ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


 

            หลักการปฎิบัติในการวิเคราะห์เพื่อหาข้อสรุปจากกุรอาน (อิสติมบาฎ)  กุรอานเป็นเรื่องที่อัลลอฮ์ให้ไว้แก่มวลมนุษย์ด้วยเหตุผผล สองประการคือ
                ๑. เป็นเครื่องยืนยันความสัจจริงของนบีมุฮัมมัด ต่อสถานุภาพการเป็นศาสนฑูตของท่าน และความสัจจริงของสิ่งที่ท่านเรียกร้อง โดยที่อัลลอฮ์ให้กุรอานมีลักษณะที่ล้ำเลิศเกินกว่ามนุษย์คนใด จะสามารถเลียนแบบได้ ทั้งในแง่ภาษา วรรณศิลป์ ปรัชญา และองค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ ดังที่มีในกุรอานว่า
                "พวกเขาอ้างว่ามุฮัมมัด ปันแต่งกุรอานขึ้นเองกระนั้นหรือ? บอกไปเถิดว่าถ้าเช่นนั้น พวกท่านก็จงเรียกหาใครก็ได้ที่พวกท่านสามารถเพื่อมาช่วยเหลือท่าน (ทำให้ได้เช่นเดียวกับที่กุรอานทำ) ทั้งนี้หากแม้นพวกท่านเป็นผู้สัจจริง" (๑๐:๓๘)
                ๒. เป็นทางนำสู่ความถูกต้อง เที่ยงธรรมในการดำเนินชีวิต ดังที่ที่มีในกุรอานว่า
                "แท้จริงกุรอานนี้ชี้นำสู่ทางที่เที่ยงตรงกว่า และยังจะนำความโสมนัสมายังศรัทธาชน ผู้ประกอบความดีทั้งหลายว่า พวกเขาจะได้ผลอันยิ่งใหญ่เป็นการตอบแทน " (๑๗:๙)
                กุรอานดำรงอยู่ รอดพ้นจากการแก้ไขเปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมด้วยปัจจัยหลักคือ การท่องจำ และการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร โดยคำสั่งของท่านนบีเอง นับแต่บทบัญญัติแรกจนสุดท้าย ถ้อยคำที่ใช้บางที ก็ใช้ถ้อยคำสำนวนที่ให้ความหมายตรงตัว ไม่สามารถตีความเป็นอื่นได้ แต่ก็มีหลายบทบัญญัติแม้จะใช้ถ้อยคำสำนวนที่กะทัดรัด แต่เปิดกว้างทางนัยยะให้ได้ใช้วิจารณญาณวิเคราะห์ หาบทสรุปสำหรับทุกกรณีและหาทางออกสำหรับทุกปัญหา
                ถ้อยคำสำนวนในรูปแบบที่สองนี้เอง นำไปสู่ความคิดอันหลากหลาย ซึ่งในสมัยที่ศาสนฑูต (นบี) ยังมีชีวิตอยู่ ท่านจะเป็นผู้ชี้ว่าความคิดใดถูกต้อง หรือคลาดเคลื่อน เมื่อท่านนบีสิ้นชีวิตแล้ว ความรู้ความเข้าใจ ยังคงดำรงอยู่กับมิตรสหายของท่าน ซึ่งทุกคนหากพบถ้อยคำในกรุอานที่ตนไม่เข้าใจ ก็ไม่มีใครกล้าเอาความคิดของตนมาตีความ โดยไม่สอบถามผู้รู้ในเรื่องนั้นก่อน
                ดังนั้นการอรรถาธิบายบทบัญญัติของกุรอานต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติใหญ่ ๆ สามประการคือ
                เป็นผู้ที่มีความรู้ในศาสตร์ที่เกี่ยวกับกุรอานดีพอ  เพราะในกุรอานมีบริบททางสังคมที่แตกต่างกัน หากพบบางบทบัญญัติ ขัดแย้งกับอีกบทบัญญัติ ก็ต้องรู้ว่าบทบัญญัติใดให้มาก่อนหลัง บทบัญญัติก่อนถูกยกเลิก โดยบทบัญญัติหลัง (นาซิค - มันซูค) การนำบทบัญญัติหนึ่งเดียวมาบ่งชี้โดยไม่ศึกษาบทบัญญัติอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาจนำไปสู่การหลงผิดได้ นอกจากนั้นยังต้องรู้มูลเหตุแห่งการให้บทบัญญัติด้วย
                เป็นผู้มีความรู้ด้านภาษาอาหรับอย่างดี
                เป็นผู้มีความรู้ดีพอด้านหลักนิติบัญญัติอิสลามและประวัติศาสตร์อิสลาม  ในอิสลามอุดมไปด้วยหลักนิติบัญญัติมากมาย ที่นักปราชญ์มุสลิม ได้กลั่นกรองเอาไว้จากกุรอาน และแบบฉบับของท่านนบี
                    - หลักการว่าด้วยการ ปิดไว้ป้องกันภัยมา
                    -  หลักการว่าด้วยการ ยอมทำบาปที่มีผลน้อยที่สุด เมื่อไม่มีทางเลือกอื่น
                    -  หลักการว่าด้วยการ ความยากลำบากย่อมนำมาซึ่งความสะดวก
                    -  หลักการว่าด้วยการ ความคับขันนำให้สิ่งต้องห้ามผ่อนคลาย
                    ความรู้เหล่านี้ อิสลามกำหนดไว้ให้เป็นหน้าที่ของคนกลุ่มหนึ่ง ที่มีศักยภาพเท่านั้น (ฟัรดูกิฟายะฮ์) คนอื่นที่ไม่มีความรู้พอจึงต้องทำตามที่ผู้รู้ชี้แจงไว้ ดังในกรุอานมีว่า
                    "จงสอบถามผู้รู้ หากพวกเจ้าไม่รู้"  (๑๖:๔๓)
                ข้อมูลและการวิเคราะห์ที่ได้รับการสืบทอดกันมาจากบรรพชนรุ่นก่อน จึงเป็นสิ่งจำเป็น ข้อมูลด้านการอรรถาธิบายกุรอานดังกล่าว มีอยู่มากมาย บรรดาข้อวินิจฉัยดังกล่าว เชื่อว่าสังคมมุสลิม จะสามารถนำเสนอวิถีชีวิตที่งดงาม ตามแบบฉบับอิสลาม และสร้างความสงบร่มเย็นแก่โลกได้ แต่ในความเป็นจริง ที่ระบุว่ามีที่มาจากกุรอาน โดยอาศัยการแปลกุรอานเป็นภาษาอื่นที่ตนเข้าใจ แล้วสรุปประเด็นต่าง ๆ ออกเป็นข้อวินิจฉัยของตน จนหลายครั้ง สังคมเกิดการปั่นป่วน วุ่นวายแตกแยก แบ่งฝ่ายจนยากที่จะประสาน ซึ่งสังคมมุสลิมในประเทศไทย ก็หนีไม่พ้นสภาพเช่นนี้ จึงน่าจะอยู่ในข่ายแห่งความหมายของคำกล่าว ของศาสนฑูตที่ว่า
                "ผู้ใดกล่าวอ้างสิ่งใดในอัลกุรอานโดยไม่มีพื้นฐานความรู้จริง ก็จงเตรียมที่ทางของตนไว้ในนรกเถิด" (บันทึกโดยอัตติรมีซัย : ๒๘๗๔)
                ลักษณะดังกล่าวนับเป็นภัยร้ายแรงอย่างหนึ่งของสังคมมุสลิม ดังที่อิหม่ามซาฟีอีย์ กล่าวว่า
                "ความเสียหายใหญ่หลวงมักเกิดจากผู้รู้ฉีกกระชากจรรยาบรรณแห่งความรู้ และสิ่งเลวร้ายกว่านั้นคือ ผู้อวิชาที่สำแดงตนเป็นคนเคร่งศาสนา ทั้งสองนับเป็มหันตภัยในโลก โดยเฉพาะกับผู้ที่ถือเอาคนทั้งคู่ เป็นครูในเรื่องศาสนาของตน"
            ทัศนะเรื่องการต่อสู้ในหนทางของศาสนา (ญีฮาด) ในอิสลาม
            แนวคิดเรื่อง ญีฮาด และชะฮีด เป็นเรื่องสำคัญที่สุดสำหรับเอกสารดังกล่าว จึงมีความจำเป็นต้องอธิบายแนวคิดที่ถูกต้อง
            ญีฮาด ในอิสลาม หมายถึงการทุ่มเทสรรพกำลังทั้งหลาย  เพื่อเทิดทูนคำสั่งของอัลลอฮ์ ให้อิสลามคงอยู่ในโลกอย่างมั่นคง ซึ่งจำต้องอาศัยปัจจัยต่าง ๆ หลายประการ ดังนั้นจึงได้มีการแบ่งการญีฮาด ออกเป็นหลายประเภทด้วยกัน ท่านอิมนุลกัยยิมแบ่งการญีฮาดออกเป็น
                การญีฮาดกับอารมณ์ของตนเอง  ถือเป็นพื้นฐานของการญีฮาดอื่น ๆ ทั้งหมด แบ่งออกเป็นสี่ระดับคือ
                    ๑. ญีฮาดเพื่อเรียนรู้ทางนำและสัจธรรม อันจะทำให้ชีวิตประสบความสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
                    ๒. ญีฮาดเพื่อปฏิบัติในสิ่งที่ได้เรียนรู้แล้ว
                    ๓. ญีฮาดเพื่อเผยแพร่สัจธรรมที่เรียนรู้ให้คนอื่นเข้าใจ
                    ๔. ญีฮาดเพื่อให้อดทนอดกลั้นต่อความยากลำบากต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติตามคำสั่งของอัลลอฮ์
                การญีฮาดกับซาตานร้าย  โดยการพยายามขจัดข้อเคลือบแคลงต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับอัลลอฮ์ออกไป จนเกิดความเชื่อมั่นศรัทธาอันแท้จริง อดกลั้นต่อแรงยั่วยุของซาตาน
                การญีฮาดกับผู้ปฏิเสธ  โดยการนำเสนอเหตุผล หลักฐานและข้อเท็จจริงต่าง ๆ เกี่ยวกับอิสลามให้เป็นที่เข้าใจ หรือหมายถึงการทำสงครามต่อสู้กับการถูกข่มเหง ซึ่งถือว่าอยู่ในสถานการณ์ที่ถูกบังคับ
                การญีฮาดกับมุนาฟิก  ซึ่งต้องใช้เหตุผลโน้มน้าวใจเป็นส่วนใหญ่
                การญีฮาดกับมุสลิมผู้ประพฤติตนผิดหลักศาสนา  ซึ่งอาจต้องใช้กำลัง เหตผลหักล้างหรือการปฏิเสธด้วยใจ
                ปัจจุบันคนส่วนใหญ่เข้าใจการญีฮาดว่าหมายถึงการทำสงครามเท่านั้น อันนำไปสู่ความรุนแรงในหลายส่วนของโลกรวมทั้งในประเทศไทยด้วย
           ญีฮาดกับสงคราม  การญีฮาดไม่จำเป็นต้องเป็นการสู้รบเสมอไป และแม้เมื่อเกิดการสู้รบแล้ว ก็มิได้หมายความว่าเป็นการญีฮาดทุกกรณี เช่น การต่อสู้กับผู้บุกรุก เพื่อทำลายชีวิต หรือแย่งชิงทรัพย์สิน เป็นการต่อสู้ที่ชอบธรรม แต่มิใช่การญีฮาด
                จุดประสงค์ของสงครามในอิสลาม  อิสลามไม่สนับสนุนการทำสงครามและไม่อนุญาตให้มีการประกาศสงคราม เว้นแต่ด้วยความจำเป็น และมีจุดประสงค์ที่เป็นหนทาง เพื่ออัลลอฮ์  ไม่มีผู้ใดสามารถประกาศสงครามเว้นแต่ผู้นำสูงสุดของมุสลิม ต้องผ่านกระบวนการเรียกร้องสู่สันติภาพ หรือการตอบรับอิสลามอย่างถูกต้องชอบธรรมก่อน  ต้องไม่กระทำการโจมตีบุคคลใด หรือฝ่ายใด นอกจากเขาต้องรับผิดชอบในผลแห่งการกระทำนั้น ทั้งในด้านศาสนบัญญัติ และกฎหมาย เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
                    - ตอบโต้ความอยุติธรรมและการรุกราน ปกป้องและพิทักษ์ชีวิตครอบครัว ทรัพย์สิน ศาสนาและมาตุภูมิ
                    - ปกป้องเสรีภาพในด้านการศรัทธา และปฏิบัติตามหลักศาสนาที่บรรดาผู้รุกรานพยายามใส่ร้าย หรือกีดขวางมิให้มีเสรีภาพด้านความคิด และการนับถือศาสนา
                    - พิทักษ์การเผยแพร่อิสลามที่ค้ำชูความเมตตา ความสงบสันติแก่มนุษยชาติ ให้แพร่กระจายอย่างทั่วถึงแก่มวลมนุษย์
                    - ให้บทเรียนแก่ผู้ละเมิดสัญญาหรือศรัทธา หรือผู้ทำตัวเป็นปฏิปักษ์กับคำสั่งของอัลลอฮ์ และปฏิเสธความยุติธรรม การประนีประนอม
                    - ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ถูกกดขี่ไม่ว่าเขาจะอยู่ ณ แห่งหนใด ปลดปล่อย และปกป้องเขาจากการรุกรานของเหล่าผู้กดขี่
                    ดังนั้นจึงเห็นได้ถึงความแตกต่างระหว่างการก่อการร้ายซึ่งเป็นสิ่งต้องห้าม และนำไปสู่ความหายนะ และความพินาศ กับการญีฮาดที่ถูกต้องตามหลักศาสนา
บทสรุป
            จากการศึกษาเอกสาร "การต่อสู้ที่ปัตตานี"  เห็นว่าเขียนขึ้นโดยมีเป้าหมาย เพื่อปลุกระดมความคิด เพื่อเป้าหมายในการแบ่งแยกดินแดน มุ่งปลุกระดมให้เกิด "ความเชื่อ" ในแนวทางของตน โดยได้นำเอาทัศนะในทางประวัติศาสตร์ มาเป็นพื้นฐานให้เชื่อว่า ดินแดนส่วนหนึ่งของประเทศไทย ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นดินแดนที่ถูกยึดไป จึงต้องต่อสู้เพื่อให้ได้กลับคืนมา พร้อมกันนั้นก็ได้ปลุกกระแสชาติพันธุ์นิยมให้เห็นถึงความเป็นชาติพันธุ์มลายู ปลุกอารมณ์ความโกรธ ความคับแค้นใจ ในการดำเนินงานของเจ้าหน้า ที่ของรัฐที่ได้ทำการกดขี่ข่มเหง เพื่อสร้างให้สังคมเห็นว่า การต่อสู้ของคนกลุ่มนี้ เป็นการต่อสู้ในทางศาสนา หรือการญีฮาด
            วิธีการดังกล่าวได้บดบังคำสอนอันถูกต้องของอิสลามไปอย่างน่าเสียดาย บทบัญญัติจากคัมภีร์กุรอาน ไม่เพียงแต่ยกตัวบทมาเขียนผิด เขียนเพิ่มแล้ว ยังพยายามอธิบายบิดเบือนผิดพลาดคลาดเคลื่อน ได้นำบทบัญญัติต่าง ๆ มาเป็นเสมือนคาถาอาคม ที่มีความเชื่อว่าจะสามารถป้องกันอันตราย จากอาวุธของฝ่ายตรงข้าม ทำให้ฝ่ายตรงข้ามมองไม่เห็น เหล่านี้แสดงให้เห็นว่าบุคคลกลุ่มนี้ เข้าใจคำสอนของอิสลามผิดพลาดคลาดเคลื่อนไป
            ในส่วนทัศนะในเรื่องประวัติศาสตร์นั้น จะต้องเข้าใจว่าเป็นเรื่องของอดีต แก้ไขไม่ได้ การสู้รบกันระหว่างมนุษย์ มีมาตลอดประวัติศาสตร์ด้วยเหตุผลต่าง ๆ
            ในอดีตคนเชื้อสายมลายู มีแหล่งอาศัยอยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ความเป็นไปในประวัติศาสตร์ ทำให้คนเชื้อสายมลายูกระจายอยู่ทั่วประเทศไทย การใช้ภาษามลายูถูกลืมเลือนไป ตามความเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์
            หากมองจากฐานคติของอิสลามแล้ว การมาเป็นศาสนิกนั้นคือการยินยอมที่จะเป็นคนที่ข้ามข้อจำกัดทางชาติพันธุ์ ภาษา สีผิวหรือแม้แต่ความเป็นคนของรัฐใดรัฐหนึ่ง ไปสู่ความเป็นสมาชิกของมนุษยชาติอันเป็นสากล  การแบ่งแยกตนเอง นำคนเพียงชาติพันธุ์เดียวไปสู่การปกครองตนเองเป็นทัศนะที่คับแคบ ไม่สอดคล้องกับอุดมการณ์ของอิสลาม
            ในเรื่องญีฮาดนั้น เห็นว่าผู้เขียนเอกสารมีความเข้าใจคำสอนเรื่องญีฮาดคับแคบ และเลือนลาง พฤติกรรมที่ส่อแสดงไปในความเชื่อแบบบ้าคลั่ง งมงายและไร้เหตุผล ฆ่าคนบริสุทธิ์อย่างไม่เลือกหน้า นับว่าห่างไกลจากความหมายของคำว่าญีฮาด
            ขอให้คนไทยทุกคนที่อาศัยอยู่บนพื้นแผ่นดินที่เรียกว่า ประเทศไทย ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด ชาติพันธุ์ใด สีผิวใด พูดภาษาอะไร มีลักษณะทางกายภาพเป็นอย่างไร เขาคือคนไทย แผ่นดินทุกตารางนิ้วที่เราอาศัยอยู่นี้คือ แผ่นดินไทย คนไทยทุกคนเป็นเจ้าของ ประวัติศาสตร์การสร้างชาติจะเป็นมาอย่างไรก็แล้วแต่ แต่ ณ วันนี้แผ่นดินรูปขวานทองนี้คือแผ่นดินไทย ใครจะมาแบ่งแยกโดยอ้างเหตุผลใดไม่ได้ทั้งสิ้น และเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน ที่จะปกป้องแผ่นดินนี้ ให้สืบทอดสู่ลูกหลานไทยต่อไป และมีหน้าที่ที่จะต้องให้ดินแดนนี้ เป็นดินแดนแห่งความสงบสุขสันติ และเป็นดินแดนที่คนไทยทุกหมู่เหล่า สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์สืบไป


 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์