พัฒนาการทางประวัติศาสตร์
การตั้งถิ่นฐาน
ประวัติศาสตร์เมืองสมุทรปราการ มีความเกี่ยวข้องกับเมืองพระประแดง และเมืองนครเขื่อนขันธ์
เพราะเมืองสมุทรปราการตั้งขึ้นในสมัยอยุธยา แต่เมืองพระประแดงเดิมนั้นขอมได้ตั้งขึ้นในสมัยขอม
มีอำนาจครอบครองบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งสมัยนั้นทะเลยังลึกเข้ามามากจนจรดเขตทางใต้ของกรุงเทพ
ฯ ขอมเรียกว่า ปากน้ำพระประแดง
เมื่อตั้งเมืองที่ปากน้ำก็เรียกว่า เมืองพระประแดง
ในหนังสือเรื่องภูมิสาสตร์สยามของกรมตำรากระทรวงธรรมการ กล่าวถึงประวัติเมืองพระประแดงไว้ว่า
เดิมตั้งอยู่ริมแม่น้ำพระประแดงฝั่งซ้ายคือ ฝั่งตะวันออกแถวศาลพระประแดงทุกวันนี้
เมืองนี้เป็นเมืองปากน้ำตั้งแต่ครั้งขอมเป็นใหญ่ มีกำแพงเมืองเป็นหลักฐาน
เพิ่งมารื้อเสียเมื่อแผ่นดินงอก ทำให้ทะเลห่างออกไปทุกที จึงตั้งเมืองสมุทรปราการเป็นเมืองปากน้ำ
ที่ตำบลบางเจ้าพระยา เรียกว่า ปากน้ำบางเจ้าพระยา
แต่เมืองพระประแดง ก็คงเป็นเมืองอยู่ระหว่างเมืองสมุทรปราการ กับเมืองธนบุรี
ต่อมามีแผ่นดินงอกออกไป เมืองพระประแดงห่างจากปากน้ำเข้าทุกที จึงมีการโยกย้ายตั้งเมืองปากน้ำขึ้นใหม่
เพื่อความเหมาะสม จึงมีทั้งเมืองสมุทรปราการ และเมืองพระประแดงในสมัยอยุธยา
ครั้นถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ความจำเป็นทางการเมือง และความปลอดภัยของประเทศชาติมีมากขึ้น
จึงได้ตั้งเมืองนครเขื่อนขันธ์
ปัจจุบันเป็นอำเภอพระประแดง กล่าวได้ว่าจังหวัดสมุทรปราการ หรือเมืองปากน้ำ
มีประวัติและอาณาเขตของเมือง สามเมืองรวมกันคือ เมืองพระประแดง เมืองนครเขื่อนขันธ์
และเมืองสมุทรปราการ
การที่ชอบขนานนามเมืองหน้าด่านว่าพระประแดง เพราะคำว่าประแดง หรือบาแดงแปลว่า
คนเดินหมาย คนนำข่าวสารหมายความว่า เมืองพระประแดง เป็นเมืองหน้าด่าน มีหน้าที่ต้องแจ้งข่าวสารไปให้ราชธานีที่ขอมตั้งไว้ที่ลพบุรี
(ละโว้)
ต่อมาในปี พ.ศ.๑๘๙๓ พระเจ้าอู่ทองได้ทรงอพยพผู้คนมาสร้างพระนครขึ้นใหม่ที่ริมหนองโสนขนานนามว่า
กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา ประกาศเป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่อกรุงสุโขทัย ได้ยกทัพไปตีเขมรได้นครธมอันเป็นนครหลวงของเขมร
และดินแดนทางตะวันตกของเขมรทั้งหมด ส่วนหัวเมืองฝ่ายใต้ อันเป็นอาณาเขตของกรุงสุโขทัยเดิม
ก็ได้มาขึ้นกับกรุงศรีอยุธยาทั้งหมด ตั้งแต่เมืองราชบุรี เพชรบุรี ลงไปตลอดแหลมมะลายู
ทางทิศเหนือได้เมืองลพบุรี ซึ่งติดต่อกับอาณาเขตสุโขทัย พระเจ้าอู่ทองได้โปรดเกล้า
ฯ ให้ตั้งเมืองหน้าด่านทั้งสี่ทิศคือ ทิศเหนือเมืองลพบุรี ทิศตะวันออกเมืองนครนายก
ทิศตะวันตกเมืองสุพรรณบุรี และทิศใต้เมืองพระประแดง
เมืองหน้าด่านเหล่านี้ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างป้อมปราการมั่นคงแข็งแรงทุกเมือง
แต่เมื่อมาถึงรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๑๙ เกิดสงครามช้างเผือก
ระหว่างไทยกับพม่า ทางกรุงศรีอยุธยายกทัพไปตั้งรับข้าศึกที่เมืองสุพรรณบุรี
แต่ทานกำลังพม่าไม่ได้ หลังจากพม่ายกทัพกลับไปแล้ว สมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิ์ทรงเห็นว่า
ป้อมปราการที่เมืองสุพรรณบุรี แม้มีอยู่แต่รับศึกใหญ่ไว้ไม่ได้ และยังเป็นที่มั่นสำหรับข้าศึกได้อีก
จึงโปรดเกล้าให้รื้อป้อมปราการ และกำแพงลงเสีย พร้อมทั้งป้อมปราการ และกำแพงที่เมืองลพบุรี
และเมืองนครนายกด้วย คงเหลือไว้แต่ที่เมืองพระประแดง สำหรับเป็นเมืองหน้าด่านทางทะเลเพียงแห่งเดียว
เมืองพระประแดงเป็นเมืองเก่ามีอายุเกือบพันปี ไม่ทราบแน่ชัดว่าเริ่มสร้างในสมัยกษัตริย์ขอมองค์ใด
ที่ตั้งอำเภอพระประแดงปัจจุบัน ไม่ใช่เมืองพระประแดงเดิม แต่เป็นเมืองนครเขื่อนขันธ์
ซึ่งเริ่มสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และเสร็จเรียบร้อยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองพระประแดง หรือจังหวัดพระประแดง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
สำหรับเมืองสมุทรปราการ สันนิษฐานว่า ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ.๒๑๓๖
- ๒๑๗๑) ในบริเวณใต้คลองบางปลากด ซึ่งอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา เพราะสมัยนั้นบริเวณคลองปลากดได้มีชาวฮอลันดา
ซึ่งเข้ามาติดต่อค้าขายกับไทย ตั้งแต่ในรัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ และได้รับพระราชทานที่ดินบริเวณเหนือคลองปลากด
เป็นที่ตั้งคลังสินค้า เป็นสถานีการค้าที่มั่นคงใหญ่โต จึงถูกยกย่องกันในหมู่ชาวฮอลันดาว่า
นิวอัมสเตอร์ดัม
ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ไทยมีเรื่องพิพาทกับฮอลันดา ฮอลันดาจึงทอดทิ้งคลังสินค้าดังกล่าวไป
ฮอลลันดาเคยนำเรือรบสองลำ มาปิดอ่าวไทยที่นิวอัมสเตอร์ดัม เมื่อเดือนพฤศจิกายน
พ.ศ.๒๒๐๗ เป็นเวลาสามเดือน เพื่อให้มีผลด้านการแข่งขันทางการค้า
เมืองสมุทรปราการที่สร้างขึ้นนี้เข้าใจว่าจะกลายเป็นเมืองร้างในสมัยเสียกรุงศรีอยุธยา
ครั้งที่ ๒ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๐ และคงถูกพม่าทำลายย่อยยับ ขณะนี้ยังหาทรากเมืองไม่พบ
ลำดับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์
พ.ศ.๒๑๒๑ พระยาจีนจันตุ ขุนนางเขมรไปตีเมืองเพชรบุรีไม่ได้ จึงหนีมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารสมเด็จพระมหาธรรมราชา
ต่อมาเมื่อรู้ว่าพระยาละแวก ไม่เอาโทษจึงลอบพาสมัครพรรคพวกหนีกลับโดยเรือสำเภา
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ขณะทรงเป็นพระยุพราช ได้เสด็จลงเรือพระที่นั่งไล่ตามไปทันที่ปากน้ำเจ้าพระยา
เกิดรบพุ่งกัน พอดีสำเภาได้ลมแล่นออกทะเลใหญ่หนีไปได้ เวลานั้นเมืองหน้าด่านทางน้ำยังเป็นเมืองพระประแดง
อยู่ปากน้ำพระประแดง ซึ่งยังอยู่ลึกเข้ามาถึงด้านคลองเตย
พ.ศ.๒๑๖๓ ในรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรม พวกฮอลันดากำลังมีอิทธิพลทางการค้ากับไทย
เป็นเหตุให้ชนชาติโปรตุเกสที่เข้ามาค้าขายกับไทยเป็นชาติแรก ไม่พอใจจนเกิดเหตุขึ้น
เรือกำปั่นโปร์ตุเกสพบเรือฮอลันดาที่ปากน้ำเจ้าพระยา ก็จับยึดเรือไว้ พระเจ้าทรงธรรมทรงทราบก็ได้ทรงโปรดเกล้า
ฯ ให้ทหารลงไปบังคับโปร์ตุเกสให้คืนเรือแก่ชาวฮอลันดา โปร์ตุเกสจึงโกรธเคืองไทยเลิกกิจการค้าขายในกรุงศรีอยุธยา
แล้วให้กองทัพเรือมาปิดเอ่าวที่เมืองมะริด
พ.ศ.๒๑๗๓ พวกญี่ปุ่นที่เข้ามาอยู่ในกรุงศรีอยุธยา ตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวร
ฯ เกิดขัดใจกับไทยถึงขั้นต่อสู้กัน พวกญี่ปุ่นลงเรือสำเภาหนี กองเรือไทยตามไปทันที่ปากน้ำเจ้าพระยา
เกิดการต่อสู้กันบริเวณปากน้ำ ญี่ปุ่นหนีไปได้ และไปอาศัยอยู่ที่เมืองเขมร
พ.ศ.๒๒๐๗ ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงดำเนินกิจการค้าอย่างกว้างขวางให้คนจีนมาประจำหน้าที่ในเรือสินค้าหลวง
และส่งเรือสินค้าหลวงออกไปค้าขายกับต่างประเทศหลายลำ ทำให้ผู้ค้าของฮอลันดาไม่พอใจ
หาว่าไทยทำการค้าผูกขาด ฮอลันดาจึงเลิกกิจการค้าจากกรุงศรีอยุธยา แล้วเอาเรือรบมาปิดอ่าวไทย
คอยจับเรือสินค้าหลวงของไทยไปริบบ้าง ทำลายบ้าง ทำให้สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ทรงดำเนินวิเทโศบายผูกมิตรกับฝรั่งเศส
พ.ศ.๒๒๓๑ ในรัชสมัยสมเด็จพระเทพราชา ไทยเกิดต่อสู้กับฝรั่งเศสที่เข้ามารักษาป้อมวิชัยประสิทธิ์
(อยู่ที่เมืองธนบุรี) ไทยได้ตั้งค่ายรายปืนที่บริเวณปากน้ำเจ้าพระยา เมืองสมุทรปราการ
และจับเรือที่ฝรั่งเศสคุมมาได้สองลำ
พ.ศ.๒๑๙๙ - ๒๒๓๑ ไทยได้ติดต่อกับต่างประเทศมากขึ้น ส่วนมากเข้ามาทางทะเล เมืองสมุทรปราการจึงเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญมาก
มีการปรับปรุงป้อมค่ายให้มั่นคงแข็งแรงยิ่งขึ้น และที่ป้อมปากน้ำนี้เอง เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ไทยมีธงชาติขึ้น
ในปี พ.ศ.๒๒๐๕ มีเรือกำปั่นฝรั่งเศสเข้ามาทางปากน้ำผ่านป้อมบางกอก และได้ชักธงฝรั่งเศสขึ้น
แต่ไทยยังไม่มีธงชาติจึงเอาธงชาติฮอลันดาชักขึ้น ฝรั่งเศสไม่ยอมคำนับธงชาติฮอลันดา
ไทยจึงเอาธงชาติฮอลันดาลงแล้วเอาผ้าแดงชักขึ้นแทน ฝรั่งเศสจึงยอมคำนับธงแดง
ธงแดงจึงเป็นธงชาติไทยตลอดมาจนกระทั่งมาเพิ่มเป็นธงช้าง
พ.ศ.๒๓๑๐ เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า เมืองสมุทรปราการถูกพม่าโจมตีกวาดต้อนผู้คน
ปล้นสะดมและทำลายย่อยยับ
ในสมัยธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ทรงย้ายราชธานีมาตั้งที่กรุงธนบุรี
แล้วโปรดเกล้า ฯ ให้รื้อกำแพงเมืองพระประแดงเดิม ที่ราษฎรบูรณะไปสร้างกำแพงวัง
และสิ่งอื่น ๆ ที่กรุงธนบุรี
พ.ศ.๒๓๒๕ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช องเชียงสือหลานกษัตริย์ญวนได้หนีภัยการเมือง มาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
ต่อมาได้ลอบลงเรือหนีไปทางปากน้ำเจ้าพระยา สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
ทรงยกกองเรือตามไปแต่ไม่ทัน ทรงเห็นภัยจากองเชียงสือ จึงโปปรดเกล้า ฯ ให้พระองค์สำรวจพื้นที่บริเวณปากน้ำเจ้าพระยา
เพื่อสร้างเมืองใหม่อีกเมืองหนึ่ง ทรงเห็นว่าบริเวณลัดโพธิ มีชัยภูมิเหมาะแก่การสร้างเมือง
จึงได้มีการสร้างป้อมค่ายขึ้นที่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา (ตรงข้ามกับอำเภอพระประแดงปัจจุบัน)
ขึ้นหนึ่งป้อมให้ชื่อว่า ป้อมวิทยาคม
ในรัชสมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้โปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระบวรเจ้ามหาเสนานุรักษ์
ให้เป็นแม่กองไปทำเมืองต่อ โดยตัดเอาท้องที่แขวงกรุงเทพ ฯ บ้างแขวงเมืองสมุทรปราการบ้างรวมกันตั้งขึ้นเป็นเมืองใหม่
พระราชทานชื่อว่า เมืองนครเขื่อนขันธ์
ให้ย้ายครัวมอญจากเมืองปทุมธานี
มีพวกพญาเจ่ง มีชายฉกรรจ์ ๓๐๐ คน ไปอยู่นครเขื่อนขันธ์
ในปี พ.ศ.๒๓๕๒ ท้าวไชยอุปฮาด อุปราชเมืองนครพนม พาครัว ๒,๐๐๐ คน มาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้อยู่ที่คลองมหาวงษ์
ต่อมาบางส่วนขอไปอยู่ที่พนัสนิคม
พวกนี้ได้ชื่อว่าอาสาลาวปากน้ำ
ในปี พ.ศ.๒๓๕๓ ไทยเสียเมืองปันทายมาศ
(ฮาเตียม) ให้แก่ญวนขอพระราชทาน อ้างว่าเจ้าเมืองเป็นคนไทย ข่มเหงรังแกกชาวเมือง
จึงเป็นเหตุให้ต้องเตรียมการสร้างป้อมทางปากน้ำเจ้าพระยา
การสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ เพื่อให้มีความมั่นคงแข็งแรงไว้ป้องกันศึกทางทะเล
จึงให้สร้างป้อมทางฝั่งตะวันออกสามป้อมคือ ป้อมเจ้าสมิงพราย
ป้อมปีศาจสิง และป้อมราหูจร ทางฝั่งตะวันตกสร้างอีกห้าป้อมคือ
ป้อมแผลงไฟฟ้า ป้อมมหาสังหาร ป้อมศัตรูพินาศ
ป้อมจักรกรอ และป้อมพระจันทร์พระอาทิตย์
ป้อมทั้งหมดชักปีกกาถึงกัน
ข้างหลังเมืองทำกำแพงล้อมรอบ ตั้งยุ้งฉางตึกดิน และศาลาไว้เครื่องศาสตราที่ริมแม่น้ำทำลูกหุ่นสายโซ่
สำหรับขึงกับแม่น้ำ เอาท่อนซุงมาทำเป็นต้น โกลนร้อยเกี่ยวเข้ากระหนาบเป็นตอน
ๆ เข้าไปปักหลักระหว่างต้นโกลนทุกช่อง ร้อยโซว่ผูกหุ่นมั่นคงแข็งแรง
นอกจากนี้ยังได้โปรดเกล้า ฯ ให้ขุดคลองลัดใหม่ขึ้นเหนือคลองลัดโพธิ เมืองนครเขื่อนขันธ์จึงตั้งอยู่ระหว่างปากคลองลัดโพธิ
และคลองลัดหลวง จึงนิยมเรียกเมืองนี้ว่า ปากลัด
ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๕๖ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างป้อมเพชรหึงขึ้นอีก
ในปี พ.ศ.๒๓๖๖ พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทรกับเจ้าพระยาคลัง (ดิส)
ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นแม่กองไปควบคุมการสร้างเมืองสมุทรปราการ ดำเนินการอยู่สามปีจึงแล้วเสร็จ
มีป้องปราการที่สร้างขึ้นสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา รวมหกป้อมด้วยกัน ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสองป้อมคือ
ป้อมนาคราช อันเป็นป้อมปืนใหญ่ และป้อมผีเสื้อสมุทร
ซึ่งสร้างขึ้นที่เกาะกลางน้ำตรงข้ามป้อมนาคราช ส่วนทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ
อันเป็นที่ตั้งที่ทำการของเมืองมีสี่ป้อมคือ ป้อมประโคนชัย
ป้อมนารายณ์ปราบศึก ป้อมปราการ
และป้อมกายสิทธิ์
การสร้างเมืองสมุทรปราการครั้งนั้น อยู่บริเวณบางเจ้าพระยาคือ ตำบลปากน้ำในปัจจุบัน
อยู่ระหว่างคลองปากน้ำ กับคลองมหาวงษ์ เป็นพื้นที่ตัวเมืองประมาณ ๓๖๐ ไร่
มีการทำพิธีผัวหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ เดือนสี่ ขึ้นเจ็ดค่ำ ปีเถาะ พ.ศ.๒๓๖๕
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้ทรงให้ขยายตัวเมืองออกไปทั้งสี่ทิศ เพื่อสร้างป้อมเพิ่มเติมคือ
ทิศเหนือ ข้าคลองวัดพิชัยสงคราม
คลองวัดมหาวงษ์ เลียบฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านตำบลบางนาเกร็ง ตำบลบางด้วน
เพื่อสร้างป้อมตามโครงการ
ทิศตะวันออก ขยายออกไปเล็กน้อยบริเวณคลองโพงพางต่อวกับคลองพิชัยสงคราม
เพื่อสร้างป้อมปีกกา
ตำบลท้ายบ้าน ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๓๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงโปรดเกล้า
ฯ ให้สร้างป้อมพระจุลจอมเกล้า ฯ
ขึ้นที่ฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณใกล้ปากอ่าว ทำหน้าที่เป็นยามคอยเหตุ
โดยใช้โทรเลข โทรศัพท์ติดต่อกับตัวเมือง
ทิศตะวันตก ขยายเขตเมืองข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาตลอดตำบลบางปลากด
ตำบลแหลมฟ้าผ่า
การขยายเมืองดังกล่าวคิดเป็นพื้นที่ประมาณ ๒๕,๕๐๐ ไร่
ในปี พ.ศ.๒๓๕๗ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงเห็นว่า เมืองพระประแดงเดิมทรุดโทรม
จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้นใหม่ เลื่อนออกไปใกล้ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ให้ชื่อใหม่ว่า
นครเขื่อนขันธ์ ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่าเมืองดังกล่าว
อยู่ใกล้เคียงกับเมืองพระประแดงเดิม จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้เปลี่ยนชื่อเป็นจังหวัดพระประแดง
ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๕๘ แบ่งการปกครองเป็นสามอำเภอคือ พระประแดง ราษฎรบูรณะ และพระโขนง
ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๗๕ ได้มีพระราชกฤษฎีกายุบจังหวัดพระประแดง ให้อำเภอพระประแดงไปขึ้นกับจังหวัดสมุทรปราการ
อำเภอราษฎณบูรณะไปขึ้นกับจังหวัดธนบุรี และอำเภอพระโขนงไปขึ้นกับจังหวัดพระนคร
ดังนั้นจังหวัดสมุทรปราการจึงประกอบด้วยอำเภอเมือง ฯ อำเภอพระประแดง อำเภอบางพลี
อำเภอบางบ่อ ส่วนกิ่งอำเภอเกาะสีชัง โอนไปขึ้นกับจังหวีดชลบุรี
สถานที่สำคัญที่เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดคือ พระสมุทรเจดีย์
ที่เรียกกันทั่วไปว่า พระเจดีย์กลางน้ำ
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงเห็นว่า มีหาดทรายที่ท้ายป้อมผีเสื้อสมุทร
ได้ทรงมีพระราชดำริที่จะสร้างพระมหาเจดีย์ไว้เป็นอนุสรณ์จึงได้โปรดเกล้า ฯ
ใให้ถมพื้นที่เกาะดังกล่าว และให้พระราชทานนามพระมหาเจดีย์ที่สร้างนั้นว่าพระสมุทรเจดีย์เป็นการล่วงหน้า
แต่ยังสร้างไม่ทันเสร็จพระองค์ก็เสด็จสวรรคตใน ปี พ.ศ.๒๓๖๗
ในปี พ.ศ.๒๓๕๒ อุปราชเมืองนครพนมได้พาสมัครพรรคพวกประมาณ ๒,๐๐๐ คน เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้สำรวงจชายฉกรรจ์ ๘๖๐ คน ให้ท้าวงอินทสาร (ท้าวอินทพิศาล)
บุบตรพระยาอุปราชเป็นพระยาปลัดเมืองสมุทรปราการ
ในปี พ.ศ.๒๓๗๑ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยาพระคลัง (ดิส) เป็นแม่กองไปอำนวยการสร้างป้อมที่เมืองสมุทรปราการอีกสองป้อมคือ
ป้อมปีกกา ต่อกับป้อมประโคนชัย
และป้อมตรีเพชร
ที่ตำบลบางนางเกรง
ในปี พ.ศ.๒๓๗๗ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างป้อมอีกสองป้อมคือ ป้อมนารายณ์กางกร
และป้อมคงกระพัน
ที่ตำบลบางปลากด
ในปี พ.ศ.๒๓๘๐ มีหมายรับสั่งให้ทำพิธีฝังอาถรรพ์ป้อมเมืองสมุทรปราการ
ในปี พ.ศ.๒๓๘๗ ทางราชการได้ปราบอั้งยี่แสนคำ
เมืองสมุทรปราการ
ในปี พ.ศ.๒๓๘๘ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างป้อมนาคราชต่อเติมจากเดิม สร้างป้อมปีกกาพันสมุทร
อยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำ ปรับปรุงขยายป้อมผีเสื้อสมุทรที่สร้างไว้ที่เกาะกลางน้ำโดยให้ขยายปีกกาต่อป้อมออกไปอีกทั้งสองข้าง
ให้นำศิลาก้อนใหญ่มาถมปิดปากอ่าวที่ตำบลแหลมฟ้าผ่า ห้ากอง เมื่อถมแล้วก็จะเป็นร่องเดินเรือโดยเฉพาะเป็นการบังคับให้เรือ
ขนาดใหญ่กินน้ำลึกต้องเดินตามร่องน้ำนั้น ร่องน้ำที่เกิดจากการถมหินนั้น เรียกว่า
ร่องน้ำโขลนทวาร
ในปี พ.ศ.๒๓๙๑ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้เสร้างป้อมบนฝั่งซ้ายแม่น้ำอีกหนึ่งป้อมเป็นป้อมขนาดใหญ่กว่าทุกป้อม
ที่สร้างมาแล้วคือ ป้อมเสือซ่อนเล็บ
สำหรับผู้บัญชาการกองทัพมาประจำอยู่ สร้างที่ตำบลมหาวงษ์ อันเป็นบริเวณโรงเรียนนายเรือปัจจุบัน
ในปี พ.ศ.๒๓๗๐ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระสมุทรเจดีย์ สร้างเสร็จเมื่อปี
พ.ศ.๒๓๗๑ และได้มีการบูรณะดัดแปลงแก้ไขแบบ และก่อสร้างเพิ่มเติมเป็นการใหญ่
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงพระราชดำริที่จะสร้างป้อมป้องกันข้าศึกขึ้นที่
ตำบลแหลามฟ้าผ่า ตรงบริเวณพื้นที่ที่งอกออกไปในทะเล อยุ่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำ
เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๗ เสร็จเมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๖ คือ
ป้อมพระจุลจอมเกล้า
ฯ เป็นป้อมที่ทันสมัย อาวุธของป้อมมีขนาด
๖ นิ้ว จำนวน ๗ กระบอก ซื้อจากประเทศอังกฤษ เป็นปืนหลุมยกขึ้นลงได้ด้วยแรงน้ำมัน
ในปี พ.ศ.๒๔๓๖ ฝรั่งเศสได้ส่งเรือลูแตง
เข้ามาตรึงกำลังในแม่น้ำเจ้าพระยา โดยจอดอยู่หน้าสถานทูตฝรั่งเศส เพื่อให้รัฐบาลไทยยอมรับว่า
ดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส
ในตอนเย็นของวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๓๖ กองเรือรบฝรั่งเศสสองลำ ประกอบด้วย
เรือแองกองสตังค์
และเรือโคเมต
โดยมีเรือสินค้าฝรั่งเศสชื่อ เรือเย เบ เซย
เป็นเรือนำร่องผ่านสันดอนปากน้ำเจ้าพระยา เข้ามาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลไทย
ทหารไทยที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า ฯ จึงยิงด้วยกระสุนซ้อมรบสองนัด เพื่อเตือนให้เรือรบฝรั่งเศสแล่นกลับออกไป
แต่ไม่เป็นผลจึงได้ยิงด้วยกระสุนจริง ข้ามเรือรบไปสองนัด เรือฝรั่งเศสได้ชักธงรบ
และระดมยิงมายังป้อมพระจุลจอมเกล้า ฯ ทางป้อมพระจุล ฯ ได้ยิงโต้ตอบด้วยปืนใหญ่ทุกกระบอก
ที่มีอยู่ในระหว่างนั้นหมู่เรือรบไทยได้แก่
เรือทูลกระหม่อม
เข้าร่วมยิงต่อสู้ด้วย ปรากฎว่าเรือเย เบ เซย ถูกยิงทะลุ ต้องแล่นไปเกยตื้นอยู่
ณ บริเวณป้อมพระจุล ฯ ส่วนเรือแองกองสตังค์ และเรือโคเมต คงแล่นเข้ามาถึงกรุงเทพ
ฯ และจอดทอดสมออยู่ที่หน้าสถานทูตฝรั่งเศส
จากกรณีพิพาทครั้งนี้ ไทยต้องเสียดินแดนทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ตลอดจนเกาะทั้งหลายในแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส
และสิทธิอื่น ๆ อีกหลายประการ
ในปี พ.ศ.๒๔๘๔ ทหารญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบก ที่ตำบลบางปู เมื่อวันที่ ๘
ธันวาคม ชาวสมุทรปราการประมาณสามพันคน ภายใต้การนำของ ขุนบุรีภิรมย์กิจ
(พริ้ม จารุมาศ) ข้าหลวงประจำจังหวัด และนายสุวรรณ
รื่นยศ นายอำเภอเมือง ฯ พากันไปชุมนุมที่สำโรง
เรียงรายมาตามถนนสุขุมวิท มาถึงสะพานมหาวงษ์ แต่การสู้รบไม่ทันได้เกิดขึ้น
เพราะทางรัฐบาลไทยยอมให้ทหารญี่ปุ่นผ่านประเทศไทยได้
ในปี พ.ศ.๒๔๘๕ ได้มีพระราชบัญญัติรวมจังหวัดพระนคร ธนบุรี สมุทรปราการ
และนนทบุรี เข้าด้วยกัน รวมเรียกว่า นครบาลกรุงเทพ ฯ ธนบุรี ต่อมาในปี
พ.ศ.๒๔๘๙ ได้มีพระราชกฤษฎีการประกาศจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการขึ้นใหม่
พัฒนาการทางประวัติศาสตร์
ทางรถไฟสายปากน้ำ
เป็นทางรถไฟสายแรกของประเทศไทย โดยบริษัทรถไฟสายปากน้ำของเอกชน ชาวเดนมาร์กได้รับสัมปทาน
๕๐ ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๒๙ เปิดใช้งานเมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๖ ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นรถไฟฟ้า
(รถราง) เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๙ รถไฟสายนี้เลิกกิจการเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๓
ก่อการโทรเลขโทรศัพท์
ระหว่างจังหวัดสมุทรปราการกับกรุงเทพ ฯ นับเป็นกิจการเริ่มแรกในประเทศไทย
เมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๘ ต้องใช้ระยะทาง ๔๕ กิโลเมตร โดยคดเคี้ยวตามภูมิประเทศ
เลี่ยงให้พ้นจากการรบกวน การขอสัมปทานของชาวต่างประเทศ ครั้งนั้นกงสุลฝรั่งเศสได้มาเจรจาขอต่อสายโทรเลขเข้ามาในประเทศไทย
เข้ามาทางเมืองไซง่อน ขณะเดียวกันรัฐบาลอังกฤษ ที่ประเทศอินเดียได้ขอสร้างสายโทรเลขติดต่อกับประเทศไทย
เข้ามาทางเมืองทวาย รัฐบาลไทยจึงตัดบทบอกว่า ไทยจะทำการโทรเลขเอง จึงได้ตราพระราชบัญญัติ
เพื่อให้อำนาจข้าหลวงนำช่างต่าง ๆ ออกไปทำทางสายโทรเลขให้กรมกลาโหม เป็นเจ้าหน้าที่เริ่มงานตั้งแต่ปี
พ.ศ.๒๔๑๘ เริ่มพาดสายโทรเลข เมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๑ และได้ตั้งกรมโทรเลขขึ้น
แต่กิจการบางอย่างยังรวมอยู่กับกรมกลาโหม และกรมโทรเลขได้รับโอนมาจากกรมกลาโหม
เมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๖ โดยใช้โทรเลขในตอนแรก ๆ ใช้ภายในวงงานทางราชการ เช่น
แจ้งเรื่องการเข้าออกของเรือเดินทะเล ต่อมาได้ขนายการทอดสายเคเบิลใต้น้ำ
ออกไปถึงกระโจมไฟที่สันดอนปากแม่น้ำ
|