สมัยก่อนเทือกเขาบูโด-สุไหงปาดี เป็นส่วนหนึ่งของทิวเขาสันกาลาคีรีที่แบ่งเขตแดนไทย-มาเลเซีย เคยเป็นที่ซ่องสุมของผู้ก่อการร้าย จึงไม
่ค่อยมีผู้ใดเข้ามาสัมผัสความมหัศจรรย์ของผืนป่าดงดิบแห่งนี้ เมื่อสถานการณ์คลี่คลายลง ในปี พ.ศ. 2517 กรมป่าไม้จึงจัดตั้งวนอุทยานน้ำตกปาโจ และกลายมาเป็นอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 294 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของนราธิวาส
ยะลา และปัตตานีเทือกเขาบูโดนี้จัดเป็นส่วนหนึ่งของป่าดิบร้อนแบบอินโด-มาลายัน ป่าดิบชื้นเขตร้อนซึ่งมีความชื้นสูงเพราะมีน้ำฝนตกตลอดปี และเป็นป่าที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุด เมื่อเทียบกับป่าประเภทอื่นในพื้นที่เท่าๆ กัน ป่าเขตร้อนนี้จะพบเฉพาะแนวเส้
นศูนย์สูตร คือ พื้นที่ระหว่างเส้นทรอปิคออฟแคนเซอร์ที่ 23 [1/2] องศาเหนือและใต้ ในประเทศไทยจะอยู่ในช่วงคอคอดกระจังหวัดระนองลงไป นักพฤกษศาสตร์แบ่งป่าเขตร้อนทั่วโลกออกเป็นสามเขตใหญ่ คือ ป่าฝนเขตร้อนทวีปอเมริกา ป่าฝนเขตร้อนแถบอินโด-มาลายัน และป่าเขตร้อนแ
ถบทวีปแอฟริกา
พันธุ์ไม้เด่นของที่นี่คือ “ใบไม้สีทอง” หรือ “ย่านดาโอ๊ะ” เมื่อปี พ.ศ. 2531 พันธุ์ไม้ชนิดนี้ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกในโลกที่นี่ ใบไม้สีทองเป็นไม้เลื้อย มีลักษณะใบคล้ายใบชงโคหรือใบเสี้ยว แต่มีขนา
ดใหญ่กว่ามาก บางใบใหญ่กว่าฝ่ามือเสียอีก มีขอบหยักเว้าเข้าทั้งที่โคนใบ และปลายใบ ลักษณะคล้ายวงรีสองอันอยู่ติดกัน ทุกส่วนของใบจะปกคลุมด้วยขนกำมะหยี่เนียนนุ่ม มีสีทองหรือสีทองแดงเหลือบรุ้งเป็นประกายงดงามยามต้องแสงอาทิตย์ สามารถมองเห็นได้จากระยะไกล หากขึ
้นในที่ที่มีความชื้นสูงลักษณะของใบจะยิ่งนุ่มหนาตามไปด้วย เมื่อใบใหญ่เต็มที่ จึงเริ่มเปลี่ยนเป็นสีบรอนซ์เงิน หรือเขียวในที่สุด ช่อดอกสีขาวของย่านดาโอ๊ะก็เตะตาไม่แพ้กัน ใกล้ๆ สำนักงานอุทยานฯ ก็มีอยู่ต้นหนึ่งให้ชื่นชม และยังมีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ หายาก มีร
าคาแพง และกำลังจะสูญพันธุ์ คือ “หวายตะค้าทอง”
สัตว์ป่าหายากที่เคยพบในบริเวณนี้คือ แรด ชะนีมือดำ สมเสร็จ และเลียงผา และที่สำคัญ คือ ค่างแว่นถิ่นใต้ มีถิ่นอาศัยอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทางตอนใต้ของพม่า ภาคใต้ของประเทศไทย ไปจนถึงมาเลเซียและหมู่เกาะใก
ล้เคียง มักอาศัยอยู่ตามภูเขาสูงชันและป่าดงดิบ อยู่รวมกันเป็นฝูงประมาณ 30-40 ตัว มีตัวผู้ที่แข็งแรงที่สุดเป็นจ่าฝูง ปกตินิสัยขี้อาย กลัวคน ไม่ก้าวร้าวดังเช่นลิง (นอกจากค่างแว่นถิ่นใต้แล้ว ในประเทศไทยยังพบค่างอีกสามชนิด ได้แก่ ค่างดำ ค่างหงอก และค่างแว
่นถิ่นเหนือ ในปัจจุบันค่างทั้งสี่ชนิดถูกจัดให้เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีสถานภาพถูกคุกคาม) ในอุทยานฯมีน้ำตกอยู่หลายแห่ง เช่น น้ำตกภูแว น้ำตกปาโจ และน้ำตกปากอ แต่ที่รู้จักกันทั่วไป นักท่องเที่ยวเข้าถึงได้สะดวก คือ “น้ำตกปาโจ” เป็นน
้ำตกที่มีลักษณะเป็นหน้าผาสูงกว้าง คำว่า “ปาโจ” เป็นภาษามลายูท้องถิ่นมีความหมายว่า “น้ำตก” ที่น้ำตกปาโจนี้มีทางขึ้นไปสู่ต้นน้ำเป็นชั้นๆ รวม 9 ชั้น นับว่าเป็นน้ำตกที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดและสวยงามแห่งหนึ่งของภาคใต้ แต่เนื่องจากสภา
พป่าโดยรอบไม่สมบูรณ์นัก ในหน้าแล้งน้ำจึงค่อนข้างน้อย นอกจากน้ำตกยังมีสถานที่น่าสนใจอื่นๆ ได้แก่ ศาลาธารทัศน์ ซึ่งเคยเป็นพลับพลาที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในคราวเสด็จประพาสจังหวัดนราธิวาส และยังมีก้อนหินสลักพระปรมาภิไธยตั้งอยู
่ในบริเวณน้ำตกปาโจด้วย ฤดูท่องเที่ยวที่นี่ตลอดทั้งปี
การเดินทาง อยู่ห่างจากตัวจังหวัดนราธิวาส 26 กิโลเมตร ใช้ทางหลวงหมายเลข 42 ไปยังอำเภอบาเจาะถึงบริเวณสี่แยกเข้าตัวอำเภอ ให้เลี้ยวเข้าไปตามถนนอีกประมาณ 2 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานฯ
|