ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > ???????> ????????????????


               พระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ.๒๕๔๐
                        มาตรา ๑  ฯลฯ
                        มาตรา ๒  ฯลฯ
                        มาตรา ๓  ให้ยกเลิก
                            (๑) พระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ.๒๔๙๐
                        มาตรา ๔  ในพระราชบัญญัตินี้
                            "มัสยิด" หมายความว่า สถานที่ซึ่งมุสลิมใช้ประกอบศาสนกิจ โดยจะต้องมีละหมาดวันศุกร์เป็นปกติ และเป็นสถานที่สอนศาสนาอิสลาม
                            "สัปบุรุษประจำมัสยิด" หมายความว่า มุสลิมที่คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดมีมติรับเข้าเป็นสัปบุรุษประจำมัสยิด และมีชื่ออยู่ในทะเบียนสัปบุรุษประจำมัสยิด แต่ผู้นั้นจะเป็นสัปบุรุษเกินกว่าหนึ่งมัสยิดในเวลาเดียวกันไม่ได้
                            "อิหม่าม" หมายความว่า ผู้นำศาสนาอิสลามประจำมัสยิด
                            "คอเต็บ" หมายความว่า ผู้แสดงธรรมประจำมัสยิด
                            "บิหลั่น" หมายความว่า ผู้ประกาศเชิญชวนให้มุสลิมปฏิบัติศาสนกิจตามเวลา
                         มาตรา ๕  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ กับออกกฎกระทรวง ระเบียบ ประกาศ และคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของแต่ละกระทรวง
                         กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
                   หมวด ๑ บททั่วไป
                         มาตรา ๖  พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจุฬาราชมนตรีคนหนึ่ง เพื่อเป็นผู้นำกิจการศาสนาอิสลามในประเทศไทย
                            ให้นายกรัฐมนตรีนำชื่อผู้ที่จะดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศ ขึ้นทูลเกล้า ฯ เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งเป็นจุฬาราชมนตรี
                            หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาจุฬาราชมนตรีตามวรรคสองให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
                            ให้มีเงินอุดหนุนฐานะจุฬาราชมนตรีตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
                         มาตรา ๗  จุฬาราชมนตรีต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
                            (๑) เป็นมุสลิมผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
                            (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปีบริบูรณ์
                            (๓) เป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในศาสนาอิสลามอย่างดี
                            (๔) เป็นผู้ประพฤติตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลามโดยเคร่งครัด
                            (๕) เป็นผู้มีความสัมพันธ์อันดีกับทุกศาสนา
                            (๖) เป็นผู้มีความเลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
                            (๗) - (๙)  ฯลฯ
                            (๑๐) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
                        มาตรา ๘  จุฬาราชมนตรีมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
                            (๑) ให้คำปรึกษาและเสนอความเห็นต่อทางราชการเกี่ยวกับกิจการศาสนาอิสลาม
                            (๒) แต่งตั้งคณะผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อให้คำปรึกษาเกี่ยวกับบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม
                            (๓) ออกประกาศแจ้งผลการดูดวงจันทร์ตามมาตรา ๓๕ (๑๑) เพื่อกำหนดวันสำคัญทางศาสนา
                            (๔) ออกประกาศเกี่ยวกับข้อวินิจฉัยตามบทบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม
                           มาตรา ๙  ฯลฯ
                            มาตรา ๑๐  ฯลฯ
                            มาตรา ๑๑  เมื่อเห็นสมควร กระทรวงศึกษาธิการอาจจัดตั้ง "อิสลามวิทยาลัย" ขึ้น เพื่อให้การศึกษาและอบรมทางวิชาการศาสนา วิชาการทั่วไป และวิชาชีพได้
                   หมวด ๒ การจัดตั้งและการเลิกมัสยิด
                        มาตรา ๑๒  การสร้าง การจัดตั้ง การย้าย การรวม การเลิก และการจดทะเบียนมัสยิด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
                        การจัดตั้ง การร่วม และการเลิกมัสยิด ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
                        มาตรา ๑๓ ให้มัสยิดที่ได้จดทะเบียนจัดตั้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว มีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยให้คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด เป็นผู้แทนของมัสยิดในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก เพื่อการนี้คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดอาจมอบหมาย
ให้กรรมการคนหนึ่งหรือหลายคนทำการแทนได้
                        มาตรา ๑๔  มัสยิดที่เป็นนิติบุคคลอาจเลิกได้โดยการจดทะเบียนเลิกมัสยิดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
                        บรรดาทรัพย์สินของมัสยิดตามวรรคหนึ่ง ให้โอนไปยังมัสยิดที่เป็นนิติบุคคลที่อยู่ใกล้ที่สุด  ถ้าไม่อาจทำได้ ให้โอนไปยังมัสยิดที่เป็นนิติบุคคลที่อยู่ในลำดับถัดไป  เว้นแต่เป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยมีผู้อุทิศให้ และผู้อุทิศให้ได้แสดงเจตนาไว้เป็นอย่างอื่น
                        มาตรา ๑๕  มัสยิดที่ได้จดทะเบียนแล้ว ให้ดำเนินการคัดเลือกกรรมการอิสลามประจำมัสยิด ตามหมวด ๕ ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันจดทะเบียน
                   หมวด ๓ คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย
                        มาตรา ๑๖ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า "คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย" ประกอบด้วยจุฬาราชมนตรีเป็นประธานกรรมการ และกรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งจากกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ซึ่งเป็นผู้แทนคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด จังหวัดละหนึ่งคน และจากกรรมการอื่นซึ่งคัดเลือกโดยจุฬาราชมนตรี มีจำนวนหนึ่งในสามของจำนวนผู้แทนคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ถ้ามีเศษให้ปัดทิ้ง

ฯลฯ

                        มาตรา ๑๗  กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
                            (๑) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๗ ยกเว้น (๒) และ (๑๐)
                            (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบปีบริบูรณ์
                        มาตรา ๑๘  กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
                            (๑) ให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีว่ากระทรวงศึกษาธิการ ในการปฎิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
                            (๒) ให้คำปรึกษาหรือข้อแนะนำเกี่ยวกับศาสนาอิสลามแก่คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด และคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด
                            (๓) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฎิบัติงานตามที่กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยมอบหมาย
                            (๔) ออกระเบียบเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สิน และการจัดหาผลประโยชน์ของสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด และมัสยิด
                            (๕) ออกระเบียบวิธีการดำเนินงาน และควบคุมดูแลการบริหารงานของ คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด และคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด
                            (๖) ปฎิบัติหน้าที่เป็นคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดในจังหวัด ที่ไม่มีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ในการนี้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย จะมอบหมายให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ที่ใกล้เคียงปฎิบัติหน้าที่แทนก็ได้
                            (๗) พิจารณาวินิจฉัยคำร้องขอคัดค้านตามมาตรา ๔๑
                            (๘) จัดทำทะเบียนทรัพย์สินเอกสาร และบัญชีรายรับรายจ่ายของ สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ให้ถูกต้องตามความเป็นจริง
                            (๙)  ออกประกาศและให้คำรับรองเกี่ยวกับกิจการศาสนาอิสลาม
                            (๑๐) ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมทางศาสนา และการศึกษาศาสนาอิสลาม
                            (๑๑) ประสานงานกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องในกิจการที่เกี่ยวกับศาสนาอิสลาม
                            (๑๒) ปฎิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ
                        มาตรา ๑๙  กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งมีวาระดำรงตำแหน่งหกปี และอาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้

ฯลฯ

                        มาตรา ๒๐

ฯลฯ

                        มาตรา ๒๑

ฯลฯ

                        มาตรา ๒๒  ให้มีสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีหน้าที่เกี่ยวกับกิจการของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย โดยมีคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย เป็นผู้แทนของสำนักงานในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก เพื่อการนี้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย อาจมีมติมอบหมายให้กรรมการคนหนึ่ง หรือหลายคนทำการแทนก็ได้ และให้เลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย เป็นผู้รับผิดชอบในกิจการของสำนักงาน
                   หมวด ๔ คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด
                       มาตรา ๒๓  จังหวัดใดมีราษฎรนับถือศาสนาอิสลาม และมีมัสยิดตามมาตรา ๑๓ ไม่น้อยกว่าสามมัสยิด ให้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ประกาศให้จังหวัดนั้นมีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดคณะหนึ่ง ประกอบด้วย กรรมการมีจำนวนไม่น้อยกว่าเก้าคน แต่ไม่เกินสามสิบคน
                        การคัดเลือกกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการให้อิหม่ามประจำมัสยิดในจังหวัดนั้น เป็นผู้คัดเลือก ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
                        ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการด้วยกันเป็นประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ เลขานุการ และตำแหน่งอื่นตามความจำเป็น
                        ให้กระทรวงมหาดไทย ประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ เลขานุการ และกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ในราชกิจจานุเบกษา
                       มาตรา ๒๔  กรรมการอิสลามประจำจังหวัด ต้องมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
                            (๑) มีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามมาตรา ๑๗
                            (๒) เป็นสัปปุรุษประจำมัสยิดในจังหวัดนั้นมาแล้ว ไม่น้อยกว่าหนึ่งปีก่อนวันคัดเลือก
                            (๓) มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดนั้นมาแล้ว ไม่น้อยกว่าหนึ่งปีก่อนวันคัดเลือก

ฯลฯ

                       มาตรา ๒๕

ฯลฯ

                       มาตรา ๒๖  ในจังหวัดที่มีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
                            (๑) ให้คำปรึกษาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับศาสนาอิสลามต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
                            (๒) กำกับดูแลและตรวจตราการปฎฺบัติงานของคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดในจังหวัด และจังหวัดอื่น ตามที่คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยมอบหมาย
                            (๓) ประนีประนอม หรือชี้ขาดคำร้องทุกข์ของสัปปุรุษประจำมัสยิด ซึ่งเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด
                            (๔) กำกับดูแลการคัดเลือกกรรมการอิสลามประจำมัสยิดให้เป็นไปโดยเรียบร้อย
                            (๕) พิจารณาแต่งตั้ง และถอดถอนกรรมการอิสลามประจำมัสยิด
                            (๖)  สอบสวนพิจารณาให้กรรมการอิสลามประจำมัสยิด พ้นจากตำแหน่ง ตามมาตรา ๔๐ (๔)
                            (๗) สั่งให้กรรมการอิสลามประจำมัสยิด พ้นหน้าที่ระหว่างถูกสอบสวน
                            (๘) พิจารณาเกี่ยวกับการจัดตั้ง การย้าย การรวม และการเลิกมัสยิด
                            (๙) แต่งตั้งผู้รักษาการแทนในตำแหน่ง อิหม่าม คอเต็บ และบิหลั่น เมื่อตำแหน่งดังกล่าวว่างลง
                            (๑๐) ออกหนังสือรับรองการสมรส และการหย่า ตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม
                            (๑๑) ประนีประนอมข้อพิพาทเกี่ยวกับเรื่องครอบครัว และมรดก ตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม เมื่อได้รับการร้องขอ
                            (๑๒) จัดทำทะเบียนทรัพย์สิน เอกสาร และบัญชีรายรับ รายจ่าย ของสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ให้ถูกต้องครบถ้วนเป็นปัจจุบัน และรายงานผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน และทรัพย์สิน ให้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ทราบปีละหนึ่งครั้งภายในเดือนมีนาคม ของทุกปี
                            (๑๓) ออกประกาศและให้คำรับรองเกี่ยวกับการศาสนาอิสลามในจังหวัด
                       มาตรา ๒๗

ฯลฯ

                       มาตรา ๒๘

ฯลฯ

                        มาตรา ๒๙  ให้มีสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีหน้าที่เกี่ยวกับกิจการของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด โดยมีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด เป็นผู้แทนของสำนักงานในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก เพื่อการนี้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด อาจมีมติมอบหมายให้กรรมการคนหนึ่ง หรือหลายคนทำการแทนก็ได้ และให้เลขานุการคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด เป็นผู้รับผิดชอบในกิจการของสำนักงาน
                    หมวด ๕ คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด
                        มาตรา ๓๐  ให้มีคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดคณะหนึ่ง ประกอบด้วย
                            (๑)   อิหม่าม เป็นประธานกรรมการ
                            (๒)  คอเต็บ เป็นรองประธานกรรมการ
                            (๓)  บิหลั่น เป็นรองประธานกรรมการ และ
                            (๔)  กรรมการอื่น ตามจำนวนที่ที่ประชุมสัปปุรุษประจำมัสยิดนั้น กำหนดจำนวนไม่น้อยกว่ากว่าหกคน แต่ไม่เกินสิบสองคน
                            ให้สัปปุรุษประจำมัสยิด ซึ่งมีอายุตั้งแต่สิบห้าปีบริบูรณ์ขึ้นไป ประชุมกันคัดเลือกผู้ดำรงตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง
                            ให้ประธานกรรมการอิสลามประจำมัสยิด เลือกกรรมการตาม (๔) เป็นเลขานุการหนึ่งคน นายทะเบียนหนึ่งคน เหรัญญิกหนึ่งคน และตำแหน่งอื่นตามความจำเป็น
                            ให้ประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัด หรือกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ที่ได้รับมอบหมายจากประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัด เป็นประธานในที่ประชุมสัปปุรุษประจำมัสยิด เพื่อดำเนินการคัดเลือกกรรมการอิสลามประจำมัสยิดแล้ว เสนอคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด เพื่อพิจารณาแต่งตั้ง ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยกำหนด
                        มาตรา ๓๑  อิหม่าม คอเต็บ และบิหลั่น ต้องมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
                            (๑) มีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามมาตรา ๑๗
                            (๒) อ่านพระคัมภีร์อังกุรอานได้ถูกต้อง
                            (๓) สามารถนำในการปฎฺบัติศาสนกิจได้ถูกต้อง ตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม
                            (๔) มีความสามารถแสดงธรรมได้
                            (๕) เป็นสัปปุรุษประจำมัสยิดนั้นมาแล้ว ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน ก่อนวันคัดเลือก
                            อิหม่าม คอเต็บ และบิหลั่น ไม่ถือเป็นนักพรต หรือนักบวช
                            การพ้นจากตำแหน่งของ อิหม่าม คอเต็บ และบิหลั่น ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย กำหนด
                        มาตรา ๓๒  กรรมการ ตามมาตรา ๓๐ (๔) ต้องมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
                            (๑) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามมาตรา ๑๗
                            (๒) เป็นสัปปุรุษประจำมัสยิดนั้นมาแล้ว ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน ก่อนวันคัดเลือก
                            (๓) มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดที่มัสยิดนั้นตั้งอยู่ ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน ก่อนวันคัดเลือก
                        มาตรา ๓๓
ฯลฯ

                        มาตรา ๓๔
ฯลฯ

                        มาตรา ๓๕  คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
                            (๑) บำรุงรักษามัสยิด และทรัพย์สินของมัสยิดให้เรียบร้อย
                            (๒) วางระเบียบปฎิบัติภายในของมัสยิด เพื่อให้การดำเนินงานของมัสยิดเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
                            (๓) ปฎิบัติตามคำแนะนำชี้แจงของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการกลางอิสลามประจำจังหวัด ในเมื่อไม่ขัดต่อบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม และกฎหมาย
                            (๔) สนับสนุนสัปปุรุษในการปฎิบัติศาสนกิจ ส่งเสริมให้เกิดความสามัคคี และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในทางที่ชอบตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม
                            (๕) พิจารณามีมติรับมุสลิมเข้าเป็นสัปปุรุษประจำมัสยิด
                            (๖) อำนวยความสะดวกและอบรมสั่งสอนให้สัปปุรุษประจำมัสยิด ปฎิบัติศาสนกิจโดยถูกต้องเคร่งครัด
                            (๗) ประนีประนอมข้อพิพาทระหว่างสัปปุรุษประจำมัสยิด เมื่อได้รับการร้องขอ
                            (๘) จัดให้มีและรักษาสมุดทะเบียนสัปปุรุษประจำมัสยิด และตรวจตราแก้ไขเพิ่มเติมสมุดทะเบียนดังกล่าว ให้ถูกต้องตรงตามเป็นจริง
                            (๙) จำหน่ายชื่อสัปปุรุษประจำมัสยิดออกจากทะเบียน เมื่อได้สอบสวนแล้ว ปรากฎว่าผู้นั้นกระทำการฝ่าฝืน หรือไม่ปฎิบัติให้ถูกต้องตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม
                            (๑๐) จัดให้มีทะเบียนทรัพย์สิน เอกสาร และบัญชีรายรับรายจ่ายของมัสยิด ให้ถูกต้องตรงความเป็นจริง และจัดทำรายงานผลการดำเนินการฐานะการเงิน และทรัพย์สินของมัสยิดแล้ว รายงานให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทราบ ภายในเดือนมีนาคม ของทุกปี
                            (๑๑) ดูดวงจันทร์และแจ้งผลการดูดวงจันทร์ ต่อคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด
                            (๑๒) ส่งเสริมการศึกษาและจัดกิจกรรมที่ไม่ขัดต่อบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม
                       มาตรา ๓๖
ฯลฯ

                        มาตรา ๓๗  อิหม่าม มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
                            (๑) ปฎิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม
                            (๒) ปกครองดูแล และแนะนำเจ้าหน้าที่ของมัสยิดให้ปฎิบัติงานในหน้าที่ให้เรียบร้อย
                            (๓) แนะนำให้สัปปุรุษประจำมัสยิด ปฎิบัติให้ถูกต้องตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม และกฎหมาย
                            (๔) อำนวยความสะดวกแก่มุสลิม ในการปฎิบัติศาสนกิจ
                            (๕) สั่งสอนและอบรมหลักธรรมทางศาสนาอิสลามแก่บรรดาสัปปุรุษประจำมัสยิด
                        มาตรา ๓๘  คอเต็บ มีหน้าที่ปฎิบัติให้เป็นไปตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม ในการแสดงธรรมแก่สัปปุรุษประจำมัสยิด
                        มาตรา ๓๙  บิหลั่น มีหน้าที่ปฎิบัติให้เป็นไปตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม ในการประกาศเชิญชวนให้มุสลิมปฎิบัติศาสนากิจตามเวลา
                        มาตรา ๔๐
ฯลฯ

                        มาตรา ๔๑
ฯลฯ

                        มาตรา ๔๒
ฯลฯ

                    บทเฉพาะกาล
                        มาตรา ๔๓
ฯลฯ

                        มาตรา ๔๔  ให้มัสยิดซึ่งได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ.๒๔๙๐ เป็นมัสยิดตามมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัตินี้
                        มาตรา ๔๕  ให้ " อิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย " ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม พุทธศักราช ๒๔๘๘ เป็นอิสลามวิทยาลัยตามพระราชบัญญัตินี้
                        มาตรา ๔๖
ฯลฯ

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ชวลิต  ยงใจยุทธ
นายกรัฐมนตรี

                พระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจย์ พ.ศ.๒๕๒๔
                        มาตรา ๑  ฯลฯ
                        มาตรา ๒  ฯลฯ
                        มาตรา ๓  ให้ยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๑๑๑ ลงวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ.๒๕๑๕

ฯลฯ
                        มาตรา ๔  ในพระราชบัญญัตินี้
                            "กิจการฮัจย์" หมายความว่า กิจการใด ๆ ที่เกี่ยวกับการเดินทางของชาวไทยผู้นับถือศาสนาอิสลามเพื่อไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ไม่ว่าจะเป็นการจัดบริการ การอำนวยความสะดวกหรือความปลอดภัยก่อนเดินทางระหว่างเดินทาง ระหว่างประกอบพิธีฮัจย์ หรือการเดินทางกลับภูมิลำเนา รวมทั้งกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับการดังกล่าวตามที่คณะกรรมการกำหนด
ฯลฯ
                            "คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทย
ฯลฯ
                        มาตรา ๕  กิจการดังต่อไปนี้ต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ
                        การอนุญาตของคณะกรรมการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
                        มาตรา ๖  ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า "คณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทย" ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นรองประธานกรรมการ  ปลัดกระทรวงคมนาคม  ปลัดกระทรวงมหาดไทย  ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ  ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข  ผู้แทนกรมการปกครอง  ผู้แทนกรมตำรวจ  ผู้แทนกรมประชาสงเคราะห์  ผู้แทนกรมประมวลข่าวกลาง  ผู้แทนสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ  ผู้แทนคณะกรรมการกลาง  อิสลามแห่งประเทศไทย  และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นไม่เกินสี่คน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการ
                        ให้เลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ
                        มาตรา ๗  ฯลฯ
                        มาตรา ๘  ฯลฯ
                        มาตรา ๙  ฯลฯ
                        มาตรา ๑๐  ฯลฯ
                        มาตรา ๑๑  ให้คณะกรรมการมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
                            (๑) กำหนดระเบียบ ข้อบังคับ เงื่อนไข หรือมาตรการใด ๆ เพื่อเป็นแนวปฏิบัติในอันที่จะให้ความคุ้มครองผู้ที่ประสงค์ จะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ให้ได้รับความสะดวกปลอดภัย และมีหลักประกัน
                            (๒) - (๓) ฯลฯ
ฯลฯ
                        มาตรา ๑๒  ฯลฯ
                        มาตรา ๑๓  ฯลฯ
                        มาตรา ๑๔  ให้อธิบดีกรมการศาสนาเป็นเลขาธิการโดยตำแหน่ง และให้กรมการศาสนาทำหน้าที่สำนักเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทย มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
                            (๑) ปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการหรือตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
                            (๒) ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการประสานงานเกี่ยวกับการส่งเสริมกิจการฮัจย์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                            (๓) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ รวมทั้งปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎกระทรวง ที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ และตามระเบียบข้อบังคับของคณะกรรมการ
                            (๔) ปฏิบัติงานธุรการของคณะกรรมการ
                        มาตรา ๑๕  ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๕ (๑) หรือ (๒) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                        มาตรา ๑๖  ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๕ (๓) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                        มาตรา ๑๗  ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ เงื่อนไข หรือมาตรการใด ๆ ซึ่งออกตามมาตรา ๑๑ (๒) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
                        มาตรา ๑๘  ฯลฯ
                        มาตรา ๑๙  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
                        กฎกระทรวงนั้น เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี

            หมายเหตุ  เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ของชาวไทย ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย เป็นศาสนบัญญัติอันจำเป็นในทางศาสนาอิสลาม และมีชาวไทยผู้นับถือศาสนาอิสลาม เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์แต่ละปีเป็นจำนวนมาก ในการนี้รัฐบาลได้ให้ความอนุเคราะห์ ส่งเสริมการไปประกอบพิธีฮัจย์ตลอดมา แต่ยังมีอุปสรรคบางประการทางกฎหมาย ที่สมควรได้รับการแก้ไขเพื่อให้การเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ของชาวไทย ผู้นับถือศาสนาอิสลามได้รับการส่งเสริมอย่างถูกต้อง สมบูรณ์ทั้งในทางหลักศาสนา ความสะดวก ปลอดภัย มีหลักประกันในการเดินทาง และป้องกันการหาผลประโยชน์อันมิชอบ ทั้งให้สมประโยชน์ในด้านการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

               พระราชบัญญัติ ส่งเสริมกิจการฮัจย์ (ฉบับที่ ๒)  พ.ศ.๒๕๓๒
                       มาตรา ๑    ฯลฯ
                       มาตรา ๒    ฯลฯ
                       มาตรา ๓  ให้เพิ่มบทนิยามคำว่า "อะมีรุ้ลฮัจย์"  หรือ "รออิสบิซาตุลฮัจย์ อัลรัสมียะห์"  (หัวหน้าคณะผู้แทนฮัจย์ทางการ)  ระหว่างบทนิยามคำว่า "กิจการฮัจย์" กับบทนิยามคำว่า "การรับจัดบริการขนส่ง"  ในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจย์ พ.ศ.๒๕๒๔
                            "อะมีรุ้ลฮัจย์ " หรือ" รออิสบิซาตุลฮัจย์ อัลรัสมียะห์ "  (หัวหน้าคณะผู้แทนฮัจย์ทางการ)  หมายความว่า บุคคลผู้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฮัจย์ทางการของประเทศไทย นำชาวไทยผู้นับถือศาสนาอิสลามเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย"
                       มาตรา ๔  ให้เพิ่มความต่อไปนี้ เป็นมาตรา ๔ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจย์ พ.ศ.๒๕๒๔
                            "มาตรา ๔ ทวิ ให้จุฬาราชมนตรีเป็นอะมีรุ้ลฮัจย์ หรือรออิสบิซาตุลฮัจย์ อัสรัสมียะห์ (หัวหน้าคณะผู้แทนฮัจย์ทางการ)  ในปีใดที่จุฬาราชมนตรีไม่ประสงค์จะเดินทางไปเป็นอะมีรุ้ลฮัจย์ หรือรออิสบิซาตุลฮัจย์ อัลรัสมียะห์  (หัวหน้าคณะผู้แทนฮัจย์ทางการ )  ให้คณะกรรมการอิสลามแห่งประเทศไทย เป็นผู้พิจารณาคัดเลือกบุคคลผู้สมควรเป็นอะมีรุ้ลฮัจย์ หรือรออิสบิซาตุลฮัจย์ อัลรัสมียะห์  (หัวหน้าคณะผู้แทนฮัจย์ทางการ)  จำนวนสามคน เพื่อให้จุฬาราชมนตรีนำเสนอชื่อต่อคณะรัฐมนตรี พิจารณาคัดเลือกแต่งตั้งเป็น อะมีรุ้ลฮัจย์ หรือรออิสบิซาตุลฮัจย์ อัลรัสมียะห์ (หัวหน้าคณะผู้แทนฮัจย์ทางการ)  จำนวนหนึ่งคน "
                       มาตรา ๕  ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๔ ตรี แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจย์ พ.ศ.๒๕๒๔
                            "มาตรา ๔ ตรี  ให้อะมีรุ้ลฮัจย์ หรือรออิสบิซาตุลฮัจย์ อัลรัสมียะห์  (หัวหน้าคณะผู้แทนฮัจย์ทางการ)  มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
                            (๑) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฮัจย์ทางการของประเทศไทย นำชาวไทยผู้นับถือศาสนาอิสลามในกิจการที่ต้องทำเกี่ยวกับการประกอบพิธีฮัจย์ ณ ประเทศซาอุดิอาระเบีย
                            (๒) เป็นผู้ควบคุมดูแลและอำนวยความสะดวกแก่ชาวไทย ผู้นับถือศาสนาอิสลามที่เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์
                            (๓) เป็นผู้ประสานงานในการปฎิบัติงานของคณะเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเดินทางไปประเทศซาอุดิอาระเบีย เพื่อกิจการฮัจย์
                            (๔) ให้คำปรึกษาหารือแก่คณะกรรมการ
                            (๕) ปฎิบัติการอื่นใดตามที่กำหนดในกฎกระทรวง"

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

พลเอก ชาติชาย  ชุณหะวัณ
นายกรัฐมนตรี

            หมายเหตุ  เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันไม่มีผู้ทำหน้าที่เป็น อะมีรุ้ลฮัจย์ หรือรออิสบิซาตุลฮัจย์ อัลรัสมียะห์ (หัวหน้าคณะผู้แทนฮัจย์ทางการ)  สำหรับเป็นผู้นำของชาวไทยผู้นับถือศาสนาอิสลามที่เดินทาง ไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ทำให้เกิดความยากลำบากแก่ผู้ที่จะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ในเรื่องการขอใบอนุญาตเข้าเมือง การเดินทาง ที่พัก และมีอุปสรรคอื่น ๆ อีกมาก ดังนั้นเพื่อขจัดปัญหาความเดือดร้อน ให้แก่ผู้ที่ไปแสวงบุญ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย สมควรกำหนดให้จุฬาราชมนตรี หรือผู้ที่จุฬาราชมนตรีเสนอชื่อ ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาคัดเลือกแต่งตั้งเป็น อะมีรุ้ลฮัจย์ หรือรออิสบิซาตุลฮัจย์ อัลรัสมียะห์  (หัวหน้าคณะผู้แทนฮัจย์ทางการ)  มีหน้าที่ควบคุมดูแล และอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

            คำสั่งกองทัพบก (คำสั่งชี้แจง) ที่ ๑๓/๘๑๗๓ เรื่องการไหว้พระสวดมนต์ประจำวันของทหารมุสลิม ลง ๑๘ เมย.๐๑
                เนื่องด้วยประชาชนส่วนมากในสี่จังหวัดภาคใต้ นับถือศาสนาอิสลาม ผู้ที่เข้ามารับราชการทหารสมควรได้รับการช่วยเหลือ ให้ได้ประกอบพิธีไหว้พระสวดมนต์ประจำวัน ตามประเพณีนิยมในศาสนาของตน ฉะนั้น ให้ มทบ.๕ และ ผส.๕ พิจารณาดำเนินการช่วยเหลือ เมื่อเห็นว่าหน่วยใดมีทหารมุสลิมจำนวนมาก ก็ให้ทหารมุสลิมแยกไหว้พระสวดมนต์ประจำวันต่างหาก และเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย และถูกต้องตามประเพณีของศาสนาอิสลาม ให้ปฎิบัติดังนี้
                    ๑. จัดให้มีห้องทำละหมาดของทหารมุสลิม โดยกำหนดเอาห้องใดห้องหนึ่งในโรงที่อยู่ของทหาร หรือสถานที่ตามสมควร และจัดให้มีลักษณะดังนี้
                        -  สะอาดปราศจากสิ่งโสโครก
                        -  ไม่ประดิษฐานรูปเคารพใด
                        -  ถ้าจะประดับด้วยภาพอักษรคติธรรมมุสลิม ตามความเหมาะสมก็ได้
                        -  มีแผ่นป้ายบอกว่าเป็น "ห้องละหมาดทหารมุสลิม"
                    ๒. เมื่อถึงเวลาไหว้พระสวดมนต์ของทหารประจำวัน ซึ่งโดยปกติเวลา ๒๐๓๐ ตรงกับเวลาละหมาด ฮิซาร์ ของมุสลิม ให้บรรดาทหารมุสลิมเข้าไปทำละหมาด (ละหมาด อิซาร์)  ในห้องละหมาดทหารอิสลาม แทนการไหว้พระสวดมนต์ ตามระเบียบการไหว้พระสวดมนต์ของทหารที่ปฎิบัติอยู่ก่อน
                    ๓. การไหว้พระสวดมนต์ประจำวันของทหารมุสลิม ให้กระทำตามลำดับ ดังนี้
                        -  ทหารทำละหมาดตามลำพัง
                        -  กล่าวบทปลงใจ
                        -  ร้องเพลงชาติ
                        -  ร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี
                        ทั้งนี้ให้ปฎิบัติตามคำชี้แจงของ ยศ.ทบ. ท้ายคำสั่งนี้

           คำชี้แจง ระเบียบไหว้พระสวดมนต์ของทหารมุสลิม
                พระบัญญัติของศาสนาอิสลาม กำหนดให้มุสลิมทำละหมาดวันละ ๕ ครั้ง (อัส - ซอละฮ์)  แต่ละครั้งต้องกระทำภายในเวลาที่กำหนดไว้ในพระคัมภีร์กุระอาน ละหมาด ๕ ครั้ง นั้น เฉพาะครั้งสุดท้ายของวันเรียกว่า ละหมาด อิซาร์ กำหนดให้ทำในระหว่างเวลาตั้งแต่สิ้นแสงดวงอาทิตย์ บนท้องฟ้า จนเห็นแสงทองจับขอบฟ้าในวันใหม่ โดยปกติแล้ว การทำละหมาดแต่ละครั้งใช้เวลาเพียงเล็กน้อย และทำตามลำพัง ณ ที่อยู่ของตน ผู้ที่ทำยืนบ่ายหน้าไปทางทิศกิบลัด คือ ทิศที่ตั้งวิหาร กาปะห์ นครมักกะห์ ประเทศซาอุดิอารเบีย
                กองทัพบกเห็นว่า หน่วยทหารภาคใต้มีทหารมุสลิมอยู่จำนวนมาก ถ้าหากทหารเหล่านั้นได้มีสถานที่ทำละหมาดเป็นสัดส่วน และเข้าประชุมพร้อมกัน ก็จะเป็นระเบียบเรียบร้อย และเป็นทางปลูกฝังจิตใจของทหารมุสลิม ให้แนบแน่นกับศาสนาของตน จึงได้สั่งให้หน่วยที่เกี่ยวข้องจัดห้องละหมาดทหารมุสลิมขึ้น

ฯลฯ

           บันทึกข้อความ   เรื่องการกระทำพิธีทางศาสนาของทหาร ซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม ลง ๑๘ ส.ค.๐๒
                ด้วย นายต่วน สุวรรณศาสน์  จุฬาราชมนตรี มีหนังสือถึง ผบ.มทบ.๒ ขอให้จัดสถานที่สำหรับประกอบพิธีกรรม ทางศาสนาที่เรียกว่า มัสยิด ขึ้น และให้ทหารซึ่งนับถือศาสนาอิสลามได้ประกอบพิธีทุกวันศุกร์ เวลา ๑๒๓๐ - ๑๓๓๐ ทั้งนี้เนื่องจากในค่ายจักรพงษ์ มีทหารซึ่งนับถือศาสนาอิสลามจำนวนมาก และในโอกาสต่อไปจะยิ่งเพิ่มมากขึ้นอีก ซึ่ง มทบ.๒ ได้สำรวจแล้วมีทหารซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม ดังนี้ นายทหาร ๓ นายสิบ ๓ พลทหาร ๖๓ รวม ๖๙ คน และ มทบ.๒ ไม่ขัดข้องในการที่จะให้ทหารดังกล่าวนี้ กระทำพิธี ฯ ในวันศุกร์ ฯลฯ
                ยศ.ทบ. ได้พิจารณาและเสนอว่า ในปัจจุบันนี้ ทบ. ยังไม่ได้กำหนดแนวทางปฎิบัติในเรื่องนี้ให้เป็นการแน่นอน ฯลฯ  การอบรมจิตใจให้มั่นอยู่ในศาสนา และศึกษาคำสอนของศาสนา เป็นเรื่องที่ทางราชการควรสนับสนุน ซึ่งในวันศุกร์ หน่วยควรได้พิจารณาอนุญาตให้ทหาร ซึ่งนับถือศาสนาอิสลามที่ไม่ติดราชการจำเป็น ไปร่วมชุมนุมปกระกอบพิธีทางศาสนา ณ มัสยิด ภายนอกโรงทหารได้ตามสมควร

ฯลฯ

ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนาะ พ.ศ.๒๕๔๗
            ด้วยรัฐบาลได้กำหนดยุทธศาสตร์ เพื่อสร้างสังคมสันติสุขและยกระดับพื้นฐานความเป็นอยู่ของประชาชน ในจังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส กระทรวงศึกษาธิการจึงเห็นสมควรส่งเสริมสถาบันการศึกษาปอเนาะ เป็นสถาบันสังคม เพื่อการสอนตามหลักศาสนาอิสลาม ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตตามวัฒนธรรมอิสลาม และความต้องการของชุมชนในการศึกษาอย่างเหมาะสม
            อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๖ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
                ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนาะ พ.ศ.๒๕๔๗" ........
                ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
                บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใดที่ขัดหรือแย้งกับระเบียบให้ใช้ระเบียบนี้แทน
                ข้อ ๓ ในระเบียบนี้
                    "สถาบันปอเนาะ " หมายความว่า สถาบันสังคมของชุมชนอิสลามที่เสริมสร้างการเรียนรู้ในทางศาสนาอิสลาม และวัฒนธรรมอิสลาม เพื่อเสริมสร้างให้สมาชิกในชุมชนมีความรู้ และความประพฤติที่ดีงามในการดำรงชีวิตอย่างสันติสุข และมีความรับผิดชอบต่อสังคม และประเทศชาติ
                    "โต๊ะครู" หมายความว่า ผู้สอนที่มีความรู้ด้านศาสนาอิสลามเป็นอย่างดี เป็นที่เคารพนับถือของชุมชนที่เป็นเจ้าของสถาบันศึกษาปอเนาะ
                    " ผู้ช่วยโต๊ะครู" หมายความว่า ผู้ที่มีความรู้ด้านศาสนาอิสลามเป็นอย่างดี ซึ่งโต๊ะครูให้ช่วยสอนในสถาบันศึกษาปอเนาะ
                    "นายทะเบียน"  หมายความว่า นายทะเบียนสถาบันศึกษาปอเนาะประจำจังหวัด
                    "สำนักงาน" หมายความว่า สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน หรือสำนักงานคณะกรรมการศึกษาเอกชน ตามกฎหมายโรงเรียนเอกชน แล้วแต่กรณี
                ข้อ ๔ โต๊ะครู เจ้าของสถานศึกษาปอเนาะใด ประสงค์จะจดทะเบียนเป็นสถาบันศึกษาปอเนาะ ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียน ตามแบบ ป.น.๑ ท้ายระเบียบนี้
                ข้อ ๕ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายเป็นนายทะเบียนสถาบันปอเนาะจังหวัด ทำหน้าที่จดทะเบียนศึกษาปอเนาะ และมีหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุน และกำกับดูแลสถาบันศึกษาปอเนาะที่ได้จดทะเบียนแล้ว
                ให้นายทะเบียนออกหลักฐานการจดทะเบียนสถาบันศึกษาปอเนาะภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ พร้อมเอกสารครบถ้วนถูกต้องตามแบบ ป.น.๒
                ข้อ ๖ ให้สำนักงานทำหน้าที่เป็นสำนักงานทะเบียนกลางสถาบันศึกษาปอเนาะ เพื่อรวบรวมข้อมูลสถานันศึกษาปอเนาะทุกจังหวัด และมีหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนสถาบันศึกษาปอเนาะ และกำกับดูแลนายทะเบียนประจำจังหวัดให้ดำเนินการ ตามระเบียบนี้
                ข้อ ๗ สถานที่และบริเวณที่ตั้งสถาบันการศึกษาปอเนาะ ต้องมีความเหมาะสมแก่การดำเนินการสอน โดยคำนึงถึงความปลอดภัย และไม่ขัดต่อสุขลักษณะ หรืออนามัยของผู้เรียน
                ข้อ ๘ โต๊ะครู ที่ขอจดทะเบียนสถาบันศึกษาปอเนาะ ต้องมีกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย ในที่ดิน และอาคารที่ใช้ดำเนินการสอน
                ข้อ ๙ โต๊ะครู ต้องมีคุณสมบัติและความรู้ ดังต่อไปนี้
                    (๑) มีสัญชาติไทย
                    (๒) มีความรู้วิชาสามัญ ไม่ต่ำกว่าหลักสูตรการศึกษาภาคบังคับในช่วงชั้นปีที่จบหลักสูตร หรือความรู้ที่กระทรวงศึกษาธิการ รับรองว่าเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้
                    (๓) มีความรู้ด้านศาสนาอิสลามเป็นอย่างดี โดยได้รับการรับรองจากคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด หรือสมาคม โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดชายแดนภาคใต้
                ข้อ ๑๐ โต๊ะครู อาจมอบหมายผู้ช่วยโต๊ะครูทำการสอนในสถาบันศึกษาปอเนาะได้ โดยแจ้งให้นายทะเบียนทราบตามแบบ ป.น.๓ ท้ายระเบียบนี้
                ผู้ช่วยโต๊ะครู ต้องมีคุณสมบัติและความรู้ ตามข้อ ๙ (๑) (๒) และ (๓)
                ข้อ ๑๑ โต๊ะครูหรือผู้ช่วยโต๊ะครู ที่ไม่มีความรู้วิชาสามัญตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ แต่มีความรู้สามารถอ่าน และเขียนภาษาไทยได้ ให้ยื่นคำขอผ่อนต่อนายทะเบียนได้ โดยโต๊ะครูหรือผู้ช่วยโต๊ะครู จะต้องเข้ารับการอบรมในหลักสูตรที่สมาคมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดขึ้นภายใน ๒ ปี นับแต่วันที่ได้รับการผ่อนผัน
                ข้อ ๑๒ กรณีที่ผู้เรียนในสถาบันศึกษาปอเนาะเป็นเด็กที่ต้องเข้าเรียนการศึกษาภาคบังคับ ตามพระราชบัญญัติการศึกษา ภาคบังคับ พ.ศ.๒๕๔๒ ให้โต๊ะครูและผู้ปกครองต้องจัดให้เด็กได้เข้าเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับ หรืออาจพัฒนาร่วมกับสถานศึกษาอื่น เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสศึกษาวิชาสามัญ ในระดับที่สูงกว่าการศึกษาภาคบังคับ
                ข้อ ๑๓ สถาบันศึกษาปอเนาะ อาจจะพัฒนาให้ผู้เรียนได้ฝึกอบรมวิชาชีพร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีอาชีพ และสามารถดำรงชีพได้อย่างมีความสุข
                ข้อ ๑๔ ให้สถาบันศึกษาปอเนาะรายงานการดำเนินงาน พร้อมจำนวนผู้เรียนและผู้ช่วยโต๊ะครู ให้ถูกต้องตามความเป็นจริง พร้อมทั้งสภาพปัญหา อุปสรรค และความต้องการที่จะขอรับการช่วยเหลือต่อนายทะเบียนทุก ๆ ๖ เดือน ตาม ป.น.๔
                ข้อ ๑๕ ให้สถาบันศึกษาปอเนาะ สิ้นสภาพเมื่อ
                    (๑) โต๊ะครู ถึงแก่กรรม เว้นแต่ทายาทซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ ๙ ได้ยื่นคำขอแสดงความจำนง ขอดำเนินการต่อภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันที่โต๊ะครูถึงแก่กรรม
                    (๒) โต๊ะครู ยื่นคำร้องขอเลิกสถาบันศึกษาปอเนาะ
                    (๓) ถูกเพิกถอนการจดทะเบียน เนื่องจากไม่ปฎิบัติตามระเบียบนี้
                ข้อ ๑๖ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาชุมชนอิสลาม ให้สอดคล้องกับสภาพการดำรงชีพในปัจจุบัน กระทรวงศึกษาธิการอาจส่งเสริมและพัฒนาสถาบันศึกษาปอเนาะตามความเหมาะสม
                ข้อ ๑๗ ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดปัญหา หรือข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการใช้ตามระเบียบนี้
            จำนวนสถาบันศึกษาปอเนาะที่จดทะเบียน
                จังหวัดยะลา  ๘๒ แห่ง  นักเรียน  ๕,๒๕๐ คน
                จังหวัดนราธิวาส  ๔๙ แห่ง  นักเรียน  ๓,๘๐๐ คน
                จังหวัดปัตตานี  ๑๘๒ แห่ง  นักเรียน  ๑๑,๑๕๐ คน
                จังหวัดสงขลา  ๕๒ แห่ง  นักเรียน   ๒,๓๐๐  คน
                จังหวัดสตูล  ๑ แห่ง  นักเรียน ๖๐ คน
                จังหวัดกระบี่  ๑ แห่ง  นักเรียน  ๓๐ คน
                จังหวัดปทุมธานี  ๑ แห่ง  นักเรียน  ๒๕ คน
                รวมสถาบันศึกษาปอเนาะทั่วประเทศ ๓๖๘ แห่ง
                รวมสถาบันศึกษาปอเนาะ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ๓๑๓ แห่ง
                นักเรียนปอเนาะทั่วประเทศ ๒๒,๖๒๑ คน
                นักเรียนปอเนาะ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ๒๐,๑๙๘ คน


 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์