ตั้งอยู่ที่บ้านกำแพงใหญ่ ตำบลสระกำแพงใหญ่ ริมทางหลว
งหมายเลข 226 ห่างจากจังหวัด 26 กิโลเมตร ห่างจากตัวอำเภอ 2 กิโลเมตร เป็นปราสาทขอมที่มีขนาดใหญ่และสมบูรณ์ที่สุดของจังหวัด ลักษณะเป็นปรางค์ 3 องค์บนฐานเดียวกัน เรียงกันในแนวทิศเหนือ-ใต้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ปรางค์ประธานอยู่ตรงกลาง ก่อด้วยหินทราย มีอิ
ฐแซมบางส่วน มีทับหลังจำหลักภาพพระอินทร์ทรงช้างบนแท่นเหนือหน้ากาล ส่วนปรางค์อีก 2 องค์ เป็นปรางค์อิฐ มีส่วนประกอบตกแต่งที่เป็นหินทราย เช่น ทับหลัง กรอบหน้าบันและกรอบเสาประตู ด้านหลังปรางค์องค์ทิศใต้มีปรางค์ก่ออิฐอีก 1 องค์ ด้านหน้ามีวิหารก่ออิฐ 2 หลัง
ล้อมรอบด้วยระเบียงคตก่อด้วยศิลาแลงและหินทราย มีโคปุระหรือประตูซุ้มทั้ง 4 ทิศ ส่วนวิหารที่ก่อด้วยอิฐซึ่งอยู่ทางด้านทิศเหนือมีทับหลังสลักภาพพระนารายณ์บรรทมสินธุ์อยู่เหนือพระยาอนันตนาคราชท่ามกลางเกษียรสมุทร และที่วิหารก่ออิฐทางด้านทิศใต้มีทับหลังรูปพระ
อิศวรกับพระอุมาประทับนั่งเหนือนนทิปัจจุบันปราสาทแห่งนี้อยู่ในความดูแลของกองโบราณคดี กรมศิลปากร และได้มีการขุดค้นพบโบราณวัตถุจำนวนมาก เช่นทับหลังจำหลักภาพศิวะนาฏราช, พระกฤษณะยกเขาโควรรธนะและยังพบพระพุทธรูปนาคปรก, พระพุทธรูปปางสมาธิ, พระพิมพ์ดินเผา ฯลฯ
จากหลักฐานลวดลายที่ปรากฏบนหน้าบัน ทับหลัง และโบราณวัตถุต่างๆ โดยเฉพาะจารึกที่หลืบประตูปราสาทสระกำแพงใหญ่ สรุปได้ว่าปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16 ตรงกับศิลปะขอมแบบบาปวน เพื่อเป็นเทวาลัยถวายแด่พระศิวะ และเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 ได้มีก
ารเปลี่ยนแปลงเป็นวัดในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน
การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 226 ห่างจากตัวจังหวัด 26 กิโลเมตรและห่างจากตัวอำเภอ 2 กิโลเมตร |