ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > มรดกไทย > มรดกท่องเที่ยว > ภูพระบาท
 
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท
| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |

อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท

            อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท  ตั้งอยู่ที่บ้านติ้ว หมู่ 6 ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี  โดยอยู่ในความดูแลของกรมศิลปกร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2524 และเปิดเป็นทางการเมื่อ 26 มิถุนายน 2535 มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 3,430 ไร่ เดิมชื่อ "ภูกูเวียง"  อยู่ในแนวเทือกเขาภูพาน เป็นทิวเขาที่ไม่สูงนัก โดยเฉลี่ย 300-500 เมตร ทอดยาวจากจังหวัดอุบลราชธานี มายังมุกดาหาร  กาฬสินธิ์  สกลนคร และอุดรธานี  ซึ่งในปัจจุบันรวมถึงจังหวัดหนองบัวลำภูด้วย สภาพของป่าเป็นป่าป่าเบญจพรรณ ไม้ส่วนมากเป็นไม้เนื้อแข็ง เช่น  มะค่า  เต็ง  รัง  ขิงชันแดง  ประดู่ เป็นต้น  เป็นแหล่งพบหลักฐานว่าเป็นแหล่งโบราณคดีที่มีมนุษย์อยู่อาศัยมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และติดต่อเรื่อยมาถึงสมัยล้านช้าง และอยุธยา
            ภูพระบาท  เป็นเขาแห่งหนึ่งที่มีหินรูปร่างประหลาดแปลกตา เช่นเดียวกับในอุทยานอีกหลายแห่ง โดยเฉพาะในภาคอีสาน เช่นที่อำเภอเทพสถิตย์ จังหวัดชัยภูมิ หรือ ผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้น   ซึ่งล้วนเกิดจากขบวนการทางธรรมชาติ แต่มนุษย์หลายสมัยได้เข้ามาให้ความหมายกับภูเขาแห่งนี้ พร้อมทั้งทิ้งร่องรอยวัฒนธรรมไว้ให้ชมจนถึงปัจจุบัน  ซึ่งมนุษย์เป็นผู้สร้างความหมายใหม่ให้เป็นอุทยานประวัติศาสตร์ สถานที่ท่องเที่ยว ศึกษา
            หินรูปร่างประหลาดเหล่านี้ให้ย้อนกลับไปสัก 100 ล้านปี  ตั้งแต่เชื่อกันว่าดินแดนแถบภูพระบาทนี้ยังมีน้ำแข็งปกคลุมอยู่  เมื่อความร้อนในแผ่นดินสูงขึ้น น้ำแข็งเริ่มละลายไหลลง  ทำให้ครูดกับแผ่นดินแผ่นหิน  ทำให้รูปร่างหินเหล่านั้นแปรสภาพเปลี่ยนรูปร่างไป กลายเป็นรูปร่างประหลด ๆ ให้ผูกเป็นนิยายให้คล้องจองกันได้ และในเวลานั้นยังไม่มีมนุษย์เกิดขึ้น แม้จะล่วงเข้ามาในยุคล้านปีที่ผ่านมา ก็เชื่อว่ายังไม่มีมนุษย์ที่ภูพระบาท  ซึ่งตอนนั้นชื่อก็คงยังไม่มีเพราะไม่มีมนุษย์มาตั้งให้  เมื่อมีมนุษย์เกิดขึ้นในโลก กระจายอยู่ทั่วไป เชื่อกันว่าดินแดนอีสานเป็นส่วนหนึ่งที่มีมนุษย์ยุคแรก ๆ ที่เรียกว่า ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เข้ามาอยู่อาศัย  ซึ่งนักโบราณคดีเชื่อว่ามีมนุษย์เข้ามาอยู่อาศัยในราว 2,000-3,000 ปีมาแล้ว  เนื่องจากพบภาพเขียนสีบนผนังหินมากมายหลายแห่ง  เป็นภาพเขียนสีแบบเดียวกับที่พบในแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ทั่วไป เช่นที่ผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้น
            เข้าใจกันว่ามนุษย์ยุคประวัติศาตร์ที่อาศัยอยู่รอบ ๆ ภูพระบาทนี้คงมีความเชื่อว่า ภูพระบาทเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์  ซึ่งอาจจะเป็นด้วยรูปลักษณะที่พิกล ๆ ประหลาดของเสาหิน หรือเพิงหินบนเขา ซึ่งมองดูแล้วไม่น่าเชื่อว่าไปตั้ง ไปซ้อนกันโดยธรรมชาติได้อย่างไร มนุษย์นั้นจึงอาจจะเชื่อว่านี่คือ  "หลักของโลกและประตูสู่บาดาล"  ก็เป็นได้
            มนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์คงต้องใช้ภูพระบาทที่มีลานหินกว้าง มีเพิงหินเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรม ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และยิ่งเมื่อประมาณ 1,000 ปีที่ผ่านมา พุทธศาสนาได้แพร่หลายเข้ามายังเอเซียอาคเนย์ พร้อมกับรูปแบบศิลปแบบใหม่ที่เรียกว่า แบบ "ทวาราวดี"  เชื่อว่าทำให้ชุมชนแห่งนี้รับเอามาผสมผสานกับความเชื่อถือดั้งเดิมเกิดเป็น พุทธแบบทวาราวดี  ซึ่งจะเห็นได้จากเสนาหินรอบเพิงหินหลายแห่ง และรูปลักษณะพระพุทธรูปบางองค์เป็นแบบทวาราวดี และเมื่อวัฒนธรรมของขอมแพร่เข้ามา ก็ส่งอิทธิพลความเชื่อแบบฮินดู หรือพรามหณ์ มาสู่ชุมชนภูพระบาท ดังจะเห็นได้จากการดัดแปลงพระพุทธรูปให้กลายเป็นเทวรูปที่ถ้ำพระ  มีการแกะสลักผ้านุ่งของเทวรูปให้เป็นแบบของขอม และนักโบราณคดีเชื่อว่าศิลปที่พบที่ภูพระบาทนี้ ได้รับอิทธิพลมาจากล้านช้างและกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ประมาณพุทธศตวรรษที่ 22-23 และสิ้นสุดการเปลี่ยนแปลงในยุคของอยุธยาตอนปลาย ต่อจากนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้นอีก จึงถือว่าเป็นอุทยานประวัติศาตร์ แต่ยังไม่ถึงขนาดเป็นมรดกโลกเหมือนอย่างในบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
            การเดินทางไปภูพระบาท  ก็ต้องไปผ่านจังหวัดอุดรธานีเสียก่อน  ซึ่งเจริญขึ้นแทบจะจำถนนหนทาง  ร้านอาหารเก่าๆ  แทบไม่ได้  รถรามากมายวิ่งกันขวักไขว่ไปหมด  โรงแรมที่พักไม่ใช่โรงแรมเดิมที่เคยพักคือเจริญโฮเตล  โรงแรมไหนไม่บอกเดี๋ยวเขาเล่นงานเอา  โรงแรมใหญ่โต  บริการพอใช้  การจราจรวุ่นวายและหนวกหูด้วยเสียงเพลงจากผับทั้งหลายที่แทบจะล้อมโรงแรมนี้ดังตึงๆ กว่าจะสงบได้ก็เลยค่อนคืนไปแล้ว  หากเป็นสมัยที่ยังหนุ่มกว่านี้ก็คงต้องสัก 20 ปี  เสียงตึงๆ อย่างนี้ไม่เดือดร้อนเพราะนั่งก๊งกันค่อนคืนเหมือนกัน  กว่าจะขึ้นมาห้องนอนก็แทบจะคลานขึ้นมา  หัวเอียง 45 องศาก็กรนแล้ว  แต่ตอนนี้ก็ใกล้ร้อยเข้าไปทุกทีเจอเสียงเพลงตึงๆ  นอนไม่หลับและย่านนี้จะหาที่จอดรถได้ยากด้วย  เพราะคนจะมาเที่ยวกันแยะ
            จากขอนแก่นมาตามถนนสาย 2 เช่นเดิม ถนนส่วนใหญ่เรียกว่า 99 % แล้วเสร็จเป็นสี่เลนหมดแล้ว จนกระทั่งถึงทางเลี่ยงเมืองที่แยกออกทางขวา กำลังขยายเป็นสี่เลน ทางเลี่ยงเมืองเส้นนี้คือเส้นทางที่จะเลี่ยงเมืองอุดรธานี เพื่อไปยัง สกลนครหนองคาย รวมทั้งไปภูพระบาทด้วยเพราะอยู่ในเส้นทางไปหนองคาย ตรงทางแยกเลี่ยงเมือง หากตรงก็เข้าเมืองไปเลย เป็นถนนสี่เลนหมดแล้ว
            ดังนั้น หากอยู่ในเมืองจะไปยังภูพระบาท  ถ้าจะให้ผมบอกทางผมก็ตั้งต้นจากหลังสถานีรถไฟ วิ่งไปตามถนนหลังสถานีรถไฟ จนถึงวงเวียนก็เลี้ยวขวา เมื่อเลี้ยวไปแล้วก็ตรงเรื่อยไปจนไปพบกับถนนที่กำลังขยายทางจราจร จึงต้องสังเกตุให้ดี ๆ เพราะหลัก กม. หายไปแล้ว  วิ่งไปจนถึงหลัก กม.13 เสาหลักไม่มี   มองเห็นป้ายไปปักอยู่กลางถนนว่า ไปอำเภอบ้านผือ ให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนน 2021 ไปยังอำเภอบ้านผือ ระยะทาง 42 กม. ถึงแล้วแยกขวาสัก 500 แล้วแยกซ้ายเข้าถนน 2344 ไปอีกประมาณ 12 กม. เป็นทางลาดยางตลอด มีป้ายบอกนำเมื่อถึงทางสามแพร่ง หากแยกซ้ายจะไปยังวัดพระพุทธบาทบัวบก แยกขวาก็จะเข้ามายังภูพระบาท ซึ่งต้องผ่านด่านของกองอุทยานเข้าไป วิ่งตรงต่อไปหน่อยเดียวก็จะถึงลานจอดรถกว้างขวาง ซึ่งสำนักงานของอุทยาน ร้านค้า ร้านหนังสือขายหนังสือของกรมศิลปากร  มีไม่มากนัก น่าซื้อ  ศูนย์ข้อมูลการท่องเที่ยว แผนผังภูพระบาท ห้องสุขา จะรวมกันอยู่รอบ ๆ บริเวณลานจอดรถแห่งนี้หนังสือกรมศิลปากรนั้นราคาถูกน่าซื้อ  มีขายตามพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ทั่วประเทศ  หรือตามสถานที่ที่อยู่ในความดูแลของกรมศิลปากร  แต่จะเอามาขายไม่มากนักและอาจจะไม่ได้ขายตรงกับสถานที่ท่องเที่ยวก็ได้  ไปภูพระบาทอาจจะไปเจอเอาหนังสือผาแต้มเข้าก็ได้
            ก่อนออกเดินทางชมภูพระบาทขอให้ดูแผนผังในกระดานให้ละเอียดเสียก่อนแล้วจะเดินด้วยความสนุก
            ขอย้อนไปเข้าวัดพระพุทธบาทบัวบกเสียก่อน เมื่อมาถึงทางสามแพร่ง ขอให้แยกซ้ายเข้าไปยังวัดพระพุทธบาทบัวบก ซึ่งแยกเข้าไปใกล้นิดเดียว  และสองข้างทางก็เริ่มมีหิน  ที่รูปร่างประหลาด ๆ  สวยงามเพราะอยู่ในอุทยานเช่นกัน  วัดตั้งอยู่บนเนินเขา  รอยพระพุทธบาทถูกสร้างพระธาตุเจดีย์ครอบเอาไว้  แต่สามารถเข้าไปนมัสการได้โดยสะดวก  เจดีย์สร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2463 - 2477  คำว่า " บัวบก"  เป็นชื่อของพันธุ์ ไม้ชนิดหนึ่งที่เกิดตามป่า  มีหัวและใบคล้ายใบบัว  ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า  "ผักหนอก"  บัวบกนี้ขึ้นอยู่มากที่บริเวณพบรอยพระพุทธบาท  จึงพากันเรียกพระพุทธบาทนี้ว่า  "พระพุทธบาทบัวบก"  หรือคำว่า "บัวบก"  อาจจะมาจากคำว่า "ปกก"  ซึ่งหมายถึงไม้แห้งแล้ง  ทุก ๆ ปีในช่วงเดือน 3 ขึ้น 13 ค่ำ ถึง 15 ค่ำ  จะมีงานนมัสการพระพุทธบาทบัวบก
            พระธาตุเจดีย์องค์นี้ผู้สร้างคือ  หลวงปู่สีทัต  สุวรรณเมาโจ (บางแห่งเขียนว่า  ศรีทัต)  โดยเริ่มมาพัฒนาวัดเมื่อ พ.ศ. 2460  พระธาตุสร้างตามรูปแบบพระธาตุพนมองค์เดิม ( ก่อนที่จะพังลงมาเมื่อปี พ.ศ. 2518 ) ที่วัดนี้มีกุฏิเจ้าอาวาสที่สร้างครอบหินก้อนมหึมาเอาไว้  แต่สร้างได้สวยงาม  มีถ้ำพญานาคมีพระพุทธรูปเสี่ยงทาย ลองเสี่ยงทายดู  หากยกขึ้นก็แสดงว่าสำเร็จ แต่ต้องยก 2 ครั้ง  ยกครั้งแรกอย่าเพิ่งไปอธิษฐานอะไรเข้า  ดูว่าจะยกขึ้นหรือไม่  ครั้งที่ 2 จึงอธิษฐาน เช่นครั้งแรกยกไม่ขึ้น คราวที่ยกด้วยการอธิษฐานก่อน ก็อธิษฐานว่าหากยกขึ้นจะ "สำเร็จ"  มีศาลาจำหน่ายยาสมุนไพร  ซึ่งท่าทางเจ้าอาวาสท่านชำนาญทางสมุนไพร  เพราะตัวท่านเองหากให้ทายอายุน่าจะเกิน 35 ปี  แต่พอถามท่าน ๆ บอกว่าอาตมาอายุ 50 ปีแล้ว  และบางโรคท่านรักษาได้  แต่ท่านห้ามเอาไปเขียน บอกใบ้ให้ก็ได้ว่า 2 โรคที่ตายแน่ ๆ คือ มะเร็งโรคหนึ่ง  กับอีกโรคหนึ่งท่านบอกว่าเคยลองรักษามาแล้ว  เพราะคนที่เป็นโรคนี้ต้องตายแน่ ๆ อยู่แล้ว  ก็น่าจะลองรักษากันให้สุดฤทธิ์และท่านบอกยามาให้ขนานหนึ่งสำหรับสตรีโดยเฉพาะ  ที่วัดไม่มีขายต้องหาซื้อเอาเอง  ได้แก่  เห็ดบก  เห็ดที่เกิดจากพื้นบ้านเช่นจากไม้เต็ง  ไม้รัง  รากไผ่เพ็ก  และพญารากเดียว  หรือรากครก  เอามาต้มกิน  เลือดลมจะเดินปกติแล  ท่านบอกให้อย่างนั้นผมไม่เคยลองต้มกินเพราะกลัวเลือดลมจะเดินมากเกินไป ธรรมดาก็ปกติดีอยู่แล้ว
            ทีนี้กลับมายังภูพระบาท  ซึ่งการชมหินต่าง ๆ  ในภูพระบาท  ตลอดจนหินที่เหมือนโบราณสถานนั้น  ต้องรู้นิทานเรื่อง " บารส  อุสา "  เสียก่อนจึงจะชมสนุก  เพราะเขาตั้งชื่อหินเหล่านั้นให้สอดคล้องกับฉากในนิทานเรื่องนี้ ความมีอยู่ว่า
           นางอุสาเป็นหญิงที่มีกลิ่นกายหอมและงดงามนัก  เมื่อเยาว์วัย (ไม่ทราบว่าเป็นบุตรของใคร) ได้ถูกพระยาพานหรือกงพาน เจ้าเมือง พาน (เมืองนี้อยู่ใกล้ ๆ กับภูพระบาท)  สู่ขอไปเป็นธิดา เมื่อนางเป็นสาวก็ยิ่งสวยมากขึ้น  พระยาพานก็หวงแหนนัก  เจ้าชายเมืองไหนมาสู่ขอก็ไม่ยอมยกให้  แถมยังสร้างตำหนักบนหอสูงเพื่อให้นางอุสาอยู่อย่างปลอดภัยและให้เรียนวิชากับฤาษีจันทา วันหนึ่งนางอุสาลงไปเล่นน้ำในลำธาร  นางได้เก็บดอกไม้มาร้อยเป็นมาลัยแล้วปล่อยลอยน้ำไปเพื่อเสี่ยงหาคู่  พวงมาลัยได้ลอยไปจนถึงเมือง ปะโคเวียงงัว ท้าวบารสซึ่งเป็นบุตรของเจ้าเมืองปะโคเวียงงัวเก็บมาลัยได้  จึงออกตามหานางอุสา  ได้ตามมาจนถึงเมืองพาน  ม้าของท้าวบารสหยุดไม่ยอมเดินต่อ  ท้าวบารสจึงลงจากหลังม้าเดินเที่ยวจนไปพบนางอุสากำลังอาบน้ำอยู่  พอพบกันก็เกิดรักกันและลักลอบได้เสียกัน
            ต่อมาเมื่อท้าวกงพาน  ทราบเรื่องก็โกรธมากสั่งประหารชีวิตท้าวบารสเสีย  และมุขอำมาตย์ขอไว้  ท้าวกงพานหรือท้าวพาน (น่าจะชื่อท้าวพาล)  จึงคิดอุบายท้าท้าวบารสสร้างวัดให้เสร็จภายในเวลา 1 วัน  โดยเริ่มตั้งแต่เช้าไปแพ้ชนะกันเมื่อดาวประกายพรึกขึ้น  ผู้ใดแพ้จะถูกตัดหัว  ท้าวกงพานเป็นเจ้าเมือง มีผู้คนมากจึงเกณฑ์มาสร้างได้  ส่วนท้าวบารสไม่ได้อยู่เมืองของตัวด้วยจะเอากำลังคนที่ไหนมา  พี่เลี้ยงของนางอุสากลัวน้องจะเป็นหม้ายจึงคิดอุบายให้ท้าวบารสนำเอาโคมไปแขวนไว้บนยอดไม้  ในเวลาดึกคณะทำงานของท้าวกงพาน เห็นโคมบนยอดไม้นึกว่าดาวประกายพรึกขึ้นแล้วเลยเลิกสร้าง  ท้าวบารสคงสร้างต่อไปจนแล้วเสร็จ  ท้าวกงพานแพ้และถูกตัดหัว (นักกีฬาแท้)
            ท้าวบารสจึงนำนางอุสากลับเมืองปะโคเวียงงัว  แต่ท้าวบารสนั้นมีชายาอยู่แล้วคงจะหลายคนด้วย  นางอุสาจึงถูกชายาเหล่านั้นกลั่นแกล้ง และออกอุบายร่วมกับโหราจารย์  ให้ทำนายว่าท้าวบารสมีเคราะห์  ต้องออกเดินป่าผู้เดียวเป็นเวลาหนึ่งปี  นางอุสาอยู่ทางนี้ถูกกลั่นแกล้งจึงหนีจึงหนีกลับเมืองพานแล้วจบด้วยการตรอมใจตาย  เมื่อท้าวบารสกลับมาทราบว่านางอุสาหนีไปแล้วก็ออกตามมาที่เมืองพานและทราบว่านางอุสาตายแล้ว  จึงนำศพไปฝังไว้ที่หินก้อนหนึ่ง  ไม่ช้าท้าวบารสก็ตรอมใจตายตามไป และศพก็ถูกฝังอยู่ข้าง ๆ ศพนางอุสานั่นเอง
            ตำนานที่นำมาเล่านี้  ผมคัดลอกเอามาจากหนังสือภูพระบาทของการท่องเที่ยว  และตรงกันกับในหนังสืออุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทของกรมศิลปากร  มีขายที่ร้านที่ลานจอดรถ  แต่มาอ่านพบในหนังสือ อสท.  เรื่องภูพระบาทเช่นกันไม่ได้จบอย่างนี้จบแบบที่เรียกว่าแฮปปี้ เอ็นดิ้ง  คือนางอุสาไม่ตาย  ครองรักครองสุขกับท้าวบารส  ผมเอามาเล่าไว้เผื่อใครอ่านเล่มนี้จะได้ไม่เถียงผมว่าเล่าเรื่องผิด ๆ
            ทีนี้เมื่อเกิดตำนาน ก็จัดการนำเอาหินประหลาด ๆ เหล่านั้นมาตั้งชื่อให้เข้ากับนิทาน  เช่น หอนางอุสาที่เป็นหินเหมือนหอจริง ๆ  เกิดจากการกัดกร่อนตามธรรมชาติ  จนกลายมาเป็นปฏิมากรรมแปลกตา  ชุมชนโบราณคงถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์  ด้านบนได้รับการต่อเติมให้เป็นห้องแคบ ๆ  สันนิษฐานว่าน่าจะใช้ในการประกอบพิธีกรรมหรือบำเพ็ญเพียรและรอบ ๆ  หอนี้มีเสมาปักล้อมกรอบเอาไว้  แสดงความเป็นเอกลักษณ์ในพระพุทธศาสนาและเสมาหินเหล่านี้ก็ยังอยู่  ลักษณะนำมาปักไม่ใช่หินโผล่ขึ้นมาเอง  เป็นรูปเสมามีหลายหลักด้วย
            ถ้ำช้าง    เป็นเพิงหินที่ชุมชนโบราณใช้ประโยชน์ มีภาพเขียนสีรูปเรขาคณิต และรูปช้าง
           หีบศพพ่อตา    เป็นเพิงหินที่มีร่องรอยการสกัดหินให้เรียบ  ด้านตะวันตกเรียกว่าถ้ำมือแดง  ที่เพดานมีภาพเขียนสี
           หีบศพท้าวบารส    นิทานบอกว่าฝังศพที่ตรงนี้
           หีบศพนางอุสา    เพิงหินที่คล้ายโต๊ะ ด้านในมีการสกัดให้เรียบ  นิทานบอกว่าศพนางอุสาฝังตรงนี้
           วัดพ่อตา    เป็นเพิงหินขนาดใหญ่มีการสกัดหินภายในให้เรียบ  มีร่องรอยว่าเคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป
            นอกจากนี้ยังมีอีกหลายแห่งล้วนแต่งดงามแปลกตาน่าชม  และตั้งชื่อให้สอดคล้องกับนิทานทั้งสิ้น  เช่นโบสถ์วัดพ่อตา  ถ้ำพระ
(สลักผนังหินให้เป็นรูปพระพุทธรูป) ลานหินหน้าถ้ำพะ  บ่อน้ำนางอุสา
           เพิงนกกะทา (มีเสมาหินตั้งล้อม) ถ้ำวัว  ถ้ำคน (มีภาพเขียนสีแดง)  ถ้ำฤาษี  คอกม้าท้าวบารส
           คอกม้าน้อย " วัดลูกเขย "  ต้องไปชมให้ได้เพราะเพิงหินที่ได้รับการดัดแปลง และต่อเติมให้เป็นอาคารขนาดเล็ก ที่ช่องประตูและหน้าต่าง มีพระพุทธรูป 5 องค์ (ถูกตักเศียรไปเรียบร้อยแล้ว ถ้ำพระเสี่ยง  กลุ่มภาพเขียนสีโนนสาวเอ้  รอยพระพุทธบาทหลังเต่า  เทือกเขานี้มีรอยพระพุทธบาทถึง 5 รอย  ที่สำคัญคือ พระพุทธบาทบัวบก ที่ได้เล่ามาแล้ว ฯ
            การไปชมอุทยานประวัติศาสตร์แห่งนี้นั้น นับว่าสะดวกสบายที่สุดเพราะรถเข้าถึงที่ เดินสบายไม่เหนื่อยนัก
หากเทียบกับไปชมแห่งอื่น ๆ แล้ว ดีกว่ามากมาย และยังมีสิ่งที่ควรชมมากยิ่งกว่าแห่งอื่น ๆ ที่ผมเคยชมมา เช่นที่อำเภอเทพสถิตย์ ชัยภูมิก็มีไม่มากเท่านี้ หรือที่ผาแต้มก็ไม่มากแถมต้องเดินกันอานเลยทีเดียว  ที่นี่มีหมดทั้งหินประหลาด ๆ และภาพสี  รถจอดสะดวกสบายใกล้เมืองใหญ่คือ อุดรธานี หากได้ชนิดพัก 1 คืน ยังไหว ออกจากกรุงเทพ ฯให้เช้า ๆ หน่อยสักตีห้า วิ่งรวดเดียวไปแวะกินไก่ย่าง เขาสวนกวางยังไหว และจะถึงยังภูพระบาทประมาณไม่เกิน 15,00 อาหารเช้าต้องประเภทกาแฟพกพาใส่กระติกไปกินกันในรถ  จอดพักเมื่อเติมน้ำมันหรือเข้าสุขา อย่างนี้ วันแรกได้เที่ยวแล้ว วันที่สองเที่ยวในเมืองอุดรธานี   ตื่นขึ้นมากินไข่กะทะร้านเลยหอนาฬิกาไปทางขวามือ มี 2 ร้าน  อุดรโอชา  กับอีกร้านลื่มชื่อไปแล้ว  มีป้ายบอกไข่กะทะ  เที่ยวทั่วเมืองแล้วกลับมากินไก่ย่างสวนกวางเสียอีกมื้อ แล้วบึ่งกลับกรุงเทพ ฯ  ท่านที่อยู่จังหวัดอื่นต้องลองคำนวนระยะทาง และเวลาดูโดยอิงตามนี้ จะสนุกและเหนื่อยดี ส่วนผมคนอายุใกล้ร้อยใช้วิธีนอนขอนแก่นคืนหนึ่ง รุ่งเช้าไปภูพระบาทแล้วกลับมานอนอุดรธานี รุ่งขึ้นจึงกลับ
            จากหลังสถานีรถไฟ  มีถนนตรงมาจนถึงวงเวียน  พอถึงวงเวียนให้เลี้ยวขวาผ่านสามแยกทางซ้ายผ่านธนาคารทหารไทย ร้าน " ฮ้อ " โภชนา  อยู่ทางซ้ายมือ  ยกป้ายสีแดง  ตัวอักษรสีขาวตัวโตมากอ่านชัด  ตังโต๊ะออกมาถึงฟุตบาธ  หน้าร้านใกล้ๆ กันมีรถเข็นขายสารพัดแมลงทอดเหมาะเอามาแกล้มเบียร์  ตอนเข้าไปคนยังน้อย  ท่าทางคงเป็นตัวฮ้อ  เดินมาจากหน้าเตามาแนะนำอาหารเอง  ยังกับรู้จักผมมาก่อน  ผมเดินตรงไปที่อ่างอาหารแล้วชี้  ตามคำแนะนำของฮ้อบ้าง  ชี้เอาเองในตู้บ้างได้มาหลายอย่างคือไส้พะโล้  ซึ่งเป็นพะโล้ไส้ที่เปื่อยนุ่มแต่ได้เคี้ยวสนุกไม่ใช่เปื่อยยุ่ย  น้ำพะโล้อร่อยเอามาราดข้าวแล้วใช้ตะเกียบพุ้ยข้าวสวยร้อนๆ ในชาม
            จับฉ่าย  ของเขาก็ดีได้เคี้ยวผัก
            เยื่อไผ่ตุ๋นซี่โครงหมู ร้อนโฉ่  รสเด็ด ซดชื่นใจ ร้อน หอม รสดีนัก
            เต้าหู้พะโล้ของเขาก็ดี  ได้น้ำพะโล้ราดข้าวเพิ่มขึ้น
            เต้าหู้ขาวผัดกุ่ยฉ่าย  กระเพาะหมูผัดเกี๊ยมฉ่าย  ผัดเก่งจริงๆ  เพราะสุกแล้วยังกรอบทั้งกระเพาะหมูและเกี๊ยมฉ่าย  แถมรสยังมีเปรี้ยวนิดๆ  ของเกี๊ยมฉ่ายเหลือไว้ให้อีก  ยกมาร้อนๆ  ให้ชิมทันทีจะเด็ดจริงๆ
            จบแล้วจ่ายสตางค์ไปรวม 180 บาท  ตรงนี้เด็ดกว่าเพื่อนเพราะราคาถูกน่ะซี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |

ภูพระบาท: ข้อมูลภูพระบาท ท่องเที่ยวภูพระบาท ข้อมูลเที่ยวภูพระบาท


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์