ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > มรดกไทย > มรดกท่องเที่ยว > เขาค้อ
 
เขาค้อเพชรบูรณ์
| ย้อนกลับ |

เขาค้อ-เพชรบูรณ์

            เข้าค้อ เป็นชื่อเรียกรวมบริเวณเทือกเขาน้อยใหญ่ ของเทือกเขาเพชรบูร์ จนอาจพูดได้ว่าเป็นทะเลภูเขา เช่น เขาค้อ เขาย่า เขาใหญ่ เขาตะเคียนโง๊ะ เขาหินตั้งบาตร เขาห้วยทราย เขาอุ้มแพร เป็นต้น มีต้นไม้มีลักษณะแปลกคือ ต้นค้อ ซึ่งเป็นต้นไม้ในตระกูลปาล์ม มีลักษณะต้นและใบคล้ายต้นตาล แต่ออกผลเป็นทะลายคล้ายหมาก ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในบริเวณเขาค้อ สภาพอากาศหนาวเย็นตลอดปี มีทางขึ้นที่สำคัญ ๒ เส้นทาง คือเส้นแรกแยกจากทางหลวงสายสระบุรี - หล่มสัก ด่านซ้ายมือเมื่อเลยจากอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จะไปอำเภอหล่มสัก ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ ๑๓ - ๑๔ ความยาวจนถึงบ้านสะเดาะพงยาวประมาณ ๒๔ กิโลเมตร อีกเส้นทางหนึ่งจะเข้าทางแยกจากทางหลวงสายหล่มสัก - พิษณุโลก ด้านซ้ายมือระหว่างกิโลเมตรที่ ๓๔ - ๓๕ กิโลเมตร เส้นทางทั้งสองเส้นทางเป็นถนนลาดยางสภาพดี เส้นที่ขึ้นทางอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ มีความสูงชันกว่าเส้นทางสายแคมป์สนเล็กน้อย
            ในอดีต ก่อนปี พ.ศ. ๒๕๒๔ พื้นที่เข้าค้อได้เป็นฐานที่มั่นอันสำคัญยิ่งของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์มาเป็นเวลานานกว่า ๑๐ ปี กำลังทหารของฝ่ายรัฐบาลที่ถูกส่งเข้าปราบปรามกวาดล้างได้เกิดการต่อสู้ที่ยืดเยื้อยาวนาน สูญเสียกำลังคน อาวุธ ทรัพยากรของชาติมากมายทั้งสองฝ่าย จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ฝ่ายเราได้ดำเนินยุทธวิธีการเมืองนำการทหาร และดำเนินการทางทหารอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง จนสามารถยึดพื้นที่เขาค้อทั้งหมดได้ คงเหลือไว้แต่ประวัติศาสตร์การสู้รบอันห้าวหาญ วีรกรรมของวีรบุรุษ ที่ตั้งสถานที่สำคัญในการสู้รบของทั้งสองฝ่าย ร่องรอยของการต่อสู้ที่มีอยู่มากมายเกลื่อนกลาด ไม่ว่าจะเป็นสุสานของทหารกล้า และผู้เสียสละ อนุสาวรีย์ที่ระลึกถึงผู้จากไป ฐานที่มั่นที่สู้รบกันอย่างหนักหน่วง สถานที่อยู่อาศัยของฝ่ายตรงข้ามและฝ่ายเรา ร่องรอยการทำลายเผาระเบิด นับเป็นพิพิธภัณฑ์การสู้รบกลางแจ้งที่เตือนใจคนไทยทั้งชาติให้เกิดความสามัคคีกลมเกลียวกันตลอดไป
            ในปัจจุบันนี้ทางการได้ดัดแปลงสถานที่ต่าง ๆ รวมทั้งตกแต่งให้เกิดความสวยงาม น่าท่องเที่ยว น่าเลื่อมใส ศรัทธา และรำลึกถึงวีรบุรุษผู้กล้าของทั้งสองฝ่าย ในบริเวณเขาค้อมีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย นับเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดเพชรบูรณ์ แต่ละวันจะมีนักทัศนาจรแวะไปเที่ยวชมจำนวนมาก ซึ่งนอกจากพระตำหนักเขาค้อ อนุสรณ์สถานผู้เสียสละเขาค้อ และพิพิธภัณฑ์อาวุธ ซึ่งได้กล่าวทั้งที่เป็นสถานที่สำคัญ และความงามตามธรรมชาติ คือ
            ๑. น้ำตกศรีดิษฐ์  เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ มีน้ำตกตลอดปี มีลานกว้างสำหรับเล่นน้ำได้สดวก มีทางรถเข้าถึงบริเวณน้ำตก ใต้น้ำตกลงมาเล็กน้อย จะเห็นครกกระเดื่องตำข้าวพลังน้ำของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ที่ใช้พลังน้ำและเสียงน้ำตกกลบเสียงตำข้าวได้อย่างกลมกลืน
            ๒. แก่งบางระจัน หรือแก่งหนองแม่นา แก่งน้ำที่สวยงามเป็นชั้น ๆ มีน้ำไหลตลอดปี มีลานกว้างสำหรับเล่นน้ำได้ มีทางเข้าสดวก พื้นที่รอบ ๆ แก่งมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเกษตร
            ๓. น้ำตกสามสิบคด  เป็นน้ำตกธรรมชาติอีกแห่งหนึ่ง มีลักษณะเป็นชั้น ๆ หลายชั้นลดหลั่นกันไป มีบริเวณสำหรับเล่นน้ำได้ ทางรถเข้าถึงได้สดวก
            ๔. เรือนร่มเกล้า  เป็นเรือนรับรองซึ่งเคยเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ในคราวที่เสด็จ ฯ เยี่ยมเยียนทหารและราษฎรในพื้นที่ก่อนจะมีพระตำหนักเขาค้อ รอบบริเวณเรือนรับรองมีพืชพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้เมืองหนาวมากมาย
            ๕. ศูนย์ยุวเกษตรเขาค้อ  เป็นแหล่งผลิตเยาวชนชาวไทย และชาวไทยภูเขาให้มีความรู้ด้านการเกษตรกรรมแผนใหม่ และเกิดความรักความสามัคคีมากขึ้น รอบบริเวณมีการปลูกพืช ผักไม้ผล ไม้ประดับ ไม้เมืองหนาว อ่างเก็บน้ำ และเรือนรับรองที่ใช้พักผ่อนได้เป็นอย่างดี
            ๖. สถานีทดลองเกษตรที่สูงเขาค้อ  เป็นสถานีทดลองปลูกพืชสำหรับที่สูงเพื่อให้ราษฎรในพื้นที่นำไปปรับปรุงอาชีพของตน มีการตกแต่งบริเวณด้วยไม้ดอกไม้ประดับสวยงามมาก



            ๗. โรงแรมเขาค้อ  เป็นโรงแรมเอกชนที่ดำเนินงานโดยทหาร มีห้องพักห้องอาหารสำหรับต้อนรับนักท่องเที่ยว และมีจุดชมวิวในบริเวณเขาค้อได้เป็นอย่างดี
            ๘. บ้านกรมทาง  เป็นเรือนรับรองของกรมทางหลวงแผ่นดิน ที่สร้างไว้สำหรับให้เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ใช้พักอาศัย ตกแต่งบริเวณด้วยไม้ดอกไม้ประดับสวยสดงดงาม และสามารถมองเห็นพระตำหนักเขาค้อได้อย่างชัดเจน
            ๙. ยอดเขาค้อ  ยุทธภูมิลือชื่อมีฐานกรุงเทพ ฯ ตั้งอยู่บนยอดเขาค้อ ยังมีร่องรอยการต่อสู้เหลืออยู่ เส้นทางขึ้นยอดเขาสูงจัด คดเคี้ยว แต่สวยงาม สามารถเห็นภูมิประเทศรอบบริเวณได้กว้างไกล อยู่ติดกับอนุสรณ์สถานผู้เสียสละเขาค้อ
            ๑๐. อนุสรณ์จีนฮ่อ  ที่ระลึกของผู้เสียชีวิตจากผู้อาสาเข้าร่วมในการรบจากกองพล ๙๓
            ๑๑. บ้านสะเดาะพง บริเวณทุ่งราบระหว่างหุบเขา มีแปลงทดลองการเกษตร พืชพันธุ์ต่าง ๆ มากมาย มีลำห้วยสะเดาะพงไหลผ่าน เป็นที่ตั้งของยุทธภูมิทหารพรานแห่งแรกเกิดขึ้นที่นี่
            ๑๒. ค่ายฝึกบุญญานุสนธิ์  เป็นค่ายฝึกทหารพรานเพื่อฝึกให้ราษฎรรู้จักการรบ และฝึกให้ประชาชนมีความรู้ในด้านการเกษตร และการร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ จ่าสิบเอกทองแดง  บุญญนุสนธิ์ ซึ่งเสียชีวิตที่นี่เมื่อคราวเข้ากวาดล้างในยุทธการผาเมืองเผด็จศึก
            ๑๓. ศาลสิมารักษ์  ตั้งอยู่บนเขาค้อข้างฐานกรุงเทพฯ บนยอดเขาค้อ ซึ่งสูงจากระดับน้ำทะเล ๑.๑๗๔ เมตร สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสาวรีย์การเสียสละของ พันเอกอิทธิ  สิมารักษ์ ซึ่งเสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่บนเขาค้อ เมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๒๓
            ๑๔. ศาลเจริญ  ทองนิ่ม อยู่ตรงบริเวณทางเข้าเขาช่องลม หรือประตูสู่ถิ่นแม่ย่า เพื่อระลึกถึงความเสียสละของ พันโทเจริญ ทองนิ่ม ที่เสียชีวิตจากการต่อสู้เมื่อครั้งบุกเบิกพื้นที่ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙
            ๑๕. ฐานช่อฟ้า  เป็นฐานของหน่วยสร้างทางของทหารช่าง ซึ่งมีบ้านพักรับรองไว้บริการนักท่องเที่ยวในราคาเป็นกันเอง ที่ตั้งสามารถมองเห็นทัศนียภาพภูมิประเทศและเส้นทางที่สวยงาม
            ๑๖. ฐานลุนตรีทัศนา  เป็นฐานของหน่วยคุ้มครองพื้นที่ มีที่พักและบ้านรับรองราคาถูกไว้บริการนักท่องเที่ยว ตั้งอยู่ในทำเลที่ดี ทัศนียภาพสวยงามรอบด้าน
            ๑๗. บ้านทหารม้า มีที่พักและบ้านรับรองราคาถูกไว้บริการนักท่องเที่ยวเช่นกัน
            ๑๘. สามแยกรื่นฤดี  เป็นที่พักผ่อนข้างทาง มีลำห้วยสะเดาะพงไหลผ่านมีน้ำไหลตลอดปี
            ๑๙. หมู่บ้านตามแนวความคิดยุทธศาสตร์พัฒนา  หมู่บ้านทั้งหมดในพื้นที่ตามโครงการพัฒนาลุ่มน้ำเข็ก ตั้งอยู่ระหว่างสองข้างทาง อยู่ห่างกันพอสมควร ราษฎรส่วนใหญ่กว่าจะเข้ามาอยู่ได้จนกระทั่งได้ก่อร่างสร้างตัว และครอบครัวเป็นปึกแผ่นมั่นคงได้ ต้องอดทนและต่อสู้กับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์มาแล้ว บางครอบครัวต้องสูญเสีย พ่อแม่ พี่น้อง สามีภรรยา หรือญาติมิตรมาแล้ว หรือที่บาดเจ็บพิการก็มาก แต่ก็ยังต่อสู้เพื่อสร้างความมั่นคงให้พื้นที่ด้วยการพัฒนาการเกษตร จัดระเบียบหมู่บ้าน อย่างเป็นแบบแผนสวยงาม จัดระเบียบการปกครองในหมู่บ้านเป็นอย่างดี และมีความสามัคคีกันเป็นอย่างดี
พระตำหนักเขาค้อ
            พระตำหนักเขาค้อ ตั้งอยู่บนบริเวณเขาย่า ตำบลทุ่งสมอ อำเภอหล่มสัก จุดมุ่งหมายที่สร้างพระตำหนักเขาค้อขึ้นก็เนื่องมาจาก เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ได้เสด็จ ฯ มาทรงทำพิธีเปิดอนุสรณ์สถานผู้เสียสละที่เขาค้อ ทรงปรารภกับพลโทพิจิตร  กุลละวณิชย์ (ยศขณะนั้น) แม่ทัพภาคที่ ๑ และนายจำเนียร  ปฏิเวชวรรณกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ ในขณะนั้นว่าบริเวณเขาย่ามีพื้นที่สวยงาม น่าจะจัดทำโครงการอะไรสักอย่างหนึ่งเพื่ออนุรักษ์ป่า ดังนั้น แม่ทัพภาคที่ ๑ และผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ จึงตกลงใจกันสร้างพระตำหนักเขาค้อขึ้น เพื่อนำน้อมเกล้าฯ ถวายแด่องค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ สำหรับใช้ประทับแรมในโอกาสที่พระองค์ท่านเสด็จ ฯ ตรวจเยี่ยมงานในโครงการพระราชดำริ และทรงเยี่ยมเยียนราษฎรในพื้นที่ และจังหวัดใกล้เคียง หลังจากนั้นแม่ทัพภาคที่ ๑ และนายตามใจ  ขำภโต กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด ก็ได้ร่วมมือกันริเริ่มดำเนินการจัดหาทุน โดยได้รับความร่วมมือจากบุคคลหลายฝ่าย งบประมาณในการก่อสร้างตัวอาคารรวมทั้งการตกแต่งบริเวณพระตำหนัก ได้ตั้งไว้เป็นจำนวนเงินประมาณ ๘ ล้านบาทเศษ โครงการก่อสร้างได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบหลายฝ่ายด้วยกัน เช่น กองพลทหารม้าที่ ๑   กองพันทหารช่างที่ ๔  กรมชลประทาน  กรมทางหลวงแผ่นดิน (ศูนย์เครื่องมือกลหล่มสัก) เป็นต้น
            ลักษณะตัวอาคารเขาค้อ เป็นอาคารชั้นเดียวสร้างติดต่อกันเป็นรูปครึ่งวงกลม มีอาคารบางส่วนสร้างเป็นสองชั้นตรงห้องพระบรรทม ระยะทางขึ้นพระตำหนัก ประมาณ ๕ กิโลเมตร จากสามแยกรื่นฤดี ที่ตั้งพระตำหนักอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล ประมาณ ๑,๐๕๐ เมตร บัดนี้การก่อสร้างได้เสร็จแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ได้เสด็จ ฯ มาทรงทำพิธีเปิดพระตำหนักเขาค้อ เมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
            โครงการตามพระราชดำริต่อเนื่องจากพระตำหนักเขาค้อก็คือ อ่างเก็บน้ำเสลียงแห้ง เพื่อเก็บกักน้ำในพื้นที่ ๒,๐๐๐ ไร่เศษ แล้วจัดให้การประมงในอ่างเก็บน้ำ โครงการปลูกป่ารอบพื้นที่ และสร้างสวนสัตว์เปิดหลังอนุสรณ์สถานผู้เสียสละเขาค้อ พร้อมทั้งล้อมรั้วรอบบริเวณสวนสัตว์เปิด ในเนื้อที่ประมาณ ๒,๐๐๐ ไร่เศษด้วย
พิพิธภัณฑ์อาวุธ
            ตั้งอยู่บนยอดเขาค้อ หมู่ที่ ๒๑ ตำบลทุ่งสมอ กิ่งอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ เดิมเป็นฐานปืนใหญ่ยิงสนับสนุนการสู้รบ ปัจจุบันใช้เป็นที่ตั้งของอาวุธสงครามที่เสียหายในระหว่างการสู้รบเช่น เครื่องบินขับไล่ เอฟ ๕ รถสายพานลำเลียงพล ปืนใหญ่ ฯลฯ เปิดให้ประชาชนเข้าชมได้ทุกวัน นับว่าเป็นพิพิธภัณฑ์การสู้รบกลางแจ้งที่ทันสมัยแห่งหนึ่ง
อนุสรณ์สถานผู้เสียสละเขาค้อ
            อนุสรณ์สถานผู้เสียสละเขาค้อ สร้างด้วยหินอ่อนรูปทรงสามเหลี่ยม ตั้งอยู่บนยอดเขาค้อ หมู่ที่ ๑๓ ตำบลทุ่งสมอ อำเภอเขาค้อ สร้างขึ้นเพื่อเทิดทูนวีรกรรมของพลเรือน ตำรวจ ทหาร ที่ได้เสียสละเลือดเนื้อและชีวิต เพื่อป้องกันผืนแผ่นดินไทย ให้รอดพ้นจากผู้หลงผิดคิดร้ายต่อประเทศชาติ ในเขตพื้นที่รอยต่อ ๓ จังหวัด คือ พิษณุโลก - เพชรบูรณ์ - เลย ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ถึง พ.ศ. ๒๕๒๕
พระมหาธาตุเจดีย์
            เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๙ สมเด็จย่าของปวงชนชาวไทย ได้ทูลขอต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้พระราชทาน พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธองค์ไปบรรจุไว้บนเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ดินแดนที่มีการต่อสู้ที่รุนแรงกว่าที่แห่งใด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานพระบรมสารีริกธาตุจำนวน ๙ องค์ และทูลขอให้สมเด็จพระสังฆราชองค์ปัจจุบันนี้ อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาทางอากาศ ส่วนทางพื้นดินนั้น พลเอกพิจิตร  กุลละวณิชย์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก รอรับอยู่ที่เขาค้อ เพราะท่านผู้นี้เป็นผู้ที่ปฏิบัติการรบบนเขาค้อมามาก และคลุกคลีอยู่กับการพัฒนาเขาค้อมาโดยตลอด เมื่อรับแล้วก็บรรจุไว้ในองค์พระธาตุจำลอง และอัญเชิญไว้ที่วัดวิชมัย (ธรรมยุติ) และประดิษฐานอยู่ที่วัดนี้นานถึง ๕ ปี
            ในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ผมได้รับพระราชทานยศพลเอก และปฏิบัติงานด้านยุทธศาสตร์พัฒนาอยู่กับ พล.อ.พิจิตร  กุลละวณิชย์  ซึ่งขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผมได้เรียนเสนอแนะว่าสมควรสร้างพระมหาธาตุเจดี ขึ้นบนเขาค้อ และต้องสร้างวัดหรือพัฒนาวัดวิชมัยให้เป็นวัดที่ประดิษฐานพระมหาธาตุเจดีย์ด้วย ท่าน พล.อ.พิจิตร กุลละวณิชย์  ได้เห็นชอบและตั้งให้ผมเป็นหัวหน้าคณะทำงาน ซึ่งมีชุดปฏิบัติงานอยู่ประมาณ ๑๐ คน แต่ได้ทำงานกันอย่างรวดเร็วมาก โดยให้อาจารย์จากกรมศิลปากร ได้ออกแบบให้ทั้งวัดและแบบพระมหาธาตุเจดีย์ จะหาทุนสร้างวัตถุมงคล คือเหรียญของสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งได้เข้าเฝ้าขอประทานอนุญาต ซึ่งก็ได้ประทานให้สร้างพระบูชา คือพระญาณนเรศวร์ พระประธานของวัดญาณสังวราราม ถวายรายงานเพื่อบังคมทูลเชิญ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ มาเป็นประธานในพิธีเททอง สำรวจหาพื้นที่ที่อยู่ติดกับวัดวิชมัยนั่นเอง และเตรียมการอีกหลายอย่างจนถึงขั้นวันมีพิธีเททอง และที่สำคัญที่สุดคือ การหาทุนเพื่อก่อสร้างวัตถุมงคล
            ต่อมา พล.อ.พิจิตร กุลละวณิชย์  ได้ย้ายไปรับราชการในตำแหน่งรองปลัดกระทรวงกลาโหม เห็นว่าคณะทำงานได้เตรียมการไว้มากแล้ว สมควรตั้งคณะกรรมการต่อไป จึงแต่งตั้งคณะกรรมการจากนายทหารทุกเหล่าทัพ ซึ่งมีคณะกรรมการมากเป็นจำนวนนับร้อยคน ผลการประชุมของคณะกรรมการไม่ได้ข้อยุติไม่ค่อยเห็นด้วยกับการเตรียมการของคณะทำงาน เพราะท่านที่เป็นกรรมการไม่เคยไปคลุกคลีอยู่บนเขาค้อ เหมือนกับพวกคณะทำงาน ประชุมกันไม่กี่ครั้งงานไม่คืบหน้า อาจารย์ศิลปากรที่ออกแบบก็ด่วนจากไปก่อน ท่านประธาน ฯ และตัวผมก็ปลดเกษียณอายุราชการ กรรมการที่เหลือก็แตกฉานซ่านเซ็นไม่มีใครเป็นหัวหน้าที่จะดำเนินการต่อไป
            จนต่อมาประมาณปี พ.ศ. ๒๕๔๐ หลังจากที่ท่าน พล.อ.พิจิตร  กุลละวณิชย์ ได้ไปเป็นองคมนตรี แล้วท่านได้ริเริ่มฟื้นงานนี้ขึ้นมาใหม่ และได้ขอเงินสนับสนุนจากกองการสลากกินแบ่ง จนสามารถสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ได้สำเร็จโดยสร้างที่พื้นที่เดิม คือข้างวัดวิชมัย และด้วยแบบแปลนเดิมที่อาจารย์ศิลปากรได้ออกแบบไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๔ (โดยคณะทำงานดำเนินการไว้) และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ ได้เสด็จไปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุทั้ง ๙ องค์ เมื่อ ๑๔ มกราคม ๒๕๔๒ ต่อมาอีกปีหนึ่งคือ ในมกราคม ๒๕๔๓ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ จึงเสด็จไปเปิดพระบรมธาตุเจดีย์แห่งนี้ เป็นศรีสง่าแก่เขาค้อ แก่เพชรบูรณ์ และเตือนใจให้ทหารผู้กล้า ได้ระลึกถึงในวีรกรรมที่ร่วมกันสร้างไว้บนแผ่นดินเขาค้อแห่งนี้
            ผมเคยแนะนำร้านอาหารบนเขาค้อไว้ร้านหนึ่ง อยู่ใกล้น้ำตกศรีดิษฐ์ คือร้านศรีดิษฐ์โภชนา อาหารหลักของร้านคือ ไก่ย่าง ส้มตำ ข้าวผัด แกงจืดฟักแม้ว วันนี้ยังยืนยันร้านเดิม แต่ขอแนะนำเพิ่มเติมไว้ว่าหากมาจากเพชรบูรณ์ประมาณ ๑๒ กิโลเมตร ถึงตำบลนางั่ว ซึ่งจากตำบลนี้เลยไปอีก ๑ กิโลเมตร จะถึงทางแยกซ้ายขึ้นเขาค้อ ร้านที่จะแนะนำคือ ร้านยุพา ร้านนี้ดั้งเดิมมานานกว่า ๑๕ ปีแล้ว หากมาจากเพชรบูรณ์ ประมาณ ๑๒ กิโลเมตร จะถึงตำบลนางั่ว ร้านอยู่ทางขวามือห่างจากขอบถนนสัก ๒๐ เมตร ร้านขนาด ๓ ห้อง อาหารอร่อยมาก ๆ หาใครสู้ได้ยากคือ กระเพาะปลาแห้ง นอกจากนั้นเป็นอาหารจานเดียวทั้งหลาย เช่นผัดไทย ก๋วยเตี๋ยวผัด อาหารตามสั่งก็มี ส่วนของหวานมีขนมน้ำ ๆ ที่อร่อยประจำร้านคือขนมลืมกลืน หากเลยร้านยุพาไปอีก ประมาณ ๕๐ เมตร ฝั่งเดียวกัน มีอีกร้านชื่อร้านโกเข่ง ร้านนี้เก่งทางก๋วยเตี๋ยวประเภทผัด และของดีโกเข่งคือ ขนมจีบ ซาลาเปา ส่วนของหวานก็ตะโก้ ผมผ่านไป ผ่านมาก็มักแวะกินกลางวันที่ยุพา แล้วซื้อเสบียงเพิ่มเติมไปจากโกเข่ง จึงขอเชิญชวนไปเที่ยวเขาค้อ อดีตดินแดนแห่งความขัดแย้ง เบอร์โทรศัพท์ที่ควรทราบไว้เพื่อการติดต่อ คือ วัดวิชมัย ๐๕๖ - ๗๒๘๐๖๕ ติดต่อที่พักที่โรงแรมเขาค้อ ซึ่งทหารดำเนินการที่พักดีราคาไม่แพง ๐ - ๑๒๒๗ - ๑๙๖๕ ไปกันเป็นหมู่เป็นคณะไปพักที่เรือนรับรองพระตำหนักเขาค้อ ๐๕๖ - ๗๒๒๐๑๑ รับรองได้พบอากาศหนาวเย็นตลอดปี ไปเขาค้อฤดูไหนอย่าลือเอาเสื้อกันหนาวไปด้วยก็แล้วกัน

----------------------------------


| ย้อนกลับ | บน |


เขาค้อ: ข้อมูลเขาค้อ ท่องเที่ยวเขาค้อ ข้อมูลเที่ยวเขาค้อ


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์