หมู่บ้านจักสาน งานฝีมือจักสานอันลือชื่อของอ่างทองส่วนมากจะเป็นฝีมือของชาวอำเภอโพธิ์ทองแทบทุกครัวเรือนที่ตั้งบ้านเรือนเรียงรายอยู่ทั้งสองฟากฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาในละแวกเดียวกัน มีการจัดตั้งเป็นกลุ่มการผลิตเ
ครื่องจักสาน เครื่องหวาย กลุ่มจักสานไม้ไผ่ เช่น กลุ่มตำบลองครักษ์ กลุ่มตำบลบางเจ้าฉ่า กลุ่มตำบลบางระกำ กลุ่มตำบลพลับ และกลุ่มตำบลอิทประมูล แหล่งหัตถกรรมเครื่องจักสานสำคัญที่ขึ้นชื่อของจังหวัดคือ “ บ
้านบางเจ้าฉ่า” ตั้งอยู่ที่หมู่ 8 บ้านยางทอง ตำบลบางเจ้าฉ่า ตำบลนี้เป็นชุมชนที่มีมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งชาวบ้านได้เคยร่วมกับชาวแขวงเมืองวิเศษชัยชาญ และชาวบางระจัน สู้รบกับพม่า ณ บ้านบางระจัน โดยมีนายฉ่าเป็นผู้นำ นายฉ่านั
้นพื้นเพเป็นคนสีบัวทอง ภายหลังการสู้รบยุติแล้ว “นายฉ่า” จึงได้นำชาวบ้านมาตั้งบ้านเรือนเป็นที่อยู่อาศัยถาวรขึ้นในชุมชนด้านทิศตะวันตกของแม่น้ำน้อย แต่เดิมเรียกว่า “บ้านสร้างสามเรือน” เพราะเริ่มแรกมีเพียงส
ามหลังคาเรือนเท่านั้น ซึ่งเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การตั้งเป็นที่อยู่อาศัย ปัจจุบันมีชื่อว่า “บางเจ้าฉ่า” เพราะนำชื่อของนายฉ่ามาตั้งชื่อ ซึ่งนายฉ่านั้นเป็นทั้งผู้นำและเป็นผู้ก่อตั้งหมู่บ้าน
ที่นี่เป็นแหล่งผลิตเครื่องจักสานด้วยไม้ไผ่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามราชกุมารี ได้เคยเสด็จพระราชดำเนินมาเยือนและได้พระราชทานคำแนะนำให้ราษฎรปลูกไม้ไผ่สีสุก เพื่อเป็นวัตถุดิบในการทำเครื่องจักสาน
และเป็นการอนุรักษ์งานฝีมือประเภทนี้ไว้ งานจักสานของบ้านบางเจ้าฉ่านี้มีความละเอียดประณีตสวยงามสามารถพัฒนางานฝีมือตามความต้องการของตลาด ไม่ยึดติดกับรูปแบบเก่าจนสามารถส่งออกขายต่างประเทศได้ จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นหม
ู่บ้านตัวอย่างในการพัฒนาอาชีพ
ภายในหมู่บ้านมีพิพิธภัณฑ์เครื่องใช้ไม้ไผ่ แสดงอุปกรณ์เครื่องใช้พื้นบ้านต่างๆ ที่ผลิตจากไม้ไผ่และมีเก็บรวบรวมเอาไว้ นอกจากนี้ที่บางเจ้าฉ่า ยังมีบริการรถอีแต๋นชมวิถีชีวิตริมแม่น้ำน้อย กิจกรรม
ชมแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร สวนมะม่วง สวนมะยงชิด และสวนกระท้อน ฯลฯ ชมแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอใกล้เคียง อำเภอโพธิ์ทอง อำเภอไชโย และอำเภอแสวงหา มีบ้านพักโฮมสเตย์ไว้คอยบริการด้วย
การเดินทาง ไปตามเส้นทางสายอ่างทอง-โพธิ์ทอง ประมาณ 9 กิโลเมตร ถึงคลองชลประทานยางมณี จากนั้นเลี้ยวขวาเลียบคลองไปอีกประมาณ 5กิโลเมตร จึงเลี้ยวขวาไปตามทางเข้าวัดยาง
ทอง แหล่งหัตถกรรมจะอยู่บริเวณหลังวัดยางทอง |