กู่สวนแตง ตั้งอยู่ตรงข้ามโรงเรียนกู่สวนแตงวิทยาคม บ้านดอนหวาย ตำบลดอนหวาย การเดินทางจะใช้เส้นทางบุรีรัมย์-พยัคฆภูมิพิสัย ทางหลวงหมายเลข 219 ระยะทาง 70 กิโลเมตร แยกซ้าย
เข้าทางหลวงหมายเลข 202 ทางไปอำเภอประทายอีกประมาณ 40 กิโลเมตร จะพบทางแยกเข้าสู่กู่สวนแตงด้านซ้ายมือ เลี้ยวเข้าไปอีก 1.5 กิโลเมตร หรือจากบุรีรัมย์ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 2074 ผ่านอำเภอคูเมือง ไปอำเภอพุทไธสง แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 202 ไปอีก 20 กิโลเมตร
เลี้ยวซ้ายเข้ากู่สวนแตงอีก 1.5 กิโลเมตร
กู่สวนแตงเป็นโบราณสถานแบบขอมอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยปรางค์อิฐ 3 องค์ ตั้งเรียงในแนวเหนือ-ใต้ บนฐานศิลาแลงเดียวกัน อาคารทั้งหมดหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีประตูหน้าเพียงประตูเดียว อีก 3 ด้านสลักเป็นประตูหลอก ปรางค์องค์ก
ลางมีขนาดใหญ่และมีสภาพที่ค่อนข้างสมบูรณ์เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านหน้าที่มุขยื่นออกมาเล็กน้อย ตรงหน้าบันเหนือประตูหลอกทั้ง 3 ด้าน มีลักษณะยื่นออกมาและมีแผ่นศิลาทรายรองรับ ส่วนปรางค์อีก 2 องค์ มีขนาดเล็กกว่า ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีประตูเดียว
ทางด้านหน้าเช่นกัน ส่วนผนังอีก 3 ด้าน ก่อเรียบทึบสำหรับบนพื้นหน้าปรางค์มีส่วนประกอบสถาปัตยกรรมหินทรายอื่นๆ ตกหล่นอยู่ เช่น ฐานบัวยอดปรางค์ กลีบขนุนรูปนาค 6 เศียร อายุของกู่สวนแตงสามารถกำหนดได้จากทับหลังของปรางค์ ซึ่งปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑส
ถานแห่งชาติพระนครและที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 17 เนื่องจากภาพสลักบนทับหลังทั้งหมดมีลักษณะตรงกับศิลปะขอมแบบนครวัด ที่มีอายุอยู่ในช่วงเวลาดังกล่าว อาทิ ทับหลังสลักภาพพระนารายณ์ตรีวิกรม (ตอนหนึ่งในวามนาวตาร แสดงภาพพระนารายณ์ย่
างพระบาท 3 ก้าว เหยียบโลกบาดาล โลกมนุษย์ และโลกสวรรค์) ทับหลังภาพศิวนาฏราช ทับหลังภาพการกวนเกษียรสมุทร ทับหลังภาพนารายณ์บรรทมสินธุ์ ฯลฯ แต่ละชิ้นมีขนาดใหญ่สวยงามน่าสนใจยิ่ง
การเดินทาง ใช้เส้นทางบุรีรัมย์-พยัคฆภูมิพิสัย ทางหลวงหมายเลข 219 ระยะทาง 70 กิโลเมตร แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 202 ทางไปอำเภอประทายอีกประมาณ 40 กิโลเมตร จะพบทางแยกเข้าสู่กู่สวนแตงด้านซ้ายมือ เลี้
ยวเข้าไปอีก 1.5 กิโลเมตร หรือจากบุรีรัมย์ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 2074 ผ่านอำเภอคูเมือง ไปอำเภอพุทไธสง แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 202 ไปอีก 20 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้ากู่สวนแตงอีก 1.5 กิโลเมตร
p> |