&nbs
p; วัดนี้จะมีลักษณะเด่นที่ตัวฐานของพระอุโบสถ ซึ่งจะมีรูปแบบคล้ายเรือสำเภาซึ่งสวยงามมากลวดลายต่างๆ รอบอุโบสถก็งดงามเช่นกัน มีความอ่อนช้อยเป็นลวดลายที่วิจิตร บริเวณรอบๆ วัดมีบรรยากาศร่มรื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พุทธศาสนิกชน มักจะมาสักการะบูชา พระแก้
วมรกตพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร "พระแก้วมรกต" พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืององค์สำคัญที่สุดของชาติไทย เดิมประดิษฐานอยู่ที่เมืองเชียงราย ต่อมาย้ายมาอยู่ที่เมืองลำปางและเชียงใหม่ ต่อมาพระไชยเชษฐา (เจ้าลาว) ได้มาอัญเชิญไปประดิษฐานเพื่อเป็นที่สักการะย
ังเมืองลาวเป็นการชั่วคราวแล้วไม่ยอมคืนไทย
ในปี พ.ศ. 2320 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มหาราช ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช รัชกาลที่ 1) เป็นแม่ทัพ ยกไปตีเมืองเวียงจันทน์ได้ จึงได้อัญเชิญ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระแก้วมรกต กลับคืนมาประ
ดิษฐานไว้ในราชอาณาจักรไทยดังเดิม
ในคราวสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก ได้ยาตราทัพกลับประเทศไทย เมือเดินทัพมาถึงจังหวัดสระบุรี ได้หยุดพำนักที่วัดศรีบุรีรตนาราม (วัดปากเพรียว) พร้อมกับอัญเชิญ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระแก้วมรกต ประดิษฐานไว้ที่วัดนี้ เป็นเวลา 1 เดือน เพื่อเตรียมการรับเสด็จ
และเฉลิมฉลองอันยิ่งใหญ่มโหฬาร ณ กรุงธนบุรี
ต่อมาสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มหาราช ได้โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ พระมหาอุปราช เสด็จขึ้นมารับและอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระแก้วมรกต โดยขบวนแห่พยุหยาตราทางชลมารค อย่างมโหฬารเป็นประวัติการณ์ เมื่อเดือนยี่ ข้างแรม
ปีกุน พ.ศ. 2322 ขบวนแห่พยุหยาตราได้ล่องมาถึงกรุงธนบุรี เมื่อวันอังคาร ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 4 ปี พ.ศ. 2322 |