มรดกทางพระพุทธศาสนา
สถาปัตถรรม
พระปรางค์วัดพระศรีมหาธาตุ
เป็นพระพุทธปรางค์ก่อด้วยอิฐสอดินทั้งองค ผิวภายนอกฉาบปูนเกลี้ยง ตั้งแต่ฐานไปถึงยอด
ตั้งอยู่บนฐานล่าง ก่ออิฐเป็นอย่างฐานบัตร
เพิ่มฐานบังเชิญบาตร
กาดอกหน้ากระดาน ย่อมุมอย่างย่อเก็จ
เทินกันเป็นเถาซ้อนห้าชั้น เหนือฐานเชิงบาตรชั้นบนสุดก็เป็นครรภธาตุ
หรือเรือนธาตุรูปทรงสี่เหลี่ยมย่อมุมอย่างย่อเก็จ
ทางด้านหน้าของพระปรางค์ ภายนอกเรือนธาตุด้านหลัง ทางทิศตะวันตก ด้านทิศใต้
และด้านทิศเหนือ ทำเป็นคูหาก่อพื้นในช่องตัน คูหาทั้งสี่ด้านก่อเสาแพนกตั้งขึ้นเป็นกรอบคูหาขึ้นไปรับซุ้มหน้าบัน
แต่ละด้านซ้อนสองชั้น คูหาทางด้านหน้ามีบันไดทอดเป็นทางขึ้น และเข้าไปภายในเรือนธาตุสายหนึ่ง
ส่วนคูหาพื้นตันอีกสามด้านมีบันไดค่อนข้างชัน ก่อแบบทอดลงมาแค่เชิงคูหาทุกด้าน
เหนือซุ้มคูหาขึ้นไปเป็นส่วนที่เรียกว่า ชั้นครุฑอัษฎางค์
ก่ออย่างเป็นฐานบัวปากปลิง
ทรงสี่เหลี่ยม ย่อมุมด้านละหกมุม
ตรงมุมของฐานส่วนนี้ประดับด้วยภาพปูนปั้น เป็นภาพกุมภกัณฑ์กกุมกระบองยืนเรียงรายประจำทั้งสี่ด้าน
เหนือฐานครุฑอัษฎางค์ขึ้นไปก่อเป็นฐานบัวปากปลิง เท่ากับเป็นการซ้อนกันขึ้นไปหกชั้น
หลังหน้ากระดานปากฐานบัวแต่ละด้านก่อเป็นซุ้มบันแถลง
ลำดับขึ้นไปแต่ละชั้น ส่วนตรงมุมที่ย่อมุมทั้งหกมุมทั้งหกมุมนั้น ก่อทำเป็นบัวกลีบขนุนประดับประดาทุกมุมทุกชั้น
ปลายบัวกลีบขนุนชั้นสุดท้าย ก่อรวมพนมเข้าหากัน ต่อด้วยบัวรัดเกล้าเป็นฐานรับยอดนพศูล
การตกแต่งพระพุทธปราค์องค์ประธานใช้ปูนปั้นทำเป็นลวดลายประดับกรอบซุ้มทั้งสองข้าง
เมื่อถึงหัวเสาแพนก ก็หกกลับขึ้นปั้นเป็นศีรษะพญานาคแผ่พังพาน ส่วนปลายผนังนอกเรือนธาตุนั้นเป็นลายเฟืองอย่างลายบัวไส้กระหนก
ที่หน้ากระดานปากฐานบัวปากปลิง ชั้นต้นและชั้นสองนั้นเป็นลายเฟืองประกอบภาพหงส์
และลวดลายดอกสี่กลีบ ล้อมด้วยกรอบรูปสี่เหลี่ยมทั้งสี่ด้าน ที่บัวกลีบขนุนชั้นต้นปั้นปูนเป็นกรอบประกอบด้วยกระหนกอยู่ในพื้นกลีบบัว
บัวกลีบขนุนชั้นที่สอง ทำแต่เพียงเส้นลวดคาดขอบไม่มีลาย ส่วนตัวกลีบขนุนชั้นถัดขึ้นไป
ปล่อยพื้นเปล่าจนถึงชั้นปลายสุด ในคูหาที่ก่ออุดพื้นมีร่องรอยก่อ และปั้นพระพุทธปฎิมาประทับยืน
ประดับในคูหาทั้งสามด้าน เว้นด้านหน้าซึ่งเป็นช่องเข้าไปภายในพระพุทธปรางค์
พระพุทธปราค์บริวารประกอบสองข้าง พระพุทธปราค์ประธานมีขนาดย่อมก่อด้วยอิฐสอดิน
ตั้งขึ้นแบบฐานซึ่งด่อเชื่อมต่อกับฐานองค์ประธานออกไปทางด้านเหนือ และด้านใต้ด้านละองค์
ได้ปรักหักพังลงเหลือแต่ฐานบังเชิงบาตรขององค์ทางด้านเหนือ เทินกันขึ้นเป็นเถาซ้อนสามชั้น
ภายในฐานไว้ช่องเป็นห้องกรุรูปทรงสี่เหลี่ยม ด้านหน้าฐานก่ออิฐขึ้นเป็นพระปฎิมากร
หรือคูหาประกอบซุ้ม หลังคาทรงคฤห์ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป
โบราณสถานและโบราณวัตถุ
วัดพระรูป
ตั้งอยู่บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำกสุพรรณบุรี ตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมือง
ประวัติการสร้างวัดพระรูปไม่ปรากฎแน่ชัด เมื่อพิจารณาจากซากโบราณสถาน และโบราณวัตถุที่เหลืออยู่
เช่น ฐานเจดีย์สมัยทวารวดี พระพุทธไสยาสน์สมัยอู่ทอง เจดีย์สมัยอู่ทองตอนปลาย
ตลอดจนซากโบสถ์แล้ว พอสันนิษฐานได้ว่าเป็นวัดเก่าแก่มาแต่สมัยทวารวดี และคงเป็นวัดร้างมาหลายครั้ง
แล้วมีการสร้างใหม่ในที่เดิม
เมื่อครั้งที่สุนทรภู่เดินทางไปสุพรรณบุรี เมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๘ ได้พรรณาถึงวัดพระรูปไว้ในโคลงนิราศสุพรรณไว้ว่า
ฝั่งซ้ายฝ่ายฟากโน้น |
พิสดาร |
มีวัดพระรูปบุราณ |
ท่านสร้าง |
ที่กัดวัดประตูลาน |
สงฆ์สู่
อยู่แฮ |
หย่อมย่านบ้านขุนช้าง |
ชิดข้างบัลลังค์ |
วัดพระรูปมีโบราณสถานและโบราณวัตถุอยู่หลายอย่างด้วยกันที่สำคัญคือ
- วิหารพระพุทธรูปปางไสยาสน์
เดิมเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาดพอดีกับความยาว ของพระพุทธรูป ด้านหน้าเว้นกว้างไว้ประมาณ
๒ เมตร เป็นวิหารไม้ยกพื้น หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง มีประตูเข้าทางทิศเหนือช่องเดียว
กว้าง ๑ เมตร และหน้าต่างที่ผนังด้านใต้อีกหนึ่งบานเท่านั้น เป็นอาคารที่ไม่มีเสา
ก่อเป็นผนังด้านหลังไว้
- พระพุทธไสยาสน์
เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูนขาวโบราณ ประทับบนฐานเขียงเตี้ย สูงจากพื้นประมาณ
๔๐เมตร หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก พระเศียรหันไปทางทิศใต้ เบื้องหลังติดผนัง
และเอนเล็กน้อย ความยาว ๑๓ เมตร สูง ๓.๕๐ เมตร พระพักตร์กลมยาวคล้ายผลมะตูม
พระหนุเป็นวงอย่างคางคนทั่วไป พระโอษฐ์รูปกระจับ พระนาสิกเป็นสันโด่ง
ปลายงองุ้ม พระขนงเป็นเส้นคม ปลายติดกัน พระเนตรกึ่งหลับกึ่งตื่น
พระศกเป็นต่อมกลมเล็กอย่างหนามขนุน มีไรพระเกศาเล็กน้อย พระโมลีเป็นต่อมกลมใหญ่
แต่สมส่วน ครองจีวรบางแนบติดพระวรกาย พระบาทวางซ้าย ปลายพระบาทเรียงเสมอกัน
พระกรขวาพับตั้ง พระหัตถ์ช้อนประคองพระเศียร มีพระเขนยสามลูกรองรับอยู่ด้วย
พระกรซ้ายวางแนบเหยียดตรงไปตามพระวรกาย พระวรกายทุกส่วนสมบูรณ์งามด้วยฝีมือช่างเอก
- มณฑปพระพุทธบาทและพระพุทธบาทไม้
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำสุพรรณบุรี เป็นมณฑปเก่า เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบาทไม้ยกพื้นสูงหนึ่งเมตร
ฐานกลม มีบันไดขึ้นลานประทักษิณสองทิศคือ ทิศตะวันออกกับทิศใต้ ส่วนบันไดขึ้นองค์มณฑปอยู่ทางทิศใต้
หัวราวบันไดทำเป็นรูปคน มีหน้าต่างอยู่ทางทิศตะวันตกหนึ่งบาน ระเบียงลานประทักษิณด้านนอกนั้นทำเป็นลายสัตว์ต่าง
ๆ ด้านในทำเป็นรูปสัตว์เช่นกันและมีละลอกคลื่น ฐานรากมณฑปก่อด้วยอิฐและโอ่งไดเพื่อยกพื้นให้สูงตามที่ต้องการ
รอยพระพุทธบาทไม้จำหลักมีความยาว ๒๒๑.๕ เซนติเมตร กว้าง ๗๔ เซนติเมตร หนา
๑๐ เซนติเมตร จำหลักให้เห็นทั้งสองด้าน มีความงดงาม และนับว่ามีอยู่แห่งเดียวในประเทศไทย
และแห่งเดียวในโลก
ด้านหน้าเป็นภาพพระพุทธบาทยาว ๑๕๖ เซนติเมตร กว้าง ๖๓ เซนติเมตร ส่วนที่เป็นนิ้วพระบาทแต่ละนิ้ว
แบ่งเป็นสามชง เป็นลายก้นหอยทั้งหมด ส่วนที่เป็นพื้นที่พระบาทเป็นเส้นวง รอยฝ่าพระบาทละเอียดยิบเต็มเนื้อที่
กลางพระบาทมีลายจำหลักเป็นวงกลมซ้อนกันสามวง วงนอกประกอบด้วยเทพพนม ช้าง ม้า
หงส์ บัลลังก์ ฯลฯ วงถัดเข้าไปเป็นสัตว์ในเทพนิยาย เช่น ราชสีห์ คชสีห์
พุ่มดอกไม้ ดอกไม้ ฯลฯ วงในสุดเป็นภาพสมมติ พันธุ์พฤกษา ภาชนะและอื่น
ๆ ที่ศูนย์กลางของวงกลมทั้งสามเป็นรูปดอกบัวบาน ส่วนปลายนิ้วพระบาทแบ่งออกเป็นสองช่วงบนล่าง
จำหลักเป็นรูปจตุโลกบาลสององค์นั่งชันเข่า มือถืออาวุธตั้งตรง มือขวาพาดอยู่บนเข่าที่ตั้งชัน
ส่วนด้านส้นพระบาทก็เช่นกัน ต่างแต่ตรงที่ถืออาวุธพาดไหล่ซ้ายและมือขวาชี้ไปที่พระพุทธบาท
จตุโลกบาลทุกองค์อยู่ในลักษณะน้อมกายเข้าหาพระพุทธบาท
ด้านหลังรอยพระพุทธบาทจำหลักเป็นภาพพระพุทธประวัติตอนมารวิชัยตลอดเต็มพื้นที่
รูปยักษ์และรูปสัตว์แต่ละรูปมีขนาดใหญ่ การดูลายจำหลักด้านนี้ สามารถแยกออกจากกันเป็นสามส่วน
ส่วนกลางตอนบนเป็นรัตนบัลลังก์ เป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้าตามคติชั้นก่อนมีพระพุทธรูป
ตอนล่างเป็นมารแบกห้าตน ทูนพระพุทธบัลลังก์ ด้านขวามือเป็นรูปพญาวัสวดีมารอยู่ในท่าแผลงศร
ด้านซ้ายมือมีรูปนางวสนธราแม่ธรณีบีบมวยผมอยู่ชิดรัตนบัลลังก์ พญามาร และพลมารทุกตน
อยู่ในท่าพนมมือเหนือช้างคีรีเมขล์ มีนกใหญ่กางปีกบิน ใต้ล่างมีเต่าปลา
- เจดีย์สกุลช่างอ่างทอง
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวิหารพระพุทธไสยาสน์ เชิงฐานเจดีย์เป็นฐานเขียงสี่เหลี่ยม
มีซุ้มสี่ด้าน เหนือขึ้นไปเป็นองค์แปดเหลี่ยม สัณฐานเป็นระฆังคว่ำขนาดเล็ก
เหนือขึ้นไปเป็นบัลลังก์ปล่องไฉน เหลืออยู่ ๓ - ๔ ปล่อง ส่วนของปลียอดหักพังลงมาหมด
มีความสูงประมาณ ๑๕ เมตร เดิมมีพระพุทธรูปปูนปั้นในซุ้ม และมีลวดลายอย่างละเอียดเป็นลายเครือเถารูปดอกไม้ใบไม้
ยังไม่เป็นลักษณะลายไทย องค์เจดีย์ก่อด้วยอิฐสอปูน แต่สอด้วยยางไม้กับมโนศิลา
- หอระฆังและระฆังสำริด
หอระฆังอยู่ทางทิศใต้ของวิหารพระพุทธไสยาสน์ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาดย่อม
มีอิทธิพลสถาปัตยกรรมจีนใช้แขวนระฆังสำริดเก่า
ระฆังสำริดสูงประมาณ ๔๖ เซนติเมตร ปากกว้าง ๔๐ เซนติเมตร หนักประมาณ ๑๐๐ กิโลกรัม
หัวระฆังหล่อเป็นเศียรนาคสี่เศียร มีจารึกที่ขอบล่าง เมื่อปี พ.ศ.๒๒๔๒
- ธรรมมาสน์
ธรรมาสน์สังเค็ดของวัดพระรูปเป็นธรรมาสน์ที่งดงามหลังหนึ่ง เป็นผีมือช่างสมัยอยุธยาตอนปลาย
นอกจากทรวดทรงที่งดงามแล้ว ยังมีหัวครุฑสีดำขนาดใหญ่ลายแกะสลัก ท้องไม้ตัวกระจัวขนาดใหญ่
คันทวย ซุ้มหลังคาปลียอดและลายประดับตกแต่ง หลังคาบันไดและแพะหมอบสำหรับเหยียบขึ้นบันได
ฐานล่างของธรรมาสน์เป็นรูปสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ ๑๘๗ เซนติเมตร มุขฐานประดับด้วยครุฑ
- วัดสนามชัย
ตั้งอยู่ที่ตำบลสนามชัย อำเภอเมือง เป็นวัดร้างที่ปรากฏชื่อให้ทราบจากพงศาวดารเหนือ
กล่าวถึงพระเจ้าการรดให้มอญน้อยออกไปสร้างวัดสนามชัย (พ.ศ.๑๗๐๖) เป็นวัดนอกกำแพงเมืองสุพรรณบุรี
อยู่ทางฝั่งตะวันออก ห่างจากแม่น้ำประมาณหนึ่งกิโลเมตร
- เจดีย์
เหลืออยู่เพียงองค์เดียว เจดีย์บริวารทรงสัณฐานเป็นเจดีย์ ๑๖ เหลี่ยม เป็นเจดีย์ที่สร้าง
และซ่อมถึงสามสมัยจากสมัยทวาราวดีถึงสมัยอยุธยา ลักษณะพิเศษของเจดีย์องค์นี้คือ
มีคูหาภายในองค์เจดีย์บรรจุอัฐิอยู่เป็นจำนวนมาก สันนิษฐานว่า เป็นอัฐิทหารในสงครามครั้งใดครั้งหนึ่ง
เจดีย์นี้จึงได้ชื่อว่า เจดีย์ทหารนิรนาม
ซากบริวารสถานอันประกอบด้วยซากพระอุโบสถอยู่ทางด้านตะวันออก และซากวิหารอยู่ทางด้านตะวันตกของเจดีย์ประธาน
เชื่อมต่อกันโดยตลอด มีกำแพงแก้วรายรอบ ปัจจุบันองค์เจดีย์และบริวารสถานได้รับการบูรณะ
อาณาบริเวณได้ขุดร่องน้ำโดยรอบ
วัดมรกต
ตั้งอยู่ที่ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง ฯ อยู่กลางทุ่งหลังวัดกุฎีทอง วัดนี้บางท่านเรียกวัดอมรโกฏิ
หรือวัดมรโกฏิเป็นวัดร้าง ไม่อาจค้นคว้าหาประวัติได้ เป็นวัดนอกกำแพงเมืองสุพรรณบุรีทางด้านทิศใต้
สันนิษฐานว่าเป็นวัดสมัยอู่ทอง (พุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๙)
- เจดีย์
เป็นวัดร้างเหลืออยู่เพียงองค์เดียว บริวารสถานอื่น ๆ เหลือจำเพาะแต่แนวอิฐ
นอกนั้นยังมีชิ้นส่วนของพระพุทธรูปหินทราย อยู่จำนวนหนึ่ง องค์เจดีย์ก่อด้วยอิฐเผามีศิลาแลงปนอยู่
สอดรับมโนศิลาฐานแปดเหลี่ยม องค์ระฆังเล็กไม่มีบัลลังก์ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของศิลปะอู่ทอง
องค์เจดีย์มีความสูงสมบูรณ์พอสมควร สร้างอยู่บนเนินน้ำท่วมไม่ถึง
วัดพระอินทร์
เป็นวัดร้าง อยู่ตรงข้ามวัดสารภี บ้านหัวเวียง ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง ฯ
ไม่อาจสืบหาประวัติได้ เป็นวัดนอกกำแพงเมืองสุพรรณบุรี ทางด้านทิศเหนือ สันนิษฐานว่าสร้างสมัยอู่ทอง
- เจดีย์
เหลืออยู่เพียงองค์เดียว และเนื้อที่โบราณสถานเพียงรอบองค์เจดีย์ เชิงฐานเจดีย์เป็นสี่เหลี่ยม
มีซุ้มสี่ด้าน เหนือขึ้นไปเป็นองค์หกเหลี่ยมสัณฐานระฆังขนาดเล็ก องค์เจดีย์ก่อด้วยอิฐเผาสอดรับด้วยมโนศิลา
มีลวดลายปูนปั้นเป็นลายเครือเถา บริเวณรอบ ๆ มีชิ้นส่นพระพุทธรูปหินทรายอยู่จำนวนหนึ่ง
สภาพองค์เจดีย์แตกออกเป็นสองเสี่ยง เอนลงทางด้านทิศใต้ ต้องมีการค้ำยันเอาไว้
ยังไม่ได้บูรณะ รอบองค์เจดีย์รกเป็นป่า ไม่มีทางเข้าออก
วัดละคร
เป็นวัดร้าง อยู่เหนือวัดพระรูป ถนนขุนช้าง ตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมือง ฯ
ไม่สามารถค้นหาประวัติได้ เป็นวัดในกำแพงเมืองสุพรรณบุรี
- เจดีย์
เหลืออยู่เพียงองค์เดียว ไม่มีบริวารสถานอื่น ๆ องค์เจดีย์ก่อด้วยอิฐเผา เป็นเจดีย์ทรงกลม
ไม่แจ้งชัดว่าเป็นวัดร้าง เป็นยุคใด องค์เจดีย์มีความสมบูรณ์พอสมควร
วัดเขาใหญ่
เป็นวัดร้าง ตั้งอยู่ที่ถนนขุนศรีวิชัย ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง ฯ ปรากฎชื่อในเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน
ว่าเป็นที่วิ่งเล่นของนางพิม พลายแก้ว และขุนช้าง เป็นวัดที่นางวันทอง (นางพิม)
พาพลายงามไปหลบซ่อนขุนช้าง และเป็นวัดที่ปลงศพขุนศรีวิชัย
- เจดีย์
เหลืออยู่เพียงองค์เดียว ไม่มีบริวารสถานอื่น ๆ ฐานล่างของเจดีย์ไม่อาจสันนิษฐานว่า
เป็นรูปทรงใด เหนือขึ้นไปเป็นรูปสี่เหลี่ยม ส่วนบนก่อเป็นฐานแว่นฟ้าซ้อนกันขึ้นไปสามชั้น
กลางฐานแว่นฟ้าเป็นคูหาลึกเข้าไปทั้งสี่ด้าน มุมฐานมีบัวกลีบขนุนประดับ ยอดเป็นรูปทรงกลีบมะเฟือง
เป็นศิลปะสกุลช่างอู่ทอง องค์เจดีย์ได้ล้มพังทลายลงและได้รับการบูรณะแล้ว
วัดพริก
เป็นวัดร้าง อยู่นอกกำแพงเมืองสุพรรณบุรี ตั้งอยู่ใกล้เคียงกับวัดป่าเลไลยก์
ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง ฯ ไม่อาจค้นหาประวัติได้ สันนิษฐานว่าเป็นวัดสมัยอู่ทอง
- เจดีย์
เหลืออยู่เพียงองค์เดียว ไม่ปรากฎบริวารสถานอื่น ฯ องค์เจดีย์ก่อด้วยอิฐเผารูปทรง
เป็นเจดีย์ทรงกลม สกุลช่างอู่ทองตอนปลาย องค์เจดีย์มีความสมบูรณ์และแข็งแรงพอสมควร
วัดปู่บัว
ตั้งอยู่ในเขตตำบลสนามชัย อำเภอเมือง ฯ ไม่ปรากฎหลักฐานว่าสร้างเมื่อใด สันนิษฐานว่าเป็นวัดที่สร้างบนวัดร้างเดิม
พบพระพุทธรูปหินทรายปางนาคปรกศิลปะบายน จำนวน ๓๒ องค์ จากใต้พื้นดินและพบลานทองหนึ่งแผ่น
เป็นวัดที่ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองสุพรรณบุรี บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำสุพรรณบุรี
- เจดีย์
เป็นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยม ด้านตะวันตกมีซุ้มเปิดเข้าสู่ห้องภายในองค์เจดีย์
ส่วนยอดเป็นบัวโถ เป็นเจดีย์สกุลช่างอู่ทอง ตั้งอยู่ด้านหลังวัดใกล้แม่น้ำ
สภาพองค์เจดีย์ยังมั่นคงแข็งแรง พระพุทธรูปที่ประดิษฐานในคูหาบนองค์เจดีย์
เป็นพระพุทธรูปหินทรายปางนาคปรกสององค์
วัดการ้อง
เป็นวัดร้าง ตั้งอยู่ในเขตตำบลสนามชัย อำเภอเมือง ฯ อยู่ทางด้านตะวันตกของวัดสนามชัย
ไม่ปรากฎหลักฐานว่าสร้างเมื่อใด สันนิษฐานว่าเป็นวัดสมัยอยุธยาตอนต้น
- เจดีย์
เหลืออยู่เพียงองค์เดียว และเนินดินที่เป็นบริวารสถานบางส่วน เป็นเจดีย์ทรงกลม
ศิลปะอยุธยาตอนต้น มีสภาพที่องค์ระฆังกร่อน บัลลังก์หักพัง ยังเหลือปลียอดอยู่
ได้รับการบูรณะแล้ว
วัดแร้ง (วัดแดง)
เป็นวัดร้าง ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของวัดสนามชัย ตำบลสนามชัย อำเภอเมือง ฯ บางท่านเรียกว่า
วัดแดงร้าง ไม่ทราบประวัติการสร้าง สันนิษฐานว่าเป็นวัดสมัยอยุธยาตอนต้น
- เจดีย์
เหลือเจดีย์อยู่เพียงองค์เดียว ไม่ปรากฎซากบริวารสถานอื่น ๆ แต่มีเศษอิฐเกลื่อนบริเวณ
เป็นเจดีย์ทรงกลม สกุลช่างอยุธยาตอนต้น สภาพเจดีย์ยังมั่นคงแข็งแรง บรเวิณรอบองค์เจดีย์มีพื้นที่พอสมควร
และมีน้ำอยู่โดยรอบ
วัดไก่เตี้ย
ตั้งอยู่ในริมคลองเสี้ยนเขตตำบลมดแคว อำเภอศรีประจันต์ ไม่ทราบหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด
สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในที่ตั้งวัดเดิม เป็นวัดนอกกำแพงเมือง ซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองสุพรรณบุรีเก่า
- เจดีย์
ตั้งอยู่ในวัดทางด้านทิศตะวัตก เป็นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม เหนือฐานเป็นซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น
ถัดขึ้นไปเป็นลัดหน้ากระดานแล้วเป็นพานแว่นฟ้าประดับกระจังบัวหงาย ต่อด้วยองค์ระฆังและปลียอด
เป็นเจดีย์สกุลช่างอู่ทอง ที่สวยงามทั้งทรวดทรงและลายปูนปั้นประดับ ปัจจุบันองค์เจดีย์เอียงไปทางด้านทิศตะวันตก
วัดล้อมลายเถร
เป็นวัดที่สถาปนาขึ้นใหม่ในที่วัดร้าง ตั้งอยู่ในเขตตำบลสวนแคว อำเภอเมือง
ฯ บริเวณวัดนี้เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ในเส้นทางสมัยอยุธยา
- เจดีย์
จากทรากที่เหลืออยู่ ถ้าองค์เดิมมิใช่พระปราค์กฌน่าจะเป็นเจดีย์ขนาดใหญ่ แต่ไม่อาจกำหนดรูปพรรณสัณฐานได้
องค์เจดีย์เหลือแต่ฐานและบางส่วนของยอด
วัดม่วง
เป็นวัดสถาปนาขึ้นใหม่ ในสมัยรัตนโกสินทร์ในวัดร้างเดิม อยู่ในเขตตำบลสวนแตง
อำเภอเมือง ฯ สันนิษฐานว่าเดิมบริเวณนี้เป็นวัดและชุมชนสมัยอยุธยา และอยู่ในเส้นทางสัญจรในสมัยนั้น
- เจดีย์
ตั้งอยู่บนเนิน บริวารสถานเหลือเพียงแนวอิฐติดกับพื้นและแนวกำแพงแก้ว เป็นเจดีย์สมัยอยุธยาตอนต้น
สภาพองค์เจดีย์ยังแข็งแรง แต่ฐานกร่อนไปมาก องค์ระฆังกร่อน บริดวณโดยรอบมีพื้นที่พอสมควร
วัดเขาดิน
ตั้งอยู่ใกล้ลำน้ำท่าว้า ตำบลสระแก้ว อำเภอเมือง ฯ เป็นวัดเก่าแก่และร้างไปแล้ว
มีการสถาปนาวัดขึ้นใหม่ในที่เดิม
- เจดีย์
เหลืออยู่เพียงองค์เดียว มีฐานสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ซ้อนเป็นชั้นขึ้นไปเป็นลานประทักษิณแล้ว
เป็นฐานเจดีย์ องค์เจดีย์มีสัณฐานกลม เป็นเจดีย์สกกุลช่างอู่ทองเคยมีการซ่อมแซมมาแล้วในสมัยอยุธยา
องค์เจดีย์ยังมั่นคงแข็งแรง ฐานอิฐชั้นล่างใต้ลานประทักษิณมีอิฐและดินทับถมกันเป็นเนินบันไดขึ้นลง
วัดชีธาราม
ตั้งอยู่ใกล้ลำน้ำท่าว้า ในเขตตำบลไร่รถ อำเภอดอนเจดีย์ เป็นวัดเก่าแก่ร้างไปแล้ว
ได้สถาปนาขึ้นใหม่ ในที่ตั้งเดิม
- เจดีย์
เหลืออู่เพียงองค์เดียว ไม่มีบริวารสถานอื่น เป็นเจดีย์สกุลช่างอยุธยา ส่วนบนตั้งแต่ยอดลงมาถึงองค์ระฆังหักทั่วไป
เหลือแต่ส่วนราก
วัดดอนอก
เดิมเป็นวัดร้าง ตั้งอยู่ในเขตตำบลหนองหญ่าไซ อำเภอหนองหญ้าไซ
- เจดีย์
มีเพียงพระปราค์สกุลช่างอยุธยา ไม่มีบริวารสถานอื่น ส่วนยอดนพศูลหักพัง
|