ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > มรดกไทย > มรดกท่องเที่ยว > วัดแสนตุ่ม
 
วัดเมืองเก่าแสนตุ่ม
| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |

วัดเมืองเก่าแสนตุ่ม

           วัดเมืองเก่าแสนตุ่มและโบราณสถาน "เขาโต๊ะโม๊ะ" ตั้งอยู่ที่หมู่ ๗ บ้านอีเร็ม ตำบลประณีต อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด ควรไปเที่ยวชมหาความรู้อย่างวยิ่ง  การไปจังหวัดตราดเดี๋ยวนี้นั้นไม่ไกลเลย ไปสะดวก เทียบระยะทางแล้วใกล้กว่าไป จังหวัดกำแพงเพชร ด้วยซ้ำไป และถนนดีมาก ยิ่งเวลานี้ถนนมอเตอร์เวย์เปิดแล้ว  ซึ่งการใช้ถนนมอเตอร์เวย์นี้จะขึ้นได้ ๒ ทาง หมายถึงบจากกรุงเทพ ฯ คือจากปลายถนนวพระราม ๙ ก็วิ่งตรงเรื่อยไปจนตัดถนนศรีนครินทร์และตรงต่อไปตามถนนตัดใหม่ซึ่งเป็นมอเตอร์เวย์แต่ยังวไม่เก็บเงิน ตรงเรื่อยไปจนผ่านด่านเก็บเงินก็จ่ายค่าผ่าสนเสีย ๓๐ บาท และหากไปจนสุดทางคือทางออกเข้าชลบุรี ก็จะจ่ายอีก ๓๐ บาท ถนนมอเตอร์เวย์นั้นต้องเป็นถนนที่ไม่มีถนนอื่นมาตัด วนอกจากทางขึ้นลงงที่เขาทำไว้ ซึ่งจะไม่เป็นอุปสรรค์กับการใช้รถ ของรถที่กำลังวิ่งอยู่บนมอเตอร์เวย์ และต้องกำจัดความเร็วขั้นต่ำไว้ด้วย  ต่างประเทศจะจำกัดที่อย่างต่ำ  ๑๒๐ กิโลเมตร/ชั่วโมง อย่างสูงไม่เห็นกำหนด  นักซิ่งอยากหาที่ตายของเมืองไทยคงชอบ แต่มอเตอร์เวย์ของเรานั้นไม่มทราบว่าจำกัดหรือเปล่า เขียนไว้เหมือนกันว่า ๑๒๐ กิโลเมตร/ชั่วโมง ไม่รู้ว่าอย่างสูงหรืออย่างต่ำ และเมื่อผ่านด่านเสียสตางค์แล้วสักพักจะพบบจุดพักรถ ที่มีอาหารระดับชวนชิมขายหลายร้าน มีปั้มน้ำมันซึ่งมีอยู่ปั้มเดียวบนสายนี้และที่สำคัญมีสุขาอย่างดี เป็นสากลใช้ได้สะดวกสบายทั้งไทยและเทศ  จุดที่ ๒ คือถนนร่มเกล้า อำเภอลาดกระบัง
            ออกจากมอเตอร์เวยย์เมื่อพบทางแยกไปชลบุรี ซึ่งจะแยกไปตามถนนสาย ๓๔๔ ผ่านอำเภอบ้านบึง ถนนเป็น ๔ เลน วิ่งได้เร็ว ถนนสายนี้จะไปตัดกับถนนสาย ๓ หรือสุขุมวิท ที่อำเภอแกลง จากนั้นก็เลี้ยวซ้ายเพื่อไปยังจันทบุรี  แต่หากจะใช้เส้นทางนี้ไประยอง ต้องแยกซ้ายเมื่อเลย อำเภอปลวกแดงมาแล้วบจะมีป้ายบอก "ระยอง" แต่หากไปตราด คงตรงต่อไปจนผ่าน อำเภอท่าใหม่ ซึ่งเป็นตลาดนัดทุเรียน (โลก) มีขายกันตลอดปีแล้วว จากท่าใหม่ก็ผ่านจันทบุรี แล้วจะพบทางสามแยก  หากแยกขวาจะไปตราด (รวมทั้งไปวน้ำตกพลิ้ว) หากแยกซ้ายจะมา อำเภอโป่งน้ำร้อน กับวังวน้ำเย็น จะมีทางแยกซ้ายไป อำเภอสนามไชยเขต มายัง อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา กลับกรุงเทพ ฯ ได้เช่นกัน และหากถนนสายนี้ปรับปรุงใหม่แจ่มแจ๋วเมื่อใด จะเป็นถนนสายที่สั้นที่สุดสำหรับการเดินทางไปจันทบุรี และจังหวัดตราด เลยทีเดียว ผ่านจันทบุรี ไปผ่านทางแยกซ้ายเข้าน้ำตกพลิ้ว ผ่านทางแยกขวาเข้าอำเภอแหลมสิงห์ ตรงต่อไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข ๓ จนถึงอำเภอขลุง
            การไปวัดเมืองเก่าแสนตุ่ม จึงสามารถไปได้ ๒ เส้นทาง แล้วแต่เราจะตกลงใจว่าจะไปตราดก่อนหรือแวะก่อนไปตราด
            หากแวะก่อนไปตราด พอถึงอำเภอขลุง (มาตามทางหมายเลข ๓) จะมีถนนแยกซ้าย ๓๔๔๗  ไป ๒๗ กิโลเมตร ถึงนาวง แล้วแยกซ้ายเข้าถนน ๓๖๔๕ วิ่งผ่านสวนยางที่ร่มรื่นเรื่อยไป ตอนนี้ถนนเป็นลูกรังแล้ว ไปจนพบสามแยกเลี้ยวซ้ายแล้วเลี้ยวขวาเข้าวัดได้เลย
            หากไปตราดบจะกลับกรุงเทพ ฯ จึงแวะ  ออกจากตราดแล้ววิ่งมาตามสสายหมายเลข ๓ จนถึงทางแยกขวาไป ป.แสนตุ้ง ชื่อถนนจินตกานนท์ สายแสนตุ้ง - บ่อไร่ เลี้ยวขวาเข้าไปตามเส้นทางนี้แล้วแยกขวาอีกทีออกไปบ้านนาวง จนพบสามแยกที่ถนน ๓๔๔๗ ก็ตรงไปตามเส้นทางที่ผ่านสวนยาง ตามหนทางแรก ถ้ายังง ๆ อยู่กับการบอกเส้นทางของผม พอเลี้ยวขวาเข้าถนนสายแสนตุ้ง - บ่อไร่ ได้สัก ๔๐ เมตร โยประมาณ ถามร้านขายเครื่องก่อสร้างทางซ้ายมือเจ้าของร้านท่าทางมีความรู้จะอธิบายอย่างละเอียดทีเดียว ก็ขอขอบาคุณเจ้าวของร้านขายอุปกรณ์ก่อสร้างไว้ตรงนี้ด้วยที่ช่วยอธิบายให้ผม
            ผมไปจังหวัดตราดก่อน เพื่อไปลงเรือที่อ่าวธรรมชาติ (แยกไปได้เลยจากแสนตุ้ง แยกขวา) เพื่อข้ามไปยังเกาะช้าง ซึ่งผมไม่ทราบมาวก่อนว่าหากเราไปถึงตราดแล้ว ตรงไปแหลมงอบคือผ่านเมืองตราดตรงต่อไปเรื่อย ๆ ๑๗ กิโลเมตร จะถึงแหลมงอบ  ก่อนวถึงแหลมงอบสัก ๒ กิโลเมตร จะมีทางแยกขวาไปออกบ้านแสนตุ้ง เส้นนี้จะผ่านท่าเรือเซ็นเตอร์พอยท์ที่กิโลเมตร ๓ และไปผ่านทางแยกไปท่าเรือเฟอร์รี่ที่อ่าวธรรมชาติที่กิโลเมตร ๘ (แยกเข้าท่าเรืออีก ๔.๕ กิโลเมตร) เมื่อผมไม่ทราบมาก่อนว่า ที่ท่าเซ็นเตอร์พอยท์มีเรือเฟอร์รี่ข้ามฟากเหมือนกัน ก็เลยไปข้ามที่ท่าอ่าวธรรมชาติที่ไกลออกไป แต่อยู่ในเรือวแค่ ๒๐ นาที  และต้องซื้อตั๋วไปกลับจึงจะได้เที่ยวละ ๔๐๐ บาท แต่หากลงเรือที่ท่าเซ็นเตอร์พอยท์ ค่าข้ามเรือ รถ ๑ คัน คนขับ เที่ยวละ ๔๐๐ บาท ไม่จำเป็นต้องไปกลับ แต่อยู่ในเรือประมาณ ๓๐ นาที และข้ามไปแล้วจะมายังอ่าวสับปะรดต้องวกกลับมาอีก ๓ กิโลเมตร คิดแล้ว ๒ เท่า เสียเวลาเท่ากัน  แต่ท่าเรือเซ็นเวตอร์พอยท์ รถวิ่งน้อยกว่าลงเรือนานกว่าอีกท่าหนึ่ง  ส่วนค่าคนข้ามคนละ ๓๐ บาท  ฟรีเฉพาะคนขับ
            ผมไปกิ่งอำเภอเกาะช้าง ไปนอนอยู่ ๒ คืน  แต่ไปในช่วงเทศกาลมาฆะบูชาและไม่ได้จองที่พักดี ๆ ไปจึงเต็มหมด แต่ที่พักนั้นมีมากมาย มีตั้งแต่ราคา ๑๐๐ บาท ไปจนถึงหลายพันบาท แต่ที่แพง ๆ มักจะเต็มในช่วงวันหยุด ยิ่งเจอหยุดยาวอย่างวันที่ผมไปยิ่งเต็มหนักเข้าไปใหญ่ แต่หากหนุ่มสาววเขาไม่เดือดร้อน เขาไปรถเมล์กันจากกรุงเทพ ฯ ไปถึงแหลมงอบต่อรถเมล์เล็กไปท่าเรือใดท่าเรือหนึ่ง ข้ามฟากหรือลงเรือข้ามฟากจากแหลมงอบก็ได้ เมื่อข้ามไปเกาะช้างแล้ว เขาจะซื้อน้ำขวดกันคนละหลาย ๆ ขวด (เพราะแพง) แล้วขึ้นรถเมล์เล็กไปปล่อยที่ย่าน เริ่มมีรีสอรท์ ซึ่งมีตั้งแต่หาดคลองสน แล้วเขาก็เดินหิ้วขวดน้ำ สะพายเป้ เดินหาที่พักกันเรื่อยไป จนกว่าจะได้ถูกสมใจเขาก็เข้าพักกันและหากไม่มีแต่สถานที่ดี เขาก็นอนเต้นท์ ส่วนผมไม่ไหวเกินวัยกว่าที่จะมานอนเต้นท์แล้ว ยอมแพ้หาดคลองสน หาดทรายขาว ยาวตืดต่อกันไปยังหาดคลองพร้าว แหลมไชยเชษฐ และหาดไก่แบ้ เกือบทุกหาดบจะมีฝรั่งมาพักมากมาย เขาบอกว่าเขามาวนอนกันนาน ๆ เป็นเดือนและนอนที่พักราคาถูกเทียบได้กับภูเก็ตเมื่อ ๓๐ ปีก่อน หรือสมุยเมื่อ ๒๐ ปีที่แล้ว นั่นแหละ  แต่ที่เกาะช้างยังเป็นป่าบริสุทธิ์หาดทราบบขาววสะอาดสวยงามไปหมด ถนนยังไม่รอบเกาะและที่มีก็ยังไม่ราดยางเป็นส่วนใหญ่ รีบไปเสียก่อนที่เกาะช้างที่เกาะช้างจะแปรสภาพกลายเป็นสมุย และหากไม่ใช่หนุ่มสาวนักผจญภัยแล้วขอให้ไปกับทัวร์หรือแพคเกจทัวร์ เปิดดูจากหนังสือ อสท.ก็ได้  หรือสอบถามจากการท่องเที่ยว "ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ๑๑๕๕" จำเบอร์เดียวเที่ยวทั่วไทย
            ที่จังหวัดตราด ก่อที่จะไปเที่ยวที่อื่นอยากให้พกขนมอร่อยไปด้วย คือเส้นทางที่มาจากกรุงเทพ ฯ พอตรงเข้าเมืองซึ่งตรงต่อไป ก็จะไปยังแหลมงอบ จะผ่านตลาดหอนาฬิกา ตรงนี้ทางซ้ายมีที่ทำการการท่องเที่ยวอยู่ สอบถามรายละเอียดได้ที่แหลมงอบ ก็มีบริการอย่างดีเยี่ยม "โดยเฉพาะที่แหลมงอบ" ที่ตลาดหอนาฬิกาเข้าไปในตลาดแล้วขนมขายที่แผงขี้เกียจเดินก็ถามเขาดูว่าขนม "ป้าหนอม" แผงไหน ป้าหนอมคือ "ถนอม" ขนมป้าหนอมรับรองให้ได้เลยว่าอร่อย เช่น ขนมหม้อแกง  ขนมเปียกปูน (สีดำ)  ขนมชั้น (เหนียวหนึบ)  ขนมฟัก (แป้ง น้ำตาล กะทิ ฟัก ถั่วลิสง) อร่อยมากและแปลก พิมพ์ข้าวเม่าอร่อยแปลก  กะละแม และข้าวเหนียวตัด เป็นต้น  ซื้อเอาไปเป็นเสบียงหรือเป็นของฝากเที่ยวกลับ โดยเฉพาะคนข้ามไปเกาะช้างหาเสบียงติดไว้ก็ดี เพราะร้านอาหารตลาดสดไม่มี ร้านอาหารมีตามรีสอรท์อร่อย ๆ หายาก อร่อยสุด ๆ มีแห่งเดียวคือ สลักเพชรซีฟู๊ดและรีสอรท์ อยู่สุดทางที่อ่าวสลักเพชรนั่นแหละ ทีนี้ไปชิมอาหารก่อน ร้านอาหารที่อำเภอแหลมงอบ ปลายแหลมเลยนั้นเดิมเคยชิม ชื่อร้านกุ้งหลวง ก่อนสุดทางแหลมงอบเลี้ยวซ้ายเข้าไปจนสุดทาง และจะผ่านร้านเจ๊น้อย ขายของเค็มทั้งหลายที่มีคุณภาพควรแก่การซื้อกลับาและถูกด้วย วันนี้ไม่ได้ชิมร้านกุ้งหลวง ซึ่งเคยชิมกันมานานหลายปีแล้ว เสาะหาร้านใหม่ได้ร้าน "แอยู่แถวนี้สงจันทร์" ร้านนี้วิ่งไปจนผ่านการท่องเที่ยวแล้วจอดได้เลย ร้านอยู่ซ้ายมือเกือบจะสุดทางของแหลมงอบ และฝั่งตรงกันข้ามบริการต่าง ๆ เกี่ยวกับการท่องเที่ยวของเอกชนอยู่แถวนี้ แต่ไม่จำเป็นไม่ควรมาหาที่พักแถวนี้เพราะดีไม่ดีเขาย้อมแมวเอา เพราะเราไม่เห็นที่พัก ไม่เห็นแม้แต่รูปเขาโดนกันมาแล้ว ราคาแพงแต่ไม่เอาไหน ผมก็โดนเช่นกันที่หาดคลองพร้าว แต่โดยด้วยความจนใจเพราะที่พักเต็มหมด ผมเจอรีสอรท์ชนิดไม่มีอะไรเลยแม้แต่แก้วน้ำสักใบ จะส่องกระจกยังต้องนั่งยาว ๆ กับพื้น เปิดกระจกหัวเตียงมาส่อง เข้าห้องน้ำแล้วไม่รู้จะวางแปรงสีฟันไว้ที่ไหนตอนจะกาบน้ำ เพราะไม่มีอะไรให้เลย เขาให้พักนอนจริง ๆ คืนละ "๙๐๐ บาท" ที่จองตรงนี้ก็เช่นกัน ผมถึงแนะให้หาแพคเกจหรือไปกับทัวร์ หรือไปแบบหนุ่มสาว คือไม่ต้องเอารถไป เดินลุย
            ร้านแสงจันทร์ ผมแวะไปกินมื้อกลางวันเขาสองครั้ง กินแบบเร่งด่วนทั้งสองครั้งเพราะจะรีบไป วันแรกกลัวไม่ทันเรือเที่ยว ๑๔.๐๐ เพื่อข้ามไปเกาะฃช้าง วันหลังกลัวไปถึงวัดเมืองเก่าแสนตุ่มช้า จะถึงกรุงเทพ ฯ ค่ำเพราะตาผมไม่ค่อยจะดี ขับรถกลางคืนสู้ไม่ไหว หากกลางวันถึงไหนถึงกัน
            สั่งอาหารง่าย ๆ แต่ของเขาอร่อยจริง คือ.-
            ข้าวผัดปู  อร่อยมาก อย่าลืมขอน้ำปลาพริกมาไว้เหยาะ หอมมาแต่ไกล แนมามด้วยต้นหอมและแตงกวา ผัดปู ใส่ไข่กลิ่นหอมชวนกินจริง ๆ และข้าวผัดแล้วนุ่มไม่แฉะกำลังดี
            ต้มยำทะเล  เขามีหลายต้มยำเน้นเขาด้วยว่าอย่าให้เปรี้ยวนัก เพราะวันแรกเจอเปรี้ยวมากไป ซดไม่ชื่นใจผู้ชาย ผู้หญิงคงจะชอบ วันหลังสั่งใหม่ต้มยำอย่าเปรี้ยวนัก และไม่แน่ใจเลยสั่ง
            ต้มส้มปลากระบอก  มาอีกหม้อหนึ่งคราวนี้เด็ดจริง ๆ ต้มส้มปลากระบอก ร้อน หอม ได้รสสมบูรณ์ไม่ต้องปรุง
            ปูจ๋า  ต้องสั่งอย่าลืม ปูจ๋าของเขาใส่กระดองปูมาน่ากิน แต่ไปวันหลังใส่มาในเปลือกหอยแมลงภู่ตัวโต ๆ ถามไถ่ได้ความว่า ขายดีเลยหากระดองปูไม่ทันเลยต้องทำปูจ๋าใส่มาในเปลือกหอยโต ๆ แทน เรียกว่าหอยจ๋าคงได้ แต่สั่งหอยจ๋าคงไม่ได้กิน
            สนนราคาไม่แพงคบกันได้ บรรยากาศดี จอดรถสะดวก สุขาใช้ได้ไม่สากล กินข้าวไปนั่งดูคลื่นวิ่งมาหาเราเพลินดี
            อิ่มข้าวแล้วจึงไปวัดเมืองเก่าแสนตุ่ม ผมข้ามสถานที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ ของตราดไป เพราะมีแยะ อยากทราบก็ถามเขาได้ล่วงหน้าจาก ๑๑๕๕ หรือไปขอเอกสารการท่องเที่ยวได้จาก ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวของการท่องเที่ยวทั้งที่ตราด และแหลมงอบเอกสารแจกให้ เดี๋ยวนี้การท่องเที่ยวทันสมัยขึ้นแยะ มีเอกสารแจกฝรั่ง ทั้งไทย สมัยท่านผู้ว่าการท่านแรก พันเอก สมชาย  หิรัญกิจ ท่านเป็นอาจารย์ผมในโรงเรียนเสนาธิการทหารบกมาก่อน ผมไปต่างประเทศหรือมีความคิดเห็นอะไร ผมก็กลับมาเขียนเรียนให้ท่านทราบ และท่านรับฟัง ตอบกลับมาให้ทราบด้วย เวลานี้ผมมีตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาของหนังสือธุระกิจการท่องเที่ยว พบอะไรดี ๆ ก็เขียนแนะเอาไว้ให้ สำหรับคนในการท่องเที่ยวอ่านเจอแล้วอย่าข้ามไปหรือมัวแต่อยู่ในอาคารเลอคองคอร์ดที่แสนเย็นสบายก็แล้วกัน
            ไปวัดเมืองเก่าแสนตุ่มตามเส้นทางผมบอกให้แล้ว  ผมไปจากตราดและกลับออกทางขลุงไม่ย้อนลงมา ทั่วบริเวณเป็นป่าที่แสนบริสุทธิ์และเก่าจริง ๆ วัดนั้นไม่เก่าอายุคงไม่กี่สิบปี เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันดูท่านจะเป็นนักพัฒนา ก็ห่วงอยู่อย่างเดียวว่าการพัฒนาของท่านคงไม่ทำให้ท่านคงไม่ทำให้ต้นไม้ที่มองดูก็รู้ว่าอายุมาก ขนาดรากโผล่มาขดกันพ้นดินท่านอย่าไปตัดเสียก็แล้วกัน ดูจากการสร้างศาลาอเนกประสงค์ (ผมตั้งชื่อให้เอง) หลังใหม่ของท่านกว้างใหญ่ หากวัดไม่มีอะไรดีสร้างไม่ได้สำหรับวัดในป่าท่ามกลางชาวบ้านระดับนี้ ท่านอย่าพัฒนาด้วยการตัดต้นไม้ไปด้วย
           โต๊ะโมะ  อยู่ทางทิศใต้ของวัด จอกรถแล้วเดินสัก ๒๐ เมตร คงได้ คาดว่าจะสร้างขึ้นในสมัยก่อนพุทธกาล ตามตำนานกล่าวว่า พระราชา (ไม่รู้เมืองไหน) ขนทรัพย์ของพระองค์มาจากแสนตุ้ง โดยขนขึ้นเกวียนมาแล้วนำมาฝังไว้ตรงนี้ ใช้แท่นหินวางเรียงเป็นแนว
ตั้งเป็ญสัญลักษณ์ว่าเป็นทุนทรัพย์ของพระองค์ ลักษณะจึงเป็นเนินดิน มีต้นไม้ปกคลุม มีแท่งหินวางเรียงราย  หินเหล่านี้มีสีน้ำตาลเข้ม เป็นรูปเหลี่ยมถึงเก้าเหลี่ยม ยาวตั้งแต่ ๓๐ เซนติเมตรไปจนถึง ๑๕๐ เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ ๑๔ เซนติเมตร ไปจนถึง ๒๐ เซนติเมตร น้ำหนักตั้งแต่  ๑๐ - ๑๐๐ กิโลเมตร วางเรียงซ้อนคล้ายเดิมเป็นเทวสถาน หินบางก้อนเขาเอามาแขวนไว้ให้เคาะ จะดังกังวาลเหมือนเสียงระฆัง และเมื่อก่อนมีโพรงเป็นเหมือนถ้ำ โดยคนเข้ามาขุดจะหาทรัพย์ เทวดาเลยพังถ้ำให้ยุบลงมาปิดถ้ำเสีย ตรงนั้นเติมให้เองเพราะ ถามลุงคนเก่าแก่แกเล่าให้ฟังว่าเคยมีถ้ำแล้วพังลง
            บนเนินมีพระพุทธรูป (ไม่ใช่โบราณ) กรมศิลปากรมาสำรวจเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ว่าเป็นโบราณสถาน แต่ ม.มหิดล มาสำรวจและวิเคราะห์เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๒ บอกว่าเกิดจากการแทรกดันตัวของหิน และบอกว่าแหล่งหิน ณ วัดเมืองเก่าแสนตุ่มนี้ เป็นหินภูเขาไฟ ที่มีส่วนดันแร่พลอยขึ้นมารวมตัวในบริเวณแอ่ง
            สงสัยว่าเพราะคำนี้นั่นแหละที่ทำให้แอ่งบนเนินดินแห่งนี้กลายเป็นที่ฝังทรัพย์แสนตุ่ม ของพระราชาตามตำนาน ดังนั้นผมชวนให้ไปเที่ยวชมหิน ณ โบราณสถานแห่งนี้เพราะยอมเชื่อทั้งสองทาง ทั้งศิลปรากรและมหิดล แต่ใครอย่าไปคิดขุนทรัพย์แสนตุ่มอีกก็แล้วกัน เดี๋ยวตุ่มแตกหมดอดดูกัน

------------------------

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |

วัดแสนตุ่ม: ข้อมูลวัดแสนตุ่ม ท่องเที่ยววัดแสนตุ่ม ข้อมูลเที่ยววัดแสนตุ่ม


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์