เรือนไม้
ก๋วยเตี๋ยว
เรือนไม้
ผมเคยเขียนถึงสถานีเกษตรหลวงดอยอ่างขางไปครั้งหนึ่งแล้ว อยากขอเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการหลวงไว้อีก
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงมี ๓๕ แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ภาคเหนือ
๕ จังหวัด คือ จังหวัดเชียงใหม่มี ๓๖ แห่ง รวมทั้งศูนย์พัฒนาโครงการหลวงอ่างขาง
จังหวัดเชียงราย
มี ๕ แห่ง จังหวัดลำพูน
มี ๓ แห่ง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
มี ๒ แห่ง จังหวัดพะเยา
มี ๑ แห่ง
เมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จไปยังหมู่บ้านคนไทย
ชาวเขาเผ่าม้งที่ดอยปุย ใกล้ดอยบวก ๕ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการเสด็จครั้งแรกและทรงพบว่าเช่นเดียวกับหมู่บ้านชาวไทยภูเขาทั่วไปคือยากจนมาก
ทั้ง ๆ ที่หมู่บ้านนี้อยู่ใกล้พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ พระองค์จึงได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน
สองแสนบาท เพื่อซื้อที่ดินจำนวน ๒๐๐ ไร่เศษ ซึ่งที่ดินนี้อยู่ระหว่างดอยบวก
๕ กับดอยปุย แล้วโปรดให้นักวิชาการเกษตรใช้เป็นที่วิจัยปลูกพืชและไม้ผลเมืองหนาว
พระราชทานนามส่วนนี้ว่า "สวนสองแสน"
นักวิชาการทำได้สำเร็จ สามารถหาวิธีการติดตา ต่อกิ่งท้อพันธุ์พื้นเมืองต่างประเทศเพื่อเปลี่ยนยอดให้เป็นพันธุ์ลูกใหญ่มีรสหวานฉ่ำ
แล้วนำสายพันธุ์ใหม่นี้ไปตระเวนแจก แนะนำให้ชาวเขาทดลองปลูกดู และได้ช่วยเหลือในการหาตลาดให้
ชาวเขาเริ่มเชื่อฟังและปลูกมากขึ้น เห็นผล เห็นรายได้ ซึ่งมากยิ่งกว่าการปลูกและไม่มีภัยจากกฎหมายบ้านเมืองด้วย
จึงเลิกการปลูกฝิ่นไปเองโดยไม่ต้องบังคับ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้ตั้ง "โครงการหลวง"
ซึ่งเป็นโครงการส่วนพระองค์เมื่อปลายปี พ.ศ.๒๕๑๒ โดยใช้ทุนจากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์
จากการบริจาคทั้งในและนอกประเทศ และพระราชทานชื่อว่า "มูลนิธิโครงการหลวง"
และมีพระราชดำรัสว่า "ถ้าสามารถทำโครงการนี้ให้สำเร็จให้ชาวเขาอยู่เป็นหลักแหล่ง
ให้สามารถอยู่ดีกินดีพอสมควร และสนับสนุนนโยบายที่จะรักษาป่า รักษาดิน ให้เป็นประโยชน์ต่อไป
ประโยชน์อันนี้จะยั่งยืนมาก"
พื้นที่โครงการหลวง ดอยอ่างขาง
จังหวัดเชียงใหม่ จึงเป็นสถานที่ที่น่าท่องเที่ยวอย่างยิ่ง ความงดงามของไม้ดอก
ไม้ประดับ ไม้ยืนต้น งดงามตลอดทั้งปี ทุกฤดูกาล อาหารก็อร่อย (ที่สโมสร อ่างขาง)
ที่พักดี ราคาถูก สะดวกสบาย (๐๕๓ ๔๕๐๑๐๗ - ๙) จึงขอแนะนำให้ไปเที่ยวกัน นักขับรถจะได้ทดสอบฝีมือในการขับรถขึ้นเขาด้วย
แต่ที่ยังรอดูอยู่คือการปล่อยให้หมู่บ้านในโครงการหลวงซึ่งมีอยู่ ๔ - ๕ หมู่บ้านนั้นพฤติกรรมไม่เหมาะ
เช่นบางหมู่บ้านสอนภาษาจีนในเวลากลางคืน บางหมู่บ้านกลายเป็นสถานีขนถ่ายได้แก่บ้านปางม้า
บางหมู่บ้านกลายเป็นสถานที่ลำเลียงแรงงานที่ไม่ถูกกฎหมายคือ บ้านนอแล แต่หมู่บ้านที่น่าไปเที่ยวก็บ้าน
ขอบด้ง และ นอแล ซึ่งอยู่ใกล้กันและใกล้โครงการหลวงห่างกันไม่กี่กิโลเมตร
ติดชายแดนไทย - พม่า ทีนี้เรื่องบอกกล่าวเล่าให้ฟัง
ตลาดบอง มาร์เช่ ที่ผมเคยเล่าให้ฟังว่าสะอาด ของกินอร่อย ๆ แยะ มีผู้ตกการบันทึกถามไถ่มาเสมอ
ทิศทางไป คือ ถนนวิภาวดีรังสิต ขาออกก่อนถึงสถานีรถไฟบางเขน มีทางแยกซ้ายเข้าวัดเสมียนนารี
ให้เลี้ยวซ้าย ข้ามทางรถไฟผ่านวัด ฯ ไปสัก ๕๐๐ เมตร ตลาดอยู่ทางซ้ายมือ จอดรถสะดวก
ของอร่อยมี "ร้านแก้วจีบ" อยู่ช่องแถวกลางทางท้าย ๆ สุดอร่อยคือ ถั่วแป๊ป
ปากหม้อ มีร้านพาย์รับรองความอร่อยโดย "อาจารย์มลุลี" (นักเขียนตำราอาหาร)
เรื่องที่สอง ผมเขียนเรื่องส่งให้ ห้องมรดกไทย กระทรวงกลาโหม ที่ดำเนินการด้วยความเสียสละของ
พล.อ.ชูชาติ หิรัญรักษ์ (ทำงานฟรี ไม่มีเงินเดือน และออกค่าใช่จ่ายเองมา
๔ ปีแล้ว) ผมช่วยเขียนให้ฟรีเช่นกัน จนได้รับพระราชทานรางวัล จากสมเด็จพระเทพฯ
แล้วมีคนอ่านทั่วโลก ใครอยากอ่านโปรดใช้อินเตอร์เนต หอมรดกไทย www.heritage.thaigov.net
แล้วดูดัชนีกลุ่มชาติ
ดูในหัวข้อเที่ยวทั่วไทยไปกับ พล.อ.โอภาส ฯ
แผงข้างศาลาการเปรียญวัดศาลเจ้า เดินผ่านต้องซื้อ กุ่ยฉ่าย "ของเจ๊มล" มี
๓ ไส้ ไส้กุ่ยฉ่าย ไส้เผือก ไส้มันแกว อร่อยสุด ๆ คือ ไส้เผือก จงซื้อกลับมากินบ้าน
อร่อยจนลืมกินข้าวเย็น
เมี่ยงมะม่วง แผงใกล้ ๆ กับกุ่ยฉ่าย เจ๊มล อมเปรี้ยว อมหวาน เคี้ยวสนุก
วัดศาลเจ้า วัดเก่าแก่ มีศาลเจ้าพ่อวัดศาลเจ้าริมแม่น้ำ จนน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาหน้าศาลศักดิ์สิทธิ์เวลามีงานพระราชพิธี
เขาบอกว่าต้องมานำน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาตรงหน้าศาลเจ้าไปเข้าพิธีด้วย (ผมไม่ยืนยัน)
ทีนี้ไปอย่างไร ไปวัดศาลเจ้า ไปศาลเจ้าพ่อที่ท่านเป็นขุนศึก ท่านถือทวน
ไปร้านกุ่ยฉ่าย เจ๊มล
เส้นทางที่น่าจะไปที่สุดคือ จากห้าแยกปากเกร็ด เลี้ยวขวา (หากมาจากแจ้งวัฒนะ)
เข้าถนนสาย ๓๐๖ มุ่งหน้าไปทางปทุมธานี ประมาณ ๑๓.๕ กิโลเมตร จะผ่านวัดทางซ้าย
เลยวัดนี้ไปสัก ๕๐๐ เมตร จะพบประตูวัด "วัดมะขาม" เลี้ยวซ้ายเข้าประตูวัดมะขาม
วิ่งไปสัก ๑ กิโลเมตร ผ่านอนามัยแล้วจะพบวัดมะขามอยู่ทางขวา ให้เลี้ยวซ้ายเข้าวัดศาลเจ้า
ผ่านเมรุ ผ่านหลังโบสถ์ จอดรถ เดินไปข้าง ๆ ศาลาการเปรียญ กุ่ยฉ่ายอยู่ตรงนี้
ข้างศาลาฯ เดินเลยกุ่ยฉ่ายไปอีกสัก ๑๐ เมตร ร้านเรือนไม้ ขายก๋วยเตี๋ยวอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา
ระวังร้านก๋วยเตี๋ยวแถวนี้แยะ ป่านนี้ขึ้นป้ายกันเต็มไปแล้ว เพราะมีคนรู้เห็นว่าผมไปพอสมควร
ต้องร้านติดศาลาการเปรียญ สงสัยถามร้านกุ่ยฉ่ายดูก็ได้ว่าร้านเรือนไม้ร้านไหน
เส้นทางที่สอง ข้ามสะพานรังสิต แล้วเลี้ยวซ้ายไปปทุมธานี วิ่งไปจนสุดทางที่สามแยกกำลังสร้างสะพานข้าม
เลี้ยวซ้ายไปก่อน วิ่งไปสัก ๑ กิโลเมตร จึงกลับรถมาผ่านหน้าวัดที่ผมไม่รู้จักชื่อ
มาจนถึงประตูวัดมะขามก็เลี้ยวซ้าย ซ้ำกับเส้นทางแรก
ร้านเรือนไม้ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นเรือนโบราณ ไม้สักทั้งหลัง มีระเบียงริมแม่น้ำ
นั่งซดก๋วยเตี๋ยวดูเรือวิ่ง ลมแม่น้ำตีหน้า บรรยากาศแจ่มแจ๋วยิ่งนัก ไปแล้วจะติดใจ
อิ่มแล้วก่อนกลับบ้านยังจ่ายของกินตามแผง และจังหวัดปทุมธานีมีโครงการทำตลาดน้ำ
ขอสนับสนุนครับ ท่านผู้ว่า ฯ
ขนมจีน แกงเขียวหวาน อร่อยมาก ลูกชิ้นเหนียวหนับ น้ำยา น้ำพริก ดีทุกอย่าง
ต้องสั่งเพราะเยี่ยมจริง ๆ "คอหมู่ย่าง สูตรกาญจนบุรี" คำแรกที่สั่ง ขอให้สั่ง
คอหมูย่าง หรือสั่งน้ำเขาก่อน เขามีน้ำ โอเลี้ยง เก็กฮวย น้ำมะพร้าว น้ำอ้อย
ปลากะพงลวก จิ้มเต้าเจี้ยว เนื้อปลาเหนียว ตามด้วย "ลูกชิ้นปลากรายลวก" จิ้มน้ำส้ม
ต้นตำรับ ดั้งเดิม แป๊ะ ขายก๋วยเตี๋ยวเรือมาหลายปี รับเป็นเดี่ยวมือหนึ่งให้ร้านเรือนไม้
ส่วนเดี่ยวมือสอง ก็ก๋วยเตี๋ยวเรือเจ้าเก่า มารับเป็นมือสองให้ร้านเรือนไม้
ไม่อร่อยได้หรือ
ผมสั่ง ก๋วยเตี๋ยวน้ำไก่ รสของเขาจะกลาง ๆ ต้องปรุงเพิ่ม แต่จงชิมก่อนปรุง
เนื้อไก่เหนียวแน่น น้ำซุป ซดชื่นใจ ตามด้วยแคบหมูไร้ไขมัน ชามละ ๑๒ บาท ของอร่อยๆ
มีอีกแยะ
ปิดอีกทีเพราะมีขนมหวานแยะ เช่น ลอดช่อง แตงไทย น้ำกะทิ ลูกชิต ผมปิดด้วยปังแดง
อย่างที่เคยกินที่แปดริ้ว คือ ขนมปังหั่นใส่ถ้วย โรยด้วยน้ำแข็งไส ราดนมสด
และน้ำหวานสีแดง ปังแดง
----------------------------------
ก๋วยเตี๋ยว
วัดศาลเจ้า อย่าเข้าร้านผิด ชื่อร้านเรือนไม้
|