ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี



| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์

            นครปฐม เป็นเมืองโบราณที่มีความสำคัญมากแห่งหนึ่ง ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย เชื่อมต่อกับสมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น เป็นจุดเริ่มต้นแห่งการตั้งถิ่นฐานทางพระพุทธศาสนาเป็นแห่งแรกในสมัยทวารวดีประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑ เป็นต้นมา จากหลักฐานทางโบราณคดี ทำให้ทราบว่ามีกลุ่มชนเข้ามาอยู่ในพื้นที่นี้มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายยุคโลหะ ภายหลังสังคมเกษตรกรรม อายุประมาณ ๒,๐๐๐ ปี มาแล้ว ก่อนที่จะพัฒนามาเป็นชุมชนสมัยประวัติศาสตร์ในสมัยทวารวดี และได้พัฒนาการตั้งถิ่นฐานต่อเนื่องกันจนถึงปัจจุบัน
            เมืองโบราณในสมัยทวารวดี จะมีความสัมพันธ์กับแนวชายฝั่งทะเลเดิมของอ่าวไทย มีความสูง ๓ - ๕ เมตร เมืองโบราณเหล่านี้ตั้งอยู่บนภูมิประเทศที่สูงกว่าแนวชายฝั่งขึ้นไป แนวชายฝั่งดังกล่าวเป็นอ่าวลึกเว้าเข้าไปในแผ่นดิน ด้านเหนือจรดลพบุรี และสิงห์บุรี ด้านตะวันออกจรดนครนายก พนมสาคาม พนัสนิคม และชลบุรี ด้านตะวันตกจรดสุพรรณบุรี อู่ทอง กำแพงแสน และนครชัยศร (เมืองพระประโทน)
            อำเภอกำแพงแสน เป็นดินแดนที่มีประวัติการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มาแต่สมัยโบราณ เป็นเมืองสมัยทวารวดี ร่วมสมัยกับเมืองโบราณสมัยทวารวดีแห่งอื่น ๆ เช่น เมืองโบราณนครปฐม เมืองอู่ทอง (สุพรรณบุรี) และเมืองคูบัว (ราชบุรี) นอกจากนี้ยังเป็นดินแดนที่ชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์เคยอยู่อาศัยมาก่อน
พัฒนาการทางประวัติศาสตร์

            ชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ จะกระจัดกระจายอยู่ตามที่ต่าง ๆ  ที่มีแหล่งน้ำอันเป็นปัจจัยสำคัญ ต่อมาได้พัฒนาเป็นชุมชนเมือง ชุมชนสมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น ในช่วงเริ่มแรกในจังหวัดนครปฐม จะมีการดัดแปลงพื้นที่ โดยการขุดเป็นร่องน้ำล้อมรอบ และกันด้วยคันดินทั้งสี่ด้าน สภาพชุมชนเมืองโบราณที่ยังคงเหลืออยู่ ในเขตจังหวัดนครปฐมมีอยู่สองแห่ง คือ
    เมืองนครปฐมโบราณ
            จากภาพถ่ายทางอากาศที่ได้มีการตรวจสอบกัน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๙ เห็นร่องรอยฝังเมืองโบราณอยู่ที่บริเวณพระประโทนเจดีย์ ตัวเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
    กว้างประมาณ ๒,๐๐๐ เมตร ยาวประมาณ ๓,๖๐๐ เมตร ล้อมรอบด้วยคูน้ำขนาดใหญ่ กว้างประมาณ ๖๐ เมตร ยาวประมาณ ๑๐ กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ ๓,๘๐๐ ไร่ ที่เมืองเปรียบเทียบกับเมืองโบราณอื่น แล้วเมืองนี้มีขนาดใหญ่กว่าบรรดาเมืองโบราณที่พบในประเทศไทย ก่อนสมัยอยุธยา  มีคลองขุดเป็นเส้นตรงเชื่อมคูเมืองด้านใต้ และด้านเหนือ ปัจจุบันคือ คลองพระประโทน คลองนี้ตัดผ่านถนนเพชรเกษม และวัดพระประโทนไปบรรจบคูเมืองด้านเหนือ คลองนี้น่าจะขุดขึ้นเพื่อความสะดวกในการคมนาคม ของประชาชนทั้งที่ยู่อาศัยในเมือง และนอกเมือง เช่นเดียวกับเมืองโบราณศรีมโหสถ ในจังหวัดปราจีนบุรี นอกจากนี้ยังมีการขุดสระน้ำขนาดใหญ่ และเล็กเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันยังปรากฏอยู่ ๖ แห่ง สระที่สำคัญอยู่กลางใจเมืองทางด้านทิศตะวันตกของพระประโทนเจดีย์ มีร่องรอยการขุดคลองเข้ามาหล่อเลี้ยงสระอยู่หลายแห่ง
            ปัจจุบันคูเมืองดังกล่าวตื้นเขิน ใช้ประโยชน์ได้เพียงบางช่วง ยกเว้นคูเมืองทางด้านทิศใต้ จะมีน้ำตลอดสายทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีแม่น้ำบางแก้วไหลแยกจากลำน้ำพะเนียง ซึ่งมีต้นกำเนิดจากแม่น้ำแม่กลองไหลผ่านเข้าตัวเมือง โดยไหลตัดคูเมืองทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ไปออกคูเมืองทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ใกล้กับวัดธรรมศาลา ปัจจุบันแม่น้ำบางแก้วส่วนที่ไหลผ่านตัวเมืองตื้นเขิน จนแทบไม่เห็นร่องรอยว่าเคยเป็นแม่น้ำมาก่อน ส่วนที่ผ่านวัดธรรมศาลาไปแล้ว แปรสภาพเป็นคลองบางแก้ว ไหลไปออกแม่น้ำท่าจีน ที่วัดกลางบางแก้ว อำเภอนครชัยศรี
            ทางด้านทิศตะวันตกมีคลองวังตะกู อันเป็นสาขาหนึ่งของแม่น้ำทัพหลวง มีต้นกำเนิดจากแม่น้ำแม่กลอง ไหลผ่านวัดวังตะกู ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ วัดใหม่ปีนเกลียว เข้าสู่ตัวเมืองนครปฐม ปัจจุบันผ่านวัดห้วยจระเข้ และไปบรรจบกับคูเมืองด้านทิศตะวันตก
            ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีแม่น้ำบางแขม ซึ่งไหลแยกจากแม่น้ำแม่กลอง เมื่อถึงเมืองนครปฐมโบราณ จะไหลขนานไปกับคูเมืองด้านทิศใต้ มีร่องรอยการขุดคลองเชื่อมระหว่างคูเมืองด้านหัวมุมทิศใต้เรียกว่า คลองบ่อโตนด และยังขุดคลองเชื่อมระหว่างแม่น้ำบางแก้ว และแม่น้ำบางแขม
            ศาสนสถาน  เท่าที่พบในบริเวณเมืองโบราณแบ่งออกได้ดังนี้

            ศาสนสถานในเมือง คือ เจดีย์จุลประโทน และที่อยู่กลางเมืองคือ วัดพระประโทน
            ศาสนสถานนอกเมืองที่เป็นศาสนสถานสมัยทวารวดีคือ วัดพระเมรุ เนินพระ และวัดพระปฐมเจดีย์
            ศาสนสถานซึ่งพบเพียงเนินอิฐคือ ศาสนสถานที่วัดธรรมศาลา วัดพระงาม และวัดหลวงประชาบูรณะ
    เมืองเก่ากำแพงแสน

            เมืองเก่ากำแพงเป็นเมืองโบราณรูปสี่เหลี่ยมมุมมน ยังปรากฏร่องรอยคันดินและคู่น้ำล้อมอยู่ในเขตตำบลทุ่งขวาง อำเภอกำแพงแสน มีขนาดกว้างประมาณ ๗๕๐ เมตร ยาวประมาณ ๑,๐๐๐ เมตร มีพื้นที่ประมาณ ๔๐๐ ไร่ ประตูเมืองยังคงเห็นได้ชัดเจนทั้งสี่ประตู คือ ประตูด้านทิศเหนือเรียกว่า ประตูท่านางสรง ประตูด้านทิศตะวันออกเรียกกันว่า ประตูท่าพระ ประตูด้านทิศใต้เรียกกันว่า ประตูท่าช้าง ประตูด้านทิศตะวันตกเรียกกันว่า ประตูท่าตลาด
            ภายในตัวเมืองอยู่เกือบกลางเมืองอีกสองแห่ง ภายนอกเมืองทางด้านทิศตะวันออกมีคลองรางพิกุล ที่มุมเมืองด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือมีช่องมาในเมืองเรียกว่า ช่องปากเมือง หรือปากกลาง พบเศษอิฐจมอยู่ทางด้านใต้ของเมือง พบซากเจดีย์ที่ขุดแล้วหลายองค์ นอกบริเวณเมืองพบพระพุทธรูปปูนปั้นรูปสิงโต และซากเจดีย์สมัยทวารวดีอีกหลายองค์ มีลักษณะของฐานแบบเดียวกับที่เมืองคูบัว จังหวัดราชบุรี หลักฐานทางโบราณคดีที่พบได้แก่ หินบตยา ทำด้วยหินทรายสีแดง ซึ่งพบเป็นครั้งแรก (ส่วนใหญ่จะเป็นสีเขียวหรือสีดำเท่านั้น) นอกจากนี้ยังพบจารึกบนฐานธรรมจักรศิลา อักษรปัลลวะ ภาษาบาลี อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๓
    นครปฐมในพุทธศตวรรษที่ ๓ - ๑๐

            จากการสำรวจทางโบราณคดี เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๙ ที่บ้านดอนตาเพชร จังหวัดกาญจนบุรี เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และบริเวณใกล้เคียง ได้พบลูกปัดโบราณฝังรวมกับสิ่งของเครื่องใช้อื่น ๆ ในหลุมฝังศพ ซึ่งมีอยู่ประมาณ ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว ลูกปัดที่พบในหลุมฝังศพ และบริเวณใกล้เคียงมีมากกว่า ๓,๐๐๐ เม็ด และมีอยู่จำนวนหนึ่ง มีลักษณะคล้ายลูกปัดที่พบในอินเดียตอนเหนือ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตลูกปัด มีอายุร่วมสมัยกับลูกปัดที่พบที่บ้านดอนตาเพชร
            นอกจากลูกปัดแล้วยังพบ ภาชนะสำริดที่มีส่วนผสมดีบุกซึ่งใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา และใช้ในชีวิตประจำวัน ภาชนะดังกล่าวมีลวดลายแบบอินเดีย แต่ส่วนผสมของวัสดุที่ใช้ผลิตน่าจะเป็นของชาวเมืองผลิตขึ้นใช้เอง และส่งไปขายยังที่อื่น เนื่องจากสำรวจพบว่า ภาชนะลักษณะคล้ายคลึงกันนี้ในประเทศอินเดียด้วย
            นอกจากนี้ยังพบขวานหิน กำไล ตะเกียงโรมัน โครงกระดูก หลุมฝังศพ ฯลฯ ล้วนสอดคล้องเชื่อมโยงกันได้ว่า แหล่งที่พบสิ่งของดังกล่าว และบริเวณใกล้เคียง เคยเป็นแหล่งอาศัยของชุมชนพื้นเมือง ที่มีขนาดต่าง ๆ กันกระจายอยู่ทั่วไปในบริเวณเมืองโบราณ ชุมชนแต่ละแห่งมีการแลกเปลี่ยนติดต่อสัมพันธ์กัน และติดต่อค้าขายกับผู้ที่เดินทางมาจากที่อื่นด้วย โดยเฉพาะชาวอินเดีย มีหลักฐานจำนวนมากที่แสดงถึงอิทธิพลวัฒนธรรมอินเดีย และวัฒนธรรมผสมผสานระหว่างอินเดีย กับพื้นเมืองปรากฏอยู่ทั่วไป โดยมีศาสนาและภาษามีความสำคัญในอันดับต้น ๆ
            จากสภาพทางภูมิศาสตร์ และหลักฐานโบราณคดี ในจังหวัดนครปฐม สรุปได้ว่าดินแดนแถบนี้ประกอบด้วยหลายชนชาติ มีอารยธรรมของตนเอง รับอารยธรรมพุทธศาสนาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๖ มีศาสนสถานขนาดใหญ่ ที่ยังปรากฏร่องรอยถึงปัจจุบัน เช่น ศาสนสถานที่พระปฐมเจดีย์ วัดพระประโทน วัดพระเมรุ วัดพระงาม วัดธรรมศาลา และที่เนินพระ ตำบลดอนยายหอม เป็นต้น

            เมืองโบราณและศาสนสถานดังกล่าว มีมาแล้วก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๑ และได้มีการก่อสร้างเพิ่มเติมอีกหลายครั้งในเวลาต่อมา โบราณวัตถุที่พบในเมืองโบราณดังกล่าว มีอายุถึงศตวรรษที่ ๑๑ เช่น พระปฐมเจดีย์ เมื่อแรกสร้างมีลักษณะคล้ายกับสถูปที่สาญจี ประเทศอินเดีย ซึ่งพระเจ้าอโศกมหาราชสร้างไว้ เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๓ - ๔ ลวดลายส่วนประกอบของพระพุทธรูป เครื่องประดับ เข็มขัด เครื่องแต่กายบางชิ้นมีลวดลายเป็นอิทธิพลจากศิลปะแบบอมรวดี และแบบคุปตะของอินเดีย ซึ่งรุ่งเรืองอยู่ในอินเดียตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๗ - ๑๓ ฐานเจดีย์ที่วัดพระงาม วัดพระประโทน และวัดพระเมรุ มีร่องรอยว่ามีการสร้างเสริมหลายครั้ง ลวดลายปูนปั้นที่ประดับฐานเจดีย์มีอิทธิพลลวดลายแบบอินเดีย สมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๒ ภาพปูนปั้นรอบฐานเจดีย์จุลประโทน (ใกล้วัดพระประโทน) เป็นเรื่องชาดกในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ใช้ภาษาสันสฤตรูปแบบโครงสร้างของเจดีย์วัดพระเมรุ คล้ายกับอานันทเจดีย์ในอาณาจักรพุกามของพม่า สันนิษฐานว่า อานันทเจดีย์อาจได้แบบอย่างจากวัดพระเมรุ นี้

            นอกจากนี้ ยังปรากฏโบราณสถานโบราณวัตถุอื่น ๆ เช่น ซากสิ่งก่อสร้าง เสาศิลา ธรรมจักรศิลา ระฆังหิน และกวางหมอบศิลา ตุ๊กตาปูนปั้นหน้าตาแบบแขก พระพิมพ์ดินเผา พระพุทธรูปขนาดต่าง ๆ  ศิลาจำหลักรูปนรสิงห์นั่งชันเข่า และโบราณวัตถุอื่น ๆ พบอยู่ทั่วไปในเขตเมืองโบราณ พบเหรียญเงิน ที่ตำบลพระประโทน อำเภอเมือง ฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๒ ทำด้วยเงิน มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๙ มิลลิเมตร ด้านหน้าเป็นรูปหม้อกลศ (หม้อน้ำที่น้ำเต็ม) ด้านหลังจารึกข้อความด้วยภาษาสันกฤตโบราณว่า ศรีทวารติปุณยุ และการพบเหรียญอื่น ๆ ในบริเวณใกล้เคียง ทำให้ถือเป็นหลักฐานสรุปได้ว่า ในภาคกลางของไทย ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๓ เคยเป็นที่ตั้งของชุมชนขนาดใหญ่ อยู่รวมกันเป็นปึกแผ่น ซึ่งคนสมัยหลังเรียกอาณาจักรนี้ว่า ทวารวดี มีการติดต่อค้าขายกันระหว่างเมืองต่าง ๆ ในอาณาจักร ต่อมาได้มีผู้พบเหรียญเงินในลักษณะคล้ายคลึงกัน ในเขตเมืองโบราณอื่น ๆ เช่น ที่เมืองอู่ทอง (ในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี) ที่บ้านเมือง (ในเขตจังหวัดสิงห์บุรี) และที่เมืองดงคอน (ในเขตจังหวัดชันนาท) โบราณสถาน และโบราณวัตถุที่พบนี้ จัดเป็นศิลปแบบทวารวดีที่มีต้นเค้ามาจากศิลปะอินเดีย ผสมผสานกับศิลปะพื้นเมืองเดิม
    นครปฐมในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๖

            ในหนังสือบันทึกการเดินทางของภิกษุ เหี้ยนจัง (พระถังซำจั๋ง) ที่เดินทางทางบกไปสืบพระพุทธศาสนาในอินเดีย ระหว่างปี พ.ศ.๑๑๗๒ - ๑๒๘๐ และบันทึกการเดินทางของภิกษุอี้จิง ซึ่งเดินทางทางทะเล ในช่วงเวลาต่อมา ได้กล่าวถึงอาณาจักรหลายแห่งในขณะนั้น บันทึกทั้งสองฉบับนี้ ได้ระบุชื่ออาณาจักรแห่งหนึ่งอยู่ระหว่างอาณาจักรศรีเกษตร (อาณาจักรโบราณในพม่า) และอาณาจักรอิศานถปุระ (อาณาจักรเขมร) อาณาจักรดังกล่าวน่าจะเป็นอาณาจักรทวารวดี ภิกษุจีนทั้งสองไม่ได้มาถึงอาณาจักรทวารวดีด้วยตนเอง แต่เขียนจากที่ได้รับฟังจากชนพื้นเมืองในอินเดีย ในพงศาวดารจีนสมัยราชวงศ์ถัง กล่าวว่า สามารถเดินทางด้วยเรือ จากเมืองกวางตุ้งไปอาณาจักรทวารวดีได้ในห้าเดือน
            นอกจากหลักฐานของจีน แล้วยังมีคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา และนิทานพื้นเมืองอีกหลายฉบับ เช่น ชินกาลมาลีปกรณ์ คัมภีร์มหาวงศ์ (พงศาวดารลังกาทวีป) มิลินทปัญหา และกถาสริดสาคร เล่าถึงการเดินทางมาติดต่อกับผู้คนในดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งมีอาณาจักรทวารวดีตั้งอยู่ และที่สำคัญพระเจ้าอโศกมหาราช ได้ส่งสมณฑูตในพระพุทธศาสนา คือ พระโสณเถระ กับพระอุตรเถระ มาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในดินแดนแถบนี้ ซึ่งเรียกว่า สุวรรณภูมิ

            จารึกพบในอาณาจักรทวารวดี ที่นครปฐมซึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุด อยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๖ ได้แก่ จารึก เยธมฺมา เหตุปปภวา... ซึ่งจารึกด้วยอักษรปัลลวะ (อินเดียใต้) เป็นภาษาบาลี พบจำนวนหลายชิ้น นอกจากนี้ยังมีจารึกรุ่นเก่าอีกชิ้นหนึ่งที่วัดโพธิร้าง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ขององค์พระประปฐมเจดีย์ จารึกอักษรปัลลวะ เป็นภาษามอญ นับเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญเกี่ยวกับอารยธรรมมอญโบราณ ในพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ได้เป็นอย่างดี
            จากหลักฐานจารึกดังกล่าวพอสรุปได้ว่า จังหวัดนครปฐม ในห้วงเวลาดังกล่าวเป็นเหล่งอาศัยของชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ถาวร มีอารยธรรมของตนเอง และต่อมาได้รับอารยธรรมจากภายนอกมาประสมกลุ่มชนอาจมีหลายเชื่อชาติ ให้ภาษาต่างกัน แต่บางกลุ่มที่อาศัยในแถบนครปฐม และเมืองใกล้เคียงใช้ภาษามอญในการบันทึก นอกเหนือจากใช้ภาษาบาลี สันสกฤตซึ่งเป็นภาษาทางศาสนา อาจสรุปได้ว่า กลุ่มชนที่มีจำนวนอยู่ในนครปฐม และในอาณาจักรทวารวดี เป็นกลุ่มชนที่ใช้ภาษามอญเป็นภาษาพื้นเมือง

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์