ประวัติความเป็นมา
..........พระราชกรณียกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ
คือการเสด็จ
พระราชดำเนินตามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปทรงเยี่ยมราษฎรในทุกแห่งหน
ทั่วทุกภาคของประเทศไทย
พระราชกรณียกิจนี้
ได้ทรงปฏิบัติติดต่อกันมานานนับเป็นระยะเวลาหลายสิบปีแล้ว
จึงทำให้ทรงเห็นสภาพ
ความเป็นอยู่ที่แท้จริงของราษฎรว่ามีความทุกข์สุขอย่างไร
ที่ทรงเป็นห่วงมากก็คือ
ความยากจนของราษฎร
จึงทรงมีพระราชประสงค์จะจัดหาอาชีพให้ราษฎรทำ
เพื่อเพิ่มพูนรายได้ให้เพียงพอแก่การยังชีพ
ในภาวะ ปัจจุบัน
สมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชินีนาถ ทรงสนพระทัยในงานฝีมือพื้นบ้าน
หรือศิลปกรรมพื้นบ้าน
ที่จัดทำขึ้นโดยใช้วัสดุในท้องถิ่นมาก
พระองค์จึงส่งเสริมในเรื่องนี้โดยการจัดให้มีครูออกไปฝึกสอนราษฎร
เป็นการช่วยปรับปรุงคุณภาพ
ของงานให้ดียิ่งขึ้น
เมื่อราษฎรมีความชำนาญแล้วผลงานที่ผลิตออกมา
ก็จะทรง
รับซื้อไว้ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์
ซึ่งงานนี้ต่อมาได้ขยายออกเป็น
มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ
ในสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ
เมื่อวันที่ 21กรกฏาคม 2519
และได้ทรงจัดตั้งโรงฝึกอบรมศิลปาชีพ
ขึ้นแห่งแรกที่พระตำหนักสวนจิตรลดา ...........ในวันฉัตรมงคลปี
2523 สมเด็จพระนางเจ้า ฯ
พระบรมราชินีนาถ
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า
ฯให้นาย ธานินทร์ กรัยวิเชียร
รองประธานกรรมการมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ
สรรหาที่ดินที่ใกล้เคียงกับพระราชวัง
บางปะอินเพื่อจัดตั้งศูนย์ศิลปาชีพอีกแห่งหนึ่ง
นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
จัดหาที่ดินได้ 2 แปลง
เป็นที่ดินของ
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ได้ทรงกรุณา โปรดเกล้าฯ
พระราชทาน
ให้รัฐบาลจัดการปฏิรูปที่ดินเพื่อให้ราษฎรผู้ยากไร้ได้มีที่อยู่และทำมาหากินตามอัตภาพ
แปลงหนึ่งอยู่ที่อำเภอ
บ้านนา จังหวัดนครนายก
อีกแปลงหนึ่งอยู่ที่
อำเภอบางไทร
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ล้นเกล้าฯ ทั้งสองพระองค์
ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรที่ดินแปลงที่อยู่ที่อำเภอบางไทรด้วยพระองค์เอง
ซึ่งที่ดินแปลงนี้
มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 750ไร่เศษ
และทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยว่าสมควรจะสร้างศูนย์ศิลปาชีพ
ณ ที่นี้ วันที่ 3 มิถุนายน
2523 รัฐบาลได้น้อมเกล้าฯ
ถวายที่ดินแปลงนี้แด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชินีนาถ
ในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ
4 รอบ
และรัฐบาลยังได้มีมติให้หน่วยราชการต่าง
ๆ สนับสนุน
โครงการของศูนย์ศิลปาชีพ
บางไทรฯ
ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชินีนาถ
ทรงจัดตั้งขึ้นโดยมอบหมาย
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
โดยสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นผู้รับผิดชอบในด้านการดูแล
สถานที่และการฝึกอบรม
และมีหน่วยทหารราบที่ 21
รักษาพระองค์
มาช่วยดูแลในด้านการรักษาความสงบ
เรียบร้อย
และประสานงานกับหน่วยงานต่าง
ๆ ในการจัดฝึกอบรมศิลปาชีพเรื่อยมา
และมีการซื้อที่ดินเพิ่มเติม
อีก 200 ไร่เศษ
รวมเป็นเนื้อที่ของศูนย์ฯ
ทั้งหมดเกือบ 1,000
ไร่ในปัจจุบัน
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จ
พระราชดำเนินเปิดศูนย์ศิลปาชีพ
บางไทรฯ อย่างเป็นทางการ
เมื่อ วันที่ 7 ธันวาคม 2527 ***
ค่าเข้าชมจ่ายก่อนเข้าผู้ใหญ่
50 บาท
จ่ายแล้วขับรถเข้าไปได้เลย
*** สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ
ภายในมี
"วังปลา"
เป็นสถานจัดแสดงปลาน้ำจืดที่ใหญ่แห่งหนึ่ง
มีปลาบึกตัวโตๆ
และปลาอื่นๆ ให้เรียนรู้
วังปลา
จัดสร้างและดำเนินงานโดยกรมประมง
เป็นสถานแสดงพันธุ์
สัตว์น้ำจืด
ตัวอาคารหลักมีตู้กระจกขนาดใหญ่
จำนวน 2 ตู้
ตู้ใหญ่รูปเมล็ดถั่ว
มีขนาดความจุ 1,400 ตัน
อีกตู้หนึ่งทรงกลมขนาดความจุ
600 ตัน ภายในตู้
จะแสดงให้เห็นถึงการอยู่อาศัยร่วมกันของปลาน้ำจืดชนิดต่าง
ๆ ที่เป็นปลา
พื้นเมืองของไทย
เปิดให้ชม เวลา 10.00 - 16.00 น.
ปิดทุกวันจันทร์
และวันอังคาร
สวนนก
ดำเนินงานโดยมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่า
และพรรณพืชแห่ง ประเทศไทย
ในพระราชินูปถัมภ์
สวนนกเป็นกรงนกขนาดใหญ่ 2
กรง
ภายในมีนกพันธุ์ที่หาชมได้ยากมากกว่า
30 ชนิด
มีการจัดสภาพแวดล้อม
ภายในให้เหมือนธรรมชาติ
อาทิ น้ำตกและธารน้ำจำลอง
มีป่าจำลองที่ร่มรื่น
ใกล้เคียงกับธรรมชาติ
นอกจากนี้ยังมีสะพานแขวนให้นักท่องเที่ยวเดินขึ้น
ไปชม
และถ่ายภาพนกจากด้านบนของกรงได้อย่างชัดเจน
และบริเวณรอบ ๆ
กรงนกยังมีสัตว์ป่าอื่น ๆ
ให้ชมอีกด้วย เปิดใหชมทุกวัน
ตั้งแต่เวลา 09.00 - 19.00 น.
ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 20 บาท
เด็ก 10 บาท
ศาลาพระมิ่งขวัญ
เป็นอาคารทรงไทยประยุกต์
จตุรมุขสูง 4 ชั้น ตั้ง
ตระหง่านอยู่กลางศูนย์ศิลปาชีพ
บางไทร ชั้นล่าง
เป็นศูนย์สาธิตและจำหน่าย
ผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพ
ของศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ
และศูนย์ศิลปาชีพอื่น ๆ
ทั่วประเทศ ชั้นที่ 2 และ
ชั้นที่ 3
เป็นนิทรรศการผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพชิ้นยอด
เยี่ยมของศูนย์ศิลปาชีพ
บางไทรฯ ชั้นที่ 4
เป็นห้องประชุมสัมนา
เปิดให้ชม ทุกวัน
วันธรรมดา 09.00 - 17.00 น.
วันหยุดราชการ 09.00 - 18.00 น.
ไม่เสียค่าเข้าชม
พระโพธิสัตว์กวนอิมพันพระหัตถ์
นายถู เจี๋ย
ในนามของประชาชน ชาวจีน
ได้น้อมเกล้าฯ
ถวายพระรูปพระโพธิสัตว์กวนอิม
พันพระหัตถ์
ซึ่งแกะสลักจากไม้
จันทน์เหลือง สูง 6 เมตร
จำนวน 1 องค์ แด่พระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิม
พระชนม- พรรษาครบ 6 รอบ
และทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าฯ
ให้นำมาประดิษฐานไว้ ณ
พระตำหนักชั่วคราว
ศาลาโรงช้าง ศูนย์ศิลปาชีพ
บางไทรฯ เพื่อให้
ประชาชนที่มีจิตเลื่อมใสศรัทธาในพระโพธิสัตว์กวนอิม
ได้มานมัสการ และ
สักการะบูชา ได้ทุกวัน
ตั้งแต่เวลา 09.00 - 17.00 น. หมู่บ้านศิลปาชีพ
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ได้ให้การสนับสนุน
หมู่บ้านแห่งนี้ให้แก่ศูนย์ศิลปาชีพ
บางไทรฯ
เพื่อเป็นสถานที่แสดงถึงสถาปัตย-
กรรม
ในการสร้างบ้านเรือนของคนไทยภาคต่าง
ๆ
การจำลองชีวิตความเป็นอยู่
ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมไทยจากทั่วประเทศ
ภายในหมู่บ้านมีการสาธิตวิถีชีวิต
ความเป็นอยู่อย่างไทย ๆ
ในแต่ละภาค
และการสาธิตงานศิลปาชีพ
เปิดให้ชม
ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30 - 17.00 น.
ในวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 09.00
-19.00 น.
นอกจากนี้ยังมีการแสดงนาฏศิลป์
และการละเล่นพื้นบ้านทั้ง
4 ภาค ให้ชมด้วย
เว็บไซต์ของ ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร
http://www.bangsaiarts.com
เส้นทางการเดินทาง |
1.
เส้นทางที่ 1 (สีเขียว)
ทางหลวงหมายเลข 9 (ถ.วงแหวนตะวันตก)
จากแยก
ทางหลวง 345 (อ.บางบัวทอง)
ซึ่งมาได้จาก จ.สุพรรณบุรี
-ตลิ่งชัน หรือปทุมธานี
ผ่านแยกต่างระดับสามโคก-ข้าม
สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา-เลี้ยวซ้ายทางแยกบ่อส่า-เดินรถ
ตรงจนถึงศูนย์ฯ
2.
เส้นทางที่ 2 (สีส้ม)
ทางหลวงหมายเลข 306 (ถ.ติวานนท์)
จากห้าแยกปาก
เกร็ด-ผ่านแยกสวนสมเด็จ-ผ่านแยกปากคลองรังสิต-ผ่าน
แยกบางพูน-เลี้ยวขวาที่แยกเทคโนปทุมธานีเข้าทาง
หลวงหมายเลข 347 (ปทุมธานี-บางปะหัน)
ผ่านแยก
เชียงรากน้อย-เลี้ยวซ้ายทางต่างระดับเชียงรากน้อย
เดินรถทางตรงผ่านแยกบ่อส่า-กลับรถใต้สะพานแม่น้ำ
เจ้าพระยา-เลี้ยวซ้ายทางแยกบ่อส่า-เดินรถตรงมาจนถึงศูนย์
3.
เส้นทางที่ 3 (สีบานเย็น)
ทางด่วนสายปากเกร็ดบางปะอิน-ลงทางด่วนบางปะอิน
ตรงผ่านแยกบ่อส่า-กลับรถใต้สะพานแม่น้ำเจ้าพระยา-
เลี้ยวซ้ายทางแยกบ่อส่า-เดินรถตรงมาจนถึงศูนย์ฯ
4.
เส้นทางที่ 4 (สีเปลือกมังคุด)
ทางหลวงหมายเลข 1 (ถ.พหลโยธิน)
จากรังสิตหรือ
ภาคเหนือหรือภาคอีสาน-ผ่านแยกต่างระดับบางปะอิน
เข้าทางหลวงหมายเลข 9 (ถ.วงแหวนตะวันตก)
-ตรงผ่าน
แยกต่างระดับเชียงรากน้อย-
เดินรถทางตรงผ่านแยกบ่อส่า-
กลับรถใต้สะพานแม่น้ำเจ้าพระยา-เลี้ยวซ้ายทางแยกบ่อส่า-
เดินรถตรงมาจนถึงศูนย
5.
เส้นทางที่ 5 (สีเหลือง)
ทางหลวงเอเชีย จาก อ.บางปะหัน-อยุธยา
มาตามทางหลวง
หมายเลข 347 (ปทุมธานี-บางปะหัน)
-ข้ามสะพานข้าม
แม่น้ำเจ้าพระยา-แยกต่างระดับเชียงรากน้อยเลี้ยวขวา-
เดินรถทางตรงผ่านแยกบ่อส่ากลับรถใต้สะพานแม่น้ำ
เจ้าพระยา-เลี้ยวซ้ายทางแยกบ่อส่า-เดินรถตรงมาจนถึงศูนย์ฯ
6.
เส้นทางที่ 6 (สีน้ำเงิน)
ทางหลวงหมายเลข 3309 (บางปะอินเชียงรากน้อย)
จากทาง
หลวงสายเอเชีย
หรืออยุธยา
ผ่านหน้าโรงงานกระดาษ
บางปะอิน-ลอดใต้สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา-เลี้ยวซ้าย
ทางแยกท่าน้ำบางไทร-
เดินรถตรงมาจนถึงศูนย์ฯ
|
ดูแบบเต็มๆได้ที่นี่ครับ
http://www.bangsaiarts.com/bangsai_Map_T.html |
แผนที่ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ
และแฟนที่ศูนย์ศิลปาชีพบงไทร
อีก 1 รูป
|