ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลจันเสน สันนิษฐานว่าอยู่ในสมัยทวารวดี บริเวณเมืองโบราณมีคูเมืองเป็นเนินดินโดยรอบ เป็นรูปสี่เหลี่ยม แต่มุมทั้งสี่เป็นรูปมนจนเกือบเป็นวงกลม ล้อมรอบด้วยคูเมืองซึ่งกว้างประมาณ 20
เมตร ปัจจุบันยังมีสภาพเป็นที่ลุ่มน้ำขัง แต่ยังเป็นร่องรอยพอมองเห็นเค้าคูเมืองได้อย่างชัดเจน มีความยาวประมาณ 800 เมตร กว้าง 700 เมตร คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 300 ไร่เศษ เนื่องจากบริเวณภายในคูเมืองดังกล่าวมีลักษณะเป็นเนินสูงกว่าพื้นที่รอบนอกคูเมือง ชาวบ้า
นเรียกว่า “โคกจันเสน”
ในบริเวณเมืองโบราณได้ขุดพบโบราณวัตถุหลายอย่าง ประเภทที่ทำด้วยเศษดินเผา อาทิ พระพิมพ์ต่าง ๆ ตุ๊กตา ตะเกียง ประเภทที่ทำด้วยหิน ได้แก่ ฐานบัว ธรรมจักร ขวานหินขัดที่ทำด้วยโลหะ
มีตุ้มหูทำด้วยตะกั่วหรือดีบุก ใบหอกที่ทำด้วยสำริด ปัจจุบันโบราณวัตถุดังกล่าวเก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑ์จันเสน ซึ่งตั้งอยู่ในวัดจันเสน เริ่มก่อสร้างโดยพระครูนิสัยจริยคุณ หรือที่ชาวยบ้านเรียกว่า "หลวงพ่อโอด" ได้มีดำริที่จะสร
้างพระมหาธาตุเจดีย์ขึ้นเพื่อให้เป็นศูนย์กลางชุมชน ภายในจัดให้มีส่วนที่เป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อใช้แสดงเรื่องราวของจันเสนในอดีต พร้อมกันไปด้วยพระครูนิวิฐธรรมขันธ์หรือหลวงพ่อเจริญ เจ้าอาวาสรูปต่อมาเป็นกำลังสำคัญที่สานต่องานพิพิธภัณฑ์จนเสร็จสมบูรณ์โดยงบประมาณ
ในการก่อสร้างนั้นได้มาจากแรงศรัทธาของประชาชน
จันเสนเมืองโบราณ หลวงพ่อโอด อดีตเจ้าอาวาสวัดจันเสน ซึ่งท่านมรณภาพไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 ท่านเป็นผู้มุ่งมั่นที่จะสร้างมณฑปเจดีย์ขึ้น โดยมีความมุ่งหมายว่า
1. ส่วนยอดของมณฑปเจดีย์จะบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
2. องค์เรือนธาตุประดิษฐาน "หลวงพ่อนาค" พระพุทธรูปปางนาคปรกที่นำมาจากเมืองลพบุรี เพื่อให้เป็นพระพุทธรูปสำคัญของชุมชน
3. อาคารส่วนฐานของพระมหาเจดีย์ เป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นของท่าน และเป็นพิพิธภัณฑ์เมืองจันเสน
พระมหาธาตุเจดีย์จันเสน อยู่ในห้องชั้นฐานของพระมหาธาตุเจดีย์ การออกแบบได้ใช้ลักษณะของสถูปในสมัยทวารวดีเป็นพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบ ใช้รายละเอียดของลวดลายทางสถาปัตยกรรมในสมัยทวารวดี ซึ่งมีคำจารึกที่
ฐานพระมหาธาตุเจดีย์ศรีจันสน ให้ผู้สนใจได้อ่านประวัติความเป็นมาด้วย พิพิธภัณฑ์นี้ เปิดให้เข้าชมในวันเสาร์-อาทิตย์ ผู้ที่ต้องการเข้าชมในวันธรรมดา สามารถติดต่อทางวัดให้เปิดเข้าชมได้ มีเยาวชนอาสาสมัครจากโรงเรียนวัดจันเสน และโรงเรียนจันเสนเอ็งสุวรรณ
อนุสรณ์ บริการนำเที่ยวภายในบริเวณเมือง และนำชมภายในพิพิธภัณฑ์ด้วย สอบถามรายละเอียดโทร. 0 5633 9115-6
นอกจากนี้ในวัดยังมีการรวมกลุ่มของสตรีบ้านจันเสนเพื่อทอผ้าด้วยกี่กระตุก และจัดตั้งเป็นศูนย์จำหน่ายภายในวัดด้วย ผ้าทอส่วนใหญ่เป็นผ้าฝ้าย ผ้าทอมัดหมี่จันเสน และผ้ามัดย้อม
การเดินทาง จากกรุงเทพฯใช้ทางหลวงหมายเลข 32 เลี้ยวซ้ายเข้าอินทร์บุรี (ทางหลวงหมายเลข 11) เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 3196 เลี้ยวซ้ายตรงป้ายวัดจันเสนเข้าไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร ข้ามทางรถไฟแล้ว
เลี้ยวซ้ายเข้าวัดจันเสน
จากนครสวรรค์ใช้ทางหลวงหมายเลข 32 มุ่งสู่จังหวัดชัยนาท ระยะทางประมาณ 52 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1 มุ่งหน้าอำเภอตาคลี ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเ
ข้าทางหลวงหมายเลข 3196 ระยะทางประมาณ 28 กิโลเมตร เลี้ยวขวาก่อนข้ามทางรถไฟเข้าไปอีก 1 กิโลเมตร สู่วัดจันเสน
ชมวีดีโอ วัดจัน
เสน จังหวัดนครสวรรค์ |