ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี



| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |


ศาสนา ความเชื่อ พิธีกรรม
           ประชากรในจังหวัดชลบุรี เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๒ มีประมาณหนึ่งล้านคน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ส่วนคนไทยเชื้อสายจีน นับถือพุทธศาสนาฝ่ายมหายานปนลัทธิเต๋า และขงจื้อ มีผู้นับถือศาสนาคริสต์อยู่ประมาณหนึ่งหมื่นคน และมีผู้นับถือศาสนาอิสลามซึ่งมีมากที่อำเภอบางละมุง อำเภอพนัสนิคม อำเภอเมือง ฯ และอำเภอหนองใหญ่
           กลุ่มคนที่นับถือศาสนาพุทธ  พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทยมาแต่โบราณกาล ผู้คนที่อยู่ในสุวรรณภูมิ ก่อนที่คนไทยจะเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ก็นับถือศาสนาพุทธอยู่แล้ว
               - วัดในจังหวัดชลบุรี  มีอยู่เป็นจำนวนมากที่สร้างในสมัยอยุธยาทั้งตอนต้น ตอนกลาง และตอนปลาย รวมทั้งสมัยรัตนโกสินทรที่มีการสร้างวัดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่ในขณะเดียวกันก็มีวัดร้างอยู่หลายแห่ง เช่น วัดผ้าขาวใหญ่ ที่หมอนนาง ตำบลหน้าพระธาตุ อำเภอพนัสนิคม วัดคงคาลัย วัดสมรโกฎ วัดสวนตาล อำเภอเมือง ฯ วัดบ้านงิ้ว อำเภอพานทอง
           วัดที่สร้างขึ้นมาก่อนสมัยสุโขทัยอช่น วัดใต้ต้นลาน อำเภอพนัสนิคม กล่าวกันว่าเป็นวัดที่มีมาตั้งแต่สมัยทวารวดี วัดกลางทุ่งหลวง ซึ่งอยู่ใกล้วัดใต้ต้นลาน ก็มีประวัติว่าสร้างมาแต่สมัยโบราณ
           พุทธศาสนาได้เจริญและะมีผู้ศรัทธาเลื่อมใสกันมาตั้งแต่สมัยทวารวดี สมัยลพบุรี สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยาจนมาถึงสมัยรัตนโกสินทรอย่างต่อเนื่องไม่ขาดตอน
               - พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน  มีวัดที่สำคัญคือ วัดเทพพุทธาราม (วัดเซียนฮุดยี่) อยู่ในเขตอำเภอเมือง ฯ มีอุโบสถทรงเจดีย์เจ็ดชั้นศิลปะจีน มีพระศากยมุนีพุทธเจ้าเป็นพระประธานในอุโบสถ
           วัดนี้มีพระอาจารย์เต็กฮี้ เป็นเจ้าอาวาสรูปแรกได้สถาปนาวัดขึ้น เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๐ นับเป็นวัดฝ่ายมหายานวัดแรกในจังหวัดชลบุรี ได้รับวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๔ เคยเป็นเจ้าอาวาสวัดประชาสโมสร (วัดเล่งฮกยี่ ฉะเชิงเทรา) ได้รับสถาปนาเป็นพระอาจารย์จีนลังสมาธิวัตร มีฉายาว่า เซี่ยวหงี เป็นเจ้าอาวาสคณะใหญ่จีนนิกายรูปที่ห้า
           นอกจากนี้ยังมีวัดโพธัตตาราม ตั้งอยู่ที่อำเภอศรีราชา เป็นสาขาวัดเล่งเน่ยยี ที่กรุงเทพ ฯ
           กลุ่มคนที่นับถือศาสนาคริสต์  คริสตศาสนาเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.๒๒๑๒ ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ โดยสันตปาปาเดลเมนต์ที่เก้า แต่การเผยแพร่ไม่ต่อเนื่อง จนกระทั่งได้มีการรื้อฟื้นขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์
           ศาสนาคริสต์ได้เริ่มเผยแพร่หลายเข้ามาที่จังหวัดชลบุรีครั้งแรกที่บางปลาสร้อย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๐ โดยได้เริ่มเข้ามาซื้อที่ดินเพื่อสร้างวัด ต่อจากนั้นได้สร้างวัดขึ้นที่หัวไผ่ อำเภอพานทอง และที่อำเภอพนัสนิคม
               - ศาสนบุคคล  ผู้ที่บุกเบิกและเป็นผู้นำคริสตศาสนาเข้ามาเผยแพร่ในจังหวัดชลบุรีคือ บาทหลวงแดเนียล (Daniel) ได้มาซื้อที่ดินที่บางปลาสร้อย และสร้างวัดไม้ไผ่ขึ้นในปี พ.ศ.๒๓๙๑ คริสตังที่วัดนี้ส่วนใหญ่เป็นชาวจีน บาทหลวงชมิตต์ (Schmitt) พำนักอยู่ที่กรุงเทพ ฯ ได้เดินทางมาชลบุรี และจัดตั้งกลุ่มคริสตังที่พนัสนิคมในปี พ.ศ.๒๔๑๑ บาทหลวงเกโก (Mathurin Guego) เป็นผู้ดูแลกลุ่มคริสตังที่บางปลาสร้อย และพนัสนิคม ต่อมาได้ไปสร้างนิคมที่หัวไผ่ ในปี พ.ศ.๒๔๓๗ โดยการให้ทุนเพื่อไถ่ทาสหนี้สิน โดยผู้ที่ได้รับไถ่ตัวจะต้องไปอยู่ในนิคม และสมัครเข้านับถือศาสนาคริสต์ นอกจากนี้ยังรับหน้าที่ดูแลคริสตังที่ทุ่งเหียง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนไทย บาทหลวงยาโกเบ แจง เกิดสว่าง  เป็นคนไทยที่มีส่วนสำคัญในการเผยแพร่คริสตศาสนาในจังหวัดชลบุรีนานกว่า ๕๐ ปี ในปี พ.ศ.๒๔๕๔ เป็นปลัดวัดหัวไผ่ อำเภอพานทอง เป็นสังฆราชาไทยรูปแรกของประเทศไทย และมีผู้ร่วมงานเป็นคนไทยทั้งหมด วัดโรมันคาทอลิกที่หัวไผ่จึงมีจำนวนผู้นับถือศาสนาคริสต์มากกว่าที่อื่น เนื่องจากเป็นนิคมใหญ่ และต่อมาได้ซื้อที่ดินที่อำเภอสัตหีบ ตั้งวัดแม่พระลูกประคำ ขึ้นด้วย
           บาทหลวงสงวน สุวรรณศรี  เป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดศรีราชา (ต่อมาคือโรงเรียนดาราสมุทร) ซึ่งเป็นวัดคาทอลิกอยู่ในที่ดินแปลงเดียวกันกับสังฆราชาแจง และได้สร้างสำนักสังฆราชา ที่ศรีราชา เป็นศูนย์กลางของการปกครองมิสซัง
           ศูนย์สังฆมณฑลศรีราชา วางศิลาฤกษ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๕
           ศาสนาคริสต์ที่เข้ามาในชลบุรีส่วนใหญ่เมื่อสร้างวัดแล้วก็มักจะสร้างโรงเรียนคริสต์ขึ้นเป็นโรงเรียนราษฎร เช่น โรงเรียนประชาสงเคราะห์ที่บ้านหัวไผ่ อำเภอพานทอง โรงเรียนวัฒนานุศาสตร์ อำเภอพนัสนิคม โรงเรียนปรีชานุศาสน์  อำเภอเมือง ฯ โรงเรียนดาราสมุทร โรงเรียนอัสสัมชัญ และโรงเรียนเซนต์ปอลคอนแวนต์ อำเภอศรีราชา โรงเรียนกุญแจคริสเตียน อำเภอบ้านบึง และโรงเรียนสามมุขคริสเตียน ที่บางแสน เป็นต้น
           นอกจากโรงเรียนแล้ว ชาวคณะคามิลเลียน มิสซัง จันทบุรี ยังได้มาเปิดโรงพยาบาลอัสสัมชัน ศรีราชา กลุ่มคริสตังชลบุรีได้ร่วมมือกับคริสตังที่บางแสน สร้างวัดนักบุญนิโคลัส เคอฟูล ดำเนินกิจการสถานสงเคราะห์เด็กกำพร้าที่พัทยา
               - ศาสนธรรม และพิธีกรรม  คำสอนในคริสตศาสนาในชีวิตประจำวันมีอยู่มาก กล่าวไว้เป็นห้าภาคด้วยกัน คือ
                   ๑.  ภาคความเชื่อ คือเชื่อในเรื่องพระเจ้าซึ่งเป็นผู้สร้างมนุษย์ พระบิดา และพระเยซูคริสต์
                   ๒.  ภาคความรักต่อพระเจ้าต่อมนุษย์
                   ๓.  ภาคความรักต่อพระเจ้า
                   ๔.  ภาคความรักต่อเพื่อนมนุษย์
                   ๕.  ภาคปฎิบัติของคริสตชน
                  พิธีล้างบาปทารก  จะประกอบพิธีที่โบสถ์คริสต์ในวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ เป็นพิธีสำคัญอย่างหนึ่งที่ชาวคริสต์จะต้องปฎิบัติ เริ่มต้นด้วยการอ่านบทภาวนาขับไล่ปีศาจ และเจิมเด็กที่หน้าอกด้วยน้ำมนต์แห่งศีล เจิมน้ำมันคริสมาบนศีรษะเด็ก สวมเสื้อขาวให้เด็ก มอบเทียนจุดสว่างให้หัวหน้าครอบครัว ส่งท้ายด้วยการแห่ไปยังพระแท่น และภาวนาข้าแต่พระบิดา ตลอดจนอวยพรให้มารดาที่กำลังอุ้มทารก พ่อทูนหัว แม่ทูนหัว และผู้เข้าร่วมพิธี
                  การสมรส  ประกอบพิธีในวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ โดยเจ้าบ่าว เจ้าสาว และญาติพี่น้อง ทำพิธีต่อหน้าบาทหลวง มีการสวมแหวนสมรสแทนความรัก และความซื่อสัตย์ต่อกัน แล้วมีการสวดภาวนาอุทิศแด่มวลชน สวดอวยพรคู่บ่าวสาว และให้คู่บ่าวสาวปฎิญาณว่า จะเป็นสามีภรยาที่ดีต่อกัน
                  พิธีเกี่ยวกับความเชื่อศีลกำลัง  การทำที่โบสถ์คริสต์โดยบาทหลวงจะสั่งสอนผู้รับศีลเป็นรายบุคคลให้ผู้รับศีลซาบซึ้ง นักบวชจะปกมือเหนือผู้รับศีลกำลัง สังฆราชาจะภาวนาบทพระจิต ต่อจากนั้นก็เจิมผู้รับศีลด้วยน้ำมันคริสมา ทำเครื่องหมายไม้กางเขนบนหน้าผาก ผู้รับศีลภาวนาเพื่อมวลชน
                  พิธีเกี่ยวกับผู้ตาย  จะมีการสวดเรียกว่า มิสซา และนำศพผู้ตายไปฝัง
               - ศาสนสถานและศาสนาสมบัติ  โบสถ์คริสต์ในจังหวัดชลบุรีมีอยู่ ๑๓ แห่ง คือ ที่ชลบุรี หัวไผ่ พนัสนิคม ศรีราชา บางแสน บางละมุง พัทยา และสัตหีบ เป็นโบสถ์ในฝ่ายโรมันคาทอลิกทั้งหมด ไม่มีฝ่ายโปรเตสแตนท์เลย
           ในช่วงเกิดกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส วัดคริสต์ได้ถูกทำลายไปบางส่วน และในปี พ.ศ.๒๔๙๗ วัดคริสต์เกิดไฟไหม้ ต่อมาชาวคริสต์ที่พนัสนิคม ร่วมกับคริสตศาสนิกชนทั่วไป สร้างโบสถ์ใหม่ขึ้น สวยงามและใหญ่โตกว่าเดิม
           วัดคริสต์มีที่ดินที่ซื้อมาและที่มีผู้บริจาคให้วัดเป็นจำนวนมาก แต่ไม่มีตัวเลขที่เปิดเผย นอกจากนี้ยังมีทรัพย์สินอื่น ๆ ทั้งรูปเคารพ โรงสวด ทรัพย์สินที่เป็นสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์อยู่มาก
           กลุ่มคนที่นับถือศาสนาอิสลาม  มีกระจายอยู่ทั่วไป เช่นที่เกาะสีชังมีคนอิสลามมาอาศัยอยู่กว่าร้อยปีมาแล้ว เป็นเชื้อสายอิสลามผิวขาวจากปากีสถาน ส่วนที่อำเภอเมือง ฯ มีคนอิสลามซึ่งมีเชื้อสายปากีสถานบ้างและชาวไทยอิสลาม ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากทางภาคใต้ของไทยบ้าง เป็นผู้ที่ศรัทธาเชื่อถือ โดยได้รับการปลูกฝังมาแต่กำเนิด และจากครูบาอาจารย์ได้สร้างมัสยิดซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๙๙ โดยสร้างเป็นอาคารไม้ชั้นเดียวขนาดเล็ก บนพื้นที่ ๕๕ ตารางวา ชื่อมัสยิดอัลฮิดายะห์
           เมื่ออาคารมัสยิดเก่าชำรุดทรุดโทรมไปก็ได้มีการขยับขยาย โดยแยกส่วนที่เป็นสุสานออกไป และต่อมาได้มีคหบดีจีนคือ นายธรรมนูญ สิงคาลวานิช ได้มอบที่ดิน ๖๐๐ ตารางวา ที่ตำบลบ้านสวน อำเภอเมือง ฯ เพื่อใช้สร้างมัสยิดหลังใหม่ขึ้นเป็นมัสยิดกลาง ประจำจังหวัดชลบุรี ทำพิธีเปิด เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๐ โดยจุฬาราชมนตรีเป็นผู้รายงาน และนายพิชัย รัตตกุล รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
           ผู้นับถือศาสนาอิสลามในจังหวัดชลบุรี ส่วนหนึ่งเป็นกลุ่มชนที่มาจากสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย และบางส่วนมาจากคลองมหานาค มีนบุรี และหนองจอก กรุงเทพ ฯ โดยมาอยู่อำเภอพนัสนิคม อำเภอบางละมุง และอำเภออื่น ๆ ในจังหวัดชลบุรี รวมแล้วมีอยู่ประมาณ ๒๐,๐๐๐ คน
               - ศาสนธรรม  มีใจความสำคัญอยู่สองประการคือ ศรัทธา และการปฎิบัติ
                  ศรัทธา  ที่ปรากฎในคำสอนมีอยู่หกประการคือ
                       ๑. การศรัทธาต่ออัลลอห์ (พระเจ้า)
                       ๒. การศรัทธาต่อมะลาอิกะห์ของอัลลอห์ (เทพบริวารของพระเจ้า)
                       ๓. การศรัทธาต่อกิตาบ หรือคัมภีร์ทั้งปวงของอัลลอห์
                       ๔. การศรัทธาต่อบรรดารอซูลของอัลลอห์
                       ๕. การศรัทธาต่อวันสุดท้าย (วันอาคีเราะห์)
                       ๖. การศรัทธาต่อการกำหนดของอัลลอห์ ทั้งในทางดีและทางชั่ว
                   การปฎิบัติ  มีอยู่ห้าประการคือ
                       ๑. การปฎิญาณตน
                       ๒. การทำพิธีละหมาดวันละห้าครั้ง
                       ๓. การบริจาค (ซะกาด) ทรัพย์หรืออาหาร
                       ๔. การถือศีลอดปีละ หนึ่งเดือน (ในเดือนรอมมาฎอน))
                       ๕. การเดินทางไปประกอบศาสนกิจ (พิธีฮัจย์) ที่เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย
                   ข้อห้าม  สำหรับชาวมุสิลม คือ
                       ๑. ไม่กินเนื้อหมู เพราะถือว่าเป็นสัตว์ต่ำ
                       ๒. ไม่กู้เงินโดยคิดดอกเบี้ย
                       ๓. ไม่เสพสุรายาเมา
                       ๔. ไม่เล่นการพนัน
               - ศาสนสถานและศาสนสมบัติ  ได้แก่ สุเหร่า หรือมัสยิด มีทั้งที่ดิน ตลอดจนทรัพย์สินของใช้อื่น ๆ และสุสานที่ฝังศพ นับว่ามีน้อยกว่าศาสนสมบัติของศาสนาอื่นในประเทศไทย
ประเพณีพื้นบ้าน
           ประเพณีทำบุญตลาดบางทราย  ช่วงที่ประกอบพิธีอาจเป็นเดือนอ้ายหรือเดือนยี่ สถานที่ทำบุญคือ บริเวณหน้าศาลหลวงพ่อวัดคงคาลัย โดยจะนิมนต์พระสงฆ์เก้ารูปมาเจริญพระพุทธมนต์และรับถวายภัตตาหาร เพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่ศพไม่มีญาติ เพราะพื้นที่ของตลาดบางทรายเดิมเป็นป่าช้า มีวัดร้างคือ วัดคงคาลัย ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่สมัยอยุธยาตอนปลาย ร่วมสมัยกับวัดใหญ่อินทาราม วัดสวนตาล และวัดสมรโกฎ เมื่อเสร็จพิธีสงฆ์มีการรับประทานอาหารร่วมกัน เนื่องจากชุมชนชลบุรีมีคนไทยเชื้อสายจีนอยู่มาก ปัจจุบันจึงเกิดพิธีกรรมแบบจีนมาผสมผสานเช่น พิธีไหว้ฮอเฮียตี๋ เซ่นสรวง เชิญผีมากินเครื่องเซ่นไหว้ เผากระดาษเงินกระดาษทอง เป็นต้น
           ประเพณีทำบุญข้าวหลาม  กระทำในเดือนยี่ ชาวบ้านจะเตรียมหาไม้ไผ่ป่า ข้าวเหนียว และมะพร้าวสำหรับทำข้าวหลาม เมื่อถึงวันกำหนดทำบุญ ก็จะนำข้าวหลามไปทำบุญที่วัด พร้อมกับอาหารคาวหวานอื่น ๆ เป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษ และแจกจ่ายข้าวหลามให้ผู้ที่ไปร่วมทำบุญ ข้าวหลามหนองมนเป็นอาหารพื้นเมืองทางภาคตะวันออกที่สำคัญ
           ประเพณีวันสงกรานต์  กระทำในระหว่างวันที่ ๑๓ - ๑๕ เดือนห้า มีการประกอบกิจกรรมหลายประการด้วยกัน มีการทำบุญตักบาตร ทำบุญเลี้ยงพระ บังสุกุลกระดูกบรรพบุรุษ ปล่อยนก ปล่อยปลา ทำบุญทำทาน ช่วงตอนบ่ายมีการแห่พระพุทธรุปไปตามท้องถนนเพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้สรงน้ำพระ ช่วงเย็นจะมีการสรงน้ำพระสงฆ์ที่วัดใกล้บ้าน บางแห่งมีการก่อพระเจดีย์ทรายตบแต่งกันอย่างสวยงาม มีการขนทรายเข้าวัด หนุ่มสาวและเด็ก ๆ จะพากันเล่นสาดน้ำ นำน้ำอบน้ำปรุงเสื้อผ้าไปรดน้ำคนเฒ่าคนแก่ เพื่อแสดงความกตัญญูและขอพร กลางคืนมีการเล่นสนุกสนานตามประเพณีการละเล่นพื้นบ้าน เช่น เล่นแม่ศรี ผีลิง ผีกระด้ง และช่วงรำ เป็นต้น
           นอกจากนั้นในช่วงบ่ายยังมีการแห่นางสงกรานต์ ประกวดนางสงกรานต์ การแสดงวัฒนธรรม และประเพณีไทย แสดงนิทรรศการ และการออกร้าน นับว่าเป็นงานใหญ่ในรอบปี
           ประเพณีก่อพระทรายข้างเปลือก  เป็นประเพณีขงชาวตำบลวัดโบสถ์ อำเภอพนัสนิคม เพื่อทำบุญร่วมกันเป็นการทำนุบำรุงวัด และสืบสานประเพณีโบราณ
           ชาวบ้านจะมาร่วมกันทำบุญกันหลังฤดูเก็บเกี่ยวแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นวันสงกรานต์เดือนห้า ก่อนถึงวันกำหนด คณะกรรมการวัด จะนำถุงผ้าที่เย็บแล้วไปแจกจ่ายชาวบ้าน เพื่อให้บรรจุข้าวเปลือกลงในถุงผ้าดังกล่าวแล้วนำมาที่วัด ข้าวเปลือกที่ได้มานี้ทางวัดจะนำไปขายเพื่อเอาเงินมาบูรณะซ่อมแซมวัด
           ประเพณีเรียกขวัญแม่โพสพ หรือแรกข้าวเข้ายุ้ง  เป็นประเพณีของชาวนาในอำเภอพนัสนิคม และอำเภอศรีราชา เป็นการทำบุญเพื่อเป็นสิริมงคล ในการเก็บข้าวเข้ายุ้งข้าวของแต่ละบ้าน
           พิธีทำในวันศุกร์ เดือนยี่  โดยคนในครอบครัวและหมอขวัญจะร่วมกันนำธงกระดาษ ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว บายศรีปากชาม ข้าวปากหม้อ ไข่ต้มปอกเปลือก หมาก พลู แป้ง น้ำมันหอม เหล้า กล้วย ผ้าขาว ดอกไม้ ธูปเทียน และเงินกำนลหนึ่งสลึง อาจใช้ก้อนหิน ใบเงิน ใบทอง ในแต่ละท้องถิ่น
           หมอขวัญจะนำธงกระดาษปักลงบนกองข้าวในยุ้ง เอาผ้าขาวปู จัดบายศรี และเครื่องสังเวย จุดธูปเทียน แล้วปักลงบนกองข้าว ตั้งนะโมสามจบ แล้วสวดชุมนุมเทวดา กล่าวคำเรียกขวัญข้าว หมอขวัญจะเอาเงินค่ากำนลและกล้วยไปใส่บาตร เจ้าของบ้านเอาเหล้าและขนมมากิน
           ประเพณีออกพรรษา  กระทำในวันแรมหนึ่งค่ำ เดือนสิบเอ็ด ซึ่งเป็นวันแรกของการออกพรรษา ชาวบ้านจะนำอาหารคาสหวาน มาทำบุญที่วัดเรียกว่า ตักบาตรเทโว อาหารที่ขาดไม่ได้คือ ข้าวต้นหาง ซึ่งห่อด้วยใบจาก หรือใบมะพร้าวอ่อน ปล่อยหางให้ยาว ชาวบ้านนำอาหารที่เตรียมมาทำบุญตักบาตร ทางวัดจัดขบวนพระพุทธรูปนำแก่พระสงฆ์ เดินผ่านผู้คนที่เข้าแถวเรียงรายอยู่สองข้างทาง เพื่อให้ชาวบ้านตักบาตร
           บางวัดที่ตั้งอยู่บนภูเขา จะจัดแถวพระสงฆ์เดินลงมารับบาตรจากชาวบ้าน เป็นการจำลองภาพเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากเทวโลกชั้นดาวดึงส์ หลังจากเสด็จไปจำพรรษา และโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์
           ชาวชลบุรีจะนิมนต์พระสงฆ์จากหลายวัดจำนวนร้อยรูป ออกรับบิณฑบาตในตลาด เพื่อให้ชาวบ้านได้ทำบุญ

           ประเพณีวิ่งควาย  เป็นประเพณีที่จัดขึ้นเพื่อให้ควายที่ใช้งานในการทำนาได้พักผ่อน เป็นประเพณีที่ทำกันในวันเทศน์มหาชาติ คือวันขึ้นสิบห้าค่ำ เดือนสิบเอ็ด โดยเจ้าของกัณฑ์ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวนา ชาวสวน จะนำเครื่องกัณฑ์เทศน์บรรทุกเกวียนมารวมทั้งสิ้น ๑๓ เล่ม ตามจำนวนกัณฑ์เทศน์ ๑๓ กัณฑ์ ใช้ควายเทียบเกวียน ๒๖ ตัว เจ้าของกัณฑ์เทศน์จะนำกัณฑ์เทศน์มาเตรียมไว้ที่วัดก่อน

           ประเพณีแข่งควายกระทำในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เริ่มด้วยการตกแต่งควายให้สวยงาม เพื่อประกวดกัน การแข่งขันแบ่งออกเป็นสาย สายหนึ่งจะมีควายประมาณ ๑๕ - ๒๐ ตัว แล้วคัดเอาตัวที่ชนะในแต่ละสายในอันดับหนึ่งถึงอันดับสาม มาวิ่งแข่งกันในรอบที่สองและรอบสาม ควายตัวใดชนะในรอบที่สามทำคะแนนได้ยอดเยี่ยม จะได้รับรางวัล

           ประเพณีวันไหล  วันไหลคือ วันทำบุญขึ้นปีใหม่ของชาวทะเล โดยกำหนดวันหลังวันมหาสงกรานต์ประมาณ ๕-๖ วัน เดิมเรียกว่า ประเพณีก่อพระทรายน้ำไหล วัดใดอยู่ใกล้แม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง ในบริเวณนั้นก็จะจัดประเพณีนี้ขึ้น โดยชาวบ้านจะช่วยกันขนทรายตามชายหาดใกล้ ๆ เข้าวัด ทำให้วัดได้รับประโยชน์ในการใช้ทรายก่อสร้าง เสนาสนะและปูชนียสถานในวัด หรือใช้ถมที่ในวัด
           ในวันไหล ชาวบ้านจะขนทรายเข้าวัดเพื่อก่อเป็นเจดีย์องค์ใหญ่บ้างเล็กบ้าง บางคนก่อเป็นรูปกรวยเล็ก ๆ ให้ครบ ๘๔,๐๐๐ กอง เท่ากับจำนวนพระธรรมขันธ์ มีการตกแต่งพระเจดีย์ทรายอย่างวิจิตรบรรจง ประดับด้วยดอกไม้ และธงต่าง ๆ เพื่อเป็นพุทธบูชา มีการละเล่นพื้นเมือง เพื่อความสามัคคีสนุกสนานรื่นเริง มีการทอดผ้าป่า ทำบุญเลี้ยงพระ เนื่องในเทศกาลตรุษไทย และจัดเลี้ยงผู้คนที่มาร่วมงาน
           จังหวัดชลบุรี จัดให้มีวันไหลบริเวณชายหาดบางแสน และชายหาดพัทยาระหว่างวันที่ ๑๗ - ๑๘ เมษายนของทุกปี มีการจัดกิจกรรมหลายอย่าง เช่น การทำบุญตักบาตร การสรงน้ำพระพุทธรูป การเล่นสาดน้ำสงกรานต์การก่อพระเจดีย์ทราย การแข่งขันกีฬาพื้นเมือง ฯลฯ
           ในปี พ.ศ.๒๕๔๐ ได้เปลี่ยนชื่องานเป็นงานก่อพระทรายวันไหลบางแสน นับเป็นประเพณีท้องถิ่นที่ทรงคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์

           ประเพณีทำบุญกลางบ้าน  ถือว่ามีขึ้นพร้อมกับการตั้งถิ่นฐานของชุมชน มีความแตกต่างไปจากการทำบุญอื่น ๆ ซึ่งแทนที่จะทำที่วัดหรือที่บ้าน แต่จะทำบุญที่บริเวณลานกว้างกลางหมู่บ้านอันเป็นที่สาธารณะ หรือบริเวณลานวัดร้าง หรือลานท้องนา โดยนำเอาความเชื่อถือเรื่องผีแบบโบราณ เข้ามผสมผสานกับพิธีทางพระพุทธศาสนา คือมีการสวดมนต์เลี้ยงพระ
           ประเพณีดั้งเดิมจะกระทำระหว่างเดือนสามถึงเดือนหก โดยมีความเชื่อว่าผู้ที่ทำบุญเดือนสามกลางเดือน จะเป็นผู้อยู่รอดปลอดภัย ประเพณีนี้ทำกันมานานนับร้อยปีมาแล้ว เป็นการทำบุญตลอดจนบูชาและอุทิศส่วนกุศลแก่พระภูมิเจ้าที่ เจ้ากรรมนายเวร ฯลฯ เพื่อคุ้มครองให้อยู่เย็นเป็นสุข และประสบความเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน ขับไล่สิ่งร้ายในรอบปีที่ผ่านมาให้หมดสิ้นไป โดยการสะเดาะห์เคราะห์ ขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล (บางตำบลมีการแห่นางแมวขอฝน)
           ขั้นตอนการพิธี คือตอนเย็นนิมนต์พระสงฆ์เก้ารูปหรือมากกว่า มาสวดมนต์เย็นหลังจากพระสงฆ์สวดจบหนึ่งบท ในชุมชนบางแห่งจะมีการตีฆ้องสามครั้ง หลังสวดมนต์เสร็จแล้วบางแห่งอาจมีการละเล่นจำพวก หมดลำ ลิเก รำวง ฯลฯ เช้าวันรุ่งขึ้นจะนิมนต์พระสงฆ์มาฉันเช้า โดยชาวบ้านจะนำข้าวหม้อแกงหม้อมารวมกัน เพื่อถวายพระในบางแห่งจะมีการเผาข้าวหลามถวายพระด้วย บางแห่งมีการทำกระทงด้วยใบตอง แล้วใส่ถาดกาบกล้วยที่ทำเป็นรูปสี่เหลี่ยม แล้วใช้กาบกล้วยตัดเป็นรูปคน หรือบางครั้งใช้ดินเหนียวปั้นเป็นรูปคนเท่าจำนวนคนในบ้าน รวมไปถึง วัวควาย ไก่ หรือสัตว์เลี้ยงอื่นด้วย และใส่เสื้อผ้าให้ด้วย จากนั้นนำถาดดังลก่าวไปวางทางทิศตะวันตก ของที่ใส่ในกระทงบ่งแห่งใส่ชิ้นพล่า ปลายำ พริกแห้ง เกลือ หัวหอม ข้าวดำ ข้าวสาร แล้วจุดธูปปักลงในกระทง และใส่สตางค์ไปด้วย เมื่อพระสงฆ์ฉันเสร็จแล้วก็จะนำน้ำมารูปละหนึ่งแก้ว ยืนเป็นวงกลม แล้วกรวดน้ำราดลงไปในกระทง เสร็จแล้วนำไปวางไว้ที่ทางสามแพร่งหรือที่โคก
           หลังเสร็จพิธีแล้ว ชาวบ้านจะนั่งรับประทานอาหารร่วมกัน

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์