พระธ
าตุเรณู ประดิษฐานอยู่วัดพระธาตุเรณู ณ บ้านเรณูนคร องค์พระธาตุจำลองมาจากองค์พระธาตุพนมองค์เดิม แต่มีขนาดเล็กกว่า สร้างเมื่อปี พ. ศ. 2461 โดยพระอุปัชฌาย์อินภูมิโย สูง 35 เมตร กว้าง 8.37 เมตร มีซุ้มประตู 4 ด้าน ภายในเป็นโพรงบรรจุพระไตรปิฎก พระพุทธรูปทอง
คำ พระพุทธรูปเงิน ของมีค่า และเครื่องกกุธภัณฑ์ของพระยาและเจ้าเมือง นอกจากนี้ภายในโบสถ์ยังประดิษฐานพระองค์แสน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปทองคำศิลปะแบบลาว ปางสมาธิ พระคู่บ้านของอำเภอเรณูนคร มีพุทธลักษณะสวยงามมาก การเดินทาง จากสถานีขนส่ง ยังไม่มีรถจากอำเภอเมืองฯ
ไปอำเภอเรณูนครโดยตรง ต้องขึ้นรถสายที่ไปวัดพระธาตุพนม และลงตรงแยกบ้านหลักศิลา จากนั้นเหมารถสกายแล็ปเข้าไปที่วัด ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร หากเดินทางโดยรถยนต์ พระธาตุเรณูอยู่ห่างจากพระธาตุพนม 15 กิโลเมตร หรือห่างจากตัวจังหวัดนครพนมไปทางใต้ 51 กิโลเมตร
ตามทางหลวงหมายเลข 212 ถึงประมาณกิโลเมตรที่ 44 เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 2031 อีกประมาณ 7 กิโลเมตร ทางลาดยางตลอด
บริเวณนี้แต่เดิมเป็นเรณูนคร ถิ่นที่อยู่ของชาวผู้ไทย ซึ่งยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นไว้เป็นอย่างดี อาทิ ธรรมเนียมการต้อนรับด้วยการบายศรีสู่ขวัญ การเลี้ยงอาหารแบบพาแลง การชวนดูดอุ การฟ้อนรำผู้ไ
ทย นอกจากนี้ยังมีร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึกต่างๆไว้บริการนักท่องเที่ยวและประชาชนจากจังหวัดใกล้เคียงอีกมากมาย โดยเฉพาะบริเวณวัดพระธาตุเรณูนคร และตลาดอำเภอเรณูนคร
การฟ้อนผู้ไทยนับเป็นการแสดงศิลปะและวัฒนธรรมแบบพื้นเมืองอย่างหนึ่งของชาวผู้ไทยที่ได้รับการถ่ายทอดกันมาเป็นเวลาช้านาน จากบรรพบุรุษของชาวเผ่าผู้ไทย ในสมัยก่อนเรียกการฟ้อนรำแบบนี้ว่า “ฟ้อนละครไทย” เป
็นการแสดงออกให้เห็นถึงความสามัคคีในหมู่คณะเดียวกัน โดยการจับกลุ่มเล่นฟ้อนกัน
ฟังเสีย
งบรรยาย พระธาตุเรณู |