ปล่องเหลี่ยม
ที่ตั้ง หมู่ที่ 10 บ้าน ปล่องเหลี่ยม ตำบล ท่าไม้ อำเภอ กระทุ่มแบน จังหวัด
สมุทรสาคร เส้นทางเข้าสู่แหล่ง ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 3091 (สมุทรสาคร-กระทุ่มแบน)
แล้วเลี้ยวซ้ายใช้
เส้นทางหลวงหมายเลข 4 ไปประมาณ 5 กม. เลี้ยวซ้ายเข้าถนนทางเข้าวัดเทียนดัด
ตรงไปประมาณ 3 กม.ปล่องเหลี่ยมจะตั้งอยู่สุดถนนติดกับโรงเรียน
ประวัติ ปล่องเหลี่ยมเดิมเป็นปล่องไฟโรงงานน้ำตาล ในสมัยนั้นเรียกกันว่า " โรง***บนครชัยศรี
" ( Nakon-Chei-See Factory ) ของ บริษัทน้ำตาลอินโดจีน ( IndoChinese Sugar
Company Limited ) ประเทศอังกฤษ สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2413
สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ซึ่งมี นายจอห์น คอสเตเกอร์
( Jonn Costeker ) เป็นผู้จัดการทั่วไป นาย จี.เอฟ.ฮิกส์ เป็นผู้จัดการโรงงาน
โรงงานน้ำตาลอินโดจีนแห่งนี้นับว่าเป็นโรงงานเครื่องจักรไอน้ำขนาดใหญ่แห่งแรกในสยาม
ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2413 มีการส่งเครื่องจักรจากอังกฤษเข้ามาใช้ในโรงงาน
ซึ่งเป็นข่าวใหญ่ของกรุงเทพฯ ในสมัยนั้น หมอบรัดเล
บันทึกไว้ในจดหมายเหตุบางกอกกาเลนดาร์ ( Bangkok Calendar ) ว่า 30 พฤศจิกายน
เรือกลไฟ " ยูนา " ( Una ) ของอังกฤษ เข้ามาพร้อมกับเครื่องจักร
ของโรงงานน้ำตาลอินโดจีน 14 ธันวาคม เริ่มติดตั้งเครื่องจักรของโรงน้ำตาลอินโดจีน
มีการเฉลิมฉลองกันตาม สมควร
โรงงานน้ำตาลอินโดจีนเป็นโรงงานอุตสาหกรรมที่ทันสมัย มีวิศวกรโรงงาน 6 คน ผู้ช่วย
วิศวกร 4 คน เจ้าหน้าที่แผนกขนส่ง 1 คน และเจ้าหน้าที่ประจำรถไถเครื่องจักรไอน้ำ (Steam
Ploughs) 1 คน นอกจากนี้ยังมีคนงานจีนอีกจำนวนกว่า 3,000 คน ซึ่งมากกว่าโรง***บเล็กๆ
แบบชาวบ้านแต่เดิมหลายสิบเท่า จึงทำให้ได้รับความสนใจจากพระมหากษัตริย์
พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการชั้น ผู้ใหญ่เสด็จและเดินทางมาเยี่ยมชมโรงงาน
จดหมายเหตุสยามรีโปสิตารี (Siam Repository) ของหมอ สมิท บันทึกไว้ว่าทั้ง
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ (วังหน้า) และ
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ( ช่วง บุนนาค )
ล้วนแล้วแต่ได้เคยเสด็จมาเยี่ยมชมโรงงาน แห่งนี้
ปัจจัยหลักที่ทำให้มีการก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตน้ำตาลขึ้นในบริเวณลุ่มน้ำท่าจีนนี้
สืบเนื่องจากภายหลังจากการทำสนธิสัญญาเบอร์นีกับอังกฤษในสมัยรัชกาลที่ 3
น้ำตาลได้กลายมาเป็นสินค้าออกที่สำคัญ
พื้นที่ในแถบลุ่มแม่น้ำนครชัยศรีซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์จึงเป็น
พื้นที่เกษตรกรรมแหล่งเพาะปลูกอ้อยขนาดใหญ่ ดังนั้นจึงมีโรงงาน***บอ้อยทำน้ำตาลจำนวนมากมาตั้งดำเนินกิจการอยู่
ปัจจุบันยังคงมีชื่อหมู่บ้าน และชื่อคลองปรากฏอยู่เช่น "บ้านโรง***บ" "คลองบ้าน
อ้อมโรง***บ" เป็นต้น
ซึ่งโรงงานเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ตั้งอยู่ในพื้นที่ริมแม่น้ำท่าจีนหรือลำคลองขนาดใหญ่
ซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมหลักที่สำคัญในการขนส่งสินค้าอ้อยหรือน้ำตาล
ลักษณะการดำเนินกิจการของโรงงานน้ำตาลอินโดจีน
เริ่มต้นด้วยการทำสัญญาระหว่างตัวแทนของบริษัทกับรัฐบาลสยาม สัญญามีใจความว่า
รัฐบาลสยามอนุญาตให้บริษัทน้ำตาลอินโดจีนจัดตั้งโรงงานน้ำตาลทรายในบริเวณฝั่งขวาของแม่น้ำท่าจีน
ตำบลดอนกระดี อำเภอตลาดใหม่ เมืองนครชัยศรี ( ปัจจุบันคือ ตำบลท่าไม้
อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร )
บริษัทมีสิทธิจับจองที่ดินเพื่อปลูกอ้อยและตั้งโรงงานไม่น้อยกว่าสามพันไร่
โดยบริษัทจะซื้อที่ดินจากราษฎรที่ครอบครองอยู่ตามราคาที่สมควร
และเสียภาษีที่ดินตามราคาปกติ
การปลูกอ้อยนั้นบริษัทได้จัดการแบ่งที่ดินออกเป็นแปลงเพาะปลูกขนาดย่อยๆ 20 แปลง
แต่ละแปลงมีการตัดถนนผ่านเข้าไป
เพื่อประโยชน์ในการใช้เครื่องจักรทำงานในไร่อ้อยและการลำเลียงอ้อยจากแปลงปลูกมายังโรงงานโดยเกวียนเป็นพาหนะหลัก
ในระยะต่อมาความต้องการน้ำตาลจากประเทศสยามลดลง ข้าว
เป็นสินค้าที่สำคัญเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับน้ำตาลจากต่างประเทศมีคุณภาพดีกว่า
ชาวสยามจึงหันไปปลูกข้าวเพื่อการส่งออก แทน
ทำให้โรงงานน้ำตาลในแถบนี้ลดปริมาณการผลิตลงและล้มเลิกไปในที่สุด
เช่นเดียวกับโรงงานน้ำ ตาลอินโดจีนในราวปี พ.ศ.2418
หรือห้าปีหลังจากเริ่มดำเนินการก็ได้หยุดกิจการลงเช่นกัน
หลักฐานทางด้าน โบราณคดี
ปล่องไฟและฐานอาคารโรงงาน ลักษณะของปล่องไฟเป็นปล่องแปดเหลี่ยมก่ออิฐถือปูน
ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยม ขนาดความกว้างด้านละ 4 เมตร ความสูง 2 เมตร
ตัวปล่องความสูงประมาณ 30 เมตร สอบเข้าหากันเล็กน้อย
บริเวณพื้นที่ที่ติดกับแม่น้ำท่าจีนปรากฏซากฐานอาคารรูปสี่เหลี่ยมก่อ อิฐสอปูน
ปัจจุบันถูกน้ำเซาะตลิ่งพังทำให้ฐานอาคารดังกล่าวจมอยู่ในแม่น้ำท่าจีน
เนื่องจากบริเวณดัง กล่าวนั้นเป็นท้องคุ้ง นอกจากนี้ชาวบ้านยังบอกเล่าว่า
เคยพบเห็นปล่องไฟซึ่งเป็นโลหะทรงกลมจมอยู่ในแม่น้ำเช่นเดียวกัน
เดิมปล่องเหลี่ยมนี้ตั้งอยู่ห่างจากฝั่งแม่น้ำท่าจีนประมาณ 40 เมตร
ปัจจุบันระยะห่างระหว่างตัวปล่องไฟกับแม่น้ำเหลืออยู่เพียง 14 เมตร
|