ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > มรดกไทย > มรดกท่องเที่ยว > วัดหนองนกไข่
 
วัดหนองนกไข่
| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |

วัดหนองนกไข่

            วัดหนองนกไข่ อยู่ที่ตำบลหนองนกไข่ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร วัดนี้เพิ่งสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๑ รวมแล้วถึงปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ ๔๑ ปี แต่ในเวลา ๔๑ ปีนี้มีเจ้าอาวาสเพียงองค์เดียว และท่านเจ้าอาวาสองค์นี้พอท่านบวชเป็นพระแล้ว (เดิมท่านบวชเณรอยู่) ท่านก็ได้เป็นเจ้าอาวาสเลยทีเดียว และแม้ว่าอายุวัดจะน้อย แต่ความเจริญภายในวัดนั้นสูงมาก ถือว่าเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ทั้งนี้ด้วยความสามารถของหลวงพ่อ "คับ" เจ้าอาวาสวัดหนองนกไข่ ที่ท่านอุทิศตนเพื่อศาสนาอย่างแท้จริง และจะอุทิศให้ตลอดชีวิตของท่าน ผมได้มีโอกาสรู้จักกับท่านเจ้าอาวาสเมื่อสัก ๑๐ ปีเศษมาแล้ว และได้มีโอกาสช่วยเหลือท่าน เช่นในการทอดผ้าป่า ในการสร้างศาลาเอนกประสงค์ ที่ผมเรียกอย่างนี้เพราะชั้นบนเป็นห้องพักของสงฆ์ ชั้นล่างเป็นห้องโถงใหญ่มาก เป็นสถานที่ปฏิบัติศาสนกิจ ผมเป็นประธานในการวางศิลาฤกษ์ และท่านกะว่าจะสร้าง ๒ ปีคงเสร็จ แต่ปรากฏว่าเมื่อลงมือสร้างเข้าจริง ๆ ใช้เวลาเพียงปีเศษ ๆ เท่านั้น นอกจากนั้น นอกจากนั้นที่ผมได้ช่วยท่านคือ ได้ริเริ่มการบวชสามเณรภาคฤดูร้อนปีแรก เริ่มที่ ๖๐ องค์ ผมเป็นประธานฝ่ายฆราวาสในการบวชครั้งนี้ ได้รับผลดี ลูกหลานชาวบ้านมาบวชกันมาก เกินคาดคือเกินจำนวน ต่อมาระยะหลังสัก ๔ ปีเศษมานี้ ผมไปหาท่านตามปกติ ท่านทราบว่ามีเคราะห์ก็ทำพิธีสะเดาะเคราะห์ให้ และพิธีต่ออายุด้วย มีพระ ๙ รูป สวดชัยมงคลในศาลาเอนกประสงค์ สร้างพระพุทธรูปประจำวัน องค์ขนาดหน้าตักกว้าง ๙ นิ้ว เมื่อทำพิธีแล้วผมก็รอดตายที่ใช้คำว่ารอดตาย เพราะอีกไม่กี่เดือน ผมจำเป็นต้องเข้ารับการผาตัดกระดูก ที่ข้อต่อสะโพกแตกหักไปตามวัย ต้องผ่าตัดใส่ข้อต่อเทียมหรือเรียกง่าย ๆ ว่าเอาเหล็กใส่เข้าไปแทน (ความจริงไม่ใช่เหล็ก) แต่ผมยังไม่สิ้นเคราะห์ จึงต้องผ่าตัดถึง ๓ ครั้งจึงสำเร็จ จากนั้นนอนหงายตลอด นอนนิ่ง ๆ ด้วยเกิดเป็นแผลจากการกดทับ ต่อจากนั้นหนักเข้าไปอีกแผลนั้นติดเชื้อกินเนื้อโหว่เข้าไปขนาดชามก๋วยเตี๋ยว ลงไปวางได้ ถึงขั้นต้องผ่าตัดด่วนเพื่อตัดเส้นเลือดใหญ่ใส่น้ำเกลือไปกระตุ้นหัวใจ ส่งเข้าห้อง ไอ.ซี.ยู. ถูกหมอเอาท่อหายใจใส่เข้าไปในปากพูดไม่ได้ กินทางสาย นอนถ่ายอยู่เช่นนั้น ต่อจากนั้นอีกทีเขาโกนขนในที่ลับเพื่อไปผ่าตัดเนื้อที่เสีย เพราะติดเชื้อ ขนกระจายออกไปทำให้ต้องเอาน้ำเช็ดตัว หนาวมากจะอ้าปากบอกเขาไม่ได้ เพราะเขายัดเครื่องช่วยหายใจไว้ในปาก หนาวหนักเข้าก็สิ้นสติเหมือนกับเจตภูตจะออกจากร่าง เพราะรู้สึกว่ามันไปไกลเหลือเกิน และเมื่อฟื้นขึ้นมาเห็นหมอยืนล้อมอยู่ จึงรู้ว่าเรารอดตายแล้ว เอาอีกทีต่อจากห้อง ไอ.ซี.ยู. มานอนห้องป่วยปกติ เกิดให้กลูโคสพร้อมวัดน้ำตาล ๆ สูง ลดน้ำตาลตกดึกช็อคอีก ถึงขั้นตามลูกตามเมียมากันพร้อมหน้า แต่ผมไม่รู้เรื่อง พอดีหมอคลำทางถูกว่าเป็นเพราะน้ำตาลลดมากไปเหลือเพียง ๒๕ ซึ่งปกติแล้วเหลือขนาดนี้ อ๊อกซิเจนจะไม่ไปเลี้ยงสมองแล้ว ความทรงจำจะสูญหมด ได้แต่นอนยิ้มเผล่เช่นนั้น แต่ผมยังไม่เป็นแม้น้ำตาลจะลดลงไปขนาดนั้น เพราะพอเช้าขึ้นมาหมอถามผมว่าชื่ออะไร ผมก็บอกชื่อ บอกยศถูก ถามอีกว่ามานอนทำไม ที่นี่ที่ไหน ผมชักโมโห ผมก็เป็นนายทหารชั้นผู้ใหญ่ยศถึงพลเอก มาถามยังกับเราเป็นเด็กปัญญาอ่อนก็เลยดุหมอเข้าให้ มาซักถามผมเรื่องอะไรกัน หมอหัวร่อก๊ากว่าโล่งอกไปทีความจำท่านยังอยู่ครบ หมอเล่าให้ฟังว่า คนเราหากน้ำตาลซึ่งเป็นพาหะสำคัญ ที่จะพาอ๊อกซิเจนไปเลี้ยงสมองลดลงต่ำมาก เหลือสัก ๒๕ แล้ว ความจำจะหมด แต่ประหลาดที่ความจำผมยังอยู่ครบถ้วนดี ผมเจ็บคราวนั้นนอนป่วยอยู่โรงพยาบาลนานถึง ๔ เดือน และตอนที่ทารุณที่สุดคือตอน "ไส" เอาผิวหนังขาขวาด้านหลัง เพื่อเอาผิวไปปะแผลที่เกิดจากการติดเชื้อ ซึ่งเชื้อหมดแล้วแต่แผลยังไม่หาย หมอบอกว่าหากไม่เอาผิวหนังที่ขา (หรือที่ไหนก็ได้) มาใส่แล้ว ต้องนอนชะแผลไปอย่างนี้อีกเป็นปีแผลจึงจะหาย เวลานี้ผมรอดตายมา ๔ ปี แต่แผลเป็นที่เกิดขึ้นคราวนั้นยังพอเอาชามใส่ลงไปได้ คือลดขนาดลงจากขนาดชามก๋วยเตี๋ยวลงไปได้เหลือชามขนม ที่ว่าตอนทารุณที่สุดคือ พอผ่าตัดเอาผิวที่ขาไปแล้ว หมอให้นอนคว่ำ กิน นอน ถ่าย ในท่าเดียวเป็นเวลา ๒๒ วัน อาหารอ่อนที่ให้มีอย่างเดียวทั้ง ๓ มื้อ คือโจ๊ก ผมนอนกินโจ๊กอยู่ ๖๖ มื้อ แถมยังให้กินไข่ขาวอีกวันละ ๘ ฟอง ห้ามกินไข่แดง ออกจากโรงพยาบาลแล้วผมสาบานกับตัวเองว่า เลิกกินโจ๊ก ๓ ปี และผมก็ได้ปฏิบัติตามคำสาบาน พึงไปชิมโจ๊กที่ร้านโจ๊กร่วมใจ ทางเข้าเมืองทองธานี เมื่อเร็ว ๆ นี้เอง (เขียนไปลงไทยรัฐ)
            ถ้าผมไม่ได้รับการสะเดาะเคราะห์จากหลวงพ่อคับก่อนเข้ารับการผ่าตัด อาจจะไม่ได้มานั่งเขียนหนังสือเช่นทุกวันนี้ก็ได้
            ผมไปวัดหนองนกไข่ พร้อมกับไปชิมอาหารที่แพอาหารเรือนน้ำ ไปทางเดียวกันก็ได้เพราะวัดหนองนกไข่นั้นไปได้หลายทาง เช่น เข้าทางโรงเรียนนายรร้อยตำรวจสามพราน สุดถนนแล้วเลี้ยวขวาตามป้ายไปก็ได้ หรือไปตามถนนพระราม ๒ ไปจนเลยสมุทรสาครไปอีก ๑๑ กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาไปทาง อำเภอบ้านแพร้ว วิ่งจนเลยบ้านแพร้วไปอีกกี่กิโลเมตรไม่ได้นับ แต่พอไปเห็นป้ายบอกไปวัดหนองนกไข่ก็เลี้ยวขวา วิ่งไปวัดได้เช่นกัน วัดนี้พยายามชี้ทางบุญให้คนไปทำบุญกัน ที่ประตูวัดจึงเขียนไว้ว่า "บุญนำท่านมา" ส่วนผมไปตามเส้นทางเพชรเกษมกลับทางบ้านแพร้วเพราะจะมาออกพระราม ๒ แล้วขึ้นทางด่วนที่พระราม ๙ กลับบ้านที่ลาดพร้าว
            ไปตามถนนเพชรเกษมที่หมายแรกคือ "บางแค" พอผ่านบางแคไปแล้วก็วิ่งเรื่อยไปจนพบอ้อมน้อย เลยไปก็จะพบ ตลาดอ้อมใหญ่ ตรงเรื่อยไปไม่ต้องสนใจว่าจะเลย ไปจนกระทั่งเห็นประตูวิทยาลัยแสงธรรมอยู่ทางซ้าย หน้าประตูเขียนว่า "สามมาเณราลัยแสงธรรม" ผ่านประตูก็จะวิ่งลอดใต้สะพานลอยคนเดินแล้วเลี้ยวซ้ายทันที วิ่งตรงเรื่อยไปจนถึงสะพานข้ามแม่น้ำนครชัยศรี ซอยข้างสะพานคือทางเข้าแพอาหารเรือนน้ำ ซึ่งมีบ้านมีแพอยู่ในแม่น้ำนครชัยศรี สถานที่จอดรถสะดวกสบาย เดี๋ยวจะย้อนกลับมาชิมอาหารกัน ตอนนี้ไปวัดหนองนกไข่ก่อน
            ไปวัดก็ไม่เลี้ยวเข้าร้านอาหารคงขับรถขึ้นสะพานข้ามแม่น้ำไป จากนั้นถนนจะหักโค้งไปทางใดก็เลี้ยวไปตามนั้น ระยะทางหลายกิโลเมตรเหมือนกัน แต่ไม่ต้องกลัวหลงเพราะไม่มีทางแยกใหญ่ ๆ นอกจากเป็นซอยและสงสัยถามใครก็รู้จักหมด จนกระทั่งเห็นกำแพงวัดหนองนกไข่ ก็จะเห็นสามแยก หากเลี้ยวขวาจะไปบ้านแพร้ว (เป็นเส้นกลับบ้านของผม) หากตรงเลาะกำแพงไปก็จะถึงประตูเข้าวัดหนองนกไข่
            ผมรู้จักท่านเจ้าอาวาสเพราะได้ทราบมาว่าที่วัดมียาดี ตำรับเทวดาบอกทำนองนั้น เป็นยาอายุวัฒนะ ผมก็ดั้นด้นไปหาท่านเมื่อสัก ๑๑ ปีมาแล้ว ถนนก็ยังไม่ราดยางเป็นถนนแคบ ๆ ไปมาลำบากมาก สมัยนั้น (เดี๋ยวนี้ถนนชั้นดีราดยางตลอดแล้ว) เพราะดั้งเดิมเมื่อสร้างวัดนั้นเขามุ่งทางเรือไม่ใช่ทางถนน ผมไปถึงวัดพบพระองค์หนึ่งที่หน้าอุโบสถ ท่านกำลังทำงานอยู่ ผมไปถามท่านว่ากุฏิท่านเจ้าอาวาสอยู่ไหนท่านอยู่ไหม พระรูปนั้นบอกผมว่า "อาตมาคือเจ้าอาวาส" เลยนั่งกราบกันตรงนั้นเอง มีตาเสียเปล่าหามีแววไม่ และไปนึกว่าท่านคงสูงอายุที่แท้ท่านอายุน้อยกว่าผมตั้ง ๙ ปี ท่านจึงพาไปที่กุฏิรินน้ำชาให้ดื่ม (ทุกวันนี้ท่านก็รินน้ำชาให้แขกดื่ม) และที่กุฏิของท่านมีวัตถุมงคลให้เช่าบูชา วัดในตอนนั้นคงมีอุโบสถ กุฏิเจ้าอาวาส ศาลพระเจ้าตากสินมหาราชประทับยืน ราชานุสาวรีย์พระเจ้าตากสินมหาราชทรงม้า หันหน้าสู่แม่น้ำนครชัยศรี มีแค่นั้น แต่ปัจจุบันนี้ไม่ใช่อย่างนั้นผมขอเล่าประวัติย้อนหลังเสียก่อน
            เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๑ ที่ดินที่เป็นวัดขณะนี้เป็นที่ดินของโยมทวดของหลวงพ่อคับ ถวายเพื่อสร้างวัด จึงเริ่มสร้างเป็นเพียงพอให้สงฆ์อาศัยอยู่ได้ และมีพี่ชายของท่านดูแลรอท่านอยู่ เพราะขณะนั้นท่านมีอายุเพียง ๑๙ ปี ต่อจากนั้นพอท่านอายุ ๒๐ ปี ท่านก็บวชเป็นเณรแล้วบวชพระต่อ และทำหน้าที่เจ้าอาวาส ที่พักสงฆ์แห่งนี้ตั้งแต่นั้นมานับถึงเวลานี้ได้ ๓๙ พรรษาแล้ว
            หลวงพ่อคับ ท่านไม่ได้เป็นศิษย์หลวงพ่อองค์ใดโดยตรง เหมือนแสวงหาทางของท่านเอง และท่านมีนิมิตถึงสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชตั้งแต่เริ่มสร้างวัด โดยสมเด็จ ฯ ประสงค์จะอยู่ ณ ที่นี้ อยากให้จุดนี้เป็นที่รวมมหาราช ขอให้หลวงพ่อคับสร้าง หลวงพ่อบอกว่า (ในนิมิต) ไม่มีเงินมากขนาดนั้น สมเด็จ ฯ บอกว่าทำไปเถอะแล้วมีมาเอง หลวงพ่อคับก็สร้างเรื่อยมาจนกระทั่งถึงวันที่ผมไป ผมเห็นมีดังนี้ (ผมไปเมื่อต้นปีใหม่)
            เมื่อเข้าประตูวัดมา ทางขวามืออาคารหลังแรกคือ ศาลาพระโพธิสัตย์ กวนอิม หน้าศาลมีพระราหู หากใครจะต่ออายุก็จุดธูปบูชา แล้วหยอดสตางค์ลงไปในปากขององค์ราหู (วัดเอาไปใช้ก็ไม่ได้) ภายในศาลา สร้างไว้สวยงามมาก มีพระพุทธรูป ๑ องค์ ทางด้านขวามือมีที่บูชา มีสระน้ำพุอยู่หน้าเจ้าแม่กวนอิม และขอบสระด้านขวามี รูปเหมือนพระนางจามเทวี ครองสีขาวนั่งพับเพียบอยู่ ไปบูชาขอพรได้ หลวงพ่อคับได้สร้างพระรอดมหาวัน วัดจามเทวี จังหวัดลำพูน ท่านสร้างไว้แจกไม่จำหน่าย ก่อนสร้างได้ขออนุญาตต่อเจ้าแม่จามเทวีก่อนแล้วจึงสร้าง
            ถัดจากศาลาพระโพธิสัตว์ คืออุโบสถ ซึ่งรอบอุโบสถกำลังสร้าง "มหาราช"ทุกพระองค์สร้างรูปเหมือนสวยมาก ส่วนมากเสร็จแล้ว ตรงตามนิมิตของพระเจ้าตากสินมหาราช และยังสร้างรูปเหมือนของวีรสตรีอีกด้วย เช่น ท้าวสุรนารี เป็นต้น ในโบสถ์ไม่กว้างขวางแต่ร่มเย็น สะอาดน่าเลื่อมใสศรัทธา เพราะผมเคยนั่งคุยกับหลวงพ่อเรื่องจะบรรพชาสามเณรกันในอุโบสถหลังนี้ สร้างกระทัดรัดสวย ผมชอบอยากให้โบสถ์สร้างกันแบบนี้ ไม่ใช่สร้างใหญ่โตแล้วจะเอาเงินที่ไหนมาสร้าง
            จากประตูด้านซ้าย มีพระศิวลี มีศาลาการเปรียญ กำลังสร้างศาลานางฟ้า ศาลาเอนกประสงค์ กุฏิหลวงพ่อคับดั้งเดิม ท่านคงยังอยู่ที่กุฏิเดิมแต่ซ่อมแซมบ้าง หอระฆังสวยมีผู้สร้างถวาย
            ทีนี้มาดูริมถนนหน้ากุฏิบ้าง เริ่มจากเรือนเจ้าแม่สมจิต ความจริงคือ อดีตไวยาวัจกรของวัด รู้จักคุ้นเคยกับผมดีและเคยเป็นคนแนะให้ผมสะเดาะเคราะห์ สืบดวงชะตามที่เล่าให้ฟัง แต่คุณสมจิตนั้นเป็นคนตรงปากโป้งโผงเผงไม่กลัวใคร จึงเมื่อเห็นการเอาเปรียบวัดเกิดขึ้น คุณสมจิตก็ต่อสู้ ผลการต่อสู้ของคุณสมจิตกลับถูกยิงตายหน้าประตูบ้านพักที่อยู่ใกล้ ๆ วัดนั่นเอง และมาเข้าฝันว่าขอกับหลวงพ่ออย่าเผาศพเลย หลวงพ่อคับเลยปลูกเรือนให้อยู่ และปั้นรูปเหมือนยืนอยู่หน้าห้องเก็บศพ ซึ่งเป็นประตูกระจก มองเข้าไปก็เห็นหีบศพและเริ่มมีคนไปกราบไหว้ คงจะแถมด้วยการขอหวยเข้าให้อีกเป็นแน่ รวมทั้งบนบานศาลกล่าวสมหวังก็แก้บน ปิดทองรูปเหมือนกันเป็นการใหญ่ คุณสมจิตเลยกลายเป็นเจ้าแม่ไป ผมก็เลยไปไหว้แล้วบอกว่ามาเยี่ยม เพราะตอนคุณสมจิตถูกยิงตายนั้นผมกำลังจะตายเหมือนกัน คือตายในห้อง ไอ.ซี.ยู.
            ติดกับเรือนคุณสมจิต คือศาลพระเจ้าตากสินมหาราชที่ประทับยืน และที่ศาลนี้จะเป็นที่ทำพิธีบวงสรวงทุกปีในเดือนกุมพาพันธ์ (ปี ๒๕๔๒ ตรงกับวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ตอนเช้า)และใครมาบนบานจะต้องบนด้วยธูป ๙ ดอก และเมื่อสมประสงค์แล้วจะต้องนำไข่ต้มมาถวายกับข้าวต้มผัด แก้บนอยู่ ๒ อย่างเท่านั้น ส่วนความเป็นมาในการสร้างพระราชานุสาวรีย์ และทำไมต้องบนด้วยไข่ต้ม กับข้าวต้มผัด คงต้องไปที่วัดแล้วอ่านได้จากประวัติที่พิมพ์แจกไว้ ที่ศาลาที่ประทับซึ่งเรียกว่า พระตำหนักลอย
            ติดกับพระตำหนักลอย คือ วังจตุรมุขภายในบุหินอ่อนมียอดปราสาท มีพระบรมรูปประทับนั่งบนราชบัลลังก์ ติดต่อกันไปคือ วิหารสี่ทหารเสือ มีพระรูปเหมือนภาคทรงผนวก และสี่ทหารเสือ ซึ่งทางวัดบอกไว้ว่ามี พระยาพิชัยดาบหัก บุญมาพระยาเสือ พระยาเชียงเงิน หลวงพรหมเสนา
            ตรงหน้าวังจตุรมุข คือพระบรมรูปทรงม้า และที่ลานหน้าราชานุสาวรีย์ทรงม้านี้ จะเป็นที่ชุมนุมสวดมนต์กันทุกค่ำวันเสาร์ กล่าวว่าใครมาชุมนุมสวดมนต์ที่นี่แล้ว พระพุทธคุณจะตามไปคุ้มครอง
            ไปเดินในวัดหนองนกไข่แล้วจะสบายใจ และหลวงพ่อท่านรับแขกไม่ปฏิเสธว่าใครจะมาจากไหน อย่างไร ปฏิบัติเช่นเดียวกับพระเกจิอาจารย์ ซึ่งเมื่อปีที่แล้วพระเกจิอาจารย์ที่ผมใกล้ชิดและสนิทสนมอีกท่านหนึ่ง ก็ได้ละสังขารไปเมื่ออายุได้ ๙๓ ปี คือหลวงปู่บุญตา วิสุทธสีโล แห่งวัดคลองเกตุ อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ซึ่งผมเป็นประธานในการจัดการ พระราชทานเพลิงศพของท่าน และเป็นผู้จัดการมรดกให้ท่าน งานพึ่งเสร็จไปเมื่อต้นปี ๒๕๔๒ นี้เอง
            จึงชวนเที่ยวไป ที่วัดหนองนกไข่ ทีนี้ "กินไป" บ้างละ ร้านอาหารเรือนแพ
            ทบทวนเส้นทางไปร้านอาหารอีกที ไปตามถนนเพชรเกษม ผ่านบางแค ผ่านอ้อมน้อย ผ่านตลาดอ้อมใหญ่ ผ่านประตูวิทยาลัยแสงธรรมที่เขียนไว้ว่า สามาเณราลัยแสงธรรม ลอดใต้สะพานลอยคนเดิน เลี้ยวซ้ายทันที ตรงเรื่อยไปจนถึงสะพานข้ามแม่น้ำ (ไปวัดหนองนกไข่ ข้ามสะพานไป) เลี้ยวเข้าข้างสะพานจอดรถที่หน้าร้านได้เลย ตรงทางแยกจากถนนใหญ่ หากหลงลืมเลี้ยวจะไปผ่าน ฟาร์มจรเข้สามพราน น่าเที่ยว หากจะไปเที่ยวก็เลี้ยวซ้ายตรงไป ผ่านโรงเรียนยอเซฟทางขวามือ หากหลงตรงไปอีกจะไปถึงสวนสามพราน ถึงสะพานข้ามแม่น้ำนครชัยศรีเหมือนกัน แต่คงต้องลงเรือมาร้านอาหารเรือนแพ ร้านเรือนแพสถานที่กว้างขวาง ตรงหน้าแพเป็นที่ชุมนุมของมัจฉาตัวโต ๆ เข้าใจว่าทางร้านคงมีขนมปังไว้ขายเป็นอาหารปลา เห็นเขาโยนกันลงไป ปลาโดดขึ้นมาฮุบกันโผงผาง มองดูสวะหรือผักตบชวาลอยในแม่น้ำดอกสีม่วง มองแล้วเหมือนแพอาหารลอยสวะอยู่นิ่ง ๆ
            คำแรกที่สั่งคือ มะพร้าวอ่อนเท่าจำนวนคนที่ไป ดื่มน้ำมะพร้าวสามพรานหวานเย็นชื่นใจเสียก่อนที่จะอ่านเมนู เอาเมนูของผมเลยก็ได้เพราะสั่งมาหลายอย่าง อาหารรสดีมาก ราคาถูกมาก เมื่อเทียบกับระดับภัตตาคารด้วยกัน บริการเร็ว มรรยาทดี น่ารักทีเดียว
            ปลาช่อนลุยสวน เรียกว่านอนอยู่ในสวนจริง ๆ แต่เป็นสวนผัก ข้าวโพดอ่อน กระหล่ำปลีลวก ถั่วฝักยาว ผักคะน้า สะระแหน่ ต้นหอม มะเขือยาวเผาประดับด้วยพริกเหลือง น้ำจิ้มมีทั้งแบบแจ่วและแบบแซ็บ ปลาเผากำลังเหมาะ และหนังออกจะเห็นเนื้อปลาขาวจั๊วะทีเดียว ตักเนื้อปลาจิ้มแจ่ว แล้วตามด้วยผักเด็ดนัก ร้อยเดียว
            ห่อหมกทะเลในมะพร้าวอ่อน ออกรสหวานด้วยน้ำมะพร้าวและเนื้อมะพร้าว คลุกข้าวก็ได้ กินเล่นก็ดี หากคลุกข้าวก็เหยาะน้ำปลาพริกเสียนิด ตามแบบอย่างโรงเลี้ยงของนักเรียนนายร้อย สมัยผมติดน้ำปลาพริกกัน
            ต้มยำกุ้งใหญ่ใส่มะพร้าวอ่อน รสแซ๊บถึงใจ หวานด้วยน้ำมะพร้าวหอมชวนตักซด ร้อนชื่นใจกุ้งตัวโต ๆ หลายตัว หม้อไฟหม้อนี้ราคา ๑๒๐ บาท
            ปลาบึกผัดฉ่า ไม่ต้องวิ่งไปกินริมโขง สั่งที่นี่ได้เลยผัดฉ่า เคี้ยวเนื้อปลาบึกนั้นอร่อยสนุกลิ้น ๑๐๐ บาท
            หอยกะทะ ผัดด้วยหอยแมงภู่ตัวโต ผัดได้เก่งเห็นถั่วงอกขาวอวบ ก็อยากกินแล้ว ๖๐ บาท
            กุ้งใหญ่ผัดมะขามเปียก จานนี้ ๑๒๐ บาท กุ้งตัวโต ๆ หลายตัว ผัดมากับหอมใหญ่ มะม่วงหิมพานต์ พริกแห้งประดับด้วยมะเขือเทศและแตงกวา รสอมเปรี้ยว อมหวาน เปรี้ยวของมะขามนั้นหอมชวนกิน เอาน้ำขลุกขลิกก้นจานคลุกข้าวก็ได้ ผัดได้รสเดียวกับร้านเจ้าเด็ดที่สุราษฎร์ธานี เลยทีเดียว
            ปิดท้ายด้วยผลไม้รวม และผมตามด้วยไอศกรีมกะทิเผือกอีกถ้วย

...........................
ไปวัดหนองนกไข่
แล้วมากินกุ้งใหญ่ผัดมะขามเปียก
ปิดท้ายด้วยผลไม้ และไอศกรีมเผือก
.........................

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |
วัดหนองนกไข่: ข้อมูลวัดหนองนกไข่ ท่องเที่ยววัดหนองนกไข่ ข้อมูลเที่ยววัดหนองนกไข่


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์