ตั้งอยู่ในวัดสำโรง ตำบล
วัดสำโรง เริ่มดำเนินการโดยพระครูสิริ ปุญญาภิวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดสำโรง เมื่อปี พ.ศ. 2542 โดยเจ้าอาวาสและชาวบ้านได้ร่วมกันบริจาคอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้พื้นบ้าน ครื่องมือจับสัตว์น้ำ สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาพื้นบ้านของไทยในอดีต ห้องพิพิธ
ภัณฑ์อยู่ชั้นล่างของ ศาลาอเนกประสงค์
ภายในห้องแบ่งการจัดแสดงเป็นหมวดหมู่ ดังนี้
ส่วนที่ 1 ครัวโบราณ จัดแสดงอุปกรณ์ในการหุงต้ม อันประกอบด้วย เตาดินเผา หม้อ ดิน ประเภท ต่างๆ เช่น หม้อหูกระทะ หม้อต้ม กาดินเผาและเครื่องใช้ในครัว เช่น ตะกร้าล้างปลา กระต่ายขูดมะพร้าว กระบวย โอ่งน้ำ
ส่วนที่ 2 หัตถกรรมพื้นบ้าน แสดงเครื่องจักสานอันเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นในการ แปรรูปไม้ไผ่และหวายเป็นเครื่องมือ ใช้สอย เช่น สาแหรก ตะกร้ากระบุง กระจาด กระด้ง สนับโรย ปุ้งกี๋
ส่วนที่ 3 อุปกรณ์ตวงข้าว แสดงอุปกรณ์ชั่ง ตวง วัด การตวงข้าวเปลือกแบบเก่าที่บรรพบุรุษเคยใช้ในอดีตประกอบด้วย กระบุงปากบาน กระบุงโกย กระบุงตวง ถังตวงข้าว(ไม้) (เหล็ก) กระด้งบดข้าว ไม้บดข้าว
ส่วนที่ 4 เครื่องมือการทำนา การทำนาในอดีตใช้แรงงานจากสัตว์ คือ วัว ควาย เป็นแรงงานหลัก เครื่องมือในการทำนาที่จัดแสดงประกอบด้วย โกรกคล้องคอควายสำหรับ ลากไถ แอก คราด ไถ ไม้คานหาบข้าวไม้คานหลาว งอบ เคียวเกี่ยวข้าว
ส่วนที่ 5 เครื่องมือจับสัตว์น้ำ สะท้อนวิถีการกินอยู่อย่างไทยแบบพออยู่พอกิน ประกอบด้วยเครื่องมือดักสัตว์ เช่น ด้วงดักหนู แร้ว กับดักต่างๆและอุปกรณ์จับสัตว์น้ำ เช่น ข้อง เบ็ด อวน ฉมวก สุ่ม
ส่วนที่ 6 เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด เป็นตู้แสดง 3 ชั้น ตู้ที่ 1 ชั้นบนตั้งแสดงเชี่ยนหมากทองเหลือง ตะเกียงลาน กลอนประตู ชั้นล่างจัดแสดง เครื่องมือช่างไม้ จำพวกกบผิว กบบังใบ เลื่อยอก เลื่อยลันดา อีกด้านหนึ่งจัดแสดง เครื่องทองเหลือง จำพวก ถาดทองเห
ลือง หม้อทองเหลือง ตู้ที่ 2 จัดแสดง ตราชั่ง ลูกคิดและของเบ็ตเตล็ดอื่นๆ ส่วนรอบๆห้องตั้งแสดง ไห กระถางเคลือบ ประเภทต่างๆ นอกจากนี้ยังมีอาคารจัดแสดงอาชีพชาวนา จัดแสดงอุปกรณ์เครื่องมือในการทำนา อุปกรณ์ในการไถหว่าน อุปกรณ์ในการเกี่ยวข้า
ว นวดข้าว เช่น เครื่องฝัดข้าว สีข้าว ครกตำข้าว, อุปกรณ์ในการวิดน้ำ เช่น ระหัดชกมวย ระหัดเครื่องยนต์ และเป็นที่จัดแสดงเรือประเภทต่างๆ เช่น เรือบด เรือจ้าง เรือแปะ พิพิธภัณฑ์เปิดทุกวัน เวลา 08.00-17.00 น. ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเต
ิมโทร. 03423 9489, 0 1705 8366 (เกตุ พุ่มประจำ) หรือ www.watsamrong.com
การเดินทาง ไปตามถนนนครชัยศรี-ดอนตูม เลยทางรถไฟไปประมาณ 5 กิโลเมตร จะเห็นปากทางเข้าวัด เข้าไปอีกประมาณ 5 กิโลเมตร |