แหล่งโบราณคดี
ลพบุรีเป็นดินแดนแห่งอารยธรรมหลายยุคหลายสมัย แหล่งโบราณคดีที่ค้นพบมีดังนี้
แหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์
บ้านพุปลากั้ง บ้านชอนม่วง บ้านชอนกาเหว่า บ้านพุน้อย
อยู่ที่ตำบลชอนม่วง อำเภอบ้านหมี่
บ้านรักไทย อยู่ที่ตำบลสะแกราบ
อำเภอโคกสำโรง
บ้านชอนบอน อยู่ที่ตำบลเกาะแก้ว
อำเภอโคกสำโรง
บ้านกุดตะเพชร ถ้ำพระ อยู่ที่ตำบลกุดตะเพชร
อำเภอชัยบาดาล
บ้านซับดีปลี บ้านบ่อเสมา บ้านบ่อตาปังและบ้านดอนเจริญ
อยู่ที่ตำบลยางโทน อำเภอโคกสำโรง
บ้านชอนตะเคียน บ้านบ่อตากร่าง
อยู่ที่ตำบลชอนสมบูรณ์ อำเภอโคกสำโรง
บ้านร่องเพกา อยู่ที่ตำบลซับดีปลี
อำเภอโคกสำโรง
บ้านโคกสะอาด อยู่ที่ตำบลดินแดง
อำเภอโคกสำโรง
ไร่นางลิ่ม พุเกิด บ้านซับบน
อยู่ที่ตำบลซับจำปา อำเภอท่าหลวง
บ้านซับลำไย อยู่ที่ตำบลวับลำไย
อำเภอท่าหลวง
บ้านบ่อดินสอพอง อยู่ที่ตำบลดงดินแดง
อำเภอโคกสำโรง
บ้านชอนแก้ว อยู่ที่ตำบลชอนสรเดช
อำเภอโคกสำโรง
บ้านบ่อยาง บ้านพุน้อย อยู่ที่ตำบลชอนม่วง
อำเภอโคกสำโรง
บ้านร่องเพกา บ้านสระโบสถ์ อยู่ที่ตำบลสระโบสถ์
อำเภอสระโบสถ์
บ้านแก่งหิน อยู่ที่ตำบลผักกูด
อำเภอท่าหลวง
บ้านวังก้านเหลือง บ้านท่าดินดำ
อยู่ที่ตำบลท่าดินดำ อำเภอชัยบาดาล
บ้านพุกะโฉม อยู่ที่ตำบลบ่อทอง
อำเภอโคกสำโรง
บ้านช่อนม่วง อยู่ที่ตำบลวังเพลิง
อำเภอโคกสำโรง
วัดทุ่งสิงห์โต อยู่ที่ตำบลเขาพระงาม
อำเภอเมือง
บ้านเขาหน้าตัด (เขาหินกลิ้ง) อยู่ที่ตำบลลำนารายณ์
อำเภอชัยบาดาล
แหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์
(ยุคโลหะ)
โนนป่าหวาย โนนหมากลา บ้านห้วยโป่ง
อยู่ที่ตำบลห้วยโป่ง อำเภอโคกสำโรง
ห้วยวังยาง อยู่ที่ตำบลวังเพลิง
อำเภอโคกสำโรง
แหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์
/ ประวัติศาสตร์
บ้านวังจันน้อย อยู่ที่ตำบลวังจัน
อำเภอโคกสำโรง
เนินมะกอก บ้านวังไผ่ อยู่ที่ตำบลมะรุม
อำเภอโคกสำโรง
แหล่งโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
โนนกกหว้า บ้านห้วยโป่ง อยู่ที่ตำบลห้วยโป่ง
อำเภอโคกสำโรง
โรงพยาบาลอนันทมหิดล อำเภอเมือง
บ้านเขาตีหิน บ้านเกริ่นกฐิน อยู่ที่ตำบลบ้านชี
อำเภอบ้านหมี่
เขาแร่ บ้านโคกสะอาด อยู่ที่ตำบลคลองกด
อำเภอโคกสำโรง
บ้านเพนียด อยู่ที่ตำบลเพนียด อำเภอโคกสำโรง
โป่งหีบ อยู่ที่ตำบลหนองรี อำเภอชัยบาดาล
บ้านหม้อ อยู่ที่ตำบลบางคู้ อำเภอท่งวุ้ง
เมืองดงมะรุม
อยู่ที่บ้านดงมะรุม ตำบลดงมะรุม อำเภอโคกสำโรง เป็นเมืองโบราณที่มีคูน้ำและคันเดิมล้อมรอบ
มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 เป็นศูนย์กลางของชุมชนโบราณขนาดเล็ก
และมีอายุอยู่ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จนถึงสมัยทวาราวดี คูน้ำรอบเมืองดงมะรุมลึกประมาณ
2-3 เมตร เมืองโบราณแห่งนี้ยังอยู่ในสภาพดี ใช้เป็นสถานที่ตัวอย่างในการศึกษาหลักฐานวัฒนธรรม
และใช้เป็นสถานที่ศึกษาท่องเที่ยวได้ดี
เมืองบ้านใหม่ไพศาลี
อยู่ที่บ้านใหม่ไพศาลี ตำบลโคกเจริญ อำเภอโคกเจริญ เป็นเมืองโบราณ มีคูคันดินล้อมรอบ
มี 1 รูปแบบเป็นเมืองซ้อน เมืองชั้นในมีผังเมืองรูปทรงกลม ล้อมรอบด้วยคูน้ำคันดิน
อีกชั้นหนึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยม ราษฎรไม่กล้าบุกรุกเข้าไปอยู่อาศัย เพราะเชื่อว่าเคยเข้าไปอยู่อาศัยแล้วเกิดความเดือดร้อน
จนต้องอพยพบ้านเรือนออกไป
เมืองซับจำปา
อยู่ที่ตำบลซับจำปา อำเภอท่าหลวง มีคูน้ำ คันดินค่อนข้างสมบูรณ์ ผังเมืองมีรูปร่างคล้ายรูปไข่
มีส่วนแหลมยื่นไปทางเหนือ และเว้าเข้าทางด้านใต้ ไม่เหมือนรูปแบบเมืองโบราณอื่น
ๆ ที่พบในประเทศไทย มีอายุก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยทวาราวดี คูเมืองมีขนาดกว้างประมาณ
16 เมตร และลึกพอสมควร
มรดกทางพุทธศาสนา
วัดเสาธงทอง
ตั้งอยู่ระหว่างพระนารายณ์ราชนิเวศน์กับบ้านหลวงรับราชทูต ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง
เป็นวัดเก่าเดิมแยกเป็น 2 วัด คือ วัดรวกกับวัดเสาธงทอง พระอุโบสถเดิมเป็นของวัดรวก
ถูกไฟไหม้เมื่อปี พ.ศ. 2470 และได้สร้างขึ้นใหม่ พระวิหารเดิมสร้างขึ้นเพื่อเป็นศาสนสถานของศาสนาอื่น
คือ เป็นสุเหร่า เพราะจากแผนที่ที่ทางฝรั่งเศสทำไว้ แสดงว่าพื้นที่บริเวณนั้นเป็นที่พำนักของชาวเปอร์เซีย
นอกจากนี้ก็มีตึกปิจู
(ภาษาฝรั่งเศสแปลว่าเล็ก) ตึกคชสาร
(ตึกโคระส่านหรือโคโรซาน) เป็นตึกเก่าสันนิษฐานว่าใช้เป็นที่พำนักของแขกเมืองกับราชทูตเปอร์เซีย
นอกจากนี้ยังมีพระเจดีย์ และหอระฆัง
วัดป่าธรรมโสภณ
อยู่ที่ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมือง สร้างในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
วิหารมีรูปทรงคล้ายวัดเสาธงทอง พระประธานในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปศิลาศิลปะลพบุรี
วัดตองปุ
อยู่ติดค่ายศูนย์สงครามพิเศษ อำเภอเมือง เป็นวัดมอญ คำว่าตองปุเป็นภาษามอญ
แปลว่าเป็นที่รวมพล มีศิลปกรรมแบบมอญอยู่มาก มีอาคารอยู่หลายหลังที่สร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เช่น ศาลาการเปรียญ หอไตร หอระฆังและศาลาพระศรีอริย์
วัดไลย์
อยู่ริมลำน้ำที่บางขาม ในเขตตำบลเขาสมอคอน อำเภอท่าวุ้ง เป็นวัดเก่าตั้งแต่ครั้งตั้งกรุงศรีอยุธยา
มีการปฏิสังขรณ์ในรัชสมัย สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ที่วัดไลย์มีรูปพระศรีอาริย์เป็นของสำคัญอีกที่มีผู้นับถือมาแต่โบราณ
มีพระวิหารซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาตอนต้น ภายในมีพระประธานปางมารวิชัยขนาดใหญ่ลงรักปิดทอง
มีซุ้มเรือนแก้วแบบพระพุทธชินราช ด้านหน้าและด้านหลังพระวิหารมีภาพปูนปั้นเรื่องทศชาติ
และเรื่องปฐมสมโพธิ ตอนเทโวโรหนะ นับว่าเป็นภาพประติมากรรมฝาผนังขนาดใหญ่ที่สำคัญยิ่งชิ้นหนึ่งของชาติ
วัดนิโครธ
อยู่ในเขตตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมือง เป็นวัดเก่าแก่จากหลักฐานโบราณวัตถุที่พบ
เช่น เศียรพระพุทธรูปศิลา องค์พระพุทธรูป เป็นศิลปะสมัยลพบุรี
หลักฐานที่เหลืออยู่พบแต่เพียงฐานศิลาแลงของปรางค์สามองค์เท่านั้น องค์เจ้าพ่อเทพที่อยู่ในศาลที่สร้างขึ้นมาเมื่อปี
พ.ศ. 2477 ทำด้วยศิลาแลงน่าจะเป็นเทวรูปประกอบเทวสถานของปรางค์องค์เก่า
วัดมณีชลขัณฑ์
อยู่ในเขตตำบลพรหมมาสตร์ อำเภอเมือง เดิมชื่อวัดเกาะแก้ว เพราะวัดตั้งอยู่บนเกาะกลางน้ำ
ได้มีการปฏิสังขรณ์
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามว่า วัดมณีชลขัณฑ์
จุดเด่นของวัดนี้คือ เจดีย์หลวงพ่อแสง พระอุโบสถ พระวิหาร
พระพุทธรูปใหญ่ริมน้ำซึ่งมีลักษณะงดงามมาก
วัดเขาสมอคอน
อยู่บนเทือกเขาสมอคอน เป็นวัดเก่าแก่มาก มีหลักฐานมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา
มีเจดีย์ทรงลังกาย่อมุมไม้สิบสอง ที่ทำบัวกลุ่มรองรับองค์ระฆัง เป็นเจดีย์แบบนิยมของสมัยอยุธยามาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์
มีโบสถ์และมณฑปที่สวยงาม
เขาสมอคอนนี้เป็นเสมือนสำนักตักสิลาในสมัยโบราณ เป็นที่อยู่ของสุกกทันตฤาษี
อาจารย์ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และพระงำเมือง เจ้าเมืองพะเยา
เมื่อครั้งทั้งสองพระองค์ยังทรงพระเยาว์ ได้เสด็จมาศึกษาศิลปวิทยา ณ เขาสมอคอน
วัดเขาตำบล
เดิมทีวัดเขาทะโมน อยู่ในเขตตำบลมาโสม อำเภอชัยบาดาล ในบริเวณวัดมีถ้ำที่น่าสนใจอยู่หลายแห่ง
เช่น ถ้ำประทุน ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่หลายองค์ นอกจากนี้ก็มีถ้ำพระฤาษี
ถ้ำแสงจันทร์ ถ้ำเอราวัณ ถ้ำนิมิตร ถ้ำลับแล ถ้ำดุมเกวียน
ถ้ำบูรพาและถ้ำมุจลินทร์ มีศิลปวัตถุที่เป็นศิลปะอยุธยา อายุประมาณ
300-400 ปี
วัดเขาพระงามหรือวัดสิริจันทรนิมิตรวรวิหาร
อยู่ในเขตตำบลเขาพระงาม อำเภอเมือง เดิมเป็นวัดร้างไม่ปรากฎหลักฐานว่าสร้างเมื่อใด
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2455 พระอุบาลีคณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริขันโท)
เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส พระนครและพระสงฆ์อีกหลายรูป ได้ธุดงค์มาพักที่วัดนี้เห็นว่าชัยภูมิดี
จึงได้สร้างพระพุทธรูปขึ้นที่ไหล่เขา เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่หน้าตักกว้าง
11 วา สูง 18 วา ตั้งตระหง่านอยู่บนเชิงเขามองเห็นได้ไกล ถวายพระนามว่า
พระพุทธปฏิภาคมัธยมพุทธกาล
เมื่อปี พ.ศ. 2464 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จ ฯ
มาที่วัดนี้ และได้พระราชทานนามวัดให้ใหม่ว่า วัดสิริจันทรนิมิตร ต่อมาได้เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี
เมื่อปี พ.ศ. 2499
|