ท่องเที่ยว
||
เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว
||
ดูดวงตำราไทย
||
อ่านบทละคร
||
เกมส์คลายเครียด
||
วิทยุออนไลน์
||
ดูทีวี
||
ท็อปเชียงใหม่
||
รถตู้เชียงใหม่
Truehits.net
dooasia : ดูเอเซีย
รวมเว็บ
บอร์ด
เรื่องน่ารู้ของสยาม
สิ่งน่าสนใจ
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
เที่ยวหลากสไตล์
มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
เส้นทางความสุข
ขับรถเที่ยวตลอน
เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
อุทยานแห่งชาติในไทย
วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
ไก่ชนไทย
พระเครื่องเมืองไทย
เที่ยวภาคเหนือ
กำแพงเพชร
:
เชียงราย
:
เชียงใหม่
:
ตาก
:
นครสวรรค์
:
น่าน
:
พะเยา
:
พิจิตร
:
พิษณุโลก
:
เพชรบูรณ์
:
แพร่
:
แม่ฮ่องสอน
:
ลำปาง
:
ลำพูน
:
สุโขทัย
:
อุตรดิตถ์
:
อุทัยธานี
เที่ยวภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
:
ขอนแก่น
:
ชัยภูมิ
:
นครพนม
:
นครราชสีมา(โคราช)
:
บุรีรัมย์
:
มหาสารคาม
:
มุกดาหาร
:
ยโสธร
:
ร้อยเอ็ด
:
เลย
:
ศรีสะเกษ
:
สกลนคร
:
สุรินทร์
:
หนองคาย
:
หนองบัวลำภู
:
อำนาจเจริญ
:
อุดรธานี
:
อุบลราชธานี
:
บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
เที่ยวภาคกลาง
กรุงเทพฯ
:
กาญจนบุรี
:
ฉะเชิงเทรา
:
ชัยนาท
:
นครนายก
:
นครปฐม
:
นนทบุรี
:
ปทุมธานี
:
ประจวบคีรีขันธ์
:
ปราจีนบุรี
:
พระนครศรีอยุธยา
:
เพชรบุรี
:
ราชบุรี
:
ลพบุรี
:
สมุทรปราการ
:
สมุทรสาคร
:
สมุทรสงคราม
:
สระแก้ว
:
สระบุรี
:
สิงห์บุรี
:
สุพรรณบุรี
:
อ่างทอง
เที่ยวภาคตะวันออก
จันทบุรี
:
ชลบุรี
:
ตราด
:
ระยอง
เที่ยวภาคใต้
กระบี่
:
ชุมพร
:
ตรัง
:
นครศรีธรรมราช
:
นราธิวาส
:
ปัตตานี
:
พัทลุง
:
พังงา
:
ภูเก็ต
:
ยะลา
:
ระนอง
:
สงขลา
:
สตูล
:
สุราษฎร์ธานี
www.dooasia.com
>
มรดกไทย
>
ประวัติจังหวัด
|
ย้อนกลับ
|
หน้าต่อไป
|
|
พัฒนาทางประวัติศาสตร์
|
มรดกทางธรรมชาติ
|
มรดกทางวัฒนธรรม
|
มรดกทางพระพุทธศาสนา
|
มรดกทางพุทธศาสนา
วัดอุดมธัญญาหาร
วัดอุดมธัญญาหาร ตั้งอยู่ที่บ้านโคกหัวข้าว ตำบลท่าด่าน อำเภอพนมสารคาม เป็นวัดที่อยู่ในสมัยอยุธยาตอนปลาย - สมัยรัตนโกสินทร์ ตัววัดเก่าตั้งอยู่ในหมู่บ้าน จากการสำรวจพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีบ้างเล็กน้อย ได้พบระฆังเก่า ๒ ใบ แขวนอยู่บริเวณลานวัด ที่โบสถ์หลังใหม่พบใบเสมาทำด้วยหินทรายแดงปักอยู่เป็นคู่
วัดโพธิรังษี
วัดโพธิรังษี ตั้งอยู่ที่บ้านเมืองกาย ตำบลพนมสารคาม อำเภอพนมสารคาม เป็นวัดที่อยู่ในสมัยอยุธยาตอนปลาย - สมัยรัตนโกสินทร์ คนในหมู่บ้านนี้เล่ากันมาว่าได้อพยพมาจากเวียงจันทน์เมื่อประมาณ ๒๐๐ ปีมาแล้ว พระประธานของวัดคือ
หลวงพ่อแดง
มีอายุกว่า ๒๐๐ ปี
จากการสำรวจพบว่าพระอุโบสถหลังเก่าอายุประมาณ ๒๐๐ ปี ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังทั้ง ๔ ด้าน มีลักษณะเป็นฝีมือช่างพื้นเมือง นอกจากนี้ยังพบหลักฐานทางโบราณคดีในบริเวณหมู่บ้าน ได้แก่เศษภาชนะดินเผา เศษเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์เหม็งตอนปลาย สันนิษฐานว่าบริเวณนี้เป็นชุมชนที่มีอายุอยู่ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
วัดท่าลาดใต้
วัดท่าลาดใต้ ตั้งอยู่ที่บ้านท่าลาดใต้ ตำบลท่าด่าน อำเภอพนมสารคาม ยังไม่สามารถกำหนดอายุได้ มีคลองท่าลาดอยู่ทางทิศเหนือ จากการสำรวจพบหลักฐานทางโบราณคดีไม่มาก บริเวณนอกวัดพบแนวคันดิน สันนิษฐานว่า เป็นถนนพระรถซึ่งเป็นแนวคันดินเตี้ย ๆ พบเศษภาชนะดินเผา เครื่องถ้วยจีนจำนวนเล็กน้อย พระประธานเก่าในวิหารสร้างมาแล้วกว่า ๑๐๐ ปี
วัดท่าลาดเหนือ
วัดท่าลาดเหนือ ตั้งอยู่ในเขตตำบลท่าด่าน อำเภอพนมสารคาม จากการสำรวจพบโบราณวัตถุหลายรายการ ได้แก่เสมาหินทรายแดง จำนวน ๘ ใบ เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองที่ยังมีสภาพสมบูรณ์ เป็นเจดีย์ศิลปะอยุธยาตอนปลาย - รัตนโกสินทร์ บริเวณหลังหอกลองพบเศษภาชนะดินเผาหลายประเภทกระจายอยู่ มีทั้งที่เป็นเนื้อดินธรรมดา และที่เป็นเครื่องสังคโลก เศษถ้วยจีนสมัยราชวงศ์เหม็งตอนปลาย
ห่างออกไปทางทิศใต้ประมาณ ๒๐๐ เมตร ฝั่งตรงข้ามกับวัดท่าลาดเหนือ มีเนินดินที่มีเจดีย์อยู่บนเนินจำนวนเนิน สันนิษฐานว่าบริเวณนี้น่าจะเป็นแหล่งชุมชนที่มีมาแล้วตั้งแต่สมัยอยุธยา - รัตนโกสินทร์
วัดแปลงยาว
วัดแปลงยาว ตั้งอยู่ที่บ้านแปลงยาว ตำบลแปลงยาว อำเภอแปลงยาว บริเวณพื้นที่หมูบ้านแปลงยาวเดิมเป็นที่อยู่อาศัยของชาวเขมร อพยพที่เข้ามาตั้งรกรากอยู่ ณ ที่นี้ และได้มีการสร้างวัดขึ้น ได้พบก้อนแลงอยู่บริเวณวัดเดิม พบลูกปัดบริเวณทุ่งนา เดิมบริเวณนี้มีคลองวังด่าน ซึ่งเป็นคลองธรรมชาติ อยู่ใกล้กับหนองโบสถ์ไปสิ้นสุดที่บ้านวังด่าน และได้มีผู้ขุดพบพระพุทธรูปในบริเวณนี้อีกด้วย
จากการสำรวจพบโบราณวัตถุหลายชนิดอยู่ในบริเวณวัดคือ ใบเสมาหินทราย ก้อนแลงสกัดเป็นรูปสี่เหลี่ยม จำนวน ๕ ก้อน กระจายอยู่รอบพระอุโบสถทางด้านทิศตะวันตก บริเวณบ่อน้ำพบเศษเครื่องถ้วยจีนและเศษเครื่องปั้นดินเผา สันนิษฐานว่าบริเวณนี้เป็นแหล่งชุมชนที่ตั้งอยู่บนเส้นทางการติดต่อระหว่าง พนมสารคาม พานทอง และพนัสนิคม
มีอายุอยู่ในสมัยทวาราวดี - อยุธยา จัดเป็นกลุ่มชนสมัยประวัติศาสตร์ตอนต้นในวัฒนธรรมทวาราวดี
วัดหัวสำโรง
วัดหัวสำโรง ตั้งอยู่ที่บ้านหัวสำโรง ตำบลหัวสำโรง อำเภอแปลงยาว พระอุโบสถสร้างเมื่อประมาณเกือบ ๑๐๐ ปีมาแล้ว มีกำแพงล้อมรอบ ตัวกำแพงทำเป็นรูปลิงแบกเรียงรายตลอดแนวทั้ง ๔ ด้าน พระประธานในพระอุโบสถเป็นศิลปสมัยรัตนโกสินทร์ บานประตูหน้าต่างเป็นไม้สลักลายต่าง ๆ คือบานประตูสลักเป็นภาพยักษ์และเทวดายืนคู่กัน หน้าต่างเป็นรูปเทพนม หลังคามีคันทวยรองรับประดับกระจกสี
จากการสำรวจสันนิษฐานว่า บริเวณวัดหัวสำโรงเป็นชุมชนที่มีอายุอยู่ในสมัยรัตนโกสินทร์ อาจเป็นชุมชนที่เป็นทางผ่านไปยังพานทอง พนัสนิคม และพนมสารคาม เป็นเส้นทางเดินเลียบชายทุ่งมาแต่สมัยโบราณ
วัดท้าวอู่ไท
วัดท้าวอู่ไท อยู่ในเขตตำบลท่ากระดาน อำเภอสนามชัยเขต เป็นวัดโบราณสมัยทวาราวดี พบอิฐสมัยทวาราวดีอยู่ ๔ แผ่น และแผ่นศิลารูปหน้าจั่ว
ในสมัยรัตนโกสินทร์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว หลวงพ่อบัวได้ทำการปฏิสังขรณ์ สร้างเจดีย์ อุโบสถ และ เสนาสนะต่าง ๆ มีหลักฐานปรากฏอยู่ คือฐานเจดีย์ โบสถ์ พระพุทธรูป และวัตถุอื่น ๆ
ต่อมาหลวงพ่อคง ได้ย้ายไปสร้างวัดใหม่ที่วัดชำป่างาม วัดท้าวอู่ไทจึงถูกทิ้งร้างอยู่กลางป่า ทำให้บรรดาสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ชำรุดทำลายไปเหลือแต่ซาก จนล่วงมาถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๓ เจ้าอาวาสวัดชำป่างาม และประชาชนได้เข้าไปประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และได้ช่วยกันพัฒนาวัดท้าวอู่ไทมาจนถึงปัจจุบัน
วัดโสธรวรารามวรวิหาร
วัดโสธร ฯ อยู่ในเขตตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง ฯ เดิมชื่อ
วัดหงส์
สร้างสมัยอยุธยาตอนปลาย ต่อมาได้ถูกน้ำในแม่น้ำบางปะกง เซาะตลิ่งพังทลายไป จึงได้สร้างขึ้นใหม่ชื่อว่า
วัดเสาธง
หรือวัดเสาทอน แล้วจึงเปลี่ยนมาเป็นวัดโสธร ต่อมาได้อัญเชิญพระพุทธรูปโบราณองค์หนึ่งเรียกว่า พระพุทธโสธร มาประดิษฐานที่พระอุโบสถของวัด ตามประวัติกล่าวว่า พระพุทธโสธรได้แสดงอภินิหารลอยน้ำมาตามแม่น้ำบางปะกง เมื่อมาถึงน้ำวนใกล้วัดโสธร ก็ลอยวนอยู่ ณ ที่นั้น ชาวบ้านจึงได้อัญเชิญขึ้นมาจากน้ำ
วัดโสธรเป็นวัดราษฎรมาแต่เดิม ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๑ จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร มีนามว่าวัดโสธรวรารามวรวิหาร
วัดโสธร ฯ เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองของเมืองฉะเชิงเทรา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๓ ตามแบบอย่างรัชกาลก่อน ๆ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๕๔ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งพระราชพิธีราชาภิเษกสมโภช มีการตักน้ำจากแม่น้ำ และแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ทั่วพระราชอาณาจักร ที่ถือว่าเป็นแหล่งสำคัญและเป็นสิริมงคลไปตั้งทำพิธี ณ วัดสำคัญในมณฑลต่าง ๆ จำนวน ๑๐ มณฑล รวมกับพระมหาเจดีย์อีก ๗ แห่ง สำหรับมณฑลปราจีนบุรี วัดโสธรฯ ได้รับเลือกให้เป็นสถานที่ตั้งทำพิธีสำคัญดังกล่าว
วัดพยัคฆอินทาราม (วัดเจดีย์)
วัดเจดีย์ ตั้งอยู่ในเขตตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง ฯ สร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๑๖ มีพระธาตุเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ วิหารพระพุทธบาท เจดีย์ใหญ่ ๑ องค์ และเจดีย์เล็ก ๒ องค์ ได้ค้นพบแผ่นเงินจารึกข้อความทำด้วยเงินหนัก ๓ บาท ๒ สลึง รูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้างประมาณ ๘ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๒๘ เซนติเมตร มีข้อความจารึกถึงประวัตินายช้าง และนายเสือ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นายเสือได้เป็นปลัดเมืองฉะเชิงเทรา นายช้างได้เป็นที่พระวิเศษฤาไชย เจ้าเมืองฉะเชิงเทรา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๖ ซึ่งเป็นเวลาใกล้เคียงกับที่นายช้างได้สร้างพระอุโบสถที่วัดโสธร ฯ นายเสือและนางอินทร์ ภรรยาได้สร้างเจดีย์องค์ใหญ่ที่ ตำบลบ้านใหม่แห่งนี้ เมื่อสร้างวัดเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๒๔ วัดแห่งนี้จึงได้ชื่อว่าวัดพยัคฆอินทาราม เชื่อกันว่ามาจากชื่อของสองสามีภรรยาผู้ร่วมกันสร้างวัดนี้ขึ้นมา
วัดสุคันธาราม (วัดหอมศีล)
วัดสุคันธาราม ตั้งอยู่ในเขตตำบลบางเกลือ อำเภอบางปะกง มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญคือ อุโบสถ ใบเสมา วิหาร และกำแพง
เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๕๔ - ๒๔๕๕ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมเด็จ ฯ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุฒิ
กรมหลวงนครราชสีมา ได้เสด็จประพาสโดยชลชาร์ค มาที่วัดหอมศีล ทรงสำราญพระทัยในการประทับแรมในเรือที่หน้าวัดหอมศีลมาก เมื่อเสด็จกลับแล้วจึงได้ให้พระยากัลยายุทธกิจ (สอน ไกรฤกษ์) เป็นผู้สนองพระราชดำริ ในการบูรณวัดแห่งนี้ ให้หลวงประดิษฐ์นิเวศน์
(ชุ่ม ยุวเตมีย์) เป็นผู้ก่อสร้าง นายสาร เสวีวัลยา เป็นผู้ประสานงาน ได้ดำเนินการก่อสร้างพระอุโบสถ พื้นปูกระเบื้อง ฝาผนังก่อด้วยอิฐถือปูน กว้าง ๔ วา ๒ ศอก ยาว ๗ วา ๒ ศอก
วัดปิตุลาธิราชสังสฤษฏิ์ (วัดเมือง)
วัดเมือง อยู่ในเขตตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง ฯ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นความสำคัญในการป้องกันพระนคร จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างป้อมปืน และกำแพงเมืองเพื่อป้องกันข้าศึก มิให้เข้ามาถึงพระนครทั้งยังเป็นที่ป้องกันให้แก่ราษฎร ณ ที่นั้น ขณะที่มีการก่อสร้างกำแพงเมืองและป้อมต่าง ๆ ก็ได้สร้างวัดขึ้นมาด้วย ชาวบ้านเรียกว่าวัดเมือง การก่อสร้างดังกล่าวได้โปรดเกล้า ฯ ให้กรมหลวงรักษรณเรศ (หม่อมไกรสร) เป็นแม่กองก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๗
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสฉะเชิงเทรา ได้พระราชทานนามวัดเมืองแห่งนี้ว่า วัดปิตุลาราชรังสฤษฏิ์ ภายในวัดประกอบด้วย
พระอุโบสถ
ก่ออิฐถือปูน หันหน้าไปทางทิศตะวันออก หลังคาเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง เป็นชั้นซ้อน ๓ ชั้น ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ด้านข้างเป็นชั้นซ้อน ๓ ชั้น ส่วนมุขที่ยื่นออกมาทั้งด้านหน้าและด้านหลัง หลังคาซ้อนกัน ๒ ชั้น หน้าบันเป็นลายปูนปั้นรูปพรรณพฤกษา ลงรักปิดทอง ประดับกระจก เฉพาะหน้าบันมุขด้านหน้าพระอุโบสถมีพระปรมาภิไธยย่อ จปร.
พระวิหาร
ลักษณะคล้ายพระอุโบสถ แต่มีขนาดใหญ่กว่า หันหน้าไปทางทิศเหนือ มีพระปรางค์ ๔ องค์ อยู่ที่มุมกำแพงล้อมพระวิหาร เป็นปรางค์ย่อมุมไม้สิบสอง กำแพงแก้วก่ออิฐถือปูน มีทางเข้า ๖ ด้าน มีการหักมุมกำแพงแก้วที่ล้อมพระวิหาร บริเวณมุมกำแพงแก้วด้านตะวันออกทั้งสองด้านทำเป็นระเบียงคดหลังคามุงกระเบื้อง
วัดเทพนิมิตร
วัดเทพนิมิตร ตั้งอยู่ที่ถนนศุภกิจ ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง ฯ วัดนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้พระราชทานพระบรมรูปโลหะหล่อไว้เป็นอนุสรณ์คราวสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นวัดที่เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ ขนาดใหญ่ที่สุดของจังหวัดฉะเชิงเทรา
วัดสัมปทวน
วัดสัมปทวน ตั้งอยู่ที่บ้านสัมปทวน ตำบลบางแก้ว อำเภอเมือง ฯ วัดแห่งนี้เป็นแหล่งศึกษาสภาพเมืองแปดริ้วในอดีต มีภาพพุทธประวัติตามตำนานทั้งของไทยและของจีน สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส โดยได้ประทับแรมที่วัดนี้ในคราวเสด็จตรวจการณ์คณะสงฆ์เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๘
วัดเทพราช
วัดเทพราช ตั้งอยู่ในเขตตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จประพาสโดยชลมาร์ค เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๑ ประทับเรือพระที่นั่งมอร์เตอร์ประพาสคลองท่าถั่ว ซึ่งต่อมามีชื่อว่าคลองประเวศน์ เสวยพระกระยาหารกลางวันที่วัดเทพราช ในปีต่อมาได้โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าอาวาสวัดเทพราชเข้ารับพระราชทานเครื่องลังเค็ด ซึ่งประกอบด้วยตาลปัตร ปิ่นโต บาตร โถใส่ข้าว กล่องหมาก บุหรี่ กระโถน ซึ่งใช้ในงานพระศพพระราชโอรส คือพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภชเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๒ ของเหล่านี้ยังเก็บรักษาไว้ในพระอุโบสถของวัดมาถึงปัจจุบัน
วัดปถวีปัพตาราม (วัดเขาดิน)
วัดปถวี ฯ ตั้งอยู่ที่บ้านเขาดิน ตำบลบางผึ้ง อำเภอบางปะกง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จทอดพระเนตรวัดนี้เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๒ ภายในวัดมีมณฑป ภูเขาและถ้ำ มณฑปเป็นทรงสี่เหลี่ยมก่ออิฐสันนิษฐานว่า สร้างสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
วัดบ้านกล้วย
วัดบ้านกล้วย ตั้งอยู่ที่บ้านกล้วย ตำบลคลองเขื่อน กิ่งอำเภอคลองเขื่อน ลักษณะเป็นมณฑปฐานสูงมีเจดีย์ราย ๓ ด้าน มีทางขึ้นลง ๒ ทาง สันนิษฐานว่าสร้างสมัยธนบุรี - รัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยช่างชาวจีนเป็นผู้สร้าง เพราะบริเวณหลังคามีถ้วยชามสังคโลกประดับติดอยู่เป็นจำนวนมาก
วัดสายชล ณ รังษี (วัดแหลมบน)
วัดสายชล ฯ ตั้งอยู่ในเขตตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง ฯ สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับอิทธิพลทางด้านรูปแบบจากวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) หน้าบันพระอุโบสถเป็นรูปแกะสลักนารายณ์ทรงครุฑ
ประวัติการสร้างวัดสายชล ฯ มีอยู่ว่าชาวจีนสามตระกูลแซ่ ได้แก่ แซ่โง้ว แซ่ลิ้ม และแซ่ตัน ร่วมกันสร้างวัดนี้ขึ้น โดยเริ่มดำเนินการเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๘๕ สิ่งก่อสร้างที่สำคัญคือ พระอุโบสถหลังเก่าก่ออิฐถือปูนหลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างชาวลาว หน้าบันเป็นลายกนก พระนารายณ์ทรงครุฑ สลักด้วยไม้สักสวยงาม ช่อฟ้า ใบระกา เป็นไม้สักลงรัก ติดกระเบื้องสวยงาม เป็นเลิศในศิลปกรรมไทย ภายในพระอุโบสถมีจิตรกรรมฝาผนังเรื่องราวพุทธประวัติ
|
ย้อนกลับ
|
หน้าต่อไป
|
บน
|
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย
www.dooasia.com
เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com
ใช้
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย
.