ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี



| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

เทือกเขาและภูเขา

            เทือกเขาภูแลนคา  เป็นกลุ่มเขาหลายลูกที่พาดผ่านพื้นที่ตอนกลางของจังหวัด ในแนวตะวันตกไปตะวันออก โดยเริ่มที่บริเวณ ช่องเขาขาด อันเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างเทือกเขาภูแลนคา กับเทือกเขาพังเหย มีแม่น้ำชีไหลผ่านช่องเขานี้ ภูเขาสำคัญในเทือกเขานี้ คือ
                    ภูแลนคา  อยู่ในเขตอำเภอหนองบัวแดง  อำเภอบ้านเขว้า และอำเภอเมือง ฯ
                    ภูอีเฒ่า  อยู่ในเขตอำเภอแก่งคร้อ  อำเภอเมือง ฯ และอำเภอคอนสวรรค์
                    ภูเกษตร  อยู่ในเขตอำเภอเกษตรสมบูรณ์  อำเภอแก่งคร้อ
                    ภูตี  อยู่ในเขตอำเภอเกษตรสมบูรณ์  อำเภอแก่งคร้อ  ภูดีเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของเทือกเขาภูแลนคา สูง ๑,๐๐๘ เมตร จากระดับน้ำทะเล
                    ภูหยวก  อยู่ในเขตอำเภอภูเขียว
                    ภูพระ ภูแฝด  อยู่ในเขตอำเภอเมือง ฯ
                    ภูคำน้อย  อยู่ในเขตอำเภอเมือง ฯ
                    ผาเกิ้ง หรือช่องบุญกว้าง  เป็นช่องเขาที่จะลงจากอำเภอเมือง ฯ ไปอำเภอหนองบัวแดง

            เทือกเขาพังเหย  เป็นกลุ่มเขาที่ทอดจากเทือกเขาภูแลนคา ตั้งต้นบริเวณ ช่องเขาขาด ในเขตอำเภอบ้านเขว้า ตรงไปทางทิศตะวันตก แล้ววกกลับลงมาทางด้านทิศใต้ เป็นแนวยกสูงของแผ่นดิน ส่วนที่ติดต่อกับพื้นที่ภาคกลาง จึงมีลักษณะเป็นขอบของที่ราบสูงอีสานที่ยกสูงขึ้นมา มีภูเขาที่สำคัญคือ
                    ภูเขาพังเหย  อยู่ในเขตอำเภอหนองบัวระเหว อำเภอภักดีชุมพล อำเภอหนองบัวแดง อำเภอเทพสถิต โดยมีจุดสูงสุดอยู่ที่บริเวณจุดชมวิว บ้านหลังสัน สูงประมาณ ๑,๐๐๐ เมตร จากระดับน้ำทะเล เป็นจุดสูงสุดของเทือกเขาพังเหย
                    ภูเขาทอง เขาธงหัก  อยู่ในเขตอำเภอหนองบัวระเหว
                    เขาพนมโดม  อยู่ในเขตอำเภอเทพสถิต ในส่วนที่จะต่อไปยังเขาน้อย ในเขตจังหวัดนครราชสีมา
                    ภูหินตั้ง  อยู่ในเขตกิ่งอำเภอซับใหญ่ เป็นภูเขาหินเตี้ย ๆ รูปร่างแปลก ๆ
                    เขายายหอม  อยู่ในเขตอำเภอเทพสถิต มีรอยพระพุทธบาทอยู่บนเขา

            เทือกเขาเขียว  เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาเพชรบูรณ์ โดยจะแยกออกมาทางทิศตะวันออก ในลักษณะเป็นรูปเกือกม้า บริเวณใกล้สันเขาจะเป็นผาสูงชันตลอดแนว มีภูเขาสูงชันเรียงรายสลับซับซ้อน บางแห่งเป็นเทือกเขา หินปูน ภูเขาที่สำคัญคือ
                    เขาเขียว  อยู่ในเขตอำเภอหนองบัวแดง และอำเภอคอนสาร
                    ภูผาชิต  อยู่ในเขตอำเภอคอนสาร
                    ภูโคก  อยู่ในเขตอำเภอคอนสาร
                    ภูกระแต  อยู่ในเขตอำเภอเกษตรสมบูรณ์
                    ภูกุ่มข้าว  อยู่ในเขตอำเภอเกษตรสมบูรณ์  เป็นภูเขารูปร่างคล้ายกองข้าวเปลือกของชาวอีสาน ในลานนวดข้าว กรมป่าไม้ได้จัดทำเป็นสวนรุกขชาติ ๑๐๐ ปี ตามอายุพระพุทธรูปไม้ที่พบบนภูแห่งนี้

                    ภูซำผักหนาม  อยู่ในเขตอำเภอคอนสาร
                    ภูคิ้ว  อยู่ในเขตอำเภอดอนสาร ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว สูงประมาณ ๑,๑๖๕ เมตร จากระดับน้ำทะเลซึ่งเป็นจุดสูงสุดของเทือกเขาเขียว ภูคิ้วเป็นภูเขาหินทราย ด้านหนึ่งเป็นหน้าผาสูงชัน แล้วลาดต่ำลงไป มีทุ่งหญ้าสลับกับพุ่มไม้ ส่วนล่างลงไปเป็นป่าดงดิบ จากหน้าผาภูคิ้ว ถ้าอากาศแจ่มใส จะสามารถมองเห็น ภูกระดึง ภูหอ และภูหลวง ในเขตจังหวัดเลยได้
                    แหลหินตั้ง  อยู่ในเขตอำเภอคอนสาร ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว มีความสูงประมาณ ๑,๑๐๐ เมตร

            เทือกเขาพญาฝ่อ (เทือกเขาเพชรบูรณ์)  เป็นเทือกเขาหมู่ใหญ่ที่เป็นรอยต่อและแบ่งเขตแดน ระหว่างจังหวัดชัยภูมิ กับจังหวัดเพชรบูรณ์ทางด้านตะวันตก ค่อมไปทางเหนือของพื้นที่ เป็นเทือกเขาขนาดใหญ่ มีภูเขาสลับซับซ้อน หลายลูก เช่น
                    ภูเขาพญาฝ่อ  ส่วนใหญ่เป็นภูเขาหินปูน มีพื้นที่ครอบคลุม อำเภอภักดีชุมพล และอำเภอหนองบัวแดง
                    ภูผาทอง ภูถ้ำพระ ภูถ้ำแก้ว  อยู่ในเขตอำเภอภักดีชุมพล
                    ภูเม็ง  เป็นภูเขาที่เป็นแนวเขต อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ กับอำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น

                    ภูผาดำ - ภูผาแดง  อยู่ในเขตอำเภอแก่งคร้อ
                    ภูตะเภา  อยู่ในเขตอำเภอภูเขียว และอำเภอบ้านแท่น เป็นแนวแบ่งเขตของอำเภอทั้งสองดังกล่าว เป็นภูเขาขนาดย่อม รูปร่างคล้ายสำเภาใหญ่ คว่ำอยู่บนภูเขา ซึ่งเป็นที่ราบ เป็นพื้นที่ประมาณ ๒๑ ตารางกิโลเมตร บนภูตะเภา มีถ้ำอยู่หลายแห่ง

            ถ้ำ  มีอยู่เป็นจำนวนมากตามเทือกเขาพญาฝ่อ เทือกเขาพังเหย เทือกเขาภูแลนคา เทือกเขาเขียว ถ้ำที่มีขนาดใหญ่ และเป็นที่รู้จักกันดี ในอำเภอต่าง ๆ มีดังนี้
                    อำเภอภักดีชุมพล  มีถ้ำแก้ว ถ้ำพระ ถ้ำน้ำ ถ้ำประทุน ถ้ำวัวแดง ถ้ำแสงจันทร์ และถ้ำภูเขาทอง
                    อำเภอคอนสาร  มีถ้ำประกายเพชร ถ้ำดอกบัว ถ้ำค้างคาว ถ้ำเสือ ถ้ำเม่น ถ้ำน้ำออก
                    อำเภอหนองบัวแดง  มีถ้ำผานิด ถ้ำผาเทวดา ถ้ำลูกกรง ถ้ำยายชี
                    อำเภอเกษตรสมบูรณ์  มีถ้ำพระ ถ้ำเสือ
                    กิ่งอำเภอซับใหญ่  มีถ้ำผามอง ถ้ำนางหงษ์
            ซากสัตว์โบราณ  มีการสำรวจในเขตอำเภอต่าง ๆ ได้พบซากสัตว์โบราณอยู่หลายชนิดด้วยกันคือ

                ซากไดโนเสาร์  มีพบอยู่ในเขตอำเภอต่าง ๆ คือ
                    อำเภอคอนสวรรค์ พบซากไดโนเสาร์ชนิดใหม่ของโลก ชื่อซิตตาโคซอรัส สัตยารักษ์กี เป็นไดโนเสาร์ปากนกแก้ว ชนิดกินพืช มีขนาดเล็ก ตัวยาวประมาณ ๑ - ๑.๕๐ เมตร อายุประมาณ ๑๐๐ ล้านปี
                    อำเภอบ้านเขว้า พบซากไดโนเสาร์ชนิดกินพืช ชื่อภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน่  ชนิดกินสัตว์ ชื่อสยามโมซอรัส สุธีธรเน่ และสยามไมโทรันนัส อีสานเอนซิส อายุประมาณ ๑๓๐ ล้านปี
                    อำเภอเมือง ฯ  พบซากไดโนเสาร์ชนิดกินพืช และกินสัตว์เช่นเดียวกับอำเภอบ้านเขว้า
                    อำเภอหนองบัวแดง  พบซากไดโนเสาร์ชนิดที่เก่าที่สุดที่เคยพบในประเทศไทย อายุประมาณ ๒๐๐ - ๒๑๐ ล้านปี อยู่ในชั้นหินชุดน้ำพอง เป็นพวกกินพืชพวกโพโตรพอส
                    อำเภอบำเหน็จณรงค์  พบซากไดโนเสาร์ที่ยังไม่อาจระบุชนิดที่ชัดเจนได้
                ซากสัตว์บกอื่น ๆ  ได้แก่ ซากหมีแพนด้า ซากไฮอีนาและลิงอุรังอุตัง ในบริเวณกำในเขตอำเภอคอนสาร อายุประมาณ ๑๐๐ ล้านปี

                ซากสุสานหอย ๑๐๐ ล้านปี  ที่บ้านหนองบัวแดง อำเภอบ้านเขว้า เป็นลานหินที่มีฟอสซิลหอยเป็นจำนวนมากฝังอยู่ในหินทรายแดง เป็นหอยน้ำจืดสองฝา อยู่ในชั้นหินหมวดโคลนกรวด ยุคครีเตเซียสตอนต้น อายุประมาณ ๑๐๐ ล้านปี
                ซากปลาโบราณ  พบฟอสซิลของปลาโบราณรูปร่างเหมือนดักแด้ไหม อายุประมาณ ๒๐๐ ล้านปี อยู่บริเวณเขื่อนจุฬาภรณ์ อำเภอคอนสาร และพบที่บ้านโนนเหลี่ยม อำเภอบ้านเขว้า อายุประมาณ ๑๓๐ ล้านปี
                ซากหนอน  พบฟอสซิลหนอนอยู่ในบริเวณอุทยาน ฯ ป่าหินงาม อำเภอเทพสถิต อยู่ในหินทรายสีน้ำตาล อายุประมาณ ๑๒๐ - ๑๔๐ ล้านปี
| ย้อนกลับ | บน | หน้าต่อไป |



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์