ้น เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติของคนในชาติ บนความแตกต่างทางศาสนา เป็นการนำหลักการพหุนิยมทางสังคมมาใช้ ท่านนบีได้ปฏิบัติตามพันธสัญญานี้อย่างเคร่งครัด จนชาวยิวเองที่เป็นผู้ละเมิดสัญญานี้
                เมื่อเกิดการศึกสงครามขึ้นแล้ว หากฝ่ายศัตรูยื่นข้อเสนอ เพื่อสันติภาพหลักแห่งกุรอาน ก็บัญญัติให้มุสลิมรับข้อเสนอนั้น แม้จะเห็นว่าการยื่นข้อเสนอดังกล่าว จะเป็นเพียงกลลวงก็ตาม ดังที่บัญญัติไว้ในคัมภีร์กุรอานว่า
                "และแม้นพวกเขาโน้มเอียงสู่สันติภาพ พวกเจ้าก็จงโน้มตามเถิดแล้ว จงมอบหมายความเป็นไปต่ออัลลอฮ์  ออัลลอฮ์ได้ยิน และรู้ดียิ่ง และหากแม้นพวกเขาคิดหลอกลวงเจ้า เจ้าก็มีอัลลอฮ์เป็นที่พึ่ง ซึ่งพอเพียงอยู่แล้วอัลลอฮ์คือ ผู้เพิ่มพลังพวกเจ้าด้วยความช่วยเหลือของอัลลอฮ์ และด้วยผู้ศรัทธา" (๘:๖๑ - ๖๒)
                "บางทีอัลลอฮ์อาจก่อความรักขึ้นระหว่างพวกเจ้า กับกลุ่มคนที่พวกเจ้าเคยเห็นเป็นศัตรูมาก่อนอัลลอฮ์นั้น สามารถอีกทั้งเปี่ยมด้วยการอภัยและเมตตา" (๖๐ :๗) อัลลอฮ์มิได้จำเพาะว่าความรักนั้น เกิดเพราะความเหล่านั้น มีศรัทธาในอัลลอฮ์ เช่นเดียวกับมุสลิม แต่ความรักอาจเกิดเพราะท่าทีเปลี่ยนไปจากความเป็นศัตรู สู่การเป็นผู้ช่วยเหลือ
         ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ในทัศนะของอิสลามอิสลามถือว่าบุคคล มีเสรีภาพที่จะเลือกทางเดินของตนเอง และจะต้องรับผิดชอบต่อทางที่ตนเลือก การเป็นมุสลิมที่สมบูรณ์ต้องเกิดเนื่องแต่ความศรัทธา และเห็นพ้องมิใช่เกิดจากการบังคับขู่เข็ญ ดังที่คัมภีร์กุรอ่านกล่าวว่า
                "แม้นพวกเขารับอิสลาม ก็ได้ทางนำไป แต่แม้นพวกเขาผลักไส ตัวท่านนบีก็มีหน้าที่เพียง เผยแพร่สร้างความเข้าใจเท่านั้น" (๓:๒๐) เมื่ออิสลามให้เสรีภาพแก่บุคคลเช่นนี้แล้ว ควรหรือที่มุสลิมจะถือว่า ผู้มีอุดมการณ์ต่างจากตนทั้งหมดคือ ศัตรูที่จะต้องห้ำหั่นประหัตประหาร และจริงหรือที่ผู้ปฏิเสธทุกคน ล้วนต้องถูกประณามสาปแช่ง หากพิจารณาคำสอนจากกุรอาน จะพบการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างมนุษย์ แม้จะแตกต่างในเรื่องศาสนาก็ตาม ดังที่คัมภีร์กุรอ่านว่า
                "อัลลอฮ์ มิได้ห้ามพวกเจ้าในอันที่จะทำดี และให้ความยุติธรรมกับบรรดา ผู้ซึ่งมิได้ทำสงครามเข่นฆ่า พวกเจ้าในเรื่องศาสนา และไม่ได้ขับไล่พวกเจ้าออกจากถิ่นฐาน ที่พวกเจ้าอยู่อาศัย อัลลอฮ์รักผู้มีความเป็นธรรม" (๖๐:๘)
                ผู้ที่ศึกษาเรื่องนี้ระบุว่าไม่พบอายะฮ์ (บทบัญญัติ) ใด ที่กล่าวถึงผู้ปฏิเสธว่า เป็นศัตรูของอัลลอฮ์ เพียงเพราะการปฏิเสธนั้น ที่พบคือ กุรอาน จำกัดความเป็นศัตรูไว้เพียงสองรูปแบบคือ
                ๑. ซาตานหรืออิบลีส  เป็นศัตรูของมนุษย์โดยทั่วไป
                ๒. ผู้ปฏิเสธที่ตั้งตนเป็นอริกับอิสลาม  ถือเป็นศัตรูของอัลลอฮ์ ซึ่งย่อมหมายรวมถึงศัตรูกับนบี และมุสลิมทั่วไปด้วย
                จากการศึกษาคำกล่าวของท่านนบี ก็จะพบข้อบ่งชี้ในลักษณะเดียวกันนี้ และอาจเพิ่มเติมบุคคลที่จงใจกล่าวเท็จ ในเรื่องของอัลลอฮ์อีกประเภทหนึ่งด้วย
                หน้าที่ของมุสลิมจึงต้องปฎิบัติต่อบุคคลที่มิใช่มุสลิมอย่างเหมาะสม กับท่าทีที่ได้รับจากอีกฝ่ายหนึ่ง ยิ่งกว่านั้นควรตอบสนองด้วยคุณความดีมากกว่าที่ได้รับ และเมื่อสิ่งที่ประเสริฐสุดในความเป็นมุสลิมก็คืออิสลาม มุสลิมจึงมีหน้าที่ต้องนำเสนออิสลามอันแท้จริงต่อคนทั่งไป ที่ยังไม่เข้าใจด้วยรูปแบบและวิธีการอันสวยงาม มิใช่การข่มขู่คุกคาม และหากผู้นั้นเลือกที่จะปฎิเสธอัลลอฮ์โดยไม่คิดเบียดเบียนและทำลายอิสลาม โทษทัณฑ์ของการปฎิเสธ ก็เป็นเรื่องที่อัลลอฮ์จะจัดการเอง
            ความหมายของคำว่า มุนาฟิกมุนาฟิก เป็นภาษาอาหรับหมายถึง คนกลับกลอกใช้เรียกคน ที่แสร้งทำเป็นศรัทธาในอิสลาม แต่ใจจริงไม่เป็นเช่นนั้น และยังคอยมุ่งร้าย และทำลายอิสลามอยู่ตลอดเวลา
            จากหะดิษหนึ่งกล่าวว่า ท่านนบี ได้ตำหนิคนผู้หนึ่งอย่างรุนแรง ในกรณีที่เขาได้สังหารชายผู้หนึ่ง ระว่างสงคราม แม้ชายผู้นั้นจะกล่าวปฎิญาณ ยอมรับอิสลามแล้วก็ตาม เหตุผลที่เขาสังหารก็คือ ชายผู้นั้นกล่าว ปฎิญาณเพียง เพื่อหลีกหนีการถูกสังหาร เท่านั้น แต่ท่านนบีไม่ยอมรับเหตุผลดังกล่าว และได้ถามเขาเป็นเชิงตำหนิว่า "เจ้าสามารถผ่าอกเขาเพื่อดูว่าเขาพูดจริงหรือไม่กระนั้นหรือ ?" นอกจากนั้นท่านนบียังถามผู้ที่กระซิบบอกว่า จะสังหารชายคนหนึ่งว่า "ชายผู้นั้นละหมาดอยู่มิใช่หรือ" ผู้นั้นตอบว่าใช่ ท่านนบีจึงบอกว่า "คนเหล่านั้นคือ ผู้ที่ฉันถูกห้ามมิให้ฆ่า"
            ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ว่า อิสลามจะสั่งการให้สังหารมุสลิมที่รักษาละหมาด จ่ายซะกาต และถือศีลอด เพียงเพราะมีสายสัมพันธ์ที่ดีกับศาสนิกอื่น
            ความเห็นของผู้เขียนเอกสาร ฯ ที่ถือเอาผู้ที่คิดเห็นแตกต่างจากตนเป็นมุนาฟิก และต้องฆ่าทั้งหมด จึงเป็นความเห็นสุดขั้วที่ห่างไกลหลักคำสอนของอิสลาม ในคัมภีร์กุรอานมีว่า
                "พวกเจ้าอย่าได้ฆ่าชีวิตซึ่งอัลลอฮ์หวงห้ามไว้ ยกเว้นโดยความชอบธรรมเท่านั้น" และผู้ใดถูกฆ่าโดยมิชอบ เรา (อัลลอฮ์) จะให้ผู้ปกครอง (หรือทายาท) ของเขามีอำนาจ (เหนือฆาตกร) ดังนั้น อย่าได้ฆ่าโดยเลยเถิด ที่จริงแล้ว เขาจะได้รับการช่วยเหลือ (ให้สามารถลงโทษฆาตกรได้) อย่างแน่นอน" (๑๗:๓๓)
            คุณค่าของชีวิตในทัศนะของอิสลาม  ชีวิตทั้งหลายบนโลกกำเนิดขึ้นโดยอัลลอฮ์ ชีวิตใดกำเนิดมาแล้ว ก็มีความศักดิ์สิทธิ์ และมีหน้าที่ในการตอบสนอง ความประสงค์ของอัลลอฮ์ ในการดำรงอยู่ การทำลายล้างชีวิต จึงเป็นการก้าวล่วงในอำนาจของอัลลอฮ์ ที่ผิดอย่างยิ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ในกุรอานมีว่า
                "ด้วยเหตุ (การที่ฆ่ากันระหว่างมนุษย์มักนำมาแต่ความหายนะ) ดังกล่าวเราจึงได้กำหนดไว้แก่วงศ์วานแห่งอิสรออีลว่า
ผู้ใดสังหารชีวิตหนึ่งโดยมิได้เกิดจากมูลเหตุที่ชีวิตนั้นไปฆ่าผู้อื่นมาก่อนหรือด้วยมูลเหตุที่ชีวิตนั้นได้ก่อความเสียหายขึ้นบนแผ่นดิน" (๕:๓๒)
            เมื่อพิจารณาจากคำกล่าวของท่านนบี ในประเด็นนี้ว่า
                "เลือดของบุคคลที่ปฎิญาณตนว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ และอันเป็นศาสนฑูตของอัลลอฮ์ จะไม่เป็นที่อนุญาต (ให้ผู้ใดล่วงละเมิด) ยกเว้นด้วยสาเหตุหนึ่งในสามประการคือ คนที่ผ่านการแต่งงานแล้ว แต่ยังประพฤติผิดประเวณี ชีวิตที่ต้องแลกด้วยชีวิต และคนที่ละทิ้งศาสนาของตน อีกทั้งแยกตัวไปจากประชาคม" (หะดีษบุคคอร์ : ๖๘:๘)
            การชี้ว่า ผู้ใดทำความผิดตามนัยแห่งหะดีษ จะต้องผ่านกระบวนการพิจารณาสอบสวนอย่างละเอียดถี่ถ้วน โดยมีอำนาจหน้าที่ซึ่งได้แก่ ผู้พิพากษา (กอฎิ) ที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างถูกต้อง หรือจากผู้นำของมุสลิม ที่ดำรงตำแหน่งอย่างชอบธรรม ตามหลักศาสนาเท่านั้น ในกระบวนการพิจารณาความผิดตามหลักอิสลามนั้น หากปรากฎข้อเคลือบแคลงเพียงเล็กน้อย จนทำให้หลักฐานที่มีอยู่ ไม่อาจยืนยันความผิดได้เพียงพอ ก็ต้องละเว้นการลงโทษทันที
            การกล่าวโทษผู้อื่นว่าทำผิด โดยคิดเอาเอง และยังตัดสินประหารชีวิตผู้อื่นด้วยตนเองอาจนำไปสู่การหลั่งเลือด ผู้บริสุทธิ์เป็นสิ่งต้องห้ามร้ายแรง ดังปรากฎในกุรอานว่า
                "ผู้ใดฆ่าศรัทธาชนโดยเจตนา (และโดยมิชอบ) ผลตอบแทนที่จะได้รับคือ นรกญะฮันนัม ซึ่งเขาจะคงอยู่ในนั้นตลอดกาล ยิ่งกว่านั้น อัลลอฮ์โกรธ สาปแช่งเขา และเตรียมทัณฑทรมานอันเจ็บแสบแก่เขาด้วย" (๔:๙๓)
                แม้บทบัญญัติดังกล่าว พูดถึงการฆ่ามุสลิม ก็มิได้หมาบความว่า ถ้ามิใช่มุสลิมก็อนุญาต ให้ฆ่าได้ตามชอบใจ ทั้งนี้เพราะเพียงการปฎิเสธอัลลอฮ์ ย่อมมิใช่มูลเหตุที่จะต้องเข่นฆ่า แต่การทำเช่นนั้นได้ต้องมีเหตุปัจจัยอื่น ๆ ประกอบอีกมาก
                ความศักดิ์สิทธิ์ของเลือดเนื้อ และชีวิตปรากฎในคำกล่าวอันแสดงความห่วงใยของศาสนฑูต (นบี) ในคราวที่ได้สอนผู้คนนับแสนที่รวมตัวกัน ณ ทุ่งอะรอฟะฮ์เพื่อประกอบพิธีฮัจย์ ครั้งสุดท้ายของ นบี
                "แท้จริง เลือดเนื้อของพวกเจ้า และทรัพย์สินของพวกเจ้า เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ต้องห้ามทำลาย ดุจเดียวกับความศักดิ์สิทธิ์ของวันนี้ (วันอะรอฟะฮ์) ในเดือนนี้ (เดือนซุลฮิจญะฮ์) และในเมืองนี้ (เมืองมักกะฮ์)
            ทัศนะของอิสลามในเรื่องไสยศาสตร์ คัมภีร์กุรอาน ได้กล่าวถึงไสยศาสตร์ไว้ว่า
                "คนเหล่านั้นเชื่อตามสิ่งที่ซาตานได้อ่านอ้างแก่อาณาจักรของสุลัยมาน ความจริงสุลัยมานมิได้เนรคุณต่ออัลลอฮ์เลย แต่เหล่าซาตานต่างหากที่เนรคุณ พวกมันสอนไสยศาสตร์แก่มนุษย์และสอนสิ่งที่มลาอิกะทั้งสองคือ ฮารูต และมารูต ได้รับที่บาบิล มลาอิกะฮ์ทั้งสองจะไม่สอนแก่ใครจนกว่าจะได้แจ้งให้ผู้เรียนทราบว่า เราทั้งสองนี้เป็นบททดสอบจากอัลลอฮ์ดังนั้น พวกท่านอย่าหลงผิดไปเนรคุณต่ออัลลอฮ์เลย แต่แล้วคนเหล่านั้นกลับร่ำเรียนคุณไสย ที่จะใช้ในการแยกระหว่างสามีกับภรรยา ความจริงพวกเขาไม่สามารถใช้คุณไสยทำอันตรายผู้ใดได้ ยกเว้นโดยอนุมัติจากอัลลอฮ์เท่านั้น สิ่งที่พวกเขาร่ำเรียนนั้น เป็นภัยร้ายแรง และไม่สร้างคุณประโยชน์ พวกเขารู้อยู่แก่ใจว่าใครที่แลกเอาสิ่งนั้นมาในภพหน้าเขาจะไม่ได้รับส่วนแบ่งใด ๆ เลย สิ่งที่พวกเขาได้มาโดยเอาตัวเข้าแลกนี้ช่างเลวร้ายยิ่งนักหากพวกได้รู้" (๒:๑๐๒)
                จากเนื้อหาของบทบัญญัตินี้ อาจสรุปได้ดังนี้
                ๑. ไสยศาสตร์มีอยู่จริงตั้งแต่อดีตกาลมาแล้ว แต่ต้องตระหนักว่า ในเรื่องเกี่ยวกับการเปลี่ยนไม้เท้าของท่านนบีมูซา (โมเสส) ไปเป็นงูนั้นมิใช่ไสยศาสตร์ หากแต่เป็นปาฎิหาริย์ที่อัลลอฮ์บันดาลให้เกิดขึ้น โดยสวนทางกับกฎธรรมชาติ
                ๒. ไสยศาสตร์อาจให้คุณหรือให้โทษได้
                ๓. คุณหรือโทษจากไสยศาสตร์นี้เป็นไปโดยอนุมัติจากอัลลอฮ์
                ๔. ไสยศาสตร์นำไปสู่การกุฟร์ หรือเนรคุณ
                ผู้เขียนเอกสารการต่อสู้ที่ปัตตานี ยังขาดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตีความหรืออธิบายความบทบัญญัติต่าง ๆ ในคัมภีร์กุรอาน จากเอกสารดังกล่าว แสดงให้เห็นถึง อันตรายอย่างยิ่ง ต่อศาสนาอิสลาม ที่นำเอาบทบัญญัติต่าง ๆ ในคัมภีร์กุรอานไปตีความเอาเอง เพื่อความเข้าใจผิด ลุกลามออกไปสู่สังคม กลายเป็นความคิดที่ก้าวร้าว รุนแรง และงมงาย
                การเรียนการสอนไสยศาสตร์ ต้องดูที่เจตนารมณ์ หากมีเจตนาดี เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นให้รอดพ้นภัยพิบัติ ก็เป็นสิ่งที่อนุญาตให้ทำได้ หากเป็นไปโดยเจตนาร้าย ก็เป็นสิ่งต้องห้าม


 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์