ท่องเที่ยว
||
เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว
||
ดูดวงตำราไทย
||
อ่านบทละคร
||
เกมส์คลายเครียด
||
วิทยุออนไลน์
||
ดูทีวี
||
ท็อปเชียงใหม่
||
รถตู้เชียงใหม่
Truehits.net
dooasia : ดูเอเซีย
รวมเว็บ
บอร์ด
เรื่องน่ารู้ของสยาม
สิ่งน่าสนใจ
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
เที่ยวหลากสไตล์
มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
เส้นทางความสุข
ขับรถเที่ยวตลอน
เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
อุทยานแห่งชาติในไทย
วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
ไก่ชนไทย
พระเครื่องเมืองไทย
เที่ยวภาคเหนือ
กำแพงเพชร
:
เชียงราย
:
เชียงใหม่
:
ตาก
:
นครสวรรค์
:
น่าน
:
พะเยา
:
พิจิตร
:
พิษณุโลก
:
เพชรบูรณ์
:
แพร่
:
แม่ฮ่องสอน
:
ลำปาง
:
ลำพูน
:
สุโขทัย
:
อุตรดิตถ์
:
อุทัยธานี
เที่ยวภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
:
ขอนแก่น
:
ชัยภูมิ
:
นครพนม
:
นครราชสีมา(โคราช)
:
บุรีรัมย์
:
มหาสารคาม
:
มุกดาหาร
:
ยโสธร
:
ร้อยเอ็ด
:
เลย
:
ศรีสะเกษ
:
สกลนคร
:
สุรินทร์
:
หนองคาย
:
หนองบัวลำภู
:
อำนาจเจริญ
:
อุดรธานี
:
อุบลราชธานี
:
บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
เที่ยวภาคกลาง
กรุงเทพฯ
:
กาญจนบุรี
:
ฉะเชิงเทรา
:
ชัยนาท
:
นครนายก
:
นครปฐม
:
นนทบุรี
:
ปทุมธานี
:
ประจวบคีรีขันธ์
:
ปราจีนบุรี
:
พระนครศรีอยุธยา
:
เพชรบุรี
:
ราชบุรี
:
ลพบุรี
:
สมุทรปราการ
:
สมุทรสาคร
:
สมุทรสงคราม
:
สระแก้ว
:
สระบุรี
:
สิงห์บุรี
:
สุพรรณบุรี
:
อ่างทอง
เที่ยวภาคตะวันออก
จันทบุรี
:
ชลบุรี
:
ตราด
:
ระยอง
เที่ยวภาคใต้
กระบี่
:
ชุมพร
:
ตรัง
:
นครศรีธรรมราช
:
นราธิวาส
:
ปัตตานี
:
พัทลุง
:
พังงา
:
ภูเก็ต
:
ยะลา
:
ระนอง
:
สงขลา
:
สตูล
:
สุราษฎร์ธานี
www.dooasia.com
>
มรดกไทย
>
ประวัติจังหวัด
|
ย้อนกลับ
|
หน้าต่อไป
|
|
พัฒนาทางประวัติศาสตร์
|
มรดกทางธรรมชาติ
|
มรดกทางวัฒนธรรม
|
มรดกทางพระพุทธศาสนา
|
จังหวัดมหาสารคาม
จังหวัดมหาสารคาม ตั้งอยู่กึ่งกลางของภาคอีสาน ตัวเมืองตั้งอยู่บนเนินสูงของลูกคลื่น ที่เรียกว่ามอ พื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบลูกคลื่น ไม่มีภูเขา เป็นทุ่งนาสลับกับป่าโปร่ง มีแหล่งน้ำสำคัญคือลำน้ำชี ไหลผ่านพื้นที่อำเภอโกสุมพิสัย อำเภอกันทรวิชัย และอำเภอเมือง ฯ ลำน้ำพองไหลผ่านพื้นที่ตอนเหนือของจังหวัด และเป็นแนวแบ่งเขต จังหวัดมหาสารคามกับ จังหวัดขอนแก่น นอกจากนั้นยังมีลำน้ำขนาดเล็กได้แก่ ห้วยคะคาวในพื้นที่อำเภอเมือง ฯ ห้วยสายบาตรในพื้นที่อำเภอเชียงยืน ห้วยเสียวในพื้นที่อำเภอบรบือ และอำเภอวาปีปทุม ลำเตา ลำพลับพลา ห้วยฉนวน ห้วยหว้า อยู่ในเขตอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย กุดนางใย กุดผักชี กุดแดง อยู่ในเขตอำเภอเมือง ฯ บึงบอน บึงกุย อยู่ในพื้นที่อำเภอโกสุมพิสัย หนองแวง หนองทุ่ม หนองอีเก้ง อยู่ในพื้นที่อำเภอวาปีปทุม
พื้นที่ของจังหวัดมหาสารคาม เป็นส่วนหนึ่งของแอ่งกะทะ ที่เรียกว่าแอ่งโคราช หินพื้นฐานเป็นหินทราย ดินส่วนมากเป็นดินตะกอนที่น้ำพัดมาทับถมกันเป็นเวลาช้านาน เรียกว่าดินตะกอนเก่า ดินชนิดนี้มีความอุดมสมบูรณ์น้อย เรียกว่าดินทาม หรือดินติดเก็บ ส่วนดินตะกอนใหม่มีอยู่ตามลำน้ำชี และลำห้วยต่าง ๆ ซึ่งมีเป็นส่วนน้อยเพียงประมาณ ร้อยละ ๘ เท่านั้น และเนื่องจากหินพื้นฐานเป็นหินเกลือ บริเวณรอบ ๆ เมืองจึงเต็มไปด้วยแหล่งเกลือสินเธาว์ บางแห่งเกลือจะปรากฏอยู่บนผิวดิน เป็นส่าเกลือสีขาว เรียกว่าเอียดหรือขี้ทา
ป่าไม้ในเขตจังหวัดมหาสารคามมีน้อยมากเหลือพื้นที่ป่าอยู่ประมาณ ๘,๓๐๐ ไร่ เป็นป่าเขตร้อนที่เรียกว่าป่าโคก บริเวณใกล้น้ำน้ำชี มีไม้ประเภทพรุน้ำจืด สรุปแล้วมีป่าน้อยที่สุดของจังหวัดในภาคอิสาน
พัฒนาการทางประวัติศาสตร์
จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่าได้มีชุมชนมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ประมาณ ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว เป็นชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ ชุมชนที่เกิดขึ้นในระยะต่อมาเป็นผลสืบเนื่องมาจากการขยายตัวของชุมชนเดิม มีลักษณะการตั้งชุมชนที่สลับซับซ้อนขึ้น เช่นเกิดชุมชนที่มีน้ำล้อมรอบ บางแห่งมีการทำเกลือ การถลุงโลหะ การทำเครื่องปั้นดินเผา ชุมชนดังกล่าวเหล่านี้เกิดขึ้นในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ และในสมัยประวัติศาสตร์
สมัยทวาราวดี
นับตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ ๑๒ เป็นต้นมา ชุมชนโบราณในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้รับวัฒนธรรมทางพุทธศาสนา และศาสนาฮินดูเข้ามา พบร่องรอยชุมชนขนาดใหญ่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ และพบโบราณสถานในพทูธศาสนา เช่น เสมาหิน โบสถ์ วิหาร และสถูปเจดีย์ หลายแห่ง เมืองสำคัญในเขตจังหวัดมหาสารคามคือ เมืองนครจัมปาศรี อยู่ในพื้นที่อำเภอนาดูน เป็นชุมชนเมืองขนาดใหญ่สมัยทวาราวดี มีคูน้ำล้อมรอบ และมีอาศัยสืบต่อจนถึงสมัยลพบุรี มีซากเจดีย์สมัยทวาราวดีหลายแห่ง กลางเมืองมีเนินศาสนสถานก่อด้วยศิลาแลงเรียกว่า
ศาลานางขาว
ณ ที่นี้ได้พบศิลาจารึกขอม มีพระนามกษัตริย์พระบาทกับแตงอัญศรีชัยวรมันเทวะ ซึ่งอาจหมายถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ ๕ หรือที่ ๖ นอกเหนือออกไปทางด้านใต้ พบศาสนสถานขอมสมัยลพบุรีอยู่สองแห่งคือ
กู่น้อย
และ
กู่สันตรัตน์
ภายในนครจัมปาศรี มีลักษณะเป็นเนินที่เคยเป็นที่อยู่อาศัย และที่ฝังศพของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เพราะพบภาชนะดินเผา แบบทุ่งกุลาร้องไห้ ซึ่งมีอายุในสมัยก่อน ทวาราวดี
ห่างจากตัวเมืองนครจัมปาศรีไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประมาณ ๔ กิโลเมตร ได้พบสถูปบรรจุพระบรมธาตุ และพระพิมพ์สมัยทวาราวดีแบบต่าง ๆ อีกเป็นจำนวนมาก
สมัยลพบุรี
การแพร่เข้ามาของวัฒนธรรมขอมยังลุ่มน้ำมูล น้ำชี ส่วนใหญ่เข้ามาทางช่องเขาในเทือกเขาพนมดงรัก นับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๖ หรือตั้งแต่สมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ เป็นต้นมา เพราะปรากฏมีโบราณสถานที่เป็นศาสนสถานที่ทำด้วยศิลาแลงเป็นระยะ ๆ ตั้งแต่บริเวณลุ่มน้ำมูล ผ่านไปทางจังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด อุดรธานี แล้วแยกสายหนึ่งไปทางหนองหาน สว่างแดนดิน และสกลนคร ส่วนอีกสายหนึ่งออกจากอุดรธานีไปทางหนองคาย และเวียงจันทน์
การพบศิลาจารึกที่บริเวณศาลานางขาว ในเขตนครจัมปาศรี แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของขอมในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๗ ซากปราสาทขอมที่พบบริเวณกู่น้อย และเทวรูปพระศิวะ ตลอดจนโบราณวัตถุในศาสนาฮินดูอีกหลายชิ้น แสดงให้เห็นว่าศาสนาฮินดูได้แพร่เข้ามาสู่บริเวณนี้
ใกล้กับกู่น้อยมีปราสาทศิลาแลงอีกแห่งหนึ่งคือ กู่สันตรัตน์ ซึ่งเป็นปราสาทในศิลปะสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ มีลักษณะเช่นเดียวกับปราสาทหินเป็นจำนวนมากในอีสาน และสอดคล้องกับจารึกปราสาทพระขรรค์ และปราสาทตาพรหม ในกัมพูชา ที่ระบุว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ให้สร้างอโรคยาศาลขึ้นตามเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ในแว่นแคว้นของพระองค์ ห้วงเวลาดังกล่าวอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘
เมื่อสิ้นสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ อำนาจของขอมก็เสื่อมลง จนถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ พระเจ้าฟ้างุ้มได้ราชสมบัติ ในเมืองเชียงดงเชียงทอง และเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองหลวงพระบาง แล้วขยายอำนาจลงมาทางเมืองเวียงจันทน์ ไผ่หนาม และเมืองอื่น ๆ ในลุ่มน้ำโขง และได้ผนวกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านช้าง
การเข้ามาของกลุ่มชนวัฒนธรรมล้านช้าง
ชุมชนบ้านทุ่ง นับเป็นชุมชนวัฒนธรรมล้านช้างกลุ่มแรก ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณตอนกลางของที่ราบสูงโคราช ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๒๕๖ และได้แยกออกไปตั้งบ้านเมืองต่าง ๆ ในบริเวณลุ่มน้ำชีอีกหลายเมือง รวมทั้งเมืองมหาสารคามด้วย
ตามประวัติเมืองมหาสารคามมีอยู่ว่า ท้าวมหาชัย(กวด) พาผู้คนออกจากเมืองร้อยเอ็ดมาทางทิศตะวันตก ประมาณ ๑,๐๐๐ เส้น จึงหยุดตั้ง ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณที่ดอน แล้วจัดพิธีฝังเสาหลักเมืองที่บริเวณนั้น ภายหลังได้สร้างวัดชื่อ
วัดดอนเมือง
แต่ชาวบ้านเรียกว่า
วัดข้าวฮ้าว
เมื่ออยู่มาได้ประมาณ ๖ เดือน เห็นว่าขาดแคลนแหล่งน้ำจึงย้ายมาอยู่ที่กุดยางใหญ่กับหนองทุ่ม ซึ่งเป็นชุมชนที่มีผู้อาศัยอยู่บ้างแล้วคือบ้านจาน ซึ่งห่างออกไปไม่มากมีหนองหัวช้าง และกัดหนองกระทุ่มออกไปเล็กน้อยก็มีห้วยคะคาง จึงนับว่าชัยภูมิที่มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ ส่วนท้าวบัวทองได้พาผู้คนจำนวนหนึ่งไปตั้งถิ่นฐานอยู่ อยู่บริเวณบ้านลาดริมฝั่งลำน้ำชี
เมืองมหาสารคามเมื่อแรกตั้งขึ้นอยู่ในความปกครองดูแลของพระขัติยวงศา (จัน) เจ้าเมืองร้อยเอ็ด ในพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เจ้าเมืองจะต้องพากรมการเมืองชั้นผู้ใหญ่ที่เรียกว่า อาญา ๔ ผู้ช่วยอาญา ๔ และกรมการเมืองไปร่วมพิธีที่เมืองร้อยเอ็ด ร่วมกับพระขัติยวงศา ปีละ ๒ ครั้ง คือในวันตรุษ (เดือน ๕) และวันสารท (เดือน ๑๐) ทั้งนี้เพราะถือว่าเมืองมหาสารคามเพิ่งตั้งใหม่ ยังไม่คุ้นเคยกับธรรมเนียมปฏิบัติ จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๑๒ เมืองมหาสารคามจึงแยกตัวออกจากเมืองร้อยเอ็ดขึ้นกับกรุงเทพ ฯ โดยตรง
จากเอกสารที่กล่าวถึงเมืองมหาสารคาม คือสารเจ้าพระยาจักรี ฯ ถึงพระขัติยวงศา เรื่องขนานนามบ้านลาดกุดยาวใหญ่ เป็นเมืองมหาสารคาม จ.ศ. ๑๒๒๗ ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๐๘ แต่ในสารดังกล่าวเขียนว่า มหาสารคาม มหาษารคาม มหาษาลคาม ซึ่งก็คือมหาสารคามในปัจจุบันนั่นเอง
การปกครอง
โครงสร้างการปกครองของเมืองมหาสารคาม ก็เหมือนกับหัวเมืองต่าง ๆ ในหัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออกทั้งหลาย ซึ่งได้ดัดแปลงรูปแบบการปกครองของอาณาจักรล้านช้าง แต่ได้ดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพบ้านเมืองของตน ในช่วงแรก พระขัติยวงศา (จัน) มีใบบอกไปยังกรุงเทพ ฯ ได้เสนอให้ ท้าวมหาชัย (กวด) เป็นเจ้าเมือง ท้าวบัวทองเป็นอุปฮาด ท้าวไชยวงษา (ฮัง) เป็นราชวงษ์ และได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ท้าวมหาชัย (กวด) เป็นพระเจริญราชเดช เจ้าเมือง ท้าวบัวทองเป็นอรรคฮาด ท้าวไชยวงษา (ฮัง) เป็นอรรควงษ์ และต่อมาได้ตั้งท้าวเถื่อนเป็น วรบุตร เมืองมหาสารคาม
ตำแหน่งอาญา ๔ หรือ อัญญา ๔ เพราะมี ๔ ตำแหน่ง ในเมืองใหญ่จะเรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ ดังนี้ เจ้าเมือง อุปฮาด ราชวงษ์ และราชบุตร ส่วนเจ้าเมืองเล็ก หรือเมืองตั้งใหม่ เช่น เมืองมหาสารคามในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๐๘ - ๒๔๑๒ จะเรียกว่า เจ้าเมือง อรรคฮาด หรือ อัคฮาด อรรควงษ์หรือ อัควงษ์ และวรบุตร
ส่วนตำแหน่งรองลงมาเรียกว่าผู้ช่วยอาญา ๔ คือบรรดาลูกหลานของอาญา ๔ ที่มีความสามารถ และพร้อมที่จะเลื่อนขึ้นไปเป็น อาญา ๔ ได้ ในเมืองมหาสารคาม มีตำแหน่งดังกล่าว เช่น ท้าวมหาพรหม ท้าวพระละคร ท้าวโพธิสาร ท้าวสุริโย ท้าวสุริยวงษ์ ท้าวสุพรม ท้าวสุวรรณสาร และท้าวศรีวรราช เป็นต้น
ตำแหน่งกรมการเมืองที่เรียกว่า เพีย ซึ่งสันนิษฐานว่า มาจากคำว่า พญา ซึ่งเป็นคำที่ชาวบ้านยกย่องผู้ที่เป็นกรมการเมือง กรมการเมืองมหาสารคามเท่าที่มีหลักฐานอยู่เป็นดังนี้
๑. กรมการเมืองฝ่ายขวา คือ เมืองแสน เมืองขวา เมืองฮาม เชียงสา
๒. กรมการเมืองฝ่ายกลาง คือ เมืองกลาง เมืองแพน เมืองนน ซานน ซาเนต ศรีสุนน
๓. กรมการเมืองฝ่ายซ้าย คือ เมืองจัน เมืองซ้าย เมืองรอง เมืองคุก เชียงใต้
๔. กรมการเมืองฝ่ายทหาร คือ สุโพ คำมูน เวียงแก
๕. กรมการเมืองฝ่ายพราหมณ์ คือ มหามูนตี ซามาต
๖. พวกในกองรักษาองค์ คือ มหาเสนา
๗. พวกตำรวจหน้าซ้าย - ขวา คือ แก้วอาษา
๘. พวกตำรวจหลังซ้าย - ขวา คือ ซาภักดี
๙. พวกกองกลาง หมวดหลวง คือ ไชยวงษ์ ศรีวงษ์
๑๐. พวกรักษาคลัง จำหน่ายของ คือ ศรีหาคลัง
ในสารตราตั้งเมืองทุกเมือง ทางราชสำนักกรุงเทพ ฯ จะต้องระบุไว้เป็นหลักเกณฑ์เดียวกันทั้งหมด เพียงแต่มีรายละเอียดปลีกย่อย แตกต่างกันออกไปบ้าง สำหรับเมืองมหาสารคามได้รับการกำหนดหน้าที่เจ้าเมืองไว้ ดังนี้
๑. ให้พระเจริญราชเดช เจ้าเมืองมหาสารคาม อยู่ในบังคับบัญชาพระขัติยวงษา อุปฮาช ราชวงษ์ ราชบุตร เมืองร้อยเอ็ด ให้อรรคฮาช อรรควงษ์ วรบุตร และบรรดาท้าวเพียในเมืองมหาสารคาม อยู่ใต้บังคับบัญชาเจ้าเมืองในสิ่งที่ชอบด้วยราชการ
๒. ให้เจ้าเมือง อรรคฮาช อรรควงษ์ วรบุตร ปรึกษาหารือหาทางทำนุบำรุงท้าวเพีย ไพร่พลเมืองให้ได้ทำไร่นาให้บ้านเมืองอุดมสมบูรณ์ ตลอดจนหาวิธีการที่จะได้ผู้คนมาอยู่ในเมืองมหาสารคามเพิ่มขึ้น
๓. ชำระคดีความของราษฎรโดยยุติธรรม ถ้าเป็นคดีใหญ่ ให้ส่งไปยังเมืองร้อยเอ็ด ตามอย่างธรรมเนียมเมืองเล็กขึ้นกับเมืองใหญ่ และอย่าให้คดีความค้างช้าจนราษฎรได้รับความเดือดร้อน
๔. ให้กำชับกำชาห้ามท้าวเพียราษฎร อย่าให้คบหาพากันกินฝิ่น สูบฝิ่น ขายฝิ่น ซื้อฝิ่น จะอนุญาตให้เฉพาะในหมู่คนจีน และเจ้าภาษีฝิ่นเท่านั้น
๕. ให้กำชับกำชา ดูแลตักเตือนไม่ให้ราษฎรประพฤติตัวเป็นโจรผู้ร้าย ลักทรัพย์สิ่งของ กดขี่ข่มเหงราษฎร
๖. ให้กระทำพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา กระทำสัตยานุสัจต่อราชสำนักกรุงเทพ ฯ ปีละ ๒ ครั้ง ในวันตรุษ และวันสารท ในระยะแรกให้ไปกระทำพิธีร่วมกับเมืองร้อยเอ็ด
๗. ร่วมกับเมืองใกล้เคียงปักปันเขตแดนเมือง ให้เห็นชอบทุกฝ่าย จะได้ไม่เป็นที่ทะเลาะวิวาทกันในภายหน้า แล้วใช้ไม้แก่นปักไว้เป็นเขตแดน
๘. ให้มีน้ำใจเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา สร้างวัดวาอาราม และทำนุบำรุง พระภิกษุ สามเณร ให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองถาวรสืบไป
๙. ส่งส่วยผลเร่ว โดยแบ่งชายฉกรรจ์ของเมืองมหาสารคามเป็น ๓ ส่วน สองส่วนนั้นให้เรียกเก็บส่วยแล้วส่งลงไปกรุงเทพ ฯ อีกส่วนหนึ่งเก็บไว้ใช้ราชการในเมืองมหาสารคาม ซึ่งเมืองมหาสารคามจะต้องเรียกเก็บเงินจากชายฉกรรจ์คนละ ๒ บาท หรือเป็นผลเร่วคนละ ๖ กิโลกรัมต่อปี ทั้งยังจะต้องทำบัญชีชายฉกรรจ์แจ้งลงไปยังราชสำนักกรุงเทพ ฯ ให้ชัดแจ้ง
เมืองมหาสารคามช่วงปี พ.ศ. ๒๔๐๘ - ๒๔๓๒
เจ้าเมืองมหาสารคาม คือพระเจริญราชเดช (กวด) มีความขัดแย้งกับ พระขัติยวงษา (สาร) เจ้าเมืองร้อยเอ็ด มีเรื่องราวกล่าวโทษฟ้องร้องกันอยู่เสมอ ในที่สุดทางกรุงเทพ ฯ จึงให้เมืองมหาสารคามแยกออกจากการเป็นเมืองขึ้นของเมืองร้อยเอ็ด ให้มาขึ้นกับกรุงเทพ ฯ โดยตรง เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๒ เมืองมหาสารคามต้องส่งส่วยเป็นเอกเทศ เป็นเงินส่งส่วยปีละ ๓๕ ชั่ง ต่อมาเมื่อมีผู้คนอพยพมาอยู่มากขึ้น ก็ส่งส่วยมากขึ้นตามสัดส่วนจำนวนคน ในปี พ.ศ. ๒๔๒๕ ต้องส่งส่วยปีละ ๖๐ ชั่ง หรือผลเร่วปีละ ๖๐ หาบ
ในปี พ.ศ. ๒๔๑๕ มีตราสารจากกรุงเทพ ฯ มายังหัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออกทั้งหลาย ให้ยกเลิกธรรมเนียม ตั้งข้าหลวงกองสักมาสักเลกตามหัวเมือง แต่ให้ทำบัญชีสำมะโนครัวแจ้งจำนวนชายฉกรรจ์ลงไปกรุงเทพ ฯ พร้อมกันนั้นยังอนุญาตให้เลือกหรือชายฉกรรจ์ สามารถย้ายสังกัดได้ตามใจสมัคร ส่งผลให้การติดตามเก็บส่วยจากเลกเขยสู่ หรือชายฉกรรจ์ที่ไปทำมาหากินอยู่ต่างเมือง สามารถโอนมาสังกัดเมือง ที่ตนอาศัยอยู่นั้นได้ง่ายขึ้นเป็นการลดปัญหาลง
ในปี พ.ศ. ๒๔๑๘ พวกฮ่อได้ยกกำลังเข้าตีเมืองเวียงจันทน์ และหนองคาย ทางกรุงเทพ ฯ ส่งกองทัพไปปราบปราม โดยให้เกณฑ์หัวเมืองต่าง ๆ เข้ากองทัพไปร่วมรบ เมืองมหาสารคามก็ถูกเกณฑ์ไปร่วมรบด้วยได้ความดีความชอบ
ในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๒๕ - ๒๔๒๘ เมืองมหาสารคามมีประชากรเพิ่มมากขึ้น มีเลกหรือชายฉกรรจ์ถึง ๓,๖๐๐ คน ส่งส่วยให้กรุงเทพ ฯ สองส่วนคือ ๒,๔๐๐ คน ๆ ละ ๒ บาท เป็นเงิน ๔,๘๐๐ บาท หรือ ๖๐ ชั่ง
การตั้งเมืองวาปีปทุม และเมืองโกสุมพิสัย
ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๒๒ เป็นต้นมา ได้มีการตั้งเมืองขึ้นหลายแห่งในหัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออก เจ้าเมืองมหาสารคาม ได้มีใบบอกขอตั้งบ้านนาเลาเป็นเมืองโดยแยกประชาชน ๙๙๙ คน ไปตั้งเมือง ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ยกบ้านนาเลาเป็นเมืองวาปีปทุม ให้ส่งส่วยผลเร่วปีละ ๒๕ หาบ หรือเป็นเงินปีละ ๖ ชั่ง ๕ ตำลึง (๕๐๐ บาท)
ต่อมาได้เกิดความขัดแย้งในกลุ่มผู้ปกครองเมืองมหาสารคามกับเมืองวาปีปทุม ทางกรุงเทพ ฯ ต้องส่งเจ้าพระยาภูธราภัยมาสอบสวน และไกล่เกลี่ย
การเปลี่ยนแปลงการใช้เงินตรา
ในบรรดาหัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออก ราษฎรใช้ลาดทองเหลืองเป็นเงินตราโดยถือเอาน้ำหนักเป็นเกณฑ์ ต่อมาเงินทองเกิดอัตคัด ข้าหลวงประจำอยู่ที่เมืองอุบลราชธานี จึงได้มีใบบอกไปยังกรุงเทพ ฯ ขอรับพระราชทานเบี้ย อัฐ ซีก เสี้ยว โสฬส มาจำหน่ายให้แก่ราษฎร เพื่อความสะดวกในการแลกเปลี่ยน
ทางกรุงเทพ ฯ ได้ส่งเงินตราในราคาต่าง ๆ ตั้งแต่ อัฐ ถึงโสฬส มาจำหน่ายในหัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออก ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๓๐ เป็นต้นมา และต่อมาได้เปลี่ยนเป็นเหรียญ ๑ สตางค์ ครึ่งสตางค์ ๕ สตางค์ ๑๐ สตางค์ เหรียญสลึง และเหรียญบาท
ช่วงปฏิรูปการปกครอง
เดิมเมืองมหาสารคาม จัดอยู่ในหัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออก ซึ่งได้แก่บริเวณที่ราบสูงโคราชทั้งหมด รวมทั้งดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๓ หัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออกได้ถูกแบ่งออกเป็น ๔ ส่วนคือ
หัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองพวน
หัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออกเฉียงเหนือ มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองอุบลราชธานี
หัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออก มีศูนย์กลางอยู่ที่เมือง จำปาศักดิ์
หัวเมืองลาวฝ่ายกลาง มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองนครราชสีมา
เมืองมหาสารคามถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มหัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นหัวเมืองลาวกาง มณฑลลาวกาง มณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ มณฑลอีสาน แล้วแยกออกเป็นมณฑลร้อยเอ็ดตามลำดับ
ต่อมาเมื่อมีฐานะเป็นจังหวัด บรรดาเมืองที่ขึ้นอยู่กับเมืองมหาสารคามเดิม ก็เปลี่ยนเป็นอำเภอ และเลิกระบบการสืบสายโลหิตทางการปกครอง เจ้าเมืองคนสุดท้ายคือ พระเจริญราชเดช (อุ่น) เปลี่ยนตำแหน่งเจ้าเมืองมาเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด
การก่อความไม่สงบ
ในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๔๓ - ๒๔๔๕ ได้เกิดมีกระแสความเชื่อแพร่ไปทั่วมณฑล อุดร มณฑล อีสาน และมณฑล นครราชสีมา ว่าจะเกิดอาเพศต่าง ๆ เช่นหากใครเอาหินแฮ่ หรือหินลูกรัง จากวัดบ้านหนองเลามาบูชา เมื่อถึงวันอาทิตย์ เดือน ๔ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีฉลู จ.ศ.๑๒๖๓ (๒๓ มีนาคม ๒๔๔๔) ซึ่งจะเกิดลมพายุพัดจัดท้องฟ้าจะมืดมิด ๗ วัน ๗ คืน ก้อนหินที่นำมาบูชาจะกลายเป็นทองคำ หากใครมีม้อน (ตัวไหม) หมู และควายตู้ (ควายเขาทุย) จะเกิดโทษภัย และอื่น ๆ อีกหลายประการ ในช่วงนี้ได้เกิดมีผู้ตั้งตัวเป็นผู้วิเศษ สามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ด้วยเวทมนตร์ เป็นจำนวนมาก
ที่เมืองมหาสารคามมีท้าวบุญรอดเป็นหัวหน้า ตั้งตัวเป็นท้าวโพธิสัตว์ และผู้วิเศษอื่น ๆ หลอกลวงชาวบ้านให้นับถือ ทางการได้จับกุมได้เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๕
นอกจากนี้ก็มี กบฎหมอลำน้อย เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๖ กบฎเกือกขาว และ กบฎสอนธรรมวิเศษ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๗ แต่ได้ถูกทางการจับกุมลงโทษจำคุกไปทุกราย
|
ย้อนกลับ
|
หน้าต่อไป
|
บน
|
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย
www.dooasia.com
เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com
ใช้
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย
.