ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี



| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

ศาสนพิธีกรรม ความเชื่อ
            ศาสนาและความเชื่อของชาวชัยภูมิ มีความคล้ายคลึงกับชาวไทยในภาคอีสานโดยทั่วไป คือการนับถือศาสนากับความเชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติเช่น การนับถือผีแถน ผีค้ำ หรือผีบรรพบุรุษ ผีมเหสักข์ (ผีหอผีโฮง) ผีน้ำ ผีป่า ทำให้เกิดประเพณี พิธีกรรม เพื่อทำให้ผีพอใจเช่น ในฮีตสิบสอง คองสิบสี่ อันเป็นกฎหมายแบบจารีตประเพณี กำหนดพิธีกรรมต่าง ๆ จึงมีลักษณะผสมผสานเป็นพุทธศาสนาที่ปะปนกับคติเรื่องผี นอกจากนั้นยังมีลัทธิศาสนาต่าง ๆ ได้แก่
            พระพุทธศาสนา  หลักฐานจากใบเสมาและพระพุทธรูปที่พบตามเมืองโบราณต่าง ๆ กล่าวได้ว่าเป็นเมืองที่นับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท จนกระทั่งมีการจัดระเบียบพระพุทธศาสนาและคณะสงฆ์ตามแบบแผนปัจจุบัน ที่ปรากฏหลักฐาน ประมาณปี พ.ศ.๒๓๖๐ แต่จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และประวัติของจังหวัดชัยภูมิ พบว่าวัดในเขตอำเภอเมือง ฯ  อำเภอบ้านเขว้า อำเภอเกษตรสมบูรณ์ อำเภอภูเขียว อำเภอจตุรัส อำเภอคอนสวรรค์ อำเภอบำเหน็จณรงค์ และอำเภอคอนสาร มีอายุประมาณ ๓๐๐ ปี
                การจัดระเบียบการปกครองคณะสงฆ์เริ่มชัดเจนในสมัยพระยาภักดีชุมพล (เกตุ) เจ้าเมืองชัยภูมิคนที่สอง เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๓๗๔ ซึ่งได้ย้ายเมืองมาจากบ้านหนองปลาเฒ่า มาตั้งที่บ้านโนนปอปิด ซึ่งมีวัดโนนปอปิดตั้งอยู่ และได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดกลาง เจ้าอาวาสคือ หลวงปู่หลักคำ (พระอาจารย์สิงห์ ชินวโส) เป็นเจ้าคณะจังหวัดชัยภูมิรูปแรก โดยได้สมณศักดิ์เป็นที่พระครูปรีชาชินวงศาจารย์
                ในปี พ.ศ.๒๔๔๖ พระสงฆ์คณะธรรมยุติเข้ามาเผยแผ่ศาสนาในจังหวัดชัยภูมิครั้งแรก โดยพระครูหล้า เขมิโย ได้เข้ามาประจำอยู่ที่บ้านเต่า อำเภอบ้านแท่น ได้ตั้งวัดที่บ้านเต่าชื่อ วัดชัยชุมพล เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๖
                คริสตศาสนา  ก่อนสงครามมหาเอเซียบูรพาในปี พ.ศ.๒๔๘๔ ได้มีหน่วยประกาศข่าวประเสริฐมาที่จังหวัดชัยภูมิ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๙๘ ศาสนาคริสต์ นิกายโปรเตสแตนท์ โดยสามีภรรยาคู่หนึ่งได้เข้ามาเผยแพร่ศาสนาในเขตจังหวัดชัยภูมิ และได้มีมิชชันนารีสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้ามาเผยแพร่ติดต่อกันมาไม่ได้ขาด  ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๒๐ ได้มีการตั้งคริสตจักรขึ้น โดยเช่าบ้านในตัวจังหวัด เปิดเป็นบ้านแห่งชีวิตใหม่ ใช้เป็นห้องสมุด ที่ประชุมชั่วคราว และที่พักของมิชชันนารี มีการประชุมติดต่อกับบุคคลมากขึ้น  ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๒๒ ได้ซื้อที่ดินเพื่อคริสตจักรที่บ้านโนนสาธรในเขตตัวเมืองชัยภูมิ โดยมอบที่ดินให้ในนามมูลนิธิ
คริสเตียนแห่งประเทศไทย การก่อสร้างอาคารของคริสตจักรเริ่มในปี พ.ศ.๒๕๒๓
                คริสตศาสนานิกายโรมันคาทอลิกจัดให้จังหวัดชัยภูมิอยู่ในสังฆมณฑลนครราชสีมา การเริ่มประกาศศาสนานิกายนี้ ที่จังหวัดชัยภูมิเริ่ม เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๕  มีการสร้างโบสถ์หลังแรกเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๕๒๐ ที่บริเวณห้าแยกโนนไฮในตัวเมืองชัยภูมิ ให้ชื่อโบสถ์ว่าวัดพระเยซูกลับคืนชีพชัยภูมิ
                ศาสนาอิสลาม  ผู้นับถือศาสนาอิสลามในจังหวัดชัยภูมิส่วนมากจะเป็นผู้อพยพมาจากจังหวัดอื่น กลุ่มใหญ่จะอยู่ในเขตอำเภอจตุรัส และอำเภอบำเหน็จณรงค์ เป็นกลุ่มที่อพยพมาจากอำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๕๑๑ และอีกกลุ่มหนึ่งเป็นคนในตระกูลไบคานในตัวจังหวัดชัยภูมิ ซึ่งอพยพมาจากจังหวัดสระบุรี และมีกระจัดกระจายอยู่ตามอำเภอต่าง ๆ มีอยู่ประมาณร้อยละ ๐.๐๒ ของประชากรในจังหวัดชัยภูมิ องค์กรอิสลามในจังหวัดชัยภูมิ เริ่มก่อตั้งเป็นปึกแผ่น ในปี พ.ศ.๒๕๔๐ เมื่อมีการสร้างมัสยิดที่อำเภอจตุรัส ชื่อมัสยิดดารุซซาริฟ และมีการแต่งตั้งผู้ปกครองถูกต้องตามกฎหมายครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๐ มีการทำพิธีละหมาดในวันศุกร์ มีการสอนศาสนาแก่เยาวชน
                ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู ซิกซ์  มีอยู่น้อย มีอยู่ประมาณร้อยละ ๐.๐๐๓ ของประชากรในจังหวัด ไม่มีสถานประกอบศาสนกิจ ผู้ที่นับถือจะไปร่วมพิธีในจังหวัดอื่น และบางส่วนหันไปนับถือพระพุทธศาสนา
พิธีกรรมและความเชื่อ

                ความเชื่อเกี่ยวกับเจ้าพ่อพระยาแล  เจ้าเมืองคนแรกของเมืองชัยภูมิ ชาวชัยภูมิเชื่อว่าท่านพลีชีพตนเองเพราะไม่ยอมทรยศต่อแผ่นดินไทย จึงเป็นสัญลักษณ์ของความกล้าหาญ ความจงรักภักดีต่อแผ่นดิน และราชวงศ์จักรี จนมีคำขวัญของจังหวัดว่า "ชัยภูมิ เมืองผู้กล้าพญาแล"
                ตามคติของการเชื่อผีบรรพบุรุษ ชาวชัยภูมิยังเชื่อว่าดวงวิญญาณของท่านยังคอยปกปักคุ้มครองเมืองชัยภูมิ ให้เกิดความสงบสุขร่มเย็นตลอดมา
                ความเชื่อเกี่ยวกับปู่ด้วง ย่าดี  ในพิธีกรรมเกี่ยวกับผีบรรพบุรุษ ผู้เข้าร่วมพิธีจะต้องเชิญท่านทั้งสองมาเป็นอาจารย์ในพิธีกรรมเสมอ ผู้คนถือว่าท่านคือผู้คุ้มครองสรรพสิ่งในขุนเขาภูแลนคาให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข จะพบศาลปู่ด้วงตั้งกระจัดกระจายอยู่หลายแห่งบนเทือกเขาภูแลนคาจนมีคำกล่าวว่า "ปู่ด้วง เจ้าแห่งขุนเขาภูแลนคา"
                ส่วนย่าดี เป็นผู้เกิดหลังปู่ด้วงเสียชีวิตแล้วประมาณ ๒๐ ปี ได้ไปจำศีลภาวนา ณ บริเวณที่ปู่ด้วงเคยอยู่ และปฏิบัติตนเช่นเดียวกับปู่ด้วง บริเวณนั้นจึงเรียกว่า หมู่บ้านเก่าย่าดี อยู่ในเขตอำเภอแก่งคร้อ
                ความเชื่อเกี่ยวกับพระเจ้าองค์ตื้อ  พระเจ้าองค์ตื้อเป็นพระพุทธรูปศิลปะสมัยลพบุรี ชาวชัยภูมิและจังหวัดใกล้เคียง เชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ สามารถดลบันดาลให้ประสบความสำเร็จในสิ่งที่ประรถนาได้
                ความเชื่อเกี่ยวกับพิธีบวงสรวงเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษหรือเจ้านาย  เป็นความเชื่อในอำนาจลึกลับเหนือธรรมชาติที่ปกป้องคุ้มครองบ้านเมือง และผู้คนให้อยู่เย็นเป็นสุข โดยการติดต่อผ่านคนทรง คนทรงจึงมีบทบาทเป็นผู้นำในการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ บุคคลที่ประกอบพิธีกรรมกลุ่มนี้ได้แก่ บัวนาง หรือนางเทียม และข้าเฝ้าจะมีสองฝ่ายคือ ฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย ฝ่ายชายเรียกว่า แสน ฝ่ายหญิงเรียกว่า นางแต่ง

                ความเชื่อเกี่ยวกับพิธีการลำผีฟ้า  ตามปกติชาวอีสานจะทำพิธีกรรมเกี่ยวข้องกับผีฟ้าหลายลักษณะ เช่น ทำบุญบั้งไฟในเดือนหก การเลี้ยงผีฟ้าในเดือนสาม หรือการลำผีฟ้าเพื่อรักษาผู้ป่วย เป็นต้น
                องค์ประกอบการลำผีฟ้าจะมีสี่ส่วนคือหมอลำผีฟ้า (หมอจ้ำหรือกก)  หมอแคน (หมอม้า)  ผู้ป่วยและเครื่องคาย กระบวนการลำจะเริ่มโดยการที่ครูบา (หมอลำผีฟ้า) กล่าวคำไหว้ครูและเสี่ยงทายอธิษฐานว่าจะหายจากโรคหรือไม่
ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น
            ประเพณีที่คนในท้องถิ่นยึดถือปฏิบัติ มีประเพณีต่าง ๆ ที่สืบทอดกันมา เป็นการผสมผสานระหว่างความเชื่อในพระพุทธศาสนาความเชื่อเรื่องผี และความเชื่อเรื่องพราหมณ์ จำแนกเป็นประเพณีเกี่ยวข้องกับชีวิต ประเพณีการเกษตรและฮีตสิบสอง

            รูปแบบทางสังคมอื่น ๆ  ชาวบน (ญัฮกรู หรือ เนียะกุล) เป็นชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ตามไหล่เขาหรือเนินเขาเตี้ย ๆ ในเขตจังหวัดนครราชสีมา และเพชรบูรณ์บริเวณที่ติดต่อกับจังหวัดชัยภูมิ
            ชาวบนนิยมเลือกคู่ครองในหมู่เดียวกัน ด้วยการชักนำของผู้ใหญ่แต่ละฝ่าย หรือโดยงานประเพณีประจำปี ชาวบนเลือกคู่ครอง โดยการเน้นนิสัยใจคอ ความขยันขันแข็ง เอาการเอางาน มากกว่ารูปร่างหน้าตาและฐานะครอบครัว
            ชาวบนดั้งเดิมมีอาชีพหลักในการทำไร่แบบผสมบนที่สูง นิยมปลูกข้าวโพด มันสำปะหลัง ปอ มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อใช้เป็นอาหาร เช่น เป็ด ไก่ หมู วัว ควาย สุนัข เป็นต้น
            ในอดีต ชาวบนเรียนรู้ภายในครอบครัว เครือญาติ กลุ่มเพื่อน และพระสงฆ์ เรียนรู้จากสุภาษิต คำคม นิทาน เพลง การละเล่น ขนบธรรมเนียมประเพณี
            ชาวบนมีพิธีเลี้ยงปู่ตา (ผีบรรพบุรุษ) ในเดือนห้า เดือนหก ก่อนพิธีจะใช้ไม้ทำเป็นรูปช้าง ม้า หอก ดาบ ปืน ไว้ที่ศาลเจ้า เมื่อถึงวันเลี้ยง ชาวบนจะมาพร้อมกันที่ศาลา มีการประโคมดนตรี เช่น โทน ปี่แก้ว แคน มีการเข้าทรงผี เซ่นผี
| ย้อนกลับ | บน | หน้าต่อไป |



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์