แหล่งโบราณคดี
แหล่งโบราณคดีบ้านห้วยหนองกร่าง
อยู่ในเขตอำเภอกำแพงแสน เป็นแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ และร่วมสมัยทวารวดีตอนต้น
ได้พบโครงกระดูกมนุษย์ในระดับความลึก ๑ เมตร จากผิวดิน ภาชนะสำริด เครื่องมือเหล็ก
ภาชนะดินเผาเนื้อหยาบ เผาด้วยอุณหภูมิต่ำ ตกแต่งผิวพรรณด้วยลายเชือกทาบ
แหล่งโบราณคดีบ้านหนองกบ
อยู่ในเขตตำบลทุ่งลูกนา อำเภอกำแพงแสน เป็นแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์
และร่วมสมัยทวารวดีตอนต้น พบโบราณวัตถุในบ่อน้ำได้แก่ เครื่องมือหินกระเทาะ
ทำจากหินควอทซ์ เศษกำไลหิน เศษภาชนะดินเผาเนื้อหยาบ เผาด้วยอุณหภูมิต่ำ ตกแต่ผิวแบบลายขุดและลายเชือกทาบ
แหล่งโบราณคดีหมายเลข ๑
บริเวณที่ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน มีความสูงจากระดับน้ำทะเล
๗ - ๙ เมตร เป็นที่ราบขั้นบันได กลางบริเวณดังกล่าวเดิมเป็นป่าโปร่ง ลึกลงไปประมาณ
๕๐ เซนติเมตร พบกะโหลกศีรษะคนสมัยโบราณ วัตถุจำพวกลูกปัดหิน และกำไลสำริด
จำนวนหนึ่ง จากการสำรวจเบื้องต้นมีความเห็นว่า บริเวณดังกล่าวน่าจะเป็นที่ฝังศพของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์
ก่อนสมัยทวารวดี เช่นเดียวกับที่ปรากฏหลักฐานที่เมืองเก่ากำแพงแสน ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ
๕ กิโลเมตร
จากการขุดค้น เมื่อขุดลึกลงไปประมาณ ๑ เมตร ได้พบหลักฐานทางโบราณคดีดังนี้
- โครงกระดูกมนุษย์โบราณ ๒ โครง สภาพไม่สมบูรณ์ ยังอยู่ในท่านอนหงายเหยียดยาว
หันศรีษะไปทางทิศตะวันออก โดยฝังเหลื่อมกันเล็กน้อย
- ภาชนะดินเผาเนื้อหยาบ ซึ่งฝังร่วมกับโครงกระดูกทั้ง ๒ โครง มีทั้งก้นกลม
และภาชนะมีก้นเป็นเชิง ตกแต่งผิวลายเชือกทาบ ทาน้ำมันดินสีนวล เผาที่อุณหภูมิต่ำ
เนื้อดินสุกไม่ถึงเนื้อใน
- เครื่องมือดลหะ ฝังร่วมกับโครงกระดูกหมายเลข ๑ ลักษณะเป็นใบหอก จำนวน
๒ ชิ้น สภาพไม่สมบูรณ์ ปลายหอกชิ้นใหญ่กว่า พบรอยสนิมประทับลายผ้าโบราณ ร่วมอยู่ด้วย
- กำไลสำริด พบร่วมกับโครงกระดูกหมายเลข ๑ สวมอยู่บริเวณแขนทั้ง
๒ ข้าง ข้างละประมาณ ๕ วง สภาพไม่สมบูรณ์
- ลูกปัดหิน เป็นหินดาร์นเลียนสีส้ม และหินอาเกทสีขาวน้ำตาล พบร่วมกับโครงกระดูกจำนวน
๗ เม็ด
- กำไลหิน อยู่ในสภาพแตกหักเป็นชิ้น ๆ
- ลูกปักเขี้ยวสัตว์ขนาดใหญ่ เจาะรูปบริเวณรากฟัด พบร่วมกับโครงกระดูก
ภายในหลุมขุดค้น
- เครื่องมือหินขัด ลักษณะคล้ายหินบดยา อยู่ในสภาพไม่สมบูรณ์
พบในหลุมค้น
- ฝาภาชนะสำริด เป็นฝาชนิดมีจุก ไม่สมบูรณ์
จากหลักฐานที่พบ แสดงให้เห็นว่า บริเวณดังกล่าวเคยเป็นสถานที่ฝังศพของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคโลหะ
มีอายุประมาณ ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว ก่อนที่จะพัฒนามาเป็นสังคมเมืองในสมัยทวารวดี
แหล่งโบราณคดีหมายเลข
๒
- แหล่งโบราณคดี
ตั้งอยู่ภายในในมหาวิทยาลัยเกษตรวิทยาเขตกำแพงแสน
สภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มต่ำสูงจากระดับน้ำทะเล สูงประมาณ ๖ เมตร
โบราณวัตถุนี้พบมีดังนี้
- โครงกระดูกมนุษย์โบราณ
การวางตัวของโครงกระดูกอยู่ในแนวทิศเหนือ - ใต้ โดยหันหัวศีรษะไปทางทิศเหนือ
มีภาชนะดินเผาวางอยู่ร่วมกับโครงกระดูกด้วย
- ชิ้นส่วนภาชนะดินเผา
ในส่วนที่พบ ปากภาชนะมี ๒ แบบ คือ แบบที่ ๑ ลักษณะปากโค้งเข้าขอบปากหนาเป็นเหลี่ยมมน
ตกแต่งผิวด้วยลายเชือกทาบ และทาน้ำดินสีแดง สันนิษฐานว่า เป็นภาชนะทรงอ่าน
หรือทรงบาตรขนาดใหญ่ ส่วนแบบที่ ๒ ลักษณะป่าโค้งออกขอบปากกลมมน ตกแต่งผิวด้วยการทาน้ำดินสีน้ำตาลแดง
ที่ขอบปากทั้งด้านใน และด้านนอก ส่วนใหญ่ตกแต่งลายเชือกทาบ และทาน้ำดินสีน้ำตาลแดงเฉพาะผิวด้านนอก
สันนิษฐานว่า เป็นหม้อทรงก้นกลมขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังมีชิ้นส่วนของตัวภาชนะ
และส่วนก้นภาชนะดินเผามีเชิงตื้นอีกด้วย นอกจากนั้นยังพบว่าเนื้อดินเผามีร่องรอยของแกลบข้าวผสมอยู่ในปริมาณมาก
การเผาภาชนะใช้อุณหภูมิค่อนข้างต่ำ ทำให้เนื้อในเผาไม่สุก ส่วนเทคนิคการเผาน่าจะเป็นการสุมเผากลางแจ้ง
การปั้นหรือการขึ้นรูปภาชนะ น่าจะขึ้นรูปด้วยมือ
ย่านประวัติศาสตร์
คลองมหาสวัสดิ์
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยาทิพากรวงศ์
(ขำ บุนนาค) เป็นแม่กองจ้างจีนขุดคลอง ตั้งแต่วัดชัยพฤกษ์มาลา จนถึงแม่น้ำนครชัยศรี
มีความยาวทั้งสิ้น ๖๓๖ เส้น กว้าง ๗ วา ลึก ๖ ศอก ชื่อคลองมหาสวัสดิ์ จากอำเภอนครชัยศรี
เชื่อมต่อแม่น้ำนครชัยศรีกับแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้การเสด็จมาบูรณะองค์พระปฐมเจดีย์สะดวกขึ้น
และเป็นเส้นทางขนส่งสินค้าพืชผลไม้จากจังหวัดใกล้เคียง ไปยังกรุงเทพ ฯ
คลองเจดีย์บูชา
เส้นทางเสด็จพระราชดำเนินมายังองค์พระปฐมเจดีย์แต่เดิม มีความยากลำบากมาก
คลองที่ใช้เป็นเส้นทางเสด็จ ฯ ก็คดเคี้ยวไปมา จากคลองบางแก้ว ผ่านท่าตำหนัก
ท่าพระยามาถึงธรรมศาลา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้า ฯ
ให้ขุดคลองอีกสายหนึ่ง เชื่อมต่อกับแม่น้ำนครชัยศรีที่ตำบลท่านา ตรงมายังพระปฐมเจดีย์
โดยไหลผ่านด้านหลังของพระราชวังปฐมนคร แล้วเลี้ยวเป็นมุมฉากไปทางทิศเหนือขององค์พระปฐมเจดีย์หักเป็นมุมฉากไปทางทิศตะวันตกไปเชือมต่อกับคลองธรรมชาตินี้
ทับบ่อแดง
หน้าวัดเสน่หา
สะพานเจริญศรัทธา
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
ออกแบบสร้างสะพานคอนกรีต แทนสะพานไม้ข้ามคลองเจดีย์บูชา ฝั่งสถานีรถไฟมายังองค์พระปฐมเจดีย์
และพระราชทานนามสะพานนี้ว่า สะพานเจริญศรัทธา มีความงดงามตามแบบสถาปัตยกรรมไทย
ด้วยรูปปั้นนูนสูง
ในอดีต เมื่อพระมหากษัตริย์เสด็จผ่านนครปฐมทางรถไฟ มีการ ตั้งเครื่องถวายสักการะพระบรมสารีริกธาตุองค์พระปฐมเจดีย์
จากสถานีรถไฟด้วย
ทัศนีย์ภาพของสะพานแห่งนี้ เมื่อมองไปยังองค์พระปฐมเจดีย์ จะมีความงดงามอย่างยิ่ง
และภาพนี้เคยได้มีการพิมพ์ลงในธนบัตร ฉบับใบละห้าร้อยบาทมาแล้ว
ตลาดสายหยุด
หลังจากที่ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์ ชาวบ้านก็ได้นำพืชผล และผลิตมาซื้อขายกันที่บริเวณที่ว่างระหว่างองค์พระปฐมเจดีย์
และคลองเจดีย์บูชา ทางด้านทิศเหนือ ต่อมาชุมชนได้ขยายตัวมากขึ้น มีผู้คนออกมาสร้างบ้านเรือนอาศัยอยู่หนาแน่น
และจัดตั้งเป็นตลาดเรียกว่า ตลาดยี่สาน หรือตลาดปสาน โดยได้แบ่งตลาดออกเป็นสองฟากฝั่งถนน
ที่ทอดจากสะพานเจริญศรัทธา ไปยังองค์พระปฐมเจดีย์
ตลาดยี่สาน
หลังจากที่ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์แล้ว ชาวบ้านก็ได้นำพืชผลและผลิตผลมาซื้อขายกันที่บริเวณที่ว่างระหว่างองค์พระปฐมเจดีย์
และคลองเจดีย์บูชา ด้านทิศเหนือ ต่อมาชุมชนได้ขยายตัวมากขึ้น มีผู้คนมาสร้างบ้านเรือนอาศัยอยู่หนาแน่น
และจัดตั้งเป็นตลาดขึ้นเรียกว่า ตลาดยี่สาน หรือตลาดปสาน โดยได้แบ่งออกเป็นสองฟากฝั่งถนน
ที่ทอดจากสะพานเจริญศรัทธาไปยังองค์พระปฐมเจดีย์
ตลาดยี่สาน ยังคงอยู่จนถึงปัจจุบันเรียกชื่อว่า ตลาดทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
แบบ่งออกเป็นตลาดบน และตลาดล่าง เป็นที่ซื้อขายสินค้า อุปโภค และบริโภคนานาชนิด
ตลาดชุมชน
ในอดีต นครปฐมการคมนาคมทางบกใช้การเดินเท้า และใช้สัตว์เป็นพาหะ ทางน้ำใช้เรือพาย
ต่อมาจึงใช้เรือติดเครื่องยนต์ มีแม่น้ำลำคลองเป็นทางสัญจร ทำให้มีท่าขึ้นเรือของชาวบ้านเป็นระยะตลอดลำน้ำนครชัยศรี
ทุกท่าเรือจะมีตลาดริมน้ำคู่กันไปทุกแห่ง เป็นตลาดที่ชาวบ้านมาซื้อขายสินค้าจำเป็น
มีการดำรงชีพ และนำพืชผักผลไม้มาขาย ในแม่น้ำนครชัยศรี มีตลาดชุมชนดังกล่าวหลายแห่งตามลำดับ
ตั้งแต่อำเภอบางเลน อำเภอนครชัยศรี และอำเภอสามพราน ปัจจุบันตลาดชุมชนส่วนใหญ่ซบเซาเพราะการคมนาคมทางบกก็เหง่า
ตลาดชุมชนในอดีตได้แก่ ตลาดบางหลวง ตลาดบางเลน ตลาดบางปลา ตลาดบางภาษี ตลาดลำพระยา
ตลาดงิ้วราย ตลาดห้วยพล ตลาดต้นสน ตลาดท่านา ตลาดปากคลองบางแก้ว ตลาดดอนหวาย
ตลาดใหม่ ตลาดจินดา ฯลฯ
สะพานเกวียน
สะพานเกวียน เป็นสะพานข้ามคลองเจดีย์บูชาอีกแห่งหนึ่ง อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของสะพานเจริญศรัทธา
ห่างออกไปไม่ไกลนัก การที่มีชื่อนี้เนื่องจากว่า จากบริเวณนี้ไปถึงหน้าวัดพระงาม
เป็นท่าเทียบเกวียนที่บรรทุกสินค้าพวกข้าว ของป่า และพืชผลต่าง ๆ ของเกษตรกร
นำมาจำหน่ายในตัวเมือง หรือส่งจ่อไปยังกรุงเทพ ฯ
สะพานเกวียนเดิมเป็นสะพานไม้แข็งแรง มีความกว้างให้เกวียนผ่านไปมาได้สะดวก
ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก รถยนต์ผ่านได้ แต่ชาวบ้านก็ยังนิยมเรียกชื่อเดิมว่า
สะพานเกวียน
ตลาดทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ย้ายเมืองนครชัยศรี
มาตั้งที่ตำบลปฐมเจดีย์ และเปลี่ยนชื่อเมืองนครชัยศรีเป็น เมืองนครปฐมนัน
เมื่อมีการสร้างทางรถไฟสายใต้ผ่านนครปฐม จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างสะพานเจริญศรัทธาข้ามคลองเจดีย์บูชา
เพื่อสะดวกในการข้ามคลองเจดีย์บูชา มานมัสการองค์พระปฐมเจดีย์มามาจากสถานีรถไฟ
ที่ว่างระหว่างคลองเจดีย์บูชา และองค์พระปฐมเจดีย์ ได้มีการตั้งตลาดขึ้นเป็นที่ซื้อขาย
และแลกเปลี่ยนสินค้าของชาวบ้าน และเกษตรกรจากจังหวัดใกล้เคียงเรียกกันว่า
ตลาดยี่สาน
หรือตลาดปสาน
ตลาดดังกล่าวในปัจจุบันคือ ตลาดทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นตลาดที่มีสินค้าเครื่องอุปโภคนานาชนิดจำหน่าย
ตลาดทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน มีถนนรถไฟคั่นกลาง ถ้ามุ่งหน้ามาจากสถานีรถไฟ
ตลาดอยู่ด้านขวามือเรียกว่า ตลาดบน
ด้านซ้ายมือเรียกว่า ตลาดล่าง
ตลาดแห่งนี้เป็นตลาดที่ติดตลอดวัน
ตลาดกลางคืนที่องค์พระปฐมเจดีย์
ในตอนเย็น บริเวณลานองค์พระปฐมเจดีย์ด้านใต้ จะมีร้านค้าในเวลากลางวันอยู่เป็นจำนวนมาก
นำอาหาร ผลไม้ และขนมหวานนานาชนิดมาจำหน่าย
โบราณวัตถุ
โบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์
โบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์ได้แก่ เครื่องมือ เครื่องใช้ของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์
หลักฐานที่พบได้แก่ ภาชนะดินเผา มีดเนื้อค่อนข้างหนา มีรูปทรงแบบง่าย มีการตกแต่งผิวด้วยลายเชือกทาบ
และทาด้วยน้ำดินสีแดง เครื่องมือหินประเภทขวานหินขัด เครื่องมือที่ทำด้วยโลหะได้แก่
ใบหอก กำไลมือสำริด ลูกปัดทำจากเขี้ยวสัตว์ และทำจากหิน เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบโครงกระดูกมนุษย์ที่เมืองกำแพงแสน
โดยมีภาชนะดินเผาฝังรวมอยู่ด้วย
โบราณวัตถุสมัยประวัติศาสตร์
จิตรกรรมสมัยทวารวดี ที่พบไดแก่
ภาพลายเส้นรูปชาวต่างประเทศ สวมหมวกแบบชาวมุสลิม โดยเขียนเป็นลายเส้นลงบนก้อนอิฐมอญขนาดใหญ่
ประติมากรรม
พบงานประติมากรรมสมัยทวารวดี ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา เป็นประติมากรรมรูปเคารพ
ซึ่งในระยะแรก จะใช้สัญญาลักษณ์ขึ้นก่อน ซึ่งเป็นคติดั้งเดิมของพระพุทธศาสนาในอินเดีย
โดยจะใช้รูปดอกบัว หรือรอยพระพุทธบาท แทนการประสูติ รูปต้นโพธิ หรือแท่นบัลลังก์
แทนการตรัสรู้ รูปธรรมจักรมีกวางหมอบ และฐานรองรับธรรมจักรบนยอดเสาธงก็มี
พบเช่นกัน ศิลปะลวดลายที่ปรากฏ จะเป็นรูปแบบมาร ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะอินเดียสมัยคุปตะ
- หลังคุปตะ ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๐ - ๑๑
ระยะต่อมางานประติมากรรมของอินเดีย เป็นสกุลช่างศิลปะธารราฐ ได้มีการสร้างพระพุทธรูป
มีการสร้างรูปมนุษย์เป็นรูปเคารพที่แพร่หลาย เข้าสู่สุวรรณภูมิ ในจังหวัดนครปฐม
ก็ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะอินเดีย แบบอมราวดี แบบคุปตะ แบบหลังคุปตะ และแบบปาละ
โดยผสมผสานกับอิทธิพลศิลปะพื้นเมือง ก่อให้เกิดเป็นศิลปะกรรมที่มีรูปแบบเฉพาะที่เรียกว่า
ศิลปะแบบทวารวดี
พุทธลักษณะของพระพุทธรูปสมัยทวารวดี จะมีพระเกศาขมวดเป็นวงใหญ่ พระพักตร์แบบ
พระขนงทำเป็นเส้นนูนโค้งต่อกันเป็นรูปปีกกา พระเนตรโปน พระโฮษฐหนา พระพุทธรูปที่นิยมสร้างในสมัยนี้ได้แก่
พระพุทธรูปยืนปางประทานธรรม พระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาท และพระพุทธรูปปางสมาธิ
นอกจากนี้ยังพบพระพุทธรูปประทับนั่ง หรือยืนเหนือพระพนัศบดีอีกด้วย
- ประติมากรรมที่เกี่ยวกับศาสนาฮินดู
มีแท่นหรือฐานโยนีขนาดใหญ่ รูปท้าวกุเวรและคชลักษมี เป็นประติมากรรมขนาดเล็ก
ที่เกี่ยวกับความเชื่อเสียงโชคลาภ ความมั่งคั่งความอุดมสมบูรณ์ และยังมีตุ๊กตารูปคนจุงลิง
ซึ่งยังไม่ทราบความหมายปรากฏอยู่ด้วย
- ประติมากรรมประเภทตกแต่ง ลวดลายดินเผา
และรูปปั้นที่ใช้ประดับตามศาสนสถานต่าง ๆ เช่น เทวดา คนแคระ ตลอดจนสัตว์และลวดลายพรรณพฤกษาต่าง
ๆ เช่น ที่ฐานพระเจดีย์จุลประโทน และที่วัดพระงาม เป็นต้น
- ประติมากรรมประเภทใช้สอย
ได้แก่ ภาชนะดอนเผา เช่น หม้อมีสัน ใช้สำหรับหุงต้ม และภาชนะใส่น้ำมัน เพื่อจุดให้แสงสว่างได้แก่
ตะคันดินเผาขนาดเล็ก และตะเกียงดินเผาแบบโบราณ
ตราประทับรูปเรือดินเผา แสดงให้เห็นถึงพาหนะที่ใช้เดินทางติดต่อกับชุมชนโพ้นทะเล
เหรียญเงินมีจารึกอักษรปัลลวะของอินเดียใต้ มีข้อความเป็นภาษาสันสกฤต กล่าวถึง
พระเจ้าศรีทวารวดี ผู้มีบุญอันประเสริฐ พบที่ตำบลพระประโทนเจดีย์
แผ่นสำริดรูปกระบี่ และรูปครุฑสมัยลพบุรี มีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖ เป็นชองประจำธงชัยสำหรับกษัตริย์แต่โบราณ
มีผู้พบและนำขึ้นทูลเกล้า ฯ
ถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๓ พระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
ทรงคิดเครื่องประกอบเป็นธงพระกระบี่ธุช และพระครุฑห์น้อยขึ้น
นอกจากนี้ยังมีศิลปะวัตถุ และโบราณวัตถุอีกเป็นจำนวนมาก ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์
และโบราณคดี
|