จิตรกรรมวัดใต้ต้นลาน
อยู่ภายในอุโบสถ พื้นที่เขียนคือ บริเวณผนังด้านข้างทั้งสองด้าน ผนังหุ้มกลองด้านหน้า
และด้านหลัง เป็นภาพพุทธประวัติจากปฐมสมโพธิกถา และภาพเทพชุมนุม นั่งเรียงกันสี่ชั้น
หันหน้าไปทางส่วนในของอุโบสถ
การใช้สีและเส้นโดยทั่วไปเป็นสีเทาผสมสีคราม การใช้สีและการเน้นแสดงให้เห็นอิทธิพลตะวันตก
ไม่มีหลักฐานว่าเขียนขึ้นเมื่อใด
วัดอัษฎางคนิมิตร
อยู่ในเขตอำเภอเกาะสีชัง
- พระเจดีย์อุโบสถ
เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนทรงกลม ตั้งอยู่บนฐานทักษิณรูปทรงกลมเช่นเดียวกัน มีลักษณะพิเศษคือ
ชั้นล่างเป็นห้องโถงใหญ่ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป มีลักษณะเป็นอุโบสถ ตอนบนหลังคาเป็นเจดีย์ทรงกลม
เป็นความคิดริเริ่มใหม่ที่ผนวกทั้งอุโบสถและเจดีย์เข้าไว้ในอาคารเดียวกัน
- ต้นศรีมหาโพธิ์ ปลูกอยู่ในฐานก่ออิฐถือปูนในแนวเดียวกับพระอุโบสถ
การปลูกต้นโพธิในแนวนี้ เป็นแนวความคิดที่สืบเนื่องมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เพื่อการระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
วัดญาณสังวรารามมหาวิหาร
อยู่ในเขตตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง เป็นวัดที่สร้างใหม่ แต่บรรดาศิลปสถาปัตยกรรมหลักภายในบริเวณวัด
ได้รับการออกแบบให้เกิดความงาม และความหมายที่ทรงคุณค่า
- พระอุโบสถ
ออกแบบเรียงรายและได้สัดส่วนงดงามตามปรัชญาสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ แต่ยังคงรูปทรงที่สมบูรณ์ของสถาปัตยกรรมไทย
หน้าบันประดิษฐ์เป็นลายปูนปั้นรูปดอกบัวขนาดใหญ่เด่นชัดอยู่ ท่ามกลางดอกบัวขนาดเล็ก
ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปประธานมีพระนามว่า สมเด็จพระพุทธญาณนเรศวร์
ขนาดเท่าพระพุทธชินสีห์ในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศน์วิหาร
- พระบรมธาตุเจดีย์
มีรูปทรงงดงามและสมบูรณ์ด้วยความหมาย มีการจัดพื้นที่เพื่อประโยชน์ใช้สอยอย่างดียิ่งกล่าวคือ
ฐานชั้นล่างเป็นห้องโถงใหญ่ เพื่อเอนกประสงค์ ชั้นที่สองเป็นที่ประชุมสงฆ์
และปฎิบัติสมาธิ ชั้นที่สามเป็นส่วนองค์เจดีย์ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาต
พระบรมธาตุเจดีย์องค์นี้ ได้รับพระราชทานนามว่า พระบรมธาตุเจดีย์มหาจักรีพิพัฒน์
- พระพุทธมณฑป ภปร. สก.
สร้างขึ้นบนยอดเขาแก้ว ด้านหลังพระอุโบสถและพระบรมธาตุเจดีย์ ฯ เป็นศิลปสถาปัตยกรรมที่ทรงคุณค่ายิ่งของจังหวัดชลบุรี
- พระพุทธมหาวชิรอุตโมภาสศาสดา
เป็นภาพวาดพระพุทธรูปขนาดใหญ่ บนหน้าผาเขาชีจรรย์ นับว่าเป็นภาพพระพุทธรูปบนหน้าผาที่แปลกใหม่
และมีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย สามารถมองเห็นได้ในระยะไกลมาก เนื่องจากพื้นที่โดยรอบ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านหน้าองค์พระเป็นที่ราบโล่งไม่มีสิ่งใดกำบัง
พระพุทธมงคลนิมิตต์
ตั้งอยู่ที่วัดธรรมนิมิตต์ เป็นพระพุทธรูปคอนกรีตเสริมเหล็ก และเสริมรูปด้วยกระเบื้องโมเสค
สูงประมาณ ๓๒ เมตร สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา นับว่าเป็นประติมากรรมที่งดงามมากชิ้นหนึ่งของจังหวัดชลบุรี
จิตรกรรมฝาผนังวัดต้นสน
อยู่ที่ฝาผนังอุโบสถทั้งสองด้าน และพื้นที่ส่วนบนตั้งแต่เหนือกรอบหน้าต่างขึ้นไปจนจรดเพดาน
เป็นภาพพุทธประวัติจากปฐมโพธิกถา ส่วนบนเขียนภาพเทพชุมนุมนั่งประณมมือเรียงซ้อนกันสองแถว
ภาพมารผจญมีการใช้หลักทัศนียวิทยาในการเขียน
การจัดองค์ประกอบภาพแบ่งเป็นสองลักษณะคือ องค์ประกอบที่เน้นเรื่องราว เหตุการณ์
และกลุ่มภาพที่แสดงหลาย ๆ เหตุการณ์ องค์ประกอบที่เด่นชัด และไม่ใคร่ปรากฎในจิตรกรรมฝาผนังแหล่งอื่น
ๆ ในจังหวัดชลบุรี คือ รูปแบบของสถาปัตยกรรมแบบจีนเช่น เก๋งจีน เจดีย์แบบจีน
โต๊ะบูชาแบบจีน
อายุของจิตรกรรมอยู่ประมาณรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
จิตรกรรมฝาผนังวัดราษฎร์บำรุง
เป็นจิตรกรรมภายในอุโบสถ พื้นที่ใช้เขียนภาพคือ ผนังหุ้มกลองด้านหน้าและด้านหลัง
พื้นที่ที่เป็นห้องภาพคือ ที่ว่างตลอดแนวระหว่างช่วงหน้าต่าง และผนังส่วนบนเหนือกรอบหน้าต่างขึ้นไปจรดเพดาน
เป็นภาพพุทธประวัติจากพระปฐมสมโพธิกถา ภาพหมู่ทวยเทพบรรเลงดุริยางค์ ภาพเทวดานางฟ้าท่าเหาะ
การเขียนภาพส่วนใหญ่เป็นลักษณะแบบเล่าเรื่อง
การใช้สีที่เป็นจุดเด่นคือ องค์พระพุทธเจ้าจะเน้นพระวรกายด้วยการปิดทองลงไปทั้งหมด
ยกเว้นส่วนที่เป็นจีวร ภาพเกี่ยวกับปราสาทราชวัง บ้านเรือนจะใช้สีเทาหรือขาว
เพดานใช้สีแดง หน้าต่างส่วนที่เป็นกระจกใช้สีครามสดใส ภาพจิตรกรรมเขียน เมื่อประมาณปี
พ.ศ.๒๔๔๔
จิตรกรรมฝาผนังวัดเสม็ด
อยู่ภายในอุโบสถบริเวณผนังด้านข้างทั้งสองด้าน เขียนแปลกไปจากในที่อื่น ๆ
คือ เขียนเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ การปลงกรรมฐานของพระภิกษุ ด้วยวิธีพิจารณาอสุภ
๑๐ นอกจากนั้นยังมีภาพเทวดา พญาครุฑ พญานาค พญายักษ์ พญาวานร ภาพพระอรหันตสาวก
ซึ่งสูงด้วยญาณสมาบัติ ภาพทวยเทพร่ายรำแสดงความยินดีในชัยชนะของพระพุทธเจ้าต่อพญามาร
การใช้สีสรรและเส้น มีการใช้สีค่อนข้างน้อย สีอยู่ในกลุ่มสีค่อนข้างหม่น เช่น
น้ำตาลเทา การจัดองค์ประกอบภาพบริเวณผนังด้านข้างตอนล่าง เน้นเรื่องพระภิกษุกำลังยืน
นั่ง พิจารณาอสุภ ฉากหลังของภาพบริเวณที่เป็นห้องภาพ เป็นภาพทิวทัศน์ตามวิธีการของศิลปะตะวันตก
มีอายุประมาณปี พ.ศ.๒๔๓๑
จิตรกรรมฝาผนังวัดใต้ต้นลาน
อยู่ภายในอุโบสถ บริเวณผนังด้านข้างทั้งสองด้าน ผนังหุ้มกลองทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
เป็นภาพแสดงพระพุทธประวัติ จากปฐมสมโพธิกถา และภาพเทพชุมนุมนั่งเรียงกันสี่ชั้น
หันหน้าไปยังส่วนในของอุโบสถ
การใช้สีและเส้นโดยทั่วไปเป็นสีเทาผสมสีคราม การใช้สีและการเน้นแสดดงให้เห็นถึงอิทธิพลตะวันตก
จิตตภาวันวิทยาลัย
อยู่ในเขตอำเภอบางละมุง เดิมชื่อวิทยาลัยการเผยแพร่พระพุทธศาสนา เพื่อให้เป็นสถาบันการศึกษาของภิกษุสามเณร
และเผยแพร่พระพุทธศาสนาทั้งในและนอกประเทศ ตัวอาคารเป็นสถาปัตยกรรมทรงไทย
ประกอบด้วยอาคารหลายหลัง อาคารหลังใหญ่ตั้งอยู่หลังพระพุทธนวฤทธิ์จิตตภาวัน
ใช้เป็นสถานศึกษาและปฎิบัติธรรม สร้างด้วยศิลาแลง มีห้องเรียน ๓๐ ห้อง ภายในมีห้องประชุมใหญ่
จุนักศึกษาได้ ๑,๕๐๐ รูป
- พลับพลาจตุรมุข
เป็นสถาปัตยกรรมแบบไทยที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เสด็จมาทรงวางศิลาฤกษ์อาคารเรียน และใช้เป็นศาลาบำเพ็ญกุศลอื่น ๆ ด้วย
- หอสมุดวิจารณ์ธรรม
เป็นอาคารทรงไทยที่สวยงาม สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเสด็จมาวางศิลาฤกษ์
เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๐ และเสด็จมาทรงเปิดเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๓
- มณฑป
เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ อยู่บริเวณด้านห้า
|