ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > มรดกไทย > มรดกท่องเที่ยว > วัดระฆังโฆษิตารามฯ
 
วัดระฆังโฆษิตาราม
| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |

วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร

            วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ ๒๕๐ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เขตของวัดอยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับท่าช้างวังหลวง  ที่ดินของเอกชนทางด้านตะวันตก ทางเหนือติดกับถนนศาลาต้นจันทน์ และทิศใต้จรดคลองวัดระฆัง และกรมอู่ทหารเรือ ที่ตั้งของวัดมีเนื้อที่ ๒๘ ไร่ และมีที่ดินธรณีสงฆ์อีก ๓ ไร่ ให้เอกชนเช่าปลูกบ้านอยู่
            วัดระฆัง เดิมชื่อวัดบางหว้าใหญ่ เป็นวัดโบราณ สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี สร้างคู่กันกับวัดบางหว้าน้อย หรือวัดอมรินทรารามวรวิหาร ในปัจจุบันซึ่งวัดนี้ตั้งอยู่ติดกับสถานีรถไฟบางกอกน้อย
            สาเหตุที่เปลี่ยนชื่อวัดนั้น ตามหลักฐานในพระราชพงศาวดาร เล่าไว้ว่าในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้มีการขุดดินเพื่อประสงค์จะทำสระแล้วสร้างหอไตรปิฎก (สระนี้ยังปรากฏอยู่ในบริเวณหมู่กุฎิคณะ ๓ ในปัจจุบัน) ระหว่างที่ขุดดินอยู่นั้นได้พบระฆังลูกหนึ่ง เมื่อลองตีดูปรากฏว่ามีเสียงไพเราะยิ่งนัก ความทราบถึงรัชกาลที่ ๑ จึงทรงขอไปไว้ที่หอระฆังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้วในพระบรมมหาราชวัง และได้สร้างระฆังขึ้นใหม่ถึง ๕ ลูก และทรงสร้างหอระฆังให้ด้วย และพระราชทานนามวัดเสียใหม่ว่า "วัดระฆังโฆษิตาราม" และต่อมาในรัชสมัยพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้เปลี่ยนชื่อวัดระฆังเป็น "วัดราชคัณฑิยาราม" (คัณฑิ แปลว่า ระฆัง) แต่ไม่มีคนนิยมเรียก คงเรียกสืบต่อกันมาว่าวัดระฆัง
            ก่อนจะเข้าไปชมวัดระฆัง และนมัสการพระประธานในพระอุโบสถ ผมจะขอเล่าถึงการมาวัดระฆังของผมเสียก่อน ผมเคยไปไหว้สิริมงคลสถาน ๙ แห่ง ในวัดเดียวกัน ไหว้แล้วก็เอามาเขียนไว้ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เพราะคอลัมน์ของผมคือ เที่ยวไปกินไป การเดินทางไปกราบไหว้มงคลสถานผมถือว่าคือการไปเที่ยว แล้วผมก็เติมเรื่องกินของผมลงไป ยังโดนท่าน "ทิด" อายุเท่าไรไม่บอก แต่ลงท้ายว่า "๒๔๖๘" จึงเข้าใจว่าจะเป็น พ.ศ. เกิดของท่านทิดผู้นั้น ท่านบอกว่าเป็นแฟนหนังสือของผมมานาน ทำไมผมถึงได้เกิดไปเขียนตามเขาว่าต้องไปไหว้สิริมงคลสถาน ๙ แห่ง ในวันเดียวกัน ทำไมผมไม่สอนธรรมะแทน ผมก็เลยตอบไว้ในไทยรัฐนั่นแหละว่า ผมนับถือพระ ทำบุญมาตลอดชีวิต อ่านหนังสือธรรมะมามาก และมีหนังสือธรรมะคงจะหลายร้อยเล่ม มีพระบูชา พระเครื่องก็แยะ (แต่ดูไม่เป็นว่าแท้หรือปลอม) แต่จะให้ผมไปสอนธรรมะใครนั้นความสามารถผมไม่มีพอ และหากเขียนสอนธรรมะ ท่านบรรณาธิการทั้งหลายที่ให้ผมเขียนหนังสือ ลงหนังสือของท่านอยู่ในทุกวันนี้ ก็คงขอร้องให้ผมไปเขียนที่หนังสืออื่นแทน จึงขอเขียนตามแนวเดิม แต่เห็นว่าการไปไหว้สิริมงคลสถาน ๙ แห่งในวันเดียวกัน เหมือนไปเที่ยววัดและจะได้รสของพระธรรมกลับมาเอง ไม่มากก็น้อย แถมจะตื่นเต้นดีที่ต้องทำเวลาให้ทันภายในหนึ่งวันด้วย สิริมงคลสถาน ๙ แห่ง ที่จะไปไหว้ในวันเดียวกันเพื่อขอพรคือความเป็นมงคลตามนามของท่าน คือ พระแก้วมรกต ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง วัดพระเชติพน หรือวัดโพธิ์ ศาลเจ้าพ่อเสือ วัดระฆังฯ วัดสุทัศน์ฯ วัดบวรนิเวศ วัดชนะสงคราม และ พระบรมสารีริกธาตุบนยอดภูเขาทอง ซึ่งจะเป็นจุดสุดท้ายที่จะไปไหว้ จะได้พิสูจน์ด้วยว่า เรายังมีกำลังวังชาดีไหม ที่จะไปสู่จุดสุดท้ายคือยอดภูเขาทองด้วยการเดินขึ้นไปเอง ไม่มีใครเขารับจ้างเอาเราขึ้นคานหามอย่างไปขึ้นภูกระดึง ที่จังหวัดเลย ซึ่งผมทำสำเร็จ และได้ทั้งบุญและสนุกตื่นเต้นดี "ทำบุญวันเดียว ๙ วัด"
            คราวนี้ไปอ่านเจอในหนังสืออีกเล่ม เรื่องไหว้พระ ๙ วัด หรือสิริมงคลสถาน ๙ แห่ง ในวันเดียวกัน ได้เน้นถึงตอนไปไหว้พระประธาน ฯ ในพระอุโบสถวัดระฆัง บอกว่าไปวัดระฆัง ยิ่งข้ามน้ำไปยิ่งได้บุญแรง คือไปให้ยากลำบากเท่าใดบุญแรงเท่านั้น "เขาว่าอย่างนั้น" ผมเลยไปใหม่ ไปลงเรือที่ท่าข้างวังหลวง โดยเอารถไปขอทหารเรือจอดไว้ที่ท่าราชวรดิษ เป็นการข้ามน้ำไปไหว้พระ ได้เคล็ดตามหนังสือเลยทีเดียว เมื่อขึ้นที่ท่าน้ำวัดระฆังแล้วก็จะผ่านสองข้างทางเดินที่ขายรูป ขายพระเครื่อง ขายหนังสือพระ ขายสัตว์ที่จะปล่อยได้แก่ เต่า นก ปลาไหล ปลาหมอและหอยขม เป็นต้น ซึ่งที่นี่ราคามาตรฐาน มีป้ายบอกราคาไม่โก่งราคาเหมือนกับบางวัด ที่พอจอดรถบอกว่าฟรี แต่พอกลับมาขอให้ซื้อนกปล่อยเจอเข้าให้ กรงละเป็นร้อย ที่นี่มีแต่มาช่วยโบกรถหากเอารถไป แล้วแนะให้ซื้อถังสังฆทานที่ร้านของเขามีแค่นั้น ผมไหว้พระแล้วก็กลับออกมาปล่อยหอยขม และปล่อยปลาไหล (ไม่ได้ปล่อยเท่าอายุ เพราะกลัวเงินหมดกระเป๋า)
            จุดแรกที่ผมไปคือ พระอุโบสถ พระอุโบสถหลังนี้สร้างขึ้นในรัชสมัยรัชกาลที่ ๓ ซึ่งพระองค์ได้ชื่อว่าเป็น "เจ้าสัว" เมื่อก่อนขึ้นครองราชย์ ทั้งนี้เพราะท่านค้าขายเก่ง บรรทุกของลงสำเภาไปค้าเมืองจีน ขากลับมาเพื่อไม่ให้จีนว่าท่านทำเสียดุลย์การค้า ท่านก็ให้ซื้อตุ๊กตาจีน หรือหินแกะทำนองนี้ใส่เรือมาในอับเฉา ไม่ค่อยได้ซื้อสินกลับมา และหินเหล่านี้ก็ไปอยู่ตามวัดต่าง ๆ หรือตามหน้าบันของโบสถ์เป็นต้น
            พระอุโบสถ  สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๓ หลังคาลด ๓ ชั้น มีช่อฟ้าใบระกาหางหงส์ และคันทวยสลักเสลาอย่างงดงามยิ่ง มุกด้านหน้าหลัง ทำปีกนกคลุมมุขอยู่ ตอนใต้จั่วหรือหน้าบันจำหลักลายพระนารายณ์ทรงครุฑ เหนือประตูหน้าต่างรอบพระอุโบสถ ติดกระจังปูนปั้นปิดทองทำเป็นรูปซุ้ม มีลายรดน้ำปิดทอง มีรูประฆังเป็นเครื่องหมาย ด้านในเขียนภาพนายทวาร ฝาผนังในโบสถ์เขียนภาพจิตรกรรมที่ได้รับการยกย่องว่าฝีมืองามนัก ผนังด้านหน้าพระประธานเป็นภาพพระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากดาวดึงส์ และภาพเดียรถีย์ท้าแข่งรัศมีกับพระพุทธองค์ ด้านหลังเขียนภาพพระมาลัย ขณะขึ้นไปนมัสการพระจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และยังมีภาพอีกมาก ภาพต่าง ๆ เหล่านี้เขียนโดย พระวรรณวาดวิจิตร์ (ทอง  จารุวิจิตร์) จิตรกรเอกในสมัยรัชกาลที่ ๖ เมื่อราว พ.ศ. ๒๔๖๕ ซึ่งครั้งนั้นมีการซ่อมแซมพระอุโบสถ
            พระประธานประจำพระอุโบสถ  เป็นพระพุทธรูปเนื้อทองสัมฤทธิ์ ประทับนั่งสมาธิเพชร ประดิษฐานเหนือชุกชี หน้าตักกว้างประมาณ ๔ ศอกเศษ มีรูปพระสาวกอีก ๓ องค์ คือพระสารีบุตร พระอานนท์ และ พระโมคคัลลานะ นั่งประนมมือดุจรับพระพุทธโอวาท พระประธานองค์นี้ได้รับการยกย่องว่างดงามยิ่ง หากได้ไปกราบแล้วนั่งดู นั่งชมพระพักตร์ท่าน จะมีความสุขเหมือนนั่งในพระอุโบสถวัดพระพุทธชินราช จ.พิษณุโลก จะมีความรู้สึกอย่างเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เคยมีพระราชดำรัสว่า "ไปวัดไหนไม่เหมือนมาวัดระฆัง พอเข้าประตูโบสถ์ พระประธานยิ้มรับฟ้าทุกที" ด้วยเหตุนี้จึงถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคล "นพรัตน์ราชวราภรณ์และมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก"  แด่พระพุทธรูปองค์ประธานนี้เป็นพิเศษ
            พระวิหาร  คือพระอุโบสถหลังเก่าของวัด ประดิษฐานพระประธานองค์เดิมของโบสถ์หลังเก่า ซึ่งเมื่อสร้างพระอุโบสถหลังปัจจุบัน รัชกาลที่ ๓ ได้โปรดให้หล่อพระประธานองค์ใหม่ด้วย แต่ได้ย้ายพระเศวตฉัตร ๙ ชั้น ที่กั้นพระประธานองค์เดิมมาด้วย เพราะเป็นพระเศวตฉัตรที่รัชกาลที่ ๑ ได้มีพระราชดำรัสไว้เมื่อประชวรหนักว่า ภายหลังจากที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพแล้ว ให้นำพระเศวตฉัตรที่กั้นพระเมรุมาศของพระองค์ มากั้นถวายพระประธานวัดระฆัง (ในโบสถ์หลังเดิม) จึงต้องย้ามตามมาเมื่อสร้างโบสถ์ใหม่ และได้เปลี่ยนผ้าตาดขาวเป็นผ้าขาวลายฉลุ ปิดทองในสมัยรัชกาลที่ ๖ และในรัชกาลปัจจุบัน ได้เปลี่ยนอีกครั้ง (โดยปกติแล้วจะพบว่าฉัตรพระประธานในอุโบสถนั้นจะมี ๓ ชั้น และ ๕ ชั้นเท่านั้น เว้นวัดระฆังจะมี ๙ ชั้น กับวัดปรมัยยิกาวาส รัชกาลที่ ๕ พระราชทานไว้ ๗ ชั้น)
            พระวิหารสมเด็จพระสังฆราช (สี)  อยู่ด้านหน้าพระอุโบสถ หน้าบันจำหลักรูปฉัตร ๓ ชั้น ตามชั้นพระยศของสมเด็จพระสังฆราช เป็นองค์ปฐมสังฆราชของกรุงรัตนโกสินทร์
            พระวิหารสมเด็จ  เป็นพระวิหารทรงเดียวกับพระวิหารสมเด็จพระสังฆราช อยู่ตรงกันข้ามประดิษฐานรูปหล่อของสมเด็จพระราชาคณะที่มีชื่อเสียง ๓ รูป คือ -
            องค์กลาง  สมเด็จพุทธาจารย์ (โต พรหมรังสี) ซึ่งเป็นองค์ที่สร้างพระสมเด็จ ใครมีพระสมเด็จไว้ประจำตัวจะมีสิริมงคล ค้าขายร่ำรวย รับราชการก็จะเจริญก้าวหน้า ไม่มีการอดหยาก ศัตรูบังอาจปองร้ายก็จะแพ้ภัยตนเอง
            องค์ด้านตะวันออก  คือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ม.จ. ทัต  เสนีวงศ์)
            องค์ด้านตะวันตก  คือ  สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว. เจริญ  อิศรางกูร)
            ข้างพระวิหารสมเด็จนี้ มีพระประจำวัน และตะเกียงให้เติมน้ำมัน เวลาเติมควรทำบุญหยอดเงินเท่ากำลังของพระประจำวัน เช่น วันพฤหัส ฯ ก็หยอด ๑๙ บาท เป็นต้น ส่วนการเติมน้ำมันให้เทวนขวาเพียง ๓ รอบ คือบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และกล่าวคาถาขณะวนเทน้ำมันว่า พุทธัง เม นาโถ ........อย่าไปวนเท่ากำลังพระประจำวัน คนที่เขารอเขาจะทำปากขมุบขมิบเอา
            พระปรางค์  อยู่หน้าพระวิหารหรือพระอุโบสถหลังเก่า
            หอระฆัง  สร้างเป็นรูปจตุรมุข แขวนระฆัง ๕ ลูก ที่รัชกาลที่ ๑ สร้างพระราชทาน
            ศาลาการเปรียญ  เป็นศาลาก่ออิฐ ถือปูน มีหน้าบันเป็นลายปูนปั้นที่งดงาม
            พระเจดีย์ ๓ องค์  สร้างโดยเจ้านายวังหลัง ๓ องค์
            ตำหนักแดง  อยู่ด้านเหนือพระอุโบสถ เป็นเรือนไม้สัก เป็นตำหนักที่เชื่อกันว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงเจริญกรรมฐานที่ตำหนักแห่งนี้
            หอไตร เล็ก  อยู่หน้าตำหนักแดง
            หอไตร หลังใหญ่  หรือตึกตำหนักจันทน์ เป็นปูชนียสถานชิ้นเอก มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และสถาปัตยกรรม เดิมปลูกต้นจันทน์ไว้ ๘ ต้น จึงเรียกตำหนักจันทน์ ปัจจุบันเหลืออยู่ต้นเดียว
            ต้นโพธิ์ลังกา  หน้าวัดถัดจากตำหนักแดง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจัาอยู่หัว ทรงปลูกเอง
            ลำดับเจ้าอาวาส มี ๑๐ องค์ จนถึงปัจจุบัน สมเด็จโต เป็นองค์ที่ ๖
            การเดินทางไปวัดระฆัง หากไปทางเรือข้ามเรือที่ท่าช้างวังหลวง
            หากไปทางรถยนต์ ถ้าเริ่มจากสะพานพระปิ่นเกล้า เมื่อข้ามสะพานแล้วก็ตรงมาจนถึงสี่แยกก็เลี้ยวซ้าย ข้ามสะพานอรุณอัมรินทร์ ตรงมาถึงสี่แยกศิริราช ตรงต่อไปนิดเดียวจะมีตรอกทางซ้ายมือ ชื่อว่าตรอกวัดระฆัง เลี้ยวซ้ายเข้าตรอกแคบ ๆ นี้เข้าไป พอหาที่จอดรถได้ แม้จะเป็นวันหยุดก็ตามไม่เสียเงินค่าจอดรถ
            ใกล้ๆ กับวัดระฆัง มีร้านอาหารอยู่ริมแม่น้ำ ร้านหนึ่งเขาเปิดเฉพาะตอนเย็น อีกร้านของคุณภัทราวดีฯ ยังไม่เคยแวะเข้าไปชิมทั้ง ๒ ร้านเลย ฝากเอาไว้ก่อน ไปชิมอีกร้านหนึ่งอยู่ไม่ไกลกันนัก ไปครั้งแรกไปทางเรือ ไปขึ้นเรือที่ที่วัดอรุณราชวราราม เดินทะลุออกหลังวัดอรุณข้ามถนนริมวัง เข้าซอยตรงข้ามไปออกถนนอรุณอัมรินทร์ ร้านอยู่ตรงกันข้ามกับซอยที่ออกมานี้ชื่อร้าน "กรีนลีฟ"
            หากมาทางรถยนต์ พอเลยทางเข้าวัดระฆังแล้วก็ตรงมาเรื่อย ๆ จนพบสี่แยก แต่เขาห้ามเข้า หากเลี้ยวขวาก็ไปออกถนนอิสระภาพที่ไปสามแยกบ้านแขก ถูกบังคับให้เลี้ยวซ้ายวิ่งผ่านเขตทหารเรือ จนมาออกถนนอรุณอัมรินทร์ตามเส้นทางบังคับ ก็เลี้ยวขวากลับมาหน่อยเดียวก็จะจอดรถแถวหน้าร้านกรีนลีฟ ที่อยู่ทางซ้ายมือ อยู่เยื้องกับซอยที่ว่า เดินไปทะลุวัดอรุณราชวรารามได้
            ร้านนี้เป็นร้านอาหาร "ศูนย์อาหารสุขภาพ กรีนลีฟ" ลองสั่งอาหารของเขาดู
            ยำโคอุกุ หรือจะบอกเขาว่ายำหัวบุกก็ได้ แต่เขาทำเป็นเส้นยาวเหมือนเส้นก๋วยเตี๋ยว ยำแล้วเคี้ยวกรุ๊บๆ
            ปลาช่อนชะพลู จานนี้เท่านั้นที่จะแพงกว่าเพื่อน คือราคา ๑๘๐ บาท แต่ก็จานโต ปลาช่อนตัวโต ราดด้วยน้ำยำรสจัด มีใบชะพลู ถั่วลิสง หอม มะนาว ใบชะพลูนั้นหั่นเป็นฝอยแล้วโรยมา
            แกงจืดใบโหระพา ร้อน ซดชื่นใจ หอมกลิ่นใบโหระพา ต้องถือว่าแปลกไม่เหมือนตำรับไหน
            ทอดมัน เหนียวหนับ แต่ใส่มาในเปลือกหอยแมลงภู่ ทำได้ดูเก๋ น้ำจิ้มออกหวานนิด ๆ อร่อย ปิดท้ายเสียด้วยผลไม้ และตามด้วยฟรุตสลัด เต้าฮวยเย็น

........................


| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |
วัดระฆังโฆษิตารามฯ: ข้อมูลวัดระฆังโฆษิตารามฯ ท่องเที่ยววัดระฆังโฆษิตารามฯ ข้อมูลเที่ยววัดระฆังโฆษิตารามฯ


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์