ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

http://www.dooasia.com > กิจกรรมท่องเที่ยว > ชมประวัติศาสตร์ > กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร
ท่าช้าง วัดดรุณ ท่าช้างวังหลวง (ตอ.)
สันนิษฐานว่าท่าช้างมีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 เป็นท่าสำหรับอาบน้ำช้างของวังหลวงและยังเป็นที่ชะลอพระศรีศากยมุนี มาขึ้นที่บริเวณนี้ เพื่อนำไปประดิษฐานที่วัดสุทัศนเทพวราราม

ที่ทำการกองทัพเรือ (ตต.)

จะมองเห็นพระบรมรูปพระเจ้าตากสินมหาราชถือพระแสงดาบและชี้ไปที่พื้นดิน ด้านในมีท้องพระโรงของพระเจ้ากรุง ธนบุรี ซึ่งเป็นพระราชวังเดิม ลักษณะเป็นอาคารทรงไทยชั้นเดียวแบบสามมุข เป็นตึกสองหลังเชื่อมต่อกันหลังแรกเป็น ท้องพระโรงที่ใช้ออกว่าราชการ อีกหลังหนึ่งเรียกว่าพระที่นั่งขวางเป็นส่วนราชมณเทียรภายในพระวิมานที่บรรทม มีจิตรกรรมฝาผนังเป็นพงศาวดารตอนเสียกรุงศรีอยุธยา พ.ศ.2310 จนถึงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี และยังจัดแสดงเครื่องเรือนประดับมุขที่ใช้ในราชวังสมัยโบราณของจีน ซึ่งได้แพร่หลายเข้ามาเป็นที่นิยมในบรรดา ขุนนางและคหบดีในประเทศไทย

วัดอรุณราชวราราม (ตต.)

ส่วนใหญ่จะทราบกันดีว่าวัดอรุณนั้นมีอีกชื่อว่า “วัดแจ้ง” แต่ยังมีอีกชื่อที่ชาวบ้านเรียกกัน คือ “วัดมะกอกนอก” แต่จะเรียก อะไรก็ตามว่ากันว่าวัดประจำพระราชวังแห่งกรุงธนบุรีนี้เป็นจุดที่พระอาทิตย์ขึ้นงดงามมาก หากผ่านมาทางน้ำตั้งแต่ช่วง ท่าพระอาทิตย์มองลงมาทางทิศใต้ จะมองเห็นพระปรางค์วัดอรุณตั้งสวยเด่นอยู่ตรงคุ้งน้ำสวย ประทับใจจนกลายเป็น สัญลักษณ์ของประเทศไทยอย่างหนึ่งทีเดียว ยอดมงกุฎของพระปรางค์นั้นนำมาจากพระประธานที่วัดนางนอง ซึ่งรัชกาลที่ 3 เป็นผู้นำมาประดิษฐานไว้ ข้างพระปรางค์ทางด้านใต้จะพบ “โบสถ์น้อย” ซึ่งข้างในมีพระแท่นบรรทมของ พระเจ้าตาก

วัดระฆังโฆษิตาราม หรือ วัดบางหว้าใหญ่ (ตต.)

เป็นวัดในสมัยกรุงธนบุรีสังเกตจากการเจาะหน้าต่างสองบานใต้หน้าบัน ที่ผนังด้านหน้าและด้านหลังของพระอุโบสถ เป็นลักษณะการสร้างแบบธนบุรีแท้ๆ ปัจจุบันหาดูได้เพียงไม่กี่วัดในกรุงเทพ นอกจากนี้ยังมีหอไตรที่เคยเป็นบ้านของเจ้า พระยามหากษัตริย์ศึก และท่านได้อุทิศให้ก่อนที่จะปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์เป็นพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกกษัตริย์องค์ แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ต้นลำภูต้นสุดท้ายที่กรุงเทพฯ(ตอ.)

ปลูกในสมัยรัชกาลที่ 1 และโปรดให้กรมหลวงจักรเจษฎาพระเจ้าน้องยาเธอเป็นผู้ดูแล ตรงบางลำภูจะมีศาลของกรม หลวงจักรเจษฎาอยู่ตรงข้ามกับปั๊มน้ำมัน ปตท.ตรงนั้นเคยเป็นวังเก่าของท่าน

คลองบางลำภู (ตอ.)

เป็นคลองรอบคูเมืองขุดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 อันที่จริงแล้วคือคลองรอบกรุงมีปากคลองไปออกแม่น้ำเจ้าพระยาสองทาง ทางด้านเหนืออกวัดสังเวชดิศยาราม ทางด้านใต้ออกตรงวัดบพิตรพิมุขวรวิหาร และเรียกชื่อคลองแต่ละช่วงตามสถานที่ ที่ผ่าน คลองที่ผ่านย่านบางลำภู จึงเรียก “คลองบางลำภู” ย่านบางลำภูยังนับเป็นย่านที่มีนักดนตรีไทยตั้งหลักแหล่งอยู่มาก

วังบางขุนพรหม (ตอ.)

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระราชทานให้แก่พระราชโอรสกรมหลวงนครสวรรค์ โดยช่างชาว อิตาเลียนปัจจุบันเป็นที่ทำการของธนาคารแห่งประเทศไทย

ท่าวาสุกรี

เป็นท่าสำหรับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ที่จะเสด็จลงเรือในพระราชพิธีทางชลมารค

ชุมชนชาวญวน (สะพานกรุงธน ตอ.)

ในสมัยรัชกาลที่ 1 ชาวญวนได้แบ่งเป็นสองพวก คือพวกที่นับถือศาสนาคริสต์ และที่นับถือศาสนาพุทธ ชาวญวนที่นับถือ คริสต์อาสามาช่วยรบ ในสมัยรัชกาลที่ 2 และ รัชกาลที่ 3 เรียกว่า “ญวนอาสา” ได้รื้อวัดส้มเกลี้ยง (ขณะนั้นเป็นวัดร้าง) เพื่อนำอิฐไปก่อสร้างบ้าน เรือน และโบสถ์คริสต์นิกายคาทอลิกขึ้นมาแทน นั่นก็คือ โบสถ์ โยน ออฟ อาร์ค รัชกาลที่ 3 จึง โปรดฯให้สร้าง วัดราชผาติการาม ขึ้นมาแทนวัดส้มเกลี้ยง สันนิษฐานกันว่าชื่อนี้มาจากคำว่า “ผาติกรรม” มีความ หมายว่า การแลกเปลี่ยนเอาของที่ดีกว่าให้แก่สงฆ์

เลยต่อไปที่ วัดอาวุธ (ตต.) เป็นวัดมอญที่ยังมีการสวด ภาษามอญอยู่หลังจากที่พม่าปราบมอญได้ ชาวมอญอพยพเข้ามา อยู่ที่อยุธยาในสมัยอยุธยา 5 ครั้งด้วยกัน คือ ในสมัยพระมหาธรรมราชา พระนเรศวรมหาราช พระเจ้าปราสาททอง พระนารายณ์มหาราช และพระเจ้าอยู่หัวบรมโกฐ

ต่อมาสมัยพระเจ้าตากมีมอญอพยพเข้ามาอีกโดยมีพระยาเจ่ง เป็นผู้นำ และชาวมอญกลุ่มนี้ได้กระจายไปตั้งหลักแหล่งยังที่ ต่างๆ ได้แก่ แถววัดอาวุธ อ.บางพลัด วัดบางเสาธงคลองมอญ วัดชนะสงคราม กรุงเทพฯ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี อ.สามโคก จ.ปทุมธานี อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี วัดคงคาราม วัดม่วง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี จ.เพชรบุรี จ.ตาก จ.อุทัยธานี จ.สุโขทัย จ.ลพบุรี สาเหตุที่ชาวมอญอพยพเข้ามาเป็นเพราะต้องการลี้ภัยการเมือง เนื่องจากทุกครั้งที่พม่าทำสงครามกับไทยชาวมอญ จะถูก เกณฑ์ไปเป็นทหารเราจึงรับไว้เพื่อเป็นการตัดกำลังพม่า

หลังจากที่ชาวมอญเข้ามาอยู่ที่แผ่นดินไทยได้ทำประโยชน์ให้แผ่นดินหลายอย่างจึงมีความดีความชอบมาก รัชกาลที่ 2 จึงได้ ให้มอญไปตั้งหลักแหล่งตรงที่ที่ยังไม่มีใครจับจอง เช่นที่บางกระดี่ บางแพร้ว จ.สมุทรสาคร อ. เมือง วัดราษฎร ศรัทธาธรรม ดอนหอยหลอด จ.สมุทรสงคราม อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ

ชุมชนชาวมุสลิม

สังเกตว่ามีหลายหลังคาเรือนเป็นเรือนไทยทรงปั้นหยา และตกแต่งด้วยลวดลายไม้แกะสลักขนมปังขิงซึ่งเป็นรูปแบบศิลปะ ที่นิยมในกลุ่มชนมุสลิม เรือนทรงปั้นหยานั้นจะนิยมสร้างกันในสมัยรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 โดยทั่วไปบ้านทรงปั้นหยา แล้วจะมิได้ตกแต่งด้วยลายขนมปังขิง

สะพานพระรามหก

เป็นสะพานแห่งแรกที่สร้างข้าม แม่น้ำเจ้าพระยา เคยถูกระเบิดในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 สมัยก่อนใช้เป็นทั้งทาง รถยนต์และรถไฟ แต่ปัจจุบันมีรถมากขึ้น จึงมีการสร้าง สะพานพระราม 7 ขึ้นสำหรับรถวิ่งและสงวนสะพานพระราม 6 ไว้เป็นทางรถไฟสายใต้เท่านั้น



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์