ประเพณีงานประเพณีบุญบั้งไฟ
จะจัดให้มีขึ้นในวันเสาร์-อาทิตย์ ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมของทุกปี
โดยแต่เดิมมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งแสดงออกถึงความ
สามัคคีของหมู่คณะและมีความเชื่อว่าเมื่อจัดงานนี้แล้ว เทพยดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายจะดลบันดาลให้มีฝนตกต้องตาม
ฤดูกาลทำให้พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2522 ทางเทศบาลเมืองยโสธร
และคณะกรรมการจังหวัด ยโสธร ได้ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
จัดงานประเพณีบุญบั้งไฟขึ้น เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ประเพณีนี้ให้แพร่ หลายยิ่งขึ้น
ทั้งในหมู่นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ โดยกำหนดวันงานแน่นอนทุกปี
บั้งไฟแต่ละอันที่มาเข้าขบวน แห่
จะถูกตกแต่งประดับประดาอย่างสวยงามด้วยลวดลายไทยสีทอง ว่ากันว่าศิละปะการตกแต่งบั้งไฟนี้
นายช่างจะต้อง สับและตัดลวดลายต่าง ๆ
นี้ไว้เป็นเวลาแรมเดือนแล้วจึงนำมาทากาวติดกับลูกบั้งไฟ
ส่วนหัวบั้งไฟนั้นจะทำเป็นรูปทรงต่าง ๆ
ส่วนมากนิยมทำเป็นรูปหัวพญานาคอ้าปากแลบลิ้นพ่นน้ำได้ บ้างก็ทำเป็นรูปอื่น ๆ
แต่ก็มีความหมายเข้ากับตำนานในการขอ ฝนทั้งสิ้น ตั้วบั้งไปนั้นจะนำไปตั้งบนฐาน
ใช้รถหรือเกวียนเป็นพาหนะนำมาเดินแห่ตามประเพณีครับ บั้งไฟที่จัดทำมีหลายขนาดคือ
มีทั้งบั้งไฟกิโล บั้งไฟหมื่น และบั้งไฟแสน บั้งไฟกิโลนั้นหมายถึง
น้ำหนักของดินประสิว 1 กิโลกรัม บั้งไปหมื่นก็ใช้ดินประสิว 12 กิโลกรัม
บั้งไปแสนก็ใช้ดินประสิว 10 หมื่น หรือ 120 กิโลกรัม เมื่อตกลงกันว่าจะทำ
บั้งไฟขนาดไหนก็หาช่างมาทำหรือที่มีฝีมือก็ทำกันเอง ช่างที่ทำบั้งไฟนั้นสำคัญมาก
ช่างจะต้องเป็นผู้ที่มีฝีมือในการคำนวณ ดินประสิวกับถ่านไม้
เพราะถ้าไม่ถูกสูตรบั้งไฟก็จะแตก คือไม่ขึ้นสู่ท้องฟ้า
สำหรับไม้ที่จะทำเป็นเสาบั้งไฟนั้น ต้องเป็นไม้ไผ่ ที่มีลำปล้องตรงกันเสมอกัน
จะตัดเอาแต่ที่โคนต้น เพราะมีความหนาและเหนียว ความยาวนั้นแล้วแต่จะตกลงกัน
สำหรับขบวน เซิ้งบั้งไฟนั้น มีความยาวหลายกิโลเมตรครับ
ในวันรุ่งขึ้นเป็นการจุดบั้งไฟ จะมีการแบกบั้งไฟไปยังฐานยิงในที่โล่ง ถ้าบั้งไฟ
ของใครจุดแล้วยิงไม่ขึ้น คนทำจะถูกจับโยนลงในโคลน ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติกันมา
การจัดงานและการละเล่นในประเพณีบุญบั้งไฟ ในวันสุกดิบชาวบ้าน
จะจัดขบวนแห่บั้งไฟยังศาลปู่ตาของหมู่บ้าน ทำพิธีเซ่นสรวง
มีการจุดบั้งไฟที่ใช้ในการเสี่ยงทาย เพื่อเสี่ยงทายดูความอุดมสมบูรณ์
และความสำเร็จในการทำนาปีนั้น จากนั้นก็พากันกินเหล้าฟ้อนรำ
รอบศาลปู่ตาเป็นที่สนุกสนาน จากนั้นก็พากันแห่บั้งไฟ ไปยังสถานที่จัดงานบุญบั้งไฟ
เพื่อจุดแข่งขันประกวด ประชันกันต่อไป ในปัจจุบันบั้งไฟที่ใช้จุดแข่งขัน
มีหลากหลายที่นิยมเรียกกัน ได้แก่บั้งไฟหมื่น บั้งไฟแสน บั้งไฟล้าน
ซึ่งมีขนาดของดินปืนมากน้อย แตกต่างกันไป สอบถามรายละเอียด TAT Call Center 1672
ททท. สำนักงานอุบลราชธานี โทร. 045-243-770, 045-250-714
|