ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > จังหวัดกระบี่ >อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา/Mu Ko Lanta National Park 

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา/ Mu Ko Lanta National Park

 

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา

ข้อมูลทั่วไป

คำว่า “ลันตา” แผลงมาจากคำว่า “ลันตัส” ซึ่งเป็นภาษาชวา มีความหมายว่า “ผลาย่างปลา” ซึ่งก็คือ ที่ย่างปลาสร้างด้วยไม้ รูปสี่เหลี่ยมยกพื้นสูงขึ้นคล้ายโต๊ะ จุดไฟไว้ข้างล่าง เผาปลาที่เรียงไว้ข้างบน อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตามีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลตั้งอยู่ในทะเลอันดามัน ประกอบด้วยเกาะใหญ่น้อยที่สวยงามจำนวนมาก อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ป่าชายหาด ป่าชายเลน แนวเขตปะการังที่สมบูรณ์และหาดทรายรอบเกาะต่างๆ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตามีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 83,750 ไร่ หรือ 134 ตารางกิโลเมตร

ในปี 2530 มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย ได้มีหนังสือลงวันที่ 26 สิงหาคม 2530 แจ้งให้กรมป่าไม้ทราบว่า บริเวณเกาะรอกนอกและเกาะรอกใน ซึ่งตั้งอยู่ในทะเลอันดามันระหว่างจังหวัดกระบี่และจังหวัดตรัง เป็นเกาะที่สวยงามอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติทั้งป่าไม้ สัตว์ป่า เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลา และสัตว์ทางทะเลอีกหลายชนิด เป็นแหล่งปะการังที่สวยงามอีกแห่งหนึ่ง กำลังถูกทำลายอย่างหนักในหลายรูปแบบ และมีผู้เข้าไปจับจองที่ดินเพื่อสร้างบังกะโล ขยายพื้นที่การท่องเที่ยวเข้าไป สมควรที่กรมป่าไม้จะต้องดำเนินการป้องกัน โดยผนวกพื้นที่ดังกล่าวเข้าเป็นเขตอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี หรือที่อื่นๆ ตามแต่กรมป่าไม้จะเห็นสมควร และในเรื่องนี้ นายชวน หลีกภัย ผู้แทนราษฎรจังหวัดตรังและประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้มีหนังสือด่วนมากที่ 190/2530 ลงวันที่ 2 กันยายน 2530 ร้องเรียนให้กรมป่าไม้ให้ความสนใจและจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปทำการสำรวจสภาวะของเกาะทั้งสองเป็นการด่วน เพื่อพิจารณาหาแนวทางที่เหมาะสมในการอนุรักษ์

กรมป่าไม้ โดยกองอุทยานแห่งชาติจึงได้มีคำสั่งที่ 1733/2530 ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2530 ให้ นายมาโนช วงษ์สุรีย์รัตน์ นักวิชาการป่าไม้ 5 ปฏิบัติงานทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ไปดำเนินการสำรวจเบื้องต้นบริเวณเกาะรอกใน เกาะรอกนอก เกาะไหง และเกาะใกล้เคียงในท้องที่จังหวัดกระบี่และจังหวัดตรัง ซึ่งคณะสำรวจโดยนายมาโนช วงษ์สุรีย์รัตน์ นางสาวรัตนา ลักขณาวรกุล นางสาววสา สุทธิพิบูลย์ กองอุทยานแห่งชาติ และคณะเจ้าหน้าที่ ได้ทำการสำรวจระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน 2531 ได้ผลสรุปว่า บริเวณดังกล่าวมีสภาพธรรมชาติที่สมบูรณ์สวยงามควรอนุรักษ์ไว้ ซึ่งได้มีรายงานผลการสำรวจตามหนังสือที่ กษ 0713 (อท)/พิเศษ ลงวันที่ 22 กรกฎาคม 2531 และในระหว่างนั้นกรมป่าไม้ได้มีคำสั่งที่ 1736/2531 ลงวันที่ 16 พฤษภาคม 2531 ให้ นายวิทยา หงษ์เวียงจันทร์ นักวิชาการป่าไม้ 4 กองอุทยานแห่งชาติ ไปทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเกาะรอก-เกาะไหง และให้ดำเนินการสำรวจจัดตั้งพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ และที่ประชุมหัวหน้าฝ่ายกองอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2531 โดย นายธำมรงค์ ประกอบบุญ ผู้อำนวยการกองอุทยานแห่งชาติ เป็นประธานในที่ประชุม ได้พิจารณาผลการสำรวจเบื้องต้นบริเวณเกาะรอก-เกาะไหง และบริเวณใกล้เคียง มีมติเห็นสมควรจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งใหม่

กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือด่วนที่สุดที่ กษ 0713/1191 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2531 ขอความเห็นชอบกรมป่าไม้ ให้อุทยานแห่งชาติดำเนินการก่อสร้างที่ทำการและบ้านพักบริเวณแหลมโตนด อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและป่าไม้ต่อไป และได้มีหนังสือที่ กษ 0713/202 ลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2532 เสนอกรมป่าไม้ขอความเห็นชอบนำเรื่องการจัดตั้งอุทยานแห่งนี้เข้าที่ประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติพิจารณาต่อไป ซึ่งคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2532 และได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินเกาะไม้งามใต้ เกาะตะละเบ็ง เกาะลันตาใหญ่ เกาะไหง เกาะตุกนลิมา เกาะรอกนอก เกาะรอกใน เกาะหินแดง และเกาะใกล้เคียง ในท้องที่ตำบลเกาะกลาง ตำบลเกาะลันตาน้อย และตำบลเกาะลันตาใหญ่ อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ เนื้อที่ 134 ตารางกิโลเมตร เป็นอุทยานแห่งชาติ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 107 ตอนที่ 146 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2533 นับเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งที่ 62 ของประเทศไทย

อุทยานแห่งชาติเกาะรอก-เกาะไหงได้มีหนังสือที่ กษ 0713(กร)/8 ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2532 ว่า พื้นที่ของอุทยานแห่งชาติประกอบด้วยเกาะลันตาใหญ่ เกาะรอก เกาะไหง และเกาะอื่นๆ จำนวนมาก โดยมีเกาะลันตาเป็นเกาะใหญ่ เป็นที่ตั้งที่ทำการสถานที่ราชการ และเป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป จึงขอเปลี่ยนชื่อเป็น อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา กองอุทยานแห่งชาติจึงได้มีหนังสือที่ กษ 0713/205 ลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2532 เสนอกรมปาไม้ ซึ่งเห็นชอบให้เปลี่ยนชื่ออุทยานแห่งชาติเกาะรอก-เกาะไหง เป็น “อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา”

ลักษณะภูมิประเทศ
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตาตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ประกอบด้วยเกาะ 25 เกาะ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเกาะรอก ประกอบด้วย เกาะรอกนอก และเกาะรอกใน ซึ่งเกาะรอกในมีภูมิประเทศทั่วไปเป็นหินผาสูงชันมีโขดหินที่ถูกกัดกร่อนมาเป็นเวลานานอยู่ทางทิศเหนือ ด้านที่หันสู่ทิศตะวันตกเป็นหน้าผาทอดยาว ด้านหน้าของเกาะมีความยาวประมาณ 2.4 กิโลเมตร ยอดเขาที่สูงที่สุด สูง 208 เมตรจากระดับน้ำทะเล ส่วนเกาะรอกนอกเป็นเกาะที่มีขนาดใกล้เคียงกับเกาะรอกใน ยอดเขาที่สูงที่สุด สูง 156 เมตรจากระดับน้ำทะเล บริเวณระหว่างช่องเขาจะมีที่ราบขนาดกว้างอยู่ 2 แห่ง คือ ช่องเขาหาดทะลุ และอ่าวม่านไทร สภาพธรณีของกลุ่มเกาะรอกอยู่ในยุคเพอร์เมียน-คาร์บอนิเฟอรัส มีช่วงอายุตั้งแต่ 345-230 ล้านปีมาแล้ว

กลุ่มเกาะห้า (เกาะตุกนลิมา) และเกาะหินแดง กลุ่มเกาะห้าประกอบด้วยเกาะเล็กๆ 5 เกาะ มีที่ราบเล็กน้อยบนยอดเขาของเกาะที่มีพื้นที่มาก 2 เกาะ และอีก 3 เกาะที่เหลือมีลักษณะเหมือนหินโผล่พื้นน้ำ ไม่มีพื้นที่ราบ ลักษณะทางธรณีของกลุ่มเกาะนี้ เป็นหินปูนในหินชุดราชบุรีในยุคเพอร์เมียนช่วงล่าง-ช่วงกลาง มีช่วงอายุ 280-230 ล้านปี

กลุ่มเกาะไหง ประกอบด้วย เกาะไหง และเกาะม้า ด้านหน้าเกาะทางทิศตะวันออกของเกาะไหงประกอบด้วยหาดทรายยาวเหยียด ทิศใต้ลักษณะเป็นอ่าว ด้านตะวันตกตอนเหนือมีลักษณะเป็นเขาสูงชัน ยอดเขาสูงที่สุด สูง 198 เมตรจากระดับน้ำทะเล สำหรับเกาะม้ามีลักษณะเหมือนหินโผล่พื้นน้ำ ไม่มีพื้นที่ราบ สภาพทางธรณีของกลุ่มเกาะนี้โดยรวมมีลักษณะเช่นเดียวกับกลุ่มเกาะรอก

กลุ่มเกาะลันตา ประกอบด้วยเกาะใหญ่น้อยจำนวน 16 เกาะ ได้แก่ เกาะลันตาใหญ่ เกาะตะละเบ็ง เกาะไม้งาม เป็นต้น ลักษณะภูมิประเทศของเกาะลันตาใหญ่เป็นภูเขาสลับซับซ้อน และค่อนข้างลาดชัน ที่ราบปรากฏเฉพาะบริเวณชายหาดทางตอนใต้ พื้นที่ส่วนใหญ่มีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ ไปจนถึงบริเวณตอนกลางของเกาะที่มีความลาดชันมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 100 เมตร ไปจนถึงยอดเขาสูงที่สุดตอนกลางของพื้นที่ที่มีความสูง 488 เมตร สำหรับเกาะอื่นๆ มีสภาพเป็นโขดหินสูงชัน ไม่มีที่ราบปรากฏ ลักษณะธรณีของบริเวณเกาะไม้งาม เกาะไม้งามใต้ มีลักษณะเป็นตะกอนน้ำพา ตะกอนชะวากทะเล และตะกอนที่ลุ่มที่ราบชายเลน ในสมัยโฮโลซีน

สำหรับบริเวณเกาะร่าปูพัง เกาะลาปูเล และเกาะตะละเบ็ง มีลักษณะธรณีโดยรวมเช่นเดียวกับกลุ่มเกาะห้า และลักษณะธรณีของบริเวณเกาะลันตาใหญ่ก็เช่นเดียวกับกลุ่มเกาะรอก บนเกาะลันตาใหญ่มีลำธารน้ำไหลซึ่งมีน้ำไหลอยู่หลายแห่ง แต่มักขาดน้ำในช่วงฤดูแล้ง โดยมีลำธารเพียง 3 สาย ที่มีน้ำไหลอยู่ตลอดปี ได้แก่ คลองจาก คลองน้ำจืด และคลองนิน

ลักษณะภูมิอากาศ
จากสถานศึกษาข้อมูลสภาพภูมิอากาศ ของสถานีตรวจวัดอากาศที่อยู่ใกล้เขตอุทยานแห่งชาติ คือ สถานีตรวจวัดอากาศเกาะลันตา อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ พบว่า อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 28 องศาเซลเซียส โดยจะมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 34 องศาเซลเซียส ในเดือนมีนาคม และอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด 24 องศาเซลเซียส ในเดือนธันวาคม ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดปีมากกว่า 2,100 มิลลิเมตร

พืชพรรณและสัตว์ป่า
ทรัพยากรป่าไม้มีความอุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายของพรรณพืชมาก ซึ่งสามารถจำแนกออกได้ดังนี้
ป่าดิบชื้น คิดเป็นเนื้อที่ 19.42 ตารางกิโลเมตร ปรากฏอยู่บริเวณเกาะลันตาใหญ่ ตลอดแนวเทือกเขาลันตา ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งหมดของอาณาเขตของอุทยานแห่งชาติ ป่าดิบชื้นที่พบมีไม้ชั้นบน และไม้ชั้นกลางความสูงโดยเฉลี่ย 15-25 เมตร พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ เคี่ยมคะนอง ยางแดง ตะแบกนา ตะเคียนหิน เป็นต้น และมีพันธุ์ไม้จำพวกปาล์มและหวาย เป็นไม้พื้นล่างของป่า พันธุ์สำคัญที่พบ ได้แก่ กะพ้อ หวายขม หวายตะค้าทอง หวายงวย เป็นต้น

ป่าชายเลน พบบริเวณ เกาะไม้งาม เกาะไม้งามใต้ และเกาะงู เกาะเหล่านี้เป็นเกาะที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก และมีสภาพเป็นป่าชายเลนทั้งเกาะ ไม้ส่วนใหญ่มีระดับความสูงที่ใกล้เคียงกันโดยมีความสูง 5 เมตร โดยเฉลี่ยพันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ แสมขาว โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่

ป่าชายหาด พบเป็นบริเวณไม่กว้างนัก ระหว่างรอยต่อของชายหาดกับป่าดิบชื้นของเกาะไหง พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ หูกวาง หยีทะเล ผักบุ้งทะเล และเตยทะเล เป็นต้น

สัตว์ป่า แบ่งออกได้เป็น 6 ประเภทใหญ่ๆ คือ
จำพวกสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม มีจำนวน 20 วงศ์ 30 สกุล 38 ชนิดในจำนวนสัตว์ทั้ง 38 ชนิดนั้น มี 2 ชนิดได้หมดไปจากเกาะลันตาแล้ว คือ กวางป่า และเสือโคร่ง ส่วนอีกชนิดหนึ่งคือ พะยูน ซึ่งเป็นสัตว์ป่าสงวน และอีก 2 ชนิดอยู่ในสถานะที่กำลังจะหมดไป คือ เก้ง และเสือปลา และสัตว์ที่หายากอีกชนิดหนึ่งคือ ค้างคาวมงกุฎหูโตมาร์แชล

นก มีทั้งสิ้น 58 วงศ์ 130 สกุล 185 ชนิด นกที่พบบ่อยอยู่ในอุทยานแห่งชาติ เช่น เหยี่ยวแดง นกนางนวลแกลบคิ้วขาว นกเขาเขียว เป็นต้น ส่วนนกที่พบเห็นได้ค่อนข้างยาก เช่น นกขุนแผนอกสีส้ม นกเดินดงสีเทาดำ และนกปลีกล้วยเล็ก เป็นต้น

สัตว์เลื้อยคลาน ชนิดที่พบได้ง่าย เช่น จิ้งจกหางแบน เหี้ย งูเหลือม และงูเห่าตะลาน เป็นต้น

สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก มีอยู่เพียง 2 ชนิด ชนิดที่พบเห็นได้ตามลำคลองทั่วไปคือ กบทูด และอึ่งน้ำเต้า ส่วนตามอาคารที่พักและตามแหล่งน้ำทั่วๆ ไปในป่าจะพบสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก เช่น เขียดตะปาด และคางคกแคระ ชนิดที่หายากและพบได้น้อย คือ กบดอร์เรีย

ปลาน้ำจืดและปลาทะเล แหล่งน้ำจืดต่างๆ สามารถพบปลาน้ำจืด เช่น ปลาซิวใบไผ่เล็ก ปลาช่อนก้าง ปลาตะเพียนจุด เป็นต้น สำหรับปลาทะเลที่พบตามแนวปะการัง ชายฝั่งหาดหิน และปากคลองน้ำจืด เช่น ปลาโทง ปลาปากคม และปลาปักเป้าหนามทุเรียน เป็นต้น

สัตว์ในแนวปะการังปะการัง เช่น ปะการังลูกโป่ง ปะการังเขากวางขนาดใหญ่ ปะการังเห็ด ปะการังดอกไม้ ปะการังดาวใหญ่ เป็นต้น

เกาะรอกนอกและเกาะรอกใน
เกาะรอกนอกและเกาะรอกใน เป็นเกาะที่อยู่ใกล้เคียงกัน สามารถนั่งเรือข้ามไปมาระหว่างทั้ง 2 เกาะนี้ได้สะดวก บริเวณเกาะรอกนอก เป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ มีบ้านพัก สถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยวที่ต้องการพักแรมบนเกาะ นอกจากนี้ ยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เช่น ร้านอาหารสวัสดิการ ห้องน้ำ-ห้องสุขา เส้นทางศึกษาธรรมชาติด้วย

การเดินทางไปเกาะรอกนอกและเกาะรอกใน สามารถเดินทางโดยเรือที่ท่าเรือศาลาด่าน บนเกาะลันตาใหญ่ จังหวัดกระบี่ หรือท่าเรือหาดปากเมง จังหวัดตรัง มีเรือเมล์ไปเกาะไหงทุกวัน เรือออกเวลา 09.00-10.00 น. ใช้เวลาประมาณชั่วโมงเศษก็ถึงเกาะไหง จากเกาะไหงสามารถเช่าเรือไปเที่ยวเกาะรอกนอกและเกาะรอกใน หรือเกาะต่างๆ ที่อยู่ใกล้กัน

แหลมธง
อยู่ทางด้านทิศเหนือหรือหัวเกาะรอกใน ด้านที่เป็นโขดหน้าผามองคล้ายเป็นเกาะเล็กๆ หากยืนมองที่หาดด้านตรงข้ามจะเห็นพระอาทิตย์ตกระหว่างช่องนั้น

จุดชมทิวทัศน์เกาะรอกนอก
จากหาดทะลุ ที่มีหาดทรายขาวละเอียด สามารถเดินทะลุผ่านไปอีกด้านหนึ่งของเกาะรอกนอก จะพบอ่าวโค้งคล้ายเกือกม้า สองด้านของอ่าวเป็นหน้าผาหินสูงชัน ชายหาดด้านนี้เป็นหาดหิน และน้ำลึก ไม่เหมาะสำหรับการเล่นน้ำ ตามเส้นทางเดินจะพบป้ายบอกทางไปยังจุดชมทิวทัศน์ ณ จุดชมทิวทัศน์นี้ สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของเกาะรอกนอกและเกาะรอกใน ยามเย็นสามารถชมพระอาทิตย์ตกได้ การเดินเท้าขึ้นไปยังจุดชมทิวทัศน์ค่อนข้างชันพอสมควร นักท่องเที่ยวควรเดินด้วยความระมัดระวัง และไม่ควรยืนชิดขอบหน้าผาจนเกินไป เพราะอาจเกิดอันตรายได้

อ่าวม่านไทร
มีสภาพป่าผสมกันระหว่างป่าชายเลน ป่าชายหาด และป่าดงดิบ หากเดินลึกเข้าไปในป่าจะพบต้นไทรขนาดใหญ่ที่ปล่อยรากย้อยลงมาประดุจม่าน ที่มีความกว้างประมาณ 5-6 เมตร บริเวณชายหาด น้ำค่อนข้างตื้น เหมาะสำหรับการเล่นน้ำและดำน้ำดูปะการัง

อ่าวศาลเจ้า
มีหาดทราย บริเวณนี้มีน้ำซับซึมออกมาในช่วงฤดูแล้ง เป็นแหล่งน้ำที่สามารถใช้ได้ตลอดปี มีศาลของชาวประมงที่สร้างขึ้นไว้สักการบูชา

เกาะหินห้าลูก
เกาะหินห้าลูก หรือเกาะห้า หรือเกาะตุกนลิมา เป็นกลุ่มเกาะ 5 เกาะ เกาะห้าใหญ่จะมีลักษณะของทุ่งหญ้าอยู่บนสันเกาะ มีเกาะรูปคล้ายใบเรือ เป็นเกาะที่มีน้ำลอดได้เมื่อขึ้นอยู่บนสันเกาะจะมีมุมทิวทัศน์ที่สวยงาม ในบริเวณดังกล่าวมีปะการังน้ำตื้น

เกาะไหง
มีชายหาดที่ยาวและเงียบสงบ เป็นแหล่งดูปะการังน้ำตื้นที่สมบูรณ์ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 18 กิโลเมตร

เกาะตะละเบ็ง
เป็นเกาะที่มีรูปลักษณะเป็นหินปูน มีชายหาดเล็กๆ เมื่อน้ำทะเลขึ้นจะท่วมบริเวณชายหาด มีลักษณะของโพรงถ้ำอยู่ริมน้ำ เป็นที่อาศัยของนกนางแอ่น

แหลมโตนด เกาะลันตาใหญ่
มีหาดทรายสวยงามอยู่ทางด้านหลังเกาะ และเกาะเล็กเกาะน้อยอยู่ใกล้เคียง เป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา ที่อยู่ปลายสุดของเกาะลันตาใหญ่ มีลักษณะเป็นที่ราบรูปสามเหลี่ยมปลายด้านหนึ่งยื่นออกไปในทะเล มีต้นตาลสูงเด่น อีกด้านหนึ่งเป็นเขาสูงชันที่ปกคลุมด้วยป่าดงดิบ

บริเวณแหลมโตนดนี้ มีบ้านพัก สถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยวที่ต้องการพักแรมบนเกาะ นอกจากนี้ ยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เช่น ร้านอาหารสวัสดิการ ห้องน้ำ-ห้องสุขา เส้นทางศึกษาธรรมชาติด้วย

กองหินม่วงและกองหินแดง
เป็นกองหินใต้น้ำอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะรอกนอกและเกาะรอกใน เป็นจุดดำน้ำลึกที่มีปะการังอ่อนสวยงามมากรวมทั้งสัตว์ทะเลนานาชนิด

สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา
59 หมู่ที่ 5 บ้านแหลมโตนด ต.เกาะลันตาใหญ่ อ. เกาะลันตา จ. กระบี่ 81150
โทรศัพท์ 0 7562 9018-9 อีเมล reserve@dnp.go.th

การเดินทาง
รถยนต์
จากกรุงเทพฯ เดินทางไปจังหวัดกระบี่ ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 4206 ไปจนถึงบ้านหัวหิน เพื่อข้ามแพขนขยนต์ไปเกาะลันตาใหญ่ 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 ระหว่างบ้านหัวหิน (บนฝั่ง) ไปเกาะลันตาน้อย และช่วงที่ 2 ระหว่างเกาะลันตาน้อย ไปเกาะลันตาใหญ่ จากนั้นขับรถต่อไปยังแหลมโตนด ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา

รถโดยสารประจำทาง
1.จากจังหวัดกระบี่ สามารถเดินทางไปอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตาได้ดังนี้
- โดยสารรถสองแถวหรือมอเตอร์ไซต์รับจ้าง ไปท่าเรือเจ้าฟ้า (บนฝั่ง) ซึ่งอยู่ภายในตัวจังหวัดกระบี่ เพื่อโดยสารเรือต่อไปยังท่าเรือศาลาด่าน (บนเกาะลันตาใหญ่) จากนั้นโดยสารรถไปยังแหลมโตนด ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา หรือโดยสารเรือไปยังเกาะรอกหรือเกาะอื่นๆ ตามต้องการ
- โดยสารรถตู้จากตัวเมืองกระบี่ ไปท่าเรือบ้านบ่อม่วง (บนฝั่ง) เพื่อโดยสารเรือไปท่าเรือศาลาด่าน (บนเกาะลันตาใหญ่) จากนั้นโดยสารรถไปยังแหลมโตนด ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา หรือโดยสารเรือไปยังเกาะรอกหรือเกาะอื่นๆ ตามต้องการ
2. จากจังหวัดตรังหรืออำเภอห้วยยอด โดยสารรถไปยังท่าเรือบ้านปากเม็ง อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง แล้วจ้างเหมา/เช่าเรือ หรือโดยสารเรือไปยังเกาะไหง เกาะรอก หรือเกาะลันตาใหญ่ ก็ได้เช่นกัน

ที่พักแรม/บ้านพัก
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา มีบ้านพักสำหรับบริการนักท่องเที่ยว 3 แห่ง คือ
1. บริเวณแหลมโตนด ซึ่งที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
2. บริเวณเกาะรอกนอก ซึ่งเป็นที่ตั้งหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ
3. บริเวณเกาะไหง ซึ่งเป็นที่ตั้งหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ

สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา ให้บริการสถานที่กางเต็นท์ มีห้องน้ำห้องสุขารวม และมีบริการเช่าเต็นท์ 2 แห่ง
1. บริเวณแหลมโตนด ซึ่งที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
2. บริเวณเกาะรอกนอก ซึ่งเป็นที่ตั้งหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ

ที่จอดรถ
มีที่จอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ (แหลมโตนด)

บริการอาหาร
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา ให้บริการร้านอาหารสวัสดิการ 2 แห่ง
1. บริเวณแหลมโตนด ซึ่งที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
2. บริเวณเกาะรอกนอก ซึ่งเป็นที่ตั้งหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ

 


 
รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา
Mu Ko Lanta National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา
Mu Ko Lanta National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา
Mu Ko Lanta National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา
Mu Ko Lanta National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา
Mu Ko Lanta National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา
Mu Ko Lanta National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา
Mu Ko Lanta National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา
Mu Ko Lanta National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา
Mu Ko Lanta National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา
Mu Ko Lanta National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา
Mu Ko Lanta National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา
Mu Ko Lanta National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา
Mu Ko Lanta National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา
Mu Ko Lanta National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา
Mu Ko Lanta National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา
Mu Ko Lanta National Park
 

โรงแรม ที่พัก รีสอร์ท ในจังหวัดกระบี่ เกาะพีพี ที่พักอ่าวนาง เกาะลันตา

 
กระบี่/Information of KRABI

 

Mu Ko Lanta National Park

General Information
Establised in 1990, according to the order of Mr. Chaun Leekpai, Prime Minister and Wild Animal and Plant Foundation of Thailand. It includes Ko Rok, Ko Mai Ngam Tai, Ko Ta La Beng, Ko Lanta Yai, Ko Ngai, Ko Tu Kon Lima, Ko Rok Nok, Ko Rok Nai, Ko Hin Dang and nearby islands of Ko Klang district, Ko Lanta Noi district and Ko Lanta Yai sub district, Amphoe Ko Lanta, Krabi province. It is the 62th national park of Thailand which covers area of 134 square kilometers or 83,750 rais.

Over all geographical feature is the complexity of mountains and rather deep slope. The plain area would be found only in a beach area in the southern part. Most of area here is more than 35 percent slope, except only the middle part of island where a slope is more than 50 percent. The height of this are is range from 100 meters above sea level to a heigth of 488 meters at the peak of mountain.

Climate
Most rainfall is in September which is about 391.4 milimeters and the lowest in January which is about 6.5 milimeters. Number of days of the highest raining is in September which is about 21.6 days and the lowest is in February, about 1.6 days.

Flora and Fauna
There are a lot of fertile forest resources and varieties of vetgetation which could be classified as follows :
Rainforest covers 19.42 square meters of Lanta Yai island, along the Lanta mountain which covers most of area of the national park. Upper level trees and middle level trees at average height about 15-25 meters are found in this forest. The important plants are L. siamica, Hopea ferrea Heim.,etc. And also the palm tree and cane wood species are the low level trees here, the important species are Fan palm, Calamus erectus Roxb., Calamus caesius Bl., Calamus peregrinus Furt.,etc.

Mangrove Forest could be found in Mai Ngam island, South Mai Ngam island and Ngu island. These islands are not big and most of area is covered with the mangrove forest. Mangrove trees are tall at the same height with averange about 5 meters. Plants could be found here are Avicennia alba, Rhizophora apiculata, Rhizophora mucronata

Beach Forest covers the small area between connecting area of beach and rainforest of Ngai island. The important plants are Bengal Almond, Derris indica, beach moring glory, etc.

Wild Animals
Able to classified into 6 groups as shown below.
Mammal Animals consists of 20 families 30 genuses and 38 species which 2 species had gone from Lanta island. They are wild deers and tigers, and the other species is the sea cow which is the conserved animal. The other two species that being gone are the common barking deer and fishing cat. The rarely finding animal on this island is the the marshall big ear crow bat .

Birds on these islands are totally 58 families, 130 genuses and 185 species. Most easy find in this national park are Brahminy Kite, Birdled Tern, Emerald Dove , etc while the most difficult find are Orange-Breasted Trogon, Siberian Thrush, and Little Spiderhunter, etc.

Reptiles, mostly are Water Monitor, Reticulated Python and Cobra , etc.

Amphibians could be found two species, the first one living in canal is Giant Mountain Frog, Ornate Froglet and the second one living in building and ponds. Others amphibians in forest are Polypedates leucomystax (Gravenhorst)-1829 and Small Toads and the difficult find species is the Dorria frog.

Sea and Fresh Water Fishes which could be found in fresh water ponds of the islands, fresh water fishes that you can find here such as Blue danio. While the sea fishes would be found along the coral reef, rock beach and fresh water canals such as Lizard fish and Porcupine fish, etc.

Animals in the Coral Reef are Staghorn coral, Fungia fungites, Anemone coral, Starflower coral, etc.

The Beautiful of Nature
Ko Rok Nok & Ko Rok Nai
Including Ko Rok Nok and Ko Rok Nai. The colorful beachs are located on the eastern part of Ko Rok Nai and the south-eastern of Ko Rok Nok. Coral is the most tourist attraction here.

Laem Thong
Located in the northern part of Ko Rok Nai. Cliff side looks like a group of small islands. If you look at the opposite beach, you can see the sunset between them.

Ko Rok Nok View Point
Located ih the back side of Ko Rok Nok. Here, it has white sand beach which you can walk to the other side of the island which shaped like a horse shoe. Two side of this gulf is the height black cliff.

Ao Man Sai
This is the other part of beach of Koh Rok Nok which has a long beach with a mixed species of beach forest, mud-beach forest and monsoon forest. The sea in this area is very shallow. If you walk into this forest, you will find a big tree so called "Ton Sai" (Ficus sp.) which has a lot of roots droped from its branchs, let it looks like a big curtain with 5-6 meters width.

Ao San Chao
This beach located next ot the Ko Rok Nai. In this area, there is the under ground water which drain onto the ground in the summer season which become the reservoir for all year round usage.

Ko Hin Ha Luk
Ko Hin Ha Luk or Ko Ha or Ko Tuk Narima, It is the group ot five islands, the big one has a field on the top. One of them looks like a sail-boat and has a big tunnel which a sea water can pass through. On the top of this island, you can see a beautiful view. This area has a shallow coral.

Ko Ngai
There is a long and quiet beach which suitable for seeing a shallow coral. It's far away from the national park office about 18 kilometers.

Ko Ta La Beng
This limestone island consists of a small beach which would be flood with sea water whenever it has a high tide. It has a cave near a sea side which is a habitat of swallow birds.

Laem Tanod Ko Lanta Yai
It has a beautiful beach at the back side of main island and a group of small islands. The headquaters of national park of Ko Lanta is located here. The end of Ko Lanta Yai is looked like the triangular shape which one tip protudes into the sea and has prominent sugar palms on it while the other side is a height cliff covered with the monsoon forest.

Contact Address
Mu Ko Lanta National Park
59, Mu 5, Ban Laem Tanot, Ko Lanta Yai Sub-district, Amphur Ko Lanta Krabi Thailand 81150
Tel. 0 7562 9018-9 E-mail reserve@dnp.go.th

How to go?
Tourists can journey to Krabi province, 860 kilometers from Bangkok by bus. Normal bus fare is about 270 baht., while the air contiioning bus costs about 486 baht.


 

 

 

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

กระบี่ แผนที่จังหวัดกระบี่ หมู่เกาะพีพี เกาะพีพี แผนที่เกาะพีพี PP เกาะลันตา ที่พักบนเกาะพีพี
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอคลองท่อม
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอลันตา


เกาะไหง

Ngai Island
(กระบี่)
 
แหล่งท่องเที่ยวอำเภออ่าวลึก



ถ้ำผีหัวโตหรือถ้ำหัวกะโหลก

Hua Kalok Cave
(กระบี่)



ถ้ำพระ

Phra Cave
(กระบี่)
 
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเขาพนม
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเมือง


เกาะยูง
Ko Yung
(กระบี่)


เกาะไผ่
Ko Phai
(กระบี่)


สระแก้ว

Sa Kaeo
(กระบี่)
แผนที่จังหวัดกระบี่/map of KRABI
โรงแรมจังหวัดกระบี่/Hotel of KRABI

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์