ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี



| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

จังหวัดแพร่

            เมืองแพร่ตั้งอยู่ตอนใต้สุดของอาณาจักรล้านนา  ชาวเหนือเรียกชื่อเมืองนี้ในภาษาถิ่นว่า เมืองแป้ เป็นศูนย์กลางการคมนาคมต่อไปยังจังหวัดน่าน  พะเยา  เชียงราย  ลำปาง  ลำพูนและเชียงใหม่ เราจึงเรียกได้ว่าเป็นเมืองที่เป็นประตูสู่ล้านนา  ดินแดนแห่งอาณาจักรล้านนา  ซึ่งอยู่ในภาคเหนือของประเทศไทยในปัจจุบัน  เป็นดินแดนที่เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ อย่างต่อเนื่องมาช้านานหลายพันปี  ต่อมาได้รวบรวมกันจัดตั้งเป็นเมืองขนาดใหญ่หลายเมือง ได้แก่ เชียงราย  เชียงใหม่  ลำพูน  ลำปาง  พะเยา  แพร่และน่าน แต่ละเมืองล้วนมีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน เป็นที่ภาคภูมิใจของชนเผ่าไทมาจนถึงปัจจุบัน

            จังหวัดแพร่  เป็นจังหวัดที่มีภูเขาล้อมรอบ  ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาในแนว เทือกเขาผีปันน้ำตะวันออก และผีปันน้ำกลาง  มีภูเขาที่สำคัญ อยู่ในแนวเทือกเขาผีปันน้ำ ที่เรียกว่าดอย ถ้ามีขนาดเล็กหรือเตี้ยจะเรียกว่าม่อน  ที่สำคัญได้แก่  ดอยหลวง  ดอยแปเมือง  ดอยสามเส้า  ดอยช้างผาด่าน  ดอยพญาฝ่อ  ดอยแม่ตั๊บ  ดอยแม่ขุนน้อย  ดอยแม่ระนาง  เขาพลึง  ดอยหลวง  ม่อนขาตุ้ย  ดอยขุนจึม  ดอยแม่แขม  ดอยหนองม้า  ดอยผาหิ้ง  ดอยหลวง  ดอยผาน้ำตัน  ดอยขุนห้วยบ่อทอง  ดอยแปงหลวง  ม่อนกระทิง  ดอยหน้าบาก  ดอยปลาก่อ  โดยมีดอยกู่สถานในแนวของดอยแปเมือง เป็นยอดสูงสุดของจังหวัดแพร่ สูงประมาณ  1630 เมตร จากระดับน้ำทะเล

            แหล่งน้ำตามธรรมชาติ  เป็นลำน้ำตามสายสั้น ๆ  จำนวน 77 สาย  ส่วนใหญ่ลงลงสู่ แม่น้ำยม  ชาวแพร่เรียกแม่น้ำลำห้วยว่า น้ำ  ที่สำคัญได้แก่  น้ำแม่ปุง  น้ำแม่เต้น  น้ำแม่งาว  น้ำแม่ใส  น้ำแม่สอง  น้ำแม่คำมี  น้ำแม่ถาง  น้ำแม่คำปอง  น้ำแม่เติ๊ก  น้ำแม่หล่าย  น้ำแม่แคม  น้ำร่องเปื่อย  น้ำร่องผา  น้ำแม่มาน  น้ำแม่สาง  น้ำแม่สาย  น้ำแม่พวก  น้ำแม่ต้า  น้ำแม่แลง  น้ำแม่หยวก  น้ำแม่ลาน  น้ำคุ้ม  น้ำสะอิม  น้ำแม่สิน  น้ำแม่สรอย  ห้วยแม่พูน  ห้วยแม่บง  ห้วยแม่พุง  ห้วยแม่แปง  แม่น้ำยม
            คนพื้นเมืองเป็นคนเชื้อชาติไทยซึ่งเรียกตัวเองว่า คนเมือง  นอกจากนี้ยังมีชนกลุ่มน้อยและชาวเขาหลายเผ่า  ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชนเชื้อสายไทย  มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคนพื้นเมืองตั้งถิ่นฐานอยู่ปะปนกับชาวเมือง  เป็นกลุ่มชนที่มาอยู่อาศัย ที่จังหวัดแพร่เป็นเวลานานแล้วมีอยู่ 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ด้วยกันคือ

กลุ่มไทยลื้อ

            เข้ามาอยู่ที่จังหวัดแพร่ตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์  สันนิษฐานว่ามาจากเมืองยองและเมืองเชียงแสน  ปัจจุบันหมู่บ้านของชาวไทยลื้อที่สำคัญมีอยู่ 2 แห่ง คือ บ้านถิ่น ตำบลบ้านถิ่น อำเภอเมือง และบ้านหลวง ตำบลพระหลวง อำเภอสูงเม่น ชาวไทยลื้อมีวัฒนธรรมบางอย่างที่สืบทอดกันมาถึงปัจจุบันคือ ภาษาและอาหารการกิน
กลุ่มไทยพวน
            เดิมเป็นกลุ่มคนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในอาณาจักรล้านช้าง  สันนิษฐานว่า เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองแพร่สมัยเดียวกันกับกลุ่มไทยลื้อ  ปัจจุบันชาวไทยพวนตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ บ้านทุ่งโฮ้ง ตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมือง  เดิมชาวไทยพวนมีชื่อเรียกว่าลาวพวน  ชาวไทยพวนบ้านทุ่งโฮ้ง  ยังสืบทอดวัฒนธรรมเดิมที่สำคัญได้แก่  ภาษาพูด และพิธีกรรมบางอย่าง เช่น ประเพณีกำฟ้า เป็นต้น
กลุ่มไทยใหญ่
            เป็นกลุ่มชนที่ ชาวเหนือเรียกว่าเงี้ยว  และได้เคยก่อความไม่สงบขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2445 เรียกว่า กบฏเงี้ยวเมืองแพร่  ทางกรุงเทพ ฯ ต้องส่งกำลังขึ้นไปปราบปรามจนสงบราบคาบ  หลังจากนั้นชนชาวเงี้ยวก็ได้ปรับตัวรับวัฒนธรรมของชาวเมืองแพร่  จนปัจจุบันได้กลายเป็นชาวแพร่ไปจนหมดสิ้น
กลุ่มก้อบ้านดง
            เป็นกลุ่มชนที่สัณนิษฐานว่า อพยพมาจากทิเบต  มาตั้งถิ่นฐานที่เมืองแพร่มานานกว่า 100 ปีแล้ว  ปัจจุบันคือ หมู่บ้านดง  ตำบลบ้านถิ่น อำเภอเมือง  ได้ปรับตัวเป็นคนไทยแต่ยังคงรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมในด้านภาษาพูดไว้ได้  โดยใช้เป็นภาษาสื่อความหมายภายในหมู่บ้าน คือภาษามปี
กลุ่มชนชาวเขาหรือชาวไทยภูเขา
            เป็นกลุ่มชนที่ตั้งถิ่นฐานกระจายไปทั่วภาคเหนือของไทย  ในส่วนของจังหวัดแพร่  มีชาวเขาเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่ 4 อำเภอ คือ อำเภอสอง อำเภอร้องกวาง อำเภอลอง และอำเภอวังชิ้น  ประกอบด้วยเผ่าต่าง ๆ 5 เผ่า คือ
                เผ่ากะเหรี่ยงหรือยาง    อยู่ในเขตอำเภอวังชิ้น และอำเภอลอง มี 14 หมู่บ้าน  เป็นชาวเขากลุ่มใหญ่ที่สุดของจังหวัดแพร่  เข้ามาตั้งถิ่นฐานเมื่อประมาณ ก่อนปี พ.ศ. 2400 ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง ยังยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีพื้นบ้านอย่างเคร่งครัด
                เผ่าม้งหรือแม้ว    อยู่ในเขตอำเภอสอง และร้องกวาง 4 หมู่บ้าน  เข้ามาอยู่ในเขตจังหวัดแพร่เมื่อไม่นานมานี้ ประมาณปี พ.ศ. 2514 ในเขตภูเขาสูง  มีขนบธรรมเนียมแตกต่างจากชาวเมืองโดยทั่วไป  ค่อนไปทางคนจีน เช่น  ลำดับวงศ์ตระกูล (แซ่) บูชาบรรพบุรุษ เป็นต้น
                เผ่าอีก้อ    อาศัยอยู่บริเวณหุบเขาเขตอำเภอสอง และอำเภอวังชิ้น มี 2 หมู่บ้าน  เข้ามาตั้งถิ่นฐานเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2516  โดยอพยพมาจากจังหวัดเชียงราย  ชาวอีก้อยึดมั่นและเชื่อในลัทธิบูชาที่เข้มงวดมาก  ทำให้ปรับตัวได้ยาก
                เผ่าลีซอหรือลีซู    เข้ามาตั้งถิ่นฐานเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2533  โดยอพยพจากจากอำเภอพบพระจังหวัดตาก  มีอยู่เพียงหมู่บ้านเดียวที่อำเภอลอง  มีขนบธรรมเนียมประเพณีแตกต่างจากชาวเขาเผ่าอื่น มีการสืบสกุลลักษณะคล้ายกับแซ่ของชาวจีน

                เผ่าตองเหลือง    เป็นคนกลุ่มน้อยพวกคนป่า  มักเรียกตนเองว่า มาลาบุรี  มีอยู่เพียง 1 หมู่บ้าน ที่บ้านบุญยืน ตำบลบ้านเวียง อำเภอร้องกวาง  มีความเป็นอยู่แบบเรียบง่าย  เคลื่อนย้ายที่อาศัยอยู่เสมอ


พัฒนาการทางประวัติศาสตร์

            ในพื้นที่หลายอำเภอของจังหวัดแพร่มีร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์ ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ที่บ้านต้าแป้น  บ้านต้าเวียง  ตำบลเวียงต้า อำเภอลอง  ได้พบขวานหินกระเทาะ และขวานหินขัดหรือขวานหินมีบ่าที่ชาวบ้านเรียกว่า เสียมตุ่น  นอกจากนั้นยังพบเครื่องมือโลหะที่ทำด้วยสำริด ที่ชาวบ้านเรียกว่า ขวานฟ้าผ่า ในเขตอำเภอลอง  และอำเภอวังชิ้น
            ในพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำยมมีร่องรอยหลักฐานของชุมชนโบราณเป็นคูเมือง และกำแพงในเกือบทุกอำเภอ  ยุคการก่อตั้งชุมชนอาจจะเริ่มต้นโดยกลุ่มชาวลัวะ หรือละว้า  ซึ่งเป็นคนพื้นเมืองดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือของไทย มานานหลายพันปี  จากตำนานพระธาตุช่อแฮ มีว่า ขุนลัวะชื่ออ้ายค้อม เป็นผู้สร้างพระธาตุช่อแฮ และมีเรื่องเล่าต่อกันมานานว่า ชุมชนโบราณบางแห่งเป็นเมืองของลัวะของแจ๊ะ
            จากการสำรวจด้วยภาพถ่ายทางอากาศ รวมทั้งจากการศึกษาจากเอกสาร  และคำบอกเล่า  มีแหล่งชุมชนโบราณในพื้นที่จังหวัดแพร่อยู่ 24 แห่ง  คือ เมืองแพร่  วังมอญ  วังธง  เวียงตั้ง  เมืองลองหรือเมืองสรอง  เวียงเทพ  ชุมชนโบราณใกล้วัดจันทร์  เวียงสันทราย  เวียงทอง  บ้านพระหลวง  บ้านสูงเม่น  บ้านเด่นชัย  บ้านบ่อแก้ว  เมืองลอง  เวียงต้า  เวียงเชียงชื่น  เมืองโกณหลวง  เมืองลัวะ  เหล่าเวียงชุมชนโบราณแม่วัง  เมืองตรอกสลอบ และชุมชนโบราณบ้านแม่บงเหนือ  เฉพาะสำคัญมีดังนี้


เมืองลองหรือเมืองสรอง

            อยู่ที่บ้านต้นผึ้ง ตำบลบ้านกวาง อำเภอลอง  บนฝั่งแม่น้ำลอง หรือแม่น้ำกาหลง เป็นชุมชนโบราณขนาดใหญ่ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 120 ไร่  มีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ 3 ชั้น  ไม่ปรากฎหลักฐานว่าสร้างเมื่อใด และใครเป็นผู้สร้าง  สันนิษฐานว่ามีอายุอยู่ในสมัยล้านนา และสุโขทัยลงมา  คนในท้องถิ่นเชื่อว่าเป็นเมืองของพระเพื่อน พระแพง ในวรรณคดีไทย เรื่อง ลิลิตพระลอ  ด้านนอกกำแพงเมืองทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีซากเจดีย์เก่าแก่  ชาวบ้านเรียกว่า ธาตุหินส้ม  และเรียกชื่อเมืองนี้ว่า เวียงหินส้ม  ปัจจุบันได้มีการบูรณะธาตุหินส้ม และสร้างวัดขึ้นให้ชื่อว่า วัดธาตุพระลอ  เมืองเวียงลองถูกปล่อยทิ้งร้างมานานหลายร้อยปี  จึงได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2495
    เวียงเทพ
            อยู่ที่บ้านร่องด่าน ตำบลห้วยหม้าย อำเภอลอง  เป็นชุมชนโบราณมีขนาดใหญ่กว่าเมืองลอง  และได้ถูกทิ้งร้างมานานกว่า 100 ปี  ตำนานการสร้างเวียงเทพมีอยู่ว่า  เมืองนี้สร้างขึ้นมาพร้อม ๆ กันกับเมืองลอง โดยพวกม่านเป็นผู้สร้าง เป็นเมืองที่มีคูน้ำ และคันดินล้อมรอบ 1 ชั้น  เดิมมีซากสถูปเจดีย์ของวัดร้างภายในแนวกำแพงดิน  และมีภาชนะดินเผาทั้งชนิดเคลือบ และชนิดแกร่ง  ปัจจุบันแนวกำแพงดินถูกขุดไถทำลาย เหลือเป็นเนินดินเตี้ย ๆ  ส่วนซากวัด เจดีย์ และเศษภาชนะถูกขุดไถทำลายทิ้งหมด  เพื่อในเป็นพื้นที่ทำนา

เวียงสันทราย

            อยู่ที่บ้านเวียงเหนือ  ระหว่างเขตตำบลน้ำเลา และตำบลบ้านเวียง อำเภอร้องกวาง มีคู และคันดินล้อมรอบชุมชนปรากฎอยู่  เป็นชุมชนขนาดใหญ่  ปัจจุบันมีการสร้างบ้านเรือนใหม่ทับชุมชนเดิม  บรรดาคูน้ำและคันดิน ถูกไถทำลายไป  เหลืออยู่เพียงบางส่วน  ภายในเขตชุมชนเคยมีผู้พบ ภาชนะดินเผาชนิดแกร่ง และชนิดเคลือบ  เมืองนี้ถูกทิ้งร้างไปนาน  ชุมชนแห่งใหม่เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2440
    ชุมชนโบราณบ้านแม่คำมีท่าล้อ
            อยู่ที่บ้านแม่คำมีท่าล้อ ระหว่างเขต ตำบลแม่คำมี  อำเภอเมือง และตำบลแม่คำมีรัตนปัญญา  อำเภอหนองม่วงไข่  ชุมชนแห่งนี้สร้างอยู่สองฝั่งลำน้ำแม่คำมี  จึงมีลักษณะต่างจากชุมชนโบราณแห่งอื่นที่สร้างติดลำน้ำด้านเดียว  ปัจจุบันยังปรากฎแนวคันดินสองฟากลำน้ำ  เป็นชุมชนขนาดเล็ก  ชาวบ้านเล่าสืบต่อกันมาว่า พวกม่านเป็นผู้สร้าง  ในเขตชุมชนเคยมีผู้พบภาชนะดินเผาคล้ายกับที่พบในเมืองลอง และเมืองเวียงเทพ


บ้านพระหลวงธาตุเนิ้ง

            อยู่ที่ตำบลพระหลวง  อำเภอสูงเม่น  ชุมชนแห่งนี้ไม่ปรากฎมีคูน้ำและคันดิน ล้อมรอบ  แต่มีโบราณสถานสำคัญคือ พระธาตุเนิ้ง  เป็นเจดีย์ทรงปราสาท  อยู่ในวัดพระหลวง  รูปแบบเจดีย์เป็นศิลปะเชียงแสน  อายุอยู่ประมาณ พุทธศตวรรษที่ 21  สร้างโดยกลุ่มชนที่อพยพมาจากเมืองเชียงแสน  ปัจจุบันองค์พระธาตุได้รับการซ่อมแซมบูรณะโดยกรมศิลปากร  และขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ
    เวียงต้า
            อยู่ที่บ้านต้าม่อน ตำบลเวียงต้า อำเภอลอง  บริเวณที่ตั้งเป็นที่ราบลูกคลื่นใกล้ภูเขามีแนวกำแพงดิน 3 ชั้น  ล้อมเป็นรูปครึ่งวงกลม รอบภูเขาที่เรียกว่าผาเจ้า  บริเวณใกล้เคียงนอกกำแพงวัดมีวัดเก่าแก่ที่สำคัญคือ วัดต้าม่อน  มีจิตรกรรมฝาผนัง เป็นชาดกเรื่อง ก่ำก๋าดำ  และมีวัดเวียงต้าเป็นวัดเก่าแก่อีกวัดหนึ่ง  ในพื้นที่ตำบลเวียงต้ามีการพบขวานหินขัด  กล้องยาสูบดินเผา  ไม่ปรากฎหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้างเมืองนี้ แต่มีประวัติว่า พวกพม่าได้เข้ามาบูรณะสร้างวัด และชุมชน


เมืองลอง

            เป็นชุมชนโบราณที่มีขนาดใหญ่ และสำคัญของจังหวัดแพร่  เมืองลองปรากฎอยู่ในประวัติศาสตร์อาณาจักรล้านนา สมัยพระเจ้าติโลกราช  ในฐานะที่เป็นเมืองหน้าด่านทางด้านทิศใต้ ของอาณาจักรล้านนา  เมื่อทำศึกสงครามกับอาณาจักรอยุธยา ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ  เมืองลองยังมีชื่ออีกคือ เมืองเววาทภาษิต เมืองกกุฎไก่เอิ้ก และเมืองเชียงชื่น
            ที่ตั้งเมืองลองในระยะแรกสันนิษฐานว่าอยู่ริมแม่น้ำยม  บริเวณบ้านไฮสร้อย  ตำบลปากกลาง  อำเภอลอง  มีคันดินเป็นกำแพงล้อมรอบเมืองทั้งสี่ด้าน  ภายในเขตเมืองมีซากพระธาตุเก่าแก่เหลืออยู่ คือที่วัดไฮสร้อย  ปัจจุบันแนวคันดิน และหลักฐานต่าง ๆ ทางโบราณคดีถูกไถทำลายเพื่อใช้พื้นที่ทำนา
            เมืองลอง มีเจ้าเมืองที่เป็นที่รู้จักกันดี และเล่าสืบกันมาได้แก่  หมื่นดังนคร  พระยาหัวเมืองแก้ว  เจ้าเลาคำ  เจ้ากระโจ๋มหัวคำ  เจ้าช้างแดง  เจ้าช้างปาน  และพญาคันธสีมาโลหกิจ เจ้าเมืองลองคนสุดท้าย  เมืองลองไม่เคยถูกทิ้งร้างเหมือนชุมชนโบราณแห่งอื่น  เมื่อปี พ.ศ. 2035  พระยาหัวเมืองแก้วได้ย้ายที่ตั้งเมืองลองมาอยู่บริเวณริมหนองอ้อ  อันเป็นที่ตั้งของวัดพระธาตุศรีดอนคำ  ในปัจจุบัน
    ชุมชนโบราณบ้านแม่บงเหนือ
            อยู่ที่บ้านแม่บงเหนือ  ตำบลปากจอก  อำเภอวังชิ้น  เป็นชุมชนโบราณขนาดเล็ก  ไม่ปรากฎหลักฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยใด  จากเรื่องที่เล่าขานกันมา  ชุมชนแห่งนี้เป็นเมืองของพวกลัวะ ซึ่งเป็นกลุ่มชนดั้งเดิมที่อยู่ในภาคเหนือของไทยก่อนการตั้งอาณาจักรล้านนา  หลักฐานที่ปรากฎอยู่คือกำแพงดินที่ชาวบ้านเรียกว่า คือเวียง อยู่บนภูเขา กำแพงดินนี้ทอดยาวมาจากชุมชนโบราณ บ้านแม่รัง  ซึ่งเป็นชุมชนโบราณขนาดเล็ก อีกแห่งหนึ่ง ในตำบลบ่อเหล็กลอง อำเภอลอง
    เมืองตรอกสลอบ
            อยู่ที่บ้านนาเวียง ตำบลวังชิ้น อำเภอวังชิ้น  เป็นชุมชนโบราณขนาดเล็ก  อยู่บนฝั่งขวาแม่น้ำยมใกล้กับปากห้วยสลก  มีคูน้ำคันดินล้อมรอบอยู่ 2 ชั้น  ภายในเขตเมืองมีซากวัดร้าง  มีผู้พบศิลาจารึกที่เก่าแก่ที่สุดของจังหวัดแพร่  ในจารึกนี้ได้ระบุชื่อเมืองตรอกสลอบ  สันนิษฐานว่า จารึกนี้สร้างขึ้นประมาณ ปี พ.ศ. 1882  ปัจจุบันวัดในเขตเมืองนี้ได้รับการบูรณะ และให้ชื่อว่าวัดบางสนุก


กำเนิดเมืองแพร่

                ตำนานพระธาตุช่อแฮกล่าวว่า เมืองแพร่มีมาแต่สมัยพุทธกาล  ตำนานวัดหลวงกล่าวว่า  เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 1371  พ่อขุนหลวงพล  ราชนัดดากษัตริย์น่านเจ้าได้อพยพคนไทยส่วนหนึ่งจากเมืองเชียงแสน  เมืองไชยบุรี และเวียงนางคำ  ลงมาสร้างเมืองบนที่ราบริมฝั่งแม่น้ำยม  ให้ชื่อว่า เมืองพลนคร  อันเป็นที่ตั้งของเมืองแพร่ในปัจจุบัน
                จากผังเมืองที่เป็นรูปวงรีไม่สม่ำเสมอ  รูปร่างคล้ายรอยเท้า คล้ายผังเมืองหริภุญไชย หรือลำพูน และการขุดค้นหลักฐานทางโบราณคดี  ประมาณอายุของเมืองทั้งสองนี้ว่าสร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ 17  และจากตำนานสิงหนวัติที่กล่าวว่าพญาญีบา  แห่งแคว้นหริภุญไชยปกครองเมืองแพร่  ทำให้สันนิษฐานว่าเมืองแพร่ และเมืองลำพูน สร้างขึ้นในระยะเวลาใกล้เคียงกัน และมีความเกี่ยวข้องกัน
    เมืองพล
            นครพล หรือพลรัฐนคร  เป็นชื่อเก่าแก่ดั้งเดิมที่สุดที่พบในตำนานเมืองเหนือ  ฉบับใบลาน พ.ศ. 1824  เมื่อศึกษาตำแหน่งที่ตั้งของนครพลตามตำนานดังกล่าวพบว่า คือเมืองแพร่นั่นเอง
    เมืองโกศัย
            เป็นชื่อที่ปรากฎในพงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสน  ใช้เรียกชื่อเมืองแพร่ในสมัยที่ขอมมีอำนาจ  ซึ่งได้เปลี่ยนชื่อเมืองในอาณาจักรล้านนาเป็นภาษาบาลี  เมืองโกศัยน่าจะมีที่มาจากชื่อดอยอันเป็นที่ประดิษฐาน พระธาตุช่อแฮ ซึ่งเป็นพระธาตุคู่บ้านคู่เมืองแพร่  คือดอยโกสิยธชัคบรรพต  หมายถึง  ดอยแห่งธงผ้าแพร
    เมืองแพล
            เป็นชื่อที่ปรากฎอยู่ในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช หลักที่ 1  มีข้อความตอนหนึ่งว่า..... เบื้องตีนนอน  รอดเมืองแพล  เมืองน่าน..... เมืองพลัว  พ้นฝั่งของ  เมืองชวาเป็นที่แล้ว.....
    เมืองแพร่
            เป็นชื่อที่คนไทยในอาณาจักรสุโขทัย และอาณาจักรอยุธยาใช้เรียกเมืองแพล  ซึ่งอาจจะกลายเสียงมาเป็นแพรหรือแพร่  หรืออีกประการหนึ่ง มาจากความหมายของดอยโกสิยธชัคบรรพต  อันหมายถึงดอยแห่งธงผ้าแพร  ดังกล่าวมาแล้ว
    เมืองแป้
            เป็นชื่อที่ชาวแพร่ใช้เรียกเมืองของตนด้วยภาษาคำเมือง  ซึ่งกลายเสียงตัว พ เป็นตัว ป หมายถึงการแพร่กระจายออกไป


กำแพงเมืองแพร่

            ชาวแพร่เรียกแนวคันดินที่ล้อมรอบตัวเมืองว่า เมฆ  แนวคันดินนี้คือกำแพงเมืองปัจจุบัน มีความสูงประมาณ 5 เมตร  กว้างประมาณ 10 เมตร  ล้อมรอบเมืองที่ยาวประมาณ 1,400 เมตร  และกว้างประมาณ 800 เมตร
            คูเมืองอยู่ชิดรอบนอกคันดิน  ชาวแพร่เรียกว่า น้ำคือ  คูเมืองที่ปรากฎอยู่ในปัจจุบันกว้างประมาณ 10 เมตร  แนวคูเมืองโอบล้อมแนวกำแพงเมือง  ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  ทิศตะวันออก และทิศตะวันออกเฉียงใต้  ส่วนด้านที่เหลืออาศัยลำน้ำแม่แคม  ซึ่งไหลเลียบกำแพงเมือง  เป็นคูเมืองตามธรรมชาติ  มีความยาวประมาณ 1,000 เมตร
            ประตูเมืองแต่เดิมมี 4 ประตู  คือ ประตูชัย  ประตูศรีชุม  ประตูยั้งม้า  หรือประตูเลี้ยงม้า  และประตูมาร ความกว้างของประตูมีขนาดเพียงให้เกวียน และช้างผ่านได้เท่านั้น

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์