ประติมากรรม
พระพุทธประติมากรรม มีที่มาจากพระพุทธศาสนาได้แผ่เข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช
มีการส่งสมณฑูตเข้ามาเผยแผ่ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคตะวันตก
ที่ได้พบขุดพบพระพุทธประติมากรรมเป็นจำนวนมากหลายยุคหลายสมัย นับตั้งแต่สมัยอมราวดี
สมัยทวารวดี สมัยศรีวิชัย สมัยอู่ทอง สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์
พระพุทธประติมากรรมที่ค้นพบได้แก่พระประติมากรรมดินเผาเป็นรูปพระภิกษุสามรูป
ครองจีวร อุ้มบาตร ซึ่งเป็นศิลปะสมัยอมราวดี พระพุทธรูปหินสำริด และดินตลอดจนเจดีย์สมัยทวารวดี
ซึ่งมีลักษณะเป็นทรงกลมแบบสาญจิในประเทศอินเดีย และรูปสี่เหลี่ยม แปดเหลี่ยม
ภายในบรเวณที่ล้อมรอบด้วยภูเขาคำเพียบ ชุมชนโบราณบ้านหนองแจง อำเภอดอนเจดีย์
ซึ่งสันนิษฐานว่า เป็นเมืองสมัยทวารวดตอนกลาง และสิ้นสุดเพียงลพบุรี และได้มีการพบพระพุทธรูปบูชาศิลปะทวารวดีอีกด้วย
หลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์
สันนิษฐานว่าเดิมสร้างแบบทวาราวดี เป็นปางปฐมเทศนา ต่อมาภายหลัง มีการปฏิสังขรณ์ในสมัยลังกาวงศ์
จึงแปลงเป็นพระป่าเลไลยก์ หลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์ได้รับการบูรณะมาแล้วสามครั้งคือ
ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๑๗๐๖ โดยมอญน้อย แสดงว่าหลวงพ่อโต ฯ จะต้องมีอายุก่อนปี
พ.ศ.๑๗๐๖ มากกว่าร้อยปีขึ้นไป
ครั้งที่สอง ในสมัยอยุธยาตอนปลาย โดยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา
ครั้งที่สาม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
หลวงพ่อโต ฯ เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองสุพรรณมาแต่โบราณ องค์พระประดิษฐานอยู่ในพระวิหารสูงใหญ่
มองเห็นเด่นแต่ไกล เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทองปางป่าเลไลยก์ มีความสูง
๑๓ เมตรเศษ เป็นศิลปะแบบอู่ทองรุ่นที่สอง
วัดป่าเลไลยก์ปรากฏอยู่ในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน พลายแก้ว (ขุนแผน) เมื่อเยาว์วัยได้มาบวชเรียนเป็นเณรอยู่ที่วัดนี้
งานเทศกาลนมัสการหลวงพ่อโต ฯ มีปีละสองครั้งคือ ในวันขึ้น ๕ - ๙ ค่ำ เดือนห้า
และวันกลางเดือนสิบสอง (ลอยกระทง)
สมเด็จพระพุทธโคดม
ประดิษฐานวัดไผ่โรงวัว ในเขตตำบลบางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง เป็นพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย
หน้าตักกว้างห้าวาคืบ สูงเจ็ดวา ฐานบัลลังก์หกวา รวมความสูง ๑๓ วา หนัก ๕๐
ตัน สร้างระหว่างปี พ.ศ.๒๕๐๐ - ๒๕๑๔ นับว่าเป็นพระพุทธรูปหล่อที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
พระพุทธกกุสันโธ
ประดิษฐานอยู่ที่วัดไผ่โรงวัว ตำบลบางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยฉาบปูน
มีขนาดหน้าตักกว้าง ๒๕ วา สูง ๒๘ วา ๒ ศอก ได้ชื่อว่าเป็นพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในโลก
พระเครื่อง
หมายถึงพระพุทธรูปองค์เล็ก ๆ ที่นับถือว่าเป็นเครื่องคุ้มครองป้องกันอันตราย
ย่อมาจากคำว่า เครื่องราง
พระเครื่องที่พบในจังหวัดสุพรรณบุรี ส่วนใหญ่สร้างด้วยเนื้อดิน เนื้อชินและผง
ใช้แม่พิมพ์กดหรือหลอม หล่อพระเครื่องที่พบที่อำเภอเมือง ฯ มีมากที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
วัดชายทุ่ง อำเภอศรีประจันต์ ที่วัดบ้านกร่าง อำเภออู่ทอง
พบที่พระถ้ำเสือ อำเภอบางปลาม้า พบที่วัดบางยี่หน พระเครื่องที่ได้รับความนิยม
พอประมวลได้ดังนี้
พระผงสุพรรณ
เป็นพระเครื่องยอดนิยมอันดับหนึ่งของจังหวัดสุพรรณบุรี พบในกรุพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง ฯ มีพระกำแพงลีลา (กำแพงเขย่ง) พิมพ์ต่าง
ๆ พระท่ามะปราง พระสุพรรณยอดโถ พระขุนแผนเรือนแก้ว ฯลฯ และพระเครื่องอื่น
ๆ อีกไม่น้อยกว่าสิบพิมพ์
พระขุนแผนวัดพระรูป
วัดพระรูปตั้งอยู่ในเขตตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง พบพระเนื้อดินเผา มีขุนแผนผ่าซีกและแตงกวาผ่าซีก
พระขุนไกร พระพลายงาม พระพันวสา พระกุมารทอง เรียกว่า พระตับขุนแผน
พระวัดบ้านกร่าง
วัดบ้านกร่างอยู่ในเขตตำบลบ้านกร่าง อำเภอศรีประจันต์ มีพระขุนแผนห้าเหลี่ยมพิมพ์ใหญ่อกเล็กพิมพ์ทรงผลใหญ่
ทรงผลเล็ก ทรงผลใหญ่ฐานบัว พระประธานซุ้มเหลี่ยมเถาวัลย์ ใบไม้ร่วง ซุ้มประตูหน้าเทวดา
หน้าฤาษี และอีกหลายพิมพ์ สำหรับพิมพ์คู่มีพิมพ์หน้ายักษ์ หน้าเทวดาซุ้มเดี่ยว
ซุ้มคู่ พิมพ์เศียรโต หน้าฤาษี หน้าแก่ พิมพ์สองปาง ฯลฯ รวมพิมพ์เดี่ยวพิมพ์คู่มีกว่า
๓๐ พิมพ์ มีผู้สันนิษฐานว่า พระวัดบ้านกร่าง สมเด็จพระนเรศวร ฯ ทรงสร้างขึ้น
หลังจากที่ได้ทรงกระทำยุทธหัตถีเสร็จแล้ว มีลักษณะคือ พระวัดบ้านกร่างคู่เป็นเสมือนสมเด็จพระนเรศวร
ฯ กับสมเด็จพระเอกาทศรถ
พระถ้ำเสือ
พบที่อำเภออู่ทอง ตามถ้ำต่าง ๆ และบนภูเขา เช่น ถ้ำเขาเสือ จึงได้ชื่อว่าพระถ้ำเสือ
ที่เขานกจอด เขากระจิง เขาพระ เขาวงพาทย์ วัดหลวงเขาพระ วัดดอนพุทรา เขากำแพง
เขาดีสลัก เขาหนองกุฏิ คาดว่าพระภิกษุที่จำศีลอยู่ในป่า (พระภิกษุฝ่ายอรัญวาสี)
สร้างขึ้น มีพิมพ์ต่าง ๆ คือพิมพ์จิ๋ว พิมพ์เล็ก หน้าตุ๊กตา พิมพ์สังฆาฏิ
พิมพ์กลางหน้าฤาษี และพิมพ์ใหญ่เป็นพระเนื้อดินเผาทั้งสิ้น
วัดชุมนุมสงฆ์
ตั้งอยู่ในเขตตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง ฯ เป็นพระพิมพ์เนื้อชินเงินผิวปรอทขาวผ่อง
สร้างสมัยอยุธยา มีพิมพ์ต่าง ๆ คือ พระกำแพงเชยคาง กำแพงหลังเข้ม กำแพงหลังเรียบ
กำแพงฝักดาบ กำแพงใบหอก ขุนแผนใบมะยม ขุนแผนเรือนแก้ว ขุนแผนบัวเล็บช้าง พระนาคปรกเล็ก
- ใหญ่ พระนาคปรกบัวเล็บช้าง พระกำแพงเกียก พระกำแพงศอก
พระวัดการ้อง วัดการ้องอยู่ในเขตตำบลสนามชัย
อำเภอเมือง ฯ มีพระพิมพ์เนื้อชินเงินผิวปรอทขาว สร้างในสมัยอยุธยา มีอยู่สามพิมพ์คือ
พิมพ์บัวตูม พิมพ์บัวบาน และพิมพ์บัวตูมบัวบาน
พระวัดลาวทอง วัดลาวทองอยู่ในเขตตำบลสนามชัย
อำเภอเมือง ฯ มีพระพิมพ์เนื้อชินสนิมแดง ศิลปะลพบุรี มีพิมพ์นาคปรกแบน
นาคปรกผมเบ็ด นาคปรกชีโบ และซุ้มนครโกษา
พระวัดสำปะซิว
วัดสำปะซิวตั้งอยู่ในเขตตำบลสนามชัย อำเภอเมือง ฯ เป็นพระพิมพ์เนื้อดินเผา
มีพิมพ์นางและพิมพ์ซุ้มนครโกษา ทับพิมพ์โมคคัลลาน์ - สารีบุตร
พระร่วง เป็นพระพิมพ์ปางประทานพร
ศิลปะลพบุรี เนื้อชินสนิมแดงและสนิมไข่ขาว พบในหลายกรุด้วยกัน เช่น
พระร่วงวัดปู่บัว วัดไทร วัดตะไกร วัดหอยโข่ง บ้านหนองแจง บ้านท่าเสด็จ บ้านหัวเกาะ
บ้านละหาน บ้านหุบกระพง อำเภอสองพี่น้อง
|