การชมโบราณสถาน |
- ประเทศไทยเป็นประเทศที่มั่งคั่งไปด้วยทรัพยากรทางการท่องเที่ยว
โดยเฉพาะทรัพยากรการท่องเที่ยวทางด้าน
ศิลปวัฒนธรรม
ทั้งนี้ก็ด้วยเหตุที่ดินแดนซึ่งเป็นประเทศไทยในปัจจุบัน
เป็นที่อยู่อาศัยตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนของมนุษย์มา
อย่างต่อเนื่อง
นับตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์
เป็นระยะเวลาอันยาวนานนับพันปี
จึงมีมรดกตกทอดทางศิลปวัฒนธรรม
หลายยุคหลายสมัยกระจายอยู่ทั่วไป
ซึ่งบางครั้งการที่มีมรดกทางวัฒนธรรมอยู่อย่างมากมายสามารถพบเห็นได้ทั่วไปเช่น
นี้
ทำให้คนไทยเราเกิดความคุ้นเคย
จนกระทั่งมองไม่เห็นถึงคุณค่าความสำคัญ
เป็นเหตุให้มรดกทางศิลปวัฒนธรรมอัน
ล้ำค่าของชาติไทยจำนวนไม่น้อยถูกทำลายไปโดยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ทั้งจากผู้คนที่อยู่ในท้องถิ่นและจาก
นักท่องเที่ยว
ที่ไปเยือนโดยขาดความรู้ความเข้าใจ
- ททท.
จึงได้รวบรวมแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณค่าทางโบราณคดี
ประวัติศาสตร์
และศิลปวัฒนธรรม 10 แห่ง
พร้อมทั้ง
ข้อมูลที่น่าสนของโบราณสถานแต่ละแห่งไว้ด้วยกัน
เพื่อส่งเสริมให้มีการเดินทางท่องเที่ยวไปตามแหล่งโบราณคดีและ
ประวัติศาสตร์อย่างมีความรู้ความเข้าใจ
โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า
การที่นักท่องเที่ยวได้รู้เห็นถึงความเป็นมาและ
พัฒนาการของวิถีชีวิตผู้คนในอดีต
และซึมซับเอาคุณค่าความงามจากมรดกทางศิลปวัฒนธรรมที่บรรพชนในอดีตกาล
ได้
ฝากไว้เป็นมรดกของแผ่นดินจากการเดินทางท่องเที่ยว
จะทำให้นักท่องเที่ยวเข้าใจถึงความงามและรู้ซึ่งถึงคุณค่า
อันจะ
ทำให้เกิดความรู้สึกภาคภูมิใจและหวงแหน
ซึ่งเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมอันมิอาจประมาณ
ค่าได้
ให้คงอยู่คู่แผ่นดินเป็นมรดกตกทอดถึงรุ่นลูกหลานต่อไป
- การเที่ยวชมโบราณสถานนั้นจะสนุกสนานและเป็นประโยชน์มากขึ้น
หากเรารู้จักสังเกตและศึกษาหาความรู้จาก
โบราณสถาน ดังนี้
|
รูปทรงและแบบแผนทางสถาปัตยกรรม |
- โบราณสถานบางแห่งที่มีอายุยาวนานหลายสมัย
จะมีสถาปัตยกรรมที่ต่างยุคสมัยกันอยู่ในที่เดียวกัน
โบราณสถานใน
แต่ละยุคสมัยจะมีรูปทรงทางสถาปัตยกรรมที่เป็นลักษณะเฉพาะ
เช่น
สถาปัตยกรรมสมัยขอมมักนิยมสร้างปราสาทหิน
สมัยสุโขทัยนิยมสร้างเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์
สมัยอยุธยาตอนต้นนิยมสร้างพระปรางค์
ฯลฯ
ซึ่งแต่ละสมัยก็มีแบบแผน
ทางสถาปัตยกรรมเฉพาะของตนแตกต่างกันออกไป
การพิจารณารูปทรงและการวางผังของสถาปัตยกรรมจะทำให้เข้าใจ
คติเกี่ยวกับการก่อสร้างของช่างในสมัยนั้น
ๆ
|
ลวดลายประดับตกแต่งสถาปัตยกรรม |
- โบราณสถานส่วนใหญ่ในประเทศไทยจะสร้างเพื่อเป็นศาสนสถานของศาสนาพราหมณ์หรือไม่ก็ศาสนาพุทธ
จึงมัก
จะมีลวดลายแกะสลักหิน
ลายปูนปั้น
ภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องราวทางศาสนานั้น
ๆ หากพิจารณาดู ให้ดี
จะทำให้ได้รู้เรื่องราวทางศาสนา
ที่ช่างในอดีตตั้งใจถ่ายทอดให้คนรุ่นหลังได้รับรู้
|
วัสดุ
และเทคนิคที่ใช้ในการก่อสร้าง |
- สมัยที่แตกต่างกันก็จะมีการใช้วัสดุและเทคนิคการก่อสร้างที่ไม่เหมือนกัน
ขึ้นอยู่กับความชำนาญของช่าง
และ
คุณสมบัติเฉพาะของวัสดุที่ใช้
ซึ่งมักมีความสัมพันธ์กันกับรูปทรงของสถาปัตยกรรมด้วย
ลองพิจารณาถึงวัสดุที่ใช้
ก่อสร้างและเทคนิคในการก่อสร้าง
- การสนใจพิจารณาสิ่งต่าง
ๆ
เหล่านี้ระหว่างท่องเที่ยวไปในแหล่งโบราณสถาน
พร้อมทั้งจดบันทึกหรือวาดภาพไว้
จะทำ
ให้การท่องเที่ยวในสถานที่ทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี
นอกจากจะไม่เป็นเรื่องที่น่าเบื่อหน่ายอีกต่อไปแล้ว
ยังอาจ เป็นประโยชน์
หากมีความสนใจที่จะศึกษาหาความรู้ให้ลึกซึ้งมากขึ้นในโอกาสต่อไป
|
ข้อควรปฏิบัติ |
- 1.
ศึกษาหาข้อมูลของโบราณสถานที่จะไปล่วงหน้า
เพื่อมิให้พลาดชมใน
วนสำคัญและสามารถจัดสรรเวลาใน
การชมได้อย่างเหมาะสม
- 2.
จัดเตรียมอุปกรณ์การบันทึกข้อมูลให้พร้อม
เช่น กล้องถ่ายภาพ
สมุดบันทึกพร้อมปากกา
ดินสอ สำหรับจดบันทึก
และวาดสิ่งที่พบเห็น
เทปบันทึกเสียง ฯลฯ
- 3.
ควรเดินชมตามเส้นทางเดินเท้าที่มีอยู่
ไม่ปีนป่ายหรือ
เหยียบย่ำขึ้นไปบนโบราณสถานโบราณวัตถุ
โดยเฉพาะที่
สร้างด้วยวัสดุที่อาจแตกหักได้ง่าย
เช่น ไม้ หรืออิฐ
เพราะจะทำให้เกิดความเสียหาย
และยังเป็นการไม่เคารพต่อ
สถานที่อันเป็นปูชนียสถาน
- 4.
ไม่ลูบคลำแตะต้องลวดลายปูนปั้น
ลวดลายแกะสลัก
หรือจิตรกรรมภาพเขียนสีที่ปรากฏอยู่ตามโบราณสถาน
เพราะจะทำให้เกิดการชำรุดเสียหาย
- 5. ไม่หยิบฉวยโบราณวัตถุ
หรืองัดแงะชิ้นส่วนของโบราณสถานใด
ๆ
ไปเป็นที่ระลึกโดยเด็ดขาด
|