ตั้งอยู่ที่ต
ำบลดงละคร ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 9 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 3076 เลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 6.3 กิโลเมตร ผ่านวัดเจดีย์ทอง และเลี้ยวไปทางเดียวกับวัดดงละคร แต่เดิมเรียกกันว่า “เมืองลับแล” เป็นสถานที่ตั้งเมืองโบราณสมัยทวารวดีและขอม เนินดินดง
ละครหรือดงใหญ่มีเนื้อที่ประมาณ 6 ตารางกิโลเมตร ภายในมีเมืองโบราณหรือดงเล็ก ลักษณะเป็นรูปไข่อยู่ค่อนไปทางทิศตะวันตกของเนินดิน มีคันดินเป็นกำแพง 2 ชั้นชาวบ้านเรียกกันว่า “สันคูเมือง” และมีคูน้ำล้อมรอบ ลักษณะเดียวกับเมืองโบราณทั่วไปในสมัยทวา
รวดี ภายในเมืองน่าจะเป็นที่อยู่อาศัยของชนชั้นปกครอง ส่วนประชาชนทั่วไปน่าจะกระจายอยู่ในบริเวณที่ลุ่มรอบเมือง ความรุ่งเรืองที่เด่นชัดแบ่งเป็นสองช่วง ช่วงแรกเริ่มพุทธศตวรรษที่ 14-16 เป็นวัฒนธรรมแบบทวารวดี ช่วงที่สองราวพุทธศตวรรษที่ 17-19 เป็นวัฒนธรรมขอม
และวัฒนธรรมก่อนอยุธยา พุทธศตวรรษที่ 19 ชาวบ้านดงละครคงจะอพยพไปตั้งถิ่นฐานตามลำน้ำสายหลักในจังหวัดนครนายก สันนิษฐานว่าน่าจะมีความสำคัญเกี่ยวข้องกับเมืองศรีมโหสถที่จังหวัดปราจีนบุรี เพราะเมืองทั้งสองอยู่ห่างกันเพียง 55 กิโลเมตร โบราณวัตถุที่ค้นพบบริเว
ณโบราณสถาน ได้แก่ เศษภาชนะดินเผา ภาชนะเคลือบสีฟ้า ลูกปัดแก้ว ลูกปัดหิน เบี้ยดินเผา แผ่นตะกั่ว ตุ้มหูสำริด แผ่นทองคำ เศียรพระพุทธรูปกะไหล่ทอง สถูปศิลาแลง แหวนสำริด กำไลสำริด เป็นต้นสำหรับตำนานเมืองนั้นเล่ากันว่า เมืองนี้เคยเป็นเมืองของราชินีขอมซึ่งเป็
นที่รโหฐานผู้อื่นไม่สามารถเข้าออกได้ง่ายนัก ประกอบกับลักษณะของบริเวณเมืองมีต้นไม้สูงขึ้นอยู่ทั่วไปใครเข้าไปแล้วอาจหาทางออกไม่ได้ จะต้องวนเวียนอยู่ในดงนั้นเอง และวันโกนวันพระจะได้ยินเสียง กระจับปี่ ซอ ปี่พาทย์ มโหรีขับกล่อมคล้ายๆ กับมีการเล่นละครในวัง
ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า “ดงละคร” หรืออีกนัยหนึ่งคำว่า “ดงละคร” นั้นอาจเพี้ยนมาจาก“ดงนคร” กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478
|