ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี



| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์

การตั้งถิ่นฐาน

            จังหวัดลำปาง เป็นที่ตั้งเมืองโบราณมาตั้งแต่สมัยหริภุญชัย ประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๓ มีชื่อเรียกในตำนานเป็นภาษาบาลีว่า เขลางค์นคร คำว่า ลคอร (นคร) เป็นชื่อสามัญของเมืองเขลางค์ ซึ่งนิยมเรียกกันแพร่หลาย ปรากฏอยู่ในตำนานศิลาจารึก และพงศาวดาร ส่วนภาษาพูดโดยทั่วไปเรียก ละกอน ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกหรือฝั่งขวาของแม่น้ำวัง ในเขตตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมือง ฯ ส่วนคำว่าลำปางปรากฏชื่ออยู่ในตำนานวัดพระธาตุลำปางหลวง ซึ่งเรียกเป็นภาษาบาลีว่า ลัมพกัปปะ ตั้งอยู่ในเขตตำบล ลำปางหลวง อำเภอเกาะคา อยู่ห่างจากตัวเมืองลำปางไปทางทิศใต้ ประมาณ ๑๖ กิโลเมตร เป็นที่ประดิษฐานพระธาตุลำปางหลวง
            คำว่านครลำปาง เป็นชื่อเรียกเมืองนครลำปางตั้งแต่สมัยเจ้าทิพย์ช้างเป็นต้นมา เพราะได้อพยพผู้คนจากลำปางหลวงมายังเมืองลคอร แล้วเจ้าทิพย์ช้างได้รับสถาปนาเป็นเจ้าเมือง จึงเรียกชื่อเมืองว่า นครลำปาง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ลำดับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์
         เมืองเขลางค์สมัยหริภุญชัย  นครลำปางยุคแรก หรือสมัยเขลางค์นคร ที่ได้จากตำนานมูลศาสนา ชินกาลมาลีปกรณ์ ตำนานจามเทวีวงศ์ ตำนานไฟม้างกัปป์ ตำนานรัตนพิมพวงศ์ และพงศาวดารโยนก กล่าวว่า เมืองนี้สร้างขึ้นเมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๓ ประมาณปี พ.ศ.๑๒๐๔ ฤาษีวาสุเทพ ซึ่งอาศัยอยู่บริเวณดอยสุเทพ ได้ร่วมกับสุกกทันตฤาษีแห่งเมืองละโว้ (ลพบุรี) สร้างเมืองหริภุญชัย (ลำพูน) แล้วขอผู้ปกครองจากพระเจ้าลพราช กษัตริย์เมืองละโว้ พระองค์ได้ประทานพระนางจามเทวี ราชธิดาให้มาเป็นผู้ครองนคร พร้อมกับได้นำพระภิกษุสงฆ์ผู้รอบรู้พระไตรปิฎก พราหมณ์ราชบัณฑิต แพทย์ ช่างฝีมือดี เศรษฐี คหบดี อย่างละห้าร้อยคนตามเสด็จขึ้นมาด้วย ในขณะที่เสด็จขึ้นมานั้น พระนางทรงครรภ์ และเมื่อประทับที่หริภุญชัยได้เจ็ดวัน ก็ประสูติโอรสฝาแฝดสององค์ นามว่าหันตยศกุมาร หรือมหายศ และอนันตยศกุมาร หรืออินทรวร เมื่อกุมารทั้งสองเจริญวัย พระนางจามเทวีได้อภิเศกเจ้ามหายศให้เป็นกษัตริย์ปกครองหริภุญชัย ส่วนเจ้าอนันตยศให้เป็นอุปราช ต่อมาเจ้าอนันตยศประสงค์จะไปสร้างเมืองใหม่ ฤาษีวาสุเทพ จึงแนะนำให้ไปหาพรามเขลางค์ที่เขลางคบรรพต หรือภูเขาสองยอด เมื่อพบแล้วจึงพากันไปหาพระสุพรหมฤาษีบนดอยงาม แล้วขอให้ช่วยสร้างเมือง สุพรหมฤาษีได้เลือกชัยภูมิที่เหมาะแล้ว สร้างเมืองขึ้นบนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำวัง เมื่อปี พ.ศ.๑๒๒๓ ตามแบบอย่างเมืองหริภุญชัย แล้วขนานนามว่า เขลางค์นคร แล้วอัญเชิญเจ้าอนันตยศขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครอง ทรงนามว่า พระเจ้าอินทรเกิงกร
            ต่อมาได้มีการขยายเมืองออกไป กำแพงเมืองชั้นล่างเป็นคันดินสามชั้น ชั้นบนเป็นอิฐสันนิษฐานว่าสร้างต่อเติมขึ้นภายหลัง มีความยาวโดยรอบ ๔,๔๐๐ เมตร มีพื้นที่ประมาณ ๖๐๐ ไร่ มีประตูเมืองสำคัญได้แก่ ประตูม้า ประตูผาบ่อง ประตูท่านาง ประตูต้นผึ้ง ประตูป่อง ประตูนกกด และประตูตาล ปูชนียสถานที่สำคัญได้แก่ วัดพระระแก้วดอนเต้า ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต ระหว่างปี พ.ศ.๑๙๓๒-๒๐๑๑ โบราณสถานอื่น ๆ ได้แก่ วัดอุโมงค์ ซึ่งเป็นวัดร้างอยู่บริเวณประตูตาล ส่วนวัดที่อยู่นอกกำแพงเมืองได้แก่ วัดป่าพร้าว วัดพันเชิง วัดกู่ขาว หรือวัดเสตกฎาราม ซึ่งเคยเป็นที่ประดิษฐานพระสิกขีปฏิมากร วัดกู่แดง วัดกู่คำ ระหว่างวัดกู่ขาวมายังเมืองเขลางค์มีแนวถนนโบราณทอดเข้าสู่ตัวเมือง สันนิษฐานว่า สร้างในสมัยพระนางจามเทวี เสด็จประทับที่เมืองเขลางค์ ใช้เชื่อมเมืองเขลางค์กับเขตพระราชฐาน ที่เรียกว่า อาลัมพางนคนคร และใช้เป็นเขื่อนกั้นน้ำเพื่อทดน้ำเข้าสู่ตัวเมือง

         เมืองเขลางค์ ยุคเชียงใหม่  เมื่อปี พ.ศ.๑๘๒๔ พระเจ้ามังรายได้แผ่ขยายอำนาจเข้ามาครอบครองหริภุญชัย พญาญีบาเจ้าเมืองสู้ไม่ได้จึงอพยพหนีมาพึ่งพญาผู้เป็นเปิกโอรสยังเมืองเขลางค์นคร ต่อมาในปี พ.ศ.๑๘๓๘ พญาเปิกได้ยกกองทัพไปตีเมืองหริภุญชัยคืนแต่แพ้กลับมา ขุนความโอรสพระเจ้ามังรายยกกองทัพติดตามมาทันได้ปะทะกันที่ ตำบลแม่ตาน พญาเปิกเสียชีวิตในที่รบ ส่วนพญายีบา ได้พาครอบครัวหนีไปพึ่งพระยาพิษณุโลก เจ้าเมืองสองแคว (พิษณุโลก) และประทับอยู่ ณ ที่นั้นจนสิ้นพระชนม์ เป็นการสิ้นวงศ์เจ้าผู้ครองนครเขลางค์รุ่นแรก
            เมื่อขุนความได้เมืองเขลางค์นครแล้วจึงตั้งให้ขุนไชยเสนาเป็นผู้รั้งเมืองสืบต่อมา ขุนไชยเสนาได้สร้างเมืองขึ้นใหม่ เมื่อปี พ.ศ.๑๘๔๕ เป็นเมืองเขลางค์รุ่นที่สอง
            เมืองที่สร้างใหม่มีพื้นที่ประมาณ ๑๘๐ ไร่ อยู่ถัดจากเมืองเขลางค์เดิมลงไปทางด้านทิศใต้ กำแพงเมืองก่อด้วยอิฐ วัดความยาวโดยรอบได้ ๑,๑๐๐ เมตร มีประตูเมืองที่สำคัญ ได้แก่ ประตูเชียงใหม่ ประตูนาสร้อย ประตูปลายนา โบราณสถานที่สำคัญ ได้แก่ วัดปลายนา ปัจจุบันเป็นวัดร้าง และวัดเชียงภูมิ ปัจจุบันคือวัดปงสนุก
            ในเวลาต่อมาได้รวมเมืองเขลางค์ทั้งสองแห่งเข้าด้วยกัน
         ลำปางยุครัตนโกสินทร์  เมืองเขลางค์ในระยะนี้เรียกว่านครลำปาง ได้ย้ายเมืองมาทางฝั่งตะวันออก หรือฝั่งซ้ายของแม่น้ำวัง มีพื้นที่ประมาณ ๓๕๐ ไร่ กำแพงเมืองก่อด้วยอิฐยาว ๑,๙๐๐ เมตร สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๓๕๑ ในสมัยเจ้าหอคำดวงทิพย์ ปัจจุบันอยู่ในแนวถนนรอบเวียง โบราณสถานที่สำคัญได้แก่ หออะม๊อก (หอปืนใหญ่โบราณ) วัดกลางเวียง หรือวัดบุญวาทย์วิหาร วัดน้ำล้อม วัดป่าตั๊วะ
         ความสำคัญของเมืองเขลางค์สมัยราชวงศ์มังราย (พ.ศ.๑๘๔๕ - ๒๑๐๑) ในสมัยราชวงศ์มังราย เขลางค์นครเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญของอาณาจักรล้านนา ปรากฏชื่อในตำนานพื้นเมืองว่าเมืองนคร เจ้าเมืองมียศเป็นหมื่น ในสมัยพระเจ้าติโลกราช เชียงใหม่ทำสงครามเพื่อแย่งชิงหัวเมืองไทยเหนือกับกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ นครลำปางเป็นแหล่งชุมนุมทัพที่สำคัญของพระเจ้าติโลกราช ทรงแต่งตั้งให้หมื่นด้งนครเป็นเจ้าเมือง จนกระทั่งตีเมืองเชลียงไว้ได้ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๐๕๘ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ได้ยกกองทัพมาตีนครลำปาง โดยเข้าทางประตูนางเหลียว แล้วอัญเชิญพระสีกขีปฏิมากรไปจากวัดปู่ขาว
            พ.ศ.๒๑๐๑ พระเจ้าบุเรงนอง แห่งกรุงหงสาวดี ได้แผ่อำนาจเข้ามาครอบครองเชียงใหม่ นับตั้งแต่นั้นมาล้านนาไทยทั้งปวง ก็ตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่าเป็นเวลานานกว่า ๒๐๐ ปี บางครั้งก็ตกอยู่ในอำนาจของกรุงศรีอยุธยา เช่นในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์
         ยุคการกอบกู้บ้านเมืองของชาวนครลำปาง  นับตั้งแต่สมัยพระเจ้าบุเรงนองเป็นต้นมา พม่าได้จัดส่งเจ้านายมากำกับการปกครองหัวเมืองล้านนาไทย โดยมีศูยน์การปกครองอยู่ที่เชียงใหม่ ต่อมาได้ย้ายไปอยู่ที่เชียงแสน การปกครองของพม่าในระยะหลังมิได้มุ่งให้หัวเมืองล้านนาไทยเป็นประเทศเอกราชดังแต่ก่อน แต่ได้ปกครองอย่างกดขี่ และเข้มงวดกวดขันยิ่งขึ้น ทำให้ชาวล้านนาไทยหลายกลุ่มลุกขึ้นต่อสู้ แต่ไม่สำเร็จจนถึงสมัยเจ้าพระยาสุลวะลือไชยสงคราม หรือหนานทิพย์ช้าง สามารถขับไล่พม่าออกจากเมืองลำปางได้สำเร็จ แต่ต่อมาได้มีการแย่งชิงอำนาจกันเอง และพม่าได้เข้ามามีอำนาจในล้านนาไทยอีก และได้ตั้งเจ้าฟ้าหลวงไชยแก้วครองเมืองนครลำปาง
            พ.ศ.๒๓๑๔ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงมีพระบัญชาให้เจ้าพระยาจักรี และเจ้าพระยาสุรสีห์ ยกกองทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ เจ้ากาวิละ ผู้เป็นโอรสของเจ้าหลวงชายแก้ว ได้พาอนุชาทั้งหกคนเข้าสวามิภักดิ์ แล้วนำกำลังจากนครลำปางสมทบเข้าไปตีเชียงใหม่ พม่าได้จับเจ้าฟ้าชายแก้วไว้เป็นประกัน เจ้ากาวิละนำกำลังจากนครลำปางตีหักเข้าเมืองเชียงใหม่ได้ก่อน และช่วยพระบิดาออกจากที่คุมขังได้สำเร็จ แล้วนำกำลังสมทบกองทัพไทยตีพม่าแตกพ่ายกลับไป เจ้ากาวิละจึงได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นเจ้าเมืองนครลำปาง และต่อมาได้เลื่อนเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่
         ความสัมพันธ์กับกรุงเทพ ฯ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  เป็นผลสืบเนื่องมาจากเจ้ากาวิละ และอนุชาได้เข้าสวามิภักดิ์ต่อกองทัพไทย ที่ยกขึ้นไปตีพม่าที่เชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๔ ต่อมาเมื่อสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จขึ้นครองราชย์ ก็ได้มีความสัมพันธ์กับราชวงศ์จักรีแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เพราะเจ้านายฝ่ายเหนือต้องการสวามิภักดิ์ต่อคนไทยด้วยกัน นอกจากนี้ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ยังได้สู่ขอเจ้าศรีอโนชา กนิษฐาของเจ้ากาวิละเป็นชายา บรรดาเจ้านายฝ่ายเหนือได้รับยกย่องให้มีฐานะสูงขึ้นเป็นถึงเจ้าประเทศราช
         สงครามคราวพม่าตีนครลำปาง และป่าซาง (พ.ศ.๒๓๓๐)  หลังจากพระเจ้าปะดุงพ่ายแพ้กองทัพไทยในสงครามเก้าทัพ (พ.ศ.๒๒๒๘) และสงครามที่ท่าดินแดง (พ.ศ.๒๓๒๙) แล้วบรรดาหัวเมืองประเทศราชต่าง ๆ ของพม่า ลื้อ เขิน แถบเมืองเชียงตุง เชียงรุ้ง เมืองสาด เมืองปุ ก็พากันแข็งเมือง พระเจ้าปะดุงจึงให้ยกทัพไปปราบปรามใน ปี พ.ศ.๒๓๓๐ โดยมีหวุ่นยีมหาชัยสุระเป็นแม่ทัพใหญ่ คุมกำลังพล ๔๕,๐๐๐ คน ลงมาทางหัวเมืองใหญ่ และส่วนหนึ่งยกมาทางหัวเมืองล้านนาไทย จอข่องนรทา เป็นแม่ทัพคุมกำลัง ๕,๐๐๐ คน ยกมายึดเมืองฝางไว้เป็นแหล่งชุมนุมพล และเสบียง รอกำลังส่วนใหญ่เข้าตีนครลำปาง
            ฝ่ายโปมะยุง่วน เจ้าเมืองเชียงใหม่ได้หลบหนีกองทัพไทยไปอยู่เมืองเชียงแสน มีกำลังรักษาเมืองไม่มาก ทำให้พระยาแพร่ และพระยายองเห็นเป็นโอกาสเข้าโจมตีเมืองเชียงแสน โปมะยุง่วนหนีไปอยู่กับพระยาเชียงราย ถูกพระยาเชียงรายคุมตัว ส่งให้พระยาแพร่กับพระยายอง แล้วถูกนำตัวส่งให้เจ้ากาวิละที่นครลำปาง ทางนครลำปางจึงคุมตัวส่งไปถวายยังกรุงเทพ ฯ
            พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้ากาวิละ แบ่งครอบครัวจากนครลำปางส่วนหนึ่ง ขึ้นไปรักษาเมืองเชียงใหม่ และโปรดให้เจ้าคำโสมอนุชาเจ้ากาวิละเป็นเจ้าเมืองสืบแทน เจ้ากาวิละเห็นว่ามีกำลังน้อยไม่เพียงพอที่จะรักษาเมืองเชียงใหม่ ที่อยู่ในสภาพทรุดโทรม เพราะเป็นเมืองร้างมาหลายปี จึงอพยพครอบครัวไปตั้งอยู่ที่ป่าซางก่อนเป็นการชั่วคราว โดยมีกำลังจากเมืองสวรรคโลก และกำแพงเพชรยกมาช่วยป้องกัน ในระหว่างนี้ได้รวบรวมผู้คนที่กระจัดกระจายบริเวณชายแดนมาอยู่ในเมือง ตามนโยบายที่เรียกว่า เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง
            ในฤดูแล้ง ปี พ.ศ.๒๓๓๐ กองทัพของหวุ่นยีมหาสุรชัย ยกลงมาจากเมืองเชียงตุง เข้ายึดเมืองเชียงใหม่คืน โดยเข้าตีเมืองเชียงราย แล้วสมทบกับกองทัพของจอข่องนรทาที่ฝาง รวมกำลังได้ประมาณ ๓๐,๐๐๐ คน ยกลงมาทางเมืองพะเยา เข้าตีนครลำปาง ส่วนทางป่าซาง ให้ยีเข่งอุเมงคีคุมกำลัง ๑๖,๐๐๐ คน จากเมืองเมาะตะมะเข้าโจมตีแล้วล้อมไว้ ไม่ให้ยกกำลังไปช่วยนครลำปางได้
            สมเด็จพระบวรราชมหาสุรสีหนาท ยกกำลังจากกรุงเทพ ฯ มาช่วย โดยได้โอบล้อมพม่าไว้อีกชั้นหนึ่ง แล้วให้สัญญาณกำลังในเมืองตีกระหนาบออกมาพร้อมกัน ฝ่ายพม่าแตกหนีไปเชียงแสน ส่วนที่ป่าซางทางกรุงเทพ ฯ ก็ได้ยกกำลังไปช่วยตีกระหนาบ จนข้าศึกแตกพ่ายไปเช่นกัน
            หลังจากเสร็จศึกครั้งนี้แล้ว เจ้ากาวิละเจ้าเมืองเชียงใหม่ และเจ้าคำโสมเจ้านครลำปางได้พาพระอนุชา (เจ้าเจ็ดตน) เข้าเฝ้าสมเด็จพระบวรราชเจ้า ฯ แล้วถวายพระพุทธสิหิงค์ให้อัญเชิญไปประดิษฐานที่กรุงเทพ ฯ ตั้งแต่นั้นมา
            พ.ศ.๒๓๓๗ เจ้ากาวิละ ได้เรียกอนุชาทั้งหกเข้าเฝ้า แล้วให้โอวาทให้มีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี มีสาระสำคัญตอนหนึ่งว่า
            ตั้งแต่เจ้าเราทั้งหลายไปภายหน้าสืบไป ถึงชั่วลูก ชั่วหลาน เหลน หรีด หลี้ ตราบสิ้นราชตระกูลแห่งเราทั้งหลาย แม้นว่าลูกหลาน เหลน หรีด หลี้ บุคคลใดยังมีใจใคร่กบฏ คิดสู้รบกับพระมหากษัตริย์เจ้าแห่งราชวงศ์จักรี แล้วเอาตัวและบ้านเมืองไปพึ่งเป็นข้าบ้าน ข้าฮ่อ ข้ากูลา ข้าแก๋ว ข้าญวน ขอผู้นั้นให้วินาศฉิบหายตายวาย พลันฉิบหายเหมือนกอกล้วย พลันม้วยเหมือนกอเลา กอคา ตายไปแล้ว ก็ขอให้ตกนรกแสนมหากัปป์ อย่าได้เกิดได้งอก..... ผู้ใดยังอยู่ตามโอวาทคำสอนแห่งเรา อันเป็นเจ้าพี่ก็ขอให้อยู่สุข วุฒจำเริญ ขอให้มีเตชะฤทธี อนุภาพปราบชนะศัตรู มีฑีฆา อายุมั่นยืนยาว
           สงครามคราวพม่าตีเชียงใหม่ (พ.ศ.๒๓๔๐)  พระเจ้ากาวิละได้อพยพผู้คนจากป่าซางขึ้นไปตั้งมั่นที่เชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๓๙ พม่าได้ยกกองทัพมาโจมตีเมื่อปี พ.ศ.๒๓๔๐ โดยมาประชุมทัพที่เมืองนาย มีกำลังพล ๕๕,๐๐๐ คน จัดเป็นเจ็ดกองทัพได้เข้าล้อมเมืองเชียงใหม่ไว้อย่างแน่นหนาถึงสามชั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท เสด็จยกกองทัพขึ้นไปช่วยเหลือ ได้ประชุมทัพที่นครลำปาง แล้วส่งกองทัพหน้าเข้าตีค่ายพม่า ซึ่งตั้งสกัดอยู่ที่ลำพูน และป่าซางแตกพ่ายไป แล้วกองทัพชาวนครลำปางได้สมทบกับกองทัพหลวง รวม ๔๐,๐๐๐ คน ยกขึ้นไปตีกระหนาบพม่าที่ล้อมเชียงใหม่แตกพ่ายไป จับได้เชลย อาวุธ และช้าง ม้า พาหนะได้เป็นอันมาก
           สงครามขับไล่พม่าออกจากเขตแดนล้านนาไทย (พ.ศ.๒๓๔๕ - ๒๓๔๗ )  เมื่อปี พ.ศ.๒๓๔๕ เจ้ากาวิละ ได้เกณฑ์กำลังจากหัวเมืองเหนือไปตีเมืองสาด หัวเมืองประเทศราชของพม่า จับได้เจ้าเมือง บุตรชาย รวมทั้งฑูตพม่าที่ส่งไปเจริญสัมพันธไมตรีกับตังเกี๋ย ลงไปถวายยังกรุงเทพ ฯ นอกจากนี้ยังกวาดต้อนครอบครัวชาวเมืองสาด ประมาณ ๕,๐๐๐ คน ลงมาด้วย ทำให้พระเจ้าปะดุงขัดเคืองมาก จึงให้อินแซะหวุ่น คุมกำลัง ๔๐,๐๐๐ คน ยกมาตีเชียงใหม่ เมื่อ ปี พ.ศ.๒๓๔๕
            สมเด็จพระบวรราชเจ้า ฯ ได้เสด็จยกกองทัพขึ้นไปช่วย ครั้นถึงเมืองเถิน พระองค์เกิดประชวรเป็นนิ่ว ไม่สามารถเสด็จต่อไปได้ จึงแต่งกองทัพขึ้นไปสมทบกับ กองทัพของนครลำปาง แล้วยกขึ้นไปช่วยเชียงใหม่ขับไล่พม่าออกไปได้ แล้วพากันไปเฝ้าพระอนุชาธิราชที่เมืองเถิน ทรงมีรับสั่งให้ช่วยกันขับไล่พม่าออกไปจากเชียงแสนให้ได้
            พอถึงฤดูแล้ง ปี พ.ศ.๒๓๔๗ กองทัพหลวงจากกรุงเทพ ฯ พร้อมด้วยกองทัพจากเชียงใหม่ นครลำปาง น่าน  และเวียงจันทน์ ได้ยกไปตีเชียงแสน ตั้งล้อมอยู่สองเดือนจึงยึดเชียงแสนไว้ได้ เจ้ากาวิละสั่งให้รื้อกำแพงเมือง และทำลายเมืองไม่ให้ใช้เป็นที่มั่นของข้าศึกได้อีกต่อไป แล้วอพยพครอบครัวชาวเชียงแสนลงมาประมาณ ๒๐,๐๐๐ คน แบ่งออกเป็นห้าส่วน ส่งลงไปกรุงเทพ ฯ ส่วนหนึ่งซึ่งต่อมาได้ไปตั้งถิ่นฐานที่อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ที่เหลือส่งไปอยู่ที่เวียงจันทน์ น่าน เชียงใหม่ และนครลำปาง ซึ่งได้อาศัยอยู่บริเวณวัดปงสนุก
            ความดีความชอบในครั้งนี้ เจ้ากาวิละได้รับสถาปนาเป็น พระเจ้าเชียงใหม่ มีฐานะเป็นเจ้าประเทศราช หลังจากตีเมืองเชียงแสนได้แล้ว กองทัพของล้านนาไทย ประกอบด้วย เชียงใหม่ นครลำปาง แพร่ เมืองเถิน น่าน รวมทัพกองทัพจากล้านช้างได้แก่ หลวงพระบาง และเวียงจันทน์ได้ร่วมกันยกไปตีเมืองยอง เมืองลื้อ เมืองเขิน เมืองเชียงตุง เมืองเชียงรุ้ง เมืองเชียงแขง ตลอดจนบรรดาหัวเมืองต่าง ๆ แถบไทยใหญ่ ลื้อ เขิน เข้ามาเป็นข้าขอบขัณสีมาของกรุงรัตนโกสินทร์ ทำให้ราชอาณาจักรไทยแผ่ออกไปอย่างกว้างขวางใหญ่ไพศาล ยิ่งกว่าครั้งใด ๆ นับแต่นั้นมา หัวเมืองล้านนาไทยทั้งปวงก็ปลอดภัยจากการรุกรานของพม่า

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์